สวนหย่อมที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยสนามหญ้าไม่น้อยกว่า 10%

เป็นการสํารวจหาข้อมูลของสถานที่ให้มากที่สุด ผู้ออกแบบจะต้องศึกษาสภาพภูมิประเทศของสถานที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ควรทราบ คือ

1.1 สภาพภูมิอากาศ บริเวณนั้นมีอากาศร้อนหนาว แห้งแล้ง ชื้น มากน้อยเพียงใด ข้อมูลที่ได้จะทําให้สามารถเลือกใช้พรรณไม้ได้ถูกต้อง นอกจากนี้
บริเวณดังกล่าวส่วนไหนจะได้รับแสงสว่างมากน้อยอย่างไร ฝนตกชุกหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลในเรื่องการระบายนํ้าจากพื้นที่ ทิศทางลมเป็นอย่างไร ลมพัด
แรงจนทําให้พรรณไม้เสียหายหรือไม่

1.2 บริเวณพื้นที่ สภาพดินเป็นอย่างไร เป็นกรด ด่าง ดินเหนียว ดินร่วน หรือดินปนทราย ลักษณะพื้นที่สูงตํ่ามากน้อย จะต้องถมดินตรงไหน ขนาดของ
พื้นที่กว้างยาวเท่าไร อยู่บริเวณไหนของบ้าน

1.3 ทิศ ทิศเหนืออยู่ทางไหน การรู้ทิศจะช่วยให้ทราบเรื่องแสงสว่างและทิศทางลม ซึ่งส่งผลในการกําหนดพรรณไม้และสิ่งอื่น ๆ

1.4 สิ่งก่อสร้าง ลักษณะอาคาร รวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ในบริเวณนั้นเป็นลักษณะใด เพราะการออกแบบจัดสวนจะต้องให้กลมกลืน และเสริมให้อาคาร
สถานที่นั้นสวยงามเด่นสง่า รวมทั้งเกิดประโยชน์ใช้สอยอย่างเต็มที่

1.5 พรรณไม้เดิม มีมากน้อยอยู่ในตําแหน่งใด รวมทั้งชนิดของพรรณไม้นั้น ๆ ในการสํารวจสถานที่ ผู้ออกแบบอาจจะเขียนแปลนคร่าว ๆ โดยรวมว่าตัว
อาคาร บ้านและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ตั้งอยู่อย่างไรในบริเวณที่จะจัดสวน เพราะการจัดจะต้องมีความกลมกลืน
ระหว่างสวนกับบ้าน อาคารและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย ข้อมูลที่ได้จากการ สํารวจสถานที่จะนํามา หาความสัมพันธ์จากภายนอกสู่ภายใน และจากภายใน
อาคารสู่ภายนอก หาจุดเด่นในสวน ที่ภายในจะมองออกมาได้ชื่นชมความงามของสวน

2. สัมภาษณ์เจ้าของสถานที่ (client analysis)

เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับความชอบ รสนิยม รวมทั้งงานอดิเรกต่าง ๆ ของสมาชิกในครอบครัว หรือสถานที่นั้น ๆ ข้อมูลที่ได้จะโดยการสอบถาม สังเกต รวมทั้ง
การพิจารณาจากสภาพทั่ว ๆ ไป เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับ

ลักษณะของสวน ชอบสวนแบบใด เป็นสวนธรรมชาติ สวนญี่ปุ่น หรือสวนนํ้า เป็นต้น
เวลาที่จะใช้ในการดูแลรักษาสวน มีมากน้อยเพียงใด เจ้าของบ้านชอบการทําสวนหรือไม่
สมาชิกในครอบครัวมีจํานวนเท่าใด เพศหญิง/ชาย เด็ก/ผู้ใหญ่ ต้องการทําที่เล่น สําหรับเด็กหรือไม่ สมาชิกในครอบครัวชอบเล่นกีฬา ทําสวน ทําอาหาร
นอกบ้านฯลฯ
ต้องการมุมสงบ เพื่อใช้พักผ่อนหรือไม่
แนวโน้มในอนาคตต้องการจะเปลี่ยนแปลงสถานที่เหล่านี้อย่างไร
รสนิยมเรื่องสี และวัสดุอื่น ๆ เป็นอย่างไร
ความชอบเรื่องพรรณไม้ ในเรื่องของดอก สีดอกเป็นอย่างไร
งบประมาณที่จะใช้จัดสวนประมาณเท่าใด ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์จะทําให้รู้ถึงความต้องการของเจ้าของ
3. วิเคราะห์ข้อมูล (data analysis)

จากการสํารวจสถานที่และสัมภาษณ์ข้อมูลต่าง ๆ จากเจ้าของแล้ว นําข้อมูลทั้งหมดมาแยกเป็นส่วน ๆ จัดเรียงลําดับความสําคัญ จากมากไปหาน้อย
ข้อมูลความต้องการของเจ้าของอาจจะมีมากกว่างบประมาณ หรือไม่สัมพันธ์กับ แบบของสวน ก็อาจจะต้องเลือก สิ่งที่จําเป็นก่อน สิ่งใดที่มี ความจําเป็นน้อย
หรือใช้สิ่งอื่นที่จําเป็นกว่าทดแทนได้ก็ตัดทิ้งไป ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จะช่วยให้การจัดสวน ตอบสนองความต้องการประโยชน์ใช้สอยของเจ้าของ แต่ในเรื่อง
ความสวยงามจะเป็นหน้าที่ที่ ผู้ออกแบบ จะต้องเลือก ชนิดของพรรณไม้และองค์ประกอบอื่น ๆ ให้สัมพันธ์กันเช่น ในครอบครัว มีคนชราซึ่งต้องการที่พัก
ผ่อนเดินเล่น ก็จะต้องจัดสวน ให้มีทางเดินเท้าไปสู่จุดพักผ่อน มีสนามหญ้าให้ความสดชื่น หากมีเด็กเล็กก็ต้องการพื้นที่เล่นภายนอก ก็อาจจะต้องมีบ่อทราย
ชิงช้า ไว้บริเวณ ใกล้บ้านและหากต้องการแปลงไม้ดอก แปลงพืชผักสวนครัว ก็จะต้องหาจุดที่ตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ ในเรื่องงบประมาณหาก
วิเคราะห์ข้อมูลคร่าว ๆ แล้วจะเกินงบประมาณ ที่วางไว้ ก็อาจจะต้องหาสิ่งอื่นทดแทน ตามความเหมาะสม

4.. ใช้วงกลมในการออกแบบ (balloon diagram)

เมื่อทําการวิเคราะห์ข้อมูลเรียงลําดับความสําคัญจากมากไปหาน้อยแล้ว เลือกเอาส่วนที่จําเป็นต้องมีภายในสวน ให้แต่ละส่วน เป็นวงกลม 1 วง นําเอาวง
กลมเหล่านั้นวางลงในแปลน เพื่อหา ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน ของวงกลม แต่ละวง ระหว่างวงกลมกับตัวบ้าน ดูความ เหมาะสมและประโยชน์ใช้สอย
ในแบบแปลนนั้น ๆ

สวนหย่อมที่สมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยสนามหญ้าไม่น้อยกว่า 10%

 

5. เขียนแปลน (plan)

แปลน หมายถึง ลักษณะรูปร่างของสถานที่หรือสิ่งของนั้น ๆ โดยมองจากเบื้องบนลงมา (top view) แปลนสามารถบอก รายละเอียด เกี่ยวกับที่ตั้ง ทิศทาง
และขนาดของสิ่งต่าง ๆ ภายในแปลนทั้งหมด โดยทั่วไปแล้ว แปลนจะแบ่งออกได้หลายชนิด ตามความเหมาะสม คือ

5.1 มาสเตอร์แปลน (master plan) เป็นแปลนที่สมบูรณ์ แสดงส่วนต่าง ๆ ทั้งหมด ในพื้นที่กว้างใหญ่ อาจจะมีเนื้อที่เป็นร้อย ๆ ไร่ก็ได้ มาตราส่วนที่ใช้
ในมาสเตอร์แปลนใช้ 1:2000

5.2 ไซท์แปลน (site plan) อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของมาสเตอร์แปลนเนื่องจาก มาสเตอร์แพลนมีขนาดใหญ่มาก ทําให้ขาดรายละเอียดต่าง ๆ ที่เล็กเกิน
กว่าจะเขียนลงในมาสเตอร์แปลน ดังนั้นการเขียนไซท์แปลน จะเป็น การขยายบางส่วนของมาสเตอร์แปลนนั้น ๆ หรืออาจจะเป็นมาสเตอร์แปลนเองก็ได้
หากขนาดพื้นที่ไม่ใหญ่มากนัก

5.3 ดีเทลแปลน (detail paln) จะใช้ขยายบางส่วนจากไซท์แปลน เพื่อให้เห็นรายละเอียดชัดเจนยิ่งขึ้น การเขียนแบบจะใช้มาตราส่วน 1:20, 1:50, 1:75
หรือ 1:100 และถ้าพื้นที่มีขนาดเล็กดีเทลแปลน ก็อาจจะเป็น มาสเตอร์แปลน ในพื้นที่นั้นเลยก็ได้ เช่น สนามเด็กเล็กในมุมหนึ่งของสวนสาธารณะ สวน
บริเวณสามแยกเหล่านี้ เป็นต้น

5.4 สกีมาติคแปลน (schematic plan) เป็นแผนผังแสดงทิศทางการสัญจรและทาง เดิน หรือ ความสัมพันธ์ ระหว่าง จุดต่าง ๆ ในแปลน

5.5 คอนสตรัคชั่นแปลน (construction plan) แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องวัสดุต่าง ๆ ขนาดโครงสร้าง และ สิ่งอื่น ๆ ที่จําเป็น