ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

      ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีการสร้างงานจากภาพถ่ายหรือสร้างงานประเภทกราฟฟิกนั้นพัฒนาไปไกลอย่างมาก โดยโปรแกรมพื้นฐานส่วนใหญ่ที่นักออกแบบจะใช้ก็คือ Adobe Illustrator (อะโดบี้ อิลลาสเตรเตอร์) และ Adobe Photoshop (อะโดบี้ โฟโต้ช้อป) ในวันนี้เราจะมาพูดถึงโปรแกรม Adobe Illustrator ว่าคืออะไรและมี Interface ยังไง

      Illustrator (อิลลาสเตรเตอร์) คือ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้น หรือที่เรียกว่า Vector Graphic (เว็คเตอร์ กราฟฟิก) จัดเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็น มาตรฐานในการออกแบบระดับสากลสามารถทำงานออกแบบต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เว็บ และภาพเคลื่อนไหวตลอดจนการสร้างภาพเพื่อใช้เป็นภาพประกอบในการทำงานอื่นๆ เช่น การ์ตูน ภาพประกอบหนังสือ

แนะนำ Interface ของโปรแกรม Illustrator 

แถบเมนูบาร์ (Menu Bar)

 

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

  • File (ไฟล์) : เป็นหมวดของคำสั่งที่จัดการเกี่ยวกับไฟล์และโปรแกรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการ เปิด-ปิดไฟล์ การบันทึกไฟล์ การนำภาพเข้ามาใช้ ตลอดจนการออกจากโปรแกรม
  • Edit (อีดิต) : เป็นหมวดของคำสั่งที่จัดการแก้ไข เช่น Undo (อันดู), Cut (คัต), Copy (ก๊อปปี้), Paste (เพส), Select (ซีเร็ค) รวมทั้งการกำหนดคุณสมบัติต่างๆ ที่มีผลต่อการปรับแต่งภาพด้วย เช่นการสร้างรูปแบบ การกำหนดค่าสี
  • Type (ไทป์) : เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้จัดการตัวหนังสือ เช่น Fonts Paragraph  (ฟ้อน พารากราฟ)
  • Select (ซีเร็ค) : เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้ในการเลือกวัตถุ สามารถเลือกด้วยคุณสมบัติได้ เช่น เลือกวัตถุที่มี Fill (ฟิล) และ Stroke (สโต๊ค) แบบเดียวกัน วัตถุที่อยู่บน Layer (เลเยอร์) เดียวกัน
  • Filter (ฟิลเตอร์) : เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพ โดยจะมีผลต่อรูปร่างของ Path (พาท)
  • Effect (เอ็ฟเฟ็ค) : เป็นหมวดของคำสั่งที่ใช้สร้างเทคนิคพิเศษให้กับภาพคล้าย Filter แต่จะไม่มีผลกับรูปร่างของ Path
  • View (วิว) : เป็นหมวดของคำสั่งเกี่ยวกับการมองทุกสิ่งในงาน เช่น Zoom (ซูม) ,Show (โชว์) / Hide (ไฮด์), Ruler (รูเลอร์), Bounding (บาวดิ้ง), BoxOutline Mode (บ็อคเอ้าไลน์ โหมด) / Preview Mode (พรีวิว โหมด) 
  • Window (วินโด้ว) : เป็นหมวดของคำสั่งเกี่ยวกับการเปิด-ปิดหน้าต่างเครื่องมือต่างๆ เช่น Palette (แพลเลท) , Tool Box (ทูลบ็อค)
  • Help (เฮลป์) : เป็นหมวดที่รวบรวมวิธีการใช้งานและคำแนะนำเพื่อช่วยเหลือผู้ใช้โปรแกรม

กล่องเครื่องมือ (Tool Box)  เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับภาพทั้งหมด ซึ่งจะแบ่งตามกลุ่มการใช้งาน

 

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

  • เลข 1 คือ กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการเลือกวัตถุ
  • เลข 2 คือ กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการวาดและการสร้างตัวหนังสือ
  • เลข 3 คือ กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการปรับแต่งวัตถุ
  • เลข 4 คือ กลุ่มเครื่องมือในการสร้าง Symbol (ซิมโบล์) และ Graph (กราฟ)
  • เลข 5 คือ กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการกำหนดสี
  • เลข 6 คือ กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการตัดแบ่งวัตถุ
  • เลข 7 คือ กลุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับพื้นที่ทำงาน
  • เลข 8 คือ กรอบที่ใช้ระบุสีให้วัตถุและสีของเส้น
  • เลข 9 คือ ปุ่มกำหนดรูปแบบของมุมมองในหน้าจอโปแกรม

พื้นที่ทำงาน (Art board Area)

 

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

  • เป็นขอบเขตของพื้นที่การทำงาน ซึ่งมีจุดที่ต้องระวังคือ บริเวณที่อยู่ในเส้นประเป็นพื้นที่ที่จะถูกพิมพ์ออกมา และส่วนของภาพที่อยู่นอกเส้นนี้จะถูกตัดขาดไปเวลาพิมพ์

จานเครื่องมือต่างๆ (Palette)

Palette ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สีและเส้น 

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Color Palette (คัลเลอร์ เเพลเลท): เหมือนจานสีที่ใช้ผสมสีไว้ใช้เอง โดยระบุค่าสีหรือสุ่มเลือกที่แถบสีด้านล่างก็ได้ เพื่อให้ได้สีใหม่ไม่จำกัดอยู่แต่สีที่ผสมไว้ให้

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Swatch Palette (สวอตช์ เเพลเลท) : เหมือนกล่องเก็บสีที่ผสมสำเร็จรูปไว้ใช้ได้ทันที ทำให้ไม่ต้องผสมใหม่ทุกครั้งที่จะใส่สี

Palette ที่เกี่ยวข้องกับการปรับแต่งและจัดการวัตถุ

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Transform Palette (ทรานส์ฟอร์ม แพลเลท) : ใช้กำหนดตำแหน่ง ขนาดและปรับแต่งรูปร่างของวัตถุ โดยการระบุค่าเป็นตัวเลข เพื่อให้ได้ระยะที่ถูกต้องและแม่นยำ

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Pathfinder Palette (พาทฟายเดอร์ เเพลเลท) : ใช้สร้างวัตถุใหม่ จากการรวมรูปร่างของวัตถุเดิมเข้าด้วยกัน ช่วยในการสร้างวัตถุ โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มวาดเองใหม่ทั้งหมดใช้ร่วมกันให้เกิดเป็นรูปร่างใหม่ได้สะดวกและรวดเร็ว

Palette ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานตัวหนังสือ

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Character Palette (คาแล็คเตอร์ แพลเลท) : ใช้กำหนดรูปแบบตัวหนังสือ โดยกำหนดได้ละเอียดมาก ทั้งชนิด ขนาด ความสูง ความกว้าง ตัวยก ตัวห้อย ฯลฯ เพื่อทำให้ตัวอักษรดูหลากหลายและมีลูกเล่นต่าง ๆ

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Paragraph Palette (พารากราฟ แพลเลท) : ใช้กำหนดรูปแบบการจัดเรียงข้อความ โดยกำหนดได้ละเอียดมาก ทั้งการจัดชิดซ้าย ขวา กลาง ฯลฯ ตลอดจนระยะย่อหน้าต่างๆ ซึ่งสามารถระบุค่าเป็นตัวเลขได้ เพื่อทำให้ข้อความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยสวยงาม

Palette ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและการจัดการในหน้ากระดาษ

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Layers Palette (เลเยอร์ แพลเลท) : ใช้จัดการวัตถุที่บรรจุอยู่ในแต่ละเลเยอร์ ซึ่งทำงานเหมือนเป็นแผ่นใสที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ใช้ควบคุมทั้งการมองเห็น การล็อควัตถุการจัดลำดับซ้อนทับกัน

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Links Palette (ลิ้งแพลเลท) : ใช้ควบคุมการเชื่อมต่อข้อมูลกับภาพต้นฉบับที่นำเข้ามาใช้โดยสามารถเลือก ให้ไฟล์ภาพที่นำเข้ามาลิงค์อยู่หรือฝังอยู่ในไฟล์ก็ได้ส่วนใหญ่มักจะเลือกลิงค์ภาพเพื่อไม่ให้ไฟล์งานมีขนาดใหญ่
เกินไป

Palette ที่เกี่ยวข้องกับการใส่ลูกเล่นหรือเอฟเฟ็กต์ให้วัตถุ

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Transparency Palette (ทรานส์พาเรนซี แพลเลท) : ใช้กำหนดค่าความโปร่งแสงของวัตถุ โดยคลิกเลือกรูปแบบของ Blending Mode (เบลนดิ้ง โหมด) ที่ต้องการและกำหนดค่าความทึบที่ช่อง Opacity (โอพาซิตี้) เพื่อทำให้ภาพมีลูกเล่นแปลก ๆ โดยสัมพันธ์กับ
วัตถุอื่น ๆ ที่ซ้อนกันอยู่ด้านล่าง

ส่วนประกอบของโปรแกรม adobe illustrator cs6 ประกอบด้วยกัน 8 ส่วน

Styles Palette (สไตล์ แพลเลท) : ใช้กำหนดสี เส้น และเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ แบบสำเร็จรูป โดยคลิกเลือกวัตถุแล้วคลิกเลือกไอคอนสไตล์ที่ต้องการ ช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น เพราะเป็นการเก็บคุณสมบัติไว้ใช้กับวัตถุอื่น ๆ ได้โดย
ไม่ต้องกำหนดใหม่ทีละอัน ๆ

      จะเห็นได้ว่าฟีเจอร์การใช้งานคร่าวๆของโปรแกรม Illustrator นั้นมีมากมาย ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นแค่พื้นฐานในหน้าจอ Interface ของโปรแกรม Illustrator เท่านั้น ฟีเจอร์การใช้งานยังมีให้เลือกใช้ได้ มากกว่านี้ ทำให้โปรแกรม Adobe Illustrator นั้นเหมาะกับผู้ที่ต้องการจะทำการออกแบบได้เป็นอย่างดีเพราะตัวโปรแกรมนั้นมีฟีเจอร์ต่างๆไว้ให้พร้อมใช้งานมากมาย