ประโยชน์ ของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว

การดูแลวางแผนสุขภาพ
ของตนเองและครอบครัว

จัดทำโดย

นายพุทธศักดิ์ ทองแดง เลขที่2 ม.5/3

นายธรัชพล ใจกล้า เลขที่3 ม.5/3

นายอมรเทพ เขิมขันธ์ เลขที่12 ม.5/3

เสนอ

คุณครูอิทธิพล โสภา

โรงเรียนหัวตะพานวิทยาคม

สำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา ที่29

คำนำ

การที่คนเราจะมีสุขภาพที่ยั่งยืนได้นั้น นอกจาก
ต้องรู้จักการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองแล้ว การ
รู้จักวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว
ชุมชน และสังคมก็นับว่าเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะสุขภาพ
ของบุคคลในครอบครัว ชุม และสังคมล้วนแล้วแต่มี
ผลเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น ดังนั้น เราควรเรียนรู้และสร้าง
ความเข้าใจถึงแนวทางในการวางแผนดูแลสุขภาพของ
บุคคลที่อยู่ในครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อที่จะได้
นำไปใช้ในการดูแลสุขภาพ เพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีและ
ยั่งยืนต่อไป

การดูแลวางแผนสุขภาพของตนเองและ
ครอบครัวในหนังสือออนไลน์(e-book)คณะผู้จัดทำ จัด
ทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเรื่อง การดูแล
วางแผนสุขภาพของตนเองและครอบครัว เพื่อให้ความ
รู้เกี่ยวกับการวางแผนการดูแลสุขภาพของบุคคลใน
ครอบครัว ชุมชน และสังคม จึงเป็นความรู้ที่สำคัญอีก
ประการหนึ่งที่เราควรได้ศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อ
ที่จะได้นำความรู้ความเข้าใจดังกล่าวไปปรับใช้ในการ
สร้างเสริมสุขภาพในชีวิตประจำวันและในอนาคตต่อ
ไป

สารบัญ

การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว...............1

1.ความหมายของการวางแผนดูแลสุขภาพ..................................

2.หลักการวางแผนและการปฏิบัติตามแผนดูแลสุขภาพ.......

3.วิธีการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลใน
ครอบครัว...............................................................................................2

3.1โภชนาการ..........................................................................................

3.2การออกกำลังกาย........................................................................3

3.3การพักผ่อน.......................................................................................

3.4การตรวจสุขภาพ..........................................................................4

4.การสำรวจปั จจัยที่มีผลต่อสุขภาพของตนเอง และบุคคล
ในครอบครัว.........................................................................................5

5.ประโยชน์ของการวางแผนดูแลสุขภาพ ของตนเองและ
บุคคลในครอบครัว............................................................................6

การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง
และครอบครัว

1.ความหมายของการวางแผนดูแลสุขภาพ

การวางแผนดูแลสุขภาพ หมายถึง การกำหนด
รูปแบบในการดูแลสุขภาพตามที่ต้องการ รวมถึงวัตถุประสงค์วิธี
ดำ เนินการและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการมีสุขภาพที่ดี การ
วางแผนดูแลสุขภาพจะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นในการดูแล
สุขภาพและสร้างสัมพันธภาพ อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัวนำ
ไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต

2.หลักการวางแผนและการปฏิบัติตามแผน
ดูแลสุขภาพ

หลักการวางแผนแบบ Deming คือ หลักการควบคุมคุณภาพที่
เรียกว่า วงจรเดมมิง (Deming) เพื่อที่จะบรรลุเป้ าหมายจึงต้องมี
ขั้นตอนการปฏิบัติ4ขั้นตอนดังนี้
1. P(Plan)คือการวางแผนเพื่อตั้งเป้ าหมายเลือกปัญหาและ
วางแผนการแก้ปั ญหา
2. D (Do)คือการลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
3. C (Check)คือการตรวจสอบผลแล้วเปรียบเทียบผล
4. A (Action)คือการนำผลการตรวจสอบมาปรับปรุงและพัฒนาให้
ดียิ่งขึ้น

3.วิธีการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง
และบุคคลในครอบครัว

การวางแผนดูแลสุขภาพ ควรให้ความสำคัญกับเรื่องต่างๆดังนี้

3.1โภชนาการ

การวางแผนรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้มี
สุขภาพดีซึ่งต้องรับประทานอาหาร ตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับ
เพศและวัย โดยกำหนดรายการอาหารแต่ละวันเพื่อให้ได้
อาหารครบทั้ง 5หมู่ ซึ่งอาจวางแผนกำหนดเป็นช่วงสัปดาห์

การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับวัยปฏิบัติได้ดังนี้
-วัยทารก ควรได้รับนมมารดาเพียงอย่างเดียวจนถึงอายุ6
เดือน
-วัยเด็กต้องการได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอต่อความต้องการ
ของร่างกายซึ่งกำลังเกิด การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการใน
ทุกๆด้านสารอาหารต้องครบ5หมู่
-วัยรุ่น มีร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงท้ายที่
ร่างกายจะเจริญเติบโต ร่างกายต้องการพลังงานและโปรตีน
จำนวนมากซึ่งวัยรุ่นชายต้องการพลังงานมากกว่าวัยรุ่นหญิง
เล็กน้ อย
-วัยผู้ใหญ่ ร่างกายหยุดการเจริญเติบโต แต่ยังต้องการ
พลังงานและโปรตีนเพื่อช่วย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและนำ
พลังงานไปใช้ในการทำ งานประกอบอาชีพ และการดำ เนิน
ชีวิต
-วัยสูงอายุ ร่างกายมีความเสื่อมถอยลงควรได้รับสารอาหาร
ครบ5หมู่และมีการควบคุม อาหารในแต่ละมื้อให้ย่อยง่าย
ปริมาณพอเหมาะ เน้ นการนำสารอาหารมาซ่อมแซมร่างกาย
ส่วนที่สึกหรอ มากกว่าการนำ พลังงานไปใช้เพียงอย่างเดียว

3.2การออกกำลังกาย

การออกกำ ลังกายจะทำ ให้อวัยวะ ทำ งานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ทุกคนจึงต้อง ออกกำลังกายโดยอาจปฏิบัติร่วม
กันในครอบครัว หรือตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล
โดยศึกษารูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสม กับวัย เพศ
และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ควรปฏิบัติครั้งละไม่ตํ่ากว่า
30นาทีสำหรับผู้ที่มี โรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน

การออกกำลังกายตามช่วงวัยต่างๆปฏิบัติได้ดังนี้

-วัยเด็กถึงวัยรุ่น การออกกำลังกายในช่วงวัยนี้จะทำ ให้
ร่างกายมีการพัฒนาและสร้าง กล้ามเนื้อ จึงควรฝึกเล่นกีฬาให้
หลากหลายชนิดไปพร้อม ๆ กัน กีฬาที่เล่นควรเป็นกีฬาที่ช่วย
สร้าง ความแข็งแรงความเร็วความอดทนความคล่องตัว
-วัยผู้ใหญ่ การออกกำลังกายสามารถปรับเปลี่ยนได้หลายรูป
แบบ ให้เหมาะสมกับการ ดำ เนินชีวิตของแต่ละคนเพราะ
ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเต็มที่แล้ว
-วัยสูงอายุ ควรเลือกการออกกำลังกายง่ายๆสร้างเสริมระบบ
หายใจและระบบไหลเวียน โลหิตฝึกการทรงตัวเพื่อประโยชน์
ต่อการดำ เนินชีวิตเช่นการเดินการรำ ไท้เก๊กการว่ายนํ้า

3.3การพักผ่อน

การพักผ่อนช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย และสร้างเสริม
ร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่
ช่วยให้ร่างกายได้พักและซ่อมแซมส่วนต่างๆโดยระยะเวลาการ
นอนหลับ ที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามวัย เช่น วัยทารกควร
นอนวันละ 18-20 ชั่วโมง วัยเด็กและวัยรุ่น ควรนอนวันละ
ประมาณ 8-9 ชั่วโมง วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุควรนอนวันละ
ประมาณ 7-8 ชั่วโมง การนอนหลับจึงต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับ
วัย การทำกิจกรรมนันทนาการก็เป็นการพักผ่อนที่ดีวิธีหนึ่ง
เพราะช่วยให้ผ่อนคลายอารมณ์และความเครียด

3.4การตรวจสุขภาพ

ทุกคนในครอบครัวต้องรู้จักสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเอง
และบุคคลในครอบครัว การวางแผนการตรวจสุขภาพนั้น จะแตก
ต่างไปตาม เพศและวัย เช่น วัยทารกต้องได้รับการตรวจสุขภาพ
ตามคำแนะนำ ของแพทย์วัยเรียนต้องได้รับการฉีด วัคซีนและ
ตรวจสุขภาพอย่างน้ อยปีละ1ครั้งวัยผู้ใหญ่ ควรตรวจสุขภาพอย่าง
น้ อยปีละ 1 ครั้ง การตรวจ สุขภาพก่อนสมรสหรือมีบุตรทั้งเพศชาย
และเพศหญิง จำ เป็นต้องตรวจ เพื่อเตรียมความพร้อมและลด
ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และวางแผนครอบครัวในอนาคต ได้อย่างเหมาะ
สมซึ่งต้องมีการตรวจดังนี้

-ตรวจภายใน
-ตรวจหมู่เลือด
-ตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม
-ตรวจโรคติดต่อทางเพศ
-ตรวจภูมิคุ้มกันต่างๆ
-ตรวจร่างกายทั่วไปและความพร้อมในการมีบุตร
สำหรับวัยสูงอายุซึ่งมีความเสื่อมของร่างกาย ควรได้รับการตรวจ
สุขภาพอย่างน้ อย 6 เดือน ต่อ1ครั้งหรือหากมีความผิดปกติเกิดขึ้น
ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างทันท่วงที

4.การสำรวจปั จจัยที่มีผลต่อสุขภาพของตนเอง
และบุคคลในครอบครัว

เพื่อทราบสาเหตุของปัญหาสุขภาพ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่างๆ
เช่น พฤติกรรมบุคคลสภาพร่างกาย กิจวัตรประจำวันการรับ
ประทานอาหารการพักผ่อนสภาพแวดล้อมสุขาภิบาลซึ่งดำ เนินการ
ได้ดังนี้

4.1 สอบถามถึงสภาพของปัญหาสุขภาพที่เกิดกับแต่ละบุคคล
4.2 สืบค้นเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ
โดยการสังเกตสัมภาษณ์จดบันทึก หรือใช้แบบสอบถามอย่างง่าย
ช่วยในการเก็บข้อมูลเพื่อหาสาเหตุซึ่งการสำรวจอาจแบ่งได้
เป็ น2ส่วนคือ

-สำรวจข้อมูลบุคคลจะเก็บข้อมูลจากสมาชิกในครอบครัว
เป็ นรายบุคคล

-สำรวจข้อมูลส่วนรวมจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปั จจัยที่มีผล
ต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว

4.3 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการวางแผนดูแล
สุขภาพต่อไป

5.ประโยชน์ ของการวางแผนดูแลสุขภาพ
ของตนเองและบุคคลในครอบครัว

ประโยชน์ของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลใน
ครอบครัวมีดังนี้

5.1 ทำ ให้มองเห็นวิธีดำ เนินการที่จะปฏิบัติหรือเลือกปฏิบัติ
เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบ ทั้งการดูแลสุขภาพของตนเอง
และบุคคลในครอบครัว

5.2 ทำ ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพกาย
และสุขภาพจิตทั้งของตนเองและบุคคล ในครอบครัว

5.3 ลดภาวะความเจ็บป่วย ความพิการ หรือการเสียชีวิตก่อน
วัยอันควร เป็นการป้ องกันการเกิด ภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพเบื้องต้น

5.4 ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครอบครัว ลด
ภาระและประหยัดงบประมาณ ในด้านการให้บริการสุขภาพหรือการ
รักษาพยาบาลของรัฐ 5.5 เป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่สังคมลด
ปั ญหาด้านการสาธารณสุขเพราะประชาชนมีสุขภาพดี

ประโยชน์ของการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว เลือกแนวทางการดูแลสุขภาพให้กับตนเองและบุคคลในครอบครัวได้อย่าง เหมาะสมและเป็นระบบ ทำาให้มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ลดภาวะความเสี่ยง ด้านสุขภาพ ประหยัดค่าใช้จ่ายและช่วยสร้างความเข้มแข็งในสังคม

การวางแผนดูแลสุขภาพมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างไร

ความสำคัญ ประโยชน์ และวิธีการวางแผนดูแลสุขภาพ.
ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายมีสภาพสมบูรณ์และเป็นปกติ ทรุดโทรมช้า.
ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ และมีประสิทธิภาพ.
ทำให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ.
ทำให้ฟื้นจากความเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นคนที่ร่าเริงแจ่มใส มีอารมณ์ดีและมองโลกในแง่ดี.

สุขภาพร่างกายแข็งแรงมีประโยชน์อย่างไร

หากคุณมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ร่างกายของคุณจะมีภูมิต้านทานที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น โรคแทรกซ้อนต่าง ๆ จะเข้ามาแทรกแซงร่างกายคุณได้น้อยลง และช่วยยับยั้งการเกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคความดันโลหิต กระดูกพรุน เป็นต้น – ช่วยสร้างความสมดุลในร่างกาย

วัตถุประสงค์ของการวางแผนดูแลสุขภาพเพื่ออะไร

3.1ความสำคัญ ประโยชน์และวิธีการวางแผนดูแลสุขภาพ.
ทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายมีสภาพสมบูรณ์และเป็นปกติ ทรุดโทรมช้า.
ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ และมีประสิทธิภาพ.
ทำให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ.
ทำให้ฟื้นจากความเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นคนที่ร่าเริงแจ่มใส มีอารมณ์ดีและมองโลกในแง่ดี.