การศึกษาขนาดของประชากรในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ

   

�ҡ����֡�Ҵѧ����� ���������ö�觢�Ҵ�ͧ��Ъҡ��͡�� 3 ��Ҵ�ѧ���
     1. ��Ъҡ÷���բ�Ҵ�����
          �ѵ�ҡ���Դ   +   �ѵ�ҡ��;¾���     =     �ѵ�ҡ�õ��   +   �ѵ�ҡ��;¾�͡

     2. ��Ъҡ��բ�Ҵ�������
         �ѵ�ҡ���Դ   +   �ѵ�ҡ��;¾�͡    >     �ѵ�ҡ�õ��   +   �ѵ�ҡ��;¾���

     3. ��Ъҡ��բ�ҴŴŧ
         �ѵ�ҡ���Դ   +   �ѵ�ҡ��;¾���     <     �ѵ�ҡ�õ��   +   �ѵ�ҡ��;¾�͡

  ขนาดของประชากรในแหล่งที่อยู่แต่ละแห่งจะมีจำนวนกลุ่มสิ่งมีชีวิตหรือจำนวนประชากรแตกต่างกันไป การศึกษาขนาดหรือลักษณะความหนาแน่นของจำนวนประชากรในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆสามารถศึกษาได้จาก
     - การอพยพเข้าของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
     - การอพยพออกของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
     - การเกิดของกลุ่มสิ่งมีชีวิต
     - การตายของกลุ่มสิ่งมีชีวิต


 จากการศึกษาดังกล่าว ทำให้สามารถแบ่งขนาดของประชากรออกเป็น 3 ขนาดดังนี้
     1. ประชากรที่มีขนาดคงที่
          อัตราการเกิด   +   อัตราการอพยพเข้า     =     อัตราการตาย   +   อัตราการอพยพออก

     2. ประชากรมีขนาดเพิ่มขึ้น
         อัตราการเกิด   +   อัตราการอพยพออก    >     อัตราการตาย   +   อัตราการอพยพเข้า

     3. ประชากรมีขนาดลดลง
         อัตราการเกิด   +   อัตราการอพยพเข้า     <     อัตราการตาย   +   อัตราการอพยพออก

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
 การศึกษาขนาดของประชากรในแหล่งที่อยู่ ดูได้จากอัตราการเกิด อัตราการตา อัตราการอพยพเข้าและอัตราการอพยพออกจากแหล่งที่อยู่โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงของอัตราดังกล่าวเกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกแหล่งที่อยู่

   การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม : สภาพแวดล้อมที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยหรือเกิดการ
เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง สามารถลดจำนวนประชากรลงได้

   กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ : การถางป่า การทำไร่เลื่อนลอย เพื่อทำฟาร์มสัตว์หรือเพื้่อการเกษตร
เป็นการลดขนาดของที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตบางชนิดในธรรมชาติ

   จำนวนผู้ล่า : การมีผู้ล่าจำนวนเพิ่มมากขึ้นขณะที่เหยื่อมีจำนวนเท่าเดิมหรืดเิ่พิ่มเพียงเล็กน้อย ทำใ้ห้เหยื่อมีโอกาสถูกล่าและลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว

   ทรัพยากรมีอยู่จำกัด : บางครั้งสิ่งมีชีวิตก็อาจจำ้เป็นต้องต่อสู่แย่งชิงสิทธิ์ครอบครองทรัพยากรที่มี่อยู่อย่างจำกัด ทำให้เกิดการล้มตาย

   การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว : พืชหรือสิ่งมีชีวิตที่มีการเจริญเติบโต อย่างรวดเร็ว  ทำให้เกิดความหนาแน่นจำเป็นจะต้องหาแหล่งที่อยู่ใหม่เพิ่มขึ้น

    ศัตรูทางธรรมชาติและเชื้อโรค : การแพร่กระจายของศัตร ูทางธรรมชาติหรือการละบาดของเชื้อโรค เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดจำนวนประชากรลดน้อยลง

การสำรวจสิ่งแวดล้อม

การสำรวจองค์ประกอบภายในระบบนิเวศจะช่วยให้เราทราบขนาดของประชากรและเข้าใจความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายในระบบนิเวศนั้นๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลในการจำแนกลักษณะและประ เภทของระบบนิเวศแต่ละระบบได้การสำรวจองค์ประกอบภายในระบบนิเวศแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ

การสำรวจลักษณะทางกายภาพ
   เป็นการสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งไม่มีชีวิตด้านสภาพแวดล้อม เช่น แสงแดดอุณหภูมิความชื้นปริมาณแร่ธาตุ เป็นต้น

การสำรวจทางชีวภาพ
   เป็นการสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งมีชีวิต โดยพิจารณาจากชนิด จำนวนความหนาแน่นของสิ่งมีชีวิตต่อพื้นที่ทำการสำรวจ

แหล่งที่มามาจาก

www.dpt.go.th/ITCitdb/txt/pop/pop1.htm

ทฤษฎีเรื่อง ประชากร ในระบบนิเวศ (Population) เป็นเรื่องที่นำมาประยุกต์ใช้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ เพื่อประเมินและคาดการณ์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต เช่น การกระจายพันธุ์ จำนวนประชากรในพื้นที่ โอกาสการรอดชีวิต และโอกาสการเกิดชนิดพันธุ์ใหม่

ประชากร ในระบบนิเวศ (Population) คือ กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน (Single Species) ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ หรือในอาณาบริเวณเดียวกัน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยทำกิจกรรมร่วมกันหรือมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกลุ่มประชากรดังกล่าว

การอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิต ก่อให้เกิดลักษณะเฉพาะของกลุ่มประชากร เช่น ขนาดหรือจำนวนประชากร (Population Size) และความหนาแน่น (Population Density) ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญสำหรับการศึกษาประชากรในระบบนิเวศ ทั้งอัตราการเกิด การตาย การอพยพเข้าออก และการกระจายตัวของกลุ่มอายุ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม ทั้งในด้านการช่วยเหลือเกื้อกูล การแก่งแย่งแข่งขันกัน และความสัมพันธ์หลายรูปแบบที่มีต่อกลุ่มประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ในระบบนิเวศ

ลักษณะสำคัญของ ประชากร

ความหนาแน่นประชากร (Population Density) คือ จำนวน ประชากร ต่อหน่วยพื้นที่สำหรับสิ่งมีชีวิตบนบก หรือต่อหน่วยปริมาตรสำหรับสิ่งมีชีวิตในน้ำ

การกระจายตัวของประชากร (Dispersion) คือ การกระจายตัวของสมาชิกภายในกลุ่มประชากรในพื้นที่อยู่อาศัย โดยมีปัจจัยทางสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อลักษณะการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตดังกล่าว การกระจายของประชากรสามารถจำแนกออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1. การกระจายแบบกลุ่ม (Clumped Dispersion) คือ การกระจายตัวของประชากรที่ไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งบริเวณ โดยมีการกระจุกตัวเป็นกลุ่ม ๆ อยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งการกระจายตัวแบบกลุ่มเป็นรูปแบบประชากรที่พบเห็นได้มากที่สุดในธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพวกสัตว์ต่าง ๆ ซึ่งมีพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือสังคม เนื่องจากปัจจัยการดำรงชีวิต เช่น แหล่งน้ำ แหล่งอาหาร ที่ไม่สมบูรณ์

2. การกระจายแบบสม่ำเสมอ (Uniform Dispersion) คือ การกระจายตัวของประชากรที่มีการจัดระเบียบ จากปัจจัยการดำรงชีวิตที่มีอยู่อย่างค่อนข้างจำกัด แต่กระจายอยู่ทั่วทั้งบริเวณอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งส่งผลให้สิ่งมีชีวิตจึงเป็นต้องจัดระเบียบการอยู่ร่วมกัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง

3. การกระจายแบบสุ่ม (Random Dispersion) คือ การกระจายตัวของประชากรที่ปราศจากแบบแผนใด ๆ เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีปัจจัยที่จำเป็นเพียงพอต่อทุกชีวิต อีกทั้งยังมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตสามารถอยู่อาศัยได้ในทุกอาณาบริเวณ การแก่งแย่งแข่งขันจึงไม่สูงนักในกลุ่มประชากร

การศึกษาขนาดของประชากรในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ

โครงสร้างอายุประชากร (Age Structure) คือ ลักษณะการกระจายตัวของอายุสมาชิกในกลุ่มประชากร โดยในทางนิเวศวิทยาสามารถแบ่งโครงสร้างอายุประชากรออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

– วัยก่อนเจริญพันธุ์ (Pre-reproductive Age) คือ สมาชิกซึ่งยังไม่พร้อมสืบพันธุ์

– วัยเจริญพันธุ์ (Reproductive Age) คือ สมาชิกในวัยสืบพันธุ์

– วัยหลังเจริญพันธุ์ (Post-reproductive Age) คือ สมาชิกซึ่งไม่สามารถสืบพันธุ์ได้อีกแล้ว

โครงสร้างอายุประชากรทั้ง 3 กลุ่ม สามารถนำมาแสดงเป็นสัดส่วนบนแผนภาพ โดยใช้การแสดงพื้นที่แทนจำนวนโครงสร้างอายุประชากรที่เรียกว่า “พีระมิดอายุ” (Age Pyramid)

– อัตราส่วนเพศ (Sex Ratio) คือ อัตราส่วนเพศของสิ่งมีชีวิต ซึ่งสิ่งมีชีวิตต่างชนิด มักมีอัตราส่วนระหว่างเพศผู้และเพศเมียแตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตหรือสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย เป็นต้น

– อัตราการเกิด-การตาย (Birth – Death Rate) คือ การเพิ่มขึ้น-ลดลงของจำนวนประชากรในหนึ่งหน่วยเวลา

– การอพยพเข้า-ออก (Immigration – Emigration) คือ การเคลื่อนย้ายประชากรจากกลุ่มหนึ่งไปรวมกับอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งส่งผลต่อขนาดและจำนวนของประชากรดั้งเดิม

การศึกษาขนาดของประชากรในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ
ตัวอย่างแผนภูมิแสดงแนวโน้มประชากรในรูปแบบพีระมิดประชากร

การเติบโตของประชากร (Population Growth)

การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรเกิดขึ้นอยู่อย่างสม่ำเสมอในธรรมชาติ (Population Dynamics) ทั้งจากอัตราการเกิดใหม่ การตาย การอพยพเข้า และการอพยพออกของประชากรในกลุ่ม ซึ่งการเติบโตของประชากรในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งมักเกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์เป็นหลัก ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนประชากรขึ้นสูงสุดตามวิถีทางธรรมชาติ จากรูปแบบการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตใน 2 ลักษณะ ดังนี้

1. สืบพันธุ์ครั้งเดียวในช่วงชีวิต (Semelparity หรือ Single Reproduction) คือ สิ่งมีชีวิตเมื่อเติบโตเต็มวัยแล้ว หลังการผสมพันธุ์และวางไข่จะเสียชีวิตทันทีเมื่อสิ้นสุดกระบวนการดังกล่าว เช่น แมลงชีปะขาว ผีเสื้อ และตัวไหม

2. สืบพันธุ์ได้หลายครั้งในช่วงชีวิต (Iteroparity หรือ Multiple Reproduction) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสืบพันธุ์ได้หลายครั้งตลอดช่วงชีวิต เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ แมว นก หรือพืชยืนต้น เช่น มะม่วง กระท้อน และขนุน

การศึกษาขนาดของประชากรในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ

รูปแบบการเติบโตของประชากร

  • การเติบโตของประชากรแบบเอกซ์โพเนนเชียล (Exponential Population Growth) คือ การเพิ่มจำนวนขึ้นของประชากรแบบทวีคูณ มักพบในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์เพียงครั้งเดียวในช่วงชีวิต เช่น แมลงต่าง ๆ
  • การเติบโตของประชากรแบบลอจิสติก (Logistic Population Growth) คือ การเพิ่มจำนวนขึ้นของประชากรภายใต้ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมหรือการมีตัวต้านทานในธรรมชาติ เช่น ปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด (Carrying Capacity) ไม่ว่าจะเป็นอาหาร พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่สำหรับการวางไข่หรือการเลี้ยงดูตัวอ่อน ตลอดจนข้อจำกัดทางสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น ปริมาณน้ำฝน ความชื้นในอากาศ อุณหภูมิ และสภาพความเป็นกรดด่าง เป็นต้น

สืบค้นและเรียบเรียง
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ และณภัทรดนัย


ข้อมูลอ้างอิง

มหาวิทยาลัยรามคำแหง – http://old-book.ru.ac.th/e-book/c/CU474/chapter11.pdf

โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว – http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=17&chap=3&page=t17-3-infodetail06.html

Nature Education – https://www.nature.com/scitable/knowledge/library/density-and-dispersion-19688035/

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ – https://biology.mwit.ac.th/Resource/EcoPWPpdf/popeco_60.pdf


เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ : ความหลากหลายทางชีวภาพ 

การศึกษาขนาดของประชากรในแหล่งที่อยู่หนึ่งๆ