ผู้หญิงตอนเป็นเมนส์ มีอารมณ์ไหม

เชื่อว่าคุณผู้หญิงหลายท่านอาจประสบกับการมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง หรือมีอาการทางด้านร่างกายต่างๆในช่วงก่อนมีประจำเดือน จนอาจทำให้ใช้ชัวิตประจำวันหรือทำงานได้ไม่ปกติเพราะอาการเหล่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วภาวะดังกล่าวถือเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในกลุ่มประชากรผู้หญิงเลยค่ะ โดยในบางรายอาจมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน

- กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนเป็นอย่างไร พบได้เยอะไหม?
กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือน (premenstrual dysphoric disorder หรือตัวย่อคือ PMDD) เป็นรูปแบบกลุ่มอาการที่รุนแรงของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน ทำให้เกิดการมีอาการผิดปกติทางร่างกายจิตใจหรืออารมณ์อย่างรุนแรงโดยสัมพันธ์กับช่วงก่อนการมีประจำเดือน ทำให้มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงาน ซึ่งถูกกระตุ้นได้จากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน (ovarian steroid hormone)ในช่วงครึ่งหลังของวงรอบการมีประจำเดือน อาการมักเกิดขึ้นในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน จากนั้นเริ่มดีขึ้นภายหลังการมีประจำเดือน 2-3 วันและหายไปภายใน 1 สัปดาห์หลังประจำเดือนหมด ทั้งนี้กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนพบได้ถึง 3-7% ของผู้หญิงทั่วไป ซึ่งเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูงทีเดียวค่ะ อย่างไรก็ตามพบว่า 80% ของผู้หญิงทั่วไปมีภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงหรือมีอาการด้านร่างกายก่อนมีประจำเดือนเล็กน้อยซึ่งไม่ได้รุนแรงถึงระดับของกลุ่มอาการดังกล่าว

- กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนมีอาการอย่างไรได้บ้าง?
อาการของกลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนสามารถแบ่งได้เป็น 3 ด้านหลักดังนี้
1. อาการด้านอารมณ์ (mood symptoms) : อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่ายขึ้น บางรายอาจมีอารมณ์ซึมเศร้า หรือวิตกกังวลได้
2. อาการด้านพฤติกรรม (behavior symptoms) : รับประทานมากขึ้นหรือน้อยลงกว่าปกติ นอนหลับมากขึ้นกว่าปกติหรือนอนไม่หลับ
3. อาการด้านร่างกาย (physical symptoms) : ปวดศีรษะ คัดตึงเต้านม รู้สึกบวมตามตัว น้ำหนักเพิ่มขึ้น

- กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนเกิดจากอะไร?
นอกจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน (ovarian steroid hormone)ในช่วงครึ่งหลังของวงรอบการมีประจำเดือนตามที่ได้อธิบายข้างต้นแล้วแล้ว มีการศึกษาพบว่าอาการด้านอารมณ์ของภาวะดังกล่าวนี้เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสารสื่อประสาทชนิด serotonin ซึ่งมีระดับลดลงร่วมด้วย นอกจากนี้ในผู้หญิงที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวมีกลุ่มอาการดังกล่าวก็อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกันค่ะ

- กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนที่ไม่รุนแรงเป็นอย่างไร?
สำหรับกลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนที่ไม่รุนแรง (premenstrual syndrome หรือตัวย่อคือ PMS) จะมีความรุนแรงน้อยกว่าและมักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงานน้อยกว่า โดยการวินิจฉัยจะต้องมีอาการด้านอารมณ์อย่างน้อย 1 อาการ (ซึมเศร้า/หงุดหงิดง่าย/วิตกกังวล/รู้สึกสับสน/แยกตัวจากสังคม) หรืออาการด้านร่างกายอย่างน้อย 1 อาการ (คัดตึงเต้านม/ท้องอืด/ปวดศีรษะ/รู้สึกแขนขาบวมขึ้น) ในช่วง 5 วันก่อนการมีประจำเดือนอย่างน้อย 3 รอบประจำเดือน

- เราจะจัดการกลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนได้อย่างไร?
การรักษากลุ่มอาการดังกล่าวอาจทำได้โดยการปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ออกกำลังกายให้พอเหมาะอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ พักผ่อนให้เพียงพอให้ได้ 6-8 ชั่วโมง งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นหรืออาการเป็นมากจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้ทำงานไม่ได้ อาจพิจารณาพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับการรักษาเพิ่มเติมได้ค่ะ

Reference
- Fritz MA, Speroff L. Clinical gynecologic endocrinology and infertility. 8th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins; 2011. 568–79 p.
- Benjamin James Sadock et al. Synopsis of Psychiatry. 11th ed.: : Wolters Kluwer; 2015. 841–42 p.

ซึ่งมีชื่อว่า PMS หรือ Premenstrual Syndrome เป็นอาการทางกาย พฤติกรรม และอารมณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการมีประจําเดือน อาจมีอาการได้ถึง 2 สัปดาห์ก่อนการมีประจําเดือน อาการจะดีขึ้นและหมดไปเมื่อประจําเดือนมา 2–3 วัน กลุ่มอาการดังกล่าวจัดอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงรุนแรงปานกลาง โดยทั่วไปจะไม่ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงาน แต่บางรายอาจมีอาการขั้นรุนแรง ที่เรียกว่า PMDD หรือ Premenstrual Dysphoric Disorder ได้

สาเหตุการเกิด PMS

สาเหตุสำคัญเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละรอบเดือน (ประมาณ 7-10 วันก่อนการมีประจำเดือน) ปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ปัญหาจากความเครียด โรคทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า การขาดสารอาหารพวกวิตามินและเกลือแร่ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือกาเฟอีนเป็นประจำ

อาการของ PMS มีดังนี้

  1. อาการทางด้านอารมณ์: หงุดหงิด เครียด โกรธง่าย วิตกกังวล กระวนกระวายใจ อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  2. อาการทางด้านร่างกาย: เหนื่อยง่าย อ่อนล้า มีการบวมของร่างกาย อยากอาหารมากกว่าปกติทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ท้องเสียหรือท้องผูก คัดตึงเต้านม เป็นสิว นอนมากเกินไปหรือน้อยเกินไป และบางรายมีอาการนอนไม่หลับ

อาการที่พบบ่อยได้แก่ บวม เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ น้ำหนักเพิ่ม นอนไม่หลับ รับประทานมากขึ้น สมาธิสั้น หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึมเศร้า และอารมณ์แปรปรวน

อันตรายจาก PMS มีหรือไม่?

ความรุนแรงของ PMS สามารถเพิ่มระดับจนพัฒนาเป็น PMDD โดยจะมีความรุนแรงทางด้านอารมณ์มากกว่า PMS คือ มีอารมณ์ก้าวร้าว ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หดหู่ใจ สิ้นหวัง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า อยากฆ่าตัวตาย หรืออยากทำร้ายผู้อื่น ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างรีบด่วน

อาการของ PMDD

ถ้าถ้าหากพบว่ามีอาการดังกล่าวอย่างน้อย 5 ข้อ แสดงว่าคุณมีโอกาสเป็น PMDD ซึ่งจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  1. ซึมเศร้า หมดหวัง คิดทำร้ายตัวเอง
  2. วิตกกังวลและเครียด
  3. อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  4. อารมณ์ไม่มั่นคงโกรธง่าย
  5. ไม่สนใจชีวิตประจำวันและไม่สนใจคนรอบข้าง
  6. ไม่มีสมาธิ
  7. อ่อนเพลีย
  8. กินจุ กินบ่อย
  9. นอนไม่หลับ
  10. ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
  11. อาการทางกายได้แก่ แน่นท้อง เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ ปวดข้อ

การรักษาและการดูแลสุขภาพโดยรวม

ทำสมุดบันทึกการมีรอบเดือนและจดรายละเอียดของอาการที่เกิดขึ้นทุกครั้ง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับแพทย์ในการบำบัดรักษาในรายที่มีอาการรุนแรง