สํา นัก พัฒนามาตรฐานแรงงาน

มาตรฐานแรงงานไทย

        มาตรฐานแรงงาน คือ กฎเกณฑ์ การปฏิบัติ การใช้แรงงานเกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน  เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด และความปลอดภัยในการทำงาน การมีมาตรฐานแรงงาน เพื่อให้แรงงานได้รับการคุ้มครองอย่างทัดเทียมเสมอภาค ก่อให้เกิดคุณภาพชีวิต มีความปลอดภัย มีแรงงานสัมพันธ์ที่ดี และมีขวัญกำลังใจในการทำงาน

ประเภทของมาตรฐานแรงงาน

มาตรฐานแรงงานแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาและข้อแนะ รวมทั้งประกาศอื่นๆ ขององค์การ

   แรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

มาตรฐาน แรงงานตาม กฎหมาย คือ ข้อบังคับตามกฎหมาย ได้แก่ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน

  พ.ศ. 2541 กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานและ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518

มาตรฐานแรงงานเอกชน คือ ข้อกำหนดที่ประกาศใช้โดยองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มธุรกิจ และ

  ผู้ผลิตสินค้า ได้แก่ SA 8000 WRAPETI  ฯลฯ  รวมทั้งหลักปฏิบัติของผู้ผลิต เช่น อดีดาส-

  ซาโลมอน ไนกี้ และ วอลท์ ดิสนีย์  ฯลฯ

มาตรฐานแรงงานที่สถานประกอบกิจการควรจัดทำ

1. มาตรฐานแรงงานไทย ความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจไทย มรท. 8001-2546 (Thai

    Labor-Standard : TLS 8001-2546)   เป็น มาตรฐานที่จัดทำโดยภาครัฐร่วมกับเอกชน

    มาตรฐานแรงงานว่าด้วยความรับผิดชอบทาง สังคม (Social Accountability 8000-SA 8000)

    เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการส่งออก

2. มาตรฐานแรงงานว่าด้วยข้อปฏิบัติในสถานที่ทำงาน (Workplace Code of Conduct) 

3. มาตรฐานแรงงานว่าด้วยสมาคมสิทธิคนงาน (Worker Rights Consortium Code of

    Conduct) มาตรฐานแรงงานว่าด้วยหลักจรรยาบรรณของบริษัท ไนกี้ (Nike Code of Ethics)

    กำหนดขึ้นโดยบริษัทในเครือไนกี้ เหมาะสมกับสถานประกอบกิจการผลิตเครื่องกีฬา

4. มาตรฐานแรงงานว่าด้วยหลักการผลิตที่เป็นสากลทั่วโลก (Mattel Global Manufacturing

    Principles)

5. มาตรฐานจริยธรรมพื้นฐานทางการค้า (Ethical Trading Initiative (ETI) Standard) 

   (International Council of Toy Industries Code of Business Practice) (ICTI) เหมาะสม

   กับอุตสาหกรรมผู้ผลิตของเล่นเด็ก

6. มาตรฐานอื่นๆ ที่สถานประกอบการสนใจติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน

   กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ประโยชน์ของการจัดทำมาตรฐานแรงงาน

    มาตรฐานแรงงาน เกี่ยวข้องกับการค้าในเวทีโลก โดยปัจจุบันกลุ่มผู้ซื้อรายใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ให้ความสำคัญต่อการผลิตสินค้าและบริการที่ต้องเคารพ สิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน โดยได้นำเรื่องมาตรฐานแรงงานมาเป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิตต้องปฏิบัติ หากไม่สามารถกระทำได้  จะยกเลิกสัญญาการสั่งซื้อ

     การจัดทำระบบมาตรฐานแรงงานเป็นการสนับสนุนการส่งออก และยังทำให้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความปลอดภัยในการทำงาน ลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เกิดขวัญกำลังใจที่จะสร้างผลผลิตอย่างเต็มศักยภาพนอกจากนี้ การจัดทำมาตรฐานแรงงาน ทำให้มีแนวปฏิบัติในการจัดทำระบบการจัดการให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตที่จะสร้างรายได้ให้แก่ลูกจ้าง และสร้างผลกำไรให้แก่สถานประกอบกิจการ และที่สำคัญ คือ การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและสร้างความรับผิดชอบทางสังคม ซึ่งจะลดอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้า

การดำเนินการภาครัฐในการช่วยสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานแรงงาน


     กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน ได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการจัดทำมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2546) และให้การรับรองโดยออกเอกสารอย่างเป็นทางการที่เป็นหลักฐานว่า มีการปฏิบัติสอดคล้องกับที่กำหนด มรท. 8001-2546 ทั้งนี้ เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ใช้แรงงานโดยให้บริการ

1. การส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานแรงงาน

จัดทำคู่มือปฏิบัติและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในการจัดทำ มรท. 8001-2546

จ้าง ที่ปรึกษาเข้า ดำเนินการพัฒนามาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2546) ในสถาน

  ประกอบกิจการส่งออกตามข้อกำหนดทั้ง 12 ข้อ จนสถานประกอบกิจการมีความพร้อมที่จะรับ 

  การตรวจประเมินเพื่อขอการรับรอง โดยสำนักพัฒนามาตรฐานแรงงานสนับสนุนค่าใช้จ่ายใน

  การจ้างที่ปรึกษาในวงเงิน ไม่เกินสถานประกอบกิจการละ 73,000บาท

2. การรับรอง มรท.8001-2546

จัดทำคู่มือเตรียมความพร้อม เพื่อรับการตรวจประเมินรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 

   8001-2546)

จัดผู้ที่มีความชำนาญทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดำเนินการตรวจประเมินอย่างเป็นระบบตามหลัก

  เกณฑ์สากล

ให้การรับรองปฏิบัติที่สอดคล้องกับ มรท. 8001-2546 ตามขอบข่ายที่ต้องการ

ตรวจติดตามเป็นระยะเพื่อรักษามาตรฐานให้คงอยู่และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ไม่เสีย

  ค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

3. ระดับการรับรอง

      เพื่อให้มีการพัฒนาเข้าสู่ มรท.8001-2546 อย่างเป็นลำดับขั้นตอนตามศักยภาพและความพร้อม จึงแบ่งการรับรองเป็น 2 ระดับ ดังนี้    

     1. ระดับพื้นฐานรับรองการปฏิบัติที่สอดคล้อข้อกำหนดมาตรฐานขอบเขตกฎหมาย อายุการรับรอง 1 ปี

     2. ระดับสมบูรณ์ รับรองการปฏิบัติที่สอดคล้องมาตรฐานทั้งหมด โดยแบ่งเป็น 4 ขั้น ตามความสามารถในการจัดการเรื่องชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (O.T.)

ขั้นสูงสุด  O.T. ไม่เกิน 12 ชั่วโมง: สัปดาห์อายุการรับรอง 3 ปี

ขั้นก้าวหน้า O.T. ไม่เกิน 18ชั่วโมง: สัปดาห์อายุการรับรอง 1ปี

ขั้นพัฒนา  O.T. ไม่เกิน 24ชั่วโมง: สัปดาห์อายุการรับรอง 1ปี

ขั้นริเริ่ม O.T. ไม่เกิน 36ชั่วโมง: สัปดาห์อายุการรับรอง 1ปี

4. หลักเกณฑ์การรับรอง

สถานประกอบกิจการจ้างความประสงค์ยื่นคำขอการรับรอง

กรม สวัสดิการและคุ้ม ครองแรงงานจัดเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาคร่วมกับผู้

  ชำนาญการภาค เอกชน ตรวจประเมินข้อมูลเอกสารและหลักฐานในสถานประกอบกิจการ

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพิจารณาตัดสินให้การรับรองจากผลการตรวจประเมินที่สอด

  คล้องกับข้อกำหนดในระดับต่างๆ โดยออกใบรับรองมาตรฐาน มรท.8001-2546 มีอายุ 1 ปี

  และมีการตรวจติดตามหลังการรับรองอย่างน้อยทุก 6 เดือน

5. ประโยชน์การรับรอง

สถานประกอบกิจการมีหลักประกันที่สร้างความเชื่อมั่นในความรับผิดชอบทางสังคม ซึ่งจะช่วย

  ลดอุปสรรค และเพิ่มโอกาสทางการค้า

เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการตรวจประเมินมาตรฐานแรง

  งานอื่นๆ ที่เป็นเงื่อนไขทางการค้า

เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้างซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมแรงร่วมใจในทุกด้าน

ลูกจ้างมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถสร้างผลผลิตได้เต็มศักยภาพ

ที่มา : http://www.one-stophr.com