การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต อูฐ

              การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในด้านรูปร่างลักษณะ สรีรวิทยา และพฤติกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและดำรงชีวิตอยู่รอดได้ ไม่สูญพันธุ์ เป็นไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งลักษณะที่ปรับเปลี่ยนนี้ส่วนมากเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในหน่วยพันธุกรรม จึงถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อๆ ไปได้ ทำให้เกิดการวิวัฒนาการได้สิ่งมีชีวิตสปีชีส์หรือชนิดพันธุ์ใหม่ขึ้นมา และส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเช่นกัน

              การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในด้านรูปร่างลักษณะ สรีรวิทยา และพฤติกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและดำรงชีวิตอยู่รอดได้ ไม่สูญพันธุ์ เป็นไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งลักษณะที่ปรับเปลี่ยนนี้ส่วนมากเกิดจากการเปลี่ยนแปลงในหน่วยพันธุกรรม จึงถ่ายทอดไปสู่รุ่นต่อๆ ไปได้ ทำให้เกิดการวิวัฒนาการได้สิ่งมีชีวิตสปีชีส์หรือชนิดพันธุ์ใหม่ขึ้นมา และส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพด้วยเช่นกัน

การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต อูฐ

อูฐเป็นสัตว์ในตระกูลเดียวกับ llama (ลามะ), alpaca, vicuna และ guanaco ซึ่งถือกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ แต่เมื่อถึงยุค Pliocene คือ เมื่อ 10 ล้านปีก่อน บรรพสัตว์ของอูฐได้เดินทางอพยพข้ามช่องแคบ Bering สู่เอเชีย และแอฟริกาอย่างถาวร

ทุกวันนี้ อูฐที่พบในแอฟริกาเหนือ และเอเชียเป็นอูฐอาหรับ (Camelus dronedanus) หนึ่งโหนก กับอูฐ Bactrian (Camelus bactriamus) ที่มีสองโหนก และถึงแม้จะอยู่คนละทวีป แต่อูฐทั้งสองชนิดก็มีอะไรหลายอย่างที่คล้ายกัน

ดินแดนแอฟริกาเหนือที่อูฐอาหรับอาศัย เป็นบริเวณที่อยู่ใกล้ทะเล จึงมีฝนตกบ้าง ทำให้พื้นที่มีไร่ข้าวโพด และแหล่งน้ำกลางทะเลทราย (oasis) อุดมสมบูรณ์ เวลากองคาราวานของคนพเนจรกลางทะเลทราย ต้องขนสัมภาระเดินทางไกล เขาต้องใช้อูฐขน เพราะอูฐสามารถเดินทางผ่านพื้นที่ ๆ ที่ทราย กรวด ก้อนหินได้ดี แต่ถ้าพื้นดินเป็นโคลน อูฐจะเดินลุยไม่ได้เลย

อูฐอาหรับที่โตเต็มที่จะสูงประมาณ 2.3 เมตร (วัดถึงไหล่) ขาที่ยาวทำให้สามารถเดินได้เร็ว 4 กิโลเมตร/ชั่วโมง อูฐที่สมบูรณ์สามารถเดินได้นานวันละ 6 ชั่วโมง ทั้ง ๆ ที่สัมภาระหนักและอากาศก็ร้อนอ้าว แต่อูฐก็อาจเดินทางโดยไม่กินหรือดื่มอะไรเลยเป็นเวลาหลายวัน

ตามปกติเวลาพวกพเนจรเร่ร่อน อยากรู้ว่าอูฐพร้อมเดินทางหรือไม่ เขาจะตรวจโหนกของมันว่ามีขนาดใหญ่ และแข็งหรือไม่ เพราะโหนกคือที่เก็บไขมัน ดังนั้น ถ้าโหนกแข็ง แสดงว่า ร่างกายอูฐมีไขมันอุดมสมบูรณ์ และตามปกติหลังจากการเดินทางไกล หรือเวลาอดอาหาร โหนกอูฐจะอ่อน และนิ่ม

นักชีววิทยาได้พบว่า อูฐเสียน้ำโดยการปัสสาวะค่อนข้างน้อย และตัวอูฐจะไม่ตกเหงื่อจนกว่าอุณหภูมิในตัวของมันจะสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เมื่อถึงเวลากลางคืนที่มีลมเย็นพัด อูฐจะขับความร้อนออกจากร่างกาย เพื่อสู้ความหนาว ความสามารถพิเศษที่โดดเด่นของอูฐอีกประการหนึ่ง คือ ความสามารถมีชีวิตได้ถึงแม้ร่างกายจะเสียน้ำไปถึง 30% ก็ตาม ซึ่งถ้าเป็นสัตว์อื่น ถ้าเสียน้ำมากเพียงนั้น เลือดจะข้นจนไหลไปเลี้ยงร่างกายไม่ได้ และสัตว์นั้นก็จะตาย

ในการกินอาหาร อูฐเคี้ยวเอื้องเช่นเดียวกับวัวและแกะ คือ มันจะกลืนอาหารเข้าไปก่อนโดยไม่เคี้ยว แล้วขยอกอาหารออกมาในเวลาต่อมาเพื่อเคี้ยวใหม่ แล้วจึงกินเข้าไปอีกการเคี้ยวเช่นนี้ช่วยลดภาระของกระเพาะมันในการย่อยอาหาร

เวลาอูฐดื่มน้ำจนเต็มที่ มันจะสามารถอยู่ต่อไปได้โดยไม่ดื่มน้ำอีกเลยเป็นเวลานานถึง 6 วัน ในช่วงเวลาอากาศร้อน อูฐจะดื่มน้ำวันเว้นวัน อูฐว่ายน้ำไม่เก่ง ด้วยเหตุนี้มันจึงกลัวน้ำที่ลึกมากและการที่มันว่ายน้ำไม่ถนัดนี้ก็เพราะต้องใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในทะเลทรายที่ไม่มีน้ำให้ว่ายเล่นนั่นเอง ดังนั้น มันจึงไม่จำเป็นต้องรู้วิธีว่ายน้ำเลยก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ขนสีน้ำตาลของมันก็มีส่วนช่วยให้มันดูกลมกลืนกับสีของทราย จนถึงมันไม่เดินคนที่อยู่ไกล ๆ ก็มองไม่เห็นมัน ดังนั้น ขนอูฐจึงช่วยให้มันปลอดภัยจากศัตรู โดยการพรางตัวเช่นเดียวกับสัตว์อื่น และถึงแม้แดดจะกล้าสักเพียงใด อูฐที่ต้องการพักผ่อน จะพักกลางแดดโดยไม่แยแสร่มไม้ หรือชายคาและปิดตาทันทีพร้อมกับฟุบตัวลง จนกระทั่งพายุสงบมันจึงลุกยืนอีก แต่สำหรับคนเดินทางเวลาเผชิญพายุทราย เขาจะเอาผ้าพันศีรษะ ปิดหู ตา จมูก แล้วทรุดตัวลงนั่งใกล้อูฐ จนพายุผ่านเขาจึงลุกยืน พร้อมสะบัดทรายจากเสื้อผ้า แล้วเดินทางต่อ

อูฐเป็นสัตว์คู่ใจของชาวอาหรับ เพราะเขาใช้อูฐขนสัมภาระให้คนขี่ และขนอูฐถูกนำมาทอเสื้อผ้า ส่วนนมอูฐ คือ เครื่องดื่ม และใช้ทำเนยแข็ง สำหรับเนื้ออูฐนั้นก็ใช้เป็นอาหาร แต่ในบางพื้นที่ที่มิได้เป็นทะเลทราย เขาใช้อูฐลากรถ ไถนา และชักรอกตักน้ำจากบ่อลึก ตามปกติเวลาเดินทางไกลข้ามทะเลทรายเหล่านักเดินทางมักมีอูฐหลายตัว ขบวนคนและสัตว์นี้มีชื่อเรียกรวมกันว่า กองคาราวาน อูฐซึ่งรู้จักว่า ต้องการเดินไกลเพียงใด จะปฏิเสธการเดินต่อทันทีที่ครบระยะทาง ดังนั้น ไม่ว่าคนเลี้ยงจะทุบตีมันเพียงใด มันก็จะนอนลงและ ไม่ขยับเท้าก้าวเดินอีกเลย เพราะตามปกติชาวอาหรับนิยมวัดระยะทางตามระยะทางที่อูฐเดิน เช่น เวลาเขากล่าวถึงระยะทาง 2 อูฐเดิน (2 camel marches) เขาหมายถึงระยะทาง 50 กิโลเมตร เพราะระยะทาง 1 อูฐเดินไกลประมาณ 25 กิโลเมตร

อูฐมีสัญชาตญาณเรื่องทิศดีพอสมควร มันจึงรู้เส้นทางกลับบ้านดี แต่ในการเดินทางที่ไกลมาก ๆ มันจะกลับบ้านไม่ถูก อูฐเป็นสัตว์อารมณ์ร้อน เวลาโกรธมันจะกัดคนที่ตอแยมัน คนดูแลจึงนำตะกร้อสวมปากไม่ให้มันกัด ในบางประเทศ การสู้อูฐเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง ในบางประเทศมีการแข่งอูฐ โดยใช้อูฐตัวเมียซึ่งลำตัวเพรียว และวิ่งคล่องกว่าตัวผู้ในการแข่งขัน ตามปกติอูฐวิ่งได้เร็วสูงสุดราว 20 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่ถ้าเร็วขนาดนี้ ในเวลาไม่นานมันจะรู้สึกเหนื่อย ดังนั้น มันจะลดความเร็วลงเหลือประมาณ 12 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับระยะทางที่เดินนั้น มันเดินได้ประมาณวันละ 80 กิโลเมตร เป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วหลังจากนั้นมันก็จะหมดแรงเดินเป็นอาทิตย์

เวลาอูฐวิ่ง มันใช้ขาทั้ง 2 ข้างวิ่งไปด้วยกัน การวิ่งเช่นนี้ทำให้คนนั่งอูฐต้องใช้เทคนิคพอสมควรในการประคองตัวไม่ให้ตกอูฐ และเวลามันจะให้คนขึ้นขี่มันจะคุกเข่าหมอบลง ให้คนขึ้นนั่งก่อนแล้วใช้ขาหลังทั้งสองยืนขึ้น จากนั้นก็ใช้ขาหน้ายืนตาม ในการขี่อูฐคนขี่จะบังคับอูฐได้โดยใช้ไม้เท้าตีเบาๆ ที่คอหรือไหล่มัน หรือบางคนก็ใช้เท้าแตะ

อูฐคลอดลูกคราวละตัว ตอนเกิดใหม่ๆ ลูกอูฐจะสูงประมาณ 90 เซนติเมตร และเจ้าของจะเริ่มฝึกมันตั้งแต่อายุ 4 ขวบ หากมันได้รับการเลี้ยงดูดี มันจะโตเต็มที่เมื่ออายุ 6 ขวบ และอาจจะมีอายุยืนถึง 50 ปี

เมื่อเร็วๆ นี้ Knit Schmidt - Nielsen แห่ง Duke University ในสหรัฐอเมริกา ได้เรียบเรียงหนังสือ ชื่อ The Camel’s Nose ซึ่งจัดพิมพ์โดย Island Press ราคา $ 24.95 ISBN i55635126 ออกวางตลาด หนังสือนี้อธิบายธรรมชาติของสัตว์ต่างๆ ขณะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทารุณ เช่น เหตุใดหนูจิงโจ้ใน Arizona จึงไม่ดื่มน้ำเลย เหตุใดเท้าของนกเพนกวินจึงไม่แข็งตัวเวลามันยืนฟักไข่ที่ขั้วโลกนานเป็นเดือน และเหตุใดอูฐจึงมีชีวิตอยู่ในทะเลทราย Sahara ได้เป็นอาทิตย์ โดยไม่ดื่มน้ำ จากนั้นก็ดื่มน้ำประมาณ 30% ของน้ำหนักตัวในเวลาเพียง 10 นาที เท่านั้นเอง และเราชั่งน้ำหนักตัวของอูฐอย่างไร

หนังสือเล่มนี้นอกจากจะมีข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ที่น่าสนใจแล้ว ยังมีเรื่องเกี่ยวกับจารชนชาวเยอรมัน และจักรพรรดิญี่ปุ่นที่เลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ด้วย

สุทัศน์ ยกส้าน ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สสวท
การปรับตัวของสิ่งมีชีวิต อูฐ

อูฐมีการปรับตัวอย่างไร

อูฐมีขนตายาวมาก เพื่อป้องกันไม่ให้เม็ดทรายเข้าตา อูฐมีพื้นเท้าที่กว้างกว่าสัตว์อื่น ๆ ช่วยไม่ให้จมลงในทรายอ่อน ๆ ได้ อูฐเป็นสัตว์ที่ขยับขาทางด้านเดียวพร้อม ๆ กัน ท้องของอูฐเป็นที่เก็บน้ำชั้นดี แล้วจะปล่อยออกมาทางระบบย่อยทีละน้อย ๆ ทำให้ย่อยแม้แต่หญ้าแห้งได้

อูฐมีลักษณะพิเศษอย่างไร

ปรับโครงสร้างหรือลักษณะให้เหมาะสมกับการ ดำรงชีวิตในแหล่งที่อยู่ได้ เช่น อูฐมีขนตายาวเพื่อ ป้องกันฝุ่นทราย มีขายาวเพื่อให้ลำตัวของอูฐอยู่ห่าง จากพื้น มีเท้าที่มีพื้นที่กว้างเพื่อไม่ให้จมลงไป ในทราย ขับถ่ายปัสสวะน้อยเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ดังรูปที่ 6 สุนัขจิ้งจอกทะเลทรายมีใบหูที่ใหญ่ และมีขนที่ใบหู เพื่อปกป้องไม่ให้ทราย ...

เพราะเหตุใดอูฐจึงปรับเปลี่ยนโครงสร้างและลักษณะให้มีหนอก

ในทะเลทรายน้ำหรืออาหารเป็นสิ่งที่หายากมาก ทำให้คนและสัตว์มีชีวิตอยู่อย่างยากลำบาก อูฐเป็นสัตว์ที่เกิดมาเพื่อใช้ชีวิตในทะเลทรายโดยเฉพาะ อูฐจึงเป็นสัตว์ที่มีความพิเศษเพื่อเอาตัวรอดในทะเลทราย โดยเฉพาะโหนกของอูฐ ซึ่งเป็นที่เก็บสะสมอาหาร หรือไขมัน ซึ่งจะดึงออกมาใช้ในการเดินทางกลางทะเลทราย จากโหนกที่มีความสูงหลังจากถูกดึง ...

อูฐสะสมอะไร

ไม่ใช่เลยครับท่านผู้ชม เพราะข้างในหนอกคือก้อนไขมันขนาดใหญ่ ซึ่งอูฐก็เป็นสัตว์ชนิดเดียวที่เก็บไขมันทั้งหมดไว้ในจุด ๆ เดียว โดยหนอกแต่ละอันสามารถจุไขมันได้มากถึง 36 กิโลกรัม! และหากไม่มีอาหาร พวกมันก็สามารถอยู่รอดได้เป็นอาทิตย์ ๆ หรือเป็นเดือน ๆ เพราะว่าไขมันเหล่านี้มีทั้งกรดไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุอยู่เป็นจำนวนมาก