การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับธุรกิจ พาณิชย์

การประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ได้มีการนำมาใช้ในหลายสาขาวิชาชีพ ทั้งในด้านการศึกษา ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ การทำงาน การศึกษาหาความรู้ ทำให้คุณภาพชีวิตของคนในสังคมปัจจุบันดีขึ้น นอกจากนี้หน่วยงานราชการต่างๆ ก็นำเทคโนโลยีสารสนเทศและ ระบบคอมพิวเตอร์ เข้ามาอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ในการติดต่อประสานงานกับทางราชการ และในธุรกิจเอกชนทางด้านการโรงแรม และการท่องเที่ยว ก็ให้บริการข้อมูลข่าวสาร และบริการลูกค้าผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วทันเหตุการณ์

แนวโน้มในอนาคตภายในครอบครัวจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น เช่น โทรศัพท์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วีดิเท็กซ์ ไมโครคอมพิวเตอร์ ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ และการสื่อสารสารสนเทศรวมทั้งการแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่  ซึ่งความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสรุปได้ ดังนี้

  • ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาซับซ้อน การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
  • ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
  • ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
  • ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ประยุกต์ใช้ในงานสาธารณสุขและการแพทย์
เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนา ด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้

รูปแสดงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในวงการสาธารณสุขและการแพทย์
ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยา เก็บเงิน
การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
เทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกล ทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย

 

 

ประยุกต์ใช้ในงานด้านการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่หลายอย่าง สอนด้วยสื่ออุปกรณ์ที่ทันสมัย ห้องเรียนสมัยใหม่ มีอุปกรณ์วิดีโอโปรเจคเตอร์ (Video Projector)มีเครื่องคอมพิวเตอร์ มีระบบการอ่านข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบต่าง ๆ รูปแบบของสื่อที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน ก็มีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำมาใช้ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน อิเล็กทรอนิกส์บุค วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ ระบบวิดีโอออนดีมานด์ การสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์ และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นการนำเอาเทคโนโลยี รวมกับการออกแบบโปรแกรมการสอน มาใช้ช่วยสอน ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่าบทเรียน CAI ( Computer – Assisted Instruction ) การจัดโปรแกรมการสอน โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของสื่อประสม (Multimedia) ซึ่งหมายถึงนำเสนอได้ทั้งภาพ ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวฯลฯ โปรแกรมช่วยสอนนี้เหมาะกับการศึกษาด้วยตนเอง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบ กับบทเรียนได้ตลอด จนมีผลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนรู้ บทเรียนได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจในเนื้อหาวิชาของบทเรียนนั้นๆ
การเรียนการสอนโดยใช้เว็บเป็นหลัก เป็นการจัดการเรียน ที่มีสภาพการเรียนต่างไปจากรูปแบบเดิม การเรียนการสอนแบบนี้ อาศัยศักยภาพและความสามารถของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการนำเอาสื่อการเรียนการสอน ที่เป็นเทคโนโลยี มาช่วยสนับสนุนการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ การสืบค้นข้อมูล และเชื่อมโยงเครือข่าย ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่และทุกเวลา การจัดการเรียนการสอนลักษณะนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ การเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-based Instruction) การฝึกอบรมผ่านเว็บ (Web-based Trainning) การเรียนการสอนผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ (www-based Instruction) การสอนผ่านสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์

(e-learning) เป็นต้น
อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค คือการเก็บข้อมูลจำนวนมากด้วยซีดีรอม หนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลตัวอักษรได้มากถึง 600 ล้านตัวอักษร ดังนั้นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลหนังสือ หรือเอกสารได้มากกว่าหนังสือหนึ่งเล่ม และที่สำคัญคือการใช้กับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเรียกค้นหาข้อมูลภายในซีดีรอม ได้อย่างรวดเร็วโดยใช้ดัชนี สืบค้นหรือสารบัญเรื่อง ซีดีรอมจึงเป็นสื่อที่มีบทบาทต่อการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะในอนาคตหนังสือต่าง ๆ จะจัดเก็บอยู่ในรูปซีดีรอม และเรียกอ่านด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่าอิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค ซีดีรอมมีข้อดีคือสามารถจัดเก็บ ข้อมูลในรูปของมัลติมีเดีย และเมื่อนำซีดีรอมหลายแผ่นใส่ไว้ในเครื่องอ่านชุดเดียวกัน ทำให้ซีดีรอมสามารถขยายการเก็บข้อมูลจำนวนมากยิ่งขึ้นได้

 

วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์ หมายถึงการประชุมทางจอภาพ โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างบุคคล หรือคณะบุคคลที่อยู่ต่างสถานที่ และห่างไกลกันโดยใช้สื่อทางด้านมัลติมีเดีย ที่ให้ทั้งภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง เสียง และข้อมูลตัวอักษร ในการประชุมเวลาเดียวกัน และเป็นการสื่อสาร 2 ทาง จึงทำให้ ดูเหมือนว่าได้เข้าร่วมประชุมร่วมกันตามปกติ ด้านการศึกษาวิดีโอเทคเลคอนเฟอเรนซ์ ทำให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ ผ่านทางจอภาพ โทรทัศน์และเสียง นักเรียนในห้องเรียน ที่อยู่ห่างไกลสามารถเห็นภาพและเสียง ของผู้สอนสามารถเห็นอากับกิริยาของ ผู้สอน เห็นการเคลื่อนไหวและสีหน้าของผู้สอนในขณะเรียน คุณภาพของภาพและเสียง ขึ้นอยู่กับความเร็วของช่องทางการสื่อสาร ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างสองฝั่งที่มีการประชุมกัน ได้แก่ จอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์ ลำโพง ไมโครโฟน กล้อง อุปกรณ์เข้ารหัสและถอดรหัส ผ่านเครือข่ายการสื่อสารความเร็วสูงแบบไอเอสดีเอ็น (ISDN)
รูปแสดงการเชื่อมต่อระบบวิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์
ระบบวิดีโอออนดีมานด์ (Video on Demand) เป็นระบบใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมนำมาใช้ ในหลายประเทศเช่น ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ทำให้ผู้ชมตามบ้านเรือนต่าง ๆ สามารถเลือกรายการวิดีทัศน์ ที่ตนเองต้องการชมได้โดยเลือกตามรายการ (Menu) และเลือกชมได้ตลอดเวลา วิดีโอออนดีมานด์ เป็นระบบที่มีศูนย์กลาง การเก็บข้อมูลวีดิทัศน์ไว้จำนวนมาก โดยจัดเก็บในรูปแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ (Video Server) เมื่อผู้ใช้ต้องการเลือกชมรายการใด ก็เลือกได้จากฐานข้อมูลที่ต้องการ ระบบวิดีโอ ออนดีมานด์จึงเป็นระบบที่จะนำมาใช้ ในเรื่องการเรียนการสอนทางไกลได้ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา ผู้เรียนสามารถเลือกเรียน ในสิ่งที่ตนเองต้องการเรียนหรือสนใจได้

การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึงระบบการสืบค้นข้อมูลกันมาก แม้แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็มีการประยุกต์ใช้ไฮเปอร์เท็กซ์ในการสืบค้นข้อมูล จนมีโปรโตคอลชนิดพิเศษที่ใช้กัน คือ World Wide Web หรือเรียกว่า www. โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้โปรโตคอล http เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งเป็นฐานข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ไฮเปอร์เท็กซ์มีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย เพราะสามารถสร้างเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่เก็บได้ทั้งภาพ เสียง และตัวอักษร มีระบบการเรียกค้นที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้โครงสร้างดัชนีแบบลำดับชั้นภูมิ โดยทั่วไป ไฮเปอร์เท็กซ์จะเป็นฐานข้อมูลที่มีดัชนีสืบค้นแบบเดินหน้า ถอยหลัง และบันทึกร่องรอยของการสืบค้นไว้ โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างไฮเปอร์เท็กซ์มีเป็นจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมที่มีชื่อเสียงได้แก่ HTML Compossor FrontPage Marcromedia DreaWeaver เป็นต้น ปัจจุบันเราใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประกอบในการทำเอกสารรายงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
รูปแสดงการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซค์ Google

อินเทอร์เน็ต คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยเครือข่ายย่อย และเครือข่ายใหญ่สลับซับซ้อนมากมาย เชื่อมต่อกันมากกว่า 300 ล้านเครื่องในปัจจุบัน โดยใช้ในการติดต่อสื่อสาร ข้อความรูปภาพ เสียงและอื่น ๆ โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายกันอยู่ทั่วโลก ปัจจุบันได้มีการนำระบบอินเทอร์เน็ต เข้ามาใช้ในวงการศึกษากันทั่วโลก ซึ่งมีประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก
ประยุกต์ใช้ในงานทะเบียนของสถานศึกษา

งานรับมอบตัว ทำหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานที่นักศึกษานำมารายงานตัว จากนั้นก็จัดเก็บประวัติภูมิหลังนักศึกษา เช่น ภูมิลำเนา บิดามารดา ประวัติการศึกษา ทุนการศึกษา ไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลประวัตินักศึกษา
งานทะเบียนเรียนรายวิชา ทำหน้าที่จัดรายวิชาที่ต้องเรียนให้กั บนักศึกษา ในแต่ละภาคเรียนทุกชั้นปี ตามแผนการเรียนของแต่ละแผนก แล้วจัดเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลผลการเรียน
งานประมวลผลการเรียน ทำหน้าที่นำผลการเรียนจากอาจารย์ผู้สอนมาประมวลในแต่ละภาคเรียน จากนั้นก็จัดเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารข้อมูลผลการเรียน และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ
งานตรวจสอบผู้จบการศึกษา ทำหน้าที่ตรวจสอบรายวิชา และผลการเรียน ที่นักศึกษาเรียนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งจบหลักสูตร จากแฟ้มเอกสาร ข้อมูลผลการเรียน ว่าผ่านเกณฑ์การจบหรือไม่
งานส่งนักศึกษาฝึกงาน ทำหน้าที่หาข้อมูลจากสถานที่ฝึกงาน ในแต่ละแห่งว่าสามารถรองรับจำนวน นักศึกษาที่จะฝึกงานในรายวิชาต่าง ๆ ได้เป็นจำนวนเท่าใด จากนั้นก็จัดนักศึกษา ออกฝึกงานตามรายวิชา ให้สอดคล้องกับจำนวนที่สถานประกอบการต้องการ
ประยุกต์ใช้ในห้างสรรพสินค้าและสาขาย่อย
เนื่องจากห้างสรรพสินค้า เป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ มีอยู่หลายสาขาที่จัดจำหน่ายอยู่ทั่วประเทศ มีซัพพลายเออร์กว่าพันราย และมีพนักงานอยู่หลายพันคน ดังนั้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และการตัดสินใจต้องทำอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้นการที่ต้องใช้เทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ดจึงมีความจำเป็น
ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศจะเป็นฝ่ายสนับสนุน สิ่งสำคัญที่สุดคือ
เราต้องให้ความมั่นใจได้ว่า ระบบจะต้องทำงานได้ไม่มีปัญหาขัดข้อง ปัจจุบันระบบการเชื่อมต่อห้างสรรพสินค้าจะเป็นแบบสอง ลักษณะคือในต่างจังหวัดจะใช้การเชื่อมต่อผ่านดาวเทียม ในกรุงเทพจะใช้การเชื่อมต่อแบบออนไลน์ ซึ่งจะมีการรับส่งข้อมูลกันทุกวัน ในส่วนของไอที นอกจากจะต้องทำให้ระบบ สามารถทำงานได้ตลอดเวลาแล้ว ยังต้องมั่นใจด้วยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นมีความถูกต้อง ซึ่งในแต่ละวันมีข้อมูลมาก ที่จะต้องผ่านการประมวลผลให้แก่ผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลยอดขายข้อมูลสต็อกและข้อมูลต่างๆ ที่ ผู้บริหารต้องการ

ประยุกต์ใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กลุ่มนักวิทยาสตร์ วิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ป่าต่าง ๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์

เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มนักวิทยาสตร์และวิศวกรที่ต้องการศึกษาพฤติกรรมบางอย่างของสิ่งมีชีวิต รวมถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นศึกษาการกระจายถิ่นที่อยู่ของนก การกระจายของแบคทีเรีย การสร้างอาณาจักรของมด ผึ้ง ชีวิตความเป็นอยู่ของ สัตว์ป่าต่างๆ การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดจนระบบนิเวศวิทยา ความสนใจในการจำลองความเป็นอยู่ของ สิ่งมีชีวิตได้มีมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่ครั้ง จอห์น พอยเมน ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์ เสนอแนวคิดการทำให้เครื่องจักรทำงานโดยอัตโนมัติภายใต้โปรแกรม ซึ่งเป็นรากฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จนถึงปัจจุบันเกมแห่งชีวิตจึงเกิดขึ้น
ในปี ค.ศ. 1970 มาร์ติน การ์ดเนอร์ และจอห์น ฮอร์ตัน สองนักคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ บริษัท อังกฤษ ได้เสนอแนวความคิดในเรื่องเกมแห่งชีวิต (Game of live) ในหนังสือ Scientific American ผลปรากฏว่า เกมนี้ได้เป็นที่รู้จัก และแพร่หลายทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
เกมแห่งชีวิตที่นำเสนอนั้นเป็นการสมมุติอาณาจักรที่มีชีวิต อาศัยอยู่เป็นกลุ่มเหมือนกระดานหมากรุก แต่ละเซลจะประกอบด้วยสิ่งที่มีชีวิตที่อาศัยอยู่โดยแต่ละเซลมีเซลข้างเคียงอยู่ทั้งสิน 8 เซล ในเกมแห่งชีวิตที่แพร่หลายได้วางกฏเกณฑ์ของการจำลองไว้ 3 ข้อโดยมีเงื่อนไขดังนี้

  1. การอยู่รอด ทุกๆ เซลจะมีชีวิตต่อไปอีกถ้าหากมีเพื่อนบ้านข้างเคียงอยู่สอง หรือสามเซล การดำรงชีวิตอยู่ต่อไปอีกหนึ่ง ช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องอาศัยเพื่อน (เพื่อนข้างเคียงมีจำนวนพอเหมาะ 2-3 เซลมีอาหารแบ่งกันได้)
    2. การตายทุกๆ เซลจะตายจากหรือหายไป ถ้าหากว่ามีเพื่อนข้างเดียวอยู่ 4 เซล หรือมากกว่า 4 เซล กรณีนี้อาจหมายถึง แย่งอาหารกันกินเลยตาย หรือหากเซลที่มีชีวิตใดมีเพื่อนเพียงตัวเดียวหรือไม่มีเลยจะเหงาตาย
    3. การเกิด เซลที่ว่างเปล่า จะเกิดเป็นเซลชีวิตได้ ต้องมีเพื่อน บ้านที่มีชีวิตอยู่ 3 เซล
    การเปลี่ยนสถานะของเซลสิ่งมีชีวิตนี้จะเปลี่ยนทุกๆ ช่วงเวลา ดังนั้นเมื่อเขียนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และใช้เซลเป็นจุดบนจอภาพก็จะได้ภาพของความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิต ดังตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่ง แสดงให้เห็น

ในการเริ่มต้นเกมแห่งชีวิตคอมพิวเตอร์ จะทำการสร้างเซลที่มีชีวิตแบบสุ่มหรือแบบกำหนดให้ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะทำการสร้างให้ตามกฎเกณฑ์ สามข้อดังที่ได้กล่าวแล้ว จากกฏทั้ง 3 ข้อทำให้บางเซลต้องตายไปและ บางเซลเกิดขึ้นมาใหม่การเกิด และการตายทำให้ได้รูปร่างของสิ่งมีชีวิตบนหน้าจอที่คล้ายภาพศิลปที่เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา
จากการพัฒนาเกมแห่งชีวิตสองมิติซึ่งเป็นภาพพื้นๆ ก็มีผู้พัฒนาให้เป็นเกมสามมิติ คาร์เตอร์เบย์ นักคอมพิวเตอร์แห่งมหาวิทยาลัยคาโรไลนา ได้สร้างเกมแห่งชีวิต 3 มิติ ทำให้มีเซลอยู่ข้างเคียงได้ถึง 26 เซล แทนที่จะเป็น 8 เซล อัลกอริธึมก็ยุ่งยากขึ้น  จากนั้นก็มีผู้สนใจพัฒนาต่ออีกเช่น เดวิด เจฟเฟอลิน แห่ง UCLA ได้จำลองชีวิตของมด และอาหารมดด้วย อัลกอริทึมเฉพาะ เพื่อจำลองการเจริญเติบโตของมดและให้ชื่อโปรแกรมว่า Ants Simlift สามารถจำลองสิ่งมีชีวิต สามารถสร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ เช่นสร้างสัตว์ต่างๆ ที่ทั้งสัตว์กินพืช กินเนื้อ กินเม็ดผลไม้ เพื่อการอยู่รอดสัตว์ เหล่านั้นจะรักษาสมดุลระหว่างกัน

 

 

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการประยุกต์ใช้ในภาครัฐ

ในสังคมปัจจุบัน  น้อยคนนักที่ไม่เคยได้ยินคำว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information  Technology)  แต่ในคำจำกัดความนั้นความหมายที่ครอบคลุมได้รวมถึงความรู้ในกระบวนงานที่อาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์  ฮาร์ดแวร์  การติดต่อสื่อสาร  การนำข้อมูลมาใช้  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทุกๆ ด้าน  ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ  สังคม  และคุณภาพชีวิตของประชาชน

พัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายทั้งในภาคเอกชนและรัฐบาล  ภาคเอกชนได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเต็มศักยภาพในการแข่งขันกันผลิตสินค้าและบริการเพื่อสร้างคุณค่าและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า  ขณะที่ภาครัฐยังมิได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศมากนักในการสร้างและนำเสนอบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนซึ่งอาจเป็นจุดด้อยของภาครัฐที่ยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้กันในปัจจุบันของหน่วยงานราชการแทบทุกแห่ง  ได้แก่  การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์บุคคลมาใช้ในงานพิมพ์เอกสารแทนเครื่องพิมพ์ดีด  จึงทำให้หน่วยงานหลายแห่งของบประมาณประจำปีเพื่อเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นรุ่นใหม่ขึ้น  แล้วนำมาใช้พิมพ์เอกสารทั้งที่เครื่องรุ่นเก่าที่มีศักยภาพเพียงพอหรือสูงกว่าสำหรับการใช้งานเพื่อพิมพ์เอกสาร  ในความเป็นจริงแล้ว  การใช้ประโยชน์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ยังมีด้านอื่นอีก  อาทิ  การสร้างฐานข้อมูลเพื่อใช้งานจัดเก็บข้อมูลเรื่องต่างๆ เทคโนโลยีเช่นนี้มีประสิทธิภาพสูงมากในการเก็บข้อมูลของหน่วยงานราชการแทนวิธีการเก็บข้อมูลแบบเก่าหรือแบบที่เป็นเอกสาร  แต่ถึงอย่างไรก็ตามหน่วยงานบางแห่งของรัฐได้สร้างจุดเริ่มต้นด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานประจำวันที่อำนวยความสะดวกทั้งแก่ข้าราชการและประชาชน  ซึ่งนับว่าเป็นการจุดประกายไฟฝันในภาครัฐที่ดีเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

การที่จะส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ในภาครัฐนั้นสิ่งสำคัญที่ควรเล็งเห็นและควรเตรียมการให้พร้อม  ก็คือการสร้างความเข้าใจและวิสัยทัศน์ของผู้นำ  และมีเป้าหมายอย่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศในภาครัฐให้เข้มแข็งและมีศักยภาพสูงสุด  และประเด็นที่จะละเลยไม่ได้ก็คือการเตรียมความพร้อมสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานหรือข้าราชการที่ต้องเข้ามารองรับงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

หลักสำคัญสำหรับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น  ควรเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็น  ความคุ้มค่า  และประโยชน์สูงสุด  ต้องมองให้ละเอียดถี่ถ้วนด้วยว่าเทคโนโลยีสารสนเทศแต่ละประเภทมีศักยภาพหรือสารมารถทำอะไรได้บ้าง  แล้วจึงนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมมาช่วยให้องค์กรสามารถทำงานในลักษณะใหม่  หรือนำมาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่ประสบอยู่  จึงจะเกิดผลของการปรับปรุงในองค์กรอย่างแท้จริง

ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อองค์กรนั้น  สามารถอธิบายได้ดังนี้

  • เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเพิ่มศักยภาพในการผลิตไม่ว่าจะในภาครัฐหรือเอกชน นั่นคือการผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณเท่ากัน แต่จะใช้แรงงานและต้นทุนน้อยลง
  • เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้บริหารสามารถสอดส่องดูแลและควบคุมบุคลากรในองค์กรได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งยังช่วยสนับสนุนการรวมอำนาจในการบริหารและกระจายการตัดสินใจได้พร้อมๆ กัน
  • เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วอีกทั้งเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุม
  • เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีผลทำให้สังคมในยุคข้อมูลข่าวสารเน้นการให้บริการและการเข้าถึงประชาชนมากยิ่งขึ้น เพราะการติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็วถูกต้องแม่นยำนั้น ได้มีการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครื่องมือสื่อกลางหนึ่งของการติดต่อสื่อสารในทุกๆ องค์กรและสังคม

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ผู้นำในองค์กรของรัฐควรที่จะตระหนักและเข้าใจถึงการประยุกต์ใช้  อีกทั้งเล็งเห็นคุณประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างแท้จริงในการใช้และพัฒนาระบบการทำงานที่ประยุกต์มาจากเทคโนโลยีสารสนเทศ  ความมีวิสัยทัศน์ของผู้นำจึงเป็นปัจจัยที่กำหนดความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์  ผู้นำหรือผู้บริหารสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะก้าวกระโดดหรือการเปลี่ยนแปลงทางนวัตกรรมได้  ถ้าผู้นำมุ่งมองไปที่ศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศชนิดต่างๆ ก่อนว่า  สามารถกระทำอะไรได้บ้างที่ในอดีตไม่เคยได้ทำ  แล้วจึงออกแบบและสร้างสรรค์กระบวนการทำงานใหม่ในองค์กรให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเต็มศักยภาพ  การประชุมหรือสัมมนาทางไกล (Teleconferencing)  ที่ทำให้ทีมงานที่อยู่ในสถานที่ห่างไกลกันสามารถตัดสินใจหรือทำงานร่วมกันได้  ซึ่งในอดีตการใช้เทคโนโลยีแบบนี้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก  แต่ในปัจจุบันนี้  การใช้งานได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว

 

  1. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-government)

หมายถึง วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน และบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐและปรับปรุงการให้บริการแก่ประชาชน และบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม ได้แก่ ประชาชน ภาคเอกชน และข้าราชการ
          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) คือ การดำเนินการธุรกรรมทางพาณิชย์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยภาครัฐจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานและบริการของภาครัฐในการอำนวยความสะดวกแก่การดำเนินพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-lndustry) หมายถึง การสร้างความเข้มแข็งของภาคอุตสาหกรรมการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือสำคัญ

  อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-education) หมายถึง การส่งข้อมูลสื่อการศึกษาและการบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น สายโทรศัพท์
     ภาคสังคมอิเล็กทรอนิกส์ (e-society) หมายถึง สังคมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นโดยผ่าน “อิเล็กทรอนิกส์”

รูปแบบของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ มีหลายรูปแบบ ได้แก่

1) Internal e-government เป็นระบบงานภายในของภาครัฐด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และสร้างห่วงโซ่มูลค่าขึ้นกับงานภายใน นวัตกรรมที่เกิดขึ้นคือ ระบบงานสนับสนุนงานส่วนหลัง

2) Government to Citizen (G2C) เป็นการสร้างบริการที่สนับสนุนให้เกิดห่วงโซ่ของลูกค้าหรือประชาชน เพราะประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักของระบบ เพื่อให้เกิดการให้บริการที่ดีขึ้น

3) Government to Business (G2B) เป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจในการส่งเสริมห่วงโซ่อุปทาน รวมไปถึงการทำธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย

4) Government to Government (G2G) เป็นการทำงานร่วมกันของภาครัฐ สร้างความร่วมมือเพื่อให้เกิดห่วงโซ่มูลค่าและสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้

5) Citizen to Citizen (C2C) เป็นการส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยและสร้างภาพอนาคตของการบริหารงานภาครัฐอย่างมีธรรมาภิบาล

ประโยชน์ของรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ จะเน้นไปที่การปรับปรุงการบริการต่อประชาชนและภาคเอกชน

และพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรัฐบาล ดังนี้

1) การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลและบริการที่ดีกว่าเดิมของประชาชน

2) ปรับปรุงคุณภาพของการบริการ โดยสร้างความน่าเชื่อถือให้ดีกว่าเดิม เพื่อความรวดเร็ว สร้างความโปร่งใสของการให้บริการ

3) การจัดการกระบวนการที่ดีขึ้น

4) มีระบบที่ดีขึ้น โดยมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ การบริหารจัดการ การสนับสนุนการตัดสินใจของผู้ดำเนินการ

5) การกระจายอำนาจไปสู่ประชาชน

อย่างไรก็ตาม  การสร้างให้ภาครัฐเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สมบูรณ์แบบนั้นต้องใช้งบประมาณสูงและใช้เวลาในการเตรียมการนาน  ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่  โครงการต่างๆ ก็ต้องชะลอตัว  แต่การสร้างแผนงานและวิสัยทัศน์ที่ดีเกี่ยวกับการทำให้ภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้นก็สามารถปฏิบัติได้  สิ่งที่ควรตระหนักและสร้างความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยี  ก็คือ  สารสนเทศ  ทั้งนี้  เพราะทรัพยากรส่วนหนึ่งของภาครัฐในปัจจุบันคือสารสนเทศที่เป็นข้อมูลจริง  ถูกต้อง  แม่นยำ  โปร่งใส ซึ่งเทคโนโลยีได้เข้ามาจับและใช้เป็นเครื่องมือของการทำให้สารสนเทศเข้าถึงประชาชน  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสาขาการสื่อสารและโทรคมนาคม                

การประยุกต์ใช้ในงานประเภทนี้ได้แก่ การบริการโทรศัพท์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม และโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (ISDN) เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการสื่อสารข้อมูล และโทรคมนาคมที่น่าสนใจ ได้แก่เทคโนโลยีต่างๆ ดังนี้ดาวเทียม (Satellite) เป็นสิ่งที่มนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้น แล้วส่งไปโคจรรอบโลก รอบดาวเคราะห์ต่างๆ ดาวฤกษ์ต่างๆ หรือเพื่อให้ท่องเที่ยวไปในอวกาศและจักรวาลตามวิถีที่ได้มีการกำหนดไว้ก่อน ดาวเทียม จำแนกได้หลายประเภทซึ่งขึ้นกับลักษณะการใช้งานเช่น ดาวเทียมวิทยาศาสตร์ (Scientific Satellite) ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในงานค้นคว้าวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ ดาวเทียมการทหาร (Military Satellite) แบ่งเป็นประเภทย่อยได้ เช่น ดาวเทียมจารกรรม ดาวเทียมเตือนภัยล่วงหน้า ดาวเทียมต่อต้านจรวด และดาวเทียมจู่โจมหรือระดมยิง เป็นต้น ดาวเทียมนำทาง (Navigational Satellite) ดาวเทียมประเภทนี้ใช้ประโยชน์มากในเรือดำน้ำ การวางแผนเส้นทางเดินเรือและเส้นทางการบิน ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรบนผิวโลกและในมหาสมุทร (Earth and Ocean Resources Satellite) มีจุดประสงค์เพื่อใช้ศึกษาธรณีวิทยา พืชพรรณ ตลอดจนมหาสมุทร และดาวเทียมโทรคมนาคม  (Telecommunication Satellite) ใช้ในกิจการการสื่อสารในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ด้านโทรคมนาคม

โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย นำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่ายISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ

โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Netwonk- ISDN) ระบบ ISDN หรือที่เรียกว่า Integrated Service Digital Netwonk ซึ่งเป็นระบบที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยนำมาใช้เพื่อให้บริการส่งข้อมูลในลักษณะโครงข่ายISDN โดยเป็นโครงข่ายโทรคมนคมความเร็วสูงในระบบดิจิทัลที่สามารถส่งทั้งสัญญาณ เสียง และข้อมูลต่างๆ ร่วมไปในสายเส้นเดียวกัน และสามารถเชื่อมต่อกับโครงข่ายโทรศัพท์ในปัจจุบัน (PSTN) รวมทั้งการเชื่อมต่อกับโครงข่ายส่วนบุคคลอื่น (Private Network) เพื่อติดต่อกับผู้ใช้บริการรายอื่นได้ทั่วประเทศ

เนื่องจากระบบ ISDN เป็นแบบดิจิทัลทั้งหมด ตลอดปลายทาง ไม่ต้องมีการแปลงสัญญาณ ทำให้ความเพี้ยนของสัญญาณมีน้อยมาก ตลอดจนสิ่งรบกวน(Noise) ก็จะลดน้อยลงด้วยทำให้ข้อมูลข่าวสารที่รับส่งในโครงข่าย ISDN มีความถูกต้อง ไว้วางใจได้สูงกว่าระบบเดิม ความเร็วในการรับส่ง 64 Kbps ต่อวงจร ทำให้สามารถรับส่งสัญญาณเสียง ข้อมูล ภาพ ตัวอักษร ในปริมาณมากและรวดเร็วขึ้นกว่าเดิม

สำหรับการบริการของระบบ ISDN ในปัจจุบันที่เพิ่มขึ้นนอกจากการส่งข้อมูลเสียงแล้ว ยังบริการข้อมูลอื่นๆ อีก อาทิ ระบบโทรศัพท์แบบใหม่ซึ่งสามารถแสดงหมายเลขโทรศัพท์ ชื่อ ตลอดจนที่อยู่ของผู้ที่เรียกมา และระบบโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมโยงกับคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถแสดงข้อมูลของผู้ที่เรียกเข้ามาได้ นอกจากนี้ระบบ ISDN ยังช่วยให้มีการติดต่อเพื่อพูดคุยพร้อมกันหลายๆ สายได้ อีกทั้งมี

  1. ระบบไปรษณีย์เสียง (voice mail)

กล่าวคือ หากผู้ที่โทรเรียกไปพบว่าสายไม่ว่างหรือไม่มีผู้รับก็อาจจะทิ้งข้อความไว้ และเมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบ ข้อความที่ฝากไว้ก็จะถูกถ่ายทอดให้แก่ผู้นั้นได้ทันที นอกจากนี้ยังมีการบริการให้แก่โรงแรมต่างๆ ในการปลุกผู้เข้าพักโดยอัตโนมัติอีกด้วย

 

 

 

 

  1. โทรสาร (Facsimile)

โทรสารหรือแฟ็กซ์ (Fax) เป็นวิวัฒนาการด้านอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อส่งผ่านสารสนเทศจากต้นแหล่งไปยังผู้รับปลายทาง โดยใช้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูง ระบบการทำงานของเครื่องโทรสารเป็นกระบวนการที่เครื่องส่งฉายแสงไปที่เอกสาร รูปถ่าย ภาพเขียน หรือสัญลักษณ์ต่างๆ อันเป็นต้นฉบับ เพื่อเปลี่ยนภาพหรืออักษรเป็นสัญญาณไฟฟ้า แล้วส่งไปตามช่องทางคมนาคมต่างๆ อาทิ ไมโครเวฟ สายโทรศัพท์ เครื่องส่งวิทยุ เมื่อเครื่องรับปลายทางได้รับสัญญาณดังกล่าว ก็จะเปลี่ยนสัญญาณนั้นให้ปรากฏเป็นภาพหรือข้อความตรงตามต้นฉบับ

 

  1. โทรภาพสาร (Teletext)

โทรภาพสารหรือเทเลเท็กซ์เป็นระบบรับ-ส่งสารสนเทศผ่านคลื่นวิทยุโทรทัศน์ ส่งออกอากาศได้ในเวลาเดียวกันกับที่มีการออกอากาศรายการโทรทัศน์ตามปรกติ สารสนเทศจะถูกส่งออกอากาศเป็นหน้าๆ เหมือนหน้าหนังสือทั่วไป ผู้ชมสามารถใช้การควบคุมระยะไกล (Remote Control) เรียกสารสนเทศนั้นออกมาดูได้ตามต้องการ หรือเลือกดูเฉพาะข้อความที่ต้องการและหยุดดูได้นานตามต้องการ ไม่ต้องรอดูตั้งแต่หน้าแรก และยังสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ตามปกติ ผู้ที่มีเครื่องรับธรรมดาจะรับสารสนเทศทางเทเลเท็กซ์ได้ด้วยการติดตั้งแผ่นวงจรพิเศษ กับเครื่องรับโทรทัศน์

  1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail)

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นทางเลือกขั้นต้น ในการให้บริการจดหมายทางไปรษณีย์โดยอัตโนมัติ แนวความคิดเกี่ยวกับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ครอบคลุมถึงเรื่อง Broad Spectrum ด้วย กล่าวคือสารจะถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วจึงถูกส่งออกไป ดังนั้น กระบวนการของระบบจึงเป็นลักษณะเดียวกับระบบโทรสาร ข้อมูลนำเข้าและข้อมูลผลลัพธ์จากระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ อาจปรากฏในรูปของ Video Terminal, Word Processor, โทรสาร, Data Terminal Computer Vision และระบบการสื่อสารด้วยเสียง การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จำเป็นต้องอาศัยข่ายงานโทรคมนาคม ไปรษณีย์ อิเล็คทรอนิกส์ที่มีข้อความสำคัญและประสงค์การส่งอย่างรวดเร็ว อาจกระทำได้โดยส่งผ่านออกไปในรูปแบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผ่านข่ายงานข้อมูลที่เรียกว่า Computerize Switching System

 

 

 

 

 

 

  1. การประชุมทางไกล (Teleconference)

เป็นรูปแบบการสื่อสารหรือการประชุมระหว่างคนหลายๆ คน โดยไม่ต้องอยู่ต่อหน้ากัน และใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นกลไกสำคัญในการสื่อสาร การประชุมทางไกลมี 3 วิธีการ คือ

1) การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ

2) การประชุมทางไกลด้วยเสียง

3) การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์ จะใช้คอมพิวเตอร์ส่งสาระของการประชุมระหว่างกันผ่านระบบออนไลน์

 

การประยุกต์ใช้งานด้านความบันเทิง
ด้านความบันเทิงได้นำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้   ก่อให้เกิดรูปแบบของ “อีซีนีมา(E-cinema)”   เป็นการบริการสมาชิกหรือลูกค้าแบบออนไลน์ เช่น การจองตั๋วหนังออนไลน์ การเลือกที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ และชำระค่าบริการผ่านทางบัตรเครดิต นอกจากการจองในระบบออนไลน์แล้ว  ยังสามารถใช้บริการในระบบโทรศัพท์ได้อีกด้วย

  • ฟังเพลง (Music) ระบบคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีความทันสมัยมากที่เรียกกันว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อผสม ซึ่งมีทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ อยู่ในนั้น สามารถฟังเพลงและวิทยุแบบสดๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ บางครั้งระบบนี้จะเรียกว่า Audio บนเว็บไซต์ ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานของระบบ Audio นี้ จะมีทั้งเสียงเพลง เสียงพูด และเสียงอื่นๆ ซึ่งจะประกอบด้วยไฟล์เสียง ที่ สามารถดาวน์โหลดไปฟังยังเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ รูปแบบของไฟล์เสียงจะมีการจัดเก็บเอาไว้หลายลักษณะ เช่น MP3, WAV, WMA (Windows Media Audio), MPEG, RealAudio, Quick Time เป็นต้น
  • โรงภาพยนตร์และฟิล์ม (Theater and Film) ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น สามารถเปิดดูภาพยนตร์ได้ และในคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค (Notebook) บางเครื่องมีกล้องดิจิตอลติดมาด้วย สามารถจะใช้ถ่ายภาพและบันทึกวิดีโอได้ เมื่อถ่ายเสร็จแล้ว สามารถย้อนกลับมาดูได้ ภาพไหนที่ไม่ชัดก็ลบทิ้งได้ นอกจากนั้น ยังสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่มาดูได้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ ที่ได้รวบรวมเอาความสนุกสนานเพลิดเพลินมารวมเอาไว้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถที่จะเข้าไปดูและฟังเพลง จากนักเล่นดนตรีทั้งในอดีตและปัจจุบันได้ โดยเข้าไปสู่ห้องเกียรติยศ และพิพิธภัณฑ์ของ Rock and Roll ( http://rockhall.com) หรือถ้าหากคุณต้องการที่จะเข้าไปดูรายการภาพยนตร์ที่คุณชื่นชอบล่าสุดที่เพิ่งเข้ามาใหม่ คุณก็สามารถเข้าไปดูได้ที่ E! Online and Entertainment ซึ่งในนี้ จะมีลักษณะช่วยจัดการดูแลเรื่องรายการภาพยนตร์ที่จะออกทางโทรทัศน์ และยอดภาพยนตร์ที่จะออกฉายในโรง ระบบภาพยนตร์บนอินเตอร์เน็ตจะบรรจุไปด้วยฐานข้อมูลของรายการภาพยนตร์ที่ฉายมาแล้ว และยังไม่ได้ฉายมากกว่า 400,000 เรื่องทีเดียว สำหรับเว็บไซต์ทางด้านให้ความบันเทิงได้แก่ com, allmusic.com, http://www.thaitv3.com   entertainment.msn.com เป็นต้น ในส่วนของฟิล์ม เมื่อนำกล้องดิจิตอล หรือวิดีโอดิจิตอลถ่ายรูปมาแล้ว ปัจจุบันสามารถเสียบต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย แต่ถ้าไม่ได้ใช้กล้องหรือวิดีโอที่เป็นระบบดิจิตอล ต้องใช้โปรแกรมสำหรับการตัดต่อฟิล์ม เช่น โปรแกรม Adobe Premiere เป็นต้น
  • ละครเวทีเป็นบทความเกี่ยวกับ ภาพยนตร์ ดนตรี หรือการบันเทิง ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วย เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น

ละครเวที (play หรือ stageplay) ประพันธ์บทโดยนักเขียนบทละคร เป็นรูปแบบของวรรณกรรม โดยมากมักจะมีบทพูดกันระหว่างตัวละครซึ่งมีลักษณะการแสดงมากกว่าการอ่าน ละครเวทีมีความแตกต่างจากละครเพลงซึ่งเน้นการร้องมากกว่า

คาดกันว่าละครเวทีมีมาตั้งแต่สมัยกรีก อริสโตเติลบันทึกไว้ว่าละครของกรีก เริ่มต้นขึ้นจากการกล่าวคำบูชาเทพเจ้าไดโอนีซุส เทพเจ้าแห่งไวน์และความอุดมสมบูรณ์และมีอีกมากมายที่นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบันเทิง

  • การอ่าน เป็นการรับรู้สารโดยการดูตัวหนังสือจากการเขียน ในทางคอมพิวเตอร์ การอ่านหมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บไว้ในหน่วยความจำออกมาอีกด้วย
  • เครื่องรับวิทยุเป็นเครื่องมือสื่อสารทางเดียวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่รับและเลือกคลื่นวิทยุจากสายอากาศ แล้วนำไปสู่ภาคขยายต่อไป โดยมีช่วงความถี่ของคลื่นที่กว้าง แล้วแต่ประเภทของการใช้งานโดยทั่วไป คำว่า “เครื่องวิทยุ” มักจะใช้เรียกเครื่องรับสัญญาณความถี่กระจายเสียง เพื่อส่งข่าวสาร และความบันเทิง โดยมีย่านความถี่หลักๆ คือ คลื่นสั้น คลื่นกลาง และคลื่นยาว

 

ดังนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามีบทบาทสูงขึ้นอย่างมากในการดำเนินงานและการตัดสินใจของคนในสังคม ปัจจุบันจึงเรียกว่า สังคมสารสนเทศซึ่งหมายถึงการที่สารสนเทศกลายเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงหน่วยต่างๆ ในสังคมเข้าด้วยกัน และสร้างสังคมขับเคลื่อนด้วยสารสนเทศ จึงมีความจำเป็นที่ต้องศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้ทราบว่าหมายถึงอะไร ประกอบด้วยอะไร มีบทบาทและความสำคัญหรือความจำเป็นอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต การจัดระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องมีความเที่ยงตรงตามเรื่องที่ต้องการใช้ เรียกใช้สะดวก รวดเร็ว และทันต่อเวลา