เฉลยใบงานที่ 2 เรื่อง การเมือง การปกครอง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ระบอบการเมืองการปกครอง

     

รายวิชาหน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5                                                                       เวลาเรียน  6  ชั่วโมง

Œ  มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

    ส 2.2         ม.4-6/1      วิเคราะห์ปัญหาการเมืองที่สำคัญในประเทศจากแหล่งข้อมูลต่างๆ พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข                      

                                ม.4-6/2      เสนอแนวทางทางการเมืองการปกครองที่นำไปสู่ความเข้าใจ และการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ        

        ม.4-6/3      วิเคราะห์ความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองตาม

                            ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

  สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

            การร่วมมือกันแก้ปัญหาการเมืองการปกครองและประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

เป็นส่วนสำคัญในการธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

Ž  สาระการเรียนรู้

            3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                        1.        ปัญหาการเมืองสำคัญที่เกิดขึ้นภายในประเทศ

                        2.        สถานการณ์การเมืองการปกครองของสังคมไทย

                        3.        อิทธิพลของระบบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต

                        4.        การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ เช่น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง

                                ประเทศไทยกับประเทศต่างๆ

                        5.        การแลกเปลี่ยนเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมด้านวัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม

                        6.        การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

                                -      รูปแบบของรัฐ

                                -      ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

            3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                  -

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

         4.1    ความสามารถในการสื่อสาร

            4.2    ความสามารถในการคิด

                  -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

                        -      ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

                        -      ทักษะการคิดแก้ปัญหา

            4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                        -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

                        -      กระบวนการสืบค้นข้อมูล

            4.4    ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

            1.        มีวินัย

2.    ใฝ่เรียนรู้

3.    มุ่งมั่นในการทำงาน

‘  ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

            บทความวิเคราะห์การเมืองการปกครองไทย

’   การวัดและการประเมินผล

      7.1    การประเมินก่อนเรียน

                        -      แบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

            7.2    การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้             

                        1.        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเมืองการปกครอง

                        2.        ใบงานที่ 1.2 เรื่อง การใช้อำนาจอธิปไตย

                        3.        ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย

                        4.        ใบงานที่ 1.4 เรื่อง พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย

                        5.        ใบงานที่ 2.1 เรื่อง วิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทย

                        6.        ใบงานที่ 2.2 เรื่อง การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

                        7.        สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

            7.3    การประเมินหลังเรียน

                        -      แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

7.4       การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

         -      ประเมินบทความวิเคราะห์การเมืองการปกครองไทย

การประเมินชิ้นงาน / ภาระงาน (รวบยอด)

แบบประเมินบทความวิเคราะห์การเมืองการปกครองไทย

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ/ระดับคะแนน

ดีมาก (4)

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1. การวิเคราะห์

   ปัญหาการเมือง 

   ในประเทศ

เขียนวิเคราะห์ปัญหาการเมืองในประเทศและเสนอแนวทาง

แก้ไขอย่างมีเหตุผล อย่างน้อย 4 ปัญหา

เขียนวิเคราะห์ปัญหาการเมืองในประเทศและเสนอแนวทาง

แก้ไขอย่างมีเหตุผล อย่างน้อย 3 ปัญหา

เขียนวิเคราะห์ปัญหาการเมืองในประเทศและเสนอแนวทาง

แก้ไขอย่างมีเหตุผล อย่างน้อย 2 ปัญหา

เขียนวิเคราะห์ปัญหาการเมืองในประเทศและเสนอแนวทาง

แก้ไขอย่างมีเหตุผล อย่างน้อย 1 ปัญหา

2. การเสนอแนวทาง 

    การเมือง

    การปกครอง  

เสนอแนวทางการเมืองการปกครองที่นำไปสู่ความเข้าใจและการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

อย่างมีเหตุผล พร้อมยกตัวอย่างประกอบ อย่างน้อย 4 แนวทาง

เสนอแนวทางการเมืองการปกครองที่นำไปสู่ความเข้าใจและการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ อย่างมีเหตุผล พร้อมยกตัวอย่างประกอบ อย่างน้อย 3 แนวทาง

เสนอแนวทางการเมืองการปกครองที่นำไปสู่ความเข้าใจและการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ อย่างมีเหตุผล พร้อมยกตัวอย่างประกอบ อย่างน้อย 2 แนวทาง

เสนอแนวทางการเมืองการปกครองที่นำไปสู่ความเข้าใจและการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ อย่างมีเหตุผล พร้อมยกตัวอย่างประกอบ อย่างน้อย 1 แนวทาง

3. การวิเคราะห์ความ

    จำเป็นในการธำรง

    รักษาการปกครอง 

    ระบอบ

    ประชาธิปไตย

    อันมีพระมหากษัตริย์

    ทรงเป็นประมุข

แสดงเหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

 4 ประเด็น ขึ้นไป

แสดงเหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

 3 ประเด็น

แสดงเหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

 2 ประเด็น

แสดงเหตุผลถึงความจำเป็นที่ต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พร้อมยกตัวอย่างประกอบ

 1 ประเด็น

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

10-12

ดีมาก

7-9

ดี

4-6

พอใช้

1-3

ปรับปรุง

“  กิจกรรมการเรียนรู้

            Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคการเรียนร่วมกัน,เทคนิคคู่คิด

เวลา  4  ชั่วโมง

        1.        ครูให้นักเรียนผลัดกันเล่าความรู้เดิมเกี่ยวกับเรื่อง ระบอบการปกครองแบบต่างๆ ได้แก่ ระบอบ

                เผด็จการ ระบอบประชาธิปไตย

        2.        ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจถึงหลักการสำคัญของการปกครองระบอบเผด็จการ และการปกครอง

                ระบอบประชาธิปไตย

        3.        ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ ให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้

        เรื่อง ลักษณะการเมืองการปกครอง และช่วยกันทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเมืองการปกครอง โดยสมาชิกแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำใบงานแต่ละหัวข้อ คือ

        -      สมาชิกคนที่ 1 อ่านคำสั่ง คำถาม หรือประเด็นคำถาม แยกแยะประเด็นให้ชัดเจน

        -      สมาชิกคนที่ 2 ฟังขั้นตอน รวบรวมข้อมูล หาแนวทางเสนอแนะในการตอบคำถาม

        -      สมาชิกคนที่ 3 ตอบคำถาม หรือคำนวณหาคำตอบ

        -      สมาชิกคนที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้อง

4.        สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่กันตอบคำถาม จนเสร็จทุกข้อ แล้วครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบในใบงาน จากนั้นร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญ

5.        ครูอธิบายความรู้เกี่ยวกับเรื่อง รัฐเดี่ยวหรือเอกรัฐ กับ รัฐรวมหรือสหพันธรัฐ

6.        นักเรียนกลุ่มเดิมจับคู่กันเป็น 2 คู่ ศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน แล้วช่วยกันทำใบงานที่ 1.2 เรื่อง

        การใช้อำนาจอธิปไตย

7.        นักเรียนแต่ละคู่ของกลุ่มผลัดกันตรวจสอบความถูกต้องของใบงานที่ 1.2 จากนั้นครูและนักเรียน

        ช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงาน แล้วช่วยกันสรุป

8.        นักเรียนดูภาพหรือวีซีดีเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน

        แล้วให้นักเรียนผลัดกันแสดงความประทับใจในพระราชกรณียกิจ

9.        นักเรียนรวมกลุ่มกันตามความสมัครใจ ศึกษาความรู้จากหนังสือเรียน แล้วช่วยกันทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย

    10.  นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันนำเสนอผลงานจากใบงานที่ 1.3 โดยครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

    11.  นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระมหากษัตริย์ไทย

            และนำมาวิเคราะห์ตามหัวข้อในใบงานที่ 1.4 เรื่อง พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย

    12.  นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอผลงานต่อชั้นเรียน ครูและนักเรียนอภิปรายสรุปความสำคัญและความจำเป็น

            ที่ต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

การเมืองกับชีวิต

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคคู่คิด

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม

เวลา  2  ชั่วโมง

1.    ครูนำข่าวหรือภาพข่าวกิจกรรมทางการเมืองการปกครองของประเทศต่างๆ มาให้นักเรียน

                    วิเคราะห์ว่า ข่าวหรือภาพข่าวดังกล่าวมีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนอย่างไร

2.    ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจถึงอิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนิน

        ชีวิตของประชาชน และระบอบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีผลต่อการดำเนิน

        ชีวิตของประชาชนชาวไทย

3.        ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน คละกันตามความสามารถ แต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 3 คน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้และทำใบงานกลุ่มละ 1 ใบงาน ดังนี้

        -      กลุ่มย่อยที่ 1  ทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง วิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทย

        -      กลุ่มย่อยที่ 2  ทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

4.        นักเรียนกลุ่มย่อยของแต่ละกลุ่มผลัดกันเล่าผลงานที่กลุ่มรับผิดชอบให้สมาชิกอีกกลุ่มย่อยฟัง และ

        ช่วยกันเสนอแนะปรับปรุงแก้ไขผลงาน

5.        นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานต่อชั้นเรียน โดยมีครูเป็นผู้รวจสอบความถูกต้อง

6.        ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปปัญหาการเมืองที่สำคัญของประเทศ และเสนอแนวทางแก้ไขกิจกรรมการเมืองการปกครองที่สำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจและการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่าง

        ประเทศ

7.        ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนบทความวิเคราะห์การเมืองการปกครองไทย และส่งครูผู้สอน จากนั้นครูเลือกกลุ่มที่มีผลงานอยู่ในเกณฑ์ดี นำไปติดป้ายนิเทศ

Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

”   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้        

         9.1    สื่อการเรียนรู้

                        1.        หนังสือเรียน หน้าที่พลเมืองฯ ม. 4-ม.6

                        2.        ตัวอย่างสื่อประกอบการสอน

                        3.        ตัวอย่างข่าว

                        4.        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเมืองการปกครอง

                        5.        ใบงานที่ 1.2 เรื่อง การใช้อำนาจอธิปไตย

                        6.        ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย

                        7.        ใบงานที่ 1.4 เรื่อง พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย

                        8.        ใบงานที่ 2.1 เรื่อง วิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทย

                        9.        ใบงานที่ 2.2 เรื่อง การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

            9.2    แหล่งการเรียนรู้

                        1.        ห้องสมุด

                        2.        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                www.kullawat.net/civic/3.1.htm  

                                www.dopa.go.th/history/polith.htm

th.wikipedia.org/wiki/ประชาธิปไตย

แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

1.        หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตยมีหลายประการ ยกเว้นข้อใด

            ก.        อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน

            ข.    ประชาชนมีสิทธิมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกัน

            ค.    รัฐบาลต้องเคารพสิทธิ และเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน

            ง.        รัฐบาลมีสิทธิออกกฎหมายเพื่อควบคุมความสงบของประเทศเมื่อมีการต่อต้าน

2.        ข้อใดเป็นหลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ

            ก.        ผู้นำหรือกลุ่มผู้นำมีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ

            ข.  ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลที่อยู่ในวาระได้หลายสมัย

            ค.    ประชาชนวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของรัฐบาลภายในขอบเขต

            ง.        รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา

3.        ระบอบเผด็จการทหาร มีลักษณะอย่างไร

            ก.        ผู้นำเป็นทหารที่มีอำนาจในการปกครองประเทศ

            ข.    ใช้กฎอัยการศึกเป็นกฎหมายในการปกครองประเทศ

            ค.    มีพรรคการเมืองภายใต้การกำกับของรัฐสภาเพียงพรรคเดียว

            ง.        ควบคุมกิจกรรมทางการเมืองและการดำเนินชีวิตของประชาชน

4.        ระบอบเผด็จการแบบใด ที่เชื่อว่าจะช่วยทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นอิสระจากการกดขี่ของนายทุน

            ก.        ระบอบเผด็จการทหาร                                                ข.    ระบอบเผด็จการพลเรือน

            ค.    ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์                                     ง.        ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์

5.        ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ หมายถึงข้อใด

            ก.        ระบอบเผด็จการทหาร                                                ข.    ระบอบเผด็จการพลเรือน

            ค.    ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์                                    ง.    ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์

6.        ประเทศที่มีรูปแบบของรัฐเดี่ยว คือประเทศใด

            ก.        สิงคโปร์  ไทย  ญี่ปุ่น                                  ข.    รัสเซีย  มาเลเซีย  ญี่ปุ่น

            ค.    ไทย  จีน  อินเดีย                                                                 ง.    ญี่ปุ่น  สหรัฐอเมริกา  สิงคโปร์       

7.        ลักษณะของสหพันธรัฐหรือรัฐรวม เป็นอย่างไร

            ก.        รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจในกิจการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

            ข.    รัฐบาลกลางมอบนโยบายการปกครองให้แต่ละท้องถิ่นดำเนินการ

            ค.    รัฐบาลกลางเป็นผู้ใช้อำนาจในกิจการทหาร การต่างประเทศ การคลัง   

            ง.        รัฐบาลท้องถิ่นมีความสำคัญต่อการบริหารประเทศและแก้ปัญหาได้รวดเร็ว

8.        อำนาจหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีหลายประการ ยกเว้นข้อใด

            ก.        เสนอและพิจารณากฎหมาย 

            ข.    ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

            ค.    ควบคุมการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

            ง.        ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทั้งทางการเมืองและข้าราชการประจำ

9.        ข้อใดกล่าวถึงอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาได้ถูกต้อง

            ก.  พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

            ข.    กลั่นกรองงบประมาณแผ่นดิน

            ค.    เสนอกฎหมายที่เกี่ยวกับความมั่นคง

       ง.        ควบคุมการบริหารงานในหน่วยงานของรัฐ

10.      หน้าที่ในการกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน คือใคร

            ก.        คณะรัฐมนตรี                                                                   ข.    องคมนตรี

            ค.    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร                                              ง.        สมาชิกวุฒิสภา

11.      หน่วยงานใดที่เป็นองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษ

            ก.        เทศบาล                                              ข.    กรุงเทพมหานคร

            ค.    องค์การบริหารส่วนจังหวัด                                           ง.        องค์การบริหารส่วนตำบล    

12.      ศาลใดมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

            ก.        ศาลฎีกา                                                                     ข.    ศาลชั้นต้น               

            ค.    ศาลปกครอง                                                             ง.        ศาลรัฐธรรมนูญ

13.      ศาลใดมีอำนาจพิจารณา พิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ   องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน

            ก.        ศาลยุติธรรม                                                             ข.    ศาลทหาร

            ค.    ศาลปกครอง                                                             ง.    ศาลรัฐธรรมนูญ

14.      ข้อใดกล่าวถึงฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยไม่ถูกต้อง

            ก.        ทรงเป็นตัวแทนปวงชนชาวไทยในการติดต่อกับประมุขของต่างประเทศ

       ข.    ทรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ

            ค.    ทรงอยู่ใต้กฎหมายแต่อยู่เหนือการเมือง

            ง.        ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย

15.      อิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยอย่างไร

            ก.        มีการรวมกลุ่มกันในด้านต่างๆ เพื่อเรียกร้องสิทธิบางประการที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

            ข.    มีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงทั้งในด้านดีและด้านไม่ดีกระทบต่อการรวมพลังสามัคคี

       ค.    ประชาชนให้ความสำคัญต่อท้องถิ่นมากกว่าส่วนรวมของประเทศ

            ง.        ประชาชนมีความเบื่อหน่ายในการร่วมกิจกรรมทางการเมือง

16.      ข้อใดเป็นปัญหาทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ

       ก.        การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลบ่อยก่อนครบกำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง

            ข.    ความคิดเห็นทางการเมืองแตกต่างกัน

       ค.    พรรคการเมืองมีนโยบายต่างกัน

            ง.        มีองค์กรอิสระมากเกินไป

17.      การที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ มีผลดีอย่างไร

            ก.        ได้รับความช่วยเหลือทางการเมืองการปกครอง

            ข.    ประเทศไทยได้เปรียบประเทศอื่นในด้านเศรษฐกิจ

            ค.    การเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีความมั่นคง

            ง.        มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ

18.      ประเทศไทยมีส่วนสำคัญในฐานะประเทศร่วมก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศหลายองค์กร ยกเว้นข้อใด

            ก.        องค์การการค้าโลก                                                                  ข.    องค์การสหประชาชาติ

            ค.    อาเซียน                                                                                     ง.        อาฟต้า

19.      การที่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก มีผลดีอย่างไร

            ก.        ประเทศอื่นให้ความสำคัญต่อสินค้าไทย

            ข.    ระงับข้อพิพาททางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน

            ค.    สามารถผลิตสินค้าส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้มาก

            ง.        มีการปรับปรุงมาตรฐานการผลิตสินค้าและบริการให้เป็นไปตามหลักสากลมากขึ้น

20.      การที่ประเทศไทยมีความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนน้อยกว่าประเทศอื่น เนื่องจากปัจจัย

            สำคัญในข้อใด

            ก.   มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมแห่งความสามัคคีของคนในชาติ

            ข.    ทหารมีพลังอำนาจในการประสานและยุติความขัดแย้ง

            ค.    พรรคการเมืองเข้มแข็งในการร่วมมือกันแก้ปัญหา

            ง.        ประชาชนไม่สนใจการเมืองการปกครอง

 

                                                1.        ง              2.        ก             3.        ข             4.        ง              5.        ค

                                                6.        ก             7.        ค             8.        ง              9.        ก             10.  ก

                                                11.  ข             12.  ก             13.  ค             14.  ค             15.  ก

                                                16.  ก             17.  ง              18.  ข             19.  ง              20.  ก

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ระบอบการเมืองการปกครอง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4-6

เรื่อง  ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เวลา 4  ชั่วโมง

Œ   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

            การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย เป็นการปกครองที่มีหลักการสำคัญในการใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชน ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน

   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

            2.1    ตัวชี้วัด

                        ส 2.2         ม.4-6/3      วิเคราะห์ความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครอง                                                                                             ตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข       

            2.2    จุดประสงค์การเรียนรู้

1.             อธิบายการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้

2.             อธิบายฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยได้

3.             วิเคราะห์ความจำเป็นในการธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้

Ž   สาระการเรียนรู้

         3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                  การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

                        -      รูปแบบของรัฐ

                        -      ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

            3.2   สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                       -       

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

         4.1   ความสามารถในการสื่อสาร

            4.2   ความสามารถในการคิด

                 -        ทักษะการคิดวิเคราะห์

            4.3   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                       -        กระบวนการทำงานกลุ่ม

            4.4   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

            1.       มีวินัย

2.    ใฝ่เรียนรู้

3.    มุ่งมั่นในการทำงาน

‘   กิจกรรมการเรียนรู้  

         (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคการเรียนร่วมกัน, เทคนิคคู่คิด)

            Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

            1.        ครูให้นักเรียนผลัดกันเล่าความรู้เดิมเรื่อง ระบอบการปกครองแบบต่างๆ ได้แก่

                    -      ระบอบเผด็จการ

                    -      ระบอบประชาธิปไตย

            2.        ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจถึงหลักการสำคัญของการปกครองระบอบเผด็จการและการปกครอง

                    ระบอบประชาธิปไตย

            3.        ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง                                          ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน

4.    นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เรื่อง ลักษณะการเมืองการปกครอง จากหนังสือเรียน หรือ

        หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม หรือแหล่งข้อมูลสารสนเทศตามความเหมาะสม ในหัวข้อต่อไปนี้

        1)        หลักการของระบอบประชาธิปไตย

        2)        หลักการของระบอบเผด็จการ

5.        นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันอภิปรายความรู้ที่ได้ศึกษา จนมีความเข้าใจกระจ่างชัดเจน

6.        ครูแจกใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเมืองการปกครอง แล้วให้สมาชิกแต่ละกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำใบงาน

        แต่ละหัวข้อ ดังนี้

        -      สมาชิกคนที่ 1 อ่านคำสั่ง คำถาม หรือประเด็นคำถาม แยกแยะประเด็นให้ชัดเจน

        -      สมาชิกคนที่ 2 ฟังขั้นตอน รวบรวมข้อมูล หาแนวทางเสนอแนะในการตอบคำถาม

        -      สมาชิกคนที่ 3 ตอบคำถาม หรือคำนวณหาคำตอบ

        -      สมาชิกคนที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้อง

7.        สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่กันตอบคำถาม หรือประเด็นที่กำหนด จนครบ

        ทุกข้อ

8.        ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบในใบงาน และช่วยกันสรุปความแตกต่างของการปกครอง

        ระบอบประชาธิปไตย กับระบอบเผด็จการ

1.        ครูตั้งคำถามเพื่อเป็นการตรวจสอบความรู้ของนักเรียน เช่น

        -      ประเทศที่เป็นเอกรัฐ หรือรัฐเดี่ยว ได้แก่ประเทศใดบ้าง

                แนวคำตอบ      ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สเปน

        -      ประเทศที่เป็นสหพันธรัฐ หรือรัฐรวม ได้แก่ประเทศใดบ้าง

                แนวคำตอบ       สหรัฐอเมริกา สหพันธรัฐรัสเซีย มาเลเซีย

2.        ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจถึงความแตกต่างกันของรัฐเดี่ยวหรือเอกรัฐ กับสหพันธรัฐหรือรัฐรวม                                         และสรุปประเด็น ดังนี้

        -      รัฐเดี่ยวหรือเอกรัฐ เป็นรัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงรัฐเดียว ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองดินแดน

                ทั้งหมด อาจมีการกระจายให้ท้องถิ่นได้บริหารกิจการของท้องถิ่นตามที่รัฐบาลเห็นสมควร

        -      รัฐรวมหรือสหพันธรัฐ เป็นรัฐที่มีรัฐบาลหลายระดับ คือ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น

                ของแต่ละมลรัฐ

3.        ครูเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่อง รูปแบบของรัฐไทย ซึ่งเป็นรัฐเดี่ยว มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

        อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

4.        นักเรียนกลุ่มเดิมจากชั่วโมงที่แล้วจับคู่กันเป็น 2  คู่ ช่วยกันศึกษาความรู้เรื่อง การใช้อำนาจอธิปไตย

        จากหนังสือเรียน     แล้วช่วยกันทำใบงานที่  1.2 เรื่อง การใช้อำนาจอธิปไตย

5.    นักเรียนแต่ละคู่ของกลุ่มช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องของใบงานและอธิบายความรู้ในประเด็นสำคัญ

        ของคำตอบในแต่ละข้อ

6.        ครูและนักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบในใบงาน และสรุปประเด็นสำคัญของการใช้อำนาจอธิปไตย

        ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี

        และศาล

1.        ครูให้นักเรียนชมวีดิทัศน์หรือภาพเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

        รัชกาลปัจจุบัน แล้วให้นักเรียนผลัดกันแสดงความประทับใจในพระราชกรณียกิจของพระองค์ ครู

        อธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่า พระราชกรณียกิจดังกล่าวนั้น จัดเป็นบทบาทของพระมหากษัตริย์

        ไทยที่ปฏิบัติตามฐานะและพระราชอำนาจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

2.        นักเรียนรวมกลุ่มกัน กลุ่มละ 4 คน ตามความสมัครใจ ให้แต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เรื่อง ฐานะและ

        พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ จากหนังสือเรียน

3.        นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำใบงานที่ 1.3 เรื่อง ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย

4.    นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันนำเสนอผลงานจากใบงาน แล้วให้กลุ่มที่มีความคิดเห็นต่างกันออกไป

        นำเสนอเพิ่มเติม โดยครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง

5.        ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจที่สำคัญของ              

        พระมหากษัตริย์ไทย และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทย

1.        ครูสนทนาซักถามนักเรียนถึงความพร้อมของนักเรียนแต่ละกลุ่มที่ไปสืบค้นหาความรู้เกี่ยวกับ

        พระราชกรณียกิจสำคัญของพระมหากษัตริย์ไทย และพระบรมวงศานุวงศ์ ที่มีผลต่อการพัฒนา

        ประเทศไทย วิธีการสืบค้น และการเบ่งหน้าที่กันทำงานของนักเรียน

2.        นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันทำใบงานที่ 1.4 เรื่อง พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย

3.       

นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอผลงานต่อชั้นเรียน ดังนี้

        -      กลุ่มที่ 1     นำเสนอผลงาน       กลุ่มที่ 2     แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

        -      กลุ่มที่ 2     นำเสนอผลงาน       กลุ่มที่ 3     แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

        -      กลุ่มที่ 3     นำเสนอผลงาน       กลุ่มที่ 4     แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

        -      กลุ่มที่ 4     นำเสนอผลงาน       กลุ่มที่ 5     แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

        -      กลุ่มที่ 5     นำเสนอผลงาน       กลุ่มที่ 1     แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

4.        ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบ                            ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

’  การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

แบบทดสอบก่อนเรียน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.1

ใบงานที่ 1.1

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.2

ใบงานที่ 1.2

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.3

ใบงานที่ 1.3

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 1.4

ใบงานที่ 1.4

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

“   สื่อ / แหล่งการเรียนรู้

         8.1    สื่อการเรียนรู้

                        1.        หนังสือเรียน หน้าที่พลเมืองฯ ม.4-ม.6

                        2.        ตัวอย่างสื่อประกอบการสอน

                        3.        ใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเมืองการปกครอง

                        4.        ใบงานที่ 1.2 เรื่อง การใช้อำนาจอธิปไตย

                        5.        ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย

                        6.        ใบงานที่ 1.4 เรื่อง พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย

         8.2    แหล่งการเรียนรู้

                    1.        ห้องสมุด

                        2.        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                www.kullawat.net/civic/3.1.htm  

                                www.dopa.go.th/history/polith.htm

                                th.wikipedia.org/wiki/ประชาธิปไตย

ตัวอย่างสื่อประกอบการสอน

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เสด็จไปเยี่ยมเยียนราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ

 
 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เสด็จไปประกอบพิธีทางศาสนา

 

ใบงานที่  1.1  เรื่อง  การเมืองการปกครอง

คำชี้แจง    ให้นักเรียนอธิบายข้อความที่กำหนดให้

1.  หลักการสำคัญของ

     ระบอบประชาธิปไตย

 
 

2.  หลักการสำคัญของ

      ระบอบเผด็จการ

 
 

3.  รูปแบบของการ

     ปกครองระบอบ

     เผด็จการ

 
 

4.  ความแตกต่างระหว่าง

     ระบอบเผด็จการ  

     คอมมิวนิสต์กับ

     ระบอบเผด็จการทหาร

 
 

5.  ความแตกต่างของ

     เอกรัฐกับสหพันธรัฐ

 
 

ใบงานที่  1.1  เรื่อง  การเมืองการปกครอง

คำชี้แจง    ให้นักเรียนอธิบายข้อความที่กำหนดให้

1.  หลักการสำคัญของ

     ระบอบประชาธิปไตย

 

1.  อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจที่มาจากประชาชน                                              2.  ประชาชนมีสิทธิมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง     

     โดยการออกเสียงเลือกตั้งประชาชนกลุ่มหนึ่งมาบริหารประเทศแทน3.  รัฐบาลเคารพสิทธิพื้นฐานของประชาชน                                              

4.  ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอกันในการที่จะได้รับบริการทุกชนิด    

     ที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน                                                                             

5.  รัฐบาลถือกฎหมายและความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกคร                อง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                          

 

2.  หลักการสำคัญของ

      ระบอบเผด็จการ

 

1.  ผู้นำมีอำนาจสูงสุดในการปกครอง                                                                        2.  การรักษาความมั่นคงของผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิ    

     เสรีภาพของประชาชน                                                                              

3.  ผู้นำสามารถอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต หรือเท่าที่ผู้ร่วมงานหรือ  

     กองทัพสนับสนุน                                                                                       

4.  รัฐธรรมนูญเป็นแค่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    

 

3.  รูปแบบของการ

     ปกครองระบอบ

     เผด็จการ

 

1.  ระบอบเผด็จการทหาร คณะผู้นำทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการ                       

     ในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม                                                                          2.  ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ เน้นความสำคัญของผู้นำว่า มีอำนาจ       

      เหนือประชาชนทั่วไป                                                                                          

3.  ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ มีพรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียว

      เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ                                             

 

4.  ความแตกต่างระหว่าง

     ระบอบเผด็จการ 

     คอมมิวนิสต์กับ

     ระบอบเผด็จการทหาร

 

ระบอบเผด็จการทหารจะควบคุมกิจการทางการเมืองของประชาชนเท่านั้น แต่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ จะใช้อำนาจเผด็จการควบคุมกิจกรรมและการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                  

 

5.  ความแตกต่างของ

     เอกรัฐกับสหพันธรัฐ

 

     เอกรัฐ คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเพียงรัฐเดียว ใช้อำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทั้งหมด อาจมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นได้ บริหารกิจการของท้องถิ่นได้ตามที่รัฐบาลเห็นสมควร                                      

     สหพันธรัฐ คือ รัฐที่มีรัฐบาลสองระดับ คือ รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละมลรัฐ รัฐบาลแต่ละระดับจะใช้อำนาจอธิปไตยปกครองตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด รัฐบาลกลางของสหพันธรัฐจะเป็นผู้ใช้อำนาจในกิจการที่เกี่ยวข้องหรือกระทบกระเทือนต่อประโยชน์ส่วนรวม           ของชาติ                                                                             

 

ใบงานที่  1.2  เรื่อง  การใช้อำนาจอธิปไตย

คำชี้แจง    ให้นักเรียนนำหมายเลขหน้าข้อความด้านล่างมาใส่ในกรอบคำที่กำหนดให้ด้านบน

    ที่มีใจความสัมพันธ์กัน

1.             ตรวจสอบการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

2.             พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

3.             กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินและบริหารให้เป็นไปตามนโยบาย

4.             พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

5.             มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาที่มีการอุทธรณ์คำพิพากษาจากศาลชั้นต้น

6.             บัญญัติกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย

7.             มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

8.             มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

9.             บริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

10.      มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจการการปกครองของหน่วยงานราชการ

11.      เสนอและพิจารณากฎหมาย

12.      ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา

13.      ควบคุมข้าราชการประจำให้นำนโยบายไปปฏิบัติ

14.      ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือข้าราชการระดับสูงออกจากตำแหน่ง

15.      ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับงานในหน้าที่

ใบงานที่  1.2  เรื่อง  การใช้อำนาจอธิปไตย

คำชี้แจง    ให้นักเรียนนำหมายเลขหน้าข้อความด้านล่างมาใส่ในกรอบคำที่กำหนดให้ด้านบน

    ที่มีใจความสัมพันธ์กัน

1.             ตรวจสอบการตรากฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

2.             พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ

3.             กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินและบริหารให้เป็นไปตามนโยบาย

4.             พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

5.             มีอำนาจพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาที่มีการอุทธรณ์คำพิพากษาจากศาลชั้นต้น

6.             บัญญัติกฎหมายและยกเลิกกฎหมาย

7.             มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น

8.             มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

9.             บริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น

10.      มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทระหว่างหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน อันเนื่องมาจากการดำเนินกิจการการปกครองของหน่วยงานราชการ

11.      เสนอและพิจารณากฎหมาย

12.      ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา

13.      ควบคุมข้าราชการประจำให้นำนโยบายไปปฏิบัติ

14.      ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือข้าราชการระดับสูงออกจากตำแหน่ง

15.      ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับงานในหน้าที่

ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย

ตอนที่ 1

คำชี้แจง     ให้นักเรียนวิเคราะห์ภาพพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย แล้วบรรยายใต้ภาพที่แสดงถึง           ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย

ตอนที่ 2

คำชี้แจง     ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1.        พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีฐานะและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างไร

2.        ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องดำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบ   ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

          ใบงานที่ 1.3 เรื่อง ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย

ตอนที่ 1

คำชี้แจง     ให้นักเรียนวิเคราะห์ภาพพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย แล้วบรรยายใต้ภาพที่แสดงถึง           ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย

   

ทรงอยู่ในฐานะประมุขของประเทศ เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวไทย ให้ทุกคนรวมพลังกันทำกิจกรรมต่างๆ ในการพัฒนาประเทศชาติ     

 

ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก เป็นขวัญกำลังใจให้ประชาชนพระพฤติตนเป็นคนดี                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                 

 
 
 

ทรงเสด็จไปเยี่ยมราษฎรในภาคต่างๆ โดยเฉพาะในดินแดนทุรกันดาร ช่วยเหลือราษฎรผู้ยากไร้ ตลอดทั้งส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ และสภาพความเป็นอยู่ของราษฎร                                                                                                                                                                                                  

 

ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารในกองทัพได้ปฏิบัติหน้าที่ในการปกป้องรักษาเอกราชของชาติไทย                           

 
   

ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวไทย การที่พระองค์ปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่แสดงถึงการดูแลทุกข์สุขของประชาชน และโครงการในพระราชดำริส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศชาติ                                  

 

ทรงเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยในการต้อนรับผู้แทนของประเทศต่างๆ ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีงามกับต่างชาติ                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    

 
   

ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล แสดงถึงความมั่นคงของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

 

ทรงเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยในการติดต่อกับประมุขของต่างประเทศ เป็นการสร้างความสัมพันธ์

ที่ดีงามกับต่างประเทศ                                                      

 

ตอนที่ 2

คำชี้แจง     ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

1.        พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีฐานะและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างไร

            1.        ทรงอยู่ในฐานะประมุขของประเทศ โดยจะทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี                                         และศาล                                                                                                         2.                            ทรงเป็นกลางและทรงอยู่เหนือการเมือง                                                       3.        ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดกล่าวหา หรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์                              ในทางใดๆ มิได้                                                                                                                                      4.                            ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก                                                                                        5.                            ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย                                                 6.        ทรงเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยในการติดต่อกับประมุขต่างประเทศ                                         

2.        ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องดำรงไว้ซึ่งการปกครองระบอบ   ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

            1.        เป็นศูนย์รวมแห่งความสามัคคีของประชาชน เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์       

                    ต่อส่วนรวม ประเทศ เมื่อมีเหตุการณ์ขัดแย้งกันขึ้น กลุ่มผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน

                    หรือระหว่างผู้บริหารประเทศ ซึ่งจะมีผลเสียต่อประเทศ  พระองค์ก็ทรงแนะนำแนวทางที่เป็น

                    ประโยชน์และสามารถชี้นำให้ทุกฝ่ายสมานสามัคคีกันได้ ซึ่งทำให้ประชาชนอยู่อย่างเป็นสุข   

            2.        ทรงชี้แนะเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ 

                    ของ    ราษฎร เช่น โครงการเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ การประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม                                                    การแก้ปัญหาภัยแล้ง ตลอดทั้งยังทรงพระราชทานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิต                                     อย่างมีความสุขให้แก่ประชาชนชาวไทย                                             

            3.    ทรงมีพระราชกรณียกิจในด้านการสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เช่น การเสด็จไปเยือน

        ประเทศต่างๆ การต้อนรับผู้นำหรือตัวแทนของประเทศต่างๆ ที่มาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศ

        ไทยเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน                                                                                  \

                                                                                    ฯลฯ                                                                                       

(หมายเหตุ นักเรียนอาจตอบเป็นอย่างอื่นตามความเหมาะสม ให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

ใบงานที่ 1.4 เรื่อง พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย

คำชี้แจง     ให้นักเรียนนำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยมาวิเคราะห์

                    และตอบคำถามตามหัวข้อที่กำหนด

1.        พระราชกรณียกิจที่สำคัญ คืออะไร สอดคล้องกับฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย                ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร

2.        พระราชกรณียกิจดังกล่าวส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง

ใบงานที่ 1.4 เรื่อง พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทย

คำชี้แจง     ให้นักเรียนนำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ไทยมาวิเคราะห์

                    และตอบคำถามตามหัวข้อที่กำหนด

1.        พระราชกรณียกิจที่สำคัญ คืออะไร สอดคล้องกับฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย                ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร

2.        พระราชกรณียกิจดังกล่าวส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง

(หมายเหตุ พิจารณาตามคำตอบของนักเรียน ให้อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน)

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ลำดับที่

ชื่อ สกุล

ของผู้รับการประเมิน

ความร่วมมือ

การแสดงความคิดเห็น

การรับฟังความคิดเห็น

การตั้งใจทำงาน

การร่วมปรับปรุงผลงานกลุ่ม

รวม

20คะแนน

4

3

2

1

4

3

2

1

4

3

2

1

4

3

2

1

4

3

2

1

      ลงชื่อ...................................................ผู้ประเมิน

เกณฑ์การให้คะแนน

ดีมาก                      =              4

ดี                             =              3

พอใช้                      =              2

ปรับปรุง                                =              1

 

                                                                                         ............../.................../................

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

ระดับคุณภาพ

17 – 20

13 – 16

  9 – 12

5 – 8

ดีมาก

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

 

หมายเหตุ     ครูอาจใช้วิธีการมอบหมายให้หัวหน้ากลุ่ม

เป็นผู้ประเมิน  หรือให้ตัวแทนกลุ่มผลัดกันประเมิน 

หรือให้มีการประเมินโดยเพื่อน  โดยตัวนักเรียนเอง

ตามความเหมาะสมก็ได้

 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่  2

หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ระบอบการเมืองการปกครอง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4-6

เรื่อง  การเมืองกับชีวิต

เวลา 2  ชั่วโมง

Œ   สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

            การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้น มีปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริหารบ้านเมืองและประเทศ ซึ่งทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกันหาแนวทางแก้ไข อีกทั้งยังต้องร่วมมือกันทางการเมืองการปกครองที่จะนำไปสู่ความเข้าใจและการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศ

   ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

            2.1    ตัวชี้วัด

                        ส 2.2     ม.4-6/1      วิเคราะห์ปัญหาการเมืองที่สำคัญในประเทศจากแหล่งข้อมูลต่างๆ พร้อมทั้ง                                                                                           เสนอแนวทางแก้ไข

                                        ม.4-6/2      เสนอแนวทางทางการเมืองการปกครองที่นำไปสู่ความเข้าใจ และการ

                                                            ประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ                                    

         2.2    จุดประสงค์การเรียนรู้

                        1.        วิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทยและเสนอแนวทางแก้ไขได้

                        2.        วิเคราะห์แนวทางในการสร้างความเข้าใจ และการประสานประโยชน์ระหว่างประเทศได้

Ž   สาระการเรียนรู้

      3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง

                        1.        ปัญหาการเมืองสำคัญที่เกิดขึ้นภายในประเทศ

                        2.        สถานการณ์การเมืองการปกครองของสังคมไทย

                        3.        อิทธิพลของระบบการเมืองการปกครองที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต

                        4.        การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ เช่น การสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง

                                ประเทศไทยกับประเทศต่างๆ

                        5.        การแลกเปลี่ยนเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมด้านวัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม

            3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

                        - 

   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

         4.1    ความสามารถในการสื่อสาร

            4.2    ความสามารถในการคิด

                  -      ทักษะการคิดวิเคราะห์

                        -      ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

                        -      ทักษะการคิดแก้ปัญหา

            4.3    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

                        -      กระบวนการทำงานกลุ่ม

                        -      กระบวนการสืบค้นข้อมูล

   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

            1.        มีวินัย

2.    ใฝ่เรียนรู้

3.    มุ่งมั่นในการทำงาน

‘   กิจกรรมการเรียนรู้  

            (วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคคู่คิด วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการกลุ่ม)

            1.        ครูนำข่าวหรือภาพกิจกรรมทางการเมืองการปกครองของประเทศต่างๆ ในโลก มาให้นักเรียนวิเคราะห์

                    เช่น

                    -      การชุมนุมประท้วงรัฐบาลของชาวตุรกี

                    -      การเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา

                    -      การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น

                    -      รัฐบาลพม่ากักบริเวณให้นางอองซาน ซูจี อยู่ภายในบริเวณบ้านพักของตนเอง

            2.        ครูให้นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่าข่าวหรือภาพข่าวดังกล่าวมีผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน

                    อย่างไร

            3.        ครูช่วยอธิบายสรุปให้นักเรียนเข้าใจว่าอิทธิพลของระบอบการเมืองการปกครองมีผลต่อการดำเนิน 

                    ชีวิตของประชาชน และการที่ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยทำให้มีผลต่อการดำเนิน

                    ชีวิตของประชาชน เช่น

                    -      ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน

                    -      ประชาชนมีความสนใจในทางการเมือง

                    -      มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มที่มีอาชีพเดียวกัน

                    -      การรวมกลุ่มสร้างพลังความเข้มแข็งต่อการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมในชุมชนท้องถิ่น

            4.        ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง

                    ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย กลุ่มละ 3 คน

                    ให้แต่ละกลุ่มย่อยช่วยกันทำใบงาน ดังนี้

                    -      กลุ่มย่อยที่ 1      ศึกษาสืบค้นความรู้เกี่ยวกับ ปัญหาทางการเมืองที่สำคัญที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

                                                        และทำใบงานที่ 2.1 เรื่อง วิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทย

                    -      กลุ่มย่อยที่ 2      ศึกษาสืบค้นความรู้เกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ

                                                        และทำใบงานที่ 2.2 เรื่อง การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

            1.        ครูสนทนากับนักเรียนถึงการดำเนินงานของแต่ละกลุ่ม วิธีการสืบค้นข้อมูลในเรื่องที่ศึกษา

                    การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และความก้าวหน้าของงานที่รับผิดชอบ

            2.        นักเรียนกลุ่มย่อยของแต่ละกลุ่มผลัดกันเล่าผลงานที่กลุ่มตนรับผิดชอบตามหัวข้อในใบงาน ให้สมาชิก

                    อีกกลุ่มย่อยฟัง และช่วยกันแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่เป็นประโยชน์

            3.        นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานต่อชั้นเรียน และให้กลุ่มอื่นเสนอแนะเพิ่มเติม โดยมีครู

                    เป็นผู้รวจสอบความถูกต้อง

            4.        ครูและนักเรียนช่วยกันอภิปรายสรุปปัญหาการเมืองที่สำคัญของประเทศ และแนวทางแก้ไข                

                    กิจกรรมการเมืองการปกครองสำคัญที่นำไปสู่ความเข้าใจและการประสานประโยชน์ร่วมกัน

                    ระหว่างประเทศ

            5.        ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันเขียนบทความวิเคราะห์การเมืองการปกครองไทย

                    ในประเด็นต่อไปนี้

1)    การวิเคราะห์ปัญหาการเมืองในประเทศ

2)    การเสนอแนวทางการเมืองการปกครอง

3)    การวิเคราะห์ความจำเป็นในการธำรงรักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์

ทรงเป็นประมุข

            6.        นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานต่อครูผู้สอน แล้วครูเลือกบทความวิเคราะห์ที่มีผลงาน

                    อยู่ในเกณฑ์ดีนำไปจัดป้ายนิเทศ

            Ÿ     นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

’    การวัดและประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.1

ใบงานที่ 2.1

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ตรวจใบงานที่ 2.2

ใบงานที่ 2.2

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

ประเมินบทความวิเคราะห์

การเมืองการปกครองไทย

แบบประเมินบทความวิเคราะห์

การเมืองการปกครองไทย

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม

ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์

ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

แบบทดสอบหลังเรียน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง ระบอบการเมืองการปกครอง

ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์

“   สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

         8.1    สื่อการเรียนรู้

                  1.        หนังสือเรียน หน้าที่พลเมืองฯ ม.4-ม.6

                        2.        ตัวอย่างข่าว

                        3.        ใบงานที่ 2.1 เรื่อง วิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทย

                        4.        ใบงานที่ 2.2 เรื่อง การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

         8.2    แหล่งการเรียนรู้

                  1.        ห้องสมุด

                        2.        แหล่งข้อมูลสารสนเทศ

                                www.kullawat.net/civic/3.1.htm  

                                www.dopa.go.th/history/polith.htm

th.wikipedia.org/wiki/ประชาธิปไตย