28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

133 บทที่ 2 | อะตอมและสมบัติของธาตุ เคมีเล่ม 1 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7. กำ�หนดเลขอะตอมของ Mg = 12 Cl = 17 Ar = 18 K = 19 Ni = 28 จงเขียนการ จัดเรียงอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อยของ K Ar Mg 2+ Cl - Ni และ Ni + K จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 1 Ar จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 Mg 2+ จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s 2 2s 2 2p 6 Cl - จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 Ni จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 2 3d 8 หรือ 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 3d 8 4s 2 Ni + จัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 1 3d 8 หรือ 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 3d 8 4s 1 8. กำ�หนดธาตุ 5 ธาตุ ซึ่งมีเลขอะตอมเท่ากับ 12 20 23 30 และ 36 8.1 มีธาตุแทรนซิซันทั้งหมดกี่ธาตุ การจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุทั้ง 5 ธาตุเป็นดังนี้ ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 12 คือ 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 20 คือ 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 2 ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 23 คือ 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 2 3d 3 ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 30 คือ 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 2 3d 10 ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 36 คือ 1s 2 2s 2 2p 6 3s 2 3p 6 4s 2 3d 10 4p 6 จะเห็นว่าธาตุที่มีเลขอะตอม 23 และ 30 มีการบรรจุอิเล็กตรอนตัวสุดท้ายใน d orbital ดังนั้นจึงมีธาตุแทรนซิชัน 2 ธาตุ 8.2 ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่าใดจัดอยู่ในกลุ่มของแก๊สมีสกุล ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 36 มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนเป็น 2 8 18 8 ซึ่งอยู่ในหมู่ 18 หรือ VIIIA จึงเป็นแก๊สมีสกุล

Made with FlippingBook

RkJQdWJsaXNoZXIy NzMxODQ4

อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบ ๆ นิวเคลียสนั้น เราไม่สามารถกำหนดตำแหน่ง ความเร็ว ทิศทางหรือวิถีโคจรได้ แต่เราสามารถคำนวณหาโอกาสที่จะพบอิเล็กตรอนอนุภาคใดอนุภาคหนึ่งขณะใดขณะหนึ่งที่ตำแหน่งต่าง ๆ และศึกษาคุณสมบัติของอิเล็กตรอนได้โดยอาศัยกฎของไฮเซนเบอร์ก (Heisenberg) และสมการคลื่นของโชรดิงเจอร์ (Schroedinger) ขอบเขตที่เราสามารถพบอิเล็กตรอน อนุภาคใดอนุภาคหนึ่ง ในเวลาใดเวลาหนึ่ง เรียกว่าออร์บิทัล (orbital)หรือ หมอกอิเล็กตรอน (electron cloud) กลุ่มของออร์บิทัลที่มีระดับพลังงานเท่ากัน เรียกว่าเชลล์ย่อย (subshell)และกลุ่มของเซลล์ย่อย เรียกว่า เชลล์( shell ) ขนาดและรูปร่างของออร์บิทัลจะขึ้นอยู่กับสภาพพลังงานของอิเล็กตรอนอนุภคนั้น ๆ อิเล็กตรอนที่มีระดับพลังงานต่ำจะมีออร์บิทัลอยู่ใกล้นิวเคลียส อิเล็กตรอนที่มีระดับพลังงานสูงขึ้นจะอยู่ห่างจากนิวเคลียสเป็นระยะทางเพิ่มขึ้น และพบว่าพลังงานของอิเล็กตรอนมีค่าห่างกันเป็นช่วงคงที่ (quantized) เช่น ให้ E1หรือ E2เป็นระดับพลังงานสองระดับที่อยู่ถัดกัน พบว่าอิเล็กตรอนจะอยู่ในระดับพลังงาน E1หรือ E2แต่จะไม่อยู่ระหว่าง E1และ E2เลย ไม่ว่าขณะใด อันนี้เป็นทฤษฎีควอนตัม (quantum theory) ซึ่งใช้เลขควอนตัม (quantum number) สี่ชนิดเพื่อกำหนดพลังงานของอิเล็กตรอนในอะตอม ดังนี้

1. เลขควอนตัมหลัก (the principle quantum number)ใช้กำหนดระดับพลังงานของอิเล็กตรอนในเซลล์ต่าง ๆ ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย n ซึ่งมีค่าเป็น 1,2,3,... เมื่อเปรียบเทียบกับเชลล์อิเล็กตรอนในทฤษฎีของบอห์ร (Bohr) จะเห็นได้ว่า n = 1 คือ เชลล์ K n = 2 คือเชลล์ L และ n = 3 คือเชลล์ M เป็นต้น อิเล็กตรอนในแต่ละเชลล์จะมีจำนวนไม่เกิน 2n2อนุภาค เช่น n = 1,2,3,4 จะมีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 2 , 8, 18 และ 32 อนุภาค ตามลำดับ

2. เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม (The angular-momentum quantum number)ใช้กำหนดโมเมนตัมเชิงมุมของอิเล็กตรอน ซึ่งจะบอกรูปร่างของออร์บิทัลหรือหมอกอิเล็กตรอนนั้น ๆ ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย และ มีค่าเป็นเลขจำนวนเต็มขึ้นกับค่า n คทิมีค่าตั้งแต่ 0,1,2,3,...ถึง(n - 1) เช่นเมื่อ n=1 จะมีค่าเท่ากับ 0 ออร์บิทัลย่อยนี้เรียกว่าออร์บิทัล 1s มีรูปร่างเป็นทรงกลมสมมาตรรอบนิวเคลียส ถ้า n = 2 จะมีค่าเป็น 0 และ 1 เรียกว่าออร์บิทัล 2s มีรูปร่างเป็นทรงกลม แต่มีรัศมีใหญ่กว่าออร์บิทัล 1s และมีบริเวณที่เกือบจะไม่มีโอกาสพบอิเล็กตรอน 2s อยู่ระหว่างออร์บิทัล 1s และ 2s เรียกบริเวณนี้ว่า บริเวณโนดัล(nodal surface) และเมื่อ n = 2 เรียกว่าออร์บิทัล p ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับลูกตุ้มยกน้ำหนัก(dumb-bell) ดูรูป

ตาราง 1- 2แสดงความสัมพันธ์ระหว่างค่า n ค่า และชื่อของเชลล์ย่อย

nสัญลักษณ์ของเชลล์ย่อย

1
2

3

4

0
0
1
0
1
2
0
1
2
3

1s
2s
2p
3s
3p
3d
4s
4p
4d
4f

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

ออร์บิทัล 1sรูปที่ 1 - 2แสดงรูปร่างออร์บิทัล S
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
2pz2px2py
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
dx2dxydyz
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
dxzdx2- y2รูปที่ 1-3แสดงรูปร่างออร์บิทัล p และ d2

3. เลขควอนตัมแม่เหล็ก (The magnetic quantum number)ใช้กำหนดทิศทางอิเล็กตรอนของออร์บิทัลย่อยในเชลล์ย่อยต่าง ๆ หรือเป็นตัวกำหนดโมเมนตัมเชิงมุมในสนามแม่เหล็ก ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย m ค่า m ขึ้นอยู่กับค่า คือมีค่าตั้งแต่ 0 , +1, -1, +2, -2, ... ถึง +, -ดังนั้น

เชลล์ย่อย s จะมี m ได้เพียงค่าเดียวคือ 0

เชลล์ย่อย p จะมี m ได้ 3 ค่า คือ 0 , +1, -1

เชลล์ย่อย d จะมี m ได้ 5 ค่า คือ 0, +1, -1, +2, -2

เชลล์ย่อย f จะมี m ได้ 7 ค่า คือ 0, +1, -1, +2, -2, +3, -3

ตัวอย่างเช่น เมื่อ n = 2 และ= 1 m อาจจะมีค่า – 1, 0 และ 1 นั่นคือ ออร์บิทัล 2 p ซึ่งมีได้สามทิศทางตั้งฉากซึ่งกันและกันในแนวแกน x,y และ z ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย PX, PYและ PZดูที่รูป 1-3 เมื่อ n = 3 และ= 2 m อาจจะมีค่า – 2 , -1, 0, 1 และ 2 ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย dxy, dyzdzx,,และ เป็นต้น

4. เลขควอนตัมสปิน (The spin quantum number)ใช้กำหนดทิศทางการหมุนเวียนของอิเล็กตรอนว่าอยู่ในทิศทางที่เสริมหรือสวนกับสนามแม่เหล็ก ใช้สัญลักษณ์แทนด้วย s ค่าของ s มี 2 ค่า คือ +1/2 และ – 1/2 อิเล็กตรอนที่มีระดับพลังงานที่มีเลขควอนตัม n,และ m เหมือนกัน คืออยู่ในออร์บิทัลย่อยอันเดียวกัน จะมีอิเล็กตรอนได้เพียง 2 อนุภาค ซึ่งหมุนตรงข้ามกัน

สรุปแล้วมีเลขควอนตัมอยู่สี่ชนิด ที่เกี่ยวข้องกับทางโคจรและระดับพลังงานของอิเล็กตรอน ภาวะปกติระดับพลังงานของอิเล็กตรอนย่อมขึ้นกับค่าเลขควอนตัม n เท่านั้น คือ ระดับพลังงานเป็นอนุกรมดังนี้ 1s<2s=2p<3s=3p=3d<4s=4p=4d=4f< แต่ถ้ามีสนามแม่เหล็กหรือสนามไฟฟ้า ระดับพลังงานของเชลล์ย่อย s, p, d และ f ในแต่ละเชลล์จึงไม่เท่ากัน


Return to contents

กฎการจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัล

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในออร์บิทัลต่าง ๆ ของอะตอมในสภาพพื้น (ground state) ซึ่งหมายถึงสภาพปกติของอิเล็กตรอนที่มีระดับพลังงานอยู่ต่ำที่สุด มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. หลักของอูฟ์บอ (Aufbau Principle)มีใจความว่า อิเล็กตรอนจะบรรจุเข้าในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำสุดก่อน คือ เรียงลำดับจากพลังงานน้อยไปหามาก ตามรูป 1-4 ดังนี้ 1 s<2s<2p<3s<3p<4s<3d<4p<5s<4d<5p<6s<4f<5d<6p<7s<5f<6d

2. หลักการกีดกันของเพาลิ (Pauli's Exclusion Principle)กล่าวว่า ในแต่ละออร์บิทัลจะมีอิเล็กตรอนได้ไม่เกิน 2 อนุภาค และอิเล็กตรอนทั้งสองอนุภาคนี้จะต้องหมุนตรงข้ามกัน

3. กฏของฮุนด์ ( Hund's Rule )กล่าวว่า อิเล็กตรอนจะไม่เข้าไปเรียงคู่ในออร์บิทัลของเชลล์ย่อยใดเชลล์ย่อยหนึ่ง จนกระทั่งเมื่อทุกออร์บิทัลในเชลล์ย่อยมีอิเล็กตรอนอยู่อย่างน้อยที่สุดออร์บิทัล 1 อนุภาค หรือกล่าวได้ว่าถ้าระดับพลังงานเท่ากันในเชลล์ย่อย p, d และ f ซึ่งมีทางดคจรต่างกันตามค่าของควอนตัม m อิเล็กตรอน จะเรียงเดี่ยวและมีสปินเหมือนกันก่อน

การบรรจุอิเล็กตรอนในออร์บิทัลเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์หรือส่วนอิเล็กตรอนจะใช้แทนลูกศรเช่น สำหรับสปินลง ดังนั้นออร์บิทัลที่มีอิเล็กตรอนอยู่เต็มจะเขียนแทน ด้วย ถ้าอิเล็กตรอนเรียงเดี่ยว นิยมเขียนสปินขึ้น ดังแสดงในตาราง 1-3 นอกจากนี้ยังใช้ตัวเลขแสดงจำนวนอิเล็กตรอนในออร์บิทัลโดยเขียนไว้ด้านบน สัญลักษณ์ออร์บิทัลเยื้องมาทางด้านหลัง การกระจายอิเล็กตรอนของธาตุต่าง ๆ แสดงในตาราง 1-4

ปกติทางเคมีอินทรีย์ไม่ค่อยสนใจบรรดาธาตุทั้งหลายมากนัก เพราะพื้นฐานทางเคมีอินทรีย์เกี่ยวข้องกับอะตอมของธาตุที่มีเลขอะตอมน้อยกว่า 18 เป็นส่วนใหญ่ อะตอมของธาตุเหล่านี้มีอิเล็กตรอนอยู่ในออร์บิทัลที่มีพลังงานต่ำ และมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนอย่างง่าย

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

1. อิเล็กตรอนที่วิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียสนั้น จะอยู่กันเป็นชั้นๆตามระดับพลังงาน ระดับพลังงานที่อยู่ใกล้นิวเคลียสที่สุด (ชั้น K)จะมีพลังงานต่ำที่สุด และอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นถัดออกมาจะมีพลังงานสูงขี้นๆตามลำดับ
พลังงานของอิเล็กตรอนของระดับชั้นพลังงาน K < L < M < N < O < P < Q
หรือชั้นที่ 1< 2 < 3 <4 < 5 < 6 < 7

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

2. ในแต่ละชั้นของระดับพลังงาน จะมีจำนวนอิเล็กตรอนได้ ไม่เกิน 2n2เมื่อ n = เลขชั้น
เลขชั้นของชั้น K=1,L=2,M=3,N=4,O=5,P=6 และ Q=7

ตัวอย่างจำนวน e-ในระดับพลังงานชั้น K มีได้ ไม่เกิน 2n2= 2 x 12= 2x1 = 2
จำนวน e-ในระดับพลังงานชั้น N มีได้ ไม่เกิน 2n2= 2 x 42= 2x16 = 32

3. ในแต่ละระดับชั้นพลังงาน จะมีระดับพลังงานชั้นย่อยได้ ไม่เกิน 4 ชั้นย่อย และมีชื่อเรียกชั้นย่อย ดังนี้ s , p , d , f

ในแต่ละชั้นย่อย จะมีจำนวน e-ได้ ไม่เกิน ดังนี้
ระดับพลังงานชั้นย่อย s มี e-ได้ ไม่เกิน 2 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย p มี e-ได้ ไม่เกิน 6 ตัวระดับพลังงานชั้นย่อย d มี e-ได้ ไม่เกิน 10 ตัว ระดับพลังงานชั้นย่อย f มี e-ได้ ไม่เกิน 14 ตัว
เขียนเป็น s2p6d10f14

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

วิธีการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

จัดเรียงอิเล็กตรอนตามลูกศร

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

การจัดเรียงอิเล็กตรอน ให้จัดเรียง e- ในระดับพลังงานชั้นย่อยโดยจัดเรียงลำดับตามลูกศร(แนวทางการจัดเรียงอิเล็กตรอน ให้เขียนแผนผังก่อน ดังรูป

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

แล้วเขียนลูกศรให้ถูกต้อง ดังรูป

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

ตัวอย่างจงจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ คัลเซียม ( Ca )

ธาตุ Ca มีเลขอะตอม = 20 แสดงว่ามี p = 20 และมี e- = 20 ตัว (ดูเลขอะตอม จากตารางธาตุ)
แล้วจัดเรียง e- ดังนี้

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

การจัดเรียง e- ของธาตุ Ca = 2 , 8 , 8 , 2
มีแผนผังการจัดเรียง e- ดังนี้Ca มีจำนวน e- ในระดับพลังงานชั้นนอกสุด = 2 ตัว
จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุด เรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน (Valence electron) ดังนั้น Ca มีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 2

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

ตัวอย่าง จงจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุ โบรมีน ( Br )

ธาตุโบรมีน(Br) มีเลขอะตอม = 35 แสดงว่า โบรมีน(Br) มีอิเล็กตรอน = 35 ตัว มีการจัดเรียงอิเล็กตอน เป็นดังนี้

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

ตอบธาตุ Br มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน Br = 2,8,18,7 และมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน = 7


Return to contents

ทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุล

เป็นอีกหนึ่งทฤษฎีที่ใช้อธิบายการเกิดพันธะโควาเลนต์ ตามทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุล ถือว่าอะตอมทุกอะตอมในโมเลกุลอยู่รวมกันเปรียบเสมือนหนึ่งเป็นนิวเคลียสที่มีประจุบวกชุดหนึ่ง และมีอิเล็กตรอนอยู่ในออร์บิทัลโมเลกุลชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นของโมเลกุลทั้งโมเลกุล โดยไม่มีการแยกว่าออร์บิทัลโมเลกุลใดเป็นของอะตอมใด การบรรจุอิเล็กตรอนเข้าไปในออร์บิทัลโมเลกุลต่าง ๆ ก็เป็นไปตามหลักของอูฟ์บอ กฎของฮุนด์ และหลักการกีดกันของเพาลิ การรวมออร์บิทัลอะตอมเป็นออร์บิทัลโมเลกุล ใช้วิธีรวมฟังก์ชันเคลื่อนของแต่ละออร์บิทัลอะตอม ตามวิธีการรวมออร์บิทัลอะตอม เชิงเส้นตรง (Linear combination of atomatic orbital) ออร์บิทัลโมเลกุลที่ได้จะมีจำนวนเท่ากับออร์บิทัลอะตอมที่เข้ารวมกัน ดังนั้น ถ้ารวมออร์บิทัลอะตอมสองออร์บิทัลอะตอม ก็จะได้ออร์บิทัลโมเลกุลสองออร์บิทัลที่มีพลังงานไม่เท่ากัน ออร์บิทัลโมเลกุลที่มีพลังงานต่ำ เรียกว่าออร์บิทัลโมเลกุลชนิดบอนดิง(bonding molecular orbital) ซึ่งอิเล็กตรอนส่วนใหญ่จะพบอยู่ระหว่างนิวเคลียสทั้งสอง ส่วนออร์บิทัลโมเลกุลที่มีพลังงานสูงเรียกว่าออร์บิทัลโมเลกุลชนิดแอนติบอนดิง(antibonding molecular orbital) ซึ่งจะไม่ค่อยพบอิเล็กตรอนอยู่ระหว่างนิวเคลียสทั้งสอง

ทฤษฎีพันธะวาเลนซ์สามารถใช้คาดคะเนรูปทรงเลขาคณิตของโมเลกุลได้ดี ส่วนทฤษฎีออร์บิทัลโมเลกุลชึคำนวณพลังงานที่เกี่ยวข้อง และใช้คาดคะเนสมบัติทางแม่เหล็กของโมเลกุลได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองทฤษฎีต่างไม่สมบูรณ์แบบ และการพิจารณาทฤษฎีทั้งสองนี้ให้ละเอียดถี่ถ้วนเป็นเรื่องยุ่งยาก

พันธะโควาเลนท์ คือพันธะที่เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน ระหว่างอะตอม ตัวอย่าง เช่น ไฮโดรเจนมีเลขอะตอม 1 อิเล็กตรอนตัวเดียวอยู่ในออร์บิทัล 1 s ซึ่งเป็นอิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวคอยจับคู่กับอิเล็กตรอนของอะตอมอื่น ถ้าไฮโดรเจนสองอะตอมเข้าใกล้กันในระยะที่ออร์บิทัล 1s เกยเชื่อมกัน อิเล็กตรอนของอะตอมทั้งสองเข้าคู่กัน ทำให้ออร์บิทัลของอะตอมทั้งสองแปรสภาพของออร์บิทัลโมเลกุล (molecular orbital) เกิดพันธะโควาเลนท์ขึ้นระหว่างไฮโดรเจนสองอะตอม ความยาวพันธะเท่ากัน 74 pm หรือ 0.74 อังสตรอม ดังรูป 1-8 ปรากฏการณ์นี้ ทำให้พลังงานของไฮโดรเจนลดลง เป็นผลให้โมเลกุลของไฮดรเจนอยู่ตัว ดังนั้นสภาวะปกติไฮโดรเจนอยู่ตัว ดังนั้นสภาวะแปกติไฮโดรเจนจะอยู่ในสภาพโมเลกุล

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

รูปที่ 1-8แสดงการรวมออร์บิทัลอะตอมของไฮโดรเจนสองอะตอมเป็นออร์บิทัลโมเลกุลของไฮโดรเจน

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

รูปที่ 1-9แสดงระดับพลังงานระหว่างนิวเคลียสทั้งสองของอะตอมไฮโดรเจน

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

รูปที่ 1-10แสดงออรฺบิทัลโมเลกุลของไฮโดรเจน ชนิดบอนดิง และชนิดแอนติบอนดิง

ออร์บิทัลโมเลกุล คือ ขอบเขตในที่ว่างเปล่าที่กำหนดรูปร่างและขนาดโดยออร์บิทัลอะตอมที่รวมกันสองหรือมากกว่าสองอะตอมในโมเลกุล และบรรจุอิเล็กตรอนได้ 2 อนุภาค ออร์บิทัลโมเลกุลเกิดการซ้อนทับ (overlap) ของออร์บิทัลอะตอมสองหรือมากกว่าสองอะตอม การซ้อนทับเป็นพจน์ที่ใช้เมื่อ ส่วนของออร์บิทัลอะตอมครอบครองพื้นที่อันเดียวกันในที่ว่างเปล่า ถ้าระดับพลังงานของออร์บิทัลโมเลกุลต่ำ ( อยู่ตัวมาก ) กว่าออร์บิทัลอะตอม ออร์บิทัลโมเลกุลจะเป็นออร์บิทัลโมเลกุลชนิดบอนดิง อะตอมคู่นั้นอาจอยู่ตัว ถ้าแต่ละอะตอมใช้อิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวเพื่อเกิดเป็นอิเล็กตรอนเรียงคู่ซึ่งครอบครองออร์บิทัลโมเลกุลชนิดบอนดิง รูปร่างออร์บิทัลโมเลกุลจะสอดคล้องกันรูปร่างพันธะโควาเลนท์ที่เกิดขึ้น

เนื่องจากออร์บิทัลโมเลกุลสร้างมาจากออร์บิทัลอะตอม ดังนั้นรูปร่างของออร์บิทัลโมเลกุลก็ขึ้นอยู่กับรูปร่างของออร์บิทัลอะตอมที่เป็นองค์ประกอบ เมื่อออร์บิทัลสร้างเป็นออร์บิทัลโมเลกุล ที่มีลักษณะเป็นทรงกลมหรือว่าเป็นเส้นเชื่อมระหว่างนิวเคลียสทั้งสองจะได้ ออร์บิทัลโมเลกุลที่เรียกว่าออร์บิทัล-ซิกมา() อักษรในภาษากรีก สอดคล้องกับตัวอักษร S ซึ่งใช้สำหรับออร์บิทัลอะตอมที่เป็นทรงกลม อิเล็กตรอนในออร์บิทัล – ซิกมา เรียกว่าอิเล็กตรอน- ซิกมา(- electron) และเรียกพันธะที่เกิดขึ้นว่าพันธะ- ซิกมา(- bond)

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

รูปที่ 1-11แสดงระดับพลังงานในโมเลกุลไฮโดรเจน

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

รูปที่ 1-12แสดงการรวมออร์บิทัลอะตอมเป็นออร์บิทัลโมเลกุล(ก) แสดงออร์บิทัลโมเลกุลชนิดซิกมา (ข) แสดงออร์บิทัลโมเลกุลชนิดไพ

โมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนที่เรารู้จักกันแล้วว่าประกอบด้วยไฮโดรเจนสองอะตอมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนท์ ออร์บิทัลโมเลกุลเกิดจากการซ้อนทับของออร์บิทัล 1S ของไฮโดรเจนแต่ละอะตอม การซ้อนทับของออร์บิทัลอะตอม 1S ทั้งสอง เกิดเป็นออร์บิทัลโมเลกุลชนิดซิกมาเกิดเป็นพันธะซิกมาขึ้นในโมเลกุลไฮโดรเจน

ในโมเลกุลแก๊สคลอรีน เป็นตัวอย่างที่แตกต่างไปจากโมเลกุลแก๊สไฮโดรเจนเล็กน้อย เราจะให้ความสนใจเฉพาะออร์บิทัลในเชลล์นอกของอะตอมคลอรีนซึ่งมีอิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวอยุ่ในออร์บิทัล 3p ถ้าออร์บิทัล p ของคลอรีนสองอะตอมมาอยู่ในแนวแกนเดียวกัน และอะตอมเคลื่อนที่มาชิดกันเพียงพอที่จะซ้อนทับกัน จะเกิดออร์บิทัลโมเลกุล ชนิดบอนดิง ซึ่งเป้นออร์บิทัล-ซิกมา เกิดเป็นพันธะซิกมา ( ดูรูปที่ 1-13) รูปร่างออร์บิทัลของฮาโลเจนอื่น ๆ ก็คล้ายกับโมเลกุลคลอรีน

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
รูปที่ 1-13แสดงการรวมออร์บิทัล 2Pzของอะตอมคลอรีนเป็นออร์บิทัลโมเลกุลคลอรีน

ถ้าออร์บิทัลอะตอม p มาซ้อนกันในแนวแกนขนานกัน ออร์บิทัลโมเลกุลที่เกิดขึ้นจะมีรูปร่างแตกต่างออกไป อิเล็กตรอนจะมีความหนาแน่นสองบริเวณ (ขอบเขต) คือ บริเวณทางด้านบนและด้านล่างนิวเคลียสทั้งสอง ( ดูรูป 1-12) ออร์บิทัลโมเลกุลชนิดนี้ เรียกว่าออร์ บิทัล-ไพ(- orbital) อิเล็กตรอนที่อยู่ในออร์บิทัล-ไพ เรียกว่าอิเล็กตรอน - ไพ(- electron) และพันธะที่เกิดขึ้นเรียกว่าพันธะ-ไพ(- bond) ตัวอักษรใน ภาษากรีก สอดคล้องกับตัวอักษร p ที่ใช้กับออร์บิทัลอะตอม

โมเลกุลที่คล้ายกันซึ่งประกอบด้วยพันธะไพ คือ โมเลกุลไนโตรเจน( N2) ในอะตอมไนโตรเจนมีอิเล็กตรอนมีอิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวสามอนุภาคอยู่ในออร์บิทัล 2p ทั้งสามออร์บิทัล ดังนั้นออร์บิทัล p ทั้งสามจึงมีนัยสำคัญต่อโครงสร้างของออร์บิทัลโมเลกุล ไนโตรเจนสองอะตอมอาจเกิดพันธซิกมาหนึ่งพันธะจากการเกยเชื่อมของออร์บิทัล p ในแนวแกนเดียวกันกับนิวเคลียสของอะตอม ออร์บิทัล p อีกสองออร์บิทัลในแต่ละอะตอมจะเกิดพันธะในแนวแกนขนานกัน เกิดเป็นออร์บิทัลโมเลกุลชนิดไพ เนื่องจากมีออร์บิทัล p สองคู่ จึงเกิดออร์บิทัลโมเลกุลชนิดไพขึ้นสองออร์บิทัล ซึ่งวางตัวในแนวขนานกับระนาบ

อิเล็กตรอนรวม 6 อนุภาค จากออร์บิทัล p ทั้งสามของไนโตรเจนอะตอม จะเติมในออร์บิทัลโมเลกุลชนิดบอนดิงสามออร์บิทัล ( ซึ่งเป็นชนิดซิกมาหนึ่งออร์บิทัล และชนิดไพ สองออร์บิทัล ) ซึ่งสร้างมาจากออร์บิทัลอะตอม ดังนั้นโมเลกุลไนโตรเจนจึงประกอบด้วยพันธะโควาเลนท์สามพันธะ

รูปร่างหมอกอิเล็กตรอนไพ ในโมเลกุลไนโตรเจนเป็นทรง
กระบอกพันธะไพทั้งสองทำให้ความหนาแน่นของอิเล็กตรอนเป็น
ทรงกระบอก คล้ายกับออร์บิทัล p ทั้งสามของเชลล์ย่อย ที่สร้าง
เป็นเชลล์ย่อย ทรงกลมที่สมมาตร ดูรูปที่1-14
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
รูปที่ 1-14แสดงพันธะซิกมาและพันธะไพในโมเลกุลไนโตรเจน

พันธะโควาเลนท์อาจเกิดระหว่างอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน เช่น ในโมเลกุลของน้ำซึ่งเกิดจากไฮโดรเจนสองอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอม ออกซิเจนมีหมายเลขอะตอม 8 และมีการกระจายของอิเล็กตรอนในออร์บิทัลต่าง ๆ เป็น 1s2, 2s2,2p 2 x , 2p 1 y , 2p 1 Z มีอิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวอยู่ในออร์บิทัล 2pyและ 2pZซึ่งแต่ละออร์บิทัล จะรวมกับออร์บิทัล 1 s ของไฮโดรเจน เกิดเป็นพันธะโควาเลนท์สองพันธะ เนื่องจากออกซิเจนรวมตัวไฮโดรเจนสองอะตอม จึงมีวาเลนซี เท่ากับ 2 หรือในโมเลกุลของแอมโมเนีย (NH 3 ) ไนโตรเจนมีหมายเลขอะตอม 7 และมีการกระจายของอิเล็กตรอนในออร์บิทัลต่าง ๆ เป็น 1 s 2 , 2s 2 ,2p 2 x , 2p 1 y , 2p 1 Z มีอิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวในออร์บิทัล 2p x ,2p y และ 2p Z จึงสามารถรวมตัวกับไฮโดรเจนได้สามอะตอม เป็นแอมโมเนีย ไนโตรเจนจึงมีวาเลนซีเป็น 3

เนื่องจากออร์บิทัล p ทำมุมระหว่างกัน 90 0 เราจึงคาดคะเนว่ามุมพันธะระหว่าง H-O-H ในโมเลกุลน้ำ ควรเป็น 90 0 ด้วย แต่ความเป็นจริงซึ่งวัดได้จากการทดลองยืนยันว่ามุมนี้เป็น 104.5 0 ทั้งนี้เนื่องจากว่าพันธะระหว่าง O-H เป็นพันธะที่มีสภาพขั้วไฮโดรเจนทั้งสองซึ่งมีสภาพขั้วเหมือนกัน จึงเกิดแรงผลักซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้มุมของ H-O-H กางออกเกินกว่า 90 0 เป็น 104.5 0 ( ดูรูปที่ 1-15) ในทำนองเดียวกัน ในโมเลกุลแอมโมเนีย เราก็คาดคะเนว่ามุมระหว่าง H-N-H ควรเป็น 90 0 แต่ที่แท้กลับเป็น 107 0 และแอมโมเนียมีรูปทรงเรขาคณิตเป็นปีระมิด เหตุที่มุม H-N-H กางออกเป็น 107 0 อาจอธิบายได้โดยเหตุผลเดียวกับกรณีของน้ำ กล่าวคือ เกิดแรงผลักกันระหว่างอะตอมไฮโดรเจนซึ่งมีสภาพขั้วเป็นบวก ด้วยกัน

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
รูปที่ 1-15แสดงการเกิดพันธะและแรงผลักระหว่างอะตอมไฮโดรเจนในโมเลกุลน้ำ

ในอะตอมคาร์บอนสภาวะปกติ(ground state) การกระจายของอิเล็กตรอนเป็นดังนี้ 1s2, 2s2,มีอิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวอยู่สองอนุภาค จึงรวมกับไฮโดรเจนได้สองอะตอม แต่โดยทั่วไปแล้วคาร์บอนแสดงวาเลนซีเป็น 4 เพราะว่าในสภาวะที่จะเข้าทำปฏิกริยา(excited state) อิเล็กตรอนอนุภาคหนึ่งของคาร์บอนที่อยู่ในออร์บิทัล 2 s จะถูกนำไปใช้ในออร์บิทัล 2p Z ทำให้การกระจายของอิเล็กตรอนเป็น 1s2, 2s2,ซึ่งมีอิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวอยู่อนุภาค และรวมตัวกับไฮโดรเจนได้สี่อะตอมเป็นมีเธน (CH 4 ) พลังงานที่ได้จากการเกิดพันธะเพิ่มขึ้นอีกสองพันธะ มากเกินกว่าพลังงานที่จะใช้ในการดึงอิเล็กตรอนจาก ออร์บิทัล 2s ไปยังออร์บิทัล 2p Z ดังนั้นคาร์บอนในสภาพวาเลนซี 4 จึงอยู่ตัว


Return to contents

ไฮบริไดเซชัน (Hybridization)

ไฮบริไดเซชัน( hybridization ) คือ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อมีการผสมระหว่างอิเล็กตรอนในออร์บิทัลที่ต่างกันแต่อยู่ในเชลล์เดียวกัน อิเล็กตรอนที่ผสมกันนี้จะเกิดเป็นออร์บิทัลใหม่ที่มีสมบัติเหมือนกันทุกประการ และมีจำนวนเท่ากับออร์บิทัลต่าง ๆ ที่มีผสมกัน ไฮบริไดเซชันมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ไฮบริไดเซชันแบบ sp3, sp2,sp, d2sp3, dsp2, dsp3แต่ที่พบในสารประกอบคาร์บอนมีสามชนิด คือ ไฮบริไดเซชันแบบ sp3, sp2และ sp

1. ไฮบริไดเซชันแบบ sp3เกิดขึ้นเมื่อคาร์บอนถูกล้อมรอบด้วยอะตอมอื่นสี่อะตอม เช่น ในโมเลกุลของมีเธน ในมีเธนเราพบว่า คาร์บอนไม่ได้ใช้อิเล็กตรอนในสภาพ 1s2, 2s1,อิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวทั้งสี่ออร์บิทัลจะผสมกันเกิดเป็นออร์บิทัลใหม่ขึ้นสี่ออร์บิทัล เรียกว่า ออร์บิทัล sp3ออร์บิทัล sp3ทั้งสี่มีคุณสมบัติและลักษณะเหมือนกันทุกประการคือ มีลักษณะและคุณสมบัติเป็นออร์บิทัล s ร้อยละ 25 ออร์บิทัล p ร้อยละ 75 และทำมุมระหว่างกัน 109 องศา 28 ลิปดา เนื่องจากเป็นการผสมกันระหว่างออร์บิทัล s หนึ่งออร์บิทัลและออร์บิทัล p สามออร์บิทัล จึงเรียกว่าไฮบริไดเซชันแบบ sp3จากนั้นไฮโดรเจนทั้งสี่อะตอมจะใช้อิเล็กตรอนในออร์บิทัล 1s เกยเชื่อมกับออร์บิทัล sp3ของคาร์บอน เกิดพันธะโควาเลนท์สี่พันธะ โดยมีคาร์บอนอยู่ตรงกลาง มีไฮโดรเจนสี่อะตอมอยู่ที่มุมทั้งสี่ของรูปเหลี่ยมสี่หน้า (tetrahedron) และพันธะแต่ละพันธะจะทำมุมกัน 109 องศา 28 ลิปดา ดังรูป 1-17 และ 1-19

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

รูปที่ 1-17แสดงการเกิดพันธะในมีเธน อิเล็กตรอนที่เข้าคู่ในแต่ละออร์บิทัลโมเลกุล
เกิดจากการซ้อนทับของออร์บิทัล sp3 ของคาร์บอน และออร์บิทัล 1s ของไฮโดรเจน

(ก)(ข)

รูปที่ 1-16 แสดงการเกิดออร์บิทัล
(ก) แสดงรูปตัลออร์บิทัล sp3
(ข)แสดงชุดออร์บิทัล sp3ทั้งสี่ออร์บิทัล

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

รูปที่ 1-18ไดอะแกรมแสดงการเกิดไฮบริไดเซชันแบบ sp3ของอะตอมคาร์บอน(ก)(ข)(ค)

รูปที่ 1-19หุ่นจำลองโมเลกุลมีเธน(ก) เส้นประคือแกนของออร์บิทัลโมเลกุล

(ข) หุ่นจำลองแบบลูกกลมและแกน( ball-strick ) (ค) หุ่นจำลองแบบสกาล( Scale ) แสดงหมอกอิเล็กตรอนในโมเลกุล

นอกจากนี้ อะตอมของคาร์บอนยังสามารถเกิดพันธะ ที่อยู่ตัวระหว่างกัน ได้อืกด้วย เช่นในโมเลกุลของอีเธน (ethane) โดยที่คาร์บอนแต่ละอะตอมใช้ออร์บิทัล sp3สามออร์บิทัลรวมกับไฮโดรเจน ที่เหลืออีกออร์บิทัลหนึ่งมารวมกันเองตามแนวแกนเดียวกัน เกิดพันธะซิกมา หนึ่งพันธะ พันธะระหว่างคาร์บอนทั้งสองอะตอมนี้ เรียกว่า พันธะเดี่ยว (single bond) ซึ่งสามารถหมุนได้รอบ และมีความยาวพันธะ 154 pm หรือ 1.54 อังสตรอม

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้

28 อิเล็กตรอน มีการจัดเรียงอิเล็กตรอน ดังนี้
(ก)(ข)รูปที่ 1-20แสดงพันธะในโมเลกุลอีเธน

(ก) ออร์บิทัลโมเลกุลในอีเธน
(ข) แสดงการหมุนได้อย่างอิสระของพันธะซิกมาระหว่างคาร์บอน-คาร์บอน

2. ไฮบริไดเซชันแบบ sp2ในโมเลกุลเอทธิลีน (ethylene) อิเล็กตรอนเรียงเดี่ยวในออร์บิทัล 2s , 2pxและ 2pyของคาร์บอนแต่ละอะตอม จะผสมกันเกิดเป็นออร์บิทัลใหม่สามออร์บิทัล เรียกว่า ออร์บิทัล sp2ซึ่งมีสมบัติและลักษณะเป็นออร์บิทัล s ร้อยละ 33.3 ออร์บิทัล p ร้อยละ 66.7 และทำมุมระหว่างกัน 120 องศา ในแนวราบเดียวกัน แนวราบนี้จะตั้งฉากกับออร์บิทัล 2PZเนื่องจากเป็นการผสมระหว่างอิเล็กตรอนในออร์บิทัล s หนึ่งออร์บิทัล และ p สองออร์บิทัล จึงเรียกว่า ไฮบริไดเซชันแบบ sp2คาร์บอนแต่ละอะตอมจะใช้ออร์บิทัล sp2สองออร์บิทัล รวมกับไฮโดรเจน ที่เหลืออีกออร์บิทัลหนึ่งรวมกันเองตามแนวแกนเดียวกัน เกิดพันธะซิกมาหนึ่งพันธะ ส่วนออร์บิทัล 2pzของคาร์บอนทั้งสองอะตอมซึ่งตั้งฉากกับพื้นราบของออร์บิทัล sp2จะเกยเชื่อมกันตามด้านข้างในแนวแกนขนานกัน เกิดพันธะไพขึ้นอีกพันธะหนึ่ง ดังรูป 1-22 ดังนั้น ในโมเลกุลของเอทธิลีน คาร์บอนทั้งสองอะตอมจะจับกันด้วยพันธะสองพันธะ คือ พันธะซิกมาและพันธะไพ รวมเรียกว่า พันธะคู่ (double bond) พันธะไพที่เกิดขึ้นจะมีผลในการดึงอิเล็กตรอนให้เข้าใกล้กันมาก จึงทำให้ระยะระหว่างคาร์บอนทั้งสองอะตอมสั้นลงเหลือ 134 pm หรือ 1.34 อังสตรอม และพันธะไพ ยังมีผลทำให้พันธะคู่ตรึงอยู่กับที่ไม่สามารถหมุนได้อย่างพันธะเดี่ยว