สมัครสอบ ตัวแทน ประกันชีวิต ออนไลน์

ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีควรจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ไม่ว่าผู้เอาประกันภัย เพื่อนตัวแทนประกันชีวิตหรือบริษัท ไม่หลอกลวงเพื่อให้ฝ่ายใดได้ประโยชน์ในสิ่งหนึ่งที่ไม่ควรได้ ต้องชี้แจงผลประโยชน์และข้อยกเว้นของกรมธรรม์ให้ผู้เอาประกันภัยทราบโดยไม่ปิดบัง อันจะนำมาซึ่งภาพพจน์ที่ดีของธุรกิจประกันชีวิต

จรรยาบรรณข้อที่ 2
ให้บริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอและชี้แจงให้ผ้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย

ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีต้องให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัยอย่างสม่ำเสมอทั้งก่อนและหลังการขายประกันชีวิต คือต้องแนะนำชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยที่ต้องกระทำ เช่น หน้าที่การชำระเบี้ยประกันภัย ต้องชำระเบี้ยประกันภัยให้ตรงตามกำหนด หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถชำระเบี้ยประกันภัยตรงตามกำหนดได้ ก็จะมีระยะเวลาผ่อนผันให้ตามที่กำหนดไว้ในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย (30 วันหรือ 60 วันขึ้นอยู่กับแบบกรมธรรม์) เป็นต้น ขณะเดียวกัน ต้องชี้แจงสิทธิที่ผู้เอาประกันภัยพึงมี เช่น การเรียกร้องผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ การใช้สิทธิ์ตามมูลค่าในกรมธรรม์ หรือการขอตรวจสอบข้อมูลในกรมธรรม์ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ ต้องคอยติดตามไถ่ถามทุกข์สุข และพร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อเขาต้องการ

จรรยาบรรณข้อที่ 3
รักษาความลับอันมิควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก

ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีต้องรักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัยหรือของบริษัท การเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับของผู้เอาประกันภัยและของบริษัทต่อบุคคลภายนอก เช่น การนำความลับหรือข้อมูลข่าวสารของผู้เอาประกันภัยทั้งเรื่องรายละเอียดส่วนตัวและฐานะการเงินไปเปิดเผยต่อบุคคลอื่น อันทำให้ความลับของผู้เอาประกันภัยรั่วไหล เว้นแต่เป็นการเปิดเผยต่อบริษัทเพื่อการพิจารณารับประกันภัยและการจ่ายสินไหม และไม่นำความลับของบริษัทไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก หากทำให้เกิดความเสียหายหรือเสียชื่อเสียงต่อภาพลักษณ์ของบริษัท

จรรยาบรรณข้อที่ 4
เปิดเผยข้อความจริงของผ้เอาประกันภัยในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันภัย หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์

ตัวแทนประกันชีวิตจะต้องแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบว่าต้องกรอกข้อความในใบค าขอเอาประกันภัย ให้ตรงตามความเป็นจริงในส่วนที่เป็นสาระสำคัญเพื่อการพิจารณารับประกันภัย หรือเพื่อความสมบูรณ์แห่งกรมธรรม์ การปกปิดความจริงอันเป็นสาระสำคัญของผู้เอาประกันภัย เช่น ผู้เอาประกันภัยป่วยเป็นโรคร้ายแรง ประวัติบุคคลในครอบครัวเคยป่วยด้วยโรคบางโรค ถือเป็นส่วนที่สำคัญในการพิจารณารับประกันภัย ซึ่งเมื่อบริษัทได้รับรู้อาจจะทำให้
เรียกเก็บเบี้ยประกันภัยเพิ่มพิเศษหรือปฏิเสธไม่รับประกันภัยนั้น หากบริษัททราบความจริงในภายหลังอาจใช้สิทธิ์บอกล้างโมฆียกรรม ทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์จากการทำประกันชีวิตได้

จรรยาบรรณข้อที่ 5
ไม่เสนอแนะให้ผ้เอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยหรือเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์

ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีไม่ควรเสนอแนะผู้เอาประกันภัยทำประกันภัยเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย การทำประกันชีวิตเกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย จะทำให้เกิดผลเสียกับธุรกิจประกันภัย โดยรวมทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถรักษากรมธรรม์ไว้ได้จนครบกำหนดสัญญา มีผลให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รับประโยชน์ครบถ้วนตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ ส่วนบริษัทก็ต้องเสียโอกาสและขาดรายได้จากการรับเบี้ยประกันภัยที่ไม่สม่ำเสมอ อีกทั้งยังมีผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจประกันภัยโดยรวม ถึงแม้ว่าจะเป็นการขอซื้อการประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยที่เกินความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัย ตัวแทนประกันชีวิตก็ควรแนะนำให้ทำประกันชีวิตให้เหมาะสมกับรายรับ-รายจ่ายและภาระต่าง ๆ ของผู้เอาประกันภัยด้วย นอกจากนี้แล้ว การเสนอขายนอกเหนือเงื่อนไขในกรมธรรม์ ซึ่งไม่มีผลผูกพันตามสัญญา ทำให้ผู้เอาประกันภัยเกิดความเข้าใจผิดและไม่ได้รับผลประโยชน์ตามที่ตัวแทนประกันชีวิตเสนอไว้ จะทำให้เกิดผลกระทบทางลบต่อธุรกิจประกันภัยและต่อตัวแทนประกันชีวิตด้วย

จรรยาบรรณข้อที่ 6
ไม่ลดหรือเสนอที่จะลดค่าบำเหน็จเพื่อเป็นการจูงใจให้เอาประกันภัย

บริษัทประกันชีวิตจ่ายค่าบำเหน็จให้กับตัวแทนประกันชีวิตด้วยการคิดรวมเป็นค่าใช้จ่ายไว้ในเบี้ยประกันภัยแล้ว ดังนั้นตัวแทนประกันชีวิตจึงควรตอบแทนบริษัทด้วยการให้บริการที่ดีต่อผู้เอาประกันภัย ตัวแทนประกันชีวิตต้องไม่คิดว่ารายได้ส่วนนี้มาจากผู้เอาประกันภัยโดยตรง ซึ่งต้องจ่ายคืนให้เขาไป เพราะการลดค่าบำเหน็จหรือแข่งขันกันลดค่าบำเหน็จ จะส่งผลให้ไม่มีแรงจูงใจที่จะให้การบริการที่ดีต่อผู้เอาประกันภัย ตัวแทนประกันชีวิตเองก็ไม่มีรายได้ที่
เพียงพอต่อการยังชีพ จึงเป็นการทำลายอาชีพตัวแทนประกันชีวิตในระยะยาว

จรรยาบรรณข้อที่ 7
ไม่แนะนำผู้เอาประกันภัยสละกรมธรรม์เดิมเพื่อทำสัญญาใหม่หากทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์ 

ตัวแทนประกันชีวิตต้องไม่แนะนำให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์เดิมซึ่งมีผลบังคับแล้ว (เวนคืนกรมธรรม์) หรือแปลงกรมธรรม์เป็นแบบมูลค่าใช้เงินสำเร็จหรือมูลค่าขยายเวลาเพื่อมาซื้อกรมธรรม์ฉบับใหม่ เพราะการเลิกกรมธรรม์และทำประกันภัยใหม่ ทำให้ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์ เนื่องจากเงินเวนคืนกรมธรรม์หรือผลประโยชน์ จากการแปลงกรมธรรม์ คือมูลค่ากรมธรรม์ที่เหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายเริ่มต้นเมื่อสมัครทำประกันชีวิต เช่น ค่าบำเหน็จ ค่าอากร ค่าตรวจสุขภาพ ค่าเล่มสัญญากรมธรรม์ เป็นต้น เมื่อเริ่มทำประกันชีวิตฉบับใหม่อีกครั้งนอกจากผู้เอาประกันภัยต้องเริ่มมีค่าใช้จ่ายเหล่านี้อีกครั้งหนึ่งแล้ว ยังต้องชำระเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นตามอายุ และกรณีที่ทำประกันสุขภาพ ระยะเวลารอคอยจะเริ่มต้นนับใหม่ โรคที่เคยเรียกร้องค่าสินไหมจากสัญญาฉบับเดิมอาจจะไม่ได้รับ
ความคุ้มครอง เนื่องจากจะกลายเป็นโรคที่เป็นมาก่อนการทำสัญญาฉบับใหม่นี้ซึ่งเป็นข้อยกเว้นกรณีที่ผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์เดิมและทำใหม่ ตัวแทนประกันชีวิตควรให้คำแนะนำที่ถูกต้องครบถ้วนว่าอย่าละทิ้งกรมธรรม์เดิม เพราะจะทำให้ต้องเสียประโยชน์จากการเริ่มต้นใหม่

จรรยาบรรณข้อที่ 8
ไม่กล่าวให้ร้ายทับถมตัวแทนประกันชีวิตหรือบริษัทอื่น

ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีจะต้องไม่กล่าวให้ร้ายหรือทับถมตัวแทนประกันชีวิตหรือบริษัทประกันชีวิตอื่นในทางเสื่อมเสีย เช่น กล่าวว่าตัวแทนประกันชีวิตคู่แข่งชอบพูดโกหก เชื่อถือไม่ได้ ย้ายบริษัทประกันชีวิตบ่อย ๆ ไม่มีบุคลิกที่เหมาะสมส าหรับการเป็นตัวแทนประกันชีวิตเพราะตัวเตี้ย ชอบเล่นการพนัน ชอบเที่ยวกลางคืน เป็นต้น นอกจากนี้ ตัวแทนประกันชีวิตจะต้องไม่กล่าวให้ร้ายบริษัทประกันชีวิตอื่น เช่น กล่าวว่าบริษัทประกันชีวิตอื่นจ่ายเงินล่าช้า ไม่สนใจผู้เอาประกันภัย หรือเป็นบริษัทประกันชีวิตที่เพิ่งเปิดใหม่ ยังไม่มีระบบการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและ ตัวแทนประกันชีวิตก็มีน้อย อาจทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับการบริการที่ไม่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าผิดจรรยาบรรณทั้งสิ้น

จรรยาบรรณข้อที่ 9
หมั่นศึกษาหาความร้ในวิชาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ

ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีควรศึกษาหาความรู้ในอาชีพ ทำให้ตัวเองมีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา การที่ตัวแทนประกันชีวิตต้องหาความรู้ในอาชีพเพิ่มเติมอยู่เสมอ แสดงให้เห็นว่า ตัวแทนประกันชีวิตรู้จัก
พัฒนาตนเองให้มีคุณภาพที่ดี สามารถนำไปให้บริการลูกค้าได้เป็นอย่างดี การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการบริการลูกค้า กล่าวได้ว่าตัวแทนประกันชีวิตมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า ต่อสังคม และต่ออาชีพ ความรับผิดชอบต่อลูกค้าในที่นี้หมายถึงสามารถให้บริการที่ดีและเชื่อถือได้ ทำให้ผู้ซื้อประกันชีวิตได้รับประโยชน์จากตัวแทนประกันชีวิตที่มีความรอบรู้และให้ข้อแนะนำที่ดี ความรับผิดชอบต่อสังคมหมายถึงตัวแทนประกันชีวิตผู้นั้นจะรับใช้สังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์สังคม ความรับผิดชอบต่ออาชีพหมายถึงอาชีพตัวแทนประกันชีวิตเป็นอาชีพอิสระ เช่นเดียวกับอาชีพอื่น ๆ ที่ผู้ประกอบอาชีพจะต้องใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ แม้ว่าจะสอบผ่านตัวแทนประกันชีวิต หรือมีวุฒิการศึกษาทางด้านการประกันชีวิตก็ตาม จำเป็นอย่างยิ่งที่ตัวแทนประกันชีวิตจะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ เพราะอาจมีการลืมเลือน อีกทั้งมีวิทยาการใหม่ ๆ เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคโลกาภิวัตน์ การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในอาชีพดังกล่าวโดยปกติแล้วบริษัทประกันชีวิตจะให้ความสำคัญต่อการจัดให้มีการอบรมตัวแทนประกันชีวิต ทั้งนี้เพราะเมื่อตัวแทนประกันชีวิตมีความสามารถรอบรู้แล้ว จะสามารถให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ทำ
ประกันชีวิต อันมีผลสืบเนื่องถึงชื่อเสียงและการขยายธุรกิจของบริษัทในอนาคตด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในอาชีพตัวแทนประกันชีวิต เป็นการขยายแนวความคิดในการให้ข้อมูลแก่ผู้ซื้อประกันชีวิตและผู้ที่สนใจจะทำประกันชีวิต ให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของการประกันชีวิต ซึ่งในบางครั้งจำเป็นต้องมีการตอบข้อซักถาม
ของลูกค้าหรือผู้สนใจ ตัวแทนประกันชีวิตก็จะสามารถตอบข้อซักถามได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง การศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมนั้นมิได้จำกัดเฉพาะในอาชีพประกันชีวิตโดยตรงเท่านั้น ยังสามารถหาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่น ๆ ได้ เช่น ศิลปะการพูด เศรษฐกิจการเงิน เป็นต้น ด้วยเหตุที่อาชีพประกันชีวิตเป็นงานบริการที่ต้องใช้การพูดเพื่ออธิบายให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจ ดังนั้นการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านศิลปะการพูดก็จะช่วยให้ตัวแทนประกันชีวิตสามารถอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจง่ายขึ้น ส่วนด้านการเงินนั้นนับวันก็จะมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการวางแผนเกษียณอายุ วางแผนการลงทุน และวางแผนการเงินอื่น ๆ จึงควรมีการศึกษาความรู้เรื่องเหล่านี้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ

จรรยาบรรณข้อที่ 10
ประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมประเพณีอันดีงาม ทั้งธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรีและคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ

ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีควรจะดำเนินชีวิตตามครรลองครองธรรมที่ดี กล่าวคือ ต้องประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม ประเพณีอันดีงามโดยสม่ำเสมอ ตัวแทนประกันชีวิตที่ดียังต้องมีการยึดถือประเพณีอันดีงามเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ โดยจะต้องประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อบริษัทประกันชีวิตต้นสังกัดและต่อผู้เอาประกันภัยหรือลูกค้า การปฏิบัติตนดังกล่าวจะทำให้ตัวแทนประกันชีวิตเป็นที่น่าเชื่อถือและไว้วางใจต่อลูกค้า และจะทำให้ตัวแทนประกันชีวิตผู้นั้นมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานในที่สุด นอกจากนี้ตัวแทนประกันชีวิตที่ดีจะต้องธำรงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรี และคุณธรรมแห่งอาชีวปฏิญาณ คำว่า “อาชีวปฏิญาณ” หมายถึงการที่ผู้ประกอบอาชีพตัวแทน ประกันชีวิตจะต้องปฏิญาณต่ออาชีพ กล่าวคือ ตัวแทนประกันชีวิตจะต้องละเว้นไม่ปฏิบัติสิ่งใด ๆ อันอาจจะทำให้ เสื่อมเสียชื่อเสียงสถาบันประกันชีวิตและบริษัทประกันชีวิตต้นสังกัด เช่น กรณีที่ตัวแทนประกันชีวิตย้ายไปสังกัดบริษัท ประกันชีวิตอื่น โดยกล่าวหาว่าบริษัทประกันชีวิตที่ตนสังกัดเดิมมีฐานะการเงินไม่มั่นคง นอกจากนี้ตัวแทนประกันชีวิต จะต้องให้บริการหรือแนะนำใด ๆ ตามความเป็นจริงด้วยความสำนึกที่รู้และควรรู้ และจะให้คำแนะนำแก่บุคคลอื่นเสมือนให้ตนเอง เช่น การนำเสนอขายประกันชีวิตที่ผลประโยชน์ตรงกับความต้องการของลูกค้าและต้องคำนึงถึง ความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยด้วย ไม่เสนอขายประกันชีวิตที่เกินความจำเป็นถึงแม้ว่าลูกค้าจะมีฐานะร่ำรวย หรือไม่ก็ตาม ถ้าตัวแทนประกันชีวิตปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้ได้ ถือได้ว่าอาชีพตัวแทนประกันชีวิตเป็นอาชีพที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี สมกับคุณประโยชน์และคุณค่าที่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยและสังคม

ที่มา : คู่มือปฏิบัติงานสำหรับตัวแทนประกันชีวิต สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)