พันธมิตรทางธุรกิจ ข้อดี ข้อเสีย

ผมจำได้ว่าเคยเขียนเรื่องพันธมิตรทางธุรกิจไปบ้างแล้วในฉบับก่อนหน้า ด้วยความที่พันธมิตรทางธุรกิจนั้นถือเป็นเรื่องจำเป็นและมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย

จึงไม่แปลกที่จะได้ยินผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านพูดถึงเรื่องการหาพันธมิตรที่ใช่อยู่เรื่อย ๆ การมีคู่ค้าที่เป็นพันธมิตรที่ดี ไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมทุน ผู้แทนจำหน่าย ผู้จัดหาวัตถุดิบ และผู้จัดส่งสินค้า จะช่วยให้บริหารต้นทุนมีประสิทธิภาพมากขึ้น คือ ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพด้วยต้นทุนที่ลดลง ทำให้ธุรกิจมีเงินทุนและการบริหารสภาพคล่องที่เพียงพอ อีกทั้งยังมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่มากขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงขึ้น ส่งผลให้สินค้าหรือบริการเข้าสู่ตลาดได้รวดเร็วและง่ายกว่าเดิม ถือเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันกับคู่แข่งประเภทเดียวกัน

โดยคู่ค้าหรือพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมกันให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว ควรประกอบด้วย 3 ปัจจัยร่วม คือ 1.ค่านิยมของทั้ง 2 องค์กรเหมือนกัน คือการมีความคิด ความเชื่อที่เหมือนกัน วิธีและแบบแผนของทั้ง 2 บริษัทจะได้สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สนับสนุนให้ทำธุรกิจร่วมกันได้ดีในระยะยาว นอกจากนั้น ลูกค้าหรือผู้บริโภคยังมีแนวโน้มที่จะยอมรับการจับมือกันทางธุรกิจระหว่าง 2 องค์กรมากกว่าปกติด้วย

2.ความชัดเจน บริษัททั้งสองควรเจรจาตกลงกันแบบเปิดเผยตั้งแต่เริ่มต้น พูดคุยกันถึงจุดประสงค์และเป้าหมายของตนเองก่อนที่จะร่วมเป็นพันธมิตรหรือค้าขายกัน การพูดคุยแบบเปิดเผยตรงไปตรงมาจะช่วยให้ประสานงานธุรกิจง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มการสนับสนุนจากอีกฝั่งด้วย เพราะต่างฝ่ายต่างทราบว่าตัวเองต้องการความช่วยเหลือในด้านใด

3.มีวิสัยทัศน์เหมือนกัน ข้อนี้ต่างจากเป้าหมายร่วมกัน ทั้ง 2 ฝั่งอาจมีเป้าหมายทางธุรกิจที่ต่างกันได้ แต่จะดีกว่ามากหากพันธมิตรทางธุรกิจมีวิสัยทัศน์ที่ตรงกัน เพราะวิสัยทัศน์จะเป็นตัวเชื่อมเกิดแผนดำเนินงานที่มีรูปแบบไปทิศทางเดียวกัน เกิดมาตรฐานที่สอดคล้องกัน ทำให้การค้าขายการทำธุรกิจร่วมกันดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

หนึ่งในวิธีการหาพันธมิตรทางธุรกิจที่ใช่ ถือเป็น “สูตรสำเร็จ” ก็คือ การเข้าร่วมกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ หรือ business matching วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ยังมีเครือข่ายไม่กว้างขวางมากนัก ซึ่งกรุงศรีเองจะจัดกิจกรรม business matching อยู่เป็นระยะ ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทย พร้อมทั้งแชร์ข้อมูลของคู่ค้าที่ถูกต้องและอัพเดตอยู่เสมอ ข้อดีอีกอย่างของการเข้าร่วมกิจกรรมนี้คือ ท่านจะได้พบปะกับคู่ค้าที่ผ่านการคัดเลือกมาเป็นอย่างดี และในยุคดิจิทัลแบบนี้กรุงศรีเองก็พร้อมอำนวยความสะดวกด้วยบริการจับคู่ธุรกิจแบบออนไลน์ หรือ Krungsri SME Online Business Matching ให้อีกด้วย

ในยุคที่การแข่งขันสูงขึ้นและต้องแข่งขันกับเวลา บริการจับคู่ธุรกิจออนไลน์จะสร้างความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลาให้กับผู้ประกอบการ เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย รวมทั้งเพิ่มโอกาสทางธุรกิจที่มากขึ้น พันธมิตรทางธุรกิจมีความจำเป็นครับ สิ่งสำคัญก็คือ ต้องหาพันธมิตรทางธุรกิจที่ใช่ตอบโจทย์กับการดำเนินธุรกิจของเราครับ

หรือการล้มล้างสิ่งเดิมๆ และแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ๆ นั่นส่งผลให้บริษัทน้อยใหญ่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก และทางออกหนึ่งสำหรับปัญหานี้คือการจับมือกันเป็นพันธมิตรทางธุรกิจเพื่อทำให้ธุรกิจแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

พันธมิตรไม่ได้เป็นเพียงการจับมือในด้านข้อมูลข่าวสารหรือการสนับสนุนด้านเงินเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเทคโนโลยี ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาธุรกิจในปัจจุบันอีกด้วย 

หมดยุคปลาใหญ่กินปลาเล็กแล้วจริงหรือ?

หากเป็นอดีต การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจนั้นเป็นไปได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะเรื่องราวของการจับมือของบริษัทใหญ่และบริษัทเล็ก แต่ในปัจจุบันวิธีนั้นเริ่มไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะความสำคัญไม่ได้อยู่แค่ “ใหญ่” กับ “เล็ก” แต่เป็น “เร็ว” กับ “ช้า” บริษัทเล็กๆ เองก็สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้ ขอแค่รู้จังหวะ มีเทคโนโลยี และแผนธุรกิจที่ดีพอ

เฉกเช่นเดียวกัน บริษัทใหญ่เองก็ล้มได้หากไม่มีการปรับตัวในยุคสมัยที่เกิดการล้มล้าง การเปลี่ยนแปลง ดังเช่นสิ่งที่เกิดจากที่เกิดกับบริษัทอย่าง Kodak และ Nokia ที่การ Disrupt เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ ยักษ์ใหญ่ล้มในที่สุด

ทำให้ปัจจุบันหลายบริษัทรู้แล้วว่าการได้บริษัทเล็กๆ แต่โดดเด่นเข้ามามีส่วนช่วยในบทบาทที่เท่าเทียมกัน เกื้อหนุนกันนั้นสำคัญกว่าการกลืนกินให้หายไปเฉกเช่นสมัยก่อนมากนัก 

พันธมิตรทางธุรกิจ ข้อดี ข้อเสีย

พันธมิตรทางธุรกิจช่วยอย่างไรในยุคสมัยแห่งการ Disrupt 

เทคโนโลยีในปัจจุบันไม่เพียงแต่ก้าวล้ำเกินกว่าที่คาด ทว่ายังครอบคลุมไปในทุกอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุปกรณ์ IoT ในบ้าน ที่สามารถควบคุมบ้านทั้งหลังได้ด้วยสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว ไปจนถึงการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับ ที่สามารถใช้งานได้จริง แม้แต่ของง่ายๆ อย่างไม้แคะหู ปัจจุบันก็มีการติดตั้งเทคโนโลยีเพิ่มจนสามารถส่องดูภายในหูตนเองได้

สิ่งที่บริษัทใหญ่ในปัจจุบันต้องการไม่ใช่เพียงแค่การสานต่อสิ่งเดิมๆ หรือพัฒนาขึ้นแบบเฉื่อยๆ แต่ต้องมีการพลิกเพื่อก้าวต่อไปข้างหน้าด้วยเช่นกัน และการได้พันธมิตรทางธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ส่งผลอย่างมาก

แต่แน่นอนว่ามันทำได้ยาก เพราะยิ่งบริษัทใหญ่ อยู่มานาน ยิ่งขยับตัวยาก และถ้าไม่เคยอยู่ในสายงานเทคโนโลยีก็ต้องพึ่งพากลุ่มบุคคลที่มี Passion และความสนใจไปในแนวทางใดแนวทางหนึ่ง เพื่อช่วยปิดจุดอ่อน รวมถึงสร้างไอเดียใหม่ๆ เข้ามาสนับสนุน และบริษัทเล็กเองก็ได้ทั้งเงินทุนและผู้แนะแนวทางธุรกิจเข้ามาช่วยเช่นกัน 

สิ่งสำคัญที่สุดคือการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจจะต้องมีความคิด ความเห็นไปในแนวทางเดียวกันระดับหนึ่ง และผู้นำของทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการยอมรับความคิดเห็นและเหตุผลของกันและกัน เพื่อผลักดันสิ่งที่พัฒนาไปให้ได้ไกลที่สุด

ตัวอย่างพันธมิตรทางธุรกิจ

หากจะพูดถึงพันธมิตรทางธุรกิจที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คงจะหนีไม่พ้น ปตท. กับ เซเว่นอีเลฟเว่น (7-11) ที่จับมือกันเพื่อสนับสนุนอีกฝ่ายคนละด้าน แต่ยังมีพันธมิตรทางธุรกิจอื่นๆ ที่คุณอาจไม่รู้อยู่อีก เช่น 

  • ปตท. และ HG Robotics Co.,Ltd. ที่ร่วมมือกันพัฒนาโดรน เช่น โดรนสำรวจทรัพยากรใต้น้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพและลดต้นทุนการค้นหาทรัพยากรทางธรรมชาติใหม่ๆ อีกทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยลงอีกด้วย 
  • ปตท. และ Baania (Thailand) Co.,Ltd. ในการใช้ Big Data เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับการลงทุนในปั้มและร้านค้าปลีกในสาขาต่างๆ ให้ได้การลงทุนที่คุ้มค่าและมีศักยภาพมากที่สุด
  • Ais และ iTax ที่ร่วมมือกันในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มด้านการเงิน 
  • ไทยน้ำทิพย์และตลาดไทย ที่บริษัทไทยน้ำทิพย์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ตลาดไทยมีความสามารถและมาตรฐานในการทำงานโดยรวมสูงขึ้น  ขณะเดียวกันทางตลาดไทยก็ช่วยในการโฆษณาและการขายของไทยน้ำทิพย์เช่นกัน 
  • โตโยต้าและซุซูกิ ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ทั้งสองอาจเป็นตัวอย่างที่แปลกสักเล็กน้อย แต่ก็นับเป็นตัวอย่างที่ดีในการพยายามเอาตัวรอดจากการ Disrupt โดยการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีของกันและกันเพื่อพัฒนายานยนต์รุ่นใหม่ที่เป็นขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติและใช้พลังงานไฟฟ้า

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าไม่ว่าจะบริษัท ใหญ่ เล็ก สตาร์ทอัพรายย่อย หรือผู้ที่อยู่ยงมานานในวงการธุรกิจ ต่างมีการจับมือซึ่งกันและกัน แน่นอนว่าคุณเองก็สามารถหาพันธมิตรทางธุรกิจได้ ในวันที่โลกก้าวมาไกลเกินกว่าที่ความเป็นยักษ์ใหญ่จะมาขวางกั้น

เราสามารถหาพันธมิตรทางธุรกิจได้อย่างไร 

ในปัจจุบัน บริษัทน้อยใหญ่สามารถเข้าถึงพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญได้ไม่ยากดังเช่นสมัยก่อนแล้ว แต่ก็แลกกับการมีคู่แข่งที่มีแนวคิดเดียวกันจำนวนมาก โดยเราสามารถหาพันธมิตรได้ดังต่อไปนี้

  • เข้าร่วมงานเกี่ยวกับ Startup ต่างๆ ในงานมักมีตัวแทนของบริษัททั้งเล็กและใหญ่เข้าร่วมอยู่เสมอ
  • การติดต่อโดยตรงผ่านช่องทางต่างๆ หากมั่นใจว่าเทคโนโลยีของบริษัทเราและอีกฝ่ายสามารถเข้ากันได้ และเรามีจุดเด่นและศักยภาพเพียงพอ คุ้มค่าแก่การสนับสนุน
  • การดำเนินงานที่เป็นเอกลักษณ์พร้อมประกาศว่ายินดีจะร่วมธุรกิจกับบริษัทอื่นๆ ข้อนี้อาจจะยาก แต่ถ้าทำได้ บริษัทของคุณจะไม่ได้เป็นแค่สตาร์ทอัปธรรมดา แต่จะเป็นหนึ่งในบริษัทที่น่าจับตาและาหตัวได้ยากสำหรับบริษัทอื่นๆ ที่ต้องการพาร์ทเนอร์เลยทีเดียว

การสร้างพันธมิตรทางธุรกิจอาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสถานการณ์ปัจจุบันที่ทุกอย่างถูก Disrupt แต่สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันคือการพัฒนา สร้างมูลค่าและความเชื่อมั่นให้ธูรกิจของคุณ ให้สามารถยืนหยัดด้วยตนเองได้ระดับหนึ่งก่อน เพราะทุกๆ บริษัท ต่างต้องการสิ่งที่ดีที่สุดแก่ตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น