วงปี่พาทย์ดึกดําบรรพ์

เป็นวงปี่พาทย์ประสมชนิดหนึ่ง  มีต้นเค้าสืบเนื่องมาจากละครดึกดำบรรพ์  ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน  กุญชร)  และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม พระยานริศรานุวัตติวงศ์  ร่วมกันปรับปรุงขึ้นโดยอาศัยแนวอุปรากร (Opera)  ของตะวันตกเข้ามาประกอบ  ละครนี้ได้ชื่อตามโรงละคร  ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ตั้งชื่อว่า “โรงละครดึกดำบรรพ์” ละครก็เรียกว่า “ละครดึกดำบรรพ์” ด้วย วงปี่พาทย์ที่บรรเลงในการเล่นละครครั้งนี้จึงมีชื่อว่า “ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์  ได้ทรงคัดเลือกเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวลประสมเข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ คือ ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม) ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ มีเสียงเรียงลำดับกัน ๗ เสียง  ขลุ่ยเพียงออ  ตะโพน  กลองตะโพน  ฉิ่ง  ซออู้ (เพิ่มขึ้นภายหลัง เมื่อแสดงเรื่องสังข์ศิลป์ชัยได้ทรงบรรจุเพลงสังขาราซึ่งต้องใช้ซออู้สีประกอบ)  ขลุ่ยอู้ (มีผู้คิดเพิ่ม ในภายหลัง)

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้นอกจากจะเปลี่ยนแปลงการประสมเครื่องดนตรีต่างไปจากวงปี่พาทย์เดิมแล้ว  ยังได้เปลี่ยนแปลงวิธีการตั้งเครื่องดนตรีอีกด้วย  โดยตั้งระนาดเอกไว้กลาง  ระนาดทุ้มอยู่ขวา  ระนาดทุ้มเหล็กอยู่ซ้าย  ฆ้องวงใหญ่อยู่หลังระนาดเอก ส่วนระเบียบวิธีการบรรเลงนั้นก็มีแบบแผนเฉพาะตัว  ไม่เหมือนกับการบรรเลงในการแสดงโขนละครโดยทั่วไป

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์   

               เป็นวงดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ จากความคิดริเริ่มของเจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์เมื่อครั้งไปยุโรป   ทรงเห็นการแสดง “ โอเปร่า “ ที่ฝรั่งเล่นเกิดชอบใจ  กลับมาทูลชวนให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์    ให้ทรงช่วยร่วมมือกันคิดขยายการเล่นละคอนโอเปร่าอย่างไทย  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศ ฯ ทรงเห็นด้วย  เจ้าพระยาเทเวศน์ฯจึงได้สร้างโรงละคอนขึ้นใหม่ในวังของท่านที่ถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด  และให้เรียกชื่อว่า “ โรงละคอนดึกดำบรรพ์ “  โดยประสงค์จะให้คำว่า “ ดึกดำบรรพ์ “ นั้น เป็นชื่อเรียกของละคอนที่คิดขึ้นใหม่  มิให้เรียกกันว่า “ ละคอนเจ้าพระยาเทเวศร์ “  อย่างแต่ก่อน ( เพราะแต่ก่อนใครก็เรียกกันว่า ละคอนเจ้าพระยาเทเวศร์ และโรงละคอนเจ้าพระยาเทเวศน์ )  แต่ชื่อนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับการเล่นละคอนอย่างใหม่  คนทั่วไปจึงเอาชื่อคณะและชื่อโรงละคอนไปเรียกละคอนอย่างใหม่ (โอเปร่า) ว่า“ ละคอนดึกดำบรรพ์ “
               ละคอนดึกดำบรรพ์เริ่มแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒  ในการรับแขกเมือง  และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  การรับแขกเมืองที่สูงศักดิ์ที่เข้ามาเฝ้าและเยี่ยมเมืองไทย  ก็จะโปรดให้ไปดูละคอนดึกดำบรรพ์แทนการดูคอนเสิร์ทอย่างแต่ก่อน   ในเวลาปรกติเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ  จัดแสดงละคอนดึกดำบรรพ์ให้คนดู  ( เก็บค่าผ่านประตู ) ที่โรงละคอนริมถนนอัษฎางค์เหมือนกับโรงละคอนอื่นๆ  จนถึง พ.ศ.๒๔๕๒  นับได้ ๑๐ ปี   เมื่อเจ้าพระยาเทเวศร์ฯเกิดอาการป่วยเจ็บทุพพลภาพ  ออกจากราชการ  จึงเลิกแสดงละคอนดึกดำบรรพ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา
               สำหรับเครื่องดนตรีได้ทรงปรับปรุงเครื่องใหม่  โดยเอาเครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็กแหลมในวงปี่พาทย์ออก เช่น ฆ้องวงเล็ก  ระนาดเอกเหล็ก  และทรงนำเครื่องดนตรีที่มีเสียงนุ่มนวลเพิ่มเติมเข้ามา เช่น นำฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง มาแขวนขา ตั้งโดยรอบ และใช้ตีเป็นทำนองห่างๆ  นำขลุ่ยอู้ซึ่งมีเสียงทุ้มใหญ่มาเป่าเพิ่ม  และเปลี่ยนกลองทัดทั้งคู่ซึ่งดังมากออก  นำเอากลองตะโพน ( มีลักษณะคล้ายตะโพนแต่ใช้ไม้ตั้งตีเหมือนกลองทัด )  มาตีแทนกลองทัด   ให้ระนาดเอกตีด้วยไม้นวม เพื่อให้เสียงดังนุ่มนวล  ไพเราะ     ต่อมาภายหลังเพิ่มซออู้เข้ามาสีรวมวงด้วย  โดยสีคลอไปกับเสียงร้อง  เรียกชื่อวงปี่พาทย์ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ว่า “ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ “  ตามชื่อโรงละคอน  ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงละคอนดึกดำบรรพ์โดยเฉพาะ  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
    1.  ระนาดเอก  ( ตีด้วยไม้นวม )
    2.  ระนาดทุ้ม
    3.  ระนาดทุ้มเหล็ก
    4.  ฆ้องวงใหญ่
    5.  ขลุ่ยเพียงออ
    6.  ขลุ่ยอู้
    7.  ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ
    8.  ซออู้
    9.  ตะโพน
  10.  กลองตะโพน
  11.  ฉิ่ง
  12.  กรับพวง                

              แต่เดิมเมื่อได้ทรงปรับปรุงวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ในปี พ.ศ๒๔๔๒ เป็นที่เรียบร้อย   เจ้าพระยาเทเวศร์ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมมหรสพ  ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบรรเลงดนตรีรับแขกเมือง  เจ้าพระยาเทเวศร์ได้เคยฟังการบรรเลงและขับร้องเพลงไทยอย่างคอนเสิร์ต  ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ทรงคิดจัดให้ทหารบรรเลงเล่น  ก็กราบทูลให้ทรงช่วยอำนวยการจัดเล่นดนตรีในกรมมหรสพ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์  ในครั้งนั้นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ได้ทรงจัดบทร้อง และเพลงดนตรีขึ้นบรรเลงในลักษณะแบบคอนเสิร์ตหลายบท  เช่น บทตับนางลอย  บทตับพรหมาสตร์  บทตับนาคบาศ  เป็นต้น  ซึ่งจัดแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓   ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๑  ในการต้อนรับ เคาวน์ ออฟ ตูริน  แห่งอิตาลี่  ณ พระที่นั่งจักรีมหาประสาท  และอีกหลายครั้งเมื่อมีการบรรเลงรับแขกเมือง  ซึ่งแต่ละครั้งได้ทรงปรับปรุงบทร้องและเพลงดนตรีขึ้นใหม่เสมอ  เช่น บทละคอนอิเหนา ตอนบวงสรวง  ตอนตัดดอกไม้ฉายกริซ ฯ
               สำหรับวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  นอกจากจะใช้บรรเลงและขับร้องในประเภทเพลงเกร็ด และเพลงตับในงานต่างๆแล้ว  ยังใช้บรรเลงร่วมในการแสดงละคอนภาพนิ่ง  ( tableaux vivants ) คือการบรรเลงและขับร้องโดยมีผู้แสดงประกอบตามบท แต่อยู่ในลักษณะท่านิ่ง เช่น ในเรื่องสามก๊ก
               ปัจจุบันการบรรเลงและการแสดงละคอนดึกดำบรรพ์ยังคงมีการแสดงอยู่ปีละ ๒ ครั้ง คือ ที่บ้านปลายเนิน  ในวันที่ ๒๘ เมษายน ของทุกๆปี  อันเป็นวันเกิดของสมเด็จเจ้าฟ้า  กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ โดยศิลปินของบ้านปลายเนิน  และที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์  จัดแสดง ณ หอประชุมฯ  อันเป็นผลงานของนักศึกษาปีสุดท้าย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด