ทุก ข้อ เป็น ลักษณะของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ยกเว้น ข้อใด

คำชี้แจง  เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว


๑.   ข้อใดคือลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์

ก.   สินค้ามีลักษณะแตกต่างกัน

ข.   ผู้ซื้อและผู้ขายมีจำนวนไม่มาก

ค.   ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดเป็นความลับ

ง.   ผู้ผลิตสามารถเลิกล้มกิจการได้ง่าย

๒.   ข้อใดคือสิ่งที่ตลาดแข่งขันสมบูรณ์และตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาดเหมือนกัน

ก.   รูปลักษณ์และราคาของสินค้า

ข.   ผู้ผลิตรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ง่าย

ค.   การใช้วิธีการแข่งขันทางการตลาด

ง.   การรับรู้ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า

๓.   “ตลาดที่มีผู้ขายเพียงไม่กี่ราย แต่ละรายจะผลิตและจำหน่ายสินค้าเป็นสัดส่วนมาก” ตลาดลักษณะดังกล่าวจำหน่ายสินค้าใด

ก.   หนังสือพิมพ์

ข.   ผักและผลไม้

ค.   เครื่องใช้ไฟฟ้า

ง.   อาหารสำเร็จรูป

๔.   ข้อใดคือสินค้าในตลาดผูกขาด

ก.   ไฟฟ้า ประปา

ข.   ข้าวโพด ยางพารา

ค.   น้ำอัดลม ปูนซีเมนต์

ง.   เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์

๕.   ข้อใดคือพฤติกรรมของตลาดผู้ขายน้อยราย

ก.   ผู้ขายจะไม่ใช้ราคาเป็นเครื่องมือในการแข่งขัน

ข.   ผู้ขายจะกำหนดราคาสินค้าให้แตกต่างจากรายอื่น

ค.   ผู้ขายจะสร้างความแตกต่างในด้านรูปลักษณ์ของสินค้า

ง.   ผู้ขายจะผลิตสินค้าให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับรายอื่น

๖.   ข้อใดเป็นไปตามกฎของอุปทาน

ก.   น้อยอยากได้กระเป๋าใหม่แต่ไม่มีเงิน

ข.   น้ำเห็นว่ามังคุดมีราคาถูกจึงนำมังคุดมาขาย

ค.   ก้องนำเสื้อยืดออกขายเพิ่มเพราะราคาสินค้าสูงขึ้น

ง.   นุ่นขายพวงมาลัยมากขึ้นเพราะดอกมะลิมีราคาแพง

๗.   ปัจจัยใดไม่มีผลต่อการกำหนดอุปสงค์

ก.   ฤดูกาล

ข.   รายได้ของผู้บริโภค

ค.   กรรมวิธีในการผลิต

ง.   รสนิยมของผู้บริโภค

๘.   “เมื่อเนื้อไก่ขึ้นราคา สมใจจึงซื้อเนื้อปลาไปทำกับข้าวแทน” จากข้อความนี้ปัจจัยใดมีผลต่อความต้องการซื้อของสมใจ

ก.   ฤดูกาล

ข.   รายได้ของผู้บริโภค

ค.   รสนิยมของผู้บริโภค

ง.   ราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง

๙.         “มนัสซื้อรองเท้ากีฬายี่ห้อดังและมีราคาแพง แม้ว่าจะต้องเก็บเงินนานเป็นเดือน” จากข้อความนี้ปัจจัยใดมีผลต่อความต้องการซื้อของมนัส

ก.   ฤดูกาล

ข.   รายได้ของผู้บริโภค

ค.   รสนิยมของผู้บริโภค

ง.   ราคาของสินค้าและบริการ

๑๐.            ฤดูกาลมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ
อุปสงค์ของสินค้าในข้อใด

ก.   กางเกงยีนส์

ข.   นมพร่องมันเนย

ค.   โทรศัพท์เคลื่อนที่

ง.   เครื่องปรับอากาศ

๑๑.      ตามกฎของอุปสงค์จำนวนสินค้าและราคามีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ก.   เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ข.   เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม

ค.   ราคาไม่มีผลต่อปริมาณสินค้า

ง.   ไม่มีข้อถูก

๑๒.      สินค้าในข้อใดไม่จำเป็นต้องซื้อในฤดูกาล

ก.   พัดลม

ข.   เสื้อกันฝน

ค.   เครื่องทำน้ำอุ่น

ง.   โทรศัพท์เคลื่อนที่

๑๓.      ข้อใดกล่าวผิด

ก.   ราคาของสินค้าไม่มีผลต่อการเสนอขายสินค้าของผู้ผลิต

ข.   เมื่อต้นทุนการผลิตลดลง ผู้ผลิตจะนำสินค้าออกมาขายมากขึ้น

ค.   การคาดคะเนของราคาสินค้าอาจก่อให้เกิดปัญหาการกักตุนสินค้า

ง.   จำนวนสินค้าที่เสนอขายมีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกันกับราคาสินค้า

๑๔.      ปริมาณเสนอขายที่มากกว่าปริมาณความต้องการซื้อมีผลตามข้อใด

ก.   สินค้าล้นตลาด

ข.   สินค้าขาดตลาด

ค.   สินค้ามีราคาแพงขึ้น

ง.   ไม่มีผลต่อราคาสินค้า

๑๕.      ราคาและปริมาณซื้อที่เท่ากับปริมาณเสนอขายพอดีเรียกว่าอะไร

ก.   ราคาสมดุล

ข.   ราคาประมูล

ค.   ราคาคุณภาพ

ง.   ราคาดุลยภาพ

๑๖.      ภาษีหรือเงินช่วยเหลือมีความสำคัญต่อผู้ผลิตหรือไม่ อย่างไร

ก.   มี เพราะช่วยทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง

ข.   มี เพราะช่วยให้ผู้ขายตั้งราคาสินค้าได้แพงขึ้น

ค.   ไม่มี เพราะภาษีเป็นเงินที่ผู้ผลิตต้องจ่ายให้รัฐบาล

ง.   ไม่มี เพราะเงินช่วยเหลือไม่ได้ทำให้ผู้ผลิตขยายการผลิตได้

๑๗.      ถ้าอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ ๑๐ เงิน๒๐๐ บาท เงินจะมีอำนาจซื้อเป็นเท่าใด

ก.   ๑๘๐

ข.   ๒๐๐

ค.   ๒๑๐

ง.   ๒๒๐

๑๘.      ภาวะเงินเฟ้อในระดับปกติอยู่ที่เท่าใด

ก.   ร้อยละ ๒ – ๓

ข.   ร้อยละ ๓ – ๕

ค.   ร้อยละ ๕ – ๗

ง.   ร้อยละ ๗ – ๑๐

๑๙.      การที่ปริมาณเงินทุนหมุนเวียนมีไม่เพียงพอต่อขนาดของระบบเศรษฐกิจชี้ให้เห็นว่าประเทศกำลังประสบปัญหาใด

ก.   เงินฝืด

ข.   เงินเฟ้อ

ค.   การว่างงาน

ง.   ผลผลิตตกต่ำ

๒๐.      เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น ผู้ออมควรปกป้องตนเองไม่ให้สูญเสียอำนาจซื้อของเงินด้วยวิธีใด

ก.   ซื้อทองคำ

ข.   เก็บเงินสด

ค.   ฝากธนาคาร

ง.   กักตุนของกินของใช้

๒๑.      ข้อใดกล่าวถึงภาวะเงินฝืดได้ถูกต้องที่สุด

ก.   ลูกหนี้จะได้เปรียบ

ข.   ก่อให้เกิดการจ้างงานเต็มที่

ค.   ผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้จะได้เปรียบ

ง.   ประชาชนจะเร่งใช้จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการ

๒๒.      “โรงงานเย็บผ้าสั่งซื้อเครื่องจักรมาใช้ในการผลิต เพื่อลดจำนวนคนงาน” การลดจำนวนคนงานก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานเนื่องจากสาเหตุใด

ก.   ว่างงานเนื่องจากวัฏจักร

ข.   ว่างงานเนื่องจากโครงสร้าง

ค.   ว่างงานตามปกติในตลาดแรงงาน

ง.   ว่างงานเนื่องจากค่าแรงไม่ยืดหยุ่น

๒๓.      การช่วยครอบครัวทำสวนผลไม้และผลิตสินค้าหัตถกรรมในครัวเรือน เป็นการว่างงานหรือไม่ อย่างไร

ก.   เป็น เพราะไม่ได้รับค่าจ้างตอบแทน

ข.   เป็น เพราะไม่ได้เสียภาษีเงินได้ให้รัฐ

ค.   ไม่เป็น เพราะได้อาหารและที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งตอบแทน

ง.   ไม่เป็น เพราะการช่วยครอบครัวเป็น
การทำงานอย่างหนึ่ง

๒๔.      ข้อใดไม่ใช่สภาพปัญหาท้องถิ่นในปัจจุบัน

ก.   ราคาผลผลิตตกต่ำ

ข.   การบริโภควัตถุนิยมเกินตัว

ค.   การใช้สารเคมีทางการเกษตร

ง.   การกีดกันทางการค้าในต่างประเทศ

๒๕.      การดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตเป็นบทบาทของรัฐบาลกับการพัฒนาประเทศในด้านใด

ก.   ด้านเศรษฐกิจ

ข.   ด้านการต่างประเทศ

ค.   ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

ง.   ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน

๒๖.      ข้อใดเป็นบทบาทของรัฐบาลในการบริหารประเทศด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน

ก.   การจัดทำบริการสาธารณะ

ข.   การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

ค.   การรักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย

ง.   การส่งเสริมการค้า การลงทุน และ
การท่องเที่ยวกับนานาประเทศ

๒๗.      ข้อใดไม่ใช่บทบาททางเศรษฐกิจของรัฐบาล

ก.   การจัดสรร

ข.   การจำกัดการแข่งขัน

ค.   การกระจาย

ง.   การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

๒๘.      สินค้าในข้อใดที่มีการกำหนดราคาขั้นต่ำ

ก.   เครื่องใช้ไฟฟ้า

ข.   เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม

ค.   ผลผลิตทางการเกษตร

ง.   ของใช้ในชีวิตประจำวัน

๒๙.      ข้อใดคือประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศที่มีต่อประเทศผู้นำเข้าสินค้า

ก.   การเพิ่มรายได้ของผู้ผลิต

ข.   การมีเงินตราต่างประเทศ

ค.   การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

ง.   การมีความสามารถในการชำระหนี้คืน

๓๐.      “ประเทศไทยทำการค้ากับประเทศบราซิล โดยส่งข้าวเป็นสินค้าออกนำเข้ากาแฟจากบราซิล” จากข้อความนี้ข้อใดเป็นสาเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ

ก.   ความได้เปรียบทางการผลิต

ข.   จำนวนประชากรในประเทศ

ค.   ความแตกต่างทางภูมิศาสตร์

ง.   ความแตกต่างของภูมิอากาศ

๓๑.      ปัจจัยใดที่เป็นตัวผลักดันให้แต่ละประเทศเลือกผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำและมีความชำนาญในการผลิต

ก.   ทรัพยากรธรรมชาติ

ข.   วัฒนธรรมความเป็นอยู่

ค.   รสนิยมการบริโภคของประชากร

ง.   การสื่อสารโทรคมนาคมและการขนส่ง

๓๒.      ประเทศที่กำลังพัฒนาควรใช้วิธีใดในการกีดกันทางการค้าเพื่อให้ประชาชนใช้สินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศ

ก.   การเก็บภาษีหลายอัตรา

ข.   การกำหนดข้อจำกัดทางการค้า

ค.   การผลิตสินค้าหลายชนิดหรือหลายสาขา

ง.   การคุ้มกันสินค้าที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ

๓๓.      หากต้องการป้องกันการเข้ามาทุ่มตลาดของสินค้าจากประเทศอื่น ๆ ควรใช้วิธีการกีดกันทางการค้าในข้อใด

ก.   การเก็บภาษีหลายอัตรา

ข.   การกำหนดข้อจำกัดทางการค้า

ค.   การผลิตสินค้าหลายสาขาหรือหลายชนิด

ง.   การคุ้มกันสินค้าที่ผลิตขึ้นภายในประเทศ

๓๔.      ข้อใดเป็นการลงทุนระหว่างประเทศทางตรง

ก.   การลงทุนทางการเงิน

ข.   การลงทุนโดยการซื้อขายหลักทรัพย์

ค.   การโยกย้ายเงินไปลงทุนในตลาดเงิน

ง.   การลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการ

๓๕.      “การค้าที่มุ่งคุ้มกันตลาดสินค้าภายในประเทศโดยพยายามไม่ให้ประเทศอื่นส่งสินค้าชนิดนั้น ๆ เข้ามาแข่งขันกับผู้ผลิตภายในประเทศ” ข้อความนี้หมายถึงข้อใด

ก.   การจำกัดทางการค้า

ข.   การกีดกันทางการค้า

ค.   การส่งเสริมการนำเข้า

ง.   การแข่งขันทางการค้า

๓๖.      การผลิตสินค้าเพื่อบริโภคอย่างพอเพียงทั้งชนิดและปริมาณไม่ว่าจะมีการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ก็ตามตรงกับสำนวนในข้อใด

ก.   น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า

ข.   ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน

ค.   ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ

ง.   เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม

๓๗.      ประเทศใดไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียน

ก.   สิงคโปร์

ข.   กัมพูชา

ค.   มาเลเซีย

ง.   โปรตุเกส

๓๘.      กลุ่มทางเศรษฐกิจกลุ่มใดที่ประเทศในทวีปเอเชียไม่ได้เป็นสมาชิก

ก.   EU

ข.   APEC

ค.   AFTA

ง.   NAFTA

๓๙.      ข้อใดเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจขั้นต้น

ก.   เขตการค้าเสรี

ข.   สหภาพศุลกากร

ค.   สหภาพเศรษฐกิจ

ง.   สหภาพเหนือชาติ

๔๐.      กลุ่มทางเศรษฐกิจในข้อใดมีนโยบายการขนส่งระหว่างประเทศร่วมกัน

ก.   ตลาดร่วม

ข.   สหภาพศุลกากร

ค.   สหภาพเศรษฐกิจ

ง.   สหภาพเหนือชาติ

๔๑.      การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับใดที่ประเทศสมาชิกสามารถกำหนดพิกัดอัตราภาษีศุลกากร หรือข้อจำกัดทางการค้าอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มได้อย่างเสรี

ก.   เขตการค้าเสรี

ข.   สหภาพศุลกากร

ค.   สหภาพเศรษฐกิจ

ง.   สหภาพเหนือชาติ

๔๒.      ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

ก.   การจัดตั้งเขตการค้าเสรี

ข.   การกำหนดนโยบายร่วมกัน

ค.   การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตอย่างเสรี

ง.   การหลีกเลี่ยงภาษีการนำเข้าและการส่งออก

๔๓.      ปัจจุบันเอเปกมีสมาชิกจำนวนเท่าใด

ก.   ๒๐  เขตเศรษฐกิจ

ข.   ๒๑  เขตเศรษฐกิจ

ค.   ๒๒  เขตเศรษฐกิจ

ง.   ๒๔  เขตเศรษฐกิจ

๔๔.      ข้อต่อไปนี้คือหลักการความร่วมมือของเอเปกยกเว้นข้อใด

ก.   หลักผลประโยชน์ร่วมกัน

ข.   หลักการยกเลิกมาตรการภาษี

ค.   การเป็นเวทีสำหรับปรึกษาหารือ

ง.   หลักฉันทามติในการดำเนินการใด ๆ

๔๕.      ประเทศใดไม่ได้เป็นสมาชิกของเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ

ก.   รัสเซีย

ข.   เม็กซิโก

ค.   แคนาดา

ง.   สหรัฐอเมริกา

๔๖.      การจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศในด้านใด

ก.   ด้านการต่างประเทศ

ข.   ด้านความมั่นคงของรัฐ

ค.   ด้านกฎหมายและการยุติธรรม

ง.   ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

๔๗.      ข้อใดเป็นสินค้าสาธารณะ

ก.   บ้านเช่า โรงเรียน

ข.   ถนน โรงพยาบาล

ค.   ร้านค้า รถโดยสารประจำทาง

ง.   ร้านอินเทอร์เน็ต ห้างสรรพสินค้า

๔๘.      วิธีการปันส่วนสินค้าที่มีจำกัดมักนำมาใช้เมื่อใด

ก.   ภาวะเงินฝืด

ข.   ภาวะเงินเฟ้อ

ค.   ภาวะสงคราม

ง.   ภาวการณ์ว่างงาน

๔๙.      สินค้าในข้อใดควรมีการกำหนดราคาขั้นสูง

ก.   รถยนต์

ข.   เครื่องซักผ้า

ค.   น้ำตาลทราย

ง.   ผักและผลไม้

๕๐.      หน่วยงานใดมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษีอากร

ก.   กรมการค้า

ข.   กรมสรรพากร

ค.   กระทรวงการคลัง

ง.   สำนักนายกรัฐมนตรี

ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์มีลักษณะเป็นอย่างไร

ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์เป็นลักษณะของตลาดสินค้าอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ประกอบด้วยตลาด 3 ลักษณะ คือ ตลาดผูกขาด ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด และตลาดผู้ขายน้อยราย เส้นอุปสงค์หรือเส้นราคาและเส้นรายรับส่วนเพิ่มในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ ซึ่งประกอบด้วยตลาดทั้งสามลักษณะนั้นมีลักษณะเหมือน ...

ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์มีตลาดใดบ้าง

ตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์เป็นลักษณะของตลาดสินค้าอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ประกอบด้วยตลาด 3 ลักษณะ คือ ตลาดผูกขาด ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด และตลาดผู้ขายน้อยราย เส้นอุปสงค์หรือเส้นราคาและเส้นรายรับส่วนเพิ่มในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ซึ่งประกอบด้วยตลาดทั้งสามลักษณะนั้นมีลักษณะเหมือนกันการอธิบายดุลยภาพใน ...

ตลาดที่มีการแข่งขันสมบูรณ์มีลักษณะเป็นอย่างไร

ลักษณะของตลาดแข่งขันกันโดยสมบูรณ์.
ผู้ซื้อ และผู้ขายมีเป็นจำนวนมาก.
ราคาจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด ธุรกิจไม่มีอิทธิพลในการกำหนดราคาเอง.
ผู้ซื้อและผู้ขายต้องยอมรับราคาตลาด (Price Taker).
สินค้าและบริการที่ขายมีลักษณะเหมือนกัน เช่น สินค้าเกษตร ตัวอย่างเช่น ข้าว ไข่ไก่ ผัก และผลไม้ เป็นต้น.

ข้อเสียของตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์ คืออะไร

๑. ผู้ซื้อไม่มีตัวเลือกในการเลือก ซื้อสินค้าหรือบริการมากนัก ๒.ยิ่งระดับการผูกขาดมาก การผลิตอาจไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีคู่แข่งทางการค้า ในกรณีของสินค้าที่ใช้ต้นทุน จ านวนมหาศาล เช่น การรถไฟ การไฟฟ้า รัฐมักเข้ามาควบคุม ด้านราคาสินค้าและบริการ เนื่องจากผู้ผูกขาดอาจตั้งราคาสูง จนผู้บริโภคเดือดร้อน