2. ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างไร

2. ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างไร


        ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้คนตั้งถิ่นฐานมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันมีประชากรราว 621 ล้านคน (พ.ศ. 2557มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ อุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป มีลมมรสุมพัดผ่านซึ่งเป็นผลดีแก่การเพาะปลูกและประโยชน์ต่อการเดินเรือในสมัยก่อน นอกจากนี้ ยังอยู่ในเส้นทางการเดินเรือค้าขายระหว่างอินเดียกับจีน ทำให้อารยธรรมที่สำคัญของโลกสมัยโบราณ คือ อารยธรรมอินเดียและอารยธรรมจีนมาพบกัน ส่งผลให้มีอิทธิต่อประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีศาสนาที่สำคัญของโลกเผยแผ่เข้ามาในเวลาต่อมา จึงทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรม

ความอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะเครื่องเทศและพริกไทย ทำให้ชาติตะวันตกแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การแข่งขันกันทางการค้าได้นำไปสู่การยึดดินแดน ทำให้ชาติทั้งหลายยกเว้นไทย ต่างตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2  จึงได้รับเอกราช ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ได้ร่วมมือกันจัดตั้งเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (ASEAN)และร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น เมื่อรวมเป็นประชาคมอาเซียนใน พ.ศ.2558

                ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 10 องศาใต้ที่ติมอร์-เลสเต กับละติจูด 28 องศาเหนือ           ที่ภาคเหนือของเมียนมา และลองจิจูด 92 องศาตะวันออกที่ภาคตะวันตกของเมียนมา กับลองจิจูด 141 องศาตะวันออก บริเวณชายแดนปาปัว (อินโดนีเซีย) กับ ปาปัวนิวกินี มีทำเลที่ตั้งและอาณาเขต ดังนี้

                  ทิศเหนือ ติดต่อ สาธารณรัฐประชาชนจีน

                ทิศตะวันตก ติดต่อ อินเดีย บังกลาเทศ และมหาสมุทรอินเดีย

                ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแปซิฟิกและปาปัวนิวกินี

                ทิศใต้ จดทะเลติมอร์ และทะเลอะราฟูรา

                ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย 11 ประเทศ ตั้งอยู่บนพื้นที่ 2 ส่วนคือ ประเทศที่ตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ เมียนมา ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย กับประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะหรือหมู่เกาะ ได้แก่ สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และติมอร์-เลสเต

2. ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างไร

แผนที่ประเทศอาเซียน

ที่มารูปภาพ : https://goo.gl/m43qYz

2. ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างไร

                1. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่สำคัญ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศกัมพูชาและลาว ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม  ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีในตอนกลางของประเทศเมียนมา ซึ่งเป็นเขตที่อุดม-สมบูรณ์และเป็นเขตเกษตรกรรมหลักของประเทศ

2. ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างไร

วิถีชีวิตริมฝั่งโขง

ที่มารูปภาพ : https://goo.gl/3rD9kH

                2. บริเวณที่เป็นชายฝั่งทะเล คาบสมุทร เกาะ และหมู่เกาะ เช่นชายฝั่งทะเลตอนใต้ และตะวันตกของเมียนมา ทางตะวันตกและตะวันออกของไทย ประเทศที่เป็นเกาะ คือ สิงคโปร์ และ หมู่เกาะ คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บริเวณนี้มีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ บางประเทศมีแหล่งน้ำมันดิบและแก๊สธรรมชาติ

                3. เขตที่ราบสูง ที่สำคัญ เช่น ที่ราบสูงตะวันออกของเมียนมา ที่มีประชากรอาศัยอยู่ไม่มากนักเพราะอากาศแห้ง-แล้งและการเดินทางลำบาก แต่มีทรัพยากรธรรมชาติทางเศรษฐกิจที่มีค่า เช่น ป่าไม้ อัญมณี เป็นต้น

                4. เขตเทือกเขา แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ เทือกเขาที่มีขนาดไม่สูงใหญ่มากนักและบริเวณที่เปลือกโลกสงบตัวจึงไม่เกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เช่น เขตเทือกเขาในรัฐฉานของพม่า และเขตเทือกเขาที่มีขนาดสูงใหญ่และเปลือกโลกยังเคลื่อนไหวอยู่จึงเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิด เช่น เทือกเขาในเกาะสุมาตรา เกาะชวา ในอินโดนีเซีย และเทือกเขาในหมู่เกาะฟิลิปปินส์

2. ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างไร

                                                                                   เขตเทือกเขาในรัฐฉานของพม่า

ที่มารูปภาพ https://goo.gl/YRPQrH

2. ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างไร

เทือกเขาในหมู่เกาะฟิลิปปินส์

ที่มารูปภาพ : https://goo.gl/EJNXRi

                สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้นและอยู่ในเขตมรสุม โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม มีลมมรสุมตะวันตก-เฉียงใต้พัดจากมหาสมุทรอินเดียผ่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังจีน ทำให้มีฝนตกชุกและช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน  มีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากจีนเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้อุณหภูมิต่ำลงและมีฝนน้อย นอกจากนี้ยังมีลมพายุไต้ฝุ่นจากทะเลจีนใต้ และลมพายุไซโคลนจากอ่าวเองกอลพัดผ่านเข้ามาเป็นครั้งคราวทำให้เกิดลมแรง ฝนตกหนักในบางประเทศ เช่น เวียดนาม ลาว ไทย ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัยและวาตภัย ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชากรอย่างมาก

                ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญในภูมิภาคนี้ คือ ป่าไม้ สัตว์ป่า แร่ธาตุ อัญมณี และน้ำมัน รวมถึงการมีทรัพยากรดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้เราสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาทรัพยากรจากถิ่นอื่น

                สำหรับประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณกึ่งกลางแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ โดยเฉพาะทางตอนกลางของประเทศที่มีที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศ ทางตอนเหนือเป็นเทือกเขาสลับกับที่ราบระหว่างหุบเขา เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย และมีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ส่วนทางใต้มีภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรแคบยาวยื่นลงไปในทะเล

2. ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างไร

ชั้นดินที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

ที่มารูปภาพ : https://goo.gl/ZeuKnu

2. ลักษณะที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในสมัยโบราณของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญอย่างไร


สิ่งที่แสดงถึงอิทธิพลของอินเดียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยโบราณคืออะไร

- งานวรรณกรรม เช่น รามเกียรติ์ ภควัตคีตา ซึ่งมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความคิด ของคนในภูมิภาคนี้ - ศาสนาพราหมณ์ และพุทธ หลักความเชื่อต่าง ๆ การนับถือเทพเจ้าต่าง ๆ การนับถือยอดเขา - รูปแบบการสร้างพระพุทธรูป และเทวรูป งานสถาปัตยกรรม ปราสาท เทวสถาน

อิทธิพลใดที่มีผลต่อพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยโบราณมากที่สุด

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญจาก 2 อู่อารยธรรมโบราณ ซึ่งก็คืออารยธรรมจีน และอินเดีย กล่าวโดยเฉพาะวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับแนวคิด คติ และความเชื่อในเรื่องความเป็นจริงของโลก หรือก็คือศาสนา อารยธรรมอินเดียนับว่ามีอิทธิพลต่อภูมิภาคนี้มากที่สุด โดยศาสนาพราหมณ์ และศาสนาพุทธ ซึ่งมีต้นกำเนิดในอินเดีย ...

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเด่นอย่างไร

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นในฤดูฝนและแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ มีฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันหรือรายเดือนสูงสม่ำเสมอ ...

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อพัฒนาการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อพัฒนาการของ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ศาสนา เชื้อชาติ เศรษฐกิจ การติดต่อกับต่างประเทศ ฯลฯ

สิ่งที่แสดงถึงอิทธิพลของอินเดียในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยโบราณคืออะไร อิทธิพลใดที่มีผลต่อพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสมัยโบราณมากที่สุด ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีลักษณะเด่นอย่างไร ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อพัฒนาการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใบงานที่ 5.5 ความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการในสมัยโบราณ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักมีชุมชนใหญ่ๆ อยู่ในบริเวณใด ใบงานที่ 5.3 ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้