ถ่ายเป็นเลือด เหมือน ประจําเดือน

ก่อนหันไปกดชักโครก คุณควรหันไปสังเกตลักษณะของอุจจาระของคุณบ้าง เพราะสุขภาพของเราสามารถตรวจได้ง่ายๆ จากอุจจาระนี่แหละ ไม่ว่าจะเป็นขนาด สี กลิ่น หรือลักษณะที่เห็นได้จากภายนอก

  • 9 ลักษณะอุจจาระ... บอกโรค
  • เช็คสุขภาพ “อุจจาระ” แบบไหนดีเลิศ-ควรปรับปรุง

ความปกติที่ชัดเจน และหลายคนอาจตกใจเมื่อได้เห็น คือ อุจจาระเป็นเลือด หรืออุจจาระที่มีเลือดสดๆ ปนออกมาด้วย และที่เราทราบกันมาคือ มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคริดสีดวงทวาร แต่อันที่จริงแล้ว ยังมีอีกหลายโรคที่อาจแสดงอาการเริ่มต้นจากอุจจาระเป็นเลือด แถมยังอันตรายกว่าโรคริดสีดวงทวารอีกด้วย

6 โรคอันตราย ที่เริ่มต้นจากอาการ “อุจจาระเป็นเลือด”

  1. โรคริดสีดวงทวาร

คนที่ท้องผูกบ่อยๆ จะมีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนที่ถ่ายได้ตามปกติ หากมีอุจจาระเป็นก้อนแข็งบ่อยๆ จนอุจจาระไปครูดกับผิว หรือเยื่อเมือกของทวารหนักจนเกิดเป็นแผล มีเลือดสดไหลออกมาเป็นหยดๆ หรือเป็นเส้นๆ พร้อมอุจจาระอยู่บ่อยๆ นอกจากจะมีอาการปวดแสบบริเวณรูทวารหนักแล้ว ยังอาจมีก้อนริดสีดวงปลิ้นออกมา จนมีอาการอักเสบ ปวดแสบหนักมากขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี 

  1. เลือดออกในลำไส้ใหญ่

หากมีเลือดสดๆ หรือลิ่มเลือดไหลออกมาพร้อมกับอุจจาระด้วย แต่ไม่ได้มีอาการปวดแสบที่ทวารหนัก เพราะไม่ได้มีอาการท้องผูก อาจเป็นเพราะมีเลือกออกในลำไส้ใหญ่ หากมีอาการเล็กๆ น้อยๆ เลือดไหลออกมาน้อย และเลือดหยุดไหลได้เอง สามารถรอดูอาการที่บ้านได้ แต่หากมีเลือดไหลออกมาก ควรนอนพัก งดน้ำงดอาหาร และพบแพทย์ที่โรงพยาบาลดีที่สุด 

  1. เลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก

อาการอาจเริ่มจากอาเจียนออกมาเป็นเลือดก่อน (หรือไม่มีอาการอาเจียนก็ได้) จากนั้นอาจตามด้วยการอุจจาระเป็นเลือด โดยเลือดจะเป็นสีเข้มจนเกือบดำ หากถ่ายเป็นเลือดจำนวนมาก ควรงดน้ำ งดอาหาร แล้วรีบพบแพทย์โดยด่วน 

  1. โรคบิด

หากมีอาการท้องเสียท้องร่วง แล้วอุจจาระมีมูกเลือดปน กลิ่นเหม็นรุนแรง อาจเสี่ยงเป็นโรคบิดที่เกิดจากการติดเชื้อในลำไส้ใหญ่ จนทำให้ลำไส้ใหญ่อักเสบ เป็นแผล ควรให้แพทย์ตรวจอุจจาระเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจนที่โรงพยาบาล 

  1. โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งจะทำให้เกิดแผล โดยเฉพาะบริเวณใกล้ทวารหนัก จึงทำให้มีความเสี่ยงที่จะถ่ายแล้วมีเลือดปน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มักเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 40-50 ปี แต่ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับคนวัยรุ่น วัยทำงานได้เช่นกัน ยิ่งครอบครัวของใครมีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อน ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น ทางที่ดีคือ ลดการทานเนื้อแดง อาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม หยุดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และออกกำลังกายเป็นประจำ

  • 6 พฤติกรรมเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” ที่คุณอาจไม่รู้ตัว 
  1. โรคลำไส้ขาดเลือด

โรคลำไส้ขาดเลือด มาจากหลายสาเหตุ แต่อาการคือเลือดไม่สามารถเข้าไปไหลเวียนในลำไส้ได้ ทำให้เซลล์ลำไส้เริ่มไม่ทำงาน จนกระทั่งเซลล์ตาย และเริ่มเน่าจนมีแบคทีเรีย อาการที่พบคือปวดท้องเกร็ง อาจปวดมากจนหมดสติ และอาจมีอาการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้ หากระหว่างปวดท้องมีอาการถ่ายเป็นเลือดด้วย แสดงว่าอาการเริ่มจะหนัก ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คให้แน่ใจ เพราะหากบางส่วนของลำไส้เริ่มเน่า จะต้องผ่าตัดเพื่อนำลำไส้ส่วนที่เสียแล้วออกไป แล้วต่อลำไส้ที่ยังทำงานได้ตามปกติเข้าด้วยกัน 

นอกจากอุจจาระเป็นเลือดจะเป็นสัญญาณอันตรายถึงโรคต่างๆ ได้แล้ว การที่สีของอุจจาระมีสีแดงเข้มหรือเกือบดำ อาจมาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การทานอาหารที่มีเลือดสัตว์เป็นส่วนประกอบ หรือกำลังทานยาบำรุงเลือดอยู่ก็เป็นได้ ดังนั้นหากมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรือสีคล้ายเลือดเล็กๆ น้อยๆ และไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ อาจลองทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ดื่มน้ำให้มากขึ้น และออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจช่วยให้อาการดังกล่าวดีขึ้น แต่หากไม่แน่ใจ พบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายก็จะดีที่สุดค่ะ

การขับถ่ายเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนต้องทำเป็นกิจวัตร แต่เมื่อใดที่มีการถ่ายเป็นเลือด หรือพบถึงการเปลี่ยนแปลงของสีอุจจาระเพียงเล็กน้อย นั้นหมายถึงการเกิดความผิดปกติภายในระบบทางเดินอาหารแน่นอน ซึ่งหลายคนอาจคิดว่าเป็นเพียงแค่ริดสีดวงทวาร ไม่ทันคาดคิดว่าการถ่ายเป็นเลือดนั้นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ จึงไม่ควรชะล่าใจเมื่อเกิดอาการนี้ขึ้นกับคุณ


ถ่ายเป็นเลือด สัญญาณที่ต้องระวัง

การถ่ายเป็นเลือด เป็นลักษณะอาการที่มีเลือดสีแดงสดไหลออกมาจากทวารหนัก ถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดหรือลิ่มเลือดปนอยู่ หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีแดงเข้ม สาเหตุหลักที่มักทำให้ถ่ายเป็นเลือดเกิดจากความผิดปกติภายในระบบทางเดินอาหาร ตั้งแต่กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หรือบาดแผลที่เส้นเลือดดำส่วนปลายทวารหนัก ซึ่งการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดเป็นจุดเริ่มต้นของโรคที่อาจมีความรุนแรงมากกว่าโรคริดสีดวงทวารได้


จะสังเกตอย่างไรว่าอาจมีเลือดออกในทางเดินอาหาร

เบื้องต้นให้สังเกตสีของอุจจาระของตัวเองทุกวัน มีความผิดปกติหรือเปลี่ยนแปลงไปหรือ หากมีภาวะอุจจาระปนเลือด หรือถ่ายดำ อาจเกิดจากความผิดปกติของทางเดินอาหารส่วนต้น เช่น แผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็ก แต่หากเลือดออกลำไส้ใหญ่ จะมีอาการถ่ายเป็นเลือดสด หรือไม่มีอาการชัดเจน แต่อาจมีอาการอื่นๆ แทน เช่น อ่อนเพลีย หน้ามืด เหนื่อยง่ายเป็นต้น มักเกิดในผู้สูงอายุ


โรคอันตรายที่เริ่มต้นมาจากการถ่ายเป็นเลือด

การถ่ายเป็นเลือดอาจเป็นการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยไปจนถึงสัญญาณอันตรายของปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยความรุนแรงของโรคสามารถดูได้จากปริมาณของเลือดที่ถ่ายออกมา ระยะเวลาและจำนวนครั้งที่ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งผู้ที่มีเลือดออกมากก็จะมีโอกาสเกิดโรคมากกว่า หรือการมีเลือดหยดหลังจากถ่ายอุจจาระ การถ่ายเป็นเลือดเป็นจุดเริ่มต้นของโรคอันตราย ดังนี้

  • เลือดออกในกระเพาะอาหาร เกิดจากความผิดปกติบริเวณทางเดินอาหาร โดยอาการนั้นอาจเริ่มจากอาเจียนออกมาเป็นเลือดก่อน ตามด้วยอุจจาระเป็นเลือดสีเข้มจนเกือบดำ บางรายอาจรู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เหนื่อยง่าย และอาจเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งกระเพาะอาหารได้
  • เลือดออกในลำไส้ใหญ่ เป็นอาการที่มีการถ่ายเป็นเลือดสด หรือลิ่มเลือดไหลออกมาพร้อมกับอุจจาระ แต่ไม่มีอาการปวดแสบทวารหนัก อาจเกิดจากการมีเลือดออกในลำไส้ใหญ่
  • โรคลำไส้ขาดเลือด เป็นภาวะที่เกิดจากเลือดไม่สามารถเข้าไปไหลเวียนเลี้ยงผนังลำไส้ได้ ทำให้เซลล์ลำไส้ขาดเลือด หากมีอาการถ่ายเป็นเลือดแสดงว่าอาการเริ่มหนักแล้ว รวมทั้งมีอาการปวดเกร็งท้อง อาจปวดมากจนหมดสติ และเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิตได้
  • โรคติ่งเนื้องอกลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้องอกนี้มีลักษณะกลม สีออกชมพู อาจมีก้อนเดียวหรือหลายก้อน สามารถเกิดได้ทุกส่วนของลำไส้ใหญ่ และสามารถพัฒนาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ โดยมักไม่มีอาการแสดงเด่นชัด แต่อาจถ่ายเป็นเลือดแบบเป็นๆ หายๆ
  • โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นโรคที่อยู่ในอันดับต้นๆ ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด ส่วนใหญ่พบในคนที่อายุมากกว่า 50 ปี โดยจะมีอาการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายดำ บางรายมาพบแพทย์เพราะอ่อนเพลียอ่อนแรงแบบไม่มีสาเหตุ หรือจากการเสียเลือดจนเป็นโลหิตจาง

ถ่ายเป็นเลือด เหมือน ประจําเดือน

มะเร็งลำไส้ใหญ่ กับการถ่ายเป็นเลือด

ส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็ต่อเมื่อมาตรวจคัดกรอง หรือมีอาการถ่ายเป็นเลือด หรือถ่ายดำ ซึ่งเป็นอาการเบื้องต้นที่คนป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์ บางคนถ่ายอุจจาระปนเลือด หรือบางคนถ่ายออกมาเป็นเลือดโดยไม่มีอุจจาระปนเลย ซึ่งการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือไม่นั้น ทำได้โดยการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือที่เป็นท่อขนาดเล็กที่มีกล้องติดอยู่ที่ส่วนปลายสอดเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในลำไส้ใหญ่ ทำให้แพทย์สามารถเห็นรายละเอียดต่างๆ ตลอดทั้งลำไส้ใหญ่ส่วนต้นและส่วนปลายได้ อีกทั้งแพทย์สามารถตัดชิ้นเนื้อนั้นออกมาตรวจได้โดยตรง


การวินิจฉัยโรคและแนวทางการรักษาอาการถ่ายเป็นเลือด

ปัญหาของการถ่ายเป็นเลือด อาจจะมาจากหลายสาเหตุ โดยแนวทางการรักษาแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ตามอาการหนักเบา

1. ถ่ายเป็นเลือดปนเล็กน้อย

กรณีที่หากพบว่าเป็นอาการถ่ายเป็นเลือด ที่มีเลือดปนเพียงเล็กน้อยอาจเป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่รุนแรง เช่น อาการท้องผูก สามารถดูแลรักษาอาการได้ด้วยตัวเองด้วยวการปรับพฤติกรรมและยังไม่จำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา เช่น รับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง ดื่มน้ำมาก ๆ ฝึกสุขนิสัยการขับถ่าย และปฏิบัติตามแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันอาการท้องผูก

2. ถ่ายเป็นเลือดออกในปริมาณมาก

หากถ่ายเป็นเลือดในปริมาณมาก ถ่ายเป็นเลือดบ่อย ในระยะเวลาที่ติดต่อกันเป็นเวลานานควรไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเผชิญอยู่ เช่น การเสียเลือดมาก สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง มีเลือดออกมาก ตรวจพบว่ามีภาวะความดันโลหิตต่ำ เวียนศีรษะ เป็นลม ช็อค แพทย์อาจจะต้องให้เลือดหรือน้ำเกลือเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยเพื่อทดแทนเลือดที่เสียไป และอาจพิจารณาจ่ายยารักษาให้เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วยแทน

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการถ่ายเป็นเลือดในปริมาณมาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการรักษาที่ต้นตอสาเหตุ โดยแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงแล้วจึงวางแผนการรักษา เช่น หากเกิดอาการผิดปกติควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจอุจจาระเพื่อค้นหาภาวะเลือดออก หรือ ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เพื่อให้แพทย์จะได้ทำการรักษาอย่างเหมาะสม


โดยมีแนวทางการรักษาดังนี้

  1. การรักษาแผลที่ทวารหนัก โดยแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยนั่งแช่น้ำอุ่นจะช่วยบรรเทาแผล และบริเวณที่เป็นริดสีดวงทวาร โดยการรักษาในแนวทางนี้ควรรักษาอาการท้องผูกควบคู่ไปด้วย
  2. การห้ามเลือด แพทย์จะสอดกล้องพร้อมเครื่องมือไปทางทวารหนัก และตรวจหาตำแหน่งอวัยวะภายในที่เสียหายและมีเลือดออก เพื่อฉีดสารให้เลือดหยุดไหล โดยอาจใช้เลเซอร์ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ยึดปิดเส้นเลือดที่เสียหายและมีเลือดไหล
  3. การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยตรวจสุขภาพระบบทางเดินอาหาร ด้วยวิธีการส่งกล้องเพื่อเช็คสุขภาพลำไส้ โดยผู้ที่เหมาะกับการเข้าโปรแกรมนี้ มักมีสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพ ได้เช่น
    • มีอาการท้องอืด แน่นท้อง ปวดท้องเป็นๆหาย
    • ท้องผูกสลับท้องเสีย หรือท้องเสียเรื้อรัง
    • ถ่ายเป็นเลือด ขนาดของอุจจาระที่เล็กลง
    • เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  4. การให้ยา ในบางโรคแพทย์อาจจ่ายยาเพื่อรักษาอาการ เช่น ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร รวมไปถึงการให้ยาต้านการอักเสบเพื่อรักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ
  5. การผ่าตัด ในบางกรณีแพทย์อาจต้องทำการผ่าตัด เช่น ผ่าตัดนำติ่งเนื้อออก ผ่าตัดนำเนื้อร้ายจากการป่วยมะเร็ง หรือผ่าตัดนำเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายจากการบาดเจ็บหรืออักเสบออกไป เป็นต้น

ทั้งนี้ หากพบว่าถ่ายเป็นเลือด หรืออุจจาระปนเลือด อย่าได้นิ่งนอนใจ เพราะอาจนำมาสู่การเป็นโรคร้ายดังที่กล่าวมาข้างต้นได้ ควรเข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางระบบทางเดินอาหารและตับ เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียด จากการซักประวัติ หรือการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินอาหาร เพื่อดูรอยโรคที่ทำให้เกิดเลือดออกหรือไม่ ตรงจุดใด และแนะนำการรักษาต่อไป