วิจารณ์ บทบาท ของ ตัว ละคร วัส ส การ พราหมณ์ ใน แง่ คุณธรรม

“สามัคคีเภท” เป็นคำสมาส ระหว่าง “สามัคคี” และ “เภท” ซึ่ง “เภท” มีความหมายว่า การแตกแยก - ความเป็นมาของสามัคคีเภทคำฉันท์

สวัสดีค่ะ ครูพี่โบว์ขอต้อนรับน้องๆ เข้าสู่เปิดเทอมใหม่ด้วยเกร็ดความรู้จากวรรณคดีที่เป็นเนื้อหาในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ค่ะ … ในบทความนี้ครูพี่โบว์มี “ 10 เรื่องน่ารู้ จากสามัคคีเภทคำฉันท์ ” ที่จะมาสรุป ย่อ และเก็งข้อสอบให้แบบเน้นๆ เนื้อๆ ชนิดที่เกรดสี่ลอยมาเลยค่า – บทความ ความเป็นมาของสามัคคีเภทคำฉันท์ –

ความเป็นมาของ สามัคคีเภทคำฉันท์

เรื่องที่ 1 ความหมายของ “สามัคคีเภท”

“สามัคคีเภท” เป็นคำสมาส ระหว่าง “สามัคคี” และ “เภท” ซึ่ง “เภท” มีความหมายว่า การแตกแยก ดังนั้น “สามัคคีเภท” จึงหมายถึง “การแตกความสามัคคี”

เรื่องที่ 2 ผู้แต่ง “สามัคคีเภทคำฉันท์”

“สามัคคีเภทคำฉันท์” เป็นสำนวนการแต่งของนายชิต บุรทัต ซึ่งเป็นกวีในรัชกาลที่ 6 แต่งขึ้นในปี พ.ศ.2457 นายชิตใช้นามสกุลเดิมว่า “ชวางกูร” โดยได้รับพระราชทานนามสกุล “บุรทัต” จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นามปากกาของนายชิต บุรทัต คือ “เจ้าเงาะ”“เอกชน” “แมวคราว”

วิจารณ์ บทบาท ของ ตัว ละคร วัส ส การ พราหมณ์ ใน แง่ คุณธรรม

เรื่องที่ 3 รูปแบบการประพันธ์ “สามัคคีเภทคำฉันท์”

“สามัคคีเภทคำฉันท์” ใช้รูปแบบการประพันธ์เป็นร้อยกรอง ชนิดคำฉันท์ ซึ่งเกิดจากคำประพันธ์ชนิด “กาพย์” มี 2 ชนิด คือ กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 และเกิดจากคำประพันธ์ชนิด “ฉันท์” ที่ใช้ถึง 18 ชนิด

เรื่องที่ 4 ฉันทลักษณ์สำคัญที่ควรรู้

คำประพันธ์ชนิด “ฉันท์” จะมีฉันทลักษณ์ที่เป็นลักษณะบังคับ ได้แก่

  • ครุ คือ พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วย สระเสียงยาว เช่น ตา แม่ ปู และสระ อำ ใอ ไอ เอา เช่น ทำ ใจ ไป เดา รวมทั้งพยางค์ที่มีตัวสะกด เช่น แมว จาน กลม เป็นต้น
  • ลหุ คือ พยางค์ที่ประสมกับสระเสียงสั้นและจะต้องไม่มีตัวสะกด เช่น จะ สิ ก็ ธ เป็นต้น

เรื่องที่ 5 ที่มาของเรื่อง “สามัคคีเภทคำฉันท์”

“สามัคคีเภทคำฉันท์” เกิดจากวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ในสมัยรัชกาลที่ 6 เช่น สงครามโลกครั้งที่ 1, กบฏ ร.ศ. 130 ประกอบกับคนไทยในสมัยนั้นได้รับการศึกษามากขึ้น ทำให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับกิจการบ้านเมืองที่หลากหลาย จึงส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของบ้านเมือง ทำให้ในช่วงดังกล่าว มักเกิดความนิยมแต่งวรรณคดีปลุกใจให้รักชาติ สามัคคีเภทคำฉันท์ก็เป็นวรรณคดีเรื่องหนึ่งที่มุ่งชี้ให้เห็นความสำคัญของความสามัคคี การรวมเป็นหมู่คณะ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สามัคคีเภทคำฉันท์จึงถือเป็นวรรณคดีที่มีเนื้อหาเป็นคติสอนใจ

เรื่องที่ 6 ลักษณะของเรื่อง “สามัคคีเภทคำฉันท์”

“สามัคคีเภทคำฉันท์”เป็นนิทานสุภาษิต ในมหาปรินิพพานสูตรและอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ทีฆนิกาย มหาวรรค ลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ หนังสือรุ่นแรกของมหามงกุฎราชวิทยาลัยที่เรียบเรียงเป็นภาษาบาลี นายชิต บุรทัตอาศัยเค้าคำแปลของเรื่องสามัคคีเภทนี้มาแต่งเป็นคำฉันท์เพื่อแสดงฝีมือ

เรื่องที่ 7 ตัวละครในเรื่อง “สามัคคีเภทคำฉันท์”

• พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์แห่งแคว้นมคธ
• พระกุมารและกษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
• วัสสการพราหมณ์ ปุโรหิต ที่ปรึกษาของพระเจ้าอชาตศัตรู

เรื่องที่ 8 เนื้อเรื่องย่อ “สามัคคีเภทคำฉันท์”

พระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ มีพระประสงค์จะขยายอาณาจักรไปยังแคว้นวัชชีของเหล่ากษัตริย์ลิจฉวี แต่แคว้นวัชชีปกครองโดยยึดมั่นในหลักอปริหานิยธรรม ซึ่งเน้นความสามัคคีเป็นหลัก ทำให้การโจมตีไม่สามาถใช้กำลังได้เพียงอย่างเดียววัสสการพราหมณ์ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม ได้อาสาเป็นไส้ศึกไปยุยงเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีให้แตกความสามัคคี เริ่มแผนการโดยกราบทูลทัดทานการไปตีแคว้นวัชชี พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้งกริ้ว จึงทรงสั่งให้ลงโทษและเนรเทศวัสสการพราหมณ์วัสสการพราหมณ์เดินทางไปแคว้นวัชชีได้ใช้วาทศิลป์และเหตุผลโน้มน้าวใจทำให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีทรงหลงเชื่อ รับวัสสการพราหมณ์ไว้ในราชสำนัก ให้ทำหน้าที่พิจารณาคดีความและถวายพระอักษรเหล่าพระกุมาร โดยไม่รู้ว่าเป็นอุบายวัสสการพราหมณ์ได้ทำหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ จนเหล่ากษัตริย์ลิจฉวีไว้วางพระทัย ก็เริ่มแผนการโดยสร้างความคลางแคลงใจในหมู่พระกุมาร เหล่าพระกุมารนำความไปกราบทูลพระบิดาต่างก็ทรงเชื่อถือพระโอรสของพระองค์ ทำให้เกิดความขุ่นเคืองกันทั่วในหมู่กษัตริย์ลิจฉวี เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี ความสามัคคีก็ถูกทำลายสิ้นวัสสการพราหมณ์ทดสอบด้วยการตีกลองนัดประชุม ปรากฏว่าไม่มีกษัตริย์ลิจฉวีมาเข้าร่วมประชุมสักพระองค์ เมื่อมั่นใจว่าแผนการสำเร็จจึงลอบส่งข่าวไปยังพระเจ้าอชาตศัตรูให้ยกทัพมาตีแคว้นวัชชี เมื่อกองทัพแคว้นมคธมาถึงเมืองเวสาลี ชาวเมืองตื่นตระหนก แต่เพราะความทิฐิทำให้ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดออกมาป้องกันเมือง วัสสการพราหมณ์จึงเปิดประตูเมืองให้กองทัพมคธเข้ามายึดได้อย่างง่ายดาย

เรื่องที่ 9 ข้อคิดจาก “สามัคคีเภทคำฉันท์”

ข้อคิดสำคัญที่ได้จากเรื่อง คือ โทษของการแตกความสามัคคี นอกจากนั้นยังให้ข้อคิดในเรื่องการขาดการพิจารณาไตร่ตรองทำให้นำไปสู่ความสูญเสีย ดังเช่น เหล่ากษัตริย์ลิจฉวี

เรื่องที่ 10 “อปริหานิยธรรม” หลักสำคัญจาก “สามัคคีเภทคำฉันท์

“อปริหานิยธรรม 7 ประการ” หลักสำคัญที่ชาวแคว้นวัชชียึดมั่น ได้แก่• หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
• พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
• ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติเอาไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรมตามที่วางไว้เดิม
• ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งอันควรรับฟัง
• บรรดากุลสตรี กุลกุมารีทั้งหลายให้อยู่ดีโดยมิถูกข่มเหงหรือฉุดคร่าขืนใจ
• เคารพสักการะบูชาเจดีย์ของวัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยให้เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
• จัดให้ความอารักขา คุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย ตั้งใจว่าขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่ในแว่นแคว้นโดยผาสุกสามัคคีเภทคำฉันท์ ถือเป็นวรรณคดีที่ทันสมัยเรื่องหนึ่ง เพราะ “ความสามัคคี” มีความสำคัญในทุกสถานภาพ ทุกสภาพแวดล้อม และทุกองค์กร หากเรามีความสามัคคีแล้วนั้นปัญหาต่างๆ ก็จะลุล่วงไปได้ด้วยดีครูพี่โบว์ชอบเรียน ชอบสอนวรรณคดี เพราะนอกจากเนื้อหาที่เราได้เรียนรู้แล้วนั้น เรายังได้วิเคราะห์ตัวละครในแง่มุมต่างๆ เช่น ในวรรณคดีเรื่องนี้ตัวละครที่โดดเด่น คือ วัสสการพราหมณ์ เป็นตัวละครที่ฉลาดหลักแหลมบางคนมองว่าเป็นตัวร้าย ตัวโกง แต่หากเรามองอีกมุมหนึ่ง ตัวละครตัวนี้มีความเสียสละและจงรักภักดี เพราะยอมทั้งถูกทำโทษ ถูกเนรเทศ เพื่อให้บรรลุพระประสงค์ของพระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์ของตนในหนังสือวรรณคดีวิจักษ์ยังมีวรรณคดีที่น่าเรียนอีกหลายเรื่องนะคะ ในบทความหน้าครูพี่โบว์จะมีเกร็ดความรู้เรื่องอะไรมาบอกต่อกันนั้น น้องๆ อย่าลืมติดตามกันนะคะ

บทความแนะนำ

  • เทคนิคการทำข้อสอบ GAT เชื่อมโยง ตอน 2 – สัญลักษณ์แบบที่ 2
  • วรรณคดี กับ วรรณกรรม แตกต่างกันอย่างไร ?
  • เทคนิคพิชิต GAT เชื่อมโยง 150 คะแนนเต็ม (ตอนที่ 1)
  • ประมวลภาพพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันพระฤกษ์บรมราชาภิเษก 4 พ.ค. 62
  • คำราชาศัพท์ที่มักออกข้อสอบ ออกชัวร์ ออกทุกปี – สรุปเทคนิคการจำ