บิลค่ารักษา โรงพยาบาลกรุงเทพ

ใครๆก็รู้กันหมดว่าเดี๋ยวนี้ การไปหาหมอ โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนนั้น หากเข้าไปผ่าตัดเล็ก หรือ แม้แต่การนอนโรงพยาบาลเพียงไม่กี่คืน ค่าใช้จ่ายก็อาจยาวไป 5-6 หลักแล้ว ดังนั้นคงไม่ต้องสงสัยเลยว่า หลายๆคนจะไม่มีเงินสำหรับจ่ายค่าหมอ ค่าพยาบาล ค่ายา และค่า Admit ที่โรงพยาบาล จนอาจกลายเป็นเรื่องปกติที่ต้องไปยืมญาติ ยืมเพื่อนให้เห็นกันเป็นประจำ ซึ่งปัญหาของการที่ไม่มีเงินจ่ายค่าโรงพยาบาล อันดับต้นๆเลยก็คือ ไม่ได้ทำประกันสุขภาพเอาไว้ และนี่คือ วิธีที่จะจัดการกับปัญหา เงินไม่พอจ่าย ค่ารักษาพยาบาล

Show

คำถามแรกที่ทุกคนสงสัย – หากไม่มีเงินจ่ายค่าโรงพยาบาลจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้น?

  • คำถามแรกที่ทุกคนสงสัย – หากไม่มีเงินจ่ายค่าโรงพยาบาลจริงๆ จะเกิดอะไรขึ้น?
  • 1เช็คค่าใช้จ่ายให้ชัวร์ ว่าตรงตามที่ได้รับบริการจริงๆ
  • 2
  • ถ้ามีข้อสงสัย อย่าพึ่งเซ็นต์เอกสารรับทราบ
  • 3
  • คิดจะใช้บัตรเครดิตจ่าย อาจกลายเป็นหนี้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
  • 4
  • แจ้งโรงพยาบาล ขอจ่ายตามระยะเวลาที่กำหนด แบบไม่มีดอกเบี้ย
  • 5
  • ขอส่วนลดค่ารักษาพยาบาล หากจ่ายในระยะเวลาที่กำหนด
  • 6
  • กู้เงิน สำหรับจ่ายค่ารักษา
  • 7
  • กู้ไม่ผ่าน ยังมีสินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ รออยู่
    • ผู้ติดตามหนี้ค่ารักษาพยาบาล สามารถทำอะไรเราได้บ้าง?
    • หากโดนทวงหนี้เรื่องนี้ ให้อัดเสียงโทรศัพท์ไว้ และ จดทุกอย่างที่คนทวงหนี้พูดเป็นลายลักษณ์อักษร
    • โดนทวงหนี้ แม้จ่ายได้ไม่เต็ม ก็ต้องจ่ายบ้าง
  • บทสรุปของหนี้โรงพยาบาล

จริงๆแล้วก่อนการเข้ารับการรักษา แทบทุกโรงพยาบาล จะมีการถามผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยก่อนว่า มี ประกันอะไรเบิกได้หรือไม่? หรือมีเงินรักษาเพียงพอหรือไม่? ซึ่งตรงนี้คือการ Pre-screen หรือการคัดกรองผู้ป่วยที่มีความสามารถหรือไม่มีความสามารถในการจ่ายเบื้องต้น แต่ถ้ารักษาต่อเนื่องไป เช่นต้องนอนแอดมิด หลายๆ วัน เกิดตังค์ไม่พอขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้น? 

มาตรการของโรงพยาบาล แต่ละแห่งจะแตกต่างกันออกไป แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว หากไม่มีเงินที่จะจ่ายจริงๆ ทางโรงพยาบาลจะเข้าแจ้งความกับสถานีตำรวจไว้ก่อน และปล่อยตัวผู้ป่วยกลับบ้าน (ทางโรงพยาบาลไม่มีสิทธิ์กักขังหน่วงเหนี่ยวเราไม่ให้ออกจากโรงพยาบาลได้) ต่อมาจะเป็นตามขั้นตอนดังนี้

  1. ทางโรงพยาบาลจะ เข้าเจรจากับผู้ป่วย เพื่อให้จ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามระยะเวลาที่กำหนด 
  2. เมื่อไม่สามารถจ่ายได้ ก็จะให้ผ่อนจ่ายเป็นรายเดือน
  3. หากผ่อนจ่ายรายเดือนแล้วยังขาดค่ารักษาพยาบาล ก็จะมีการคิดดอกเบี้ย
  4. และสุดท้ายหากไม่ได้จริงๆ ทาง โรงพยาบาลอาจส่งฟ้องศาล โดยจะเป็นเรื่องทางกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องทันที

1เช็คค่าใช้จ่ายให้ชัวร์ ว่าตรงตามที่ได้รับบริการจริงๆ

โรงพยาบาลส่วนใหญ่ มีการคิดค่าใช้จ่ายที่เป็นธรรม แต่ก็มีไม่น้อยที่มีความผิดพลาดในการคำนวณบ้างในบางครั้งบางคราว โดยที่ความผิดพลาดส่วนใหญ่ก็จะเกิดการทำใบแจ้งหนี้ การรวมรายการต่างๆเข้าด้วยกัน เช่นค่าอาหารสำหรับผู้ป่วย ค่ายา ค่าพยาบาล ค่าหมอ หากเราเป็นญาติผู้ป่วย หรือ เป็นผู้ป่วยเอง ที่กำลังจะออกจากโรงพยาบาล ไม่ว่าจะมีเงินจ่ายหรือไม่ก็ตาม เราควรต้องเช็คค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ถูกต้อง เพราะแน่นอนว่าอาจมีรายการที่เราไม่คุ้น ก็สามารถสอบถามกับทางฝ่ายการเงินของโรงพยาบาลได้ตลอดเวลา

บิลค่ารักษา โรงพยาบาลกรุงเทพ

2

ถ้ามีข้อสงสัย อย่าพึ่งเซ็นต์เอกสารรับทราบ

โดยปกติฝ่ายการเงินของโรงพยาบาล จะมีการส่งเอกสารให้เราตรวจสอบ ก่อนการเรียกเก็บเงินจริง หากมีจุดใดที่คิดว่าไม่ถูกต้องควรต้องแย้งกับทางเจ้าหน้าที่ และ ห้ามเซ็นต์เอกสารใดๆ หากว่ายังไม่แน่ใจ หรือ ยังไม่ได้รับการอธิบายที่ดีพอ จากเจ้าหน้าที่เป็นอันขาด

3

คิดจะใช้บัตรเครดิตจ่าย อาจกลายเป็นหนี้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด

หลังจาการเช็คค่าใช้จ่าย หรือมีการปรับปรุงเรื่องยอดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนการจ่ายค่ารักษาพยาบาล และแน่นอนว่า คนที่มาอ่านบทความนี้ มากกว่า 90% อาจไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ดังนั้น สิ่งที่คิดได้ก็คือ ก็จะใช้บัตรเครดิตในการจ่าย รูดไปก่อนแล้วถึงจะมาจ่ายค่าบัตรคืนในภายหลัง

ซึ่งการจ่ายด้วยบัตรเครดิต กับค่ารักษาพยาบาลนั้น จะทำให้เราสามารถเคลียร์ทุกอย่างได้ โดยหลังจากการเคลียร์หนี้กับโรงพยาบาลเรียบร้อย แต่เราจะมาติดหนี้บัตรเครดิตแทน ซึ่งหากไม่มีเงินที่พอจ่ายอยู่แล้ว หนี้บัตรเครดิต อาจจะทำให้ค่ารักษาพยาบาลของเราแพงกว่าเดิมหลายเท่าเลยทีเดียว

เพราะเมื่อจ่ายค่าบัตรเครดิตไม่ครบตามที่กำหนด หรือไม่ได้จ่ายเต็มจำนวน ย่อมมีดอกเบี้ยมากถึง 18%-28% ต่อปี และเพราะการจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลนั้น สามารถต่อรองได้มากกว่าการจ่ายหนี้ค่าบัตรเครดิต โดยที่หากว่ามีเงินไม่พอจ่ายค่ารักษา เราอาจทำการจ่ายไปส่วนหนึ่งก่อน และมาเคลียร์กันทีหลัง หรือตกลงกันว่าจะจ่ายค่ารักษา ค่าโรงพยาบาลต่างๆ ในระยะเวลาที่กำหนด ในรูปแบบผ่อนจ่าย หรือ จ่ายเป็นก้อน ก็ได้เช่นเดียวกัน

4

แจ้งโรงพยาบาล ขอจ่ายตามระยะเวลาที่กำหนด แบบไม่มีดอกเบี้ย

โรงพยาบาลไม่ได้อยากจะได้ดอกเบี้ยอยู่แล้ว และเค้าเพียงแต่อยากจะได้ในส่วนที่เค้าต้องได้เท่านั้น นั่นก็คือค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด การทำข้อตกลง หรือ สัญญากับทางโรงพยาบาล เกี่ยวกับการใช้หนี้คืน ตามระยะเวลาที่กำหนด เป็นทางออกที่ดีในเบื้องต้น สำหรับ ผู้ที่ไม่มีเงินจ่าย

5

ขอส่วนลดค่ารักษาพยาบาล หากจ่ายในระยะเวลาที่กำหนด

หลายแห่ง อาจให้ส่วนลดทันที 10% กับค่าบริการ แต่ไม่ใช่ค่ายา แต่ก็อาจมีทางออกสำหรับผู้ที่มีเงินฝืดเคืองจริงๆ โดยการขอต่อรองโรงพยาบาลว่า ขอส่วนลดในการรักษาพยาบาล หากจ่ายภายใน 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ซึ่งในจุดนี้ หากทางโรงพยาบาลยอมรับได้ ก็ต้องทำหน้าที่ในการจ่ายให้ตรงด้วย

6

กู้เงิน สำหรับจ่ายค่ารักษา

เมื่อมาถึงจุดที่ต้องจ่ายค่ารักษาแล้ว การกู้ยืมเงิน หรือ ขอสินเชื่อ เพื่อมาจ่ายค่ารักษาพยาบาลนั้นเป็นเรื่องที่ควรทำ เพราะเดี๋ยวนี้มีสินเชื่อหลายตัวที่ออกแบบมาสำหรับการจ่ายค่ารักษาพยาบาลจริงๆ

ยกตัวอย่าง โครงการแต้มต่อชีวิต ที่รวมเอาโรงพยาบาลรัฐ 11 แห่ง จากทุกภูมิภาค ร่วมกับ บัตรกรุงศรี เฟิร์สช้อยส์ ในการผ่อนจ่ายค่ารักษาพยาบาล 0% นาน 3 เดือน

บิลค่ารักษา โรงพยาบาลกรุงเทพ

อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือ สินเชื่อเพื่อการรักษาพยาบาล แบบผ่อนได้ จาก SCB EASY ที่สามารถ ขอได้ผ่าน SCB Application ซึ่งจะมีวงเงินตั้งแต่ 20,000 – ไปจนถึง 2 ล้านบาท ผ่อนได้ 20 เดือน โดยมีดอกเบี้ย 15% ต่อปี และสูงสุด 28% ต่อปี หากมีการผิดนัดชำระหนี้ และดอกเบี้ยสามารถเลือกได้แบบ คงที่ หรือ ลดต้นลดดอกกได้ ซึ่งคาดว่า ผลิตภัณฑ์สินเชื่อตัวนี้ น่าจะใช้ฐานเดียวกันกับ SCB Speedy Loan ที่เป็นสินเชื่อส่วนบุคคลอยู่แล้ว

กู้ไม่ผ่าน ยังมีสินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ รออยู่

หากลองไม้ตายสุดท้ายแล้วยังไม่ผ่านในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยการกู้ธนาคาร จริงๆแล้ว ทางออกอีกทางหนึ่งก็คือการนำหลักทรัพย์ไปจำนำ โดยยกตัวอย่างการรีไฟแนนซ์รถยนต์ เพื่อนำเงินออกมาใช้ การจำนำทะเบียนรถ ก็จะช่วยได้เช่นกัน ไม่มากก็น้อย และนี่คือทางสุดท้ายก่อนการไปยืมเพื่อน ยืมญาติ หรือ โดนสั่งฟ้อง กับการที่ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ผู้ติดตามหนี้ค่ารักษาพยาบาล สามารถทำอะไรเราได้บ้าง?

มาถึงตอนนี้ หากจ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่ได้เลยซักทาง ไม่รู้จะต้องทำยังไงดี เราก็อาจจะเจอกับบริษัทติดตามทวงถามหนี้ นอกเหนือจากโรงพยาบาลที่ต้องเจอ และสิ่งที่เราต้องเจอก็คือการโดนทวงถาม และอาจยืดยาวไปถึงการโดนฟ้องร้อง ขึ้นศาล แต่นี่คือสิ่งที่ผู้ทวงหนี้ทำไม่ได้

  1. ขู่เข็ญ หรือประทุษร้าย ทางร่างกาย และจิตใจ
  2. แจ้งว่าเราทำผิดกฎหมายอาญา
  3. ขู่ หรือ ทำการประจานเรื่องของเรากับญาติ เพื่อน ผู้ร่วมงาน
  4. โทรหาทั้งวันทั้งคืน โดยไม่สนเรื่องเวลา
  5. ใช้ภาษาพูดหยาบคาย หรือทำให้กลัว
  6. และอื่นๆ

หากโดนทวงหนี้เรื่องนี้ ให้อัดเสียงโทรศัพท์ไว้ และ จดทุกอย่างที่คนทวงหนี้พูดเป็นลายลักษณ์อักษร

แม้แต่หนี้รักษาพยาบาล คนทวงหนี้อาจไม่ได้คำนึงถึงว่ามันอาจเกี่ยวข้องกับความเป็นความตาย เพราะหน้าที่เค้าคือการทวงหนี้เท่านั้น และการคุยกับเจ้าหน้าที่ ภาษาที่ใช้กันอาจทำให้เกิดอารมณ์ขึ้นได้บางครั้งบางคราว การอัดเสียงไว้ และ จดทุกอย่างที่คนทวงหนี้พูดเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อนำมาสอบถามกับผู้รู้ ทนาย หรือ บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องกฎหมายต่อไป

โดนทวงหนี้ แม้จ่ายได้ไม่เต็ม ก็ต้องจ่ายบ้าง

แน่นอนว่าหากเราทวงหนี้ใครเราก็อยากได้เต็ม แต่ถ้าไม่ได้เต็ม ได้มาก่อนนิดหน่อยก็ยังดี ใจเขาใจเราเหมือนกัน การบอกผู้ทวงหนี้ว่า เราจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งไปก่อน ก็อาจทำให้เรื่องราวและอารมณ์ความร้อนแรงของทั้งสองฝ่ายดีขึ้น สามารถคุยกันได้มากขึ้น เราแนะนำให้มีการจ่ายหนี้บางส่วนไปบ้าง เพื่อให้ทุกฝ่ายสบายใจ และจริงๆแล้ว มันเป็นสิ่งที่เราควรทำตั้งแต่ต้นแล้ว

บทสรุปของหนี้โรงพยาบาล

หนี้จากโรงพยาบาล เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเครียด เพราะหลังจากป่วยแล้ว พึ่งหาย ก็จะต้องมาเจอเรื่องแบบนี้อีก ไม่ว่าจะทำอะไร ก็อย่าเพิกเฉยกับหนี้ที่ต้องจ่าย และควรคิดให้รอบคอบก่อนการจ่ายทุกครั้ง และการจ่ายหนี้โรงพยาบาล มันไม่เหมือนกับการจ่ายบิลค่าเน็ต ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ที่ต้องจ่ายทุกๆเดือน การเตรียมพร้อมสิ่งที่อาจเกิดขึ้น คือการป่วยเช่นการซื้อประกันสุขภาพ ก็เป็นสิ่งที่ควรวางแผนไว้ตั้งแต่ต้น และไม่ว่าจะมีรายได้เท่าไหร่ก็ตาม ควรเจียดเงินมาซื้อประกันในรูปแบบนี้ไว้ จะได้ไม่ตกอยู่ในสถานการณ์ดังเช่นในบทความนี้

อ่านต่อเกี่ยวกับประกันสุขภาพ

  • ประกันสุขภาพครอบครัว คืออะไร เลือกทำแบบไหนได้บ้าง
  • ประกันสุขภาพแห่งชาติ คืออะไร ?
  • ถ้ามีประกันสุขภาพแล้ว ควรทำประกันอุบัติเหตุด้วยหรือไม่
  • ประกันสุขภาพเด็ก Super Kids สินมั่นคง ดีไหม ?
  • “ประกันสุขภาพได้หมด” สุขภาพดี ไม่มีเคลม รับส่วนลดเบี้ยสูงสุด 30%

บิลค่ารักษา โรงพยาบาลกรุงเทพ