ทักษะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้จากการสุ่มตามระดับชั้นอย่างมีสัดส่วน เป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบปลายเปิด ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.964 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทดสอบรายคู่ ตามวิธีการของเซฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาเกี่ยวกับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3 จำแนกตามประสบการณ์ในการบริหารสถานศึกษา ทั้งโดยรวมและรายค้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านการทำงานเป็นทีม ทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลทักษะด้านการตัดสินมุ่งผลสัมฤทธิ์ ทักษะด้านคุณธรรมจริยธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน

This research aimed to study and compare 21st century administration skills of the administrators in basic education schools under Surin Primary Educational Service Area Office 3, classified by school administration experience and school sizes. The samples in this study were 148 school administrators, selected by proportional stratified random sampling. The instrument used for data collection was a questionnaire consisting of three parts: checklist, five rating scale, and open-ended questions. The questionnaire reliability was 0.964. Statistics used in this study were frequency, percentage, mean and standard deviation. Hypothesis testing was conducted using the t-test and one-way analysis of variance (ANOVA) techniques, and Scheffé's method of paired comparison was utilized. The research results were as follows: the school administrators' opinions toward 21st century administration skills of the administrators in basic education schools under Surin Primary Educational Service Area Office 3 as a whole were at high level. When considering each aspect, it was found that all aspects were at high level 2) a comparison of school administrators' opinions toward 21st century administration skills of the administrators in basic education schools under Surin Primary Educational Service Area Office 3, classified by school administration experience, as a whole and in each aspect, were not different, and classified by school size, as a whole were different at a statistically significant level of .05. When considering each aspect, it was found that critical thinking skills, creative thinking skills, problem solving skills, communication skills, teamwork skills, digital and technology skills, achievement motivation skills, and ethics and moral skills were different at a statistically significant level of.05, whereas the other aspects were not different.


  1. SRU Intellectual Repository
  2. Graduate School(Theses/IS)
  3. Education
  4. Education Administration: Theses

กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/618

ชื่อเรื่อง:  ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ:  THE 21st CENTURY ADMINISTRRAFIVE SKILLS OF SCHOOL ADMINISTRRAFOVS AS PERCEIVED BY TEACHERS IN SCHOOL UNDER SURAT THANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: 
ชูศักดิ์ เอกเพชร
กณิษฐา ทองสมุทร
คำสำคัญ:  การบริหาร
วันที่เผยแพร่:  2561
สำนักพิมพ์:  มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ:  การศึกษาในอดีตถึงปัจจุบันสร้างผู้ตามสอนแบบท่องจำ สอนให้เชื่อ คิดเหมือน ๆ กัน ไม่แตกต่าง การศึกษาไทยในอนาคตต้องสร้างคุณภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐานการศึกษาที่สอดคล้องกับ ศตวรรษที่ 21 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 ตาม การรับรู้ของครู โดยจำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดของโรงเรียน ประชากรได้แก่ ครูผู้สอน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 2,348 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน ได้มา โดยการสุ่มประชากรแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.85 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ ทดสอบ ได้แก่ การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ยกเว้นทักษะด้านการใช้ดิจิตอล อยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปต่ำ ดังนี้ ทักษะทางมนุษย์ ทักษะทางเทคนิค ทักษะ ด้านความรู้ความคิด ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะทางความคิดรวบยอด ทักษะการสื่อสาร ทักษะ การศึกษาและการสอน ทักษะด้านการใช้ดิจิตอล ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้มีส่วนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาควรสนับสนุนส่งเสริม ให้ผู้บริหารและครูผู้สอนพัฒนาตนเอง และมีการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลงานของ ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ และวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อเป็นการประกัน คุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
URI:  http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/618
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: Education Administration: Theses

รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น