พฤติกรรมก้าวร้าว กรมสุขภาพจิต

ทำตัวเลข ‘เด็กติดเกม’ พุ่ง และมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง แนะผู้ปครอง กำหนดเวลาเล่น และหากิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็ก

น.ส.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า ภายในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 มีผลงานการวิจัยมากมายที่สามารถนำไปต่อยอดในเชิงสังคมและคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นผลพวงจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา เด็กและเยาวชนที่ใช้ชีวิตกับสื่อออนไลน์ มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทีมวิจัยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ได้ประเมินวิเคราะห์ พบว่า เด็กมีพฤติกรรมก้าวแรงรุนแรงสูงขึ้น

พฤติกรรมก้าวร้าว กรมสุขภาพจิต

แนะผู้ปกครอง หมั่นเฝ้าสังเกตพฤติกรรม 

แพทย์หญิงโชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ จิตแพทย์เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็กและวัยรุ่น กรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า ทีมงานวิจัย ได้ให้ผู้ปกครองจากทั้ง 4 ภาค ประเมินพฤติกรรมของเด็กเข้าข่ายเป็นเด็กที่ก้าวร้าว มีพฤติกรรมติดเกมหรือไม่ พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงของเด็กและเยาวชน อย่างมีนัยสำคัญ คือ การเลี้ยงดูโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่ เด็กมีประวัติพฤติกรรมรุนแรงมาก่อน เด็กมีโรคทางจิตเวช เด็กมีประวัติใช้สารเสพติด มีการทำหน้าที่ครอบครัวไม่ดี

โดยภาวะติดเกม เด็กจะมีความบกพร่องในการควบคุมการเล่น ความถี่ ระยะเวลาในการเล่นให้ความสำคัญกับเกมมากกว่าสิ่งที่ต้องทำในกิจกรรมชีวิตประจำวัน จนส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย การเรียนรู้ ด้านอารมณ์ และด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและกับเพื่อน

พฤติกรรมก้าวร้าว กรมสุขภาพจิต

ส่วนแนวทางการป้องกันนั้น ผู้ปกครองมีส่วนสำคัญในการดูและเฝ้าดูสังเกตพฤติกรรม ผู้ปกครองควรกำหนดเวลาเล่นเกมให้ชัดเจน พยายามหากิจกรรมอย่างอื่นที่สร้างสรรค์ให้ลูกทำยามว่าง

และหากมีอาการติดเกมอย่างรุนแรง มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ควรได้รับการบำบัดโดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา โดยทีมวิจัย ได้จัดทำคู่มือเพื่อให้ความรู้เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในการดูแลเด็กและเยาวชนช่วงสถานการณ์โควิด-19

"จิตแพทย์" เสนอทางออกให้ครอบครัว เพื่อป้องกันเด็กก้าวร้าวใช้ความรุนแรง ควรรีบเร่งสำรวจความสัมพันธ์-สภาพจิตใจก่อนสายเกินแก้ เพื่อลดความสูญเสีย!!

จากกรณีโลกออนไลน์มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงเรื่องเด็กนักเรียนมีพฤติกรรมก้าวร้าวทำร้ายร่างกายครูจนบาดเจ็บสาหัส และยังไม่สำนึกโพสต์อวดเพื่อนว่าต่อยรองผอ.โรงเรียนมาแล้ว และอีกกรณีเด็กนักเรียนน้อยใจทะเลาะกับครอบครัว เพราะโดนบ่นไม่ยอมไปโรงเรียน ปีนระเบียงชั้น 4 ขู่กระโดดฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่ดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน และยังไม่มีทางออกจึงมีเรื่องแบบนี้ให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 15 ก.ค. “เดลินิวส์ออนไลน์” ได้สอบถามไปยัง พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต เพื่อหาทางออกให้กับครอบครัวที่มีปัญหาบุตรหลานมีพฤติกรรมก้าวร้าว เก็บกด และใช้ความรุนแรง ว่าเรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นปัญหาเรื้อรังที่มีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ไม่เข้าใจลูก ลูกไม่เข้าใจพ่อแม่ สุดท้ายจบลงด้วยความรุนแรงหรือความสูญเสีย

ต้นเหตุที่สำคัญคือ “ช่องว่างระหว่างวัย” เป็นความสัมพันธ์ที่ถูกละเลย จนกระทั่งมันเปราะบาง พอมีเรื่องขัดแย้งก็จบลงด้วยความรุนแรง เพราะเวลาในการสื่อสาร การใส่ใจกันน้อยลง ยิ่งพ่อแม่ยุคปัจจุบันตกเป็นเหยื่อของความเร่งรีบ แข่งขัน และเข้าใจว่าแบ่งเวลาไปดูแลลูกดีที่สุดแล้ว แต่ลูกกลับไม่เข้าใจว่าได้รับความรักแล้ว จึงเกิดเป็นความกดดันและคาดหวัง ทำให้เด็กเข้าใจตัวเองและพ่อแม่น้อยลง ไม่มีทักษะในการแก้ปัญหาจึงใช้วิธีแก้แบบผิดๆ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมามีคนผิดแน่นอน แต่เมื่อเราตัดสินว่าผิดแล้วอย่าจบแค่นั้น ควรหาทางออกร่วมกันด้วยการเริ่มต้นสำรวจความสัมพันธ์ของครอบครัว ว่าดูแลรักษาสภาพจิตใจกันดีหรือยัง ถ้าครอบครัวไหนรู้สึกว่ายังมีความทุกข์ เครียด กดดัน และมีการบังคับกันอยู่ ควรเร่งแก้ไขก่อนที่ลูกจะเข้าสู่วัยรุ่น และใช้ความรุนแรงเป็นทางออก ส่วนครอบครัวไหนที่ลูกเป็นวัยรุ่นแล้ว พ่อแม่เป็นผู้ใหญ่ที่มีวุฒิภาวะสูงกว่า ต้องใช้ความใจเย็น มองเห็นปัญหาของลูก รวมถึงสร้างความไว้วางใจ เปิดโอกาสให้ลูกบอกเล่าสิ่งต่างๆ ที่กำลังเผชิญอยู่ และช่วยแก้ปัญหาเคียงข้างกันไป อย่าใช้วิธีการบังคับ เพราะวัยรุ่นมีร่างกายที่จะทำตามใจตนเอง อาจก้าวร้าวเกรี้ยวโกธรถึงขั้นลงไม้ลงมือกันได้ ไม่เหมือนในวัยเด็กตัวเล็ก หากถูกบังคับก็จะทำอะไรไม่ได้และเก็บกด

ดังนั้น “ทางออก” คือเริ่มต้นสำรวจความสัมพันธ์กันก่อนแล้ว ถ้าพบว่ารุนแรงเกินกว่าที่พ่อแม่จะแก้ปัญหาได้ โดยเฉพาะกรณีเด็กที่ทำร้ายครู ครอบครัวต้องรีบสำรวจที่ไปที่มาว่าเป็นเพราะสาเหตุใด เบื้องต้นเด็กควรได้รับการประเมินสภาพจิตใจ เพื่อปรับปรุงแก้ไขอย่างรีบด่วน หรือครอบครัวใดกำลังประสบปัญหาความก้าวร้าวของเด็กเกินกว่าจะแก้ไขได้ให้โทรมาปรึกษาที่หมายเลข 1323 ของกรมสุขภาพจิต ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยคิดอย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน ถึงจะยากแต่แก้ไขได้... 

ผ่านไปแล้ว 24 แมตซ์ สำหรับศึก "ฟุตบอลโลก 2022" ที่ประเทศกาตาร์ ซึ่งเริ่มการแข่งขันคู่เปิดสนามตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 20 พ.ย.2565 ที่ผ่านมา โดยในปีนี้โปรแกรมบอลโลกครบจบทั้ง 64 แมตช์ ในแต่ละคู่มีเหล่าบรรดาแฟนบอลร่วมติดจอ ติดขอบสนาม เพื่อเชียร์ทีมที่ตนเองรัก ตนเองชื่นชอบ

ทว่าทุกคนที่มีการแข่งขันกีฬา โดยเฉพาะฟุตบอล มักจะมีเรื่องของการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ แถมล่าสุด ไม่ใช่เพียงในช่วงเทศกาลบอลโลกเท่านั้นที่จะเล่นพนันได้  

ปัจจุบันช่องทางในการพนันมีหลากหลายรูปแบบ สามารถเข้าถึงแหล่งพนันได้ง่ายดาย ทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ในทุกช่วงอายุ ไม่เว้นแม้ในกลุ่มเด็ก และเยาวชน ส่วนใหญ่เด็กและเยาวชนที่เล่นการพนันมักมีสภาพแวดล้อมที่ทำให้สุ่มเสี่ยง เช่น มีโต๊ะสนุกเกอร์อยู่ใกล้บ้าน เล่นบอล ฯลฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"ฟุตบอลโลก 2022" เปิดโปรแกรมครบทั้ง 64 แมตช์ เช็กวัน-เวลาถ่ายทอดสด

2 ยักษ์แอร์ไลน์ “กาตาร์ แอร์เวย์ส - เอมิเรตส์” ถ่ายทอดสด “บอลโลก” บนเครื่องบิน

"ฟุตบอลโลก 2022" คาดโทษ "ตำรวจ" ปล่อยเด็กเดินโพย "พนันบอล" ใกล้สถานศึกษา

ฟุตบอลโลก 2022 เงินสะพัด7.5 หมื่นล้านบาท กว่าครึ่งเป็นเงินพนันบอล

เช็กอาการพฤติกรรมติดการพนัน 

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ยิ่งปัจจุบันเข้าสู่โลกดิจิทัล รูปแบบการพนันออนไลน์ยิ่งเข้ามาปะทะตัวเด็กและเยาวชนได้ง่าย โดยเฉพาะเกมพนันที่ตอบสนองพฤติกรรม ของวัยรุ่น คือ รู้ผลเร็ว, เล่นได้ทุกที่ทุกเวลา ทั้งนี้ ตนเอง ครอบครัวและคนใกล้ชิดสามารถสังเกต

พฤติกรรมโรคติดพนันได้จากอาการ 3 ข้อ ได้แก่

1.เมื่อพยายามหยุดหรือลดการเล่นพนัน จะกระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย ถึงพยายามหยุดหรือลดการเล่นพนัน ก็ทําไม่สําเร็จ ครุ่นคิดถึงแต่การพนันอย่างมาก

2.หลังจากเสียเงินพนัน จะกลับไปเล่นเพื่อเอาเงินคืน โกหกเรื่องการใช้เงิน เสี่ยงต่อการหาเงินอย่างผิด กฎหมาย 

3.เพิ่มปริมาณเงินพนันมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อให้คงความรู้สึกตื่นเต้นเท่าเดิม หากพบว่าบุคคลในครอบครัวหรือตนเองมี พฤติกรรม 1 ใน 3 ข้อที่กล่าวมา แสดงว่าเสี่ยงต่อการติดพนัน 

พฤติกรรมก้าวร้าว กรมสุขภาพจิต

3 แนวทางหลักเลิกพนันได้สำเร็จ

ผู้ที่อยากเลิกเล่นพนันให้สําเร็จด้วยตนเอง ขอให้ยึดหลักแนวคิด 3 ข้อ ดังนี้

1.สร้างแรงจูงใจในการเลิกเล่น พิจารณาทบทวนผลกระทบของการเล่นพนันเช่น นึกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นหรือผลลัพธ์ที่ตามมาใน การเล่นพนัน

2.สํารวจวิเคราะห์สาเหตุตัวกระตุ้นภายในหรือความความคิด อารมณ์ ที่ทําให้เล่นพนัน เช่นความรู้สึกเบื่อ เครียด กังวล แล้ว วางแผนจัดการหลีกเลี่ยงจัดการความเสี่ยงที่จะกลับไปเล่นพนัน เช่น ไม่เปิดดู ไม่คุยกับกลุ่มที่เล่นพนัน ควรกําหนดวันเลิกเล่น ซึ่งเลิกเล่น เลยจะปลอดภัยที่สุด จนบางครั้งต้องจํากัดการเข้าถึงแหล่งพนัน เช่น ไม่ใช้อินเตอร์เนทชั่วคราว เป็นต้น

3.หาทางเลือกกิจกรรมอื่นๆที่ดีกว่า ไปทําแลพตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและผลลัพธ์ที่จะตามมาหากยังไปเล่น และหมั่นคิดถึงเป้าหมายในชีวิตที่มีความสุขเป็นสําคัญ

เมื่อคนในครอบครัวติดการพนันต้องทำอย่างไร?

พญ.บุญศิริ จันศิริมงคล ผู้อํานวยการสํานักความรอบรู้สุขภาพจิต กล่าวว่า การพนันถูกออกแบบมาให้คนติดง่าย เมื่อเรา ตกไปในวังวนนี้ บางคนก็ไม่สามารถออกมาจากการเสพติดนี้ได้ การติดพนันทําให้หลายคนติดกับดักวงจรชีวิตด้านมืด ยากแก่การหา ทางออก เช่น เป็นหนี้ โกหก ลักขโมย ไม่มีสมาธิเรียน เสียงาน ติดสิ่งเสพติดอื่น มักหงุดหงิดก้าวร้าว นําไปสู่ความแตกร้าวของสัมพันธภาพ ระหว่างกันในครอบครัว

"เมื่อทราบว่าสมาชิกในครอบครัวกําลังประสบปัญหาการติดพนัน ควรรับฟังและช่วยเหลืออย่างตั้งใจ เข้าใจ ให้ความรัก ไม่กล่าวโทษ หรือใช้ถ้อยคําอารมณ์รุนแรง และควรเพิ่มพลังใจให้กัน เป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ผู้มีปัญหาพนัน เพื่อช่วยกันหาทาง จัดการปัญหาที่วิกฤตได้ทันท่วงทีและส่งต่อบําบัดได้อย่างเหมาะสม นับว่าช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาติดพนันเลิกพนันได้อย่างมีประสิทธิภาพ" พญ.บุญศิริ กล่าว

ผู้อยากเลิกพนันนั้น สามารถรักษาให้หายได้ อย่างไรก็ตาม หากไม่รักษาปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมจะทําให้เกิดปัญหาชีวิตตามมาอีก มากเช่น ปล้นชิงทรัพย์ ล่อลวงเงิน ขายบริการทางเพศ ค้ายาเสพติด มีโอกาสติดเหล้า เกิดภาวะซึมเศร้า และพยายามฆ่าตัวตาย เป็นต้น

กรมสุขภาพจิต จึงขอเน้นย้ำว่า ครอบครัวควรสังเกตอาการสัญญาณเตือนและให้คําแนะนําปรึกษา เพื่อให้โอกาสผู้ที่มีปัญหาติดพนันมีกําลังใจเกิดแรงจูงใจเพื่อเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ทั้งนี้ ยังสามารถรับบริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ให้คําปรึกษาฟรีตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อลดภาวะเครียดและรับคําแนะนําสถานที่บําบัดรักษาได้ หรือ ติดต่อหน่วยบริการสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ

วิธีดูแลสุขภาพดูบอลโลก ไม่ให้โทรม

ด้าน นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากตารางการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งจัดที่ประเทศกาตาร์ ทำให้ช่วงเวลาถ่ายทอดสดตรงกับช่วงกลางคืนของประเทศไทยโดยเฉพาะคู่ดึกที่เริ่มแข่งขันเวลา 23.00 น จบเวลาประมาณ 01.30 น. และคู่สุดท้ายเริ่ม เวลา 02.00 น. ของอีกวัน

ส่งผลให้บรรดาแฟนบอลไทยต้องอดหลับ อดนอนเพื่อรับชมการแข่งขัน กรมอนามัยเป็นห่วงสุขภาพแฟนบอลชาวไทย จึง

- แนะนำ การดูแลตัวเอง ช่วงดู ฟุตบอลโลก 2022 ง่ายๆ 4 ข้อ ได้แก่

1) “นอน” นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และเหมาะสมตามวัย กลุ่มวัยรุ่น (อายุ 14-17 ปี)ควรนอนวันละ 8-10 ชั่วโมง กลุ่มผู้ใหญ่ (อายุ 18-59 ปี) ควรนอนวันละ 7-9 ชั่วโมง และ ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ควรนอนวันละ 7-8 ชั่วโมง และควรวางแผนการนอนหลับให้ดี

โดยเฉพาะคู่ดึก เหล่าแฟนบอลควรนอนหลับพักผ่อนเอาแรงตั้งแต่หัวค่ำ แล้วตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อตื่นมาลุ้นคู่ดึก ดีกว่าการตั้งตารอการแข่งขัน และควรหาโอกาสงีบในช่วงบ่าย หรือพักกลางวันแบบช่วงสั้น ๆ (Power Nap) ประมาณ 15 – 20 นาที

2) “ดื่มน้ำ” น้ำเปล่ามีส่วนช่วยในการทำงานของทุกระบบในร่างกาย และทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น การดื่มน้ำเปล่าเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของของเหลวในร่างกาย รวมทั้งการทำงานของสมอง

ดังนั้น ถ้ารู้ตัวว่าต้องนอนดึกให้ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะน้ำจะช่วยสร้างความสมดุลให้ร่างกายเป็นปกติ

3) “หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน” การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีผลต่ออวัยวะหลายส่วนภายในของร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และเป็นสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุ

สำหรับเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนจะกระตุ้นให้สมองรู้สึกตื่นตัว หากการแข่งขันจบลงคาเฟอีนจะยังคงออกฤทธิ์ทำให้รบกวนการนอนหลับ ถึงแม้ว่าจะนอนหลับแต่คุณภาพการนอนก็จะลดลง ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย

โดยคาเฟอีนไม่ได้พบแค่ในชาหรือกาแฟเท่านั้น แต่ยังพบในน้ำอัดลม หรือช็อกโกแลตด้วย หรือควรงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน