อุปกรณ์ ใด ที่ ทำให้ สัญญาณ ส่งไปในระยะไกล ได้

คอมพิวเตอร์กับเครือข่าย

         อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย

1.โมเด็ม (Modem)   โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
อะนาล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับและแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นอะนาล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิทัลให้เป็นสัญญาณอะนาล็อก

อุปกรณ์ ใด ที่ ทำให้ สัญญาณ ส่งไปในระยะไกล ได้

2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN   เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆ กัน ก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps  ปัจจุบันเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะมี LAN on BOARD บางรุ่นมีความเร็วถึง 1000 Mbps
อุปกรณ์ ใด ที่ ทำให้ สัญญาณ ส่งไปในระยะไกล ได้
3. เกตเวย์  (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
อุปกรณ์ ใด ที่ ทำให้ สัญญาณ ส่งไปในระยะไกล ได้
อุปกรณ์ ใด ที่ ทำให้ สัญญาณ ส่งไปในระยะไกล ได้
4. เราเตอร์ (Router)  เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network  หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้
อุปกรณ์ ใด ที่ ทำให้ สัญญาณ ส่งไปในระยะไกล ได้
5. บริดจ์ (Bridge)   บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆ แก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกันของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย
อุปกรณ์ ใด ที่ ทำให้ สัญญาณ ส่งไปในระยะไกล ได้

6. รีพีตเตอร์ (Repeater)
รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆ สำหรับสัญญาณ     อะนาล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิทัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical

7.  สายสัญญาณ     เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่อง ก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
อุปกรณ์ ใด ที่ ทำให้ สัญญาณ ส่งไปในระยะไกล ได้
-สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย
อุปกรณ์ ใด ที่ ทำให้ สัญญาณ ส่งไปในระยะไกล ได้
- สาย UTP (Unshied Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 100 เมตร หากคุณใช้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 3 รุ่นคือ CAT3, CAT5 และ CAT6 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ 10Mbps  แบบ CAT5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100Mbps และแบบ CAT6 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000 Mbps-สาย ไฟเบอร์ออฟติก8.  สวิทช์ฮับ (Switch Hub)  เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี  2 เครื่อง แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย

ระบบโครงข่ายสายสัญญาณมีความสำคัญอย่างไร

  1. BIG Data สามารถ-รับส่งข้อมูลขนาดใหญ่ได้
  2. HIGH Speed สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงกว่า Wireless
  3. HIGH Security มีความปลอดภัยจากการ Hack ข้อมูล
  4. No Interference สัญญาณไม่ถูกรบกวน
  5. LOW Investment การลงทุนน้อย ใช้งานได้ยาวนาน

ระบบโครงข่ายสายสัญญาณที่มีคุณสมบัติข้างต้น 3 ข้อขึ้นไปถือว่าดี

 สื่อกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูล (Transmission Media) แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

  1. Wirer มีสาย เป็นสื่อประเภทเหนี่ยวนำ เช่น สายทองแดง สายไฟเบอร์ออฟติก เป็นต้น
  2. Wireless ไร้สาย เป็นสื่อกระจายคลื่น เช่น คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้น

Wirer ได้แก่

  1. สายคู่บิดตีเกลียว (Twisted-Pair Cable)
  2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
  3. สายใยแก้วนำแสง (Optical Fiber Cable)

Wireless ได้แก่

  1. สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)
  2. ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave)
  3. การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Setellite Communication)
  4. โทรศัพท์เซลลูลาร์ (Cellular Telephone) ยุค 1G – 5G

Networking and Cabling

          Networking (เครือข่าย) หมายรวมถึงอุปกรณ์มาเชื่อมต่อกันเป็นระบบ เพื่อให้ใช้งานได้ เช่น Computer Hub Switch Router สายสัญญาณ คอนเน็คเตอร์ ฯลฯ

          Cabling (สายสัญญาณ) หมายรวมถึง แค่สายสัญญาณ และคอนเน็คเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในการเดินสายเท่านั้น

Cabling Techonology หมายถึง ระบบสายส่งสัญญาณข้อมูลเพื่อการสื่อสารของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital)

          Why Cabling

  1. เพื่อเชื่อมและติดต่อระบบสื่อสารเข้าด้วยกัน
  2. เพื่อความมั่นคงของการสื่อสาร
  3. เพื่อความรวดเร็วในการสื่อสาร
  4. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

สายสัญญาณสื่อสารระบบ LAN Network Cabling

Conductor สายทองแดง แบ่งเป็น

  • LAN Indoor Cable ได้แก่ UTP (Unshield Twisted Pair) FTP (Foil Twisted Pair)
  • LAN Outdoor Cable ได้แก่ Link Outdoor แบบ Drop Wire แบบ Double jacket และแบบ Drop Wire & Power Fire

Category ของสาย LAN

          ได้แก่ Category 3 Category 5E Category 6 Category 6A Category 7 Category 7A Category 8 ซึ่งต้องเลือกให้เหมาะสมกับ Speed และสภาวะการใช้งาน

Connector

          ได้แก่ RJ45 RJ11

ความสำคัญของการเลือก Cable & Connector คือควรเป็นยี่ห้อเดียวกัน ประเภทเดียวกัน เพื่อให้การส่งสัญญาณ เป็นไปด้วยความสะดวกราบรื่นและรวดเร็ว

Fiber Optic หมายถึง เส้นใยแก้วนำแสง เป็นสายนำสัญญาณข้อมูลชนิดหนึ่งที่สามารถเดินสายได้ไกลหลายกิโลเมตรและรองรับความเร็วสูง (Bandwidth สูง) โดยมีค่าสูญเสียของสัญญาณที่ต่ำมาก(ค่า loss) โครงสร้างมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับสายนำสัญญาณแบบอื่นๆ ทำให้ในปัจจุบันสายไฟเบอร์ออฟติกนั้นมีความนิยมอย่างมากในงานเดินระบบใหญ่ๆ หรืองานระบบที่ต้องการความเสถียรภาพสูง

ข้อดีของ Fiber Optic

  1. High Bandwidth บรรจุข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก เส้นใยแก้วมีค่า Bandwidth ในการส่งข้อมูลมากว่าสายทองแดงมาก
  2. Low Attenuation มีการลดทอนสัญญาณต่ำกว่าสายทองแดงมาก
  3. Immune to Electromagnetic Interference มีความเป็นอิสระทางไฟฟ้า เนื่องจากเส้นใยแก้วมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไม่นำไฟฟ้า นอกจากนั้นยังปราศจากการรบกวนทางไฟฟ้า เนื่องจากเป็นฉนวนจึงไม่สามรถเหนี่ยวนำสัญญาณรบกวนจากภายนอกเข้ามาได้
  4. Secure ข้อมูลมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากส่งผ่านข้อมูลโดยใช้แสงเป็นตัวนำ จึงยากที่จะดักจับข้อมูลระหว่างทาง

โครงสร้างของ Fiber Optic ประกอบด้วย

  1. CORE : แก้วแกนกลาง (แกน) เป็นส่วนนำแสงให้ลำแสงผ่าน
  2. CLADDING : ฉาบ (ส่วนห่อหุ้ม) เป็นส่วนห่อหุ้มแกนเพื่อให้แสงเดินทางในแกน
  3. CLOATING : เคลือบ (ส่วนป้องกัน) เป็นส่วนป้องกันแสงจากภายนอก และทำให้เส้นใยแก้วมีความยืดหยุ่น

ชนิดของสาย Fiber Optic

  1. สายไฟเบอร์ออฟติกแบบซิงเกิลโหมด (Single Mode : SM) มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยแก้วนำแสง (Core) อยู่ที่ 9 ไมครอน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกหุ้มอยู่ที่ 125 ไมครอน สามารถส่งสัญญาณได้ไกล มีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 2,500 ล้านบิทต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร โดยการใช้งานจริงจะสามารถส่งข้อมูลได้ไกล 100 กิโลเมตร โดยความเร็วไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบิทต่อวินาที
  2. สายไฟเบอร์ออฟติกแบบมัลติโหมด (Multi Mode : MM) มีเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยแก้วนำแสง (Core) อยู่ที่ 50 ไมครอน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเปลือกหุ้มอยู่ที่ 125 ไมครอน ด้วยขนาดใยแก้วนำแสงที่เล็กทำให้สามารถส่งสัญญาณได้ใกล้และมีแบนวิดท์ที่ต่ำกว่าสายไฟเบอร์ออฟติกแบบซิงเกิลโหมด โดยมีความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 100 ล้านบิทต่อวินาที ในระยะทางไม่เกิน 200 เมตร แต่สายไฟเบอร์ออฟติกแบบมัลติโหมดนั้นจะผลิตง่ายกว่าสายไฟเบอร์ออฟติกแบบซิงเกิลโหมด

ประเภทการใช้งานของ Fiber Optic Cable

  1. INDOOR
  2. OUTDOOR / INDOOR
  3. OUTDOOR / แขวนเสา มี Messenger
  4. OUTDOOR / แขวนเสา ไม่มีสลิง
  5. AIR BLOW / MICROFIBER

ประเภทและโครงสร้างของสาย Fiber Optic

  1. LINK Indoor , Patch Cord Distribution Cable ใช้ติดตั้งเป็น Backbone Riser ในอาคาร
  2. DUCT Cable ติดตั้งแบบร้อยท่อ รางร้อยสายไฟฟ้า
  3. ARMORED Cable ติดตั้งแบบฝังดิน รางเปิด
  4. DROP-Wire Cable เดินสายบนเสาไฟฟ้า เสาสื่อสาร
  5. ADSS (All-Dielectric Self Support) ติดตั้งบนเสาไฟฟ้า เสาสื่อสาร
  6. ARSS (Anti-Rodent Self Support) ติดตั้งบนเสาไฟฟ้า เสาสื่อสาร ป้องกันสัตว์กัดแทะ

 เครือข่าย (NETWORK)

          คือกลุ่มของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่างๆที่นำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้เครือข่าย สามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลและใช้อุปกรณต่างๆ ร่วมกันในเครือข่ายได้

รูปแบบของเครือข่าย มีดังนี้

  1. LAN : Local Area Network
  2. MAN : Metropolitan Area Network
  3. WAN : Wide Area Network
  4. PAN : Personal Area Network

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Network Topology)

  1. เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)
  2. เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
  3. เครือข่ายแบบดาว (Star Topology)
  4. เครือข่ายแบบแมซ (Mesh Topology)

Network Switching or Switching คือ อุปกรณ์ที่เชื่อมอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยอาศัยสายเคเบิลต่อเข้ากับพอร์ตของแต่ละอุปกรณ์ และยังสามารถจัดการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายได้

Network Equipment ได้แก่ HUB SWITCH

HUB กับ SWITCH แตกต่างกันอย่างไร?

          HUB จะส่งข้อมูลที่เข้ามาไปยังทุกๆพอร์ตของ HUB ยกเว้นพอร์ตที่ข้อมูลดังกล่าวเข้ามายัง HUB ในขณะที่ SWITCH จะทำการเรียนรู้อุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับพอร์ตต่างๆ ทำให้ SWITCH ส่งข้อมูลไปยังพอร์ตที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น ไม่ส่งไปทุกๆพอร์ตเหมือนกับ HUB ซึ่งส่งผลให้ปริมาณข้อมูลภายในระบบเครือข่ายไม่มากเกินความจำเป็น HUB เป็นเพียงตัวขยายสัญญาณข้อมูล (Repeater) เท่านั้น ในขณะที่ SWITCH จะมีการทำงานที่ซับซ้อนกว่า มีการเรียนรู้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ การตัดสินใจส่งข้อมูลออกไปพอร์ตใด

Wi-Fi หรือ Wireless คือเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN)

เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายได้ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ดิจิทัลทีวี   ให้สามารถสื่อสารกันได้ผ่าน Access point โดยการติดต่อสื่อสารนี้จะเป็นการเชื่อมต่อโดยปราศจากการใช้สายสัญญาณ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณและติดตั้งใช้งานได้สะดวกขึ้น ซึ่งแตกต่างจากระบบ LAN ที่จะต้องใช้สาย LAN เป็นตัวเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่ายนั่นเอง และ ปัจจุบันนิยมใช้ Wi-Fi เพื่อเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต