การวินิจฉัยชุมชน 5 ขั้นตอน

ผู้แต่ง

  • อารีย์รัตน์ เปสูงเนิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
  • นฤมล เปรมาสวัสดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา, การวินิจฉัยชุมชน, วิธีของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลขั้นต้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

บทคัดย่อ

วิธีจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่งของ กระบวนการวินิจฉัยชุมชน  ทั้งนี้ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลขั้นต้น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา  ได้จัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเรื่อง วิธีจัดลำดับความสำคัญของปัญหา สำหรับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4  เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานในชุมชน  แต่ในระหว่างการฝึกปฏิบัติงานพบว่านักศึกษาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาได้ยากเมื่อปัญหาแต่ละปัญหามีคะแนนใกล้เคียงกัน ซึ่งทำให้ถูกจัดอยู่ในลำดับเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นระหว่างที่มีการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ในแหล่งฝึกพบว่านักศึกษาไม่สามารถเก็บข้อมูลเพื่อประกอบการวินิจฉัยชุมชนได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นภาควิชาฯ จึงได้ปรับแผนการฝึกโดยจัดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในชุมชนที่มีขนาดเล็กลง  และพัฒนารูปแบบการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยใช้ชื่อว่า  วิธีจัดลำดับความสำคัญของปัญหาของภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและการรักษาพยาบาลขั้นต้น  วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ซึ่งเน้นการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเอง วิธีนี้สามารถใช้ในชุมชนที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก  จึงเหมาะสำหรับนักศึกษาพยาบาลและพยาบาลพี่เลี้ยงเมื่อฝึกปฏิบัติงานด้านการวินิจฉัยชุมชน  บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณา 4 เกณฑ์คือ คือ  1.ขนาดของปัญหา 2.ความรุนแรงของปัญหา 3.ความยากง่ายต่อการแก้ปัญหา  และ 4.ความตระหนักในการแก้ปัญหาของประชาชน 

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณิชชาภัทร ขันสาคร. (2561). การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสุขภาพชุมชน. วารสารสุขศึกษา, 41(2), 1-18.

เดชา ทําดี, และวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์. (2555). การวินิจฉัยชุมชนและการจัดลําดับความสําคัญของปัญหา. ใน ศิวพร อึ้งวัฒนา, และพรพรรณ ทรัพย์ไพบูลย์กิจ (บรรณาธิการ), การพยาบาลชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 1, น. 89-104). เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นท์ติ้ง จำกัด.

เดชา ทำดี, วชิระ สุริยะวงศ์, และนพมาศ ศรีเพชรวรรณดี. (2563). กระบวนการพยาบาลชุมชน: การวินิจฉัยปัญหาสุขภาพชุมชนและการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา. ใน ศิวพร อึ้งวัฒนา, และกัลยาณี ตันตรานนท์ (บรรณาธิการ), แนวคิดและหลักการพยาบาลชุมชน (น. 215-240). เชียงใหม่: สมาร์ทโคตติ้งแอนเซอร์วิส.

บุญชัย ภาละกาล. (2557). การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ในกระบวนการดำเนินงานอนามัยชุมชน บทเรียนในการนำทฤษฎีสู่การฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลในชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(1), 1-11.

พรฤดี นิธิรัตน์, และสายใจ จารุจิตร. (2559). กระบวนการพยาบาลกับการดูแลสุขภาพชุมชน. นนทบุรี: ธนาเพลสจำกัด.

ภาควิชาบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2539). การวางแผนงาน/โครงการสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารสาธารณสุข.

ศิวพร อึ้งวัฒนา. (2560). การพยาบาลชุมชน : กระบวนการพยาบาล. เชียงใหม่: สิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์สมาร์ทโคตติ้งแอนด์เซอร์วิส.

Boxmeer, N., & Thesenvitz, J. N. (2010). Priority Setting Process Checklist (PSPC). Retrieved from https://www.publichealthontario.ca/-/media/documents/P/2014/priority-setting-process.pdf

Issel, L. M., & Wells, R. (2018). Health program planning and evaluation: A practical, systematic approach for community health (4th ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett Learning.

Sousa, F. A. M. R., Goulart, M. J. G., Braga, A. M. S., Medeiros, C. M. O., Rego, D. C. M., Vieira, F. G., . . . Loura, M. M. P. (2017). Setting health priorities in a community: A case example. Rev Saude Publica, 51(11), 1-9.

License

Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล

การวินิจฉัยชุมชน 5 ขั้นตอน

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา 

ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

การวินิจฉัยชุมชนมีอะไรบ้าง

ชุมชน การเตรียมการดำเนินงานอนามัยชุมชน 4. กระบวนการวินิจฉัยชุมชน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ ข้อมูล การแจกแจงปัญหาอนามัยชุมชน การวางแผนงาน/โครงการ การดำเนินงานตามการวางแผนงาน/ โครงการ และการประเมินผลแผนงาน/โครงการ วัตถุประสงค์ทั่วไป

การประเมินชุมชน มีกี่ขั้นตอน

1. วางแผนการประเมินความต้องการของชุมชน 2. ทบทวนและกำหนดเกณฑ์การให้้คะแนนข้อมูลที่เก็บได้จากกระบวนการประเมินความต้องการชุมชน 3. สรุปผลข้อมูล 4. ระบุสิ่งที่ต้องการปรับปรุง 5. พัฒนาแผนปฏิบัติการชุมชน

การวินิจฉัยชุมชนหมายถึงอะไร

การวินิจฉัยชุมชน คือ กระบวนการเขาสูชุมชน เพื่อศึกษาสภาพปญหาสาธารณสุขของชุมชนนั้นอยาง เปนระบบ เพื่อใหไดคําตอบสําหรับการดําเนินงานขั้นตอไป ความจําเปนที่ตองมีการวินิจฉัยชุมชน

การวินิจฉัยปัญหาชุมชนเทียบจากเกณฑ์อะไรบ้าง

➢ ข้อมูลด้านประชากร เพศ, อายุ, การศึกษา, อาชีพ, รายได้ ▪ ที่ตั้งชุมชน ▪ สังคม ▪ โครงสร้างประชากร ▪ สภาพแวดล้อมของชุมชน ข้อมูลด้านสุขภาพอนามัย ➢ อัตราเกิด, อัตราตาย ➢ การเกิดโรคในชุมชน ➢ ความพิการ ➢ แบบแผนการเกิดโรค ความเจ็บป่วยในชุมชน