ตัวอย่าง การเขียนรายงานเชิงวิชาการ ppt

ขั้นตอนในการเขียนรายงานเชิงวิชาการ

        การเขียนรายงานให้ดีนั้นควรจะมีการวางแผน และมีขั้นตอนมีการทำรายงานตามลำดับเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของเนื้อหา ไม่ลำดับสับสน หรือกวนไปมาโดยทั่วไปคนส่วนใหญ่มักจะขาดการวางแผนและขั้นตอนในการทำงานโดยไม่คำนึงถึงความต่อเนื่องของเนื้อหา ทำให้เนื้อหาขาดความสมบูรณ์ดังนั้นก่อนที่จะเขียนรายงานควรมีการวางแผนและกำหนดขั้นตอนดังนี้

    1. กำหนดเรื่อง

        ก่อนที่จะทำรายงานทุกคนจะต้องกำหนดก่อนว่าจะทำรายงานเรื่องอะไรการเลือกเรื่องควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ

        1.1 เป็นเรื่องที่น่าสนใจ

        1.2เป็นเรื่องที่มีขอบเขตและเนื้อหาไม่กว้างจนเกินไปสามารถทำได้ในระยะเวลาที่กำหนดได้

        1.3 เป็นเรื่องที่หาข้อมูลจากหนังสือ วารสารสิ่งพิมพ์ ฯลฯ มาประกอบการเขียนได้

    2.กำหนดชื่อเรื่องและขอบเขตของเรื่อง

        ในการทำรายนั้นเมื่อนักเลือกเรื่องได้แล้วขั้นตอนต่อมาคือการกำหนดชื่อเรื่องหรือหัวข้อเรื่อง ทั้งนี้เพื่อให้เห็นขอบเขตและโครงร่างของเรื่อง ได้อย่างชัดเจน ชื่อเรื่องหรือหัวข้อเรื่องไม่ควรกว้างเกินไปเพราะหากกว้างเกินไปแล้วจะทำให้เขียนเนื้อหาได้เพียงผิวเผิน ประเด็นที่นำเสนอจะกระจัดกระจาย ขาดความน่าสนใจในขณะเดียวถ้าหัวข้อแคบเกินไปอาจทำให้มีปัญหาเพราะหาข้อมูลได้ไม่เพียงพอดังนั้นการจำกัดขอบเขตของเรื่องจึงมีความสำคัญซึ่งอาจทำได้ดังต่อไปนี้

        2.1จำกัดโดยแขนงวิชา คือ ทำขอบเขตของเรื่องให้แคบเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งของแขนงวิชานั้นๆเช่น "การพัฒนาท้องถิ่นในประเทศไทย" เปลี่ยนเป็น "การพัฒนาด้วยการท่องเที่ยวในประเทศไทย"

        2.2จำกัดโดยบุคคล คือ ทำขอบเขตโดยยึดบุคคลเป็นหลัก เช่น "สภาพการทำงานของสตรีและเด็ก"

        2.3จำกัดโดยสถานที่ คือ ทำขอบเขตโดยยึดสถานที่เป็นหลัก เช่น "สภาพการทำงานของนักการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร"

        2.4 จำกัดโดยภูมิศาสตร์ คือ อาศัยสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นเครื่องกำหนดของเขต เช่น "สภาพการทำงานของเด็กในโรงงานอุตสาหกรรมในกรุงเทพมหานคร"

        2.5จำกัดโดยระยะทาง คือ อาศัยระยะเวลาเป็นหลัก เช่น "สภาพการทำงานของเด็กไทยในโรงงานอุตสาหรรมในกรุงเทพมหานคร ระหว่างพ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๑"

        2.6 จำกัดขอบเขตโดยใช้คำว่า "บางประการ" และ "แนวโน้ม" เช่นข้อคิดเห็นบางประการเกี่ยวกับสภาพการทำงาน ของสตรีและ เด็กไทยในโรงงานอุตสาหรรมในกรุงเทพมหานคร ระหว่างพ.ศ.2540-2541"

        นอกจากนี้ในการกำหนดขอบเขตของเรื่องควรเลือกเรื่องให้เหมาะสมกับความยาวขอรายงานด้วย

    3. การวางโครงเรื่อง

        การวางโครงเรื่องนั้นนับว่ามีความสำคัญต่อการเขียนเป็นอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะการวางโครงเรื่อง จะช่วยให้ผู้เขียนจัดแนวคิดได้ตรงกับเรื่องที่จะเขียนทำให้งานมีเอกภาพไม่ออกนอกเรื่องและทำให้ผู้เขียนไม่ต้องพะวงในขณะที่เขียนว่าจะลืมประเด็นนอกจากนี้การวางโครงเรื่อง ยังช่วยให้งานเขียนมีสัมพันธภาพอีกด้วย

        การวางโครงเรื่องนี้สามารถทำได้ทั้งก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูลและหลังการเก็บรวบรวมข้อมูลการวางโครงเรื่องก่อนแล้วจึงเก็บข้อมูลนั้น จะเป็นแนวทางขณะเก็บรวบรวมข้อมูลให้ว่าเรื่องใดมีความเกี่ยวข้อง เรื่องใดไม่เกี่ยวข้องข้อมูลตอนใดที่ควรเก็บและไม่ควรเก็บ ส่วนการวางโครงเรื่องหลังการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นมีผลดีคือการที่ได้เห็นข้อมูลทั้งหมดก่อนที่จะวางโครงเรื่องจะช่วยให้เห็นว่าควรจะวางโครงเรื่องในแนวใดจึงจะเอื้อต่อข้อมูลที่มีอยู่ประเด็นใดควรกล่าวถึง ประเด็นใดไม่ควรกล่าวถึงวิธีนี้จะช่วยให้การลำดับความมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันดี

    4.รวบรวมข้อมูล

        หากแบ่งตามลักษณะข้อมูลจะแบ่งได้เป็น๒ ประเภท คือ ข้อมูลเอกสารและข้อมูลสนาม

        4.1 ข้อมูลเอกสาร (Documentary Data) เป็นข้อมูลที่อยู่ในรูปเอกสาร และหลักฐานต่างๆเป็นข้อมูลที่มีผู้ค้นคว้าและบันทึกไว้แล้วก่อนนำไปอ้างอิงควรพิจารณาว่าข้อมูลเหล่านั้นน่าเชื่อถือเพียงไร

        หนังสือนับเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ โดยทั่วไปหนังสือแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือหนังสืออ้างอิง และหนังสือประเภททั่วไปแต่หนังสือที่ใช้ในการทำรายงานมักเป็นหนังสือประเภททั่วไปหนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆอย่างกว้างขวาง และมีลักษณะพิเศษ คือ มักจะเรียงลำดับเรื่องและเสนอเรื่องอย่างเป็นระเบียบ ทำให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าและสะดวกและรวดเร็วหนังสืออ้างอิงที่ควรรู้จัก มีดังนี้

            4.1.1 พจนานุกรม

            4.1.2 สารานุกรม

            4.1.3 อักขรานุกรม

            4.1.4 หนังสือประจำปี

            4.1.5 นามานุกรม

            4.1.6 ดรรชนี

            4.1.7 บรรณานุกรม

        หนังสือทั่วไปเป็นหนังสือประเภทตำราหรือเอกสารที่ใช่เอกสารอ้างอิงหนังสือประเภทนี้มีอยู่เป็นจำนวนมากวิธีง่ายที่สุดในการเลือกคืออ่านสารบัญว่าหนังสือเล่มนั้นมีประเด็นใดบ้างที่ตรงกับเนื้อหาที่ตนต้องการ

        4.2 ข้อมูลสนาม (Field Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ทำรายงานได้มาจากการรวบรวมเองโดยตรงการรวบรวมข้อมูลนี้ทำได้หลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ การสังเกตการให้กลุ่มเป้าหมายตอบแบบสอบถาม การทดลอง ฯลฯ ข้อมูลสนามนี้ผู้ทำรายงานควรพิจารณาเองว่าวิธีใดเหมาะสมที่สุดสำหรับรายงานเรื่องนั้นๆเมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็ต้องจดบันทึกลงในกระดาษบันทึกข้อมูลการจดบันทึกนิยมจดใส่กระดาษแข็ง ขนาด 3 x 5" หรือ 4 x 6" หรือ 5 x 8" โดยผู้จดบันทึกจะกำหนดหัวเรื่องไว้ที่มุมขวาและจัดเรียงตามโครงเรื่องของรายงานในส่วนต้นของบัตรบันทึกอาจจะไม่ลงรายการไว้ที่มุมขวาและจัดเรียงตามโครงเรื่องของรายงานในส่วนต้นของบัตรบันทึกอาจจะไม่ลงรายการทางบรรณนานุกรมอย่างสมบูรณ์อาจใส่เฉพาะชื่อผู้เขียน ชื่อหนังสือ หรือเอกสารเลขหน้าการบันทึกข้อมูลควรย่อเอาแต่ละประเด็นสำคัญหากข้อความใดกระชับดีแล้วอาจคัดลอกข้อความทั้งหมดลงมาใส่เครื่องหมาย "..."ไว้เป็นที่สังเกต

    5. การจัดระเบียบและวิเคราะห์ข้อมูล

        เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วควรจัดหมวดหมู่ของข้อมูลตามโครงร่างที่ได้วางไว้นำข้อมูลมาพิจารณาว่าน่าเชื่อถือเพียงใด ข้อมูลนั้นมีลักษณะเป็นข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็น ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆใช้ความคิดพิจารณาว่าเห็นด้วยหรือไม่ กับข้อมูลนั้น เพราะเหตุใดหลังจากนั้นจึงสรุปโดยใช้เหตุผล

    6. เสนอผลรายงาน

        ในการเสนอผลรายงานนั้นขั้นต้นควรเขียนร่างก่อน โดยการนำความคิดและข้อมูลต่างๆมาเชื่อมโยงกันให้ผู้อ่านเข้าใจ ควรใช้สำนวนของตนเองมิใช่เพียงแค่รวบรวมข้อเท็จจริงหรือคัดลอกข้อความผู้อื่นมา ในขั้นการร่างนี้ ไม่ควรกังวลในเรื่องการใช้ภาษาควรมุ่งที่เนื้อหาสาระ เมื่อเขียนเสร็จแล้วจึงอ่านทวน และแก้ภาษาให้สละสลวยภายหลังพร้อมกับพิจารณารูปแบบของรายงาน เช่น การเขียน อัญพจน์ เชิงอรรถ ว่าถูกต้องหรือไม่หลังจากนั้นจึงเขียนหรือพิมพ์รายงานให้ถูกต้องมีรูปแบบและส่วนประกอบของรายงานตามที่สถาบันหรือหน่วยงานกำหนด