Philosophers path ช วงไม ม ซาก ระ

เมืองเกียวโตนั้นมีชื่อเสียงในเรื่องของจุดชมใบไม้เปลี่ยนสีที่สวยงามหลายแห่ง แต่อยากจะบอกว่าเมืองเกียวโตในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ดอกซากุระกำลังเบ่งบานนั้น ก็มีจุดชมดอกซากุระสวยๆ ไม่แพ้ที่อื่นเช่นกัน โดยเฉพาะที่ “ เส้นทางสายนักปราชญ์” เป็นจุดชมดอกซากุระยอดฮิต อันดับต้นๆ ของเมืองเกียวโตเลยครับ

Philosophers path ช วงไม ม ซาก ระ

เครดิตรูป https://twitter.com/yokolostinjapan/status/1249973633092472837?s=21

สำหรับเส้นทางสายนักปราชญ์นั้น จะอยู่ทางฝั่ง ตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเกียวโต โดยมีลักษณะเป็นเส้นทางสำหรับคนเดินเรียบไปกับทางน้ำเล็กๆ มีความยาวประมาณ 2กิโลเมตร โดยตลอดเส้นทางนั้นจะมีแนวของต้นซากุระ ซึ่งมีจำนวนนับร้อยต้นเลยทีเดียว จึงทำให้ในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่เส้นทางสายนักปราชญ์นั้น เต็มไปด้วยดอกซากุระที่บานสะพรั่ง จนเป็นอุโมงค์ดอกซากุระเลยทีเดียว

สาเหตุที่มีนักท่องเที่ยวมาชมดอกซากุระที่เส้นทางสายนักปราชญ์เป็นจำนวนมากนั้น เพราะนอกจากที่นี่จะมีดอกซากุระที่สวยงามมากแล้ว เส้นทางสายนักปราชญ์ยังเป็นเส้นทางเชื่อมระหว่างวัดกินคะคุจิ หรือที่นักท่องเที่ยวนิยมเรียกกันว่าวัดเงิน กับ วัดเอคันโดะ ดังนั้นแผนการเที่ยวของนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่แล้วก็จะเริ่มเที่ยวกันที่วัดกินคะคุจิก่อน จากนั้นก็จะเดินผ่านเส้นทางสายนักปราชญ์ เพื่อไปเที่ยวต่อยังวัดเอคันโดะต่อไปนั่นเองครับ

Philosophers path ช วงไม ม ซาก ระ

เครดิตรูป https://twitter.com/jedschmidt/status/1247445624238141440?s=21

ทำไมถึงเรียกเส้นทางนี้ว่าเส้นทางสายนักปราชญ์? …จริงๆ แล้วมันมีที่มาครับ ต้องขอเล่าย้อนไปในปี 1890 เป็นช่วงที่ถนนเส้นนี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มีพ่อหนุ่มคนหนึ่งมีนามว่า นิชิดะ คิทาโร่ เขาได้ใช้ถนนเส้นนี้ในการเดินไปเรียนที่มหาวิทยาลัยเกียวโตเป็นประจำ ซึ่งภายหลัง นิชิดะ คิทาโร่ ผู้นี้ได้กลายเป็นนักปราชญ์ชื่อดัง และมีผลงานมากมายมาตั้งแต่สมัยเมจิเรื่อยมาจนถึงสมัยโชวะเลย จนคนมักจะเรียกเส้นทางนี้กันติดปากว่าถนนนักปราชญ์ จนมาถึงปี 1972 จึงได้มีการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เส้นทางสายนักปราชญ์” นั่นเองครับ

Philosophers path ช วงไม ม ซาก ระ

เครดิตรูป https://twitter.com/jedschmidt/status/1247445624238141440?s=21

สำหรับการเดินทางมาที่เส้นทางสายนักปราชญ์นั้น วิธีที่สะดวกที่สุดคือการเดินทางด้วยรถบัสครับ โดยจากหน้าสถานี Kyoto ให้เราขึ้นบัสหมายเลข 100 มาลงที่ป้าย Ginkaku-ji mae ซึ่งเป็นป้ายหน้าวัดกินคะคุจิ จากนั้นเดินมาจนใกล้ถึงทางเข้าวัดกินคะคุจิเส้นทางสายนักปราชญ์จะอยู่ทางขวามือครับ

Philosophers path ช วงไม ม ซาก ระ

เครดิตรูป https://twitter.com/whiskyjapan/status/851304666444972032?s=21

ถึงแม้ว่าในช่วงที่ดอกซากุระบานนั้น ที่เส้นทางสายนักปราชญ์จะมีนักท่องเที่ยวเยอะมาก แต่ก็จะเยอะแค่บางจุดครับ แนะนำให้เดินเข้าไปลึกๆ คนก็จะน้อยลง หรือ ถ้าพอมีเวลาจะแวะร้านต่างๆ ก็เป็นความคิดที่ดี เพราะมีร้านที่น่าสนใจอยู่เยอะทีเดียวครับ

ที่พักใกล้ nijojomae ผู้ใหญ่ 2+เด็ก2 ช่วงก่อนสงกรานต์ ควรไปยังไงดี อ่านจากคุณ skybox รถติดมาก+แน่นมาก นั่งtaxi แพงมากไหมถ้าคิดที่4คน

0

Philosophers path ช วงไม ม ซาก ระ

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

ช่วงกลางสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน จะเป็นช่วงที่ผู้คนพากันมาเดินเที่ยวหรือนั่งฮานามิกันที่ Philosopher's Path หรือแปลเป็นไทยว่า เส้นทางเดินสายนักปราชญ์ มากที่สุด เพราะเป็นจุดชมซากุระที่สวยที่สุดในเมืองหลวงเก่าแก่อย่างเกียวโต

ว่ากันว่า ที่เรียกชื่อเส้นทางนี้ว่า ทางเดินสายนักปราชญ์ เหตุผลเป็นเพราะนักปราชญ์ชื่อดังคนหนึ่งของญี่ปุ่นนามว่า Nishida Kitaro ได้ฝึกฝนสมาธิในเส้นทางสายนี้ระหว่างการเดินทางประจำวันไปยังมหาวิทยาลัยเกียวโต

ตลอดสองข้างทางเดินริมลำคลองเล็กๆ ณ ทางเดินสายนี้ จะเต็มไปด้วยดอกซากุระสีชมพูออกขาวสวยงามแสนโรแมนติก กลีบดอกที่ร่วงโรยเต็มตลอดทางเดินรวมถึงในคลองที่กลายเป็นสีขาวทั่วบริเวณช่างเป็นภาพที่สวยงามน่าจดจำยิ่งนัก

Philosopher's Path มีความยาวกว่าสองกิโลเมตร ข้างทางมีร้านรวงขายของที่ระลึก ร้านอาหาร คาเฟ่มากมายให้ได้เลือกเข้านั่งจิบชาเขียวหรือกาแฟ พร้อมหันหน้าออกมาชมดอกซากุระ จะเริ่มทางประมาณบริเวณทางเข้าสู่วัด Ginkakuji (วัดพลับพลาเงิน) และจบลงบริเวณแถบวัด Nanzenji เรียกได้ว่ามาที่เดียวได้ชมทั้งสามสถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังและสวยงามที่สุดในเกียวโต เป็นสวรรค์ชั้นดีของเหล่าบรรดาช่างภาพและนักท่องเที่ยวอย่างไม่ต้องสงสัย

สำหรับสาวๆ อาจเช่าชุดกิโมโนมาเดินเก็บภาพสวยๆที่มีฉากหลังเป็นต้นซากุระนับร้อยบนสะพานข้ามคลองเล็กๆที่มีอยู่ตลอดทางเดิน ก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจไม่น้อย

การเดินทางมาที่นี่ สามารถมาด้วยรถบัสสาย 5 ,17 หรือ 100 จากสถานีเกียวโตมาได้เลย นั่งยาวประมาณ 40 นาที ค่ารถ 230 เยน (เป็นทางเดียวกับที่ลงที่วัดพลับพลาเงิน) และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าชมใดๆทั้งสิ้น