หนังสือแห่งกาลเวลา

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

             หลักฐานทางประวัติศาสตร์สมัยประวัติศาสตร์

          หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยโบราญ
          เริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ชางเมื่อ 1,570 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 220
          1. หลักฐานลายลักษณ์อักษรราชวงศ์ชาง (1,570–1,045 ปีก่อนคริสต์ศักราช)เป็นอักษรภาพจารึกบนกระดูกสัตว์ ใช้ในการเสี่ยงทายเรื่องสำคัญในชีวิต หลักฐานนี้ให้ข้อมูลด้านความเชื่อในธรรมชาติและความเชื่อโชคลางของชาวจีน
          2. สื่อจี้ (Shih-chi) เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ เขียนโดยซือหม่าเชียน (Sima Qian) ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์จีนตั้งแต่ยุคต้นๆ เช่น เรื่องการเมืองการปกครอง เหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง พัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
          3. สุสานจักรพรรดิจิ๋นซี พบหุ่นทหารดินเผาจำนวนมากกว่า 6,000 ตัว รูปม้าศึก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อในเรื่องโลกหลังความตาย การค้นพบสุสานจักรพรรดิจิ๋นซีทำให้ ได้ข้อมูลเกี่ยวกับอำนาจการปกครองของจักรพรรดิ ลัทธิความเชื่อของชนชั้นการปกครอง การจัดรูปแบบทหาร ระบบสังคม วัฒนธรรมประเพณีแบบทหาร และรูปแบบศิลปกรรมของจีน

หนังสือแห่งกาลเวลา

นักโบราณคดีจีนกำลังขุดแต่งหุ่นทหารในบริเวณสุสานจักรพรรดิจิ๋นซี

 

          หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยโบราญ
          เริ่มเมื่อประมาณ 900–600 ปีก่อนคริสต์ศักราช
          1. ตำราอรรถศาสตร์ เขียนโดยพราหมณ์เกาฏิลยะ สะท้อนสภาพสังคม การปกครอง และเศรษฐกิจ เมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช
          2. คัมภีร์มานวธรรมศาสตร์ แต่งโดยพราหมณ์มนู เมื่อ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นคัมภีร์ที่เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พราหมณ์นิยมใช้อ้างอิงมาก
          3. ศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอโศกมหาราช ตลอดจนหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเมือง การสร้างจักรวรรดิ การปกครอง เศรษฐกิจ และระบบสังคมของอินเดีย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยโบราญ
          เริ่มตั้งแต่ 3,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 476
          1. ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Hammurabi Code) เป็นหลักฐานประเภทกฎหมายจารึกบนแท่งหินสูง 8 ฟุต โดยพระเจ้าฮัมมูราบีแห่งอาณาจักรบาบิโลเนียให้บัญญัติขึ้น เนื้อหาของกฎหมายเกี่ยวกับชุมชน ศาสนา การชลประทาน อาชญากรรม การประกอบธุรกิจ การถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในทรัพย์สิน กฎหมายมีบทลงโทษค่อนข้างรุนแรง เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญมากในการศึกษาประวัติศาสตร์เมโสโปเตเมีย
          2. บันทึกสมัยอียิปต์โบราณ
               1) อักษรไฮโรกลิฟิก (Hieroglyphic) เป็นอักษรภาพบันทึกเรื่องราวทางศาสนา เป็นอักษรที่เข้าใจเฉพาะคนในสังคมนั้นเท่านั้น นิยมสลักบนเสา ผนัง หรือหลุมฝังศพ
               2) อักษรไฮแรติก (Hieratic) พัฒนามาจากอักษรไฮโรกลิฟิก มีภาพน้อยลง เขียนได้รวดเร็ว ตัวหวัดขึ้น นิยมเขียนลงบนประดาษปาปิรัส

หนังสือแห่งกาลเวลา

กระดาษปาปิรัส ในภาพชาวอียิปต์กำลังเพาะปลูก

                 

การค้นพบตัวอักษรและกระดาษปาปิรัสทำให้อารยธรรมอียิปต์โบราณปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษรไว้ให้นักประวัติศาสตร์ได้ศึกษา ความรู้ของชาวอียิปต์จะถูกบันทึกไว้ในกระดาษปาปิรัส เป็นความรู้เกี่ยวกับตำราทางการแพทย์ โหราศาสตร์ ดารา-ศาสตร์ ซึ่งผู้บันทึกจะเป็นนักบวช
               3) งานเขียนประวัติศาสตร์ของกรีก–โรมัน
               ตัวอย่างหลักฐานงานเขียนของกรีก
                    -ประวัติศาสตร์ (history) ของเฮโรโดตัส
                    -ประวัติศาสตร์สงครามเพโลพอนนีเชียน (History of Peloponnesian War)
               ตัวอย่างหลักฐานงานเขียนของโรมัน
                    -บันทึกสงครามกอล (Commentaries on the Gallic War)ผลงานเขียนของจูเลียส ซีซาร์
                    -เยอร์มาเนีย (Germania) ผลงานของแทกซิตัส

          หลักฐานทางประวัติศาสต์จีนสมัยกลาง
          ช่วง ค.ศ. 220–1368 สมัยนี้เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงบ้านเมือง และการรับอิทธิพลของต่างชาติ ยกตัวอย่างหลักฐานในสมัยนี้
          1. งานประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชาง เป็นงานบันทึกพฤติกรรมของชนชั้นปกครองเพื่อเป็นบทเรียนทางศีลธรรมสำหรับชนชั้นปกครองในราชวงศ์ปัจจุบัน บันทึกที่สำคัญ เช่น
               โฮ่วฮันฉู่ (Hou-Han-shu) หรือประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง
               สุยฉู่ (Sui-shu) ประวัติศาสตร์ราชวงศ์สุย เรียบเรียงใน ค.ศ. 644 สมัยราชวงศ์ถัง
               ถังฉู่ (Tang-shu) ประวัติศาสตร์ราชวงศ์ถัง เรียบเรียงใน ค.ศ. 945 สมัยห้าราชวงศ์
          บันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชางถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดที่นักประวัติศาสตร์ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์จีน
          2. หลักฐานแหล่งโบราณคดีถ้ำพุทธศิลป์ ในสมัยราชวงศ์ฮั่นพระพุทธศาสนาได้แพร่หลายทั่วไปในสังคมจีน และตั้งแต่สมัยราชวงศ์เว่ย์เหนือได้มีการขุดเจาะถ้ำและสร้างสรรค์ศิลปกรรมทั้งทางด้านประติมากรรมและจิตรกรรมตามปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ถ้ำที่สำคัญ เช่น ถ้ำหยุนกัง (Yungang) ในมลฑลฉ่านซี และถ้ำตุนหวง (Dunhuang) ในมลฑลกันซู

หนังสือแห่งกาลเวลา

พระพุทธรูปในถ้ำหมายเลข 6 ของพุทธสถานถ้ำหยุนกัง

          

หลักฐานเหล่านี้ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญทางวัฒนธรรม การค้าระหว่างจีน–อินเดีย และเอเชียกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพระพุทธศาสนา

หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยกลาง(ค.ศ. 535–1526)
          1. หนังสือประวัติของสุลต่านฟีรุส ชาห์ ตุคลุก (Tarikh I Firuz Shah Tughluq) เรียบเรียงโดย ซีอา อัล-ดิน บารนี บริวารของสุลต่านที่ถูกคุมขัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำให้สุลต่านแห่งเดลีทุกพระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ต่อศาสนาอิสลาม
          2. งานวรรณกรรมของอะมีร์ คุสเรา (Amir Khusrau) เป็นงานวรรณกรรมเกี่ยวข้องกับสุลต่าน รวมถึงบทกวีสรรเสริญ ราชสำนัก พลเมือง ภาษา และธรรมชาติของแคว้นฮินดูสถาน งานเขียนเน้นไปที่วีรกรรมของสุลต่าน ทำให้เป็นงานเขียนที่มีลักษณะหรูหรา ขยายความเกินจริง

          หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยกลาง
          1. มหากาพย์ชองซองเดอโรลองด์ (Chanson de Roland) เป็นวรรณกรรมสดุดีวีรกรรมของอัศวินของฝรั่งเศส ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับโลกทัศน์ของคนยุโรปสมัยกลาง/ระบบฟิวดัล/คริสต์ศาสนา
          2. ทะเบียนราษฎร (Damesday Book) เขียนในสมัยพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 รวบรวมข้อมูลของอังกฤษเกือบทุกด้าน ทั้งจำนวนประชากร หมู่บ้าน จำนวนทรัพย์สิน/ สามารถใช้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์กับขุนนาง
          3. หนังสือแห่งกาลเวลา (Les très riches heures du duc de Berry) มีเนื้อหาเกี่ยวกับกิจกรรมทางศาสนา ได้แก่เรื่องปฏิทิน คำสวดมนต์ เพลงสวด พิธีกรรมสำคัญทางศาสนา/ให้ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ สังคม วิถีชีวิตของคนตาม ระบบฟิวดัล/พิมพ์ด้วยมือ

หนังสือแห่งกาลเวลา

ภาพจากปฏิทินเดือนมกราคมในหนังสือแห่งกาลเวลา เป็นภาพงานเลี้ยงฉลองของขุนนาง

 

          หลักฐานทางประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่ และสมัยปัจจุบัน
          ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1368–ปัจจุบัน ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์
          1. งานวรรณกรรมของหลู่ ซุ่น (Lu Xun) เนื้อหาสะท้อนปัญหาสังคมที่มีความอยุติธรรม ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมอันล้าหลัง การแบ่งชนชั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้สังคมจีนเกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพื่อให้สังคมจีนมีความเจริญก้าวหน้า
          2. เอกสารแถลงการณ์ร่วมจากการประชุมระหว่างประมุข/ผู้นำรัฐบาลอาเซียนกับประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1997 เป็นหลักฐานที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับกลุ่มอาเซียนในช่วงปัจจุบันได้

          หลักฐานทางประวัติศาสตร์อินเดียสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน
          ช่วงระหว่าง ค.ศ. 1526–ปัจจุบัน ตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์
          1. ประวัติของอักบาร์ (Akbar Namah) เนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกกล่าวถึงการประสูติของอักบาร์ และยุคสมัยของจักรพรรดิบาบูร์ (Barbur) กับสมัยจักรพรรดิหุมายูน (Humayun) ส่วนที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับยุคสมัยของพระเจ้าอักบาร์ และส่วนที่ 3 เกี่ยวกับการบริหารการปกครอง
          2. พระราชโองการของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (The Proclamation by Queen Victoria) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการยกเลิกบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ สิทธิของอังกฤษในอินเดีย การปกครองชาวอินเดีย

          หลักฐานทางประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน
          ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา ตัวอย่างหลักฐาน
          1. คำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง (Declaration des droits de l’homme et du citoyen) เป็นคำประกาศของคณะฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1789 หลังจากปฏิวัติฝรั่งเศสได้โค่นล้มอำนาจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถือเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูลทางด้านความคิด ภูมิปัญญาของฝรั่งเศสและยุโรปในยุค ภูมิธรรมช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18

หนังสือแห่งกาลเวลา

สภาแห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองใน ค.ศ.1789

            

2. สนธิสัญญาแวร์ซาย (Treaty of Versailles) เป็นสนธิสัญญาที่เกิดขึ้นที่พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 สัญญาประกอบด้วยข้อบังคับซึ่งลดอำนาจและดินแดนของเยอรมนีไม่ให้ฟื้นตัวอีก