แอพวัดออกซิเจนในเลือด iphone

แอพวัดออกซิเจนในเลือด iphone

[18-มีนาคม-2557] ถือว่า เป็นแอพพลิเคชั่นที่น่าจะเป็นที่รู้จักกันบ้างแล้ว แม้จะยังไม่เปิดตัวก็ตาม สำหรับ Healthbook ซึ่งเป็น แอพพลิเคชั่น ที่จะทำงานคู่กับ อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ อย่าง iWatch นั่นเอง แม้ว่าในตอนนี้ จะยังไม่มีรายละเอียดว่า Healthbook นั้น จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ใช้งานอะไรได้บ้าง แต่ล่าสุด ทางเว็บไซต์ 9to5mac ได้ลองทำข้อมูลคร่าวๆ เกี่ยวกับ Healthbook ออกมาให้ชมกัน โดยอ้างว่า ได้ข้อมูลจากวงใน ที่ทำงานเกี่ยวกับ แอพฯ นี้ โดยตรงเลยทีเดียว

โดยจากภาพ จะเห็นได้ว่า Healthbook นั้น จะมีลักษณะคล้ายกับ แอพพลิเคชั่น Passbook เลยนั่นเองครับ ซึ่งจะมีการแบ่งแยกหมวดหมู่ ด้วยการใช้สีแยกความแตกต่าง และสามารถจัดเรียงลำดับความสำคัญได้เอง

อย่างแท็บ Weight หรือน้ำหนัก ก็จะให้ผู้ใช้ใส่ข้อมูลของ น้ำหนัก และส่วนสูง เพื่อคำนวณมวลรวมในร่างกาย หรือ BMI รวมไปถึงเปอร์เซ็นต์ของไขมันในร่างกาย ส่วนแท็บ Activity ก็จะวัด จำนวนก้าวเดิน, อัตราการเผาผลาญแคลอรี่ และแท็บ Nutrition จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลของการรับประทานอาหารของผู้ใช้ว่า มากเกินไป หรือน้อยเกินไป

นอกจาก Healthbook จะสามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจ, ความดันเลือด และอัตราการนอนหลับได้แล้ว ความน่าสนใจของ แอพพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพนี้ อยู่ที่ การมอนิเตอร์การทำงานของเลือด เช่น จุดอิ่มตัวของออกซิเจน และการวัดระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนแท็บ Bloodwork ตอนนี้ ยังไม่มีรายละเอียดว่า ไว้ใช้ทำอะไร

และสิ่งที่ขาดไม่ได้ สำหรับ Healthbook ก็คือ บัตรประจำตัวผู้ป่วย ซึ่งจะมีข้อมูลสำคัญๆ อยู่ภายใน โดยจะถูกบันทึกไว้ใน Emergency Card ซึ่งจะประกอบด้วย ชื่อ, วันเกิด, ข้อมูลด้านการรักษา, น้ำหนัก, กรุ๊ปเลือด, การบริจาคอวัยวะ และอื่นๆ

ข้อมูลข้างต้นนี้ คือ สิ่งที่ "คาดว่า" จะมีบน แอพพลิเคชั่น Healthbook บน iPhone และ iPad ซึ่งน่าจะถูกเปิดตัวพร้อมกับ iOS 8 ครับ

---------------------------------------
รายละเอียดเพิ่มเติม : digitaltrends.com

Update : 29/03/2015

Healthbook

วิธีวัดค่าออกซิเจนด้วยตนเองด้วยมือถือ และ Smart watch ทั้งนี้การวัดออกซิเจนในเลือด มีความสำคัญอย่างไร เพราะโรคระบาดหนักมากในหลายๆเคสไม่แสดงอาการของโรค แต่มีการเช็คออกซิเจนในเลือดแล้วออกมาต่ำกว่าปกติ เป็นอีกหนึ่งสัญญาณว่าเราอาจจะเป็นกลุ่มเสี่ยงรึเปล่า ควรไปพบแพทย์หรือไม่ ทั้งนี้สำหรับคนปกติทั่วไป ค่าออกซิเจนในเลือดควรอยู่ที่ 95 – 99% ยกเว้นเวลาออกกำลังกายจะอยู่ที่ประมาณ 88% ถ้าค่าออกซิเจนต่ำกว่ามาตรฐาน ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาจจะเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ต้องรีบพบแพทย์ทันที ซึ่งการวัดออกซิเจนในเลือดก็เกี่ยวข้องกับโควิด 19 ด้วย

โดยอุปกรณ์เหล่านี้เป็นเพียงตัวช่วยเบื้องต้น ซึ่งถ้าจะให้แม่นยำจริงๆ ก็ต้องใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ และไม่ใช่การตรวจโควิด-19 เพียงแต่เป็นการวัดการทำงานของปอดในเบื้องต้น

วิธีวัดค่าออกซิเจนด้วยตนเองด้วยมือถือ รู้หรือไม่ Samsung Galaxy รุ่นเก่า วัดค่าออกซิเจนได้

แอพวัดออกซิเจนในเลือด iphone
iT24Hrs

มือถือซัมซุงรุ่นก่อนๆ บางรุ่น ได้แก่ Galaxy S5 ,S6 , S7 , S8 , S9 และ S10 และ Galaxy Note4 , Note 5 , Note FE , Note 9 ได้ใส่เซนเซอร์วัด Heart Rate มาให้พร้อมกับฟีเจอร์วัดออกซิเจนในเลือดได้ด้วย โดยบางท่านคุ้นเคยอยู่แล้วกับการสแกนนิ้วเพื่อวัดอัตราการเต้นหัวใจ ผ่านแอป Samsung Health นั่นเอง โดยเข้าแอป Samsung Health บนมือถือ Samsung Galaxy S หรือ Galaxy Note ที่มีเซนเซอร์สแกน Heart Rate ด้านหลัง

แอพวัดออกซิเจนในเลือด iphone
iT24Hrs

วิธีการวัดนั้น เปิดแอป Samsung Health

แอพวัดออกซิเจนในเลือด iphone
iT24Hrs

เลื่อนหน้าจอลงเรื่อยๆ จนเจอคำว่า ” การจัดการรายการต่างๆ” อยู่ด้านล่างขวาของจอ
แล้วแตะที่ปุ่ม วัด ด้านหลัง “ออกซิเจนในเลือด”

แอพวัดออกซิเจนในเลือด iphone
iT24Hrs

แล้วนำนิ้วไปแตะที่เซนเซอร์ด้านหลัง ถ้าเราวางถูกตำแหน่งจะขึ้นไฟสีแดง เช่นเดียวกับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจ

แอพวัดออกซิเจนในเลือด iphone
iT24Hrs

ให้เราอยู่นิ่งๆ จนค่าออกซิเจนก็จะขึ้นมาเอง อย่างไรก็ตาม ใช้มือถือในการวัดนี้ไม่ได้แม่นยำเท่ากับอุปกรณ์การแพทย์ หากต้องการผลที่แม่นยำจริงๆไปพบแพทย์ดีกว่า แต่การวัดด้วยมือถือนี้สามารถเช็คค่าออกซิเจนในเลือดได้เบื้องต้นเท่านั้น

ใช้ได้เฉพาะ Apple Watch Series 6 เท่านั้น สำหรับนาฬิกาจากค่าย Apple อย่าง Apple Watch

ให้ทำการสวมใส่ Apple Watch Series 6 ให้กระชับพอดีแบบสบายๆ รอบข้อมือของคุณ

  1. เปิดแอพออกซิเจนในเลือดใน Apple Watch หากไม่มีให้ดาวน์โหลดแอพออกซิเจนในเลือด บน App Store ของ Apple Watch ก่อน
  2. เมื่อเปิดแอปแล้วให้แขนอยู่นิ่งๆ และตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมือของคุณอยู่ในแนวราบโดยให้ Apple Watch หงายขึ้น แล้วแตะเริ่มต้น จากนั้นให้วางแขนไว้นิ่งๆ เป็นเวลา 15 วินาที
  3. เมื่อวัดค่าเสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณจะได้รับผลลัพธ์ออกมา
Image : Apple

วิธีการทำงานของแอพออกซิเจนในเลือด

ใน Apple Watch Series 6 เซ็นเซอร์วัดอัตราการเต้นของหัวใจด้วยแสงได้รับการออกแบบเพื่อเพิ่มความสามารถในการวัดค่าออกซิเจนในเลือด โดยระหว่างการวัดค่าออกซิเจนในเลือด ผลึกด้านหลังจะเปล่งแสง LED สีแดงและเขียว รวมถึงแสงอินฟราเรดใส่ข้อมือของคุณ จากนั้น โฟโต้ไดโอด จะวัดปริมาณของแสงที่สะท้อนกลับ

แอพวัดออกซิเจนในเลือด iphone
Image : Apple

อัลกอริทึมระดับสูงจะใช้ข้อมูลนี้เพื่อคำนวณสีของเลือดของคุณ สีดังกล่าวจะระบุถึงระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ โดยเลือดที่มีสีแดงสดจะมีออกซิเจนอยู่มาก ในขณะที่เลือดสีแดงเข้มจะมีออกซิเจนอยู่น้อย

แอพวัดออกซิเจนในเลือด iphone
Image : Apple

ทั้งนี้หากมี iPhone ไอโฟนที่รองรับได้คือ iPhone 6s ขึ้นไป และอัปเดตให้เป็น iOS รุ่นล่าสุด คุณจะสามารถซิงค์ข้อมูลจาก Apple Watch Series 6 ลงไปยัง iPhone ของคุณได้

ทั้งนี้การวัดค่าออกซิเจนโดยใช้แอพออกซิเจนในเลือดไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการใช้งานทางการแพทย์ แต่ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการออกกำลังกายและสุขภาพทั่วไป และตรวจสอบสุขภาพเบื้องต้นเท่านั้น

ระดับออกซิเจนในเลือด คืออะไร

ระดับออกซิเจนในเลือด แสดงถึงเปอร์เซ็นต์ของออกซิเจนที่เซลล์เม็ดเลือดแดงสามารถนำออกจากปอดไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ การทราบว่าเลือดของคุณสามารถทำหน้าที่ที่สำคัญนี้ได้ดีเพียงใดจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงสุขภาพโดยรวมของคุณเองได้ ทั้งนี้คนส่วนใหญ่จะมีระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 95 – 100% อย่างไรก็ตาม ยังมีคนบางกลุ่มที่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้โดยมีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า 95% ค่าที่ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งวัดได้ขณะนอนหลับถือเป็นเรื่องปกติ นอกจากนี้ ผู้ใช้บางรายอาจวัดค่าได้ต่ำกว่า 95%

ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ

ออกซิเจนในเลือดต่ำ หมายถึง แรงดันของออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ หรือวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดได้น้อยกว่าปกตินั่นเอง หากต่ำกว่า นี้เราจะรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นๆ ในกรณีออกซิเจนต่ำที่เป็นเรื้อรังแล้วร่างกายมีการปรับตัว มักจะไม่มีอาการของการขาดออกซิเจน จนกว่าออกซิเจนจะเริ่มต่ำกว่า 90%

เมื่อออกซิเจนในเลือดต่ำ ร่างกายจะพยายามปรับสมดุลในตัวเอง เพื่อรักษาระดับออกซิเจนไม่ให้ตกก่อน การหายใจที่เร็วขึ้น แรงขึ้น หัวใจก็พยายามสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น โดยจะเต้นเร็วและแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้น หากยังไม่สามารถรักษาระดับออกซิเจนในเลือดให้เพียงพอไว้ได้ ก็จะส่งผลให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายเริ่มทำงานผิดปกติ นำไปสู่ภาวะของการเกิดของเสียในเซลล์มากขึ้น ระบบต่างๆ ในร่างกายล้มเหลว ดังนั้นภาวะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานระบบนี้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นโรคปอด โรคที่เกี่ยวกับหลอดลม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ โรคไต ภาวะน้ำท่วมปอด โรคในกลุ่มเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลโดยตรงทำให้ร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนเพียงพอ ซึ่งก็รวมถึง COVID-19 ด้วยจากที่เชื้อลงปอดจนการทำงานของปอดผิดปกติ

การสังเกตระดับออกซิเจนเลือดสำหรับผู้ป่วยที่อยู่บ้าน

ผู้ป่วยที่อยู่บ้าน เป็นกลุ่มที่พ้นระยะเจ็บป่วยเฉียบพลันแล้วในการพิจารณาให้ออกซิเจนที่บ้านจะใช้เกณฑ์ที่แตกต่างจาก กรณีที่อยู่ในโรงพยาบาล คือเป็นการให้ออกซิเจนในภาวะปกติของผู้ป่วยรายนั้นนั่นเอง ข้อบ่งชี้ในการให้ออกซิเจนที่บ้านมีดังนี้

1.กรณีที่ต้องการให้ต่อเนื่อง

วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนจากปลายนิ้ว (SpO2) ได้น้อยกว่า 88 %
วัด SpO2 ได้ 88-90% แต่มีภาวะหรือโรคที่บ่งบอกถึงภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังขึ้นแล้ว จากการประเมินของแพทย์ ได้แก่ มีความดันเลือดปอดสูง หัวใจห้องขวาโต หัวใจห้องขวาล้มเหลว หรือเลือดแดงข้นกว่าปกติ

2.กรณีที่ต้องให้เฉพาะบางโอกาส

  • ให้ออกซิเจนขณะออกกำลังกาย ถ้าขณะออกกำลังกาย SpO2 น้อยกว่า 88%
  • ให้เฉพาะในขณะนอนหลับ ถ้าขณะหลับ SpO2 ต่ำกว่า 88 %

ทั้งสองภาวะเบื้องต้นนี้สามารถประเมินโดยการตรวจจับความอิ่มตัวของออกซิเจนในขณะนั้นๆ เช่น ขณะออกกำลังกายหรือขณะหลับ ซึ่งทางที่ดีก็ควรจะได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้ดูแลก่อนเสมอ

รวมอุปกรณ์ Smart Watch ที่สามารรถวัดออกซิเจนในเลือด SpO2

นอกจาก Apple Watch Series 6 แล้ว มีรุ่นอื่นๆดังนี้

  • Huawei Band 6
  • Huawei GT Series GT2e , GT 2 , GT 2 Pro
  • Huawei Watch Fit
  • Honor Band 5
  • Samsung Galaxy Watch3
  • Xiaomi Mi Watch
  • OPPO Band
  • Realme Watch S Series
  • Fitbit Versa 3
  • Fitbit Sense
  • Amazfit Bip U
  • Amazfit GTR2/ GTS2

ซึ่งมีทั้งราคาหลักพันต้นๆ จนถึงราคาหลักหมื่นบาท แต่มีฟีเจอร์วัดค่าออกซิเจนในเลือดได้

อ้างอิง Apple อ๊อกซิเจนการแพทย์ cover iT24Hrs

อ่านบทความและข่าวอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ it24hrs.com

วิธีวัดค่าออกซิเจนด้วยตนเองด้วยมือถือ และ smart watch

อย่าลืมกดติดตามอัพเดตข่าวสาร ทิปเทคนิคดีๆกันนะคะ Please follow us

Youtube it24hrs
Twitter it24hrs
Tiktok it24hrs