การใช้สื่อออนไลน์ของวัยรุ่น

ดังนั้น แทนที่เราจะเลิกใช้โซเชียลมีเดียไปเลย เราควรที่จะระวังเรื่องการเข้าใช้โซเชียลมีเดียว่าบ่อยครั้งแค่ไหน และควบคุมตนเองในการใช้โซเชียลมีเดียอย่างเหมาะสมเพื่อให้เรามีความสุขที่สุดจะดีกว่า

อ้างอิง:

  1. Chaffey D. Global social media research summary 2020. Smart Insights [Internet]. 2020 [cited 1 June 2020];. Available from: https://www.smartinsights.com/social-media-marketing/social-media-strategy/new-global-social-media-research/

  2. Ortiz-Ospina E. The rise of social media. Our World in Data [Internet]. 2019 [cited 1 June 2020];. Available from: https://ourworldindata.org/rise-of-social-media

  3. Walton A. New Studies Show Just How Bad Social Media Is For Mental Health. Forbes [Internet]. 2018 [cited 1 June 2020];. Available from: https://www.forbes.com/sites/alicegwalton/2018/11/16/new-research-shows-just-how-bad-social-media-can-be-for-mental-health/#70d456e37af4

  4. Mir E, Novas C. Social Media and Adolescents’ and Young Adults’ Mental Health. National Center for Health Research [Internet]. [cited 1 June 2020];. Available from: http://www.center4research.org/social-media-affects-mental-health/.

  5. Viner R, Gireesh A, Stiglic N, Hudson L, Goddings A, Ward J et al. Roles of cyberbullying, sleep, and physical activity in mediating the effects of social media use on mental health and wellbeing among young people in England: a secondary analysis of longitudinal data. The Lancet Child & Adolescent Health [Internet]. 2019 [cited 1 June 2020];3(10):685-696. Available from: https://www.thelancet.com/journals/lanchi/article/PIIS2352-4642(19)30186-5/fulltext

  6. Kelly Y, Zilanawala A, Booker C, Sacker A. Social Media Use and Adolescent Mental Health: Findings From the UK Millennium Cohort Study. EClinicalMedicine [Internet]. 2018 [cited 1 June 2020];6:59-68. Available from: https://www.thelancet.com/journals/eclinm/article/PIIS2589-5370(18)30060-9/fulltext

  7. Robinson L, Smith M. Social Media and Mental Health. HelpGuide [Internet]. 2020 [cited 1 June 2020];. Available from: https://www.helpguide.org/articles/mental-health/social-media-and-mental-health.htm

  8. Ao B, Silverman E. Teens are using TikTok to talk about mental health, relationship abuse, and sexuality. The Star [Internet]. 2020 [cited 1 June 2020];. Available from: https://www.thestar.com.my/tech/tech-news/2020/01/06/teens-are-using-tiktok-to-talk-about-mental-health-relationship-abuse-and-sexuality

  9. Montemayor C. How Therapists Are Using TikTok to Reach Teens & Talk Mental Health. SheKnows [Internet]. 2020 [cited 1 June 2020];. Available from: https://www.sheknows.com/health-and-wellness/articles/2240591/tiktok-mental-healthcare-therapy/

  10. Roeder A. Social media use can be positive for mental health and well-being. Harvard TH Chan School of Public Health [Internet]. 2020 [cited 1 June 2020];. Available from: https://www.hsph.harvard.edu/news/features/social-media-positive-mental-health

    พฤติกรรมของคนในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีต ก่อนที่สื่อสังคมออนไลน์ จะแพร่หลายเช่นในปัจจุบัน

     นักวิชาการต่างๆ ได้เริ่มศึกษาวิจัย ทดลองเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเนื่องจากสื่อสังคมออนไลน์ และได้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการด้วยกัน

    เริ่มตั้งแต่การสื่อสาร ที่คนจะพูดคุยกันน้อยลง แต่สื่อสารผ่านทางแอพลิเคชั่นบนมือถือหรือผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น ผลการวิจัยค้นพบว่าสาเหตุที่คนชอบสื่อสารผ่านเทคโนโลยีมากกว่าเจอหน้าคุยกันนั้น เนื่องจากการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีนั้นง่ายกว่าและเหนื่อยน้อยกว่าการพูดคุยแบบเห็นหน้า เมื่อเราสื่อสารแบบเห็นหน้าหรือที่เรียกว่า face to face นั้นสมองจะทำงานหนักขึ้น เนื่องจากการสนทนาที่ดีจะต้องมีอารมณ์ร่วมไปกับคู่สนทนาด้วย นอกจากนี้เมื่อสื่อสารแบบเจอหน้านั้น นอกจากสื่อสารกันผ่านทางภาษาพูดแล้ว ยังมีการสื่อสารผ่านทางอวัจนะภาษา หรือ ภาษากายด้วย ซึ่งภาษากายนั้นก็เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทำให้คู่สนทนาเข้าใจกันและกันมากขึ้น

    อย่างไรก็ดี เมื่อสื่อสารผ่านเทคโนโลยี จะไม่มีการส่งอารมณ์กันไปมาหรือการมีอารมณ์ร่วมเหมือนเจอหน้ากัน ทำให้การเข้าไปมีส่วนร่วมทางอารมณ์ในระหว่างการสื่อสารนั้นน้อยลง พร้อมกันนี้เนื่องจากไม่เห็นหน้า กิริยา ไม่ได้ยินเสียงของคู่สนทนา ก็ทำให้สมองส่วนที่ต้องไปรับรู้หรือแปลภาษากายนั้น ไม่ต้องทำงานหนักด้วย สรุปคือการสนทนา หรือ สื่อสาร ผ่านทางเทคโนโลยีนั้น ทำให้การทำงานของทั้งสมองและอารมณ์นั้น น้อยกว่าการสื่อสารแบบ face to face ทำให้เราไม่รู้สึกเหนื่อยเท่า และนำไปสู่การเลือกที่จะสื่อสารผ่านเทคโนโลยีมากกว่าแบบเห็นหน้ากัน

    นอกจากเรื่องการสื่อสารแล้ว สังคมออนไลน์อย่างเช่น Facebook หรือ Instagram ก็ยังนำไปสู่การศึกษาใหม่ๆ ทางด้านจิตวิทยา ถึงขั้นที่เรียกกันว่า Psychology of Social Media ซึ่งจากที่ค้นพบนั้นยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในด้านประโยชน์และโทษของสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเห็นตรงกันว่าคนส่วนใหญ่เข้าใช้สื่อสังคมออนไลน์เหล่านี้เพื่อเชื่อมต่อกับผู้อื่น และทำให้รู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคม อย่างไรก็ดีมีคนกลุ่มหนึ่งใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อเข้าไปเปรียบเทียบทางสังคมกับผู้อื่น (แบบไม่รู้ตัว) ซึ่งการเปรียบเทียบทางสังคมนั้นอาจจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าไปเปรียบเทียบกับผู้ที่มีมากกว่าหรือมีน้อยกว่า

    มีการวิจัยที่พบว่าการเข้าไปเปรียบเทียบกับผู้ที่มีมากกว่า (เช่น ได้ท่องเที่ยว ได้รับการยกย่อง ได้กินอาหารอร่อย ได้ประสบการณ์ดีๆ ฯลฯ) มักจะนำไปสู่การสูญเสียความมั่นใจในตนเองและอาจจะนำไปสู่อาการหดหู่ได้ แถมยังอาจจะนำไปสู่การคิดว่าชีวิตของผู้อื่นนั้นดีกว่าตัวเอง

    อย่างไรก็ดีผลสรุปดังกล่าวใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้งานแต่ละคนเข้าไปดูสื่อสังคมออนไลน์เพื่ออะไร นอกเหนือจากการเข้าไปเปรียบเทียบกับผู้อื่นแล้ว ยังมีบางคนเพียงแค่เข้าไปดูข่าวคราวต่างๆ หรือ เข้ารู้เห็นเรื่องชาวบ้าน

    ล่าสุดมีงานวิจัยเกี่ยวกับการได้รับการกด “ไลค์” ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ว่าจะส่งผลต่อการทำงานของสมองของเด็กวัยรุ่นอย่างไร (ผู้วิจัยคงอยากจะทราบทำไมวัยรุ่นเมื่อโพสต์แล้วถึงต้องการ “ไลค์” เยอะๆ) โดยการทดลองนี้จะมีการสแกนสมองของวัยรุ่นในขณะที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์

    ผลสรุปก็คือเมื่อรูปหรือข้อความที่ตนโพสต์ได้รับไลค์เยอะๆ สมองของวัยรุ่นในบางส่วนจะมีการทำงานที่มากขึ้น ซึ่งส่วนที่ทำงานมากขึ้นนั้น จะเป็นส่วนเดียวกับที่ทำงาน เมื่อได้รับประทานช็อกโกแลต หรือ เมื่อได้เงินมาแบบลาภลอย การได้รับการกดไลค์เยอะๆ จะทำให้วัยรุ่น (จริงๆ เชื่อว่ามีวัยไม่รุ่นด้วย) มีความสุขนั้นเอง

    สรุปคือสื่อสังคมออนไลน์ทำให้คนเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมและแนวคิดจริงๆ เพียงแต่จะมากน้อยเพียงใดคงจะต้องขึ้นอยู่กับแต่ละคนด้วยนะครับ