Notification เต อนน ก ร กซะเลย ม ก ep

สมาคมแห่งประเทศไทยฯ เพื่อสร้างขวัญ ให้ก าลังใจแก่ทุกท่าน ให้สามารถท างานในหน้าที่ของตนเองได้อย่างสมบูรณ์

เต็มที่ นอกจากนี้ ยังต้องการบันทึกไว้เป็นข้อมูลทางวิชาการ ความคิดเห็นของอาจารย์และแพทย์ที่ท ากิจกรรมในแต่ละ

ห้วงเวลา โดยไม่ต้องการไปเผยแพร่ต่อ ข้อมูลด้านวิชาการของโรคนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปเร็วมากแต่จะไม่มีการแก้ไข

เนื้อหาที่ได้แสดงไปแล้วในแต่ละห้วงเวลาให้ทันสมัย เพราะอยากให้เป็นการบันทึกเหตุการณ์และข้อมูลที่มีอยู่ในห้วง

เวลานั้น

การท าหนังสือเล่มนี้ให้เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-book เพื่อต้องการให้เกิดความประหยัด ทันสมัยทัน

ยุค แต่มิได้มีเจตนาท าเพื่อการค้าขายหรือเผยแพร่ออกไปนอกวงการสมาชิกของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ผู้จัดท าพยายามท าหนังสือให้ดีที่สุดโดยมิให้มีการล่วงเกินหรือละเมิดสิทธิ์ใด ๆ หรือความเป็นส่วนตัวของผู้ที่หนังสือเล่ม

นี้กล่าวถึงหรือมีรูปปรากฏอยู่ หากมีรูปหรือข้อมูลของท่านใดในหนังสือที่ผู้จัดท ายังไม่ได้ขออนุญาต ไม่ได้อ้างอิงถึง

เพราะเป็นข้อมูลที่แสดงออกสู่วงสาธารณะ หรือมีข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปบ้าง ผู้จัดท ากราบขออภัยและขออนุญาตใช้

ข้อมูลในหนังสือเล่มนี้ด้วย รูปต่าง ๆ ที่น ามาเก็บไว้ในหนังสือเล่มนี้จะเป็นรูปภาพที่เคยเผยแพร่ในสื่อสาธารณะแล้ว

ทั้งสิ้นหรือได้มาจากหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงสาธารณสุข หากท่านใดจะน าไปเผยแพร่หรืออ้างอิงต่อในเอกสาร

หรือในสื่ออื่น ๆ และเป็นการท าเพื่อการศึกษาและมิใช่เพื่อการค้าหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคลใด ๆ หรือความเป็นส่วนตัว

ของท่านนั้น ขอได้โปรดท าจดหมายเป็นเอกสารมาแจ้งขออนุมัติจากนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ด้วย

ผู้จัดท าขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่ได้ช่วยกันเขียนบทความให้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อแสดงถึงน้ าใจและ

ความร่วมมือเป็นน้ าหนึ่งใจเดียวกันของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ที่มีต่อสมาชิกและวงการแพทย์และปฏิบัติ

ภารกิจต่อต้านภัย COVID-19 ด้วยความเสียสละในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้

หนังสือเล่มนี้ท าจากใจนายกทั้งสองท่านที่มีวาระการด ารงต าแหน่งมาตรงกันคือ นายกแพทยสภาและนายก

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เพื่อแสดงว่า การท างานร่วมกันของสองหน่วยงานนี้จะเสริมพลังและท าให้เกิด

ประโยชน์กับสมาชิกแพทย์ได้มากที่สุด

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์

นายกแพทยสภา (ก.พ. ๒๕๖๒ – ก.พ. ๒๕๖๔)

ผู้อ านวยการส านักงานแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ (ม.ค. ๒๕๖๓ - ม.ค. ๒๕๖๕)

ผู้จัดท าหนังสือขอขอบคุณ นายแพทย์ชาติชัย อติชาติที่ออกแบบ หน้าปกหนังสือเล่มนี้

บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ อีกหน้าหนึ่งของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

“แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ร่วมพิชิตภัย COVID-19”

สารบัญ หน้า

๑. จากใจนายก ฯ ทั้งสองท่าน ผู้จัดท าหนังสือเล่มนี้ ๑

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๒. สารบัญ ๒-๓

๓. อารัมภบท ๔-๖

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๔. เป้าหมายของข้อเสนอและกระบวนหลักในการควบคุมโรคระบาด COVID-19 ๗-๒๔

รวมทั้งข้อมูลการระบาดและจ านวนการตรวจตัวอย่างทางห้องปฎิบัติการ

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๕. เหตุการณ์และข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีในเช้าวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ ๒๕-๓๗

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

 ศาสตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์

๖. โครงการ “นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” ทั้งสองกรมธรรม์ ๓๘-๖๗

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

 นายแพทย์ชัยวัฒน์เตชะไพฑูรย์

๗. โครงการท ากล่องนวัตกรรมครอบศีรษะความดันลบ(COVID-19 box)ให้โรงพยาบาล ๖๘-๗๖

 นางสาวรัตนา ธนสารกิจ

๘. แพทยสมาคมฯ และกองทัพบก ร่วมมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่ อสม. และ ๗๗-๑๑๖

นักรบเสื้อขาวใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้เพื่อสู้ภัย COVID-19 และเครื่องอุปโภคบริโภค

ให้ประชาชนในโครงการแพทยสมาคมฯ เพื่อประชาชน

 แพทย์หญิงรังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

๙. โครงการวัดปลอดจากภัย COVID-19 วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ๑๑๗-๑๒๐

 แพทย์หญิงรังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

๑๐. การรับมอบเงินบริจาคและอุปกรณ์การแพทย์จากหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ๑๒๑-๑๓๗

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์

 นางสาวศุภธิดา เพ็งแจ้ง

๑๑. การประชุมวิชาการทางไกลกับแพทยสมาคมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ๑๓๘-๑๕๘

(Chinese Medical Association หรือ CMA)

 พลตรีผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์กิฎาพล วัฒนกูล

สารบัญ หน้า

๑๒. การประชุมวิชาการทางไกลในรายการ “ถอดบทเรียนแดนมังกร ๑๕๙-๑๗๖

ยับยั้งโควิด-19 (COVID-19 Frontline)”

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๑๓. การแปลเอกสาร Infographic COVID-19 ภาษาไทยและการทดสอบความรู้ CME online ๑๗๗-๑๗๙

ส าหรับสมาชิกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

 พันตรีนายแพทย์ชาญฤทธิ์ ล้อทวีสวัสดิ์

๑๔. การให้ข่าวเกี่ยวกับ COVID-19 ตามสื่อโทรทัศน์ต่างๆ ของนายกแพทยสมาคม ฯ ๑๘๐-๒๐๘

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๑๕. เอกสารโรค COVID-19 ที่เผยแพร่ข้อมูล ความรู้ ความเห็น ให้แพทย์และประชาชน ๒๐๙-๒๘๖

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๑๖. การพัฒนางานวิจัยด้านคลินิกของโรค COVID-19 ผ่าน สวรส. ๒๘๗-๒๙๓

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๑๗. บทสรุปส่งท้าย ๒๙๔-๓๐๐

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๑๘. ภาคผนวก (ดูสารบัญของภาคผนวกในภาคผนวก) ๓๐๑-๓๖๒

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

อารัมภบท

ในเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายที่ผมด ารงต าแหน่งผู้รั้งต าแหน่งนายก ผมได้มาทบทวนภารกิจหลัก ๆ

ของแพทยสมาคมฯ และงานต่าง ๆ ที่ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ได้ท ามาตลอด ๒ ปีที่ท่านด ารงต าแหน่งนายกว่า ยังมีงาน

ต่อเนื่องคั่งค้างอะไรอีกบ้าง? เราคงจ ากันได้ว่า ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ นี่แหละที่ท าให้แพทยสมาคมฯ มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว

อีกครั้งจากการหาสวัสดิการทางการเงินให้แพทย์ทั่วไปตามความถนัดของท่าน โดยท าโครงการเรื่อง SCB First เป็นเวลา ๒

ปีให้แก่แพทย์ทุกท่าน (ท่านยังด ารงต าแหน่งรองคณบดีฝ่ายการคลังที่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีด้วย)

นอกจากนี้ ท่านยังจัดท าโครงการ patient support groups (PSGs) อีก ๙ กลุ่มงาน และยังรับหน้าที่ประธานจัดงาน

APACT ๒๐๒๐ ในเดือนกันยายนอย่างไม่ย่อท้อพร้อมกับจัดหางบประมาณมารองรับการจัดงานดังกล่าวได้เรียบร้อยแล้ว

ท่านเคยกล่าวว่า “เป็นลูกศิษย์ผม ก็ท าตามที่อาจารย์สอน” แต่ผมสรุปจากภาระงานที่ท่านได้ท าแล้ว ผมต้องกล่าวว่า “ท า

เกินที่อาจารย์สอนไปเยอะ ท าดีกว่าที่อาจารย์สอน และยังท าได้ดีในสิ่งที่อาจารย์ไม่ได้สอนอีกด้วย” เมื่อมารับต าแหน่ง

นายกแพทยสมาคมฯ ในเดือนมกราคม ๒๕๖๓ ผมยังแจ้งต่อที่ประชุมว่า รับท างานต่อตามที่ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ ได้ท าไว้

ก็ดีมากเกินพอแล้ว ไม่ต้องเพิ่มโครงการใหม่อะไรอีก เพราะเราจะมีงาน APACT ๒๐๒๐, งานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีของ

การจัดตั้งแพทยสมาคมฯ และงานต่อเนื่องดังกล่าวข้างต้นอีกหลายเรื่อง ดังนั้น ในวาระของผม โครงการทั้งหมดนี้ที่ท า

มาแล้วก็ให้ท าต่อเนื่องและเป็นงานที่มากพอแล้ว ผมคิดว่างานในวาระ ๒ ปีที่ผมเป็นนายก น่าจะผ่อนคลายเพราะเราเริ่ม

คุ้นเคยกับโครงการและงานต่าง ๆ ที่ท ามาบ้างแล้ว

และแล้วในต้นเดือนมกราคม ศกนี้เอง โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เมืองอู่ฮั่นก็เริ่มเป็นข่าวในประเทศจีนและรั่ว

ออกสู่ภายนอก จ านวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นข่าวเกือบทุกวัน กองระบาดในกรมควบคุมโรคในประเทศ

ไทยจมูกไวและได้เสนอไปตั้งด่านตรวจไข้ในนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาเมืองไทยที่สนามบินสุวรรณภูมิ ในที่สุด คณะ

แพทยศาสตร์ จุฬา ก็ตรวจพบเชื้อ SARS-CoV-2 ในคนจีนที่เดินทางเข้าประเทศไทยได้เร็วพอ ๆ กับที่ประเทศจีนประกาศ

ยืนยันว่า พบสาเหตุของโรคปอดอักเสบในเมืองอู่ฮั่นแล้วว่าเป็นเชื้อไวรัส corona สายพันธุ์ใหม่นั่นเอง ประเทศไทยเป็น

ประเทศแรกที่แจ้งว่า โรคนี้ระบาดออกนอกประเทศจีนได้แล้ว การระบาดที่รวดเร็ว การมีผู้ป่วยหนักเกิดขึ้นจนต้องเข้า

รักษาตัวที่หออภิบาลและบางรายถึงแก่กรรม กลายเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ดังระเบิดและสร้างความหวาดกลัวไปทั่วจนองค์การ

อนามัยโลก นักวิชาการ ส านักข่าวทั่วโลกต้องติดตาม รายงานข่าวทุกชั่วโมงและเข้ามาช่วยกันคุมการระบาดของโรคนี้

ต่อมา องค์การอนามัยโลกตั้งชื่อโรคนี้ว่า COVID-19 (corona virus infectious disease 2019) เพื่อหลีกเลี่ยงการท าให้

เกิด “รอยมลทิน” กับคน เชื้อชาติ สถานที่ ประเทศ ที่พบการระบาดของโรคนี้และประกาศเป็นโรคระบาดระดับนานาชาติ

จะมีท่านใดคิดไหมว่า กรรมการเลือกผมให้เป็นนายกแพทยสมาคมฯ ล่วงหน้าถึง ๒ ปีเพื่อเตรียมแพทยสมาคมฯ ให้

ร่วมต่อสู้ภัย COVID-19 ตามความถนัดของผมบ้าง เรื่องนี้ท าให้ผมต้องงัดเอาความรู้ในโรคที่ติดเชื้อที่สอนมานานกว่า ๔๐

ปี กลับมาใช้อีก โชคดีที่แพทยสมาคมฯ มีอาจารย์ผู้ใหญ่ที่มีบารมีหลายท่านที่ยังมาท างานให้แพทยสมาคมฯ อย่างเสียสละ

และจริงจังหลังเกษียณอายุราชการ หลายท่านมี connection ที่มีประโยชน์และมั่นคง ประกอบกับในช่วงปี ๒๕๖๑ เป็น

ต้นมา กรรมการของแพทยสภากับแพทยสมาคมฯ ได้ท างานด้วยกันอย่างใกล้ชิดมาก มีศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ เป็นทั้ง

กรรมการแพทยสภาและได้รับเลือกให้เป็นนายกแพทยสภา และเป็นกรรมการของแพทยสมาคมฯ มานานแล้ว ส่วนอดีต

นายกแพทยสมาคมฯ (อาจารย์รณชัย คงสกนธ์)ก็เป็นกรรมการแพทยสภาด้วย ผมก็เป็นกรรมการแพทยสภามาก่อนและ

ตอนนี้มาเป็นนายกแพทยสมาคมฯ จึงท าให้แพทยสภาและแพทยสมาคมฯ ใกล้ชิดกันมากเป็นกรณีพิเศษ ด้วยบารมีและ

connection ที่มีประโยชน์ของอาจารย์ผู้ใหญ่หลายท่านซึ่งมีอาจารย์สมศรี เผ่าสวัสดิ์เป็นแกนกลาง การท างานที่กลมเกลียว

เป็นหนึ่งเดียวของกรรมการ พสท. ที่เป็นกรณีพิเศษเช่นกัน ท าให้ความยากของงานทั้งหลายลดลงจนหายไปหมดสิ้น ท าให้

มีบุคคลจากวงการภายนอกเข้ามาช่วยเหลืองานของแพทยสมาคมฯ ในด้านการจัดท าสวัสดิการต่าง ๆ ให้สมาชิกและแพทย์

ทั่วไป จนเป็นที่มาของแพทยสมาคมฯ ในการกระโจนเข้าร่วมสู้ศึกพิชิตภัย COVID-19 ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งของ

ภาครัฐและเอกชน อย่างกล้าหาญและเต็มตัวเท่าที่จะท าได้

บทเรียนและข้อมูลต่าง ๆ ของแต่ละโครงการที่หลายท่านได้ช่วยกันบันทึกในครั้งนี้ จะบันทึกไว้ตามสภาพจริงของ

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเก็บไว้ใช้ในการต่อสู้กับการระบาดระดับโลกครั้งต่อไป ข้อมูลในเอกสารหรือข้อคิดเห็นที่แสดงออก

จะเป็นไปตามกาลเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือมีข้อมูลเท่าที่ได้ในขณะนั้น ผู้เขียนไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้องตามกาลเวลาที่ผ่านมา

หรือหลังจากมีข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง เพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นถึงสถานการณ์และความคิดเห็นของผู้ท างานในขณะนั้น

ผู้เขียนเชื่อว่า โรคระบาดที่รุนแรงและแพร่หลายได้รวดเร็วจะเกิดขึ้นได้ทุก ๑๐ ถึง ๒๐ ปี โดยเฉพาะเมื่อประชากรโลก

เพิ่มขึ้นและมนุษย์อยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ปีกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมากขึ้น เชื้อที่ระบาดได้น่าจะเป็นกลุ่มไวรัสที่ก่อโรคใน

ระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก รวมถึงเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินหายใจในคนที่ได้มีการปรับสาย

พันธุ์ตนเองให้เหมาะสมที่จะเข้าไปเพิ่มจ านวนในเซลล์มนุษย์ในระบบทางเดินหายใจได้ดี โชคดีที่เชื้อ SARS-CoV-2 ยังไม่มี

สัตว์ที่เป็นพาหะตัวกลางที่ชัดเจนและอยู่ใกล้ชิดคนเพราะสถานะแบบนี้ท าให้เชื้อไวรัสแพร่จ านวนในสัตว์สื่อกลางและส่งเชื้อ

ต่อให้มนุษย์จนเกิดการระบาดได้ ในกรณีของโรค COVID-19 เท่าที่มีการศึกษาพบว่า แมวสามารถจะเป็นพาหะตัวกลาง

และอยู่ใกล้ชิดคนได้ แต่แมวไม่ได้เป็นสัตว์เลี้ยงเป็นฝูงแบบเป็ด ไก่ จึงยังไม่ได้เป็นภาวะคุกคามที่ส าคัญในการท าให้เกิด

โรคระบาดในมนุษย์ ส่วนตัวนิ่มซึ่งอาจจะเป็นสัตว์สื่อกลางของเชื้อ SARS-CoV-2 ก็ไม่ได้เป็นสัตว์เลี้ยงในปศุสัตว์เช่นกัน

การเข้ามาท างานในฐานะนายกแพทยสมาคม ฯ ต้องได้ผู้ที่มีแนวคิดหรือวิสัยทัศน์ในระดับ interdependence เพื่อ

ช่วยเหลือผู้อื่นหรือหน่วยงานอื่นให้คงอยู่และสามารถท างานช่วยเหลือระบบสุขภาพและประชาชนยามวิกฤติให้อยู่ได้อย่าง

ยั่งยืนด้วย ผู้น าในองค์กรใหญ่ ๆ ที่เด่นดัง มีชื่อเสียงดีและทรัพยากรมากกว่า และมีแนวคิดแบบ interdependence ก็จะ

บริจาคทรัพยากรช่วยเหลือผู้อื่นในประเทศให้ท างานคงอยู่ได้อย่างราบรื่น ซึ่งถือว่าเป็นวิสัยทัศน์หรือความคิดที่สูงกว่าการ

มองและท างานแบบ independence ผมขอเรียนว่า การท ากิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ เหล่านี้ถือเป็นความท้าทาย

แนวคิดและสมรรถนะของแพทยสมาคมฯ เพราะเป็นงานใหญ่โต ข้อดีคือเป็นโครงการต่าง ๆ ที่ท าให้เราบรรลุวัตถุประสงค์

ของการจัดตั้งแพทยสมาคมฯ เกือบครบทุกข้อตามข้อบังคับของแพทยสมาคมฯ ฉบับปรับปรุงใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๓ รวมทั้งข้อ

๒ ที่ผมคิดว่าเราก็จะบรรลุด้วยในทางอ้อม ผมขอเรียนว่า แพทยสมาคมฯ มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

๑. ช่วยเหลือและส่งเสริมการประกอบวิชาชีพแพทย์ ให้อยู่ในกรอบแห่งจรรยาบรรณ

๒. ส่งเสริมสามัคคีธรรมและจรรยาแพทย์ในหมู่มวลสมาชิก

๓. ส่งเสริมการแพทยศาสตร์ศึกษา การวิจัยและการบริการทางการแพทย์

๔. ส่งเสริมสวัสดิภาพของสมาชิก

๕. ร่วมมือกับองค์กรทางการแพทย์ต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนในการพัฒนามาตรฐานการให้การ

รักษาพยาบาล และการสาธารณสุขของประชาชนทั้งประเทศให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่นานาอารยประเทศ

รับรอง

๖. เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้อง

ทั้งด้านการป้องกันและการรักษาโรค

๗. ร่วมมือกับองค์กรทางการแพทย์ในต่างประเทศในการรักษาระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพอนามัยของ

ประชากรโลก

ณ เวลานี้โครงการต่าง ๆ ที่ช่วยกันท าในนามของ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เพื่อร่วมสู้ภัย COVID-19 นี้นับว่า

ประสบความส าเร็จด้วยดีและถึงเป้าอย่างรวดเร็วไม่แพ้ความเร็วของการระบาดโรค COVID-19 มีทั้งแพทย์และ

บุคคลภายนอกที่คิดแบบ interdependence เข้ามาช่วยเหลืออย่างดียิ่ง มีการบริจาคเงินให้แพทยสมาคมฯ เพื่อให้แพทย

สมาคมฯ ท ากรมธรรม์ประกันชีวิตให้แพทย์พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ที่ท างานเป็นนักรบด่านหน้าให้ส าเร็จ มีการ

บริจาคอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่หน้ากากอนามัยรวมถึง N95 เสื้อสวมใส่ของแพทย์ชุด personal protective

equipment (PPE), หน้ากากชนิดปกป้องทั้งใบหน้า (face shield), สเปรย์แอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เจล สบู่ล้างมือ

อาหารการกินผ่านทางแพทยสมาคมฯ เพื่อแจกต่อให้บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการคิดท าเครื่องมือที่เป็นนวัตกรรมต่อ

ยอด เช่น กล่อง Prototype COVID-19 Box เพื่อช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์จากการติดเชื้อด้วย แพทยสมาคมฯ

จึงขอบันทึกเบื้องหน้าเบื้องหลังของเหตุการณ์และการท าโครงการต่าง ๆ ไว้ในหนังสือเล่มนี้ ความส าเร็จดังกล่าวนี้สะท้อน

ถึงชื่อเสียง บารมีและระดับการยอมรับแพทยสมาคมฯ และบรรดาอาจารย์แพทย์อาวุโสที่ได้บริหารแพทยสมาคมฯ ยาวนาน

ถึง ๑๐๐ ปี ความส าเร็จนื้ยังสะท้อนถึงความตระหนักและการทุ่มเทก าลังใจของสังคมไทยที่ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์

อย่างล้มหลามในยามวิกฤติโควิด-๑๙ นี้ด้วย

ผมจึงต้องขอกราบขอบพระคุณอาจารย์และกรรมการอาวุโสของแพทยสมาคมฯ ทุกท่าน ต้องขอขอบคุณอาจารย์

กรรมการแพทยสมาคมฯ อีกหลายท่านที่เข้ามาช่วยท างานอย่างจริงจังและต่อเนื่องในการมอบสวัสดิการแก่สมาชิกแพทย์

หลายท่านเป็นผู้ที่เขียนบทความในหนังสือเล่มนี้ด้วย ผมขอขอบคุณกรรมการเครือข่ายของกลุ่ม PSGs และบุคคลภายนอก

ผู้มีจิตเมตตารวมทั้งแพทย์ ประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ร่วมบริจาคเงิน คิดท าและมอบอุปกรณ์การแพทย์ที่ช่วยป้องกันการติด

เชื้อในขณะท าหัตถการหรือดูแลรักษาคนไข้ และมีจิตอาสาช่วยกันท าบุญกุศลให้แก่แพทย์ สมาชิกแพทย์(รวมทั้งบุคลากร

ทางการแพทย์) และช่วยกันสนับสนุนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของแพทยสมาคมฯ เพื่อท าให้บุคลากรทางการแพทย์

ปลอดภัยจากการติดเชื้อขณะท างาน มีขวัญ ก าลังใจในการท างานต่อต้านภัยจากโรค COVID-19 และช่วยดูแลรักษาผู้ป่วย

และประชาชนให้ดีที่สุด รวมถึงช่วยควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศให้จบสิ้นโดยเร็ว ผมขอขอบคุณ

เจ้าหน้าที่แพทยสมาคมฯ และ จพสท. ทุกท่านที่ได้ทุ่มเทเสียสละช่วยงานต้านภัย COVID-19 ด้านนี้อย่างเต็มที่

ผมต้องเรียนว่า ในยุค COVID-19 ที่กลายเป็นโรคระบาดแห่งยุค สร้างความตื่นตระหนกหวาดกลัวไปทั่วโลกในเดือน

มค. ถึง เมย. ๒๕๖๓ ผมและกรรมการ พสท. ได้ท างานอย่างเต็มก าลัง(อาจจะเกินก าลังด้วยซ้ า)ในการช่วยทั้งสมาชิกแพทย์

สังคม ประชาชน ในทุก ๆ ด้านและร่วมสู้ศึกต้านภัย COVID-19 อย่างไม่กลัวความเหน็ดเหนื่อย หนังสือฉบับนี้จะบันทึก

เหตุการณ์ส าคัญอีกหนึ่งครั้งในประวัติศาสตร์อันยาวนานของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ซึ่งก็อยู่ในระยะเวลาที่จะ

ฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีของการจัดตั้งแพทยสมาคมฯ เช่นกัน ขอให้สมาชิก พสท. และแพทยสมาคมฯ มีความภาคภูมิใจที่มี

โอกาสได้ท างานดังกล่าวข้างต้น และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศที่ได้เสนอข้อคิดเห็นแก่นายกรัฐมนตรี ได้ท างาน

ร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชนที่พร้อมใจกันเข้าร่วมพิชิตภัย COVID-19 ในประเทศไทยไปด้วยกัน

แล้วเราจะร่วมฝ่าผ่านวิกฤติโควิด-๑๙ นี้ไปด้วยกัน โดยไม่ทิ้งคนไทยหรือใครไว้เบื้องหลัง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ (วาระ ม.ค. ๒๕๖๓ ถึง ม.ค. ๒๕๖๕)

เขียนระหว่างวันที่ ๑ ถึง ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓

เป้าหมายของข้อเสนอและกระบวนหลักในการควบคุมโรคระบาด COVID-19 รวมทั้งข้อมูลการ

ระบาดและจ านวนการตรวจตัวอย่างทางห้องปฎิบัติการ

เมื่อรับทราบจากนายกแพทยสภา ให้วางแผนและท าข้อเสนอเรื่องการควบคุมโรค COVID-19 ให้

นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ในเช้าวันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ ซึ่งในขณะนั้น ผมยังช่วยงาน

ของแพทยสภาโดยเป็นที่ปรึกษาเลขาธิการแพทยสภา และดูแลข้อมูลด้านโรคติดเชื้อให้แก่แพทยสภาและนายก

แพทยสภา(อ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์)ตลอดมา จึงได้พูดคุยกับท่านนายกแพทยสภาเรื่องกระบวนการควบคุมโรคนี้ใน

หลักการ และได้มีการโทรศัพท์พูดคุยกับศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เติมชัย ไชยนุวัติอดีตประธานราช

วิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยด้วยว่า จะมีโอกาสไปเสนอเรื่องนี้กับนายกรัฐมนตรีด้วย แม้ว่าแพทยสมาคม

ฯ และอนุกรรมการบริหารบางท่านของแพทยสภาเคยเห็นด้วยและผมได้ท าเอกสาร เรื่องกักกันผู้เดินทางเข้า

ประเทศไทย(ทั้งชาวไทยและต่างประเทศแล้ว)เตรียมให้แพทยสภาประกาศตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมแล้ว แต่ยังไม่ได้

เข้ารับการรับรองจากกรรมการแพทยสภา ท าให้ยังไม่สามารถท าประกาศออกไปได้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณนาย

แพทย์เติมชัย ไชยนุวัติได้เคยโทรศัพท์มาคุยกับผมหลายครั้งและความเห็นก็ตรงกันในด้านกักกันคนต่างชาติที่เดิน

ทางเข้ามาในประเทศไทยจากดินแดนที่มีการระบาดของโรค COVID-19 ด้วย โดยเฉพาะในกรณีคนไทย “ผีน้อย”

ที่อยากจะเดินทางกลับประเทศไทยและต้องถูกกักกันตัว ๑๔ วัน แต่เราอยากจะให้มีการกักกันตัวนักท่องเที่ยวทุก

รายที่เข้ามาในประเทศไทยหากเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้

ผมจึงได้ม า ว างแผนก า รเ ขียนเอกส า ร โดยใช้ keyword ว่ า top-down and bottom-up of

enforcement of community-quarantine and social distancing ผมเขียนข้อความนี้ลงใน Line ของแพทย

สมาคมฯ ในบ่ายวันอาทิตย์ที่ ๑๕ มีนาคมว่า กระบวนการควบคุมโรคจะใช้ key word นี้แต่ไม่บอกว่า จะไปเสนอ

ใคร จ าได้ว่า พอผมพิมพ์ keyword นี้ลงใน Line แพทยสมาคมฯ ท่านนายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย

ปลัดกระทรวงสาธารณสุขและเป็นผู้รั้งต าแหน่งนายกแพทยสมาคมฯ ด้วย ได้เขียนต่อ ถามมาเลยว่า “อาจารย์จะ

เสนออะไร?” แสดงว่า ท่านก็ก าลังคิดกันอยู่ แต่ผมก าลังท าเอกสารให้เสร็จจนถึงเย็นวันอาทิตย์ จึงยังไม่ได้ตอบ

ท่านไปว่าจะให้ท าอะไรบ้าง รายละเอียดของกระบวนการท างานในภาคปฏิบัติอยู่ในบท “เหตุการณ์และข้อเสนอ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

• นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

• รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม

ให้นายกรัฐมนตรีในการประชุมเช้าวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓” ซึ่งผมได้อธิบายไว้ในเอกสารที่ท าเสนอนายกรัฐมนตรี

และได้แสดงตัวอย่างของการแปล keyword ให้เป็นภาคปฏิบัติโดยยกตัวอย่างด้วย

ในขณะนั้น ผมได้วางแผนว่า ควรใช้รูปแบบการควบคุมโรคในรูปแบบที่ ๑ คือ รีบหยุดยั้งการระบาดอย่าง

รวดเร็ว เพื่อจะได้ไม่ต้องมากังวลกับความพอเพียงของจ านวนเตียง หออภิบาล เครื่องช่วยหายใจว่า จะมีพอ

หรือไม่? โดยท าให้ประชาชนส่วนใหญ่หลุดรอดจากการติดเชื้อไปเลย ในที่ประชุมจึงมีการคุยกันถึงเรื่องการเลื่อน

วันหยุดวันสงกรานต์ ปิดสถานที่เรียน งดการจัดประชุมตามแบบอย่างที่ราชวิทยาลัยต่าง ๆ ได้เลื่อนการประชุม

วิชาการออกไปก่อนแล้ว

เพื่อให้เห็นผลลัพธ์ของ keyword ดังกล่าวบ้าง จะอธิบายพอสังเขปว่า เป้าหมายของการควบคุมโรค

ระบาด COVID-19 ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจและยังไม่มียาต้านไวรัสหรือวัคซีนที่ได้ผลแน่นอน

ในความเห็นของผม จะมีกระบวนการท างานและเป้าหมายอยู่ ๓ รูปแบบ

รูปแบบที่ ๑ ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อให้หยุดชงักอย่างรวดเร็ว

กระบวนการ ท าโดยใช้มาตรการควบคุมจากภาครัฐและประชาชนร่วมกัน (ท าฝ่ายเดียว จะส าเร็จได้ยาก) เรียกว่า

๑.๑ top-down and bottom-up of enforcement of community quarantine and social distancing (งด

การชุมนุมด้วย)เพื่อระงับการแพร่กระจายเชื้อ ประชาชนต้องท าตามมาตรการแบบนี้อย่างเข้มข้นได้ถึงร้อยละ ๙๕

ขึ้นไป และ ๑.๒ ต้องมีระบบ intense screening for case finding and contact tracing ควบคู่ไปด้วย คือรีบ

ตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อและสืบไปถึงแหล่งมั่วสุมที่แพร่เชื้อในระยะฟักตัวของโรคหรือในผู้ที่ไม่มีอาการ เพื่อไประงับ

หรือปิดกิจการหรือกิจกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ที่ท าให้มีการแพร่เชื้อต่อไปเป็นกลุ่มก้อนได้อีก

ข้อดีการระบาดของโรคจะยุติเร็วภายใน ๒ ถึง ๔ เท่าของระยะฟักตัวของโรค รายงานจ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อ

วันจะลดลงเหลือไม่เกิน ๑๐ รายต่อวัน แบบนี้ไม่กระทบต่อจ านวนเตียงหรือหออภิบาล บุคลากรทางการแพทย์ยัง

ท างานพอได้ การหยุดการระบาดของโรคให้เร็วที่สุดเพื่อให้ผลกระทบที่เกิดรุนแรงมากต่อเศรษฐกิจและผู้คนระดับ

รากหญ้าที่หาเช้ากินค่ า มีระยะเวลาสั้นที่สุดด้วย และการยุติการระบาดอย่างรวดเร็วเพื่อจะได้รีบเปิดทางให้

เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วขึ้นเช่นกัน (หากการระบาดของโรคไม่ยุติภายใน ๒ ถึง ๔ สัปดาห์ของระยะฟักตัวของโรค

แสดงว่า มาตรการฝ่ายประชาชนและฝ่ายรัฐที่ยับยั้งการแพร่เชื้อ ยังท าไม่ถูกต้อง ไม่ได้ก าจัดแหล่งแพร่เชื้อ

หรือมาตรการยับยั้งเชื้อไม่ได้ท าร่วมกันในกลุ่มประชาชนสูงเกินร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ยิ่งมีการระบาดของโรคเกิน

๔ เท่าของระยะฟักตัวของโรค ยิ่งแสดงว่า มาตรการทั้งฝ่ายรัฐและประชาชนในการหยุดยั้งการแพร่เชื้อเท่าที่

ท ามา ยังท าไม่ถูกต้องเลย ดังนั้น การเสนอให้ใช้มาตรการเข้มข้นตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม จะต้องเห็นผลใน

การยับยั้งการแพร่เชื้อโรคโดยวัดจากผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวัน ต้องลดลงต่ ากว่า ๑๐ รายในเดือน

พฤษภาคม เป็นต้นไป)

ข้อเสีย การหยุดยั้งการระบาดของโรคเกิดอย่างรวดเร็ว ท าให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ติดเชื้อและไม่มีภูมิคุ้มกันต่อ

โรคนี้ ผู้ที่ติดเชื้อโรคและป่วยได้ง่ายหรือรุนแรงจะรอดจากการติดเชื้อและการตายจากโรคนี้แต่ยังต้องระวังตัวเพื่อ

ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อต่อไป ต้องคอยให้มีการวิจัย ค้นคว้าหายาและวัคซีนมาช่วยรักษาและป้องกันโรค

มาตรการด้าน intense case screening and contact tracing ต้องใช้นักวิทยาศาสตร์ทางห้องปฏิบัติการและ

นักระบาดวิทยาเข้ามาช่วยหาข้อมูลในด้านแหล่งหรือการแพร่เชื้อที่ยังหลุดรอดให้เชื้อแพร่ออกไป กระบวนการ

หยุดยั้งการระบาดของโรคแม้จะใช้ระยะเวลาสั้น แต่มีผลกระทบรุนแรงมากต่อเศรษฐกิจและผู้คนระดับรากหญ้าที่

หาเช้ากินค่ า อาจจะต้องมีการเยียวยาผู้เดือดร้อนทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ หรือใช้ทรัพยากรประคับประคอง

เศรษฐกิจไว้เพื่อรอเวลาให้ฟื้นตัวได้ทันทีที่ยกเลิกมาตรการต่าง ๆ จากฝ่ายรัฐที่ออกกฎระเบียบมายับยั้งและยุติ

แหล่งที่แพร่เชื้อในทันที นอกจากนี้ ยังอาจจะมีการระบาดในรอบที่ ๒ และ ๓ ได้ ถ้าการป้องกันตนเองของ

ประชาชนย่อหย่อนและมาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายของรัฐเริ่มปลดปล่อยบ้าง

ผมเลือกรูปแบบนี้และเสนอนายกรัฐมนตรี(พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)ว่า ถ้าท าได้เต็มที่มากกว่าร้อยละ

๙๕ ขั้นไป จะเห็นผลชัดเจนในด้านจ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระยะเวลาสองเท่าของระยะฟักตัวของโรค คือต้น

เดือนพฤษภาคม และเสนอนายกรัฐมนตรีว่า ในกรณีที่ประชาชนร่วมมือดีมากจนเห็นผลชัดเจนในเดือนพฤษภาคม

ยังอาจจะให้ประชาชนลงมติในต้นเดือนพฤษภาคมว่า จะเลือกใช้มาตรการรูปแบบนี้ต่อไปหรือรูปแบบไหนดีในการ

ต่อสู้กับโรค COVID-19?

ให้ดูตอนท้ายของบทความนี้ เกิดมี poll มาถามประชาชนจริง ๆ ด้วยว่า ชอบ พรก. ฉุกเฉินไหม? พอดี

เพิ่งมีผู้ส่งมาให้ในวันนี้เลย)

รูปแบบที่ ๒ ควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อให้ช้าลง เพื่อให้ผู้ป่วยมีจ านวนไม่มากจนเกินจ านวนเตียงและ

บุคลากรทางการแพทย์ที่จะรับมือได้

กระบวนการ ท าโดยใช้มาตรการควบคุมจากภาครัฐและประชาชนร่วมกัน แต่ท าไม่เข้มข้นเท่ารูปแบบที่ ๑

ข้อดี ความต้องการในด้านความร่วมมือจากประชาชนในการท ามาตรการต่าง ๆ มีน้อยกว่า มีผลกระทบต่อ

เศรษฐกิจและผู้คนระดับรากหญ้าที่หาเช้ากินค่ า น้อยกว่า จ านวนเตียง หออภิบาล และบุคลากรทางการแพทย์ใน

โรงพยาบาลยังมีพอดีกับจ านวนคนไข้ถ้ามาตรการในควบคุมการระบาดย่อหย่อนแบบพอดีด้วย ประชากรบางส่วน

ถึงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อแต่ไม่ตายจะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคไปนานด้วย

ข้อเสีย การระบาดของโรคจะยาวนานกว่า ผู้ที่ติดโรคและป่วยได้ง่ายหรือรุนแรงจะตายมากกว่ารูปแบบที่ ๑ และ

ประชาชนบางส่วนยังต้องระวังตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่อไป ความต้องการในการวิจัยและค้นคว้าหายาและ

วัคซีนมาช่วยรักษาและป้องกันโรคยังมีอยู่แต่ไม่เร่งรีบ แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องท างานหนักในด้าน

การรักษาพยาบาล ถ้ามาตรการควบคุมย่อหย่อนมากเกินไปจนท าให้มีผู้ติดเชื้อมากเกินไป จะเกิดปัญหาความ

พอเพียงในด้านจ านวนเตียง หออภิบาล เครื่องช่วยหายใจได้ เศรษฐกิจจะถูกกระทบบ้างแต่ยาวนานกว่าถึงแม้จะ

ไม่รุนแรงเท่าแบบแรกในตอนต้นของการวางมาตรการป้องกัน ยังอาจจะต้องมีการเยียวยาผู้เดือดร้อนทาง

เศรษฐกิจบ้างในด้านต่าง ๆ เพราะระยะเวลาการระบาดยาวนานขึ้น

รูปแบบที่ ๓ ไม่ต้องใช้มาตรการใด ๆ มาควบคุม ปล่อยให้เชื้อโรคกระจายและระบาดไปตามปกติ

๑๐

ข้อดีเศรษฐกิจถูกกระทบน้อยในระยะแรก แต่ในระยะยาวอาจจะกระทบมากขึ้นได้ถ้ามีคนตายมาก ประชาชนที่

รอดตายส่วนมากจะเกิดภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติและช่วยป้องกันการระบาดของโรคได้ในอนาคต(ถ้าเชื้อไวรัสไม่มี

การกลายพันธุ์มากจนเกินไป)

ข้อเสีย หากการแพร่กระจายเกิดรวดเร็วและโรคมีความรุนแรง จะมีจ านวนผู้ป่วยเข้ารักษาในโรงพยาบาลและถึง

แก่กรรมมากที่สุด เตียง หออภิบาล และบุคลากรทางการแพทย์จะมีจ านวนไม่เพียงพอและไม่สามารถรองรับ

ผู้ป่วยหลายรายไว้รักษาในโรงพยาบาล จนถึงกับต้องเลือกว่า จะรับใครหรือไม่รับใครไว้รักษาในโรงพยาบาล

ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจะมีน้อยแต่อยู่ยาวนานจนกว่าโรคจะหยุดการระบาด อย่างไรก็ตาม เมื่อโรคระบาดจนเกิน

จุดที่แพทย์ เตียง หออภิบาล ในโรงพยาบาลจะรับไว้รักษาได้ จนต้องปล่อยคนไข้บางรายไว้นอกโรงพยาบาล จะ

เกิดความวิตกกังวลและตื่นตระหนกอย่างรุนแรงจนประชาชนจะไม่ยอมและเรียกร้องรัฐบาลให้กลับมาใช้มาตรการ

แบบที่ ๑ หรือ ๒ ทั้งนี้แล้วแต่รัฐบาลจะไหวตัวทันหรือไม่

โดยสรุป ผมท าเอกสารเสนอให้นายกแพทยสภาและนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในด้านการ

ควบบคุมโรคโดยเลือกใช้รูปแบบที่ ๑ และ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ท าข้อเสนอด้านจิตวิทยาในการควบคุมความ

ตระหนกและเพิ่มความร่วมมือจากประชาชนเพื่อเสนอนายกรัฐมนตรี เป็นการตัดปัญหาเรื่องความพอเพียงของ

จ านวนเตียงในโรงพยาบาล ในหออภิบาล เครื่องช่วยหายใจ เพราะตอนนั้นเรายังไม่มียาต้านไวรัสที่ใช้รักษาโรคนี้

ได้แบบชะงักเหมือนไข้หวัดใหญ่ จึงไม่อยากเสี่ยงให้มีการติดเชื้อระบาดมากจนมีผู้ป่วยหนักจ านวนมากจนเราไม่มี

เตียงให้พอใช้

ส าหรับมาตรการในการปิดประเทศนั้น ผมเคยเสนอว่า ถ้าจะปิดประเทศ น่าจะให้องค์การอนามัยโลกมา

ขอความร่วมมือให้ปิดพร้อมกันทุกประเทศ เพื่อให้เวลา ๑ เดือนแก่ทุกประเทศในการจัดการรายป่วย รักษาให้หาย

จนไม่มีรายติดเชื้อใหม่ภายใน ๓๐ วัน แล้วเปิดประเทศพร้อม ๆ กัน หากเราปิดแต่ประเทศไทยแต่ประเทศอื่นไม่

ปิดเลย เราอาจจะต้องปิดประเทศไปนานเพราะประเทศไทยเป็นประเทศแรก ๆ ที่มีผู้ติดเชื้อเข้ามา ไม่ใช่ประเทศ

สุดท้ายที่เพิ่งมีการระบาด จะได้ไม่ต้องปิดนาน

ส่วนค าถามที่ถามว่า ในกรณีที่มีผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลและต้องคัดเลือกผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใน

โรงพยาบาล แพทย์จะใช้เกณฑ์อะไรบ้าง? เรื่องนี้ ขอให้เป็นเรื่องของผู้บริหารหรือนักเศรษฐศาสตร์รับไปคิด

แพทย์คงจะไม่สามารถเข้าไปร่วมคิดหาเกณฑ์ได้ แพทย์คงคิดได้แต่ว่า จะช่วยกันหาความช่วยเหลือเพื่อเพิ่มจ านวน

บุคลากรทางการแพทย์ เพิ่มเตียง เพิ่มโรงพยาบาล หาทุนทรัพย์มาช่วยเพิ่มศักยภาพและสมรรถนะในการรักษา

ผู้ป่วยให้ได้มากที่สุดได้อย่างไรบ้าง?

ที่น่าสนใจคือ ผมเสนอในที่ประชุมวันจันทร์ว่า ผลการใช้มาตรการเข้มข้นในการระงับการแพร่เชื้อ จะเริ่ม

เห็นผลในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ท่านสามารถท าโพลสอบถามประชาชนได้ในสัปดาห์แรกของเดือน

พฤษภาคมว่า ประชาชนจะชอบวิธีการควบคุมที่ผ่านมาหรือไม่? ปรากฎว่า มี poll ออกถามประชาชนจริง ๆ ด้วย

ตามเอกสารที่แนบมา ตามข่าวข้างล่างที่เขียนว่า นายกสั่งท าโพล(เข้าใจว่า ในสัปดาห์ที่หนึ่ง)และมีโพลออกมาใน

๑๑

สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมให้ประชาชนตอบด้วย (ดังเอกสารแนบ) แต่เพิ่งทราบข่าวว่า นายกรัฐมนตรี

ปฏิเสธว่า ไม่ได้สั่งท า poll ข้างล่างนี้เลย (และก็ไม่ทราบว่า ใครหรือองค์กรใดเป็นผู้ท า poll นี้ด้วย)

ข้างล่าง เป็นแบบสอบถาม บางข้อ ที่ถามมาในโพล

ผมเลือกรูปแบบที่ ๑ และเสนอนายกรัฐมนตรีว่า ถ้าท า

ได้เต็มที่มากกว่าร้อยละ ๙๕ ขั้นไป จะเห็นผลชัดเจนใน

ด้านจ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในระยะเวลาสองเท่าของ

ระยะฟักตัวของโรค คือต้นเดือนพฤษภาคม และเสนอ

นายกรัฐมนตรีว่า ในกรณีที่ประชาชนร่วมมือดีมากจน

เห็นผลชัดเจนในเดือน พฤษภาคม ยังอาจจะให้

ประชาชนลงมติในต้นเดือนพฤษภาคมว่า จะเลือกใช้

มาตรการรูปแบบนี้ต่อไปหรือรูปแบบไหนดี?

ให้ดูตอนท้ายของบทความนี้ เกิดมี poll มา

ถามจริง ๆ ด้วยว่า ชอบ พรก ฉุกเฉินไหม?

(พอดีเพิ่งมีผู้ส่งมาให้ในวันที่เขียนบทนี้เลย

วันที่ ๑๐ พค. ๒๕๖๓)

อ่านดูแล้ว เป็นแบบสอบถามที่ตรงประเด็นมาก

ท่านตอบไปหรือเปล่าว่า ชอบมากไหม??

๑๔

วิธีการแพร่เชื้อและกระบวนการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรค

วิธีการแพร่เชื้อ

๑. การไอ จาม พูดจาดัง ๆ การตะโกน การเชียร์ การร้องเพลงเสียงดัง ท าให้เชื้อปนเปื้อนหลุดออกมาได้

 ท าให้เชื้อผ่านออกมาทางลมหายใจของผู้ติดเชื้อ โดยปล่อยออกมาเป็นฝอยละอองขนาดใหญ่(ใหญ่

กว่า ๕ ไมครอน) และฝอยละอองขนาดเล็ก (เล็กกว่า ๕ ไมครอน) ฝอยละอองขนาดใหญ่มักจะตกลง

บนพื้นภายในระยะ ๒ เมตร ฝอยละอองขนาดเล็กจะหลุดลอยไปในอากาศได้ไกลถึง ๑๐ เมตรก็ได้

๒. การใช้-จับสิ่งของร่วมกันโดยเฉพาะในที่สาธารณะ ท าให้ติดเชื้อแบบทางอ้อมผ่านมาโดยมือที่สัมผัสสิ่งคัดหลั่ง

ของผู้ติดเชื้อที่ติดอยู่กับของใช้สาธารณะที่ใช้จับร่วมกัน และตามพื้นถนน(ถ้ามีผู้ป่วยจ านวนมาก) แล้วมือนั้นมา

จับใบหน้า แคะจมูก หรือปากตนเอง

๓. การสัมผัสมูลอุจจาระผ่านมาทางอุจจาระที่ปนเปื้อนเชื้อจากผู้ติดเชื้อและมือของรายถัดไปไปจับสัมผัสสิ่ง

ปนเปื้อนในห้องน้ าสาธารณะ แล้วมาจับใบหน้า แคะจมูก หรือปากตนเอง

๔. การจูบกันแบบปากต่อปาก หรือจูบที่ใบหน้า การทักทายโดยการจับมือกันแบบวัฒนธรรมตะวันตก ท าให้เชื้อ

แพร่ถึงกันโดยตรงจากมือสู่ปาก มือสู่ตา ปากสู่ปาก และในที่สุด เป็น“คนสู่คน”

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

- ผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อ ผู้ต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อ ให้ปฏิบัติดังนี้

 หาแพทย์หรือเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโดยไม่ต้องปกปิดตนเอง

 ต้องสวมหน้ากากอนามัย เพื่อลดการปล่อยฝอยละอองขนาดใหญ่ออกนอกรูจมูกหรือปาก และป้องกัน

ตนเองจากการสูดดมเอาฝอยละอองขนาดใหญ่และขนาดเล็กของผู้อื่นเข้ามาที่รูจมูกของตนเอง

 กักกันตนเองในพื้นที่ ในห้อง ไม่ออกไปอยู่ปะปนกับผู้อื่น

 ท าความสะอาดพื้น หรือสิ่งของที่ต้องจับหรือใช้ร่วมกันด้วยแอลกอฮอล

 ให้ใช้สิ่งของที่เป็นของส่วนตัวโดยเฉพาะ เช่น การใช้ช้อนส่วนตัว ดีกว่าการใช้ช้อนกลางเพราะมือของแต่

ละคนอาจจะปนเปื้อนเชื้อท าให้มือของอีกหลายคนที่ไปจับช้อนกลางคันเดียวกัน ติดเชื้อไปหมดทุกราย

- ประชาชนทั่วไป เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อ ให้ปฏิบัติดังนี้

 การอยู่บ้านกับผู้ที่รู้จักกัน จะลดโอกาสไปสัมผัสเชื้อจากคนอื่น

 เมื่อออกนอกบ้าน ให้สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า เพื่อป้องกันการกระเด็นของฝอยละออง

ขนาดใหญ่จากผู้อื่น(ที่อาจจะติดเชื้อ) มาสู่รูจมูกหรือปากของตนเอง ส่วนฝอยละอองขนาดเล็กอาจจะ

หลุดลอดผ่านหน้ากากอนามัยของผู้ติดเชื้อและผ่านหน้ากากอนามัยของผู้อยู่ใกล้ มาเข้ารูจมูกของผู้อยู่

ใกล้ชิดได้

 การใส่หน้ากากคลุมหน้า(face shield) ให้ใช้ร่วมกับการใส่หน้ากากอนามัย และใช้ในกรณีที่ต้องมีการ

พูดจาโต้ตอบกัน เพื่อป้องกันน้ าลายหรือฝอยละอองขนาดใหญ่กระเด็นมาที่ใบหน้าผู้อื่นหรือของตนเอง

 การป้องกันฝอยละอองขนาดเล็กเข้าสู่รูจมูกของผู้ใกล้เคียงนั้น ต้องสวมหน้ากากอนามัยแบบ N95 หรือผู้

ใกล้ชิดสวมชุด PPE ซึ่งปกปิดทั้งตัวเลย วิธีนี้ใช้โดยแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ไม่

เหมาะสมที่จะน ามาใช้กับประชาชนทั่วไป

๑๕

 การยืนห่างกันอย่างน้อย ๒ เมตรกับผู้ที่ไม่รู้จักกันมาก่อน เพื่อมิให้ฝอยละอองขนาดใหญ่กระเด็นมาถึงรู

จมูกหรือปากตนเองเวลาพูดกัน และท าให้ฝอยละอองขนาดเล็กที่ออกมาจากปากผู้ติดเชื้อลอยปลิวไปใน

อากาศและถูกเจือจางด้วยอากาศโดยรอบ จนฝอยละอองขนาดเล็กที่ปนเปื้อนเชื้อไม่ถูกสูดดมเข้าไปในรู

จมูกของผู้ที่อยู่ห่างไปอย่างน้อย ๒ เมตร การเข้าแถวและการอยู่ในที่ชุมชนต้องยืนหรืออยู่ห่างกัน ๒

เมตรเสมอ ผู้ที่อยู่ด้วยกันในบ้านเดียวกันเกิน ๒ สัปดาห์แล้วไม่มีใครเป็นอะไร อาจจะไม่ต้องอยู่ห่างกัน

อย่างน้อย ๒ เมตรก็ได้

 การล้างมือบ่อย ๆ เช่น ก่อนออกจากบ้านและเมื่อจะกลับเข้าไปในบ้าน ก่อนและหลังการจับต้องสิ่งของ

ที่ใช้ร่วมกันโดยเฉพาะเมื่ออยู่นอกบ้าน และต้องไม่ใช้มือจับต้องใบหน้า แคะจมูก จับปากตนเอง หากต้อง

สัมผัสใบหน้า ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนเสมอ

 การอยู่ในฝูงชนหรือที่ชุมนุมชนนอกบ้าน นอกจากสวมหน้ากากอนามัยแล้ว ให้ใช้เวลาสั้นที่สุดเท่าที่

จ าเป็นในการท างานหรือท าธุระนอกบ้าน

 การอยู่ในฝูงชนหรือที่ชุมนุมชนนอกบ้าน ให้อยู่ในที่กลางแจ้งหรือในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทได้ดีเสมอ

 ไม่พูดจาหรือพูดเสียงดังกับเพื่อนเมื่ออยู่ใกล้ชิดกันในห้อง ในลิฟต์ หรือในเวลาซื้อสินค้า

 ไม่จับมือทักทายกัน ไม่กอดจูบกัน การจูบกันท าให้เชื้อแพร่กระจายโดยตรงจากปากคนติดเชื้อสู่ปากผู้อื่น

โดยไม่ต้องผ่านทางลมหายใจก็ได้

มาตรการควบคุมการแพร่เชื้อจากภาครัฐบาล ก็อ้างอิงตามหลักการข้างต้น และมีหลายวิธี เช่น

 Curfew โดยห้ามคนออกนอกบ้านในช่วงเวลาหนึ่ง เพื่อลดการชุมนุมหรือการเข้าใกล้กันของคนจ านวน

มากในสถานบริการบางอย่างในเวลากลางคืน โดยเฉพาะสถานบริการทางเพศที่จะมีการกอดจูบกัน หรือ

ในสถานที่ที่ไม่สามารถท า physical distancing ได้ในขณะบริการกับผู้คนที่ไม่ได้อยู่ด้วยกันหรือไม่ได้รู้จัก

กันมาก่อน(ไม่ใช่สมาชิกครอบครัวเดียวกัน)

 Lock down ประเทศเพื่อลดคนติดเชื้อภายนอกประเทศเข้ามา หรือห้ามคนภายในประเทศเดินทาง

ออกไปแพร่เชื้อนอกประเทศ หรือจะ lock down บางจังหวัด บางพื้นที่ที่มีโรคระบาดมาก เพื่อมิให้โรค

กระจายออกนอกจังหวัดหรือพื้นที่ หรือป้องกันคนติดเชื้อมิให้เข้ามาในพื้นที่

 ประกาศปิดโรงเรียน ปิดการประชุมใหญ่ที่มีผู้คนร่วมชุมนุมใกล้ชิดจ านวนมาก ปิดสถานที่ที่ให้บริการโดย

ระบบอากาศไม่ถ่ายเท หรือผู้ใช้บริการไม่สามารถท า physical distancing ได้ ปิดสถานที่ที่ผู้คนต้องเข้า

ไปใช้บริการนาน ๆ ในพื้นที่จ ากัดและอากาศไม่ถ่ายเท จนกว่าโรคจะสงบ

 Screening for case and contact tracing and quarantine โดยตรวจค้นผู้มีไข้ ผู้ติดเชื้อ กักกันผู้ติด

เชื้อ ค้นหาผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อและผู้ที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อและกักกันจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคและไม่มี

อาการใด ๆ

 บังคับตรวจหาเชื้อจากตัวอย่างของสิ่งคัดหลั่งหรือจากเลือดในผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อโดยการ

ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐ เจ้าพนักงานสามารถเข้าไปตรวจหาเชื้อได้ด้วย

วิธีการต่าง ๆ เช่น RT-PCR, ICT for IgM, IgG เป็นต้น

๑๖

 ต้องรีบตรวจหาผู้ติดเชื้อและซักประวัติการสัมผัสเชื้อในระยะฟักตัวของโรคจากผู้ติดเชื้อ เพื่อไปก าจัด

แหล่งแพร่เชื้อ หรือกักกันผู้ที่สัมผัสผู้ที่ติดเชื้อแล้ว โดยต้องท าอย่างเข้มข้นและรวดเร็ว

 ให้รีบจัดหาน้ ายาตรวจหาเชื้อและส่งเสริมให้เอกชนร่วมตรวจหาเชื้อ หรือให้ประชาชนที่สงสัยตนเองเข้าถึง

การตรวจหาเชื้อตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโรคและอาจจะให้ประชาชนร่วมจ่ายค่าตรวจด้วย

มาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลหรือจังหวัดประกาศใช้และผลลัพธ์ในการลดจ านวนผู้ติดเชื้อแต่ละวัน

จาก facebook ของ รศ.นพ.ปรัญญา สากียลักษณ์ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ (ได้ขออนุญาต

และได้รับอนุมัติจาก รศ.นพ.ปรัญญา สากียลักษณ์ แล้ว)

๑๗

ข้อมูลการระบาดของโรค COVID-19 และจ านวนการตรวจตัวอย่างของแต่ละประเทศและจ านวน

ห้องปฎิบัติการของประเทศไทย

จากข้อมูลการระบาดของโรคด้านล่าง ท่านสามารถตรวจสอบได้ว่า ประเทศที่ประชาชนตระหนักในการ

ป้องกันและรัฐบาลร่วมท าการป้องกันด้วย จะมีจ านวนผู้ติดเชื้อน้อย ผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมน้อย ส่วนรัฐบาลและ

ประชาชนของประเทศใดร่วมมือกันน้อยในการป้องกันโรค ก็จะพบผู้ป่วยและผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมได้มาก ท่าน

สามารถดูจากสถิติของโรค COVID-19 ของแต่ละประเทศและเข้าใจได้เองว่า ท าไมจ านวนผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยที่ถึงแก่

กรรม จึงแตกต่างกันได้มาก ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อกลายพันธุ์หรือการบริการสาธารณสุขที่แตกต่างกันเป็นหลัก

ข้อมูล ณ เช้าวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ (จาก ศ.ดร.นพ.ประสิทธ์ วัฒนาภา ใน line คณะอนุกรรมการ

บริหารแพทยสภา ท่านรายงานให้อนุกรรมการแพทยสภาทราบทุกเช้า) ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 แล้ว

4,243,626 คน เพิ่มจากเมื่อวานนี้67,986 คน ตายแล้ว 286,563 คน เพิ่มจากเมื่อวานนี้2,923 คน

ทวีปอเมริกาเหนือ

สหรัฐอเมริกา มีผู้ป่วยตายเมื่อวานนี้เพิ่มขึ้น 815 คน รวมตายแล้ว 81,552 คน มีผู้ป่วยใหม่เมื่อวานนี้15,591 คน

รวมมีผู้ป่วยทั้งหมด 1,381,665 คน

แคนาดา มีผู้ป่วยตายเมื่อวานนี้เพิ่มขึ้น 122 คน รวมตายแล้ว 4,992 คน มีผู้ป่วยใหม่เมื่อวานนี้1,063 คน รวมมี

ผู้ป่วยทั้งหมด 69,911 คน

ทวึปอเมริกาใต้

บราซิล เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น 220 คน รวมตายแล้ว 11,343 คน เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 3,463 คน

รวมมีผู้ป่วยแล้ว 166,162 คน

ทวีปยุโรป

สเปน เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้นมา 123 คน รวมตายแล้ว 26,744 คน มีผู้ป่วยใหม่เมื่อวานนี้3,480 คน รวมมี

ผู้ป่วยแล้ว 268,143 คน

สหราชอาณาจักร เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น 210 คน รวมตายแล้ว 32,065 คน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 3,877 คน

รวมมีผู้ป่วยแล้ว 223,060 คน

อิตาลีเมื่อวานนี้มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น 179 คน รวมตายแล้ว 30,739 คน พบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 744 คน รวมมีผู้ป่วย

แล้ว 219,814 คน

ฝรั่งเศส มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น 263 คน เมื่อวานนี้รวมตายแล้ว 26,643 คน มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 453 คน เมื่อวานนี้รวม

มีผู้ป่วยแล้ว 177,433 คน

๑๘

เยอรมนีมีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น 84 คน รวมตายแล้ว 7,653 คน เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 638 คน รวมมีผู้ป่วยแล้ว

172,517 คน

เนเธอร์แลนด์มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้16 คน รวมตายแล้ว 5,456 คน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้161 คน

รวมมีผู้ป่วยแล้ว 42,788 คน

สวีเดน มีผู้ป่วยเสียชีวิตเมื่อวานนี้31 คน รวมเสียชีวิตแล้ว 3,256 คน มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 348 คน รวมมีผู้ป่วยแล้ว

26,670 คน

ทวีปเอเซีย

รัสเซีย มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้94 คน รวมตายแล้ว 2,009 คน เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 11,656 คน

รวมมีผู้ป่วยแล้ว 221,344 คน

อิหร่าน เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น 45 คน รวมตายแล้ว 6,685 คน เมื่อวานนี้พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 1,683 คน รวม

ตอนนี้มีผู้ป่วย 109,286 คน

จีน เมื่อวานนี้ไม่มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น รวมตายแล้ว 4,633 คน มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 17 คน รวมมีผู้ป่วยแล้ว 82,918 คน

อินเดีย มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้182 คน รวมเสียชีวิตแล้ว 2,294 คน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 3,607 คน รวม

มีผู้ป่วยแล้ว 70,768 คน

สิงคโปร์มีผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้1 คน รวมเสียชีวิตแล้ว 21 คน มีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้486 คน

รวมมีผู้ป่วยแล้ว 23,822 คน

ญี่ปุ่น เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น 17 คน รวมตายแล้ว 624 คน เมื่อวานนี้มี ผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 114 คน รวมขณะนี้มี

ผู้ป่วย 15,777 คน

อินโดนีเซีย เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น 18 คน รวมตายแล้ว 991 คน เมื่อวานนี้มีผู้ป่วยใหม่ 233 คน รวมมี

ผู้ป่วยแล้ว 14,265 คน

ฟิลิปปินส์มีผู้ป่วยตายเมื่อวานนี้7 คน รวมตายแล้ว 726 คน มีผู้ป่วยใหม่ 292 คน รวมมีผู้ป่วยแล้ว 11,086 คน

มาเลเซีย มีรายงานผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้นเมื่อวานนี้1 คน รวมตายแล้ว 109 คน พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 70 คน รวมมีผู้ป่วย

แล้ว 6,726 คน

ไทย เมื่อวานนี้ไม่มีผู้ป่วยตายเพิ่มขึ้น รวมตายแล้ว 56 คน พบผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้น 6 คนเมื่อวานนี้รวมมีผู้ป่วย 3,015

คน

๑๙

กราฟแสดงอัตราตายของผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ต่อประชากร ๑ ล้านคนของแต่ละประเทศ เพื่อ

แสดงว่า อัตราตายนี้เพิ่มแบบเร่งด่วนเท่าใด

 หากเส้นกราฟของประเทศใดมีความชันมาก แสดงว่าอัตราตายดังกล่าวเพิ่มขึ้นเร็วมาก และ

มากกว่าประเทศอื่นที่ความชันของเส้นกราฟน้อยกว่า

จ านวนที่ตรวจต่อประชากรหนึ่งล้านคนในแต่ละประเทศ

จะพบว่า ประเทศไทยตรวจได้ ๔,๒๙๔ ตัวอย่างต่อประชากรหนึ่งล้านคน

ไทย

0 20 40 60 80 100

Days since total confirmed deaths reached 0.1 per million

Source: European CDC-Situation Update Worldwide-Last update 11th May 11:15 (London time)

OurWorldIn Data.org/coronavirus.CC BY

Total confirmed COVID-19 deaths per million: how rapidly are they increasing?

Shown are the total confirmed deaths per million people. Limited testing and challenges in the

attribution of the cause of death means that the number of confirmed deaths may not be an

accurate count of the true number of deaths from COVID-19.

๒๐

กราฟแสดงผู้ติดเชื้อสะสม ผู้ป่วยเสียชีวิต ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ผู้เสียชีวิตสะสม ผู้เสียชีวิตรายใหม่ต่อ

วันของแต่ละประเทศในอาเซียน ตามจ านวนวันที่มีผู้ติดเชื้อเกิน ๑๐๐ รายขึ้นไป

 หากเส้นกราฟของประเทศใดมีความชันเพิ่มขึ้น แสดงว่า โรคก าลังลุกลามมากขึ้น หรืออัตรา

ตายก าลังเพิ่มขึ้น

 หากเส้นกราฟของประเทศใดมีความชันลดลงหรือโค้งลงมาแตะแกน X แสดงว่า โรคก าลังสงบ

หรืออัตราตายลดลงเรื่อย ๆ หรือไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ตายอีกแล้ว

๒๑

สรุปสถานะของแต่ละประเทศตามระยะของสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จากข้อมูลการติดเชื้อ

๑. ประเทศที่ยังอยู่ในระยะการระบาด กราฟยังชัน ยังไม่ถึงจุดสูงสุดของการระบาดหรือก าลังอยู่ในระยะของการ

ระบาดสูงสุด เช่น บังคลาเทศ เม็กซิโก บราซิล อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รัสเซีย อินเดีย และอาจจะรวมถึง

สหรัฐอเมริกา หรือสหราชอาณาจักร

๒. ประเทศที่ใช้แนวทางปล่อยให้คนติดเชื้อจ านวนมาก เช่น สวีเดน

๓. ประเทศที่ควบคุมการระบาดได้ แต่ยังไม่พ้นระยะการระบาด เช่น อิหร่าน สเปน ตุรกี อิตาลี เยอรมัน ส่วน

สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร มาเลเซีย ยังต้องติดตามต่อไป

๔. ประเทศที่พ้นการระบาดระยะแรก เช่น จีน

๕. ประเทศที่เกิดการติดเชื้อในระยะที่สอง เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สิงคโปร์

๖. ประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่ไม่เกิดการระบาดใหญ่ เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน เวียตนาม

ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถือว่าควบคุมการระบาดได้แต่มีโอกาสที่จะระบาดได้อีก

๒๒

จ านวนตัวอย่างที่ตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อประชากรหนึ่งล้านคน(วงสีชมพู) และจ านวน

ประชากรในแต่ละประเทศ(วงสีเขียว) (หากมีการตรวจตัวอย่างน้อยไป อาจจะท าให้พบผู้ติดเชื้อ

น้อยเกินไปหรือต่ ากว่าที่เป็นจริง)

จากที่เริ่มต้นในระยะแรกของการระบาด จะมีห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองว่า ตรวจได้ถูกต้องจริงเพียง ๔-๕

แห่งเท่านั้น จนถึงวันที่ ๑๑ พฤษภาคม มีจ านวนห้องปฏิบัติการที่ท าการตรวจและรับรองผลการตรวจได้ถึง ๑๖๐

แห่ง ท าให้จ านวนที่ตรวจได้เพิ่มเร็วมากขึ้น และต้องเข้าไปตรวจในชุมชนแออัด แหล่งชุมนุมชนที่ไม่สามารถท า

physical distancing และไม่สวมหน้ากากอนามัย ในห้องหรือสถานที่ที่ไม่มีระบบถ่ายเทอากาศสู่ภายนอก

๒๓

จ านวนตัวอย่างที่สามารถตรวจได้ในแต่ละสัปดาห์ในประเทศไทยจากสถาบันทุกแห่งที่ตรวจได้

ตั้งแต่วันที่ ๔ เมษายน – ๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓

ภาพข้างล่างเห็นว่า ฝ่ายเอกชนช่วยท าการตรวจหาผู้ติดเชื้อและตัวอย่างได้จ านวนมาก

๒๕

เหตุการณ์และข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีในการประชุมเช้าวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓

ในเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ เมื่อโรค COVID-19 ระบาดและก าลังคุกคามประเทศไทย นายกรัฐมนตรีพล

เอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องการฟังข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการการระบาดของโรคนี้จากแพทย์

ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์จากนักวิชาการภายนอกบ้าง จึงได้ติดต่อมาที่นายกแพทยสภาเพื่อเชิญให้มา

ประชุมที่ท าเนียบรัฐบาลพร้อมกับรวบรวมอาจารย์แพทย์มาคุยและเสนอวิธีการควบคุมโรคระบาด COVID-19

นอกจากนี้ ยังมีเหตุการณ์อีก ๒ เรื่องที่ผู้เขียนคิดว่า ก าลังประสบปัญหาและต้องการการแก้ไขในระดับนโยบาย

ด้วย จึงขอเล่าสั้น ๆ ดังนี้

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนเข้าประชุมกับนายกรัฐมนตรี

เหตุการณ์ส าคัญสองเรื่องที่ท าให้ต้องเสนอความเห็นฝ่ายแพทย์ให้นายกรัฐมนตรีทราบ มีดังนี้

เรื่องแรก เนื่องมาจากการที่คนไทยจะกลับมาจากเกาหลี(มีการใช้ค าเรียกคนไทยกลุ่มนี้ว่า “ผีน้อย”)

ซึ่งเป็นประเทศที่ก าลังมีการระบาดของโรค COVID-19 อยู่ ข่าวใน นสพ.ไทยรัฐในวันที่ ๕ มีนาคม แจ้งว่า

เกาหลี เผย \"ผีน้อยไทย\" ติดเชื้อโรคโควิด-๑๙ รายแรกท างานซักแห้งสาวกลัทธิชินชอนจิ \"หม่อมเต่า\" บอกยัง

ไม่รู้ ย้ าดูแลคนท างานถูก ก.ม. ๒.๒ หมื่นคน ส่วนผีน้อยมี ๑.๕ แสนคน รัฐบาลก าลังจะให้คนไทยกลุ่มนี้กลับ

มาแล้ว ต้องถูกกักกันตัว ๑๔ วัน แบบเดียวกับที่เคยน าคนไทยกลับมาจากประเทศจีนมาแล้ว อย่างไรก็ตาม

ยังไม่มีข่าวว่าจะมีการกักกันชาวต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากประเทศดังกล่าวทั้ง ๆ ที่ต้องถือว่า

เป็นผู้ที่อาจจะติดเชื้อแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย มาแล้วเช่นกัน พวกเราเห็นว่า ไม่ควรท าให้เกิดความ

แตกต่างและเห็นสมควรที่จะชี้แจงให้นายกรัฐมนตรีทราบชัดเจนถึงจุดยืนขององค์กรต่าง ๆ ของวิชาชีพแพทย์

เช่น แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ แพทยสภา ราชวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เห็นควรให้มีการกักกันนักท่องเที่ยวที่

เดินทางจากประเทศหรือพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค COVID-19 นาน ๑๔ วันด้วย

เรื่องที่สอง คือ ราชวิทยาลัยของวิชาชีพแพทย์ทั้งหลาย ได้ประกาศเลื่อนการประชุมวิชาการประจ าปี

ซึ่งก าหนดว่าจะจัดการประชุมในเดือนมีนาคม เมษายน หรือพฤษภาคม ออกไปหมดแล้ว แต่....มติ

คณะรัฐมนตรีเมื่อ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๓ แจ้งว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและ

กีฬาเสนอมาตรการเร่งรัดให้ทุกส่วนราชการจัดประชุมและสัมมนาภายในประเทศ ๓ เดือน ...ลองอ่านมติ ครม.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

 นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

 รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์

 นายกแพทยสภา

 ผู้อ านวยการส านักงานแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

๒๖

ดูครับ ....๑๗. เรื่อง มาตรการเร่งรัดให้ทุกส่วนราชการจัดประชุมและสัมมนาภายในประเทศ ๓ เดือน (เมษายน

ถึง มิถุนายน ๒๕๖๓) เพื่อพยุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยการขอความร่วมมือให้ทุกส่วนราชการ เร่งการใช้

จ่ายงบประมาณปี ๒๕๖๓ โดยการจัดประชุมและสัมมนาภายในประเทศ ๓ เดือน และส่งปฏิทินการจัดประชุม

และสัมมนาดังกล่าวให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อน าไปขยายผลร่วมกับภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบ

จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ประเมินว่า หากมีการด าเนินมาตรการเร่งรัดให้ทุกส่วนราชการจัดประชุมและสัมมนาภายในประเทศ ๓ เดือน

(เมษายน ถึง มิถุนายน ๒๕๖๓) เพื่อพยุงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จะส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว

ชะลอการเลิกจ้างงาน รวมทั้งจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อจิตวิทยาในการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ทั้ง

ประชาชนคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก และเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจของ

ประเทศไทยไปในทิศทางที่ดีขึ้น

(ข้อมูลจากเวปไซต์ thaigov.go.th) ..ตอนนั้นเราถามกันว่า ท่านอ่านแล้ว...รู้สึกอย่างไรครับ เรื่องนี้ คิดได้

ยังไงครับ??? เรื่องการจัดประชุมมวลชนในขณะนั้น ก าลังขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มแพทย์และหน่วยงานบางแห่ง

ของรัฐบาล

ข้อเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณา “สุขภาพหรือเศรษฐกิจ ใครจะมาก่อน”

เมื่อนายกรัฐมนตรีได้นัดวันที่จะเข้ามาคุยเพื่อเสนอข้อคิดเห็น ตอนแรกนัดบ่ายวันอังคารที่ ๑๗

เมษายน แต่แล้วท่านนายกรัฐมนตรีนัดให้มาคุยในเช้าวันจันทร์เลย เวลา ๙:๐๐ น. ที่ท าเนียบรัฐบาล อ.สมศรี

ให้ผม(นพ.อมร)นัดอาจารย์แพทย์โรคติดเชื้อจากศิริราช จุฬา และท่านนายกรัฐมนตรีเสนอให้เชิญศาสตราจารย์

คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร และศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์อุดม

คชินทร มาร่วมให้ความเห็นด้วย ผมจึงได้โทรศัพท์ติดต่อเชิญศาสตราจารย์นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ (จุฬา)

และรองศาสตราจารย์นายแพทย์รุจิภาส สิริจตุภัทร (ศิริราช) มาร่วมให้ข้อมูลด้วย ส่วนตัวผมเองได้จัดท า

เอกสารการควบคุมโรค COVID-19 ให้ยาวเพียง ๓ หน้าในวันอาทิตย์ที่ ๑๕ มีนาคม แล้วน าไปคุยกันกับ อ.

สมศรี ตอนเช้าก่อนเข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อเห็นตรงกัน ทั้งนายกแพทยสภาและนายกแพทยสมาคมก็ได้ลง

นามในเอกสารแผ่นนั้นและน าเสนอบนโต๊ะประชุมเลย เมื่อเริ่มการประชุม จะเห็นนายกรัฐมนตรีเป็นห่วงเรื่อง

เศรษฐกิจมากด้วย ท าให้เราต้องเสนออย่างชัดเจนว่า รัฐบาลต้องเลือกเอาสุขภาพหรือเศรษฐกิจเป็นตัวตั้งเพื่อ

น าพาประเทศในยุค COVID-19 ไปให้ใด้ เมื่อเริ่มการประชุมไปได้สัก ๑๕ นาที นายอนุทิน ชาญวีรกุล รอง

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

สาธารณสุข ได้มาร่วมประชุมด้วย การประชุมยาวนานไปถึง ๙:๔๕ น. มีข้อเสนอหลายข้อรวมทั้งการเลื่อน

วันหยุดสงกรานต์ออกไป แล้วนายกรัฐมนตรีก็ขอไปประชุมกับคณะกรรมการเรื่องนี้ต่อในท าเนียบ แต่ที่ชัดเจน

คือ ในบ่ายวันอังคารคือในวันรุ่งขึ้น รัฐบาลได้เริ่มประกาศปิดที่ชุมนุมชน เลื่อนการประชุมต่าง ๆ ออกไปตาม

ข้อเสนอ โดยเน้นเอาสุขภาพเป็นตัวตั้งก่อนเศรษฐกิจ

สาระส าคัญของเอกสารที่น าเสนอมี ๓ ข้อ คือ “ให้ใช้สุขภาพ น าเศรษฐกิจ”

๑. ลดการแพร่เชื้อในทางเดินหายใจอย่างรวดเร็ว ให้ชะงักและเด็ดขาด จากความร่วมมือของฝ่าย

ประชาชน ในการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่ประชาชนท ามาแล้ว เช่น เจ็บป่วยให้อยู่บ้าน สวมหน้ากากอนามัยและ

หาหมอรักษา สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกบ้าน ให้ออกนอกบ้านเท่าที่จ าเป็นและใช้เวลาสั้นที่สุด งด

การชุมนุมกับคนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกในบ้านหรือคนที่ไม่เคยรู้จัก รักษาระยะห่างไว้ ๒ เมตรกับผู้อื่นเมื่อออก

นอกบ้าน ไม่อยู่ในสถานที่ที่อากาศไม่ถ่ายเท ล้างมือบ่อย ๆ เหมือนเดิม ส่วนฝ่ายรัฐบาลจะต้องออกกฏหรือ

๒๗

ข้อบังคับในการปิดสถานที่ชุมนุมชน โรงเรียน เป็นต้นหรือสถานที่ชุมนุมชนที่ไม่จ าเป็นแก่การด ารงชีวิต และ

เลื่อนการประชุมหรือการชุมนุมคนจ านวนมากออกไปก่อน

๒. จัดให้มีการตรวจหาผู้ติดเชื้ออย่างพอเพียงและรวดเร็ว มีการหารายใหม่ที่ติดเชื้อโดยการตรวจทาง

ห้องปฏิบัติการ หากพบผู้ติดเชื้อ ให้ท า contact tracing เพื่อหาแหล่งแพร่เชื้อ หารายที่สัมผัสเชื้อเพื่อกักกัน

ตนเองและก าจัดแหล่งแพร่เชื้อที่ยังหลงเหลืออยู่ให้หมดสิ้นไป

๓. กักกันนักเดินทาง นักท่องเที่ยวที่มาจากประเทศที่มีโรคระบาดอยู่ นาน ๑๔ วัน

ด้านล่างคือ เอกสารจริงที่จัดท า ข้อเสนอจากแพทยสภาและแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ให้

นายกรัฐมนตรี (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา)

หลักการและเหตุผล

การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทยได้ผ่านเข้ามาในระยะที่ ๒ แล้วทั้ง ๆ ที่เรามี

มาตรการคัดกรอง กักกัน วินิจฉัย รักษาและแยกผู้ป่วยแล้ว แต่โรคก็ยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่องและมี

แนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น (๑๑๔ รายที่ติดเชื้อสะสมและมีรายใหม่วันนี้วันเดียว ๓๒ ราย ประกาศ ณ วันอาทิตย์ที่

๑๕ มีนาคม เวลา ๑๓:๓๓ น.) ทั้งนี้เนื่องมาจากเหตุส าคัญประการหนึ่งคือ ผู้ติดเชื้อบางรายไม่มีอาการ แทบ

ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยมาก จนไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อและข้ามผ่านมาตรการต่างๆ กักกันโรคดังกล่าว

มาได้

เพื่อปกป้องประชาชนชาวไทยจากการติดโรคนี้จากความตื่นตระหนก และเพื่อจ ากัดความสูญเสียทาง

เศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาลหากยังใช้มาตรการควบคุมเหมือนเดิม นายกแพทยสภาและนายก

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ จึงเสนอให้เพิ่มและใช้มาตรการที่เข้มแข็งและได้ผลชะงักเมื่อประชาชน

ยินยอมร่วมกันปฏิบัติคือการท า top down และ bottom-up enforcement of community quarantine

and social distancing โดยคาดว่า หากท าตามนโยบายนี้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์จะควบคุมการระบาดโรค

COVID-19 ให้จบสิ้นได้อย่างช้าภายในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม และประเทศไทยจะกลับไปสู่ระยะหนึ่งใหม่อีกครั้ง

นอกจากนี้การใช้มาตรการนี้จะค่อย ๆ ลดความต้องการในด้านการใส่หน้ากากอนามัยและการตรวจหาการติด

เชื้อ SARS-CoV-2 ในหมู่ประชาชน และลดความตื่นตระหนกลงได้เมื่อเริ่มเห็นผลในเดือนพฤษภาคม

อนึ่ง เมื่อคนไทยในพื้นที่เสี่ยงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวในการท า community quarantine แล้ว การ

กักกันชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยหรือคนไทยที่เดินทางกลับบ้าน เป็นเวลา ๑๔ วัน ย่อม

เป็นสิทธิอันชอบธรรมของรัฐบาลที่จะประกาศให้ต่างประเทศทราบด้วย ทั้งนี้ให้แจ้งประเทศที่มีการระบาด

ต่อเนื่องทราบถึงมาตรการนี้และขอให้ประเทศนั้นท า exit detection of case and quarantine ก่อนออก

นอกประเทศ ส าหรับผู้ป่วยโรค COVID-19 มอบนโยบายให้จัดท าโรงพยาบาลเฉพาะโรคขึ้นมาดูแลรักษาและ

จัดท าแนวทางการรักษาต่อไป

ความหมายและวิธีการ

top down หมายถึงรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีมอบนโยบายและสั่งทุกหน่วยงานให้ยึดถือแนวทางการ

ปฏิบัติงานในด้าน enforcement of community quarantine และมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องน านโยบายลงไป

แนวทางการปฏิบัติต่อไป มีนักวิชาการ อาจารย์แพทย์และกระทรวงสาธารณสุขมาร่วมให้ความเห็นและให้

ข้อเสนอแนะ

bottom-up หมายถึงประชาชน อสม. ผู้น าชุมชน เจ้าของบ้านมีส่วนร่วมในการเสนอวิธีการและมีจิต

ส า ธ า รณ ะที่ ร่ ว มปฏิบัติต าม แน วท าง ของ enforcement of community quarantine แ ล ะ social

๒๘

distancing และเสนอรายงานและผลการติดตามการปฏิบัติงานและรายงานกลับเข้ามาที่หน่วยงานหลัก เพื่อ

น าเสนอปัญหา การแก้ไขปัญหา และเสนอผลงานเป็นระยะ ๆ

enforcement หมายถึง ระบบและกระบวนการเข้าไปก ากับ ดูแลให้หน่วยงาน ประชาชน และผู้อยู่ภายใต้

สังเกตการณ์หรือผู้ป่วยกักกันตนเอง ให้อยู่ในพื้นที่ (บ้าน หมู่บ้าน สถานที่ที่ทางราชการจัดให้) และปฏิบัติตน

ตามแนวทางการกักกันตนเองตามที่กรมควบคุมโรคประกาศ โดยมีรายงานหรือระบบแจ้งผลงานให้หน่วยงาน

หรือผู้เกี่ยวข้องทราบเป็นระยะ ๆ

community quarantine และ social distancing เป็นวิธีการต่าง ๆ ที่ให้ผู้คนในจังหวัดหรือพื้นที่เสี่ยงต่อ

การระบาดหนัก หยุดท ากิจกรรมที่มีการชุมนุมชน งดการเดินทางไปท างานนอกบ้านที่มีกลุ่มคนมาอยู่ร่วมกัน

ในห้องท างาน ให้อยู่หรือท างานในบ้าน หมู่บ้าน หรือพื้นที่ที่จัดให้และไม่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีชุมชน

หนาแน่นหรือเข้าไปในสถานที่คับแคบที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น ผับ สนามมวย สถานบันเทิงและมีผู้คนอยู่ใกล้ชิด

กันโดยเฉพาะคนที่ตนเองไม่รู้จัก ไม่เข้าร่วมประชุมกับชาวต่างประเทศที่ไม่ได้กักกันตนเองหรือตนเองไม่เคย

รู้จักมาก่อน เป็นเวลาสองเดือน (เดือนเมษายน ถึง เดือน พฤษภาคม ๒๕๖๓)

ดังนั้น ตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม ศกนี้จึงเสนอให้รัฐบาลออกนโยบาย

ดังกล่าวและมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมและจัดท าวิธีการปฏิบัติตามแนวทางนี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็วและ

ประกาศใช้เช่น ประกาศปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย การเรียนการสอนพิเศษนอกจากการเรียนแบบออนไลน์

ให้เลื่อนหรืองดการประชุมต่าง ๆ รวมทั้งการจัดการชุมนุมต่าง ๆ ในห้องประชุม ให้ประชาชนงดการเดินทาง

ออกนอกประเทศในเวลา ๒ เดือนนี้ยกเว้นมีความจ าเป็นจริง ๆ หากเดินทางออกไปเวลากลับมาต้องกักกัน

ตนเอง ๑๔ วันอย่างเคร่งครัด ส่วนผู้ที่อยู่ภายใต้สังเกตการณ์และผู้ใกล้ชิดทุกคน ต่างต้องทราบแนวทางและ

วิธีการที่กักกันตนเองและช่วยก ากับดูแลซึ่งกันและกัน รวมทั้งการท าความสะอาดพื้นที่ที่อยู่อาศัยในบ้าน สวม

หน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย ๆ ทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของ

ร่วมกัน และต้องท าความสะอาดด้วยน้ ายาฆ่าเชื้อหากมีการสัมผัสของใช้ร่วมกันและส่งเสริมให้มีการตรวจค้น

รายที่ติดเชื้อให้ทราบโดยเร็ว

ทั้งนี้ให้รัฐบาลหาวิธีการเยียวยาช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจโดยเฉพาะในระดับราก

หญ้าตามสมควรในช่วงเวลานี้รวมทั้งรีบแก้ไขภาวะตื่นตระหนกและการขาดความมั่นใจของชาวไทยในระยะนี้

ด้วย

หากไม่มีการใช้มาตรการที่เข้มข้นและการระบาดเข้าสู่ระยะที่สามเต็มรูปแบบ จ านวนผู้ป่วยของไทย

จะเกิดขึ้นจ านวนมาก หากมีการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ไปถึงร้อยละ ๗๐ ของประชากรชาวไทย ผู้ที่ติดเชื้อร้อย

ละ ๘๑ จะเจ็บป่วยแบบไข้หวัดทั่วไปหรือหลอดลมอักเสบ ร้อยละ ๑๓.๘ จะป่วยหนักเป็นปอดบวมต้องรับไว้

รักษาในโรงพยาบาล และอีกร้อยละ ๔.๗ จะต้องรับไว้รักษาในหออภิบาล (Lancet March 5 2020) และหาก

อัตราตายของผู้ป่วยคือร้อยละ ๒ จ านวนผู้ป่วยแต่ละประเภทจะเป็นดังนี้

จากประชากร ๖๗ ล้านคนและเมื่อการติดเชื้อเข้าสู่ระยะที่ ๓ สมบูรณ์แบบ ผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 จะ

มีจ านวน ๔๖,๐๐๐,๐๐๐ (ร้อยละ ๗๐ ของประชากรชาวไทย) ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการจะมีจ านวน ๓๘,๐๐๐,๐๐๐

ราย รักษาแบบผู้ป่วยนอก(ร้อยละ ๘๑ จะเจ็บป่วยแบบไข้หวัดทั่วไปหรือหลอดลมอักเสบ) ผู้ป่วยหนักรับไว้ใน

โรงพยาบาลมีจานวน ๖,๓๔๘,๐๐๐ ราย(ผู้ป่วยหนักร้อยละ ๑๓.๘ จะป่วยหนักเป็นปอดบวมต้องรับไว้รักษาใน

โรงพยาบาล) จะมีผู้ป่วยเข้ารับไว้ในไอซียูหออภิบาลจานวน ๒,๑๖๒,๐๐๐ ราย(อีกร้อยละ ๔.๗ จะต้องรับไว้

รักษาในหออภิบาล) และมีผู้เสียชีวิตจ านวน ๙๒๐,๐๐๐ ราย(หากอัตราตายของผู้ป่วยคือร้อยละ ๒ จ านวน

ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาล) หรือมีผู้เสียชีวิตจ านวน ๔๖๐,๐๐๐ ราย(หากอัตราตายของผู้ป่วยของไทย

๒๙

คือร้อยละ ๑ จ านวนผู้ป่วยที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาล) ทั้งนี้หากเราไม่มียารักษาหรือวิธีการทางการแพทย์

ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคนี้ที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้

เนื่องจากร้อยละ ๙๘ ของผู้ติดเชื้อแสดงอาการภายใน ๑๔ วัน การควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อ

จะใช้เวลาประมาณ ๒ ถึง ๔ เท่าของระยะฟักตัวของโรคในการหยุดยั้งการระบาด(ให้กลับเข้าไปสู่ระยะที่หนึ่ง)

โดยต้องมีการท า community quarantine และ social distancing อย่างเข้มข้นจริงจัง การค้นหารายติด

เชื้อในประเทศ และรวมทั้งมีการกักกันชาวไทยหรือชาวต่างประเทศที่กลับมาจากประเทศหรือพื้นที่เสี่ยงต่อ

การติดโรค ตามประกาศของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทั้งนี้เพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคนี้ใน

ประเทศไทยให้สงบจบสิ้นภายในวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ให้จงได้และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น

อย่างใหญ่หลวงจากการระบาดที่ควบคุมไม่ได้ของโรคนี้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรีเผ่าสวัสดิ์

นายกแพทยสภา

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

๑๕ มีนาคม ๒๕๖๓

กราฟ ๒ ภาพข้างล่าง น าข้อมูลมาให้ดูว่า ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม จ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่งขึ้น (แม้มีสถาบัน

ตรวจและน้ ายาตรวจหาผู้ติดเชื้อ ยังมีน้อย) กับกราฟในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ที่แสดงว่า จ านวนผู้ติด

เชื้อรายใหม่ลดลงมากอย่างต่อเนื่อง

• วันที่ ๑๒ มีนาคมเริ่มมีจ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงขึ้นเกินหลักสิบ

• วันที่ ๑๓-๑๔ มีนาคมมีจ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ๕ และ ๗ ราย

• วันที่ ๑๕ มีนาคมเริ่มมีจ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงถึง ๓๒ ราย

• พบ นรม. เช้าวันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม เราน าเสนอว่า ต้องรีบควบคุม

แบบเข้มข้นโดยเร็ว ก่อนจ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะขึ้นเป็นหลักร้อย

แล้วจะคุมการระบาดไม่ได้

• วันที่ ๑๗ มีนาคม เริ่มออกกฎเกณฑ์ควบคุมแบบเข้มข้น

• วันที่ ๖ เมษายน จ านวนผู้ติดเชื้อรายป่วยใหม่มีแนวโน้มลดลง

• วันที่ ๑๐ เมษายน เป็นต้นมา จ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มลดลง

อย่างต่อเนื่องจนถึงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ทั้ง ๆ มีการตรวจค้นหาผู้ติด

เชื้อเพิ่มขึ้น

• จ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ที่พุ่งขึ้นในวันที่ ๒๕ เมษายน และ วันที่ ๔

พฤษภาคม เกิดจากคนไทยหรือต่างชาติที่เพิ่งผ่านด่านคนเข้าเมืองเข้า

มาและถูกกักกัน มิใช่เกิดจากคนในประเทศแพร่เชื้อกันเอง

• ส่วนรายติดเชื้อใหม่ ในจังหวัดต่าง ๆ ลดลงมาก ต่ ากว่า ๕ รายต่อวัน

ทั้ง ๆ ยังคงตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นตลอดเวลาที่ผ่านมา ซึ่งถือว่า

มาตรการควบคุมโรคและประชาชนให้ความร่วมมือ ใช้ควบคุมโรค

ได้ผลดีมาก

๓๐

การระบาดของโรคติดต่อแต่ละครั้งโดยเฉพาะการระบาดในระดับ pandemic จะมีเรื่องที่เกี่ยวกับ

ประชาชนในด้านความตื่นตระหนก ความเชื่อหรือเข้าใจผิด ความน่าเชื่อถือของข่าวและข้อมูล

ต่าง ๆ จากฝ่ายรัฐบาล ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาร่วมด้วยเสมอและต้องการการแก้ไข

ข้อเสนอทางจิตวิทยา ต่อภาวะตื่นตระหนกของประชาชน

ในสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19

ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์พบ., นบ.,วว.จิตเวช

Chairman of the 13th Asia-Pacific Conference on Tobacco or Health

Immediate-past President, the Medical Association of Thailand

Deputy Dean for Finance and Procurement

Faculty of Medicine Ramathibodi hospital

Mahidol University

ตามคา สั่งสา นกันายกรัฐมนตรีที่๗๖/๒๕๖๓ เรื่อง จดัต้งัศูนยบ์ริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติด

เช้ือไวรัสโคโรนา 2019ได้มีความชัดเจนในการด าเนินการที่ส าคัญ 3 ด้านของประเทศ คือ

1. ทางการแพทย์ (Medical)

2. ทางดา้นเศรษฐกิจ (Economic)

3. ทางด้านสังคมจิตวิทยา (Psychological)

โดยส่วน Psychological จะเห็นถึงความตื่นตระหนกของสังคมเป็ นระยะ ตามระยะการระบาดของโรค

และการประกาศมาตรการต่างๆ จากฝ่ายบริหาร ซ่ึงแนวคิดทางดา้นสังคมจิตวทิยาไดม้ีการนา สู่การปฏิบตัิ

ของฝ่ายบริหารหลายประเด็นที่ทา ใหเ้กิดความชดัเจนข้ึน ดงัประเด็นดงัน้ี

๓๑

ล าดับที่ ข้อเสนอ วตัถุประสงค์

1 สร้างความเชื่อมั่น ต่อการน าของ รัฐบาล

เพื่อให้เกิดความมนั่ใจของประชาชนต่อสถานการณ์

การระบาด มีการแถลงสถานการณ์และมาตรการที่

รวมศูนย์โดย นายกรัฐมนตรี เป็ นผู้ถืออ านาจสูงสุด

ประชาชนมีความชัดเจน และลดภาวะสับสน

ต่อการดา เนินการของรัฐบาล

2 สร้ างความเชื่อมั่นความพร้ อมทางการแพทย์และ

สาธารณสุข

กา หนดนโยบายในการเตรียมความพร้อมดา้นบุคลากร

อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้มีการจดัต้งัส านักบริหาร

ยุทธศาสตร์ระบบการบริ หารจัดการเครื่ องมือและ

เวชภณัฑ์ทางการแพทย์ที่สร้างความมนั่ใจถึงความ

เพียงพอ เช่น อุปกรณ์การรักษา หน้ากากอนามัย ชุด

ป้องกนัถุงมือเป็นตน้

ขวญักา ลงัใจของบุคลากรทางการแพทย์ไดร้ับ

การสนบัสนุนและดูแลอยา่งใกลช้ิด

3 สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วยทวั่ไปในโรงพยาบาล

เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ผปู้่วยทวั่ ไปที่จะมา

รับการตรวจรักษา หรือรักษาตวัอยู่ในโรงพยาบาล

ทั่วไป ควรจัดให้มีสถานที่ในการดูแลรักษาผูป้่วย

COVID-19 ให้อยู่ในสถานที่เดียวกนัอนัจะเป็นการ

สร้างความมนั่ใจให้แก่ผูป้่วยทวั่ ไปว่าจะไม่ไดใ้กล้ชิด

กบัผปู้่วย COVID-19

ลดภาวะตื่นกลัวและการบริ หารจัดการของ

โรงพยาบาลที่ยงัคงตอ้งดูแลผปู้่วยทวั่ ไป

4 สร้างสภาพแวดล้อมชุมชนและสถานทสี่าธารณะให้

ปลอดภัย

ประกาศเลื่อนวันหยุดยาวออกไป หรือยกเลิกการจัด

กิจกรรมในเทศกาลต่าง ๆ เพื่อลดความแออัดในการ

รวมตัวในที่ชุมชน และลดการเดินทาง ซึ่งถือเป็ น

มาตรการการป้องกนัการแพร่กระจายของเช้ือโรคใน

ชุมชนและสถานที่ต่าง ๆ

สร้างเจตนคติก่อให้เกิดพลัง ความรักชุมชน

รักชาติเพื่อต่อสู้ร่วมกัน ในสถานการณ์ที่ไม่

ปกติ

๓๒

  1. เนน้การประชาสัมพนัธ์และการเผยแพร่ข่าวสาร
  1. เน้นการพัฒนาพลังของชุมชนและสังคม
  1. เนน้การส่งเสริมคนดีและพฒันาคุณภาพการรับรู้ของประชากร
  1. เน้นการสร้างเสริมและรักษาระเบียบวินัย
  1. เนน้การสร้างพลงัร่วมเพื่อพิทกัษร์ักษาสถาบนัสา คญัของชาติ

ล าดับที่ ข้อเสนอ วตัถุประสงค์

5 สร้างความอุ่นใจแก่ผู้ปกครอง นักเรียน นักศึกษา

5.1 ให้สถานศึกษาทุกระดับเลื่อนการสอบ และระงับ

การเรียนการสอนในระบบปกติ แล้วจัดให้มีระบบการ

เรียนการสอนแบบออนไลน์

5.2 ขอความร่วมมือสถาบันกวดวิชา ให้หยุดการ

จดัการเรียนการสอน และพิจารณาคืนเงินค่ากวดวิชา

ให้ผู้ปกครองเพื่อสร้างความเป็ นธรรมและเป็ นขวัญ

ก าลังใจให้แก่ผู้ปกครองที่ จะ ต้องด ารงชี วิตใ น

สถานการณ์เช่นน้ี

ลดความวิตกกังวลกับผูป้กครองในการดูแล

บุตรหลานในระบบการศึกษา และป้องกนัการ

แพร่เช้ือ

6 สร้างการสื่อสารข้อมูล ทเี่ป็นระบบ

จดั ให้มีสถานีโทรทศัน์หลักอย่างน้อย 1 สถานีเพื่อ

น าเสนอข้อมูล การปฏิบัติตนที่ถูกต้องและทันต่อ

สถานการณ์ เพื่อสร้างความเข้าใจ ลดการสับสนของ

ประชาชน พร้อมกับน าเสนอกิจกรรมต่าง ๆที่

ประชาชนสามารถท าได้ในบริเวณบ้าน คอนโด ที่พัก

อาศยั ในกรณีที่ตอ้งกกัตวัเองหรือในสถานการณ์ความ

จ าเป็ นที่ต้องบังคับใช้มาตรการปิ ดเมือง

สร้างความชัดเจนของข่าวสาร และมีทางออก

ต่อสภาวะความเครียดที่เกิดข้ึนในสังคม

๓๓

ข้อเสนอ เพื่อพิจารณา เพิ่มเติม

1 จัดให้มี การปฏิบัติการทางด้านจิตวิทยามวลชน นา ไปสู่การสร้างความเชื่อมนั่ต่อการนา ของรัฐบาลมาก

ยงิ่ข้ึน จะสามารถลดความรุนแรงของความตื่นตระหนกของสังคมไดด้ียงิ่ข้ึน

2 การจัดให้การปฏิบัติการจิตวิทยา ให้กา ลงัใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ท างานหนักเรื่อง COVID-19 อยา่ง

ทุ่มเทในสถานการณ์เผชิญความเสี่ยงกดดนัและไม่ไดพ้กัผอ่น พิจารณาเงิน OT เงินพิเศษ เบ้ียเล้ียงเสี่ยงภยั

เหมือนกบัขา้ราชการใน 3จงัหวดัชายแดนภาคใต้

หากบุคลาการทางการแพทย์ลา้เครียด ลาออกจะเป็นปัญหาและอาจเป็นความตื่นตะหนกแก่ประชาชน

3 จัดให้มีกระบวน การติดตาม สภาวะทางจิตใจของประชาชนในสังคม ต่อสถานการณ์ โดยมีทีม

นกัจิตวทิยาสังคม ใชว้ทิยาการทางดา้นน้ีอยา่งเป็นระบบ เพื่อมีแนวทางที่ก่อใหเ้กิดทิศทางที่ถูกตอ้ง ท้งัการ

รับรู้และการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดข้ึน และจดัมีศูนยแ์ถลงการณ์รวมศูนยอ์ยา่งกรณีถ้า หลวง

4 สร้างใหเ้กิด พลังด้านบวกของประชาชน ที่จะทา ใหป้ระเทศสามารถกา้วขา้มสภาวการณ์ที่เลวร้ายไปได้

นา ไปสู่จุดสมดุลใหม่ของสังคมไทยที่จะร่วมกนัสร้างชาติต่อไป

5 การเยยีวยาทางเศรษฐกิจจะเป็นประเด็นสา คญัและภายหลงัการระบาด อาจพิจารณาถึงการใชช้ีวติปกติที่

อาจจะไม่เหมือนเดิม (New Normal)

๓๔

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในด้านความรู้สึกของผู้สื่อข่าวหลายแห่งได้เขียนสะท้อนให้เห็นว่า มี

อะไรบ้าง ขอยกตัวอย่าง ๒ สื่อ

นายกฯ ลุงตู่ตอนนี้ดูคลายเครียดเคร่งลงไปเยอะ ตั้งแต่ได้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับปรมาจารย์แต่ละสาขา

มาวางแผน-จัดทัพ รับมือโควิด-๑๙ ให้ตั้งแต่วันหวยออก ชาวชนสยาม ชมกันเกรียว \"ประเทศไทย

ชนะแน่\"!

ท าไมจึงมั่นใจชนะ ก็อย่างที่คุยวันก่อน นายกฯ ได้\"หมอดี\" มาจัดยาชุด \"ปราบโควิด\" ให้

ออกมาเป็นมาตรการ ตอนนี้

\"หมอดี\" นั้น ใครบ้าง ผมบอกไปวาจาว่า จ าได้เพียง ๓ ท่าน

แต่ภาพในห้องประชุมวันนั้น ถูกยกเป็น \"ภาพประวัติศาสตร ์\" กล่าวขานก ันขรมถึงพรหม

โลกไปแล ้ว ก็หลายเวอร์ชัน จะยกซักเวอร์ชันมาให้อ ่านกัน เขาว่างี้

@จากภาพนี้เราจะรอด

ท าไมอาจารย์หมอที่นั่งข้างท่านนายกฯ จึงส าคัญต่อการสกัดโควิด-19

ท าไมรูปถ่ายเพ ียงรูปเดียวของ พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ประชุมร่วมก ับ \"กลุ่ม

บุคคลหนึ่ง\" จึงกลายเป็นความหวังของคนในชาติว่า พวกเราจะ \"รอด\" จากสถานการณ์ไวรัสโควิด19 เที่ยงวันค่อนบ่ายของวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ นัดแรกของการประช ุมศูนย์บริหารสถานการณ์

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์เป็นประธาน ก่อนที่จะม ีการเผยแพร่

ภาพออกมาสู่สาธารณะว่า พล.อ.ประยุทธ์ก าลังนั่งคุยก ับคณะบุคคลหนึ่งอยู่ และคณะบ ุคคลนี้เอง ที่

ท าให้สังคมส่วนใหญ่ที่รู้จักบุคคลในภาพ เชื่อได้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ส าหรับเมืองไทย น่าจะ

\"เอาอยู่\" หากรัฐบาลเดินตามค าแนะน าของกลุ่มบุคคลนี้เพราะคณะบุคคลที่ร่วมวงประชุมกับผู้น า

ประเทศไทยพวกเขาคือ

กลุ่ม \"หมอ\" ที่น่าจะเรียกได้ว่า เป็นระดับอาจารย์หมอของเมืองไทย ผู้สร้างหมอขึ้นมาใน

ประเทศนับหมื่นชีวิตให้ท างานต่อประเทศชาติ

ข้างกายนายกฯ ที่นั่งรับฟังค าแนะน าอย่างตั้งใจ จึงประกอบไปด้วย

  1. ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

สาธารณสุข

๓๕

  1. ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อดีต รมช.กระทรวงศึกษาฯ
  1. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์นักวิจัยดีเด่น

แห่งชาติสาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์

  1. ศ.นพ.อมร ลีลารัศมีอาจารย์แพทย์อายุรศาสตร์นายกแพทยสมาคม ฯ
  1. ศ.พญ.สมศรีเผ่าสวัสดิ์นายกแพทยสภา

ทั้งหมดถูกเรียกตัวด่วน เพ ื่อคุยก ับนายกรัฐมนตรีในการให้ค าปรึกษาถ ึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ

ไวรัสโควิด-19 พวกเขาไม่ใช่แค่บรมครูของหมอทั้งประเทศ หากแต่ยังมีชื่อเสียงระดับโลกด้านวงการ

แพทย์อ ีกด้วย

๓๖

โซเชย

ลฯแชรภ

าพ “ทีมแพทย์” ระดับแถว

หน้าเมืองไทยร่วมถกโควิด-19

โดย PPTV Online

เผยแพร่ 18 มี.ค. 2563, 09:27 น.

ปรับปรุงล่าสุด 18 มี.ค. 2563, 14:05 น.

เลขาธิการแพทยสภาแชร์ภาพประวัติศาสตร์รวมทีมแพทย์ หารือวิกฤตโควิด-19 ทั้งอดีต อธิการบดีม.

มหิดล อดีต รมว.สธ. นายกแพทยสภา อาจารย์เชี่ยวชาญไวรัสระดับโลก

หลังจากรัฐบาลประกาศมาตรการควบคุมป้องกันโรคไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด -19 ทั้งการจ ากัดการ

เดินทาง โดยประกาศเทศกาลสงกรานต์ 13-15 เม.ย. 2563 ไม่ใช่วันหยุด เพื่อลดการเดินทางและความเสี่ยงใน

การแพร่เชื้อ รวมทั้งปิดกิจการชั่วคราวบางสถานที่ที่มีการรวมกันของคนจ านวนมาก ทั้งสถานบันเทิง สนาม

มวย สนามกีฬา สนามม้า จนล่าสุดหลายแห่งทั้งโรงภาพยนตร์ ฟิตเนส ฯลฯ เพื่อช่วยกันลดการแพร่ระบาดของ

เชื้อนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในสังคมออนไลน์ได้มีการแชร์ข้อความและภาพถึงทีมแพทย์ที่เข้าร่วมหารือกับ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีก่อนจะมีการออกมาตรการด้านสาธารณสุขในการป้องกันโรคติดเชื้อ

โควิด-19 ซึ่งเป็นแพทย์แถวหน้าของประเทศไทย โดยเฟซบุ๊กของ พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการ

แพทยสภา เป็นผู้โพสต์ข้อความและภาพ โดยระบุว่า

\"ความสุขของนักรบในเสื้อกาวน์..เริ่มที่ภาพนี้\"

๓๗

เชื่อว่าแพทย์ทุกคนเมื่อเห็นภาพที่แสนปลื้มใจ \"ดรีมทีม\" สาธารณสุขของประเทศไทย นั่งหารือกับ

ท่านนายกรัฐมนตรี โดยท่านรับฟังอย่างตั้งใจ ในวงนี้มีทั้งอดีตอธิการบดีม. มหิดลและอดีต

รัฐมนตรีทั้ง 2 ท่าน ศ.คลินิก นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร (อดีต รมว.สธ.) ศ.คลินิก นพ.อุดม

คชินทร (อดีต รมช.อว.) นายกแพทยสภา-ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสมาคมฯ -ศ.นพ.

อมร ลีลารัศมี ราชบัณฑิต และมือไวรัสวิทยาระดับโลก - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ และ ศ.นพ.รณชัย

คงสกนธ์ พร้อมกับอาจารย์ผู้ใหญ่อีกหลายคน ซึ่งกระจายในโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่ 16 มีค. จนวันนี้

ตลอดวันต้อง \"ยิ้ม\" ออกมาได้

\"นับเป็นสิ่งที่ชาวแพทย์ทุกคนในประเทศไทยรู้สึกตรงกันคือมีความสุขใจ ที่ครูบาอาจารย์ระดับปู

ชนียบุคคลของแพทย์ไทย และทุกคนเป็นบุคคลระดับโลก มารวมตัวกันหารือ กับท่าน

นายกรัฐมนตรี เรื่องปัญหาโรคไวรัสโคโรน่าที่รุกรานพวกเราในวันนี้ และยิ่งตามมาด้วยหลาย

มาตรการที่ถูกใจแพทย์ทุกๆ คน ในการจัดการไวรัสแบบเบ็ดเสร็จ ตลอดบ่ายเมื่อวานและตอกย้ า

ตาม มติ ครม.ในวันนี้ จากท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

สาธารณสุขและท่านปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรียกขวัญและก าลังใจให้ทุกๆคน ท าให้ไม่ตระหนก

กับสถานการณ์ได้อย่างดียิ่ง สร้างความเชื่อมั่นต่อกระทรวงสาธารณสุขและวงการแพทย์ได้อย่าง

เต็มร้อย\"

นับเป็นสัญญาณที่ดีว่า ท่ามกลางวิกฤตใดก็ตามที่จะเกิดต่อไปจากนี้ ทุกเวลาที่ \"นักรบในเสื้อกาวน์\"

ท างาน..ครูของเรา..จะมาอยู่เคียงข้างพวกเราและ ชาว สธ. ดูแลให้ทุกคนปลอดภัยและอบอุ่น

หัวใจ

ก้าวนี้ของลุงตู่..ได้ใจพวกเราจริงๆ ..ไม่ว่าโควิด-19 จะแรงแค่ไหน...มั่นใจว่าทีมเราชนะแน่นอน

๓๘

โครงการ “นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” ทั้งสองกรมธรรม์

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี นายแพทย์ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ กรรมการ แพทยสมาคมฯ

การระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทย ท าให้มีผู้ติดเชื้อจ านวนมากเกิดขึ้นในแต่ละจังหวัด ผู้ติด

เชื้อประมาณร้อยละ ๘๐ แทบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก และจะมาหาแพทย์ด้วยอาการของโรคในระบบ

ทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น เจ็บคอ หรือน้ ามูกไหล มีไข้หรือไอ บางรายไม่มีอาการแต่มาหาแพทย์เพราะสงสัยว่า

ตนเองอาจจะติดเชื้อหรือไม่และอยากได้รับการตรวจหาเชื้อในตัวอย่างจากคอหอย (แต่ใครสงสัยว่าตนเองอาจจะ

ติดเชื้อและอยากจะมาขอตรวจเอง หากไม่มีอาการหรือเหตุสงสัยตามเกณฑ์ของรัฐ ก็ไม่สามารถขอตรวจได้แม้จะ

จ่ายเงินเองจนภาคเอกชนต้องเข้ามาช่วยตรวจให้ในกรณีนี้) ผู้ติดเชื้ออีกร้อยละ ๒๐ จะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการชัดเจน

ในระบบทางเดินหายใจ และอีกประมาณร้อยละ ๕ มีอาการรุนแรงจากปอดอักเสบซึ่งแสดงอาการออกมาโดยการ

ไข้ ไอ เหนื่อยง่าย หมดแรง อ่อนเพลีย หรือหายใจเร็วขึ้น โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะป่วยรุนแรง เช่น มีโรค

อ้วน โรคปอดเรื้อรัง สูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ผู้ที่มีอายุมากกว่า ๖๐ ปีขึ้นไป เป็นต้น นอกจากนี้ จนถึงกลางเดือน

มีนาคม ๒๕๖๓ ยังไม่มียาต้านไวรัสที่ใช้รักษาได้ผลดีอย่างเป็นทางการ สถาบันทุกแห่งก าลังศึกษาวิจัยหายาต้าน

ไวรัสที่น่าจะใช้ได้ผลดีโดยอ้างอิงจากผลการศึกษาในหลอดทดลองเป็นเบื้องต้น วัคซีนที่จะใช้ได้ผลในการป้องกัน

โรคก็ทราบกันในตอนนั้นว่า ต้องรออย่างน้อยอีก ๑ ปีกว่าจะมีจ าหน่ายและน ามาใช้ทั่วไปได้

แพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์จึงต้องรับภาระหนักในการท าหน้าที่ตนเองเพราะต้องดูแล

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอยู่ก่อนแล้ว และยังต้องมาสัมผัสผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2 ทั้ง ๆ ที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว(บางรายไม่มี

อาการ บางรายไม่บอกประวัติสัมผัสโรค)หรือดูแลผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงในหอผู้ป่วย หออภิบาล โดยที่น าตนเอง

เข้าเสี่ยงต่อการติดเชื้อและอาจจะถึงตายได้ ในประเทศจีนที่เริ่มมีรายงานของโรคระบาด ก็มีแพทย์จีนหลายรายถึง

แก่กรรมจากการเข้าไปดูแลรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ขณะเดียวกัน อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากอนามัย

แบบ N95, ชุด personal protective equipment (PPE), face shield และห้องผู้ป่วยแบบความดันลบ ยังมีไม่

พร้อมหรือไม่ครบทุกอย่างเมื่อจะเข้าไปดูแลผู้ป่วยดังกล่าว จึงท าให้บุคลากรทางการแพทย์เริ่มวิตกกังวลในการเข้า

ไปท าหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพราะอาจจะติดเชื้อและถึงแก่กรรมได้ สถาบันทางการแพทย์บางแห่งเริ่มสร้างขวัญ

และก าลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ของตนเองโดยการท าประกันให้ค่าชดเชยหากเกิดการติดเชื้อ โดยมี

๓๙

หลักเกณฑ์ว่า ติดเชื้อเมื่อไรจ่ายชดเชยเงินให้จ านวนหนึ่ง ส่วนค่ารักษาพยาบาลของแพทย์ พยาบาลส่วนใหญ่เบิก

ได้อยู่แล้ว ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ผู้อ านวยการส านักงานแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยได้รับทราบข้อมูลจาก ศ.

นพ.รณชัย คงสกนธ์ว่า คณะแพทย์บางแห่งเริ่มสร้างขวัญ ก าลังใจให้โดยท าประกันวิธีนี้ให้บุคลากรทางการแพทย์

หรือผู้ที่สังกัดในคณะแพทย์และให้เงินชดเชยเมื่อเกิดการติดเชื้อขึ้น จึงได้น าไปสู่การประชุมคุยกันในกรรมการกลุ่ม

เล็ก ๆ และสอบถามข้อมูลจากบริษัท เมืองไทยประกันภัย จ ากัด (มหาชน)แต่ยังได้ข้อมูลไม่ตรงใจ หลังจากนั้น อ.

สมศรี เผ่าสวัสดิ์ได้มอบให้ นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ไปปรึกษาบริษัทไทยประกันชีวิต(มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทที่เคย

ท าประกันชีวิตให้แพทย์ที่ลงไปปฏิบัติงานที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗ โดยแพทยสมาคมฯ เป็น

ผู้ออกเบี้ยประกันให้ในตอนนั้น และบริษัทไทยประกันชีวิต จ ากัด(มหาชน) เป็นผู้ออกกรมธรรม์กลุ่ม ในการหารือ

ทางโทรศัพท์เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๓ กับ นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ ครั้งนี้ ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์

อยากให้ประกันชีวิตแพทย์ทั้งประเทศที่ท างานด่านหน้าและเป็นสมาชิกแพทยสมาคมและแพทยสภา แต่ นพ.

ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ เสนอให้รวมพยาบาลด้วยเพราะร่วมกันท างานกับแพทย์เป็นด่านหน้าสุดในการสู้กับ COVID19 ซึ่งโรคนี้มีความรุนแรงมากกว่าครั้งที่ท าประกันชีวิตให้แก่แพทย์สามชายแดนจังหวัดภาคใต้ศ.เกียรติคุณ พญ.

สมศรี เผ่าสวัสดิ์ก็เห็นด้วยและเมื่อเห็นพ้องต้องกันในเรื่องนี้นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ ได้ประสานกับผู้เกี่ยวข้อง

และน าไปสู่การพบปะ รับประทานอาหาร และประชุมหารือกัน ในวันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ที่ห้องอาหารจีนโรงแรม

เซ็นทาราแกรนด์ ลาดพร้าว ของสามฝ่ายคือ แพทยสมาคมฯ สามท่านคือ ศ.เกียรติคุณ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์, ศ.

เกียรติคุณ.นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ และนพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์กรรมการแพทยสมาคมฯ ฝ่าย

บริษัทไทยประกันชีวิตจ ากัดสามท่าน น าโดย คุณไชย ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการใหญ่, อาจารย์อภิรักษ์ ไทพัฒ

นกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและคุณสวัสดิ์ นฤวรวงศ์รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไทยประกันชีวิต จ ากัด

(มหาชน) ฝ่ายบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จ ากัด (มหาชน)(หรือ AIS) อีกสามท่านน าโดย คุณสมชัย เลิศ

สุทธิวงค์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, คุณธีร์ สีอัมพรโรจน์ chief finance officer และ คุณปรัธนา ลีลพนัง chief

consumer business officer โดยในเบื้องต้นได้ตกลงในหลักการที่จะท าประกันชีวิตให้แพทย์และพยาบาล โดย

บริษัทไทยประกันชีวิต(มหาชน) จากนั้น อ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์และ อ.อมร ลีลารัศมีก็ได้ตกลงในหลักการที่จะท า

ประกันชีวิตให้แพทย์และพยาบาลที่เป็นนักรบด่านหน้า โดยมีบริษัท AIS รับบริจาคผ่านทางโทรศัพท์มือถือให้ด้วย

(และต่อมา มีบริษัทโทรศัพท์มือถือค่ายอื่นมาร่วมด้วย) ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ทราบจ านวนเบี้ยประกันที่แน่นอน ส่วนแพทย

สมาคมฯ จะประกาศหาผู้ร่วมบริจาคด้วย โดย อ.อมร ลีลารัศมีจะส่งข้อมูลการคาดการณ์การติดเชื้อของโรคนี้ให้

ไทยประกันชีวิตในเย็นวันนั้น เพื่อน าไปค านวณเบี้ยประกันทั้งหมด

อีกสองวันต่อมา ได้มีเหตุการณ์ส าคัญ ๒ เรื่องในตอนเช้าและตอนบ่ายคือ ในตอนเช้าของวันที่ ๑๘ มีนาคม

นายกแพทยสมาคม ฯ ได้ไปยื่นจดหมายด่วนด้วยตนเองให้แก่นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการ

กระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อขอให้น าเข้าที่ประชุมของกระทรวง

ในการอนุมัติเลขหมายของโทรศัพท์มือถือจากทุกค่ายให้แจ้งให้ลูกค้าและประชาชนบริจาคเงินเข้าสู่โครงการ ฯ

การประชุมของคณะกรรมการบริหารชุดนี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม คุณพุทธิพงษ์

ปุณณกันต์ เข้าร่วมประชุมและเป็นประธานในที่ประชุม ผลการประชุมปรากฎว่า คณะกรรมการได้อนุมัติเลข

หมาย USSD *948*1919 ให้แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ตามที่แพทยสมาคมฯ ขอมา

เพื่อให้บริษัทค่ายมือถือทุกแห่งแจ้งให้ลูกค้าใช้เลขหมายนี้ในการบริจาคเงินเข้าโครงการ นักรบเสื้อขาวสู้ภัย

COVID-19

๔๐

ในภาพ นายกแพทยสมาคม (ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี) ได้ปรึกษากับคุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการฯ

ก่อนการประชุม เพื่ออธิบายรายละเอียดของโครงการ ให้กรรมการทราบ

ในภาพ ได้เข้าประชุมกับคณะกรรมการ โดยมีรัฐมนตรีคุณพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์เป็นประธานในที่ประชุม

๔๑

ที่ประชุมได้อนุมัติการให้เลขหมายในการประชุม และส านักงาน กสทช. ได้มีจดหมายด่วนมาก ขอความร่วมมือกับ

บริษัทมือถือทั้งสามค่าย เพื่อสนับสนุนให้มีช่องทางการบริจาคเงินช่วยโครงการประกันชีวิตของแพทยสมาคม ฯ

๔๒

ดีอีเอส และส านักงาน กสทช. อนุมัติเลขหมาย USSD *948*1919 ให้แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระ

บรมราชูปถัมภ์ เพื่อเชิญชวนประชาชนร่วมบริจาคเงินช่วยเหลือแพทย์และพยาบาลที่ต่อสู้กับ COVID-19

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) และนาย

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

(กสทช.) ร่วมกันเปิดเผยว่า วันนี้ (๑๘ มีนาคม ๒๕๖๓) ส านักงาน กสทช. ได้อนุมัติเลขหมาย USSD *948*1919

ให้แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

มีหนังสือขอมา ซึ่งจะเป็นการเชิญชวนให้ประชาชนร่วมบริจาคเงินให้กับแพทย์ และพยาบาลที่ร่วมกันปฎิบัติงาน

เพื่อคลี่คลายสถานการณ์วิกฤติของเชื้อ COVID-19 ในขณะนี้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือได้แล้ว

ขณะที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา และศาสตราจารย์เกียรติคุณ

นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวว่า เนื่องจากวิกฤติการระบาด

ของเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยขณะนี้ แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ที่ร่วมปฏิบัติงานทุกคน ที่อุทิศตนท างาน

อย่างหนักหน่วงเพื่อฝ่าวิกฤติในครั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างขวัญและก าลังใจบุคลากรเหล่านั้น จึงขอเชิญชวนพี่น้อง

ประชาชนร่วมกันบริจาคสมทบทุนผ่านเลขหมาย USSD *948*1919 โดยหากต้องการบริจาคเงิน ๑๐๐ บาทต่อ

ครั้ง ให้กด *948*1919*100# โทรออก หากต้องการบริจาคเงิน ๑๐ บาทต่อครั้ง ให้กด *948*1919*10# โทร

ออก ทั้งนี้ทุกคนสามารถร่วมบริจาคได้จนถึงวันที่ ๓๐ มิ.ย. ๒๕๖๓

๔๓

นายปรัธนา ลีลพนัง หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส กล่าวว่า “นอกจากคนไทยทุกคนจะมีส่วนช่วย

ยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โดยเพิ่มระยะห่างทางสังคม หรือ Social Distancing และปฏิบัติตามมาตรการ

ของภาครัฐในการจ ากัดพื้นที่อย่างเคร่งครัดแล้ว อีกบทบาทที่เราสามารถร่วมด้วยช่วยกันได้ในขณะนี้ คือการส่งต่อ

ก าลังใจไปยังบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือเป็น

กลไกส าคัญ ในการต่อสู้กับโรคร้ายซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีจ านวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น โดยบุคลากรกลุ่มนี้ยังอยู่ในสถานะที่มี

ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป ขวัญและก าลังใจจึงเป็นสิ่งส าคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้เงินบริจาคที่ทุกท่านได้

ร่วมบริจาค จะถูกน าไปช่วยดูแลป้องกันความเสี่ยงให้แก่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ต่อไป ซึ่งเอไอเอส ในฐานะผู้

ให้บริการเครือข่ายจึงยินดีอย่างยิ่งที่จะร่วมเป็นช่องทางส่งต่อก าลังใจดังกล่าวอย่างเต็มที่”

ส าหรับลูกค้าเอไอเอส สามารถบริจาคเงิน

ได้ง่ายๆ ผ่าน 2 ช่องทาง ดังนี้

* บริจาค 100 บาท กด

*948*1919*100# แล้วโทรออก

* บริจาค 10 บาท กด *948*1919*10#

แล้วโทรออก

๔๔

อีกเหตุการณ์ที่ส าคัญในตอนบ่ายวันอังคารที่ ๑๘ มีนาคมในเวลา ๑๕:๐๐ น. คือ แพทยสมาคมฯ ได้ร่วมกับบริษัท

ไทยประกันชีวิต(มหาชน) และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จ ากัด (มหาชน) จัดท าพิธีแถลงข่าว เปิดตัว

โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 ที่ห้องประชุมสยามมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี โดยมี

กรรมการจากแพทยสมาคมฯ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อต่าง ๆ นับว่า เป็นการจัดการแถลงข่าวของ

โครงการนี้ที่รวดเร็วมากหลังจากที่เพิ่งตกลงในหลักการที่จะท าประกันชีวิตให้ทั้งแพทย์และพยาบาลที่เป็นนักรบ

ด้านหน้าสู้ภัย COVID-19 ได้ ๒ วัน โดยที่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เบี้ยประกันจะมีจ านวนเท่าไร แต่ผู้บริหารหลักของ

แพทยสมาคมฯ ก็ยังมั่นใจว่า จะสามารถหาเงินมาจ่ายเบี้ยประกันได้และเชื่อว่า จะท าโครงการนี้ให้ส าเร็จจนได้

ในภาพ ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี ศ.นพ.รณชัย คงสกนต์ และ นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ พร้อม

ด้วยคุณสวัสดิ์ นฤวรวงศ์(ไทยประกันชีวิต) และคุณปรัธนา ลีลพนัง (AIS) ร่วมแถลงข่าวในห้องประชุม

บรรยากาศในห้องประชุมสยามมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี โดยมีกรรมการและสมาชิกจากแพทย

สมาคมฯ และกรรมการจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสื่อต่าง ๆ มาร่วมรับฟังการแถลงข่าวด้วย

๔๔

๔๕

ในภาพแสดงกรรมการแพทยสมาคมฯ ที่เชื่อมั่นว่า จะหาเงินจ่ายเบี้ยประกันได้และท าให้โครงการนี้ส าเร็จจนได้

และมีคุณสวัสดิ์ นฤวรวงศ์(ไทยประกันชีวิต) และคุณปรัธนา ลีลพนัง(AIS) ถ่ายหลังการแถลงข่าวในห้องประชุม

๔๕

๔๖

ในวันที่ ๒๓ มีนาคม แพทยสมาคมได้รับทราบข่าวอย่างไม่เป็นทางการจากบริษัทไทยประกันชีวิต(มหาชน)

ว่า เบี้ยประกันชีวิตที่จะท าให้ประกันชีวิตให้แพทย์(ประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน)และพยาบาล(ประมาณ ๒๒๐,๐๐๐

คน)จะเป็นจ านวนเงิน ๕๐ ล้านบาท บริษัทไทยประกันชีวิต(มหาชน)ได้จ ากัดจ านวนผู้ที่เสียชีวิตมากที่สุดไว้ที่ ๑๕

รายภายในระยะเวลา ๑ ปี หากถึงแก่ชีวิตจากการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ SARS-CoV-2

และเสียชีวิตจากการด าเนินโรค COVID-19 ทายาทจะได้รับสินไหมทดแทน ๕ ล้านบาทต่อหนึ่งรายที่เสียชีวิต จึง

เป็นหน้าที่ของแพทยสมาคมฯ ที่ต้องหาเบี้ยประกันชีวิตให้โดยแพทย์และพยาบาลที่สังกัดแพทยสภา แพทย

สมาคมและสภาการพยาบาลไม่ต้องเสียเบี้ยประกันเอง กรรมการกลุ่มเล็กของแพทยสมาคมฯ ได้ประชุม รับทราบ

เรื่องจ านวนเบี้ยประกัน ได้คุยกันเรื่องการหาเงินและในที่สุดได้ตอบตกลงเรื่องเบี้ยประกันจ านวนนี้ให้กับไทย

ประกันชีวิตในเบื้องต้น แล้วนายกแพทยสมาคมฯ ได้น าเรื่องนี้มาพิจารณาในที่ประชุมกรรมการแพทยสมาคมฯ

และในที่สุด แพทยสมาคมฯ ได้อนุมัติให้รับผิดชอบเรื่องเบี้ยประกันชีวิต ๕๐ ล้านบาทให้แก่แพทย์และพยาบาล

โดยแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ด าเนินการและรับผิดชอบในการหาเงินและเบี้ยประกันแต่ฝ่ายเดียว ส่วน

แพทยสภาและสภาการพยาบาลเพียงแค่รับทราบว่า มีโครงการนี้เท่านั้นและมีการมอบสินไหมชดเชยให้ทายาท

ของแพทย์หรือพยาบาลที่เสียชีวิตจากโรค COVID-19 ตามเกณฑ์ที่แพทยสมาคมฯ ได้ตั้งไว้

ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการของ

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในบ่ายวัน

พุธที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ (นั่งห่างกันอย่าง

น้อย ๒ เมตร ในห้องประชุมใหญ่) โดยการ

ประสานงานของ พล.ร.อ. พะจุณณ์ ตาม

ประทีป ผ่าน นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ท า

ให้ อ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ อ.รณชัย คงสกนธ์

และ อ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ได้รับเชิญให้

ไปออกรายการทีวี เนชั่น เพื่อแจ้งข่าวเรื่อง

โครงการนี้ให้แก่ประชาชนทราบ ใน

รายการได้ไปพบกับคุณสนธิญาณ ชื่นฤทัย

ในธรรม(ชื่อเล่น:ต้อย)ซึ่งเป็นพิธีกรใน

รายการด้วย แพทยสมาคมฯ ได้เชิญคุณ

สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรมมาเป็นที่ปรึกษา

โครงการด้วย และได้ท าจดหมายเชิญโดย

มอบให้นายกแพทยสมาคมฯ ไปยื่นให้ด้วย

ตนเองเมื่อจะไปออกรายการข่าวครั้งต่อไป

เมื่อทีวีเดอะเนชั่นได้รับทราบโครงการและ

ออกข่าวให้แล้ว ได้นัดนายกแพทยสมาคม

๔๗

ฯ มาร่วมถ่ายท ารายการ คมชัดลึก สุดสัปดาห์เพื่อออกรายการในคืนวันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคมเวลา ๑๙:๐๐ น.

๔๘

เนื้อหาส าคัญของการออกรายการทีวีในคืนวันอาทิตย์ที่ ๒๙ มีนาคม คือต้องมีความร่วมมือกันในการท ามาตรการ

ควบคุมโรคได้ถึงร้อยละ ๙๕ ขึ้นไป จึงจะควบคุมโรคนี้ได้ภายใน ๒ ถึง ๔ เท่าของระยะฟักตัวของโรค (ระยะฟักตัว

คือ ๑๔ วัน)

ระหว่างนี้ แพทยสมาคมฯ ได้เริ่มรณรงค์ให้ข่าวโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 อย่างกว้างขวาง

ท าให้มีผู้บริจาคเข้ามาทั้งรายใหญ่และรายเล็กผ่านทางโทรศัพท์มือถือทั้งสามค่าย ซึ่งจ านวนเงินที่ได้ในตอนนั้น ยัง

มีน้อยอยู่ ท าให้แพทยสมาคมฯ ต้องขอจ่ายเบี้ยประกันแบ่งเป็นสามงวดและอาจจะช าระช้ากว่าก าหนดไปบ้างซึ่ง

ไทยประกันชีวิตก็ยินยอม

๔๙

จากการที่เนชั่นทีวี ได้ออกข่าวเกี่ยวกับโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 และออกรายการสื่อ

โทรทัศน์ให้ความเห็นความรู้ในการควบคุมโรค COVID-19 ของประเทศไทยให้ได้ และได้เชิญคุณสนธิญาณ

ชื่นถทัยในธรรมได้เป็นที่ปรึกษาโครงการด้วย หลังจากนั้นไม่นาน คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ได้โทรศัพท์หารือ

นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์เพื่อขอค าปรึกษาว่า มีนักธุรกิจใหญ่ใจบุญมีความประสงค์จะช่วยบริจาคให้โรงพยาบาล

หลายๆ แห่งๆ ละ ๑ ถึง ๓ ล้านบาท แต่หลังจากปรึกษากันแล้วเห็นตรงกันว่า ควรจะประสานกับทีมของแพทย

สมาคมฯ จึงเป็นที่มาของการปรึกษาหารือกับคุณคีรี กาญจนพาสน์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการของ บมจ.

บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เพื่อนัดไปคุยกันต่อในรายละเอียดของโครงการที่โรงแรมยู สาทร กรุงเทพฯ ในวันเสาร์ที่ ๑๑

เมษายน ๒๕๖๓ ช่วงเวลา ๑๔:๐๐ น. เพื่ออธิบายโครงการให้คุณคีรี กาญจนพาสน์เข้าใจและบริษัท BTS และคุณ

คีรี กาญจนพาสน์อาจจะให้การสนับสนุนเต็มที่ด้วย โดยมีคุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม มาช่วยคุยด้วย

ในภาพเป็นการประชุมที่

โรงแรมยู สาทร กรุงเทพฯ ใน

วันเสาร์ที่ ๑๔ เมษายน เวลา

บ่ายสองโมง โดยมี ศ.เกียรติ

คุณ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์, ศ.

เกียรติคุณ.นพ.อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมฯ ศ.นพ.

รณชัย คงสกนธ์ และนพ.

ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์รวม ๔

ท่าน เป็นผู้แทนฝ่ายแพทย

สมาคม ฯ

๕๐

ในภาพ เป็นการพูดคุยและปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับการประกันชีวิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์

บางส่วนที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ด้วย ระหว่างคุณคีรี กาญจนพาสน์ คุณสุรพงษ์ เลาหะอัญญา

กรรมการผู้อ านวยการใหญ่และคุณรังสิน กฤตลักษณ์ผู้ช่วยกรรมการบริหารและผู้อ านวยการใหญ่สายปฎิบัติการ

ฝ่าย BTS คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ฝ่ายเดอะเนชั่น และกรรมการ ๔ ท่านในฝ่ายแพทยสมาคม ฯ ที่โรงแรม

ยูสาธร กรุงเทพ ในเวลาบ่ายสองโมง วันเสาร์ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๓

คุณสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรมได้ให้ความเห็น ร่วมประชุมและเจรจาด้วยจนในที่สุด คุณคีรีกาญจนพาสน์ เห็นชอบ

โครงการประกันชีวิตแพทย์และพยาบาลทั่วประเทศโดยจะเป็นผู้บริจาคให้ ๕๐ ล้านบาท เพื่อให้แพทยสมาคมฯ

น าไปช าระเบี้ยประกันทั้งหมดและท่านยังให้ข้อคิดเห็นว่า ควรจะท าประกันชีวิตให้ผู้ช่วยพยาบาล, นักเทคนิค

การแพทย์และนักรังสีเทคนิค เพราะต้องเสี่ยงภัยในการดูแลผู้ป่วย COVID-19 เช่นกัน จึงเป็นที่มาของการท าพิธี

มอบเงิน ๖๐ ล้านบาทให้แพทยสมาคมฯ ที่ห้องประชุมส านักงานแพทยสมาคมฯ ในวันจันทร์ที่ ๑๓ เมษายน

๒๕๖๓ ซึ่งนับเป็นเวลาเพียงสองวันหลังจากการหารือกันที่โรงแรมยูสาธร ทั้งนี้เงิน ๖๐ ล้านบาทจะน าไปจ่ายเป็น

ค่าเบี้ยประกันชีวิตแพทย์และพยาบาล ๕๐ ล้านบาทในโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 ส่วนอีก ๑๐ ล้าน

บาท จะน าไปจ่ายเป็นค่าเบี้ยประกันชีวิตส าหรับผู้ช่วยพยาบาล, เทคนิคการแพทย์และนักรังสีเทคนิค

๕๑

จากเงินบริจาคของคุณคีรี กาญจนพาสน์ จึงเป็นที่มาของการเพิ่มกรมธรรม์อีกหนึ่งโครงการส าหรับ ผู้ช่วย

พยาบาล นักรังสีเทคนิค และนักเทคนิคการแพทย์ ซึ่งใช้เบี้ยประกันต่ ากว่า และจะได้สินไหมชดเชยรายละ ๑ ล้าน

บาท หากเสียชีวิตจากการท างานกับผู้ติดเชื้อโรค COVID-19 และติดเชื้อและมีการด าเนินโรคจนถึงแก่ชีวิตจากโรค

ติดเชื้อ COVID-19 โดยใช้กฏเกณฑ์แบบเดียวกับแพทย์และพยาบาลในโครงการแรก ทั้งนี้ บริษัทไทยประกันชีวิต

จะได้น าข้อมูลไปคิดเป็นเบี้ยประกันต่อไป

ดังนั้น ในวันจันทร์ที่ ๑๓ เมษายน จึงมีพิธีลงนามในมอบกรมธรรม์ฉบับแรก เวลา ๑๐:๐๐ น. กับบริษัท

ไทยประกันชีวิต จ ากัด(มหาชน) และในเวลา ๑๔:๐๐ น. คุณคีรี กาญจนพาสน์ และคณะ ในนามของบริษัท บีที

เอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จ ากัด (มหาชน) ได้มาท าพิธีมอบเงินบริจาคให้แพทยสมาคมฯ จ านวน ๖๐ ล้านบาท ที่ห้อง

ประชุมชั้น ๔ ส านักงานแพทยสมาคม อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี

ในภาพ ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรม

ราชูปถัมภ์ ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ ศ.นพ.รณชัย คงสกนต์ นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์

กรรมการจากฝ่ายแพทยสมาคม ฯ และ คุณไชย ไชยวรรณ อาจารย์อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล คุณสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ฝ่าย

บริษัท ไทยประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) มาลงนามสัญญาประกันชีวิตกลุ่ม “โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID19”และเป็นสักขีพยานในแต่ละฝ่าย ในพิธีลงนาม ในกรมธรรม์ฉบับที่ ๑ ในวันจันทร์ที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๓

๕๒

เพื่อมอบความคุ้มครองประกันชีวิตส าหรับแพทย์และพยาบาลที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ

โควิด-๑๙ และเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-๑๙ ทุนประกันรายละ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท โดยมีศ.เกียรติคุณ พญ.

สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์และ ดร.อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและ

๕๓

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อสร้างขวัญและก าลังใจ

ให้กับแพทย์-พยาบาลที่ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่ ณ สานักงานแพทยสมาคมฯ

ในวันอังคาร ที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๓ คณะผู้บริหารโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย Covid-19 ร่วมแถลงข่าวเกี่ยวกับ

รายละเอียดโครงการประกันชีวิตส าหรับกรมธรรม์ฉบับที่ ๑ ส าหรับแพทย์และพยาบาล

๕๓

๕๔

และในวันจันทร์ที่ ๑๓ เมษายน เวลาบ่ายสองโมง มีการท าพิธีมอบเงิน ๖๐ ล้านบาทให้แพทยสมาคมเพื่อท า

ประกันชีวิตให้แพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศ

๕๕

ในภาพ: นายคีรี กาญจนพาสน์ (๕ ซ้าย) ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัทบีทีเอส พร้อมด้วยคณะกรรมการผู้บริหาร

อาทิ นายกวิน กาญจนพาสน์ (๔ ซ้าย), นายรังสิน กฤตลักษณ์ (๓ ซ้าย), นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา (๒ ซ้าย) ร่วม

ถ่ายภาพการมอบเงินสนับสนุนจ านวน (๖๐ ล้านบาท ให้กับผู้แทนจากสมาคมแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดย

มี ศาตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ (๕ ขวา) ประธานโครงการ “นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี (๔ ขวา) นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นผู้รับมอบ

คุณคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัทบีทีเอส ในฐานะตัวแทนของบริษัทฯ และบริษัทในเครือ ได้มอบ

เงินจ านวน ๖๐ ล้านบาท แก่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สนับสนุนโครงการ “นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19”

เพื่อร่วมจัดท ากรมธรรม์ประกันชีวิตให้กับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์รวมกว่า ๓๘๐,๐๐๐ คน

ทั่วประเทศ โดยมีหลักประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต หากเสียชีวิตจากโรคโควิด-๑๙ ด้วยวงเงินส าหรับแพทย์และ

พยาบาลคนละ ๕ ล้านบาท และผู้ช่วยพยาบาล รังสีเทคนิค เทคนิคการแพทย์คนละ ๑ ล้านบาทภายในระยะเวลา

๑ ปี โดยพิธีมอบเงินดังกล่าวจัดขึ้น ณ ห้องประชุมชั้น ๔ อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี แพทยสมาคมแห่งประเทศ

ไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

การช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของกลุ่มบริษัทบีทีเอส

ในการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 และเป็นการขอบคุณด้วยหัวใจต่อเจ้าหน้าที่ทาง

การแพทย์ทุกคนส าหรับความเสียสละ ความทุ่มเท และความกล้าหาญภายใต้ภารกิจอันยิ่งใหญ่นี้

๕๖

แพทยสมาคม ฯ ได้จัดให้มีการแถลงข่าว เพิ่มเติมอีกครั้งในบ่ายวันอังคารที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๓ ที่ห้องประชุมชั้น

๔ ส านักงานแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย โดยมีศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี และนายแพทย์

ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ ร่วมแถลงข่าว

๕๗

ดังนั้น ส าหรับโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 ในกรมธรรม์ฉบับที่ ๑ แพทยสมาคมฯ ก็สามารถช าระเบี้ย

ประกันได้ครบตามก าหนด แต่ยังรับบริจาคต่อไปก่อนผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือจนถึงสิ้นเดือนมิถุนายนและ

ช่องทางโอนผ่านบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงไทย หมายเลข ๐๔๑-๐-๑๘๐๘๐-๗ ชื่อบัญชี“แพทยสมาคมฯ เพื่อ

โครงการสนับสนุนส่งก าลังใจให้นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19”

๕๗

๕๘

กรมธรรม์ ฉบับที่ ๒ ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓เวลา ๑๐:๐๐ น. ณ ห้องประชุมแพทยสมาคมฯ ชั้น

๔ อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี คณะผู้บริหารโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 กับ บริษัทไทยประกัน

ชีวิต จ ากัด (มหาชน) ร่วมท าพิธีลงนามในกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่มฉบับที่ ๒ ส าหรับ ผู้ช่วยพยาบาล นัก

เทคนิคการแพทย์และนักรังสีเทคนิค จ านวน ๑๐๐,๐๐๐ คน เพื่อสร้างขวัญก าลังใจแก่ผู้ช่วยพยาบาล นัก

เทคนิคการแพทย์และนักรังสีเทคนิค โดยมีความคุ้มครองจากการเสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสและการ

ด าเนินโรค COVID-19 จากการปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยตามที่ได้รับมอบหมาย โดยทายาทตามกฎหมายจะ

ได้รับสินไหมรายละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท กรมธรรม์ฉบับนี้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๐

เมษายน ๒๕๖๔ โดยมีการแถลงข่าวร่วมกันในการนี้

สืบเนื่องจากการที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดตั้งโครงการที่หนึ่ง คือโครงการนักรบเสื้อขาวสู้

ภัย COVID-19 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างขวัญก าลังใจให้แพทย์และพยาบาลผู้ซึ่งท างานด่านหน้าในการดูแล

รักษาคนไข้และควบคุมการระบาดของโรคนี้ โดยจัดหาวัสดุทางการแพทย์และกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แพทย์

และพยาบาลทั่วประเทศทั้งหมด ๒๘๐,๐๐๐ คน คุ้มครองชีวิตรายละ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท และเริ่มคุ้มครอง

ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ ถึงวันที่

๓๑ มีน าคม ๒๕๖๔ และได้ท าก า ร

ประชาสัมพันธ์ไปแล้ว

โครงการในวันนี้ เป็นโครงการที่สอง

ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างขวัญก าลังใจแก่

ผู้ช่วยพยาบาล นักเทคนิคการแพทย์และ

นักรังสีเทคนิค โดยจัดท าเป็นกรมธรรม์

ประกันชีวิตกลุ่มผู้ช่วยพยาบาล นัก

เทคนิคการแพทย์และนักรังสีเทคนิค ทั่ว

ประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน จ านวน

ป ระม าณ ๑๐๐,๐๐๐ คน แยกเป็น

ก รม ธ ร รม์ฉบับที่สอง แล ะให้ค ว าม

คุ้มครองการเสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อ

ไวรัสและการด าเนินโรค COVID-19 จาก

การปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยตามที่ได้รับ

มอบหมาย โดยทายาทตามกฎหมายจะ

ได้รับสินไหมรายละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ก รม ธ ร รม์ ฉบับนี้มีผ ล ตั้ง แต่ วันที่ ๑

๕๙

พฤษภาคม ๒๕๖๓ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔

กรมธรรม์ฉบับที่สองนี้มีศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ ร่วมกับอาจารย์

อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไทยประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) ลงนามใน

กรมธรรม์ โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์, นายแพทย์ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์, คุณสมชัย

เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์, คุณสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ร่วมเป็น

สักขีพยาน เมื่อรวมทั้งสองกรมธรรม์นี้แล้ว เท่ากับว่า แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดท ากรมธรรม์ประกัน

ชีวิตแก่บุคลากรทางการแพทย์รวมเกือบ ๔๐๐,๐๐๐ คน

นอกเหนือจากการจัดท ากรมธรรม์ทั้งสองฉบับนี้แล้ว แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ยังมีส่วนร่วมใน

การริเริ่มให้มีอีก ๒ กองทุนคือ

  1. กองทุน อสม. สู้ภัย COVID-19 ซึ่งมีนายแพทย์ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ เป็นประธานกองทุนนี้ โดยกองทุนนี้ให้

คุ้มครองครองชีวิตแก่ อสม. จ านวน ๑,๐๕๐,๐๐๐ คนทั่วประเทศ โดยถ้าหากเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสและการ

ด าเนินโรค COVID-19 จากการปฏิบัติงานในหน้าที่ คณะกรรมการกองทุนนี้จะเป็นผู้ตัดสินและมอบเงินให้รายละ

๕๐๐,๐๐๐ บาท แก่ทายาทตามกฎหมาย โดยใช้หลักฐานในการพิจารณาสิทธิ์เช่นเดียวกับโครงการนักรบเสื้อขาวสู้

ภัย COVID-19 กองทุนนี้อยู่นอกเหนือของการบริหารแพทยสมาคม โดยมีกรรมการจากกรมสนับสนุนการบริการ

และจากบริษัท BTS กรมธรรม์สิ้นสุดในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔

  1. กองทุนเยียวยาบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อและได้รับผลกระทบจากการรักษาโรค COVID-19 โดยผู้ได้รับ

ผลกระทบโดยตรงจากการติดเชื้อไวรัสและการรักษาโรค COVID-19 และผู้รับรอง สามารถแจ้งเรื่องเข้ามาที่แพทย

สมาคมฯ ได้ สมาคม ฯ จะแต่งตั้งคณะกรรมการโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 เพื่อพิจารณาช่วยเหลือ

ตามหลักฐานที่แสดงมาและเงินทุนของกองทุนนี้จะต้องได้รับความอนุเคราะห์จากภาคเอกชนที่มีจิตกุศลให้ความ

ช่วยเหลือโดยจะพิจารณาเป็นแต่ละกรณีไป ทั้งนี้ กองทุนนี้ใช้ส าหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่มีสิทธิ์ในโครงการ

หรือกองทุนข้างต้น กองทุนนี้จะสิ้นสุดในวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔

โดยสรุป ณ ปัจจุบัน แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ เป็นผู้ทรงกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่ม ๒ กรมธรรม์

(โครงการที่ ๑ และ ๒) ซึ่งครอบคลุมบุคลากรทางการแพทย์เกือบ ๔๐๐,๐๐๐ คน และได้ริเริ่มให้มีอีก ๒ กองทุน

ซึ่งเป็นกองทุนให้ความคุ้มครองชีวิต อสม. จ านวน ๑,๐๕๐,๐๐๐ คน และอยู่นอกการบริหารของแพทยสมาคมและ

อีกหนึ่งกองทุนส าหรับให้ความช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโรค COVID-19 และมีภาระบางอย่างที่ขัด

สนในฐานะการเงินและจ าเป็นต้องใช้เงินช่วยเหลือในการรักษาด้วย

๖๐

ในภาพเป็นการลงนามในกรมธรรม์ ฉบับที่ ๒ โดย ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี และอาจารย์อภิรักษ์ ไทพัฒนกุล โดยมี

ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และนายสวัสดิ์ นฤวรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ chief life operation officer

บริษัท ไทยประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) และนายแพทย์ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ เป็นสักขีพยาน

๖๑

ในภาพ ได้มอบกรมธรรม์ ฉบับที่สองและค่าเบี้ยประกันชีวิต ให้ บริษัท ไทยประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) พร้อมกับ

คุณสมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์, คุณสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศ

ไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน

๖๒

พร้อมกันนี้ ได้ท าการแถลงข่าวของกรมธรรม์ที่สองในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓ พร้อมกับคุณสมชัย เจิดเสริม

อนันต์ นายกสภาเทคนิคการแพทย์, คุณสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย

๖๓

เอกสารท้ายเล่ม เป็นประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในการด าเนินงานของทั้ง

สองโครงการ (มี ๒ กรมธรรม์) หลักเกณฑ์การตัดสินในการพิจารณามอบสินไหมทดแทนในกรณีที่มีผู้ถึงแก่กรรม

และค าอธิบายของทั้งสองโครงการ

ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการด าเนินโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19

ในวันพุธที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๓ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ประกาศแต่งตั้ง

คณะกรรมการด าเนินโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 เป็นฉบับแรกและต่อมาได้แก้ไขให้ถูกต้องโดยท า

ประกาศฉบับเพิ่มเติม ในวันอังคารที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓ ดังนี้

๖๔

โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 (คนข.)

แถลงโดย ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๓

ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข่าวผ่านสื่อมวลชนบางแห่ง ระบุว่า มีการทุ่มเงิน ๑.๔๔ ล้านล้านบาท ท าประกันให้แพทย์-

พยาบาลสู้วิกฤต COVID-19 นั้น

แพทยสมาคมฯ ขอเรียนชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าว อาจจะท าให้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากข่าว

ประชาสัมพันธ์ที่ได้เผยแพร่ออกไป จึงขอให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริงในโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19

(คนข.)ตามหลักเกณฑ์ที่ได้ก าหนดไว้ดังนี้

๑. แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตระหนักถึงภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเสี่ยงภัยของแพทย์และ

พยาบาลที่ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคนี้

ดังนั้น เพื่อสร้างขวัญและก าลังใจแก่แพทย์ และพยาบาล ที่ท าหน้าที่ดูแล รักษาผู้ป่วยเหล่านี้ แพทยสมาคม

แห่งประเทศไทย ฯ จึงได้อาสาเป็นองค์กรหลักที่รับผิดชอบในการมอบความคุ้มครองประกันชีวิตแก่แพทย์

พยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยจะได้รับความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากการติดโรค COVID-19 รายละ

๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ตามเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ โดยประมาณการจากแพทย์ พยาบาลที่มีอยู่จ านวน ๒๘๐,๐๐๐

ราย หากทุกท่านเข้าร่วมภารกิจ จะคิดเป็นทุนคุ้มครองรวมทั้งสิ้น ๑.๔๐ ล้านล้านบาท

๒. บุคลากรทางแพทย์ที่ได้รับความคุ้มครองใน คนข. จะเป็นบุคลากรในสังกัดแพทยสภา แพทยสมาคมแห่ง

ประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาการพยาบาล และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ที่ตนเองได้รับ

มอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจดูแลผู้ที่ติดโรค COVID-19

๓. แพทย์และพยาบาลไม่ต้องเสียเบี้ยประกันภัยแต่อย่างใด ส่วนการด าเนินการหาเบี้ยประกันดังกล่าว แพทย

สมาคมแห่งประเทศไทย ฯ จะด าเนินการผ่านการระดมเงินบริจาคจากทุกภาคส่วนและภาคประชาชน ผ่าน

SMS *948*1919*100# ส าหรับการบริจาค ๑๐๐ บาท และ *948*1919*10# ส าหรับการบริจาค ๑๐ บาท

หรือท่านจะบริจาคเงินให้ คนข. นี้โดยโอนเงินเข้าบัญชี ใน นาม “แพทยสมาคม ฯ เพื่อโครงการสนับสนุนส่ง

ก าลังใจให้นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ เลขที่บัญชี๐๔๑-๐-

๑๘๐๘๐-๗ ทั้งนี้ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบแต่ผู้เดียวในการหาเบี้ยประกันและการตัดสิน

ทั้งหมดและเป็นเจ้าของโครงการทั้งสองโครงการ หน่วยงานอื่นเพียงแค่รับทราบเท่านั้น

แพทยสมาคมฯ จึงขอเรียนชี้แจงข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนทุกท่าน ในการเผยแพร่

ข้อมูลดังกล่าว พร้อมทั้งเชิญชวนประชาชนทุกท่านร่วมบริจาคสมทบทุนในโครงการนี้ เพื่อสร้างขวัญและก าลังใจ

ให้กับแพทย์ พยาบาล ที่ท างานด่านหน้าเพื่อต่อสู้กับวิกฤตโรค COVID-19 ในครั้งนี้

จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขอขอบพระคุณในความร่วมมือของทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

๖๕

ท าไมต้องให้ไทยประกันชีวิตมอบความคุ้มครองประกันชีวิตในครั้งนี้

สาเหตุที่ให้บริษัท ไทยประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) มอบความคุ้มครองประกันชีวิตในครั้งนี้ เนื่องจาก

๑. แพทยสมาคมฯ ไม่สามารถให้ความคุ้มครองประกันชีวิตแก่แพทย์ พยาบาลได้เอง เนื่องจากขัดกับ พ.ร.บ.

ประกันชีวิต ซึ่งการรับประกันชีวิตต้องเป็นบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิต จากส านักงาน

คณะกรรมการก ากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

๒. ไทยประกันชีวิตเป็นบริษัทประกันชีวิตที่มีความมั่นคง และมีประสบการณ์ในการบริหารจัดการ การประกัน

ชีวิตให้กับผู้เอาประกันจ านวนมาก เนื่องจากเป็นบริษัทประกันชีวิตแห่งแรกและแห่งเดียว ที่รับประกันชีวิต

ทหาร รวมถึงเป็นบริษัทประกันชีวิตที่รับประกันชีวิตแพทย์ใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗

ส าหรับการรับประกันชีวิตแพทย์ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี ๒๕๔๗ ที่ผ่านมา ไทยประกันชีวิตบริหาร

จัดการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการบริหารแต่อย่างใด

๓. การรับประกันชีวิตแพทย์และพยาบาลจ านวน ๒๘๐,๐๐๐ คนที่เป็นด่านหน้าในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษา

ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-๑๙ หากรับประกันแบบรายบุคคลทั้งหมด จะต้องจ่ายเบี้ยประกันในจ านวนที่สูงมาก ไทย

ประกันชีวิตจึงพร้อมรับประกันชีวิตแบบประกันกลุ่ม โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและไม่หวังผล

ก าไร ท าให้ไม่จ าเป็นต้องจ่ายเบี้ยประกันในจ านวนที่สูง

๔. หากบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับความคุ้มครองเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-๑๙ ตามหลักเกณฑ์ที่ก าหนด

เจ้าหน้าที่ในโครงการนี้(คนข.) จะเป็นคนกลางในการจัดส่งรายชื่อบุคลากรดังกล่าวที่ได้รับการรับรองจาก

แพทยสภา แพทยสมาคมฯ และสมาคมพยาบาลฯ และผ่านความเห็นชอบและการตัดสินของคณะกรรมการ

ของแพทยสมาคม ฯ ให้แก่ไทยประกันชีวิต เพื่อด าเนินการจ่ายสินไหมให้แก่ผู้รับประโยชน์ต่อไป

๖๘

๖๘

โครงการท ากล่องนวัตกรรมครอบศีรษะความดันลบ(COVID-19 box)ให้โรงพยาบาล

นางสาวรัตนา ธนสารกิจ (คุณหุย)

ในยุค COVID-19 ระบาดและมีผู้ป่วยบางรายป่วยรุนแรงจนเกิดภาวะหายใจล้มเหลวหรือจะต้องได้รับการ

ผ่าตัด ในการนี้แพทย์โดยเฉพาะวิสัญญีแพทย์จะต้องใส่ท่อช่วยหายใจผ่านทางรูจมูกหรือช่องปาก และเวลาใส่ท่อ

ช่วยหายใจได้แล้ว จะต้องท าการดูดเสมหะในหลอดลมออกด้วยเครื่อง suction เพื่อท าให้หลอดลมปราศจาก

เสมหะหรือสิ่งคัดหลั่งที่จะรบกวนการผ่านเข้าออกของลมหายใจในหลอดลม เมื่อมีการใส่ท่อช่วยหายใจ และ/หรือ

มีการดูดเสมหะออก จะท าให้เกิดฝอยละอองขนาดใหญ่และขนาดเล็กลอยฟุ้งขึ้นมาและสามารถลอยเข้าไปใน

ทางเดินหายใจของแพทย์ผู้ท าหัตถการหรือผู้ช่วยแพทย์ที่อยู่ใกล้ชิดได้ ท าให้แพทย์เกิดความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อ

SARS-CoV-2 ได้ จึงได้มีการออกแบบกล่องครอบศีรษะผู้ป่วยที่จะไม่ท าให้เกิดฝอยละอองฟุ้งออกมาถึงแพทย์ได้

พร้อมกับท าให้มีการดูดอากาศ

ในกล่องออกมาในทางเดียวกัน

และน าอากาศไปท าลายเชื้อ

หรือกรองด้วยตัวกรอง HEPA

ก่อนจะปล่อยออกสู่อ าก าศ

โดยรอบต่อไป จึงเป็นที่มาของ

พันธมิตรร่วมสร้างนวัตกรรม

DSIL Covid 1 9 Aerosol Box

ที่จะท ากล่องครอบศีรษะเหล่านี้

ฟรี เพื่อมอบให้โรงพยาบาลต่าง

ๆ ที่ แ จ้ง ค ว า ม จ า นง ค์ ว่ า

ต้องการกล่องดังกล่าวไปใช้

ต่อไป

๖๙

๖๙

รายชื่อพันธมิตรกล่อง Aerosol Box สู้โควิดเพื่อคุณหมอ

ผู้บริหารมูลนิธิศึกษาพัฒน์ โรงเรียนดรุณสิกขาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

๑. คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา (ผู้สนับสนุนริเริ่มการท าต้นแบบกล่อง Aerosol Box)

๒. ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ประสานงานและสนับสนุนวัตถุดิบ)

คณะแพทย์ที่ให้ความเห็นและร่วมทดลองอุปกรณ์

๑. ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา

๒. ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ

๓. ศ.พญ.สุวรรณี สุรเศรณีวงศ์ ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย

๔. พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา กรรมการแพทยสมาคมฯ

๕. ผศ. นพ.ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร รพ.รามาธิบดี

คณะนักออกแบบ นักประดิษฐ์จาก DSIL FabLearn Lab โรงเรียนดรุณสิกขาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ

จอมเกล้าธนบุรี (งานออกแบบท าต้นแบบ ระดมทุน ควบคุมการผลิต)

๑. อ.นลิน ตุติยาพึงประเสริฐ ผู้ควบคุมการออกแบบและผลิตจาก DSIL FabLearn Lab

๒. อ.สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล ผู้ประสานงานเบื้องต้น

๓. อ.นุศรินทร์ นุเสน นักออกแบบและนักประดิษฐ์

๔. อ.ณรงค์ศักดิ์ ยลประเวส นักออกแบบและนักประดิษฐ์

๕. อ.ธนกฤต ขันธุลา นักออกแบบและนักประดิษฐ์

๖. น.ส.เอวิตรา สวนแย้ม ผู้ช่วยนักออกแบบ

๗. นายกรวิชญ์ สิงห์ทอง ผู้ช่วยนักออกแบบ

๘. นางสาวมณีพร ซามาตย์ ผู้ช่วยนักออกแบบ

๗๔

๗๔

วันที่ 8 เมษายน 2563 เริ่มส่งมอบผลิตภัณฑ์ Covid box

ในวันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2563

๗๕

๗๕

SCG Express เริ่มด าเนินการส่งของจ านวน ๕๙ กล่อง ส่งถึงโรงพยาบาล ๓๒ แห่ง ในภาคเหนือ อีสาน กลางและ

ประจวบคีรีขันธ์ ตามรายชื่อที่ รพ แจ้งขอมา ส่วนของกรุงเทพ ออกเดินทางส่งวันจันทร์และคาดว่าจะได้รับในวัน

อังคารที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓

ส าหรับกล่องโควิด-๑๙ ยอดรวม ส่งออกจากกรุงเทพฯจ านวน ๑๑๐ กล่อง และเครือข่ายที่ระยอง ได้ส่งออกไปอีก

กว่า ๖๐ กล่อง โดยโครงการนี้ ท าไปรวม ๑๗๐ กล่อง และมีต้นแบบพร้อมปั๊มอย่างรวดเร็วด้วย หากมีความ

ต้องการเพิ่มจะท ารายงานทางด้านบัญชีการเงินในโครงการกล่องนี้ รายงานให้ทราบและเงินส่วนที่คงเหลือจะ

สมทบไปกับการท าต้นแบบ กล่องกรองอากาศที่ ผศ.ดร.นพ. ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร และทีมงานจากดรุณสิกขา

ลัย ก าลังด าเนินการท าต้นแบบ ส าหรับความคืบหน้ากล่องนี้ ผศ.ดร.นพ. ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร คงจะได้

น าเสนอต่อไป ตอนนี้ต้นแบบเริ่มฟังก์ชั่นแล้วเรื่องการดูดอากาศ การฟอกผ่านน้ ายาโซเดียมไฮโปคลอดไรด์ ซึ่งก าลัง

อยู่ขั้นตอนการทดลอง และปรับเรื่องการปล่อยอากาศออกให้ไม่สร้างละอองฝอยในอากาศจากกล่องนี้

๗๗

โครงการแพทยสมาคมฯ บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์และเวชภัณฑ์แก่ อสม. และนักรบเสื้อขาว

ใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้เพื่อสู้ภัย COVID-19

อาจารย์แพทย์หญิงรังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

กรรมการแพทยสมาคม ฯ

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกองทัพบก ร่วมมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์

และเวชภัณฑ์แก่ อสม. และนักรบเสื้อขาวใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้ เพื่อสู้ภัย COVID-19 โดย อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญ

วัฒนา กรรมการแพทยสมาคมฯ ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการและผู้บริจาคหลัก ได้รับมอบสิ่งของบริจาคจากคณะ

แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, บริษัท ไทย ซาน มิเกล ลิเคอร์ จ ากัด,

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น, นางภัทรันดา ลีละยูวะ, คหบดี และประชาชนที่มีจิตศรัทธา รวมมูลค่าสิ่งของบริจาค

มูลค่า ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อมอบให้แก่นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และประธาน อสม.จังหวัด ใน ๑๔ จังหวัด

ทางภาคใต้ เพื่อกระจายต่อไปยัง อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุข) รพ.ส่งเสริมสุขภาพต าบล ส านักงานสาธารณสุข

อ าเภอ รพ.ชุมชน รพ.จังหวัด รพ.ศูนย์ ส านักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้ง ๑๔ จังหวัดภาคใต้ และ รพ.สงขลา

นครินทร์ โดยการส่งมอบอุปกรณ์การแพทย์และสิ่งของต่างๆ ในครั้งนี้เพื่อช่วยเหลือ อสม. จ านวน ๑๕๐,๐๐๐

คน และนักรบเสื้อขาวใน ๑๔ จังหวัดทางภาคใต้สู้ภัย COVID-19 เป็นแรงสนับสนุนที่ส าคัญทันท่วงทีต่อการแก้ไข

วิกฤติ COVID-19 ของประเทศ โดยด าเนินการแล้วเสร็จใน ๗ วัน เมื่อวันที่ ๑๙-๒๕ เมษายน ๒๕๖๓ โดยจัดเก็บ

ของใน กทม. วันที่ ๒๐-๒๒ เมษายน

๗๘

จุดเริ่มต้น การรับสิ่งของที่บริจาคมาเก็บรักษาไว้ที่กรมทหารขนส่ง รักษาพระองค์ ๓๖๔ หมู่ ๓ ถนนพหลโยธิน

อนุสาวรีย์ บางเขน กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๒๐ ในวันที่ ๒๐ และ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๓ โดยผู้บริจาคและองค์กรต่าง

ๆ ได้น าสิ่งของมาเก็บรักษาไว้ที่นี่ เพื่อน าส่งไปยังที่หมายใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้ ต่อไป

๗๙

ในภาพ ถ่ายกับ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และ

พันตรีสุวิชาญ สวัสดีกรมการขนส่งทหารบก ที่กรมทหารขนส่ง

๘๑

ก าหนดการและการรับมอบสิ่งของในแต่ละจังหวัดระหว่างวันที่ ๒๓-๒๗ เมษายน ๒๕๖๓

วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๓ เริ่มออกเดินทางจาก กรมทหารขนส่ง โดยรถทหารจ านวน ๕ คัน ไปยัง ๑๔ จังหวัด

ภาคใต้และออกเดินทางแยก ๒ สาย ได้แก่

๑. สายอ่าวไทย รถทหาร จ านวน ๓ คัน

๒. สายอันดามัน รถทหาร จ านวน ๒ คัน

ณ วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๓ ได้มอบสิ่งของบริจาคดังนี้

 สายอ่าวไทย มองสิ่งของจังหวัดแรก คือ จังหวัดชุมพร

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด ชุมพร

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๑๐๐ ๑

๒ Mask พระ ๔๐ ๑

๓ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๔ กระเป๋า ๒๐ ๑

๕ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๖ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๗

๗ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๘ Face shield ๑,๙๓๑

๙ อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา ส าลี ๙๖๐ ๑๖

๑๐

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอฮอล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๐ ๓๐

๑๑

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล ลิเคอร์

จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๖ ๖

๑๒ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๒๖๐

๘๓

สายอันดามัน ไปมอบที่ จ.ระนอง

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด ระนอง

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

เสื้อยืด ๒๐ ๑

๒ Mask ผ้า ๑๐๐ ๑

๓ Mask พระ ๔๐ ๑

๔ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๕ กระเป๋า ๒๐ ๑

๖ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๗ Face shield ๒,๐๐๐ ๒๑

๘ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๙ Face shield ๑,๙๓๑

๑๐ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๑

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๒

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล ลิเคอร์

จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๒ ๒

๑๓ ถังละ ๒๐ ลิตร - -

๑๔ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๒๐

๘๕

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด ระนอง

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

เสื้อยืด ๒๐ ๑

๒ Mask ผ้า ๑๐๐ ๑

๓ Mask พระ ๔๐ ๑

๔ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๕ กระเป๋า ๒๐ ๑

๖ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๗ Face shield ๒,๐๐๐ ๒๑

๘ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๙ Face shield ๑,๙๓๑

๑๐ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๑

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๒

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล ลิเคอร์

จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๒ ๒

๑๓ ถังละ ๒๐ ลิตร - -

๑๔ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๒๐

๘๖

วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๓ ได้มอบของบริจาค

 สายอ่าวไทย มอบได้ ๕ จังหวัด ได้แก่จ.สุราษฎร์ธานีจ.พัทลุง จ.สตูล จ.สงขลา และ จ.นครศรีธรรมราช

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด สุราษฎร์ธานี

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๒๐๐ ๑

๒ Mask พระ ๔๐ ๑

๓ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๔ กระเป๋า ๒๐ ๑

๕ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๔

๖ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๘

๗ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๘ Face shield ๑,๙๓๑

๙ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๐

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๑

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล ลิเคอร์

จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๗ ๗

๑๒ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๒๗๐

๑๔ อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา ส าลี ๑,๐๒๐ ๑๗

๘๘

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด พัทลุง

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๑๐๐ ๑

๒ Mask พระ ๔๐ ๑

๓ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๔ กระเป๋า ๒๐ ๑

๕ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๖ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๘

๗ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๘ Face shield ๑,๙๓๑

๙ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๐

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๑

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล ลิเคอร์

จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๗ ๗

๑๒ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๒๗๐

๙๐

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด สตูล

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

๑ N95 (คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี) ๑,๐๐๐ ๒

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๑๐๐ ๑

๓ Mask พระ ๔๐ ๑

๔ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๕ กระเป๋า ๒๐ ๑

๖ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๗ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๘

๘ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๙ Face shield ๑,๙๓๑

๑๐ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๑

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๒

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล

ลิเคอร์ จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๔ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๓๐๐

กล่อง COVID-19 BOX รพ.สตูล ๒ กล่อง

๙๒

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด สงขลา

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

๑ N95 (คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี) ๒,๐๐๐ ๕

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

เสื้อยืด ๒๐ ๑

๓ Mask ผ้า ๑๐๐ ๑

๔ Mask พระ ๔๐ ๑

๕ ขวดสเปรย์ ๑๒๐ ๑

๖ กระเป๋า ๒๐ ๑

๗ คณะแพทยศาสตร์ รพ.

รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๑

๘ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๙

๙ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๑๐ Face shield ๑,๙๓๑

๑๑

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๒

แอลกอฮอล์จาก บริษัท ไทย

ซาน มิเกล ลิเคอร์ จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร - -

๑๓ ถังละ ๒๐ ลิตร - -

๑๔ ถังละ ๒๐๐ ลิตร ๔ ๔

๑๕ รวม (ลิตร) ๘๐๐

๑๖ คณะ นพ.คมกริบ ผู้กฤตยาคามี Face shield ๑

กล่อง COVID-19 BOX ๕ กล่อง

ผู้รับ เบอร์โทร สถานที่จัดส่ง

๑ นส. สมร พูนขวัญ โรงพยาบาลสทิงพระ ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ จ.

สงขลา

๒ พญ.กีรติทรัพย์สมาน ………………. โรงพยาบาลสงขลานครินทร์

๑๕ ถ. กาญจนวณิชย์ ต.หาดใหญ่

อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ส่งได้ที่ห้องฉุกเฉิน ๒๔ ชั่วโมง

๓ ผอ.รพ.มอ. (๓ กล่อง) โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ (รพ.มอ.)

๙๓

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด นครศรีธรรมราช

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๑๐๐ ๑

๒ Mask พระ ๔๐ ๑

๓ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๔ กระเป๋า ๒๐ ๑

๕ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๑

๖ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๙

๗ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๘ Face shield ๑,๙๓๑

๙ อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา ส าลี ๑,๒๖๖ ๑๗

๑๐

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๐ ๓๐

๑๑

แอลกอฮอล์จาก บริษัท ไทย

ซาน มิเกล ลิเคอร์ จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๖ ๖

๑๒ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๒๖๐

กล่อง COVID-19 BOX ๔ กล่อง

ผู้รับ เบอร์โทร สถานที่จัดส่ง

๑ คุณลาวัณย์โชติพันธุ์

(๒ กล่อง)

......... รพ.ลานสกา ต. เขาแก้ว อ. ลานสกา

จ.นครศรีธรรมราช

๒ นพ.วงศกร บุญกาญจน์ ........ ห้องไตเทียม โรงพยาบาลมหาราช

ถ.ราชด าเนิน ต.ในเมือง

อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

๓ พญ.กษมาพร เที่ยงธรรม .......... รพ.ทุ่งสง กลุ่มงานวิสัญญี

อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

๙๕

สายอันดามัน ได้มอบสิ่งของให้ได้ ๔ จังหวัด จ.ภูเก็ต จ.กระบี่ จ.ตรัง และ จ.พังงา

๙๖

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด ภูเก็ต

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

๑ N95 (คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี) ๒,๐๐๐ ๔

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

เสื้อยืด ๒๐ ๑

๓ Mask ผ้า ๔๐๐ ๑

๔ Mask พระ ๔๐ ๑

๕ ขวดสเปรย์ ๑๒๐ ๑

๖ กระเป๋า ๒๐ ๑

๗ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๘ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๙

๙ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๑๐ Face shield ๑,๙๓๑

๑๑ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๒๕๖ ๔๗

๑๒

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๓

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล

ลิเคอร์ จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร - -

๑๔ ถังละ ๒๐ ลิตร - -

๑๕ ถังละ ๒๐๐ ลิตร ๔ ๔

รวม (ลิตร) ๘๐๐

๑๖ ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ Face shield ๑

กล่อง COVID-19 BOX รพ.วชิระภูเก็ต ๕ กล่อง

รพ.ป่าตอง ๒ กล่อง

รพ.ถลาง ๒ กล่อง

๙๘

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด กระบี่

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

๑ N95 (คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี) ๑,๐๐๐ ๕

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๒๐๐ ๑

๓ Mask พระ ๔๐ ๑

๔ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๕ กระเป๋า ๒๐ ๑

๖ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๗ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๙

๘ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๙ Face shield ๑,๙๓๑

๑๐ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๑

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๒

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล

ลิเคอร์ จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๔ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๓๐๐

๑๐๐

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด ตรัง

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๑๐๐ ๑

๒ Mask พระ ๔๐ ๑

๓ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๔ กระเป๋า ๒๐ ๑

๕ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๖ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๗

๗ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๘ Face shield ๑,๙๓๑

๙ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๐

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๑

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล

ลิเคอร์ จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๗ ๗

๑๒ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๒๗๐

๑๐๒

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด พังงา

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๑๐๐ ๑

๒ Mask พระ ๔๐ ๑

๓ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๔ กระเป๋า ๒๐ ๑

๕ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๖ Face shield ๒,๐๐๐ ๒๐

๗ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๘ Face shield ๑,๙๓๑

๙ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๐

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๑

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล ลิเคอร์

จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๕ ๕

๑๒ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๒๕๐

กล่อง COVID-19 BOX ๒ กล่อง

ผู้รับ เบอร์โทร สถานที่จัดส่ง

๑ พญ.ศุภกาญจน์เพชรป่า

พะยอม

…………. ศูนย์รับบริจาควัสดุการแพทย์โรงพยาบาล

พังงา ๔๓๖ ประชาสัมพันธ์โรงพยาบาลพังงา

ถ.เพชรเกษม ต.ท้ายช้าง อ.เมือง จ.พังงา

๒ นส.พิชาวีร์เศรษฐโชติพาณิช

(เภสัชกร)

…………… รพ.กะปงชัยพัฒน์ ๒๙/๒๕ ม. ต.เหมาะ อ.

กะปง จ.พังงา

๑๐๓

วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๓

 สายอันดามัน มอบสิ่งของบริจาคให้๓ จังหวัดสุดท้าย จ.ปัตตานีจ.ยะลา และ จ.นราธิวาส

๑๐๔

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด ปัตตานี

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

๑ N95 (คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี) ๑,๐๐๐ ๓

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๒๐๐ ๑

๓ Mask พระ ๔๐ ๑

๔ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๕ กระเป๋า ๒๐ ๑

๖ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๗ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๙

๘ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๙ Face shield ๑,๙๓๑

๑๐ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๑

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๒

แอลกอฮอล์จาก บริษัท ไทย

ซาน มิเกล ลิเคอร์ จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๔ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๓๐๐

๑๕ คณะ นพ.คมกริบ ผู้กฤตยาคามี Face shield ๑

๑๖ คุณศรัญญา หน้ากากผ้ากันน้ า ๑๐๐

(ส าหรับ สอน. ปูยุด) หน้ากากผ้านาโน ๒๐

กล่อง COVID-19 BOX ๓ กล่อง

ผู้รับ เบอร์โทร สถานที่จัดส่ง

๑ พญ กาญจนี อรรถเมธากุล

(๒ กล่อง)

................ กลุ่มงานเด็ก รพ ปัตตานี ๒ ถนน หนองจิก

ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี

๒ ฝ่ายการพยาบาล

ชั้น ๘

............. โรงพยาบาลปัตตานี

ถนน ดอกจิก อ.เมือง จ. ปัตตานี

๑๐๖

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด ยะลา

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

๑ N95 (คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี) ๒,๐๐๐ ๕

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๒๐๐ ๑

๓ Mask พระ ๔๐ ๑

๔ ขวดสเปรย์ ๑๒๐ ๑

๕ กระเป๋า ๒๐ ๑

๖ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๑

๗ Face shield ๒,๐๐๐ ๒๖

๘ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๙ Face shield ๑,๙๓๑

๑๐ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๒๕๖ ๔๗

๑๑

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๒

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล ลิเคอร์

จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร - -

๑๓ ถังละ ๒๐ ลิตร - -

๑๔ ถังละ ๒๐๐ ลิตร ๓ ๓

รวม (ลิตร) ๖๐๐

๑๕ ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ Face shield ๑

กล่อง COVID-19 BOX รพศ.ยะลา ๓ กล่อง

รพ.บันนังสตา ๑ กล่อง

๑๐๘

รายการสิ่งของบริจาค จังหวัด นราธิวาส

ล าดับ รายการ (ผู้บริจาคและสิ่งของ) จ านวน (ชิ้น) จ านวน (กล่อง)

๑ N95 (คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี) ๑,๐๐๐ ๔

อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

Mask ผ้า ๒๐๐ ๑

๓ Mask พระ ๔๐ ๑

๔ ขวดสเปรย์ ๗๒ ๑

๕ กระเป๋า ๒๐ ๑

๖ คณะแพทยศาสตร์

รพ.รามาธิบดี

Mask ๒,๐๐๐ ๒

๗ Face shield ๒,๐๐๐ ๑๗

๘ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช

พยาบาล

Mask ๓๙๐

๑๑

๙ Face shield ๑,๙๓๑

๑๐ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ส าลี ๒,๑๑๒ ๔๔

๑๑

นางภัทรันดา ลีละยูวะ และ

กลุ่มบริษัทอินเทลโนเวชั่น แอลกอออล์ถังละ ๑ ลิตร ๓๖ ๓

๑๒

แอลกอฮอล์จาก

บริษัท ไทย ซาน มิเกล ลิเคอร์

จ ากัด

ถังละ ๑๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๓ ถังละ ๒๐ ลิตร ๑๐ ๑๐

๑๔ ถังละ ๒๐๐ ลิตร - -

รวม (ลิตร) ๓๐๐

กล่อง COVID-19 BOX ๒ กล่อง

ผู้รับ เบอร์โทร สถานที่จัดส่ง

๑ พ.ญ.สกาวรัตน์เบ็นดือราแม .................. โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์อ.เมือง

จ.นราธิวาส

๒ สสจ.นราธิวาส .................... ส านักงานสาธารณสุข

จังหวัดนราธิวาส ๓๖ หมู่ ๙ ต.โคกเคียน

อ. เมือง จ.นราธิวาส

คณะเดินทางได้มอบสิ่งของเสร็จสิ้นและเดินทางกลับ กรมทหารขนส่ง (หลักสี่) สายอันดามัน รถทหาร ๒ คันถึง

กทม. วันเสาร์ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๓ สายอ่าวไทย รถทหาร ๓ คันถึง กทม. วันจันทร์ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๓

๑๐๙

ผู้รับบริจาค COVID – ๑๙ BOX จ านวน ๒๙ กล่องดังนี้

ล าดับ โรงพยาบาล จ านวน ผู้ติดต่อ ที่อยู่

๑ รพ.ลานสกา

จ.นครศรีธรรมราช

๒ คุณลาวัณย์ โชติพันธุ์

หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล

โรงพยาบาลลานสกา ต.เขาแก้ว อ.ลานสกา

จ.นครศรีธรรมราช

๒ รพ.มหาราช

นครศรีธรรมราช

๑ นพ.วงศกร บุญกาญจน์ ห้องไตเทียม โรงพยาบาลมหาราช ถ.ราชด าเนิน ต.

ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

๓ รพ.ทุ่งสง

จ.นครศรีธรรมราช

๑ พญ.กษมาพร เที่ยงธรรม โรงพยาบาลทุ่งสง กลุ่มงานวิสัญญี อ.ทุ่งสง จ.

นครศรีธรรมราช

๔ รพ.สงขลานครินทร์ ๑ พญ.กีรติ ทรัพย์สมาน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ๑๕ ถ. กาญจนวณิชย์

ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (แผนก ER)

๓ ผู้อ านวยการ รพ.

๕ รพ.สทิงพระ

จ.สงขลา

๑ นส.สมร พูนขวัญ โรงพยาบาลสทิงพระ ต.จะทิ้งพระ อ.สทิงพระ

จ.สงขลา

๖ รพ.นราธิวาสราช

นครินทร์

๑ พ.ญ.สกาวรัตน์ เบ็นดือ

ราแม

โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เมือง

จ.นราธิวาส

๗ สสจ.นราธิวาส ๑ ส านักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส

๓๖ ม.๙ ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส

๘ รพ.ปัตตานี ๑ ฝ่ายการพยาบาล ชั้น ๘ โรงพยาบาลปัตตานี ถนน

ดอกจิก อ.เมือง จ.ปัตตานี

๙ รพ.ปัตตานี ๒ พญ กาญจนี อรรถเมธา

กุล

กลุ่มงานเด็ก รพ ปัตตานี ๒ ถนน หนองจิก

ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี

๑๐ รพ.พังงา ๑ พญ.ศุภกาญจน์

เพชรป่าพะยอม

ศูนย์รับบริจาควัสดุการแพทย์ รพ.พังงา ๔๓๖

ประชาสัมพันธ์ รพ.พังงา ถ.เพชรเกษม ต.ท้ายช้าง

อ.เมือง จ.พังงา

๑๑ รพ.กะปงชัยพัฒน์

จ.พังงา

๑ นส.พิชาวีร์ เศรษฐโชติ

พาณิช (เภสัชกร)

โรงพยาบาลกะปงชัยพัฒน์ ๒๙/๒๕ ม. ต.เหมาะ

อ.กะปง จ.พังงา

๑๒ รพ.บันนังสตา จ.

ยะลา

๑ โรงพยาบาลบันนังสตา อ.บันนังสตา จ.ยะลา

๑๓ รพ.ยะลา ๓

๑๔ รพ.สตูล ๒

๑๕-๑๗ รพ.วชิระภูเก็ต ๓ รพ.ป่าตอง ๒ กล่อง รพ.ถลาง ๒ กล่อง

รวม ๒๙

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ขอขอบคุณทุกท่านที่บริจาคเงิน สิ่งของและช่วยท างานให้โครงการนี้ส าเร็จลุล่วง

ไปได้ด้วยดี นับว่า ได้ส่งขวัญ ก าลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์และ อสม. ใน ๑๔ จังหวัดภาคใต้ได้ทันท่วงที

๑๑๐

การบริจาคครื่องอุปโภคบริโภคในโครงการ แพทยสมาคม เพื่อประชาชน ❤ เราไม่ทิ้งกัน ❤

แพทยสมาคม ฯ ได้มอบอาหาร เครื่องดื่มผลไม้ ถุงสะพาย และหนังสือธรรมะท่านปัญญานันทภิกขุ ให้ประชาชนที่

กรมประชาสัมพันธ์โดยมีรองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับมอบเพื่อแจกต่อให้ประชาชน

เมื่อวันพุธที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย ศ.นพ.อมร ลีลา

รัศมี นายกแพทย์สมาคมฯ พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา กรรมการกลาง และ พญ.นาฏ ฟองสมุทร กรรมการที่

ปรึกษาแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ บริจาคเครื่องอุปโภคบริโภคแก่กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อมอบให้ประชาชน

ที่มาติดต่อตามโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ของรัฐบาล ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ซึ่งได้จัดของบริจาค

จ านวน ๔ ครั้ง ในวันที่ ๑๓, ๑๔, ๒๐ และ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ รวมมูลค่าประมาณ ๔๐,๐๐๐ บาท มีดังนี้

 น้ ามะพร้าว ๗๔ โหล

 น้ าข้าวโพด ๔๔ โหล

 ถั่วทองจริงใจ ๑๐๐ ขวด

 ถุงสะพาย ๑๐๐ ใบ

 หนังสือธรรมะ ๑๕๐ เล่ม

 ไข่เป็ดต้ม ๑๐๐ ใบ

 ไข่เค็มไชยา ๖ กล่อง

๑๑๑

นางทัศนีย์ พลชานิโก นางพิชญา เมืองเนาว์

รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์

๑๑๓

โครงการแพทยสมาคมฯ มอบเวชภัณฑ์แก่กระทรวงสาธารณสุข

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา กรรมการกลางบริจาค

หน้ากาก อนามัย KN95, หน้ากากผ้าส าหรับพระสงฆ์ และสิ่งของบริจาคอื่นๆ รวม ๔ รายการให้แก่กระทรวง

สาธารณสุข ดังนี้

๑. หน้ากากอนามัย KN95 จ านวน ๙๔ กล่องๆ ละ ๑๐ ชิ้นรวม ๗๔๐ ชิ้น มูลค่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท

๑๑๔

๒. กล่อง Rama สีม่วง ๑๙ กล่องๆ ละ ๑,๐๐๐ บ าท รวม ๑๙ กล่อง มูลค่ า ๑๙,๐๐๐ บ าท

(ภายในบรรจุกระเป๋า ค าว่าให้.. ไม่สิ้นสุด ๒๐ ใบ และสมุดบันทึกน้องเมี่ยงค า ๑ เล่ม)

๓. หน้ากากพระสงฆ์ ทูโทน สีพระราชนิยม/สีขาว ๑๔ กล่องๆ ละ ๕๐ อัน กล่องละ ๒,๐๐๐ บาท มูลค่า

๒๘,๐๐๐ บาท

๔. เสื้อโปโลสีม่วง จ านวน ๒๗ ตัว ราคาตัวละ ๑๕๐ บาท มูลค่า ๓๙,๑๕๐ บาท

เมื่อวันอังคารที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดย พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา กรรมการกลาง บริจาคเวชภัณฑ์

การแพทย์, หน้ากากผ้าส าหรับพระสงฆ์และอื่นๆ ให้กระทรวงสาธารณสุขรวม ๓ ครั้ง จ านวน ๔ รายการ มูลค่า

๑๘๖,๑๕๐ บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นหกพันหนึ่งร้อยห้าสิบบาทถ้วน) โดยมี นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวง

สาธารณสุขรับมอบ ณ ส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้

๑. นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

- กล่อง Rama สีม่วง

- เสื้อโปโลสีม่วง Size XL และเสื้ออีก ๑๖ ตัว (ชาย) หลากหลาย Size

- หน้ากากผ้าส าหรับพระสงฆ์๒ กล่องๆ ละ ๕๐ ชิ้น (รวม ๑๐๐ ชิ้น)

๒. นพ.เจษฎา ฉายคุณรัฐ ผู้ตรวจราชการฯ เขตสุขภาพที่ ๑๒

- หน้ากากอนามัย KN95 จ านวน ๓๒๐ ชิ้น

- กล่อง Rama สีม่วง

- เสื้อโปโลสีม่วง ๕ ตัว Size ชาย L ๔ ตัว และ XL ๑ ตัว

๓. นพ.พิทักษ์พล บุณยมาลิก ผู้ตรวจราชการฯ เขตสุขภาพที่ ๑๑

- หน้ากากอนามัย KN95 จ านวน ๓๒๐ ชิ้น ในถุงเหลืองใบใหญ่

- หน้ากากพระสงฆ์ จ านวน ๒๕๐ ชิ้น (๕ กล่องๆ ละ ๕๐ ชิ้น)

- กล่อง Rama สีม่วง

- เสื้อโปโลสีม่วง ๒ ตัว Size ชาย XL, XXL

๔. นพ.สุเทพ เพชรมาก ผู้ตรวจราชการฯ เขตสุขภาพที่ ๖

- หน้ากากอนามัย KN95 จ านวน ๑๐๐ ชิ้นในถุงเหลือง

- กล่อง Rama สีม่วง

- เสื้อโปโลสีม่วง ๒ ตัว Size M, L

๕. พญ.วิพรรณ สังคหะพงศ์ ผู้ตรวจราชการฯ เขตสุขภาพที่ ๗

- กล่อง Rama สีม่วง

- เสื้อโปโลสีม่วง Size M สตรี

๑๑๕

วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๓

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดย พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา มอบหน้ากากอนามัย KN95 จ านวน

๑๐๐ ชิ้นแก่ นพ.อภิชาต วชิรพันธ์ ผู้อ านวยการสถาบันบ าราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

๑๑๖

วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๓

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดย พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนามอบหน้ากากอนามัย KN95 จ านวน ๑๐๐ ชิ้นแก่

นพ.พีระพงษ์ ภาวสุทธิไพศิฐ ผู้อ านวยการโรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ เขตสุขภาพที่ ๑๒ กระทรวงสาธารณสุข

๑๑๓

โครงการวัดปลอดจากภัย COVID-19 วัดชลประทานรังสฤษดิ์

อาจารย์แพทย์หญิงรังสิมา แสงหิรัญวัฒนา

กรรมการแพทยสมาคม ฯ

เมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๓ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ร่วมประชุมวางแผน

ด าเนินการโครงการวัดปลอดจากภัย COVID-19 กับ ท่านเจ้าคุณพระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาส วัดชลประทาน

รังสฤษดิ์ พระอารามหลวง และ ดร.จวน คงแก้ว กรรมการบริหารวัดฝ่ายฆราวาส โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี

เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ และอาจารย์แพทย์หญิงรังสิมา

แสงหิรัญวัฒนา ร่วมเดินทางไปให้ข้อคิดเห็นในการท าพิธีการทางศาสนาที่มาร่วมท าพิธีกรรมต่าง ๆ ที่วัดปลอดจาก

การติดเชื้อโรค COVID-19

๑๑๔

หลังจากนั้น ในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดย อ.พญ.รังสิมา แสงหิรัญ

วัฒนา และผู้มีจิตศรัทธา บริจาคน้ ายาฆ่าเชื้อโรค โควิด-19 ถวาย ท่านเจ้าคุณพระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาส วัด

ชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง เพื่อให้ทางวัดได้ใช้ในการท าความสะอาดฆ่าเชื้อ COVID-19 กับพื้น วัสดุ

อุปกรณ์ ราวจับ และพื้นผิวศาลาวัด, เมรุ และบริเวณวัด ที่มีโอกาสสัมผัสกับเชื้อโรค เพื่อป้องกันการติดเชื้อส าหรับ

พระและประชาชนที่เข้ามาภายในวัด

ต่อมา ในวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๖๓ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมฯ ได้บรรยายเรื่องวัดปลอดจากภัย COVID-19 ครั้งที่ ๑ ให้แก่พระสงฆ์ กรรมการวัด และ

ฆราวาส จ านวน ๔๐ ท่าน ณ อาคารปัญญานันทานุสรณ์ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง

๑๑๕

ในวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๖๓ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดย พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา กรรมการกลาง

ถวายเครื่องวัดอุณหภูมิ Infrared Thermometer จ านวน ๒ เครื่อง ให้แก่ท่านเจ้าคุณพระปัญญานันทมุนี เจ้า

อาวาส วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ไว้ใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มีไข้ในยุค COVID-19 โดยก าหนดให้

เจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรองพระและฆราวาสที่เข้ามาภายในวัด วันละเฉลี่ย ๔๐๐-๖๐๐ คน ที่จุดคัดกรองที่ประตู

ทางเข้าวัด

๑๑๖

และในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายก

แพทยสมาคมฯ และ พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา กรรมการกลาง ได้บรรยายเรื่องวัดปลอดจากภัย COVID-19 ครั้ง

ที่ ๒ ให้แก่พระสงฆ์ กรรมการวัด และฆราวาส เนื่องวาระส าคัญ ๑๐๙ ปีชาตกาล วันรวมใจศิษย์บูชา หลวงพ่อ

ปัญญานันทภิกขุ ณ ลานดอกไม้ใจ วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง

๑๒๑

การรับมอบเงินบริจาคและอุปกรณ์การแพทย์จากหน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ

ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์

นายกแพทยสภา และผู้อ านวยการส านักงานแพทยสมาคมฯ

น.ส.ศุภธิดา เพ็งแจ้ง

เลขานุการแพทยสมาคมฯ

จากการที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จัดท าโครงการ “นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” ขึ้น และมีการแถลง

ข่าวของโครงการนี้เมื่อวันพุธที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๔:๐๐ น. ณ ห้องสยามมกุฎราชกุมาร อาคารเฉลิมพระ

บารมี ๕๐ ปี โดย ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์

ผู้อ านวยการโครงการฯ แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภาและ

ผู้อ านวยการส านักงานแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ คุณสวัสดิ์นฤวรวงศ์บริษัทไทยประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน)

คุณปรัธนา ลีลพนัง บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จ ากัด (มหาชน) ก็ได้มีผู้ร่วมบริจาคทั้งเงินและอุปกรณ์ทางการ

แพทย์ชนิดต่าง ๆ จ านวนมากที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ โดย อ.

สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ อ.อมร ลีลารัศมี ในนามของนายกแพทยสมาคม ฯ รู้สึกเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น

เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม ที่พระราชทานหน้ากากอนามัยฝีพระหัตถ์ และพระเดชพระคุณล้นเกล้าที่สมเด็จพระเจ้า

ลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงโปรดให้เข้ารับพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และ

หน้ากากผ้าที่ทรงออกแบบด้วยพระองค์เอง และขอขอบพระคุณผู้บริหารขององค์กรต่าง ๆ ทุกองค์กร แพทย์และ

ประชาชนอีกมากมายรวมทั้งผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม ที่ได้บริจาคเงินมาสมทบโครงการดังกล่าวและมอบอุปกรณ์

ทางการแพทย์อีกมากมายเพื่อช่วยให้แพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์สามารถปฏิบัติงานได้เต็ม

ความสามารถ ท าให้โครงการต่าง ๆ ส าเร็จลงได้ด้วยดีและมีการส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่าง ๆ ให้แก่โรงพยาบาล

สถาบันต่าง ๆ ที่มีแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่ท างานเป็นนักรบด่านหน้าในการต่อสู้ภัย

COVID-19 ในครั้งนี้

รายพระนาม รายนามของผู้บริจาครวมทั้งองค์กรและรายการอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมได้ มีดังนี้

๑๒๒

//www.youtube.com/watch?v=vIJSaGuR8MU

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี พระราชทานหน้ากากอนามัยฝีพระหัตถ์แก่

นายกรัฐมนตรีและภริยา นายกแพทยสภา นายกแพทยสมาคม ฯ คณะแพทย์ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด

ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ณ ตึกสันติไมตรี(หลังใน) ท าเนียบรัฐบาล วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓

๑๒๓

๑. วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔:๐๐ น. ณ ห้องประชุมคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล สมเด็จพระเจ้าลูก

เธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงโปรดให้เข้ารับพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้แก่

โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 พร้อมทั้งหน้ากากผ้าที่ทรงออกแบบเองและเจลแอลกอฮอล์ แบรนด์

SIRIVANNAVARI Bangkok เพื่อน าไปมอบให้โรงพยาบาลต่าง ๆ

๒. วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔:๓๐ น. ณ อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาด

ไทย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงโปรดให้เข้ารับพระราชทานหน้ากากผ้า และ

เจลแอลกอฮอล์ แบรนด์ SIRIVANNAVARI Bangkok เพื่อน าไปมอบให้โรงพยาบาลต่าง ๆ

๑๒๔

๓. วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ คุณประชา เตชะการุณ มอบเงิบจ านวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ให้กับโครงการนักรบเสื้อ

ขาวสู้ภัย COVID-19 แพทยสมาคมฯ โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมฯ เป็นผู้รับมอบ

๔. วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ บริษัท มุนดิฟาร์มา (ประเทศไทย) จ ากัด เจ้าของผลิตภัณฑ์เบตาดีน มอบผลิตภัณฑ์ท าความ

สะอาดเพื่อสุขอนามัย “เบตาดีน เนเชอรัลดีเฟนส์” มูลค่า ๑,๐๗๑,๐๐๐ บาทให้กับโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19

ผ่านทางแพทยสมาคมฯ โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคม

ฯ เป็นผู้รับมอบ เพื่อมอบต่อให้แก่โรงพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์

๑๒๕

๕. วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ โรงพยาบาลสมิติเวช และเครือบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จ ากัด (มหาชน) หรือ BDMS

โดย พญ.ปรมาภรณ์ ปราสาททองโอสถ และ นพ.ชัยรัตน์ ปัณฑุรอัมพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในเครือ รพ. สมิติเวช

ส่งมอบเครื่อง Tytocare ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ ช่วยลดความเสี่ยงในการท างานของบุคลากรทางการแพทย์ที่

เสี่ยงติดเชื้อจากผู้ป่วย จ านวน ๒๐๐ ชุด ให้กับแพทยสภา และแพทยสมาคมฯ เพื่อส่งต่อให้หน่วยงานรัฐน าไปจัดสรร

ให้กับบุคลากรทางการแพทย์และโรงพยาบาลในสังกัด โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ เป็นผู้รับมอบ

๖. วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๑:๓๐ น. ณ ห้องปิยราษฎร์ ส านักงานใหญ่การประปานครหลวง (กปน.) นาย

ปริญญา ยมะสมิต ผู้ว่าการ กปน. มอบเงินจ านวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท ให้แพทยสมาคม ฯ โดยผู้แทนคือ นายแพทย์

ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ ผู้อ านวยการศูนย์สนับสนุนนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 รับมอบเพื่อสนับสนุน “โครงการนักรบ

เสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” แก่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

๗. วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐:๐๐ น. เครือ Central Group โดยคุณพิชัย จิราธิวัฒน์คุณยุวดี จิราธิวัฒน์ คุณ

สุพัตรา จิราธิวัฒน์ ได้มอบเงินจ านวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 โดยมี ศ.เกียรติ

คุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์และ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ พร้อมกรรมการแพทยสมาคมฯ

เป็นผู้รับมอบ และ Central Group ได้บริจาคอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่โรงพยาบาลทั้งหมด ๒๐ โรงพยาบาล เป็น

โรงพยาบาลในกรุงเทพ ๑๔ แห่งและโรงพยาบาลต่างจังหวัด ๖ แห่ง รวมมูลค่าทั้งสิ้น ๓๐ ล้านบาท

๑๒๖

กลุ่มเช็นทรัล ท าเพื่อหมอ สนับสนุนเงินจ านวน ๓๐ ล้านบาท เพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ให้แก่ ๒๐

โรงพยาบาล ที่ขาดแคลน ฝ่าวิกฤตโควิด-๑๙ ไปด้วยกัน

“เรารู้สึกขอบคุณเป็นอย่างยิ่งที่ กลุ่มเซ็นทรัล เห็นถึงความส าคัญต่อบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนการ

จัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อจัดส่งให้กับ ๒๐ โรงพยาบาลทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ซึ่งขณะนี้เป็น

เครื่องมือที่จ าเป็นอย่างยิ่งในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-๑๙ โดยเฉพาะหน้ากากอนามัย N95 ที่ทางแพทย์ต้องการ

เป็นอย่างมาก เพราะในบางกรณีที่ต้องท าหัตถการบางอย่างกับคนไข้ เช่น ใช้เครื่องดูดเสมหะ การพ่นยาให้คนไข้

แบบเป็นหมอก (nebulization) จะเกิดฝอยละอองลอยในอากาศ (aerosol) ซึ่งไวรัสจะแขวนลอยอยู่ได้นานกว่าปกติ

ในอากาศ หน้ากากอนามัย N95 จึงจ าเป็นต่อกระบวนการแพทย์ เพราะได้มาตรฐานและมีการป้องกันที่มี

ประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานก็ยาวนาน ในส่วนของน้ ายาตรวจหาเชื้อไวรัส หรือถุงมืออนามัย ก็ส าคัญไม่แพ้กัน

และทางกลุ่มเซ็นทรัลสนับสนุนท าประกันชีวิตให้กับหมอและพยาบาลทั่วประเทศ ภายใต้โครงการประกันชีวิตหมอ

และพยาบาลอีก ๑ ล้านบาท เพื่อเป็นหนึ่งในการมอบก าลังใจดีๆ ให้แก่ คุณหมอ และพยาบาลทั่วประเทศ

ทั้งนี้แพทยสภาและแพทยสมาคมฯ เห็นสมควรว่าการบริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ควรกระจายส่งมอบ

โรงพยาบาลให้ทั่วทุกภูมิภาค ไม่ว่าจะอยู่ในกรุงเทพ ปริมณฑล หรือต่างจังหวัด ที่มีการขาดแคลนและร้องขอจริง ๆ

ซึ่งเบื้องต้นรวบรวมได้ทั้งหมด ๒๐ โรงพยาบาล ได้แก่ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย, รพ.ต ารวจ, สถาบันบ าราศ

นราดูร, รพ.กลาง, รพ.ตากสิน, ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์, รพ.ภูมิพลอดุลยเดช กรมแพทย์ทหารอากาศ,

รพ.พระมงกุฎเกล้า, รพ.วชิรพยาบาล, รพ.รามาธิบดี, รพ.ราชวิถี, รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, รพ.ศิริราช, รพ.

พระนั่งเกล้า, รพ.แม่สอด จ.ตาก, รพ.มหาราชนครเชียงใหม่, รพ.ศรีนครินทร์ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) จ.ขอนแก่น,

รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก, รพ.สงขลานครินทร์ จ.สงขลา, รพ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จ.

นครราชสีมา

๑๒๗

๘. วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐:๐๐ น. ณ ห้องสยามมกุฎราชกุมาร ชมรมแบดมินตัน สโมสรราชพฤกษ์ มอบ

เงินจ านวน ๓๑,๐๐๐ บาท ให้โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ

กรรมการแพทยสมาคมฯ เป็นผู้รับมอบ

๙. วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๙:๓๐ น. นักศึกษาหลักสูตร วตท.รุ่นที่ ๓๐ (CMA

30) สถาบันวิทยาการตลาดทุน

มอบเงินบริจาค ให้แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เพื่อโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 จ านวน ๑๐๐,๐๐๐

บาท โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ พร้อม

กรรมการแพทยสมาคมฯ เป็นผู้รับมอบ

๑๒๘

๑๐. วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐:๐๐ น. คุณเพิ่มศักดิ์ ยิ้มดี ผู้อ านวยการฝ่ายการขายและการตลาด บริษัท ทีทีซี น้ า

ดื่มสยาม จ ากัด มอบน้ าดื่มให้กับแพทยสมาคมฯ จ านวน ๓,๖๐๐ ขวด โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ ศ.

เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ พร้อมกรรมการแพทยสมาคมฯ เป็นผู้รับมอบ

๑๑. วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐:๓๐ น. คุณกิตติ ศิริปทุมมาศ และ ลักษมณ์สุนีย์ ศิริปทุมมาศ (หทัยวิทวัส)

ประธานกรรมการบริษัทชุดนักเรียนตราสมอ มอบเงิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งรวมทั้ง Mask 3 layers จ านวน ๕๐๐

ชิ้นให้กับโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร

ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ พร้อมกรรมการแพทยสมาคมฯ เป็นผู้รับมอบ

๑๒๙

๑๒. วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๑:๐๐ น. บริษัททาเคดา (ประเทศไทย) จ ากัด มอบเงินจ านวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ให้กับโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 แพทยสมาคมฯ โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ ศ.เกียรติคุณ

นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ เป็นผู้รับมอบ

๑๓. วันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๒:๐๐ น. พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา ได้มอบเครื่องวัดอุณหภูมิให้แก่ ศ.เกียรติ

คุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ เพื่อไว้ใช้ที่ส านักงานแพทยสมาคมฯ ชั้น ๔ และส านักงานเครือข่ายแพทย์ฯ ชั้น ๖ จ านวน

๒ เครื่อง

๑๓๐

๑๔. วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๖๓ ได้รับบริจาค

๑. หน้ากาก N 95 จ านวน ๓,๑๐๐ ชิ้น จากผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน (คุณดรรชบง บุนนาค และเพื่อน กับกลุ่ม นาย

นีรนาท เผ่าสวัสดิ์ และเพื่อน คิดเป็นจ านวนเงิน ๒๔๘,๐๐๐ บาท) ได้มอบให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ดังนี้

๑. โรงพยาบาลศิริราช จ านวน ๕๐๐ ชิ้น

๒. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จ านวน ๕๐๐ ชิ้น

๓. โรงพยาบาลราชวิถี จ านวน ๒๐๐ ชิ้น

๔. กรมควบคุมโรค จ านวน ๑๕๐ ชิ้น

๕. โรงพยาบาลบ าราศนราดูร จ านวน ๑๐๐ ชิ้น

๖. โรงพยาบาลชลบุรี จ านวน ๑๕๐ ชิ้น (ผ่านผู้ตรวจ สุเทพ เพชรมาก)

๗. โรงพยาบาลระยอง จ านวน ๑๕๐ ชิ้น

๘. โรงพยาบาลวชิรภูเก็ต จ านวน ๒๕๐ ชิ้น

๙. ส านักงานสาธารณสุขปัตตานี จ านวน ๒๐๐ ชิ้น

๑๐.โรงพยาบาลสุไหงโกลก จ านวน ๒๐๐ ชิ้น

๑๑. โรงพยาบาลยะลา จ านวน ๒๐๐ ชิ้น

๑๒. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จ านวน ๑๐๐ ชิ้น

๑๓. โรงพยาบาลตรัง จ านวน ๑๐๐ ชิ้น

๑๔. โรงพยาบาลนราธิวาส จ านวน ๕๐ ชิ้น

๑๕. โรงพยาบาลหาดใหญ่ จ านวน ๕๐ ชิ้น

๑๖. โรงพยาบาลกระบี่ จ านวน ๕๐ ชิ้น

๑๗. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ านวน ๑๐๐ ชิ้น

๑๘. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จ านวน ๕๐ ชิ้น

โดยส่งทางไปรษณีย์ให้โรงพยาบาลต่างจังหวัดโดยไม่เสียค่าส่งเพราะช่วงนั้นไปรษณีย์ไม่คิดเงิน เสียแค่ค่า

กล่อง ทุกจังหวัดได้รับสิ่งของเรียบร้อยและถ่ายรูปส่งมายืนยันการได้รับสิ่งของ

๒. Face Shield ท าจาก Acrylic จ านวน ๕๐๐ ชิ้น บริจาคโดยบริษัทพรเทพอลูมิเนียม

ได้แจกจ่ายไปตามโรงพยาบลต่าง ๆ ดังนี้

๑. โรงพยาบาลราชวิถี จ านวน ๕๐ อัน

๒. โรงพยาบาลชลบุรี จ านวน ๕๐ อัน

๓. โรงพยาบาลระยอง จ านวน ๕๐ อัน

๔. โรงพยาบาลวชิรภูเก็ต จ านวน ๕๐ อัน

๕. ส านักงานสาธารณสุขปัตตานี จ านวน ๒๐ อัน

๑๓๑

๖. โรงพยาบาลสุไหงโกลก จ านวน ๓๐ อัน

๗. โรงพยาบาลยะลา จ านวน ๓๐ อัน

๘. โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จ านวน ๒๐ อัน

๙. โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จ านวน ๕๐ อัน

๑๐.โรงพยาบาลอ่างทอง จ านวน ๑๕๐ อัน

โดยใช้วิธีการส่งทางไปรษณีย์โดยไม่เสียค่าส่ง ช าระแค่ค่ากล่อง ส่งไปพร้อมกับหน้ากาก N95

๑๕. วันศุกร์ที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๓ ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ได้รับการประสานจาก รศ.นพ.พุฒิศักดิ์ พุฒิ

วิบูลย์ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อประสานงานขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์

นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ที่ปรึกษาแพทยสมาคมฯ และคุณพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการ

ผู้อ านวยการใหญ่บริษัทบางกอกแอร์เวย์ ขอเครื่องบินเป็นเที่ยวพิเศษเพื่อน าแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ของ

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ านวน ๖๕ คน และอุปกรณ์เครื่องใช้ทางการแพทย์ไปส่งโรงพยาบาลสนามที่ภูเก็ต

เนื่องจากถ้าเดินทางโดยรถยนต์ใช้เวลา ๘ ชั่วโมง และวันพุธที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๓ คณะได้เดินทางจากหาดใหญ่ไป

ถึงภูเก็ตโดยสวัสดิภาพ

๑๓๒

๑๖. วันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓:๓๐ น. คุณคีรี กาญจนพาสน์ น าทัพกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์

จ ากัด (มหาชน) มอบเงินจ านวน ๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้กับโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID - 19 แพทยสมาคมฯ

โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ ศ.เกียรติคุณ นพ. อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ พร้อมกรรมการ

แพทยสมาคมฯ เป็นผู้รับมอบ

๑๗. วันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๑:๐๐ น. มร.เซลิม เซสกิน ประธานกรรมการ มูลนิธิไฟเชอร์ ประเทศไทย

มอบเงิน จ านวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท ให้กับโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 แพทยสมาคมฯ โดยมี ศ.เกียรติ

คุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ พร้อมกรรมการแพทยสมาคมฯ

เป็นผู้รับมอบ

๑๓๓

พร้อมกันนี้ มูลนิธิไฟเซอร์ประเทศไทยได้มอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลทั้งหมด ๒๗ แห่งดังนี้

โรงพยาบาล ส่งให้หน่วยงานในโรงพยาบาล

อุปกรณ์ที่จัดสรร (จ านวน)

ห น้ า ก า ก รวม

N95

PPE

ห น้ า ก า ก

อนามัย

๑ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช ผอ.ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ๘๐ ๑๕ ๓๐๐ ๓๙๕

๒ รพ.พระมงกุฎเกล้า ผอ.รพ.พระมงกุฎเกล้า ๘๐ ๑๕ ๓๐๐ ๓๙๕

๓ รพ.อานันทมหิดล ผอ.รพ.อานันทมหิดล ๘๐ ๑๕ ๓๐๐ ๓๙๕

๔ รพ.ขอนแก่น ผอ.ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด ๖๐๐ ๖๐๐

๕ สถาบันบ าราศนราดูร ส านักงานป้องกัน ควบคุมโรคติด

เชื้อและเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล

(COVID WARD)

๑๐๐ ๔๐ ๓๕๐ ๔๙๐

๖ รพ.ชลบุรี ผอ.รพ.ชลบุรี ๘๐ ๑๕ ๓๕๐ ๔๔๕

๗ รพ.นครพิงค์

พญ.ปรารถนา ลีนะศิริมากุล

แผนกอายุรกรรม

๘๐ ๑๕ ๓๕๐ ๔๔๕

๘ รพ.สกลนคร ผอ.รพ.สกลนคร ๘๐ ๑๕ ๓๕๐ ๔๔๕

๙ รพ.หนองคาย ผอ.รพ.หนองคาย ๘๐ ๑๕ ๓๕๐ ๔๔๕

๑๐ รพ.พุทธชินราช ผอ.รพ.พุทธชินราช ๘๐ ๑๕ ๓๕๐ ๔๔๕

๑๑ รพ.ตรัง ผอ.รพ.ตรัง ๘๐ ๑๕ ๓๕๐ ๔๔๕

๑๒ รพ.ยะลา ผอ.รพ.ยะลา ๘๐ ๑๕ ๕๐๐ ๕๙๕

๑๓ รพ.ระยอง ผอ.รพ.ระยอง ๘๐ ๑๕ ๔๐๐ ๔๙๕

๑๔ รพ.เชียงรายประชานุ

เคราะห์ ผอ.รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ๘๐ ๑๕ ๔๐๐ ๔๙๕

๑๕ รพ.แม่สอด ผอ.รพ.แม่สอด ๘๐ ๑๕ ๔๐๐ ๔๙๕

๑๖ รพ. ๕๐ พรรษา มหา

วชิราลงกรณ์

ผอ.รพ. ๕๐ พรรษา มหาวชิราลง

กรณ์ ๘๐ ๑๕ ๔๐๐ ๔๙๕

๑๓๔

๑๗ รพ.สรรพสิทธิประสงค์

ผอ.รพ.สรรพสิทธิประสงค์ ๘๐ ๑๕ ๔๐๐ ๔๙๕

๑๘ รพ.นครปฐม

ผอ.รพ.นครปฐม ๘๐ ๑๕ ๔๐๐ ๔๙๕

๑๙ รพ.สมเด็จพระเจ้า

ตากสินมหาราช

ผอ.รพ.สมเด็จพระเจ้าตากสิน

มหาราช

๘๐ ๑๕ ๔๐๐ ๔๙๕

๒๐ รพ.เจ้าพระยาอภัย

ภูเบศร ผอ.รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ๘๐ ๑๕ ๓๐๐ ๓๙๕

๒๑ รพ.รามาธิบดี ศูนย์มะเร็ง

คณะแพทยศาสตร์ ๘๐ - - ๘๐

ศูนย์รักษาหัวใจ หลอดเลือด และ

เมแทบอลิซึม คณะแพทยศาสตร์ ๘๐ - - ๘๐

ศูนย์การรักษาโรคหลอดเลือด

สมองระบบประสาท คณะ

แพทยศาสตร์

๘๐ - - ๘๐

ศ.พญ. ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล

หน่วยโรคติดเชื้อ คณะ

แพทยศาสตร์

๘๐ - - ๘๐

๒๒ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิม

พระเกียรติ

ผอ.รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระ

เกียรติ ๙๐ ๑๒ ๔๐๐ ๕๐๒

๒๓ รพ.มหาราชนคร

เชียงใหม่ ผอ.รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ๙๐ ๑๒ ๔๐๐ ๕๐๒

๑๓๕

๒๔ รพ.สงขลานครินทร์

ผอ.รพ. รพ.สงขลานครินทร์ ๙๐ ๑๒ ๔๐๐ ๕๐๒

๒๕ รพ.มหาวิทยาลัย

นเรศวร ผอ.รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร ๙๐ ๑๒ ๔๐๐ ๕๐๒

๒๖ รพ.สมเด็จพระบรม

ราชเทวี ณ ศรีราชา

ผอ.รพ.สมเด็จพระบรมราชเทวี

ณ ศรีราชา ๘๐ ๑๒ ๓๕๐ ๔๔๒

๒๗ รพ.เปาโล พหลโยธิน

ผอ.รพ.เปาโล พหลโยธิน

อ้างถึง พญ. อารยา ทองผิว

กรรมการเครือข่ายวิชาชีพแพทย์

ในการควบคุมการบริโภคยาสูบ

๕๐๐ ๕๐๐

รวม

๒,๓๐๐

๓๗๐

๑๐,๐๐๐

๑๒,๖๗๐

๑๘. วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๒:๐๐ น. บริษัท บ้านปู จ ากัด (มหาชน) มอบเงิน จ านวน ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท

ให้กับโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 แพทยสมาคมฯ โดยมี ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ และ ศ.เกียรติคุณ

นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ พร้อมกรรมการแพทยสมาคมฯ เป็นผู้รับมอบ

๑๓๖

๑๙. วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๓:๓๐ น. ณ.อาคารส านักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกุล รอง

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นสักขีพยานในการรับมอบแอลกอฮอล์จ านวน ๒๐,๐๐๐ ลิตรจาก

คุณสุเทพ เล้ารัตนบูรพา ผู้อ านวยการด้านองค์กรสัมพันธ์บริษัท น้ าตาลมิตรผล จ ากัด ให้แก่ศูนย์สนับสนุนนักรบเสื้อขาวสู้

ภัย COVID-19 และ นพ.ชัยวัฒน์เตชะไพฑูรย์ตัวแทนศูนย์สนับสนุนนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 แพทยสมาคมแห่ง

ประเทศไทยฯ ได้ส่งมอบต่อแก่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพโดยมีนพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์เป็นผู้แทนรับมอบเพื่อส่งให้อสม.

ทั่วประเทศเพื่อใช้ในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19.

๒๐. วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๒:๐๐ น. ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ ได้รับมอบ

ผลิตภัณฑ์โก๋แก่จากบริษัทโรงงานแม่รวย จ ากัด

๑๓๗

๒๑. วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๖๓ ได้รับบริจาคชุด PPE ดังนี้

 จากคุณหมู ASAVA เจ้าของแบรนด์แฟชั่น ASAVA จ านวน ๒,๐๐๐ ชุด

 จากคุณสุชาวดี ฟูศิริ จ านวน ๑๐๐ ชุด

ได้บริจาคไปยังส านักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลต่าง ๆ ดังนี้

๑. ส านักงานสาธารณสุขนคร จังหวัดนครนายก จ านวน ๒๐๐ ชิ้น

๒. ส านักงานสาธารณสุข จังหวัดยะลา จ านวน ๓๐๐ ชิ้น

๓. ส านักงานสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี จ านวน ๒๐๐ ชิ้น

๔. โรงพยาบาลสุไหงโกลก จ านวน ๓๐๐ ชิ้น

๕. โรงพยาบาลหาดใหญ่ จ านวน ๕๐ ชิ้น

๖. โรงพยาบาลสงขลา จ านวน ๕๐ ชิ้น

๗. โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี จ านวน ๕๐ ชิ้น

๘. โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ จ านวน ๓๐ ชิ้น

๙. โรงพยาบาลพิจิตร จ านวน ๓๐ ชิ้น

๑๐.โรงพยาบาลบ้านโป่ง จ านวน ๓๐ ชิ้น

๑๑.โรงพยาบาลเชียงราย จ านวน ๒๐ ชิ้น

๑๒.โรงพยาบาลราชบุรี จ านวน ๓๐ ชิ้น

๑๓.โรงพยาบาลปัตตานี จ านวน ๓๐ ชิ้น

๑๔.โรงพยาบาลระนอง จ านวน ๕๐ ชิ้น

๑๕.ส านักงานสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี จ านวน ๑๐๐ ชิ้น

๑๖.ส านักงานสาธารณสุข จังหวัดสตูล จ านวน ๑๐๐ ชิ้น

๑๗.ส านักงานสาธารณสุข จังหวัดล าปาง จ านวน ๑๐๐ ชิ้น

๑๘.ส านักงานสาธารณสุข จังหวัดจันทบุรี จ านวน ๑๐๐ ชิ้น

๑๙.โรงพยาบาลเวชธานี จ านวน ๓๐ ชิ้น

๒๐.โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ จ านวน ๕๐ ชิ้น

๒๑.โรงพยาบาลยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จ านวน ๕๐ ชิ้น

๒๒.โรงพยาบาลสวรรคโลก จ านวน ๕๐ ชิ้น

๒๓.โรงพยาบาลโนนนารายณ์ จังหวัดสุรินทร์ จ านวน ๕๐ ชิ้น

๒๔.โรงพยาบาลราชวิถี จ านวน ๓๐ ชิ้น

๒๕.โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จ านวน ๓๐ ชิ้น

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ รู้สึกส านึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น และขอขอบพระคุณในน้ าใจไมตรีของ

ทุกท่าน ทุกองค์กรอีกครั้งหนึ่ง

๑๓๘

การประชุมวิชาการทางไกลกับแพทยสมาคมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

CMA-MAT Tele-Conference, April 7

th

, 2020

พลตรีผศ.นพ.กิฎาพล วัฒนกูล

ประธานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์แพทยสมาคมฯ

บทน า: เมื่อแรกเริ่มมีการระบาดของ new Coronavirus ในมณฑล Wuhan ของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

ปลายเดือนธันวาคม ๒๕๖๒ นั้น ไม่มีใครคิดว่าจะเกิดการระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็วและรุนแรงได้ขนาดนี้

วันเสาร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๓ เป็นวันประชุมใหญ่สามัญ

ประจ าปีแพทยสมาคมฯ และมีพิธีส่งมอบหน้าที่ให้แก่ท่านนายก

แพทยสมาคมฯ ท่านใหม่ คือ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี

ในช่วงที่นั่งรอพิธีการ ท่าน อ.อมร หันมาบอกผมว่า ช่วยแต่ง

จดหมายแสดงความเห็นใจและให้ก าลังใจแก่แพทย์ผ่านแพทย

สมาคมจีนด้วย นี่จึงนับเป็นภารกิจแรกในขณะที่ท่านก าลังจะขึ้น

รับต าแหน่ง

แม้ว่าผมและหัวหน้าฝ่ายต่างประเทศของแพทยสมาคมแห่ง

สาธารณรัฐประชาชนจีน Ms. Zhao Weili, Program Manager,

Dept. of International Relations, Chinese Medical

Association (CMA) จะติดต่อผ่านเมล์ส่วนตัวสอบถาม ติดตาม

สถานการณ์และให้ก าลังใจ ในใจผมยังคิดเสมอว่าจีนเอาอยู่ แต่

พอฟังท่านนายก อ.อมร แสดงความกังวลว่าโรคนี้ระบาดข้าม

ประเทศแน่ จึงรีบร่างจดหมายเป็นทางการและเมื่อท่าน อ.อมร

รับต าแหน่งเรียบร้อยลงจากเวทีจดหมายก็พร้อมให้ท่านลงนาม

และเพื่อเพิ่มความส าคัญในวันส่งมอบหน้าที่ ผมจึงขออนุญาต

ท่านนายก อ.อมร ให้ท่าน ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ร่วมลงนาม

ท้ายจดหมายด้วย ซึ่งท่านก็เห็นชอบตามนั้น

และเป็นจริงอย่างที่ท่านนายก อ.อมร กังวล จดหมายไม่ได้รับ

การตอบทันทีเช่นทุกครั้ง เพราะจีนประกาศปิดประเทศเนื่องจาก

สถานการณ์การระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก

ในที่สุด การระบาดของ new Coronavirus ก็กระจายไปทั่ว

โลกอย่างที่ท่านนายก อ.อมร คาดการณ์ไว้จริงๆ และประเทศไทยก็

ได้รับผลกระทบเต็มๆ

วันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๖๓ ท่าน ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี

เผ่าสวัสดิ์นายกแพทยสภา ท่าน ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมฯ และ ท่าน ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ได้รับเชิญ

จากท่านนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ให้เข้าพบที่

ท าเนียบรัฐบาล เพื่อขอรับฟังค าแนะน าในการรับมือกับการระบาด

ของเชื้อโคโรนาไวรัส COVID-19 และผลการประชุมได้ตามมาด้วย

๑๓๙

มาตรการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศอย่างยิ่ง เช่น เพื่อลดการแพร่ระบาดจากการชุมนุมกันและการเดินทาง

ข้ามจังหวัด จึงเห็นควรให้งดจัดงานวันสงกรานต์ที่จะมาถึงในปี๒๕๖๓ ไปก่อน.....ฯลฯ (นับเป็นประวัติศาสตร์ของ

ประเทศไทยที่ไม่มีงานสงกรานต์ในวันที่ ๑๓-๑๕ เมษายน)

วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓ ผมได้รับเมล์ตอบขอบคุณจากแพทยสมาคมจีน ความว่าประเทศจีนควบคุม

สถานการณ์ได้แล้ว ตอนนี้ได้เริ่มให้การช่วยเหลือประเทศต่างๆที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19

และในการนี้แพทยสมาคมจีนถามว่า เราต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้าง หลังจากพูดคุยกันแล้ว ทางแพทยสมาคม

จีนจึงเสนอว่าจะจัด Teleconference กันไหม ผมจึงเรียนปรึกษาท่านนายก อ.อมร เพราะจะขอให้ท่านเป็น

speaker ฝ่ายเราในการสัมมนา ท่าน อ.อมร สั่งให้ผมด าเนินการได้เลย จึงเป็นที่มาของการจัดประชุมครั้ง

ประวัติศาสตร์ครั้งนี้และต่อมาทางจีนขอเพิ่มอีก ๒ ประเทศ คือ เมืยนมาร์และปากีสถาน เราจึงได้ร่วมกันจัด

ตารางการประชุม Teleconference ในบ่ายวันอังคารที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓ และทางจีนขอเรียนเชิญท่านนายก ศ.

เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมีเป็น MAT Speaker เพราะผมบอกทางจีนว่า In Thailand, he is the best

Infectious Disease man. (ดูก าหนดการในเอกสาร Seminar on Prevention and Treatment of COVID-19:

Experiences from China)

ขั้นตอนการเตรียมงานต้องขอขอบคุณ ผศ.ดร.นพ.ศักดา อาจองค์วัลลิภากร และบริษัท Docquity โดยคุณ

ปัทมา นุ่มนวลศรีซึ่งเป็น Docquity Manager ของประเทศไทย มาช่วยติดตั้งระบบถ่ายทอดสด Google Live

platform ณ ห้องประชุมแพทยสมาคมฯ ชั้น ๔ ช่วยทดสอบระบบต่าง ๆ กับทางประเทศจีนซึ่งถ่ายทอดตรงผ่านห้อง

ส่งจากกรุงปักกิ่ง ส่วนวิทยากรผู้เชี่ยวชาญของจีนนั้นก็ส่งตรงมาจากโรงพยาบาลต้นสังกัดต่างๆ ของแต่ละคน แต่ละ

มณฑล แต่เป็นท่านล้วนเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับการรักษาผู้ป่วยที่ Wuhan ท าให้ได้รับทราบประสบการณ์ตรงของแพทย์

จีนที่รักษาผู้ป่วย

ในภาพข้างล่าง จะเห็นว่า มีการทดลองติดตั้งระบบติดต่อทางไกลจากห้องประชุมของแพทยสมาคมฯ กับห้องส่งจาก

ที่ปักกิ่ง โดยมีผศ.ดร.นพ.ศักดา อาจองค์วัลลิภากร และ คุณปัทมา นุ่มนวลศรีมาช่วยจัดระบบการติดต่อระหว่าง

ไทยกับจีน แม้ในช่วงการถ่ายทอดสด จะมีอุปสรรคเรื่องเสียงเล็กน้อย แต่ก็แก้ไขได้ทันเวลา

๑๔๑

การสแกน QR code

หรือเข้าร่วมการประชุมโดยใช้smart phone

เพื่อเข้าร่วมการประชุมวิชาการทางไกลกับประเทศ

จีน และอีก ๒ ประเทศ

ร่วมสนับสนุนโดย Chinese Medical

Association (CMA)

ในภาพ จะเห็น พลตรี

ผศ.นพ.กิฎาพล วัฒนกูล

ประธานฝ่ายวิเทศสัมพันธ์

แพทยสมาคมฯ มาร่วมฟัง

ทดสอบเสียงและมุมกล้อง

กับทีมงานด้วย และคงจะ

มาทดลองเก็บคะแนน

CME ระดับนานาชาติของแพทยสภาด้วย

บรรยากาศในห้องส่ง

จากกรุงปักกิ่งส่งตรงเพื่อ

ทดสอบระบบเสียงและ

มุมกล้องจากฝั่งจีน

๑๔๒

ในภาพจะเห็นคุณ Ms. Zhao Weili (ตรงลูกศรชี้), Program Manager ของสมาคมแพทย์จีน นั่งประชุมอยู่ด้วย

๑๔๓

บรรยากาศในห้องส่งของเราจากห้องประชุมแพทยสมาคมฯ ชั้น ๔ และอาจารย์แพทย์ต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุม

๑๔๔

บรรยากาศในห้องส่งจากกรุงปักกิ่ง และแพทยสมาคมฯ ระหว่างการสัมมนา

๑๔๕

สไลด์แสดงข้อมูลบางส่วนของโรค COVID-19 จากฝ่ายไทย บรรยายโดย ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมีนายก

แพทยสมาคมฯ

๑๔๖

ขอสรุปเนื้อหาการตอบค าถามในประเด็นต่างๆได้ดังนี้

1 . How often (%) do the hospitalized patients with mild URI suddenly progress into

pneumonia/ARDS ?

Reply: Actually nearly all the patients

progressing from mild illness to severe

pneumonia has indicators like

desaturation, continuous high fever, low

lymphocytes, etc. Those with sudden

deterioration might result from heart

problems.

2 . Any evidence to show that the

SARS-CoV-2 has mutated in such term

that

- It becomes resistant to current

medicine

-It causes a prolonged clinical course [active infection > 40 days]

-It becomes more virulent than the parent strain (more damage,

more death, more rapidly progressive clinical course)

Reply: So far no evidence show a mutated virus associated with clinically different outcome has

occurred.

3. Vaccine against COVID-19: the soonest availability?

Reply: No validated prediction.

4. How to protect medical personnel while a patient with COVID-19 receiving hemodialysis?

Reply: N9 5 respirator, protective suit, gloves and face shield is recommended. Please refer to the

relevant nosocomial infection control guidelines for details.

๑๔๗

5 . The effectiveness of anti-SARS-CoV-2 ? (0 - 5 +) Favipiravir, Oseltamivir, Chloroquine,

Hydroxychloroquine, Remdesivir Lopinavir/ritonavir, Darunavir/ritonavir, Inhaled alphainterferon Azithromycin, Ivermectin, Immunosuppressant known as Actemra, tocilizumab,

methylprednisolone

Reply: Sofarnosolid evidence proving good efficacy against the virus is available. Azithromycin has

noanti-viruseffectiveness. For community-acquired pneumonia, azithromycinserves as a candidate

antimicrobial for empirical treatment. The use of glucocorticoids in COVID-1 9 is controversial

because there is no high quality evidence supporting its use. Major concern is about prolonging

virus clearance due to immunosuppression. In a retrospective study, steroid was protective in

COVID-1 9 patients with ARDS. Steroids should be used on a case-by-case base. Chinese National

Health Commission \"Pneumonitis Diagnosis and Treatment Program for New Coronavirus Infection\"

(SeventhTrialVersion) recommended that for patients with progressive deteriorationofoxygenation

indicators, rapid imaging progress, and excessive activation of the body's inflammatory response,

low-to-mediate dose of glucocorticoids should be used as appropriate in the short term.

Tocilizumab could be effective for cases with desaturation and evident proinflammatory reaction.

6 . Any short-course anti-viral drugs to eradicate COVID-1 9 within 5 days after knowing get

infected with SARS-CoV-2?

Reply: So far no short-course anti-viral drugs to eradicate COVID-19 within 5 days.

7. Any hard evidence to show that Losartan (an ACE blocker) increases the susceptibility to

COVID-19?

Reply: No. Some retrospective data showed no impact of Losartan on susceptibility to COVID-19.

8. Is it true that many cured patients being tested positive again?

Reply: Recent data show 1 4 . 5 % of discharged patients had re-positive PCR results.

(//www.medrxiv.org/content/10.1101/2020.03.26.20044222v1.)

๑๔๘

9 . A new emergences of recovered patients dying suddenly due to rapid deterioration is

causing concern among us?

Reply: Probably not.

The response to questions by Prof. Dr. Suwannee Suraseranivongse, MD.

from the Royal College of Anesthesiologists of Thailand is as following:

1. What would you recommend considering preparation for peak outbreak and post outbreak

situations in term of Hospital Anesthesia committee?

Ans. Health care workers (HCWs) involved in the surgery, especially anesthesiologists, are at high

risk of nosocomial infection during the COVID-19 epidemic, because endotracheal intubation,

suction and mechanical ventilation are high-risk aerosol-producing procedures. Therefore, during

๑๔๙

the peakoutbreak, wesuggestelectivesurgeries for all the patients and confinesurgeries for COVID19 patients should be postponed. Confine surgeries for non-COVID-19 patients should be carried

out under strict triage and with careful infection precaution after peak outbreak. But emergent

surgeries for COVID-19 or non-COVID-19 patients should not be delayed. Comprehensive

preparationfor infection precautionshould be madefor peakoutbreak and postoutbreak, including

environmental preparation, material preparation and personnel preparation.

As for environmental preparation, detailed administration rules and regulations on infection

precaution should be established. Contaminated zones, buffer zones and clean zones should be

clearly demarcated. Negative-pressure operation

room, exclusive transportation path and elevator

should be prepared and reserved for theemergent

surgery of COVID-19 patients. The quality of

environmental disinfection should be closely

monitored.

Sufficient environment disinfectants and personal

protective equipment (PPE) should be purchased

and reserved, including N95 respirators (powered

air purifying respirator), surgical masks, goggles,

protective overall, water-resistant gown, shoe

covers, hair covers, and gloves et al. We also

suggest that the anesthesia committee prepare some useful anesthesia equipment, which can

better protect the HCWs during the anesthesia, including closed sputum aspirator, high efficiency

particulate air filter, and Video-laryngoscope.

All the HCWs should receive systemic training of the infection precautions. The HCWs involved in

each surgery should be carefully documented, toenable subsequent contact tracing. HCWs, if they

have exposure toconfirmed or suspected COVID-19 patients without proper self-protection, should

be isolated and surveilled postoperatively for 14 days. Available data suggest that 17-30% of

infected persons are asymptomatic, ergoall HCWs should keep social distancing in cafeterias, break

areas and offices.

2. Results of anesthesia in COVID-19 patients?

Ans. Sincetheoutbreakof COVID-19, all theelectivesurgeries werecanceled or postponed inTongji

Hospital, a designated hospital for patients with COVID-19. From end of January to beginning of

April, over 300 emergency surgeries were performed, including cesarean section and trauma etc.

Full contact/droplet/airborne PPE was used by all the HCWs involved, including 71

anesthesiologists, 60 obstetrician and 131 nurses. None of them was infected with COVID-19 so far.

3. Alternative of barriers to prevent aerosol spreading and effectiveness?

Ans. Airway interventions, especially endotracheal intubation, are high-risk aerosol-producing

procedures. So the operation of COVID-19 related patients should be performed in the negative-

๑๕๐

pressure OR. All the HCWs involved must wear full contact/droplet/airborne PPE. For patients with

normal airway, modified rapid sequence induction with sufficient muscle relaxation is

recommended. Two layers of wet gauze can be used to cover the mouth and nose of patients

during pre-oxygenation and mask ventilation. Video laryngoscope or fiberscope is recommended

for intubation because it allows the anesthesiologist to keep a distance away from the patients.

High efficiency particulate air filter should be installed between the mask and the breathing circuit

and at the expiratory end of the breathing circuit. Closed endotracheal suction system is highly

recommended for intraoperative suction.

Extubation should be performed in the OR or isolation ICU ward. The patients should wear surgical

masks or N95 respirators without an outlet valve after extubation, and the patients who are not

intubated during the surgery should wear masks throughout the surgery.

4. Criteria to diagnose COVID-free for surgery, sensitivity and specificity? Would you consider

using PPE in such case?

Ans. There are no definite diagnostic criteria of COVID-19 free for surgery, since the sensitivity of

SARS-CoV-2 nucleic acid test of pharyngeal swab specimens can be affected by various reasons.

Although nucleic acid test of bronchoalveolar lavage specimen has a high positive rate (around

93%), it can’t be achieved in most patients. During peak outbreak, systematic epidemiological and

medical history should be collected in every patient requiring surgery, and SARS-CoV-2 antibody

detectiontest,nucleic acid test and chest CTscanshould be performed atemergency department.

Patients with negative epidemiological history, no signs or symptoms of COVID-19, negative

screening test, and negative CT scan can be treated as COVID-19 free. For patients with

epidemiological history or suspected signs or symptoms of COVID-19, nucleic acid test should be

repeated after 24-48 hours if the first result is negative. For highly suspected patients, full

contact/droplet/airborne PPE should be provided to the HCWs during the surgery even though the

results of the screening tests are negative, and bronchoalveolar lavage specimen should be

collected after tracheal intubation. The result of the nucleic acid test of bronchoalveolar lavage

specimen can better guide postoperative treatment and infection precaution. But still there could

be few miss-diagnosed cases in outburst regions. Therefore, we suggest enhanced protection level

of PPE provided for HCWs in all general anesthesia cases in outburst regions if possible.

5. How do you provide anesthesia and prevention of spreading of PUI and COVID cases in

non-operating area?

Ans. The triage protocol and protection level for HCWs for anesthesia in non-operating area are the

same as in the OR. If COVID-19 is suspected or confirmed, we suggest the patients should be

transported into the isolation ward or designated OR for anesthesia. The door of the room should

be marked with a bold COVID-19 sign, and it is necessary to keep the door closed and restrict the

HCW pass throughthe door during theoperation. Full contact/droplet/airbornePPE should beused

๑๕๑

by all the HCWs involved. Anesthesia devices used in the non-operating area should be correctly

disinfected before taking back to the OR.

การสัมมนา ๒ ชั่วโมงครึ่งของ ๔ ประเทศ โดยมีแพทยสมาคมจีนเป็นเจ้าภาพ ส่งตรงจากกรุงปักกิ่งจบลงด้วย

ความประทับใจ มีผู้ติดตามชมการถ่ายทอดสดจาก ๔ ประเทศ ประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าคน

๑๕๒

วันอังคารที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓ จึงควรค่าต่อการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ถึงความส าคัญในการช่วยเหลือกันในภาวะภัยพิบัติของโรคระบาด COVID-19 และที่ส าคัญยิ่งกว่า คือ

ความหมายของค าว่ามิตรภาพระหว่าง ๒ แพทยสมาคม ไทย-จีน ที่มีมายาวนานและจริงใจซึ่งกันและกัน

ต้องขอขอบคุณท่านนายก อ.อมร ที่เป็นหลักในการสัมมนาครั้งนี้และหลังการประชุมแพทยสมาคมจีนส่งเมล์

มาหาผมขอ speech ของท่านนายก เพื่อไปตีพิมพ์ต่อไป

๑๕๔

ต้องขอขอบคุณ ผศ.ดร.นพ.ศักดา อาจองค์วัลลิภากร และบริษัท Docquity โดยคุณปัทมา นุ่มนวลศรีซึ่งเป็น

Docquity Manager ของประเทศไทย มาช่วยติดตั้งระบบถ่ายทอดสด Google Live ในครั้งนี้

และต้องขอขอบคุณท่านกรรมการทุกท่านที่มาช่วยให้ข้อมูลก่อนการประชุม ให้ความเห็น ค าถามและอยู่ร่วมจน

เสร็จสิ้นการสัมมนา ได้แก่ พญ.อภิรมย์ เวชภูติศ.นพ.สารเนตร ไวคกุล รศ.พญ.ยุวดีเลี่ยวไพรัตน์ นพ.คมกริบ ผู้

กฤตยาคามี พญ.รังสิมา แสงหิรัญวัฒนา และ พ.ต.นพ.ชาญฤทธิ์ล้อทวีสวัสดิ์

๑๕๕

ภาคผนวก เมล์ที่ส่งตอบกันกับ สองผู้ประสานหลักฝ่ายจีนและไทย CMA–MAT:

Thank you Ms. Zhao Weili, Program Manager, Dept. of International Relations, Chinese Medical

Association Tel: 86-10-85158578 Fax: 86-10-85158551

Cellphone: 8613810419159 Email: [email protected] or [email protected]

Thank you to (Anne) Ms. Huan Liu, Program Manager, Dept. of International Relations

Chinese Medical Association

๑๕๖

ขอส่งท้ายด้วยเรื่องน่ารักๆจากการประชุมครับ

ในช่วงแนะน าผู้แทนแต่ละประเทศ Dr.Yongmao Jiang ออกเสียงชื่อท่านนายก อ.อมร ผิดเป็น from the Medical

Association of Thailand, President Prof. Dr.Amora ผมได้แต่นั่งอมยิ้ม ชื่อเพราะดีครับ Prof. Dr.AMORA ...

ภาพของอาจารย์แพทย์ที่มาร่วมประชุมวิชาการในบ่ายวันอังคารที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๓

๑๕๗

ภาพบน มีศ.นพ.อมร ลีลารัศมีฟังการถ่ายทอด กับ พญ.อภิรมย์เวชภูติ

นพ.คมกริบ ผู้กฤตยาคามี พ.ต.นพ.ชาญฤทธิ์ล้อทวีสวัสดิ์

๑๕๘

ผศ.ดร.นพ. ศักดา อาจองค์ วัลลิภากร ก าลังฟังการถ่ายทอดและควบคุมระบบการถ่ายทอด ร่วมกับ Docquity

๑๕๙

การประชุมวิชาการทางไกลในรายการ “ถอดบทเรียนแดนมังกร ยับยั้งโควิด-๑๙ (COVID-19 Frontline)”

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

เป็นที่เชื่อกันว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–๑๙ มีจุดเริ่มต้นในประเทศจีน

ในปลายปี ๒๕๖๒ และไม่มีใครคาดคิดว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด–๑๙ จะขยายวงกว้าง

ลุกลามไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกในเวลาเพียงไม่กี่เดือน ท าให้มีจ านวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตหลายล้านคนและ

สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน จนกระทั่งในเดือนมีนาคม ๒๕๖๓ องค์การ

อนามัยโลก หรือ World Health Organization (WHO) ได้ออกมาประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโควิด–๑๙ เป็น

“โรคระบาดใหญ่ทั่วโลก” (Pandemic) ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ บุคลากรทางการแพทย์เปรียบเสมือน “ทัพ

หน้า” (Frontliners) ในการสู้รบกับศัตรูที่มองไม่เห็น “COVID-19”

ในขณะที่หลาย ๆ ประเทศยังคงมีอัตราผู้ติดเชื้อจากการแพร่ระบาดของไวรัส “COVID-19” เพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่อง ในที่สุดประเทศจีนก็ประกาศชัยชนะ เนื่องจาก“ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่”เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เชื่อว่า

เป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาด อะไร คือกุญแจแห่งความส าเร็จของประเทศจีนในการควบคุมสถานการณ์

การแพร่ระบาดภายในประเทศ หลังการใช้“มาตรการปิดเมือง”(Lockdown)

ส าหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค“COVID-19”ในประเทศไทยในขณะนี้ แม้ว่าจะพบว่า

ตัวเลขของ “ผู้ป่วยรายใหม่” ไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ และเริ่มมีจ านวนลดลงตามล าดับ แต่ก็ยัง

ไม่สามารถวางใจได้ ซึ่งหลังจากที่ประเทศจีนประสบความส าเร็จในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด

ภายในประเทศ ทีมบุคลาการทางการแพทย์ของจีน ได้หยิบยื่นความช่วยเหลือให้กับประเทศต่างๆ ในรูปแบบ

ของการถอดบทเรียนที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการควบคุมและลดการแพร่ระบาดของโรค

บริษัท อสมท จ ากัด (มหาชน) จึงได้ร่วมกับ China Media Group เอเชียแปซิฟิก (CMG) สื่อทางการ

ของประเทศจีน และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากแพทยสภา และแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จัดการประชุม

ทางไกล ระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของจีนและไทยเป็นครั้งแรก เพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อ ๒ แพลตฟอร์มไปสู่

ประชาชนใน ๒ ประเทศ โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของไทยที่ร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางการรับมือ

กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของจีน ประกอบด้วย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา

คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล, ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่ง

ประเทศไทยฯ และสาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริ

ราชพยาบาล ม.มหิดล, ศ.พญ.กุลกัญยา โชคไพบูลย์กิจ ผอ.ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

ม.มหิดล, รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบ การ

หายใจ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พล.อ.ต. นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา

และผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ, ผศ.นพ.ปราการ ถมยางกูร หัวหน้าที่ปรึกษา กรมการแพทย์ กระทรวง

สาธารณสุข และ นพ.วิศิษฏ์ ประสิทธิศิริกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค

๑๖๐

นายเขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อ านวยการใหญ่ บริษัท อสมท จ ากัด (มหาชน) กล่าวว่า “CMG สื่อ

ทางการของจีน มีความสัมพันธ์ที่ดีกับ อสมท. โดยที่ผ่านมา มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการผลิตเนื้อหา

สาระและการร่วมกันถ่ายทอดสดกิจกรรมที่ส าคัญต่างๆ มาแล้วหลายครั้ง ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดจากการที่

อสมท. และ CMG มีแนวความคิดตรงกันว่า ควรมีการร่วมผลิตเนื้อหาสาระที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ และตอบ

โจทย์สถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกก าลังเผชิญ จึงเป็นที่มาของรายการพิเศษ “ถอดบทเรียนแดนมังกร”

(COVID-19 Frontline) ด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของจีนที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด

ซึ่งผู้ชมจะได้เรียนรู้ว่า ประเทศจีนรับมือกับการแพร่ระบาดอย่างไร จนกระทั่งสามารถควบคุมสถานการณ์การ

แพร่ระบาดภายในประเทศ ได้เป็นผลส าเร็จ ถือได้ว่า จะเป็นการถ่ายทอดบทเรียนและการแลกเปลี่ยน

ประสบการณ์การรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-๑๙ ระหว่างแพทย์จีนและไทยเป็นครั้งแรก ซึ่งจะ

เผยแพร่ผ่าน ๒ แพลตฟอร์ม ใน ๒ ประเทศ ผู้ชมพันกว่าล้านคนในประเทศจีนจะได้รับชมผ่านทาง CGTN

แพลตฟอร์มทีวีออนไลน์ของ CCTV และผู้ชมในประเทศไทย จะได้รับชมทางช่อง ๙ MCOT HD หมายเลข ๓๐

สิ่งที่เราได้ร่วมมือกันวันนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการสร้างเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ร่วมกัน

ระหว่างสื่อมวลชนในภูมิภาคเอเชีย”

เมื่อ อสมท. ได้มีจดหมายขอความร่วมมือจากแพทยสภาและนายกแพทยสภาได้มอบภารกิจนี้ให้

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา เป็นผู้ประสานงานต่อ โดยต่อมา ได้มอบให้ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี ประสานงานกับ

อสมท. และวิทยากรที่จะมาประชุมทางไกลและจัดเตรียมเอกสาร ค าถามที่จะคุยกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญแพทย์

จีนและไทย และในที่สุด ก็ได้เริ่มประชุมทางไกลแบบ teleconference ผ่าน ๒ แพลตฟอร์ม ในประเทศจีน

และประเทศไทย พร้อมกับการถ่ายท าในบ่ายวันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๓ ที่ห้องประชุม ๖๐๑ อาคาร

อ านวยการ ๑ บมจ. อสมท และไปออกอากาศในค่ าวันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๓ ดังปรากฎในรายงาน

การประชุมและภาพต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ภาพแรก แสดงห้องประชุม ๖๐๑ และผู้เชี่ยวชาญแพทย์ฝ่ายไทย ที่เตรียมพร้อมก่อนที่จะเริ่มการประชุม

วิชาการทางไกล

๑๖๑

ภาพที่ ๒ (บน) และ ๓ (ล่าง) แสดงการถ่ายท าและในระหว่างการประชุมทางไกลผ่านสื่อในห้องประชุม ๖๐๑

ระหว่างผู้เชี่ยวชาญแพทย์ไทยและจีน

๑๖๒

ภาพที่ ๔ แสดงภาพของผู้เชี่ยวชาญแพทย์จีนบนจอสื่อทางไกลจากจีน ปรากฎบนจอในห้อง

ประชุมฝ่ายไทย

ภาพที่ ๕ แสดงพิธีกร อสมท. ฝ่ายไทย คุณวัชรินทร์ เศรษฐกุดั่น และพิธีกรจาก China Global

Television Network (CGTN หรือ CCTV International) ประจ าประเทศไทย นั่งบรรยายตอน

จบของการประชุมทางไกล

๑๖๓

ภาพที่ ๖ ถ่ายภาพร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญแพทย์ไทยกับเจ้าหน้าที่สถานฑูตจีน ล่ามที่เป็น

แพทย์และสื่อฝ่ายจีน เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมและการถ่ายท า ในห้องประชุมทางไกล

ภาพที่ ๗ ถ่ายภาพร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญแพทย์ไทยกับเจ้าหน้าที่สถานฑูตจีน คุณเขมทัตต์ พล

เดช เจ้าหน้าที่ อสมท. หน้าห้องประชุมทางไกล เมื่อเสร็จสิ้นการประชุมและการถ่ายท า

๑๖๔

ภาพที่ ๘ และ ๙ แสดงการประชาสัมพันธ์การประชุมทางไกลที่จะน ามาออกทีวีในช่องของ อสมท.

ในวันอาทิตย์ ที่ ๒๖ เมษายน เวลา ๒๐:๓๕ น. จนถึง เวลา ๒๑:๕๐ น.

ภาพแสดงการประชาสัมพันธ์การ

ออกอากาศของการถ่ายท า การประชุม

ทางไกล ระหว่างผู้เชี่ยวชาญแพทย์ไทย กับ

ฝ่ายจีน

๑๖๕

ภาพที่ ๑๐ แสดงผู้เชี่ยวชาญแพทย์ไทย ก าลังถามค าถามไปยังผู้เชี่ยวชาญแพทย์จีน โดยมีการแปลเป็น

ภาษาไทยอยู่ข้างล่างเมื่อน ามาออกอากาศในคืนวันอาทิตย์

น าทีมโดยศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา, ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ อมร ลีลารัศมี,

ศาสตราจารย์แพทย์หญิงกุลกัญยา โชคไพบูลย์กิจ, รองศาสตราจารย์นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์, พลอากาศ

ตรีนายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ปราการ ถมยางกูร

๑๖๖

ติดตามรายการพิเศษ “ถอดบทเรียนแดนมังกร” (COVID-19 Frontline) ในวันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน นี้ เวลา

๒๐:๓๕–๒๑:๕๐ น. ทางช่อง ๙ MCOT HD หมายเลข ๓๐

เอกสารการแปลจากการประชุม โดยหนงัส

อพิมพก

รุงเทพธุรกิจ

ถอดบทเรียน 'โควิด-๑๙' แดนมังกร ประสบการณ์ตรงจากทีมแพทย์ '

อ่ฮูนั่ '

ศูนย์กลางการระบาดของโรคโควิด-๑๙ อย่าง \"จีน\" ถือเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถรับมือกับโรคร้ายนี้ได้ บาง

เมืองผู้ติดเชื้อเริ่มเป็นศูนย์ โดยเฉพาะอู่อั่นเริ่มเปิดเมืองและประชาชนเริ่มกลับมาใช้ชีวิต

ล่าสุด China Media Group (CMG) และแพทยสภาฯ ร่วมเปิดเวทีพูดคุย ถอดบทเรียนแดนมังกร

Covid-19 Frontline ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยมี บริษัท อสมท จ ากัด(มหาชน) เป็นผู้ถ่ายทอด เพื่อ

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ วิธีการรักษา ยาต้านไวรัส การดูแลผู้ป่วย ระหว่างคณะแพทย์ไทย และ

คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศจีน จากโรงพยาบาลมิตรภาพจีน – ญี่ปุ่น หรือ The China-Japan

Friendship Hospital ตั้งอยู่ ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ที่มีประสบการณ์จากการร่วมเป็นทีมแพทย์ไปต่อสู้กับ

ไวรัสโควิด-๑๙ ณ วอร์ดใหม่ส าหรับโควิด-๑๙ ในโรงพยาบาล Wuhan Tongii Hospital เมืองอู่ฮั่น มณฑลหู

เป่ย ประเทศจีน

ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร สีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และสาขาวิชาโรคติดเชื้อและ

อายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงสถานการณ์ประเทศไทย

๑๖๗

ว่า ช่วงต้นเดือนมีนาคม ประเทศไทยยังมีผู้ติดเชื้อจ านวนไม่มาก แต่ในช่วงกลางเดือนมีนาคม จ านวนผู้ติดเชื้อ

กลับเพิ่มมากขึ้น เป็นสัญญานให้นักวิชาการและผู้น าของประเทศ แนะน าให้รัฐบาลใช้มาตรการเข้มงวดในการ

กักกันชุมชน และการเว้นระยะห่างทางสังคม รวมถึงการกักตัวผู้ที่กลับจากประเทศที่มีการระบาดเป็นเวลา ๑๔

วัน “ทั้งนี้ ปลายเดือนมีนาคม จ านวนผู้ติดเชื้อได้เพิ่มอย่างรวดเร็ว เกิน ๑๐๐ ราย และในช่วงดังกล่าว รัฐบาล

ได้ใช้มาตรการหยุดยั้งการแพร่กระจายชองเชื้อ เช่น ปิดโรงเรียน มหาวิทยาลัย และให้ประชานหลีกเลี่ยงการ

รวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่หากไม่จ าเป็น หลังจากนั้นมีการควบคุมได้อย่างดี เช่น การกักตัวผู้ที่เดินทางมาจาก

ต่างประเทศ ท าสามารถควบคุมการแพร่กระจายได้ โดยผู้ป่วยติดเชื้อทั่วประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ใน กทม. และ

ภาคใต้” ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี กล่าวสรุป

 แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากอู่ฮั่น

ด้าน ดร. ต้วน จุน รองผู้อ านวยการ ภาควิชาวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลมิตรภาพจีน – ญี่ปุ่น

กล่าวถึงการท างานภายใน โรงพยาบาล Wuhan Tongii Hospital เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ซึ่งเป็น

ศูนย์กลางการระบาด ซึ่งตนเองได้รับมอบหมายให้ไปท าหน้าที่ในวอร์ดใหม่ส าหรับผู้ป่วยโควิด-๑๙ วอร์ดใหม่

ขนาด ๔๔ เตียง ส าหรับผู้ป่วยหนัก โดยมีเตียงไอซียู ๖ เตียง ซึ่งมีผู้ป่วยโควิด-๑๙ เข้ารักษาเกือบเต็ม

ความสามารถที่วอร์ดนี้จะรับได้ภายในเวลาเพียง ๒ วัน

“เรามีผู้ป่วยเกิน ๑๐๐ ราย มีผู้เสียชีวิต ๔ ราย ที่เหลือรอดชีวิตทั้งหมด โดยในวอร์ด เรามีห้องแยก

เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ทั้งนี้ สิ่งส าคัญในการจัดการผู้ป่วยจ านวนมาก ปัจจัยอันดับแรก คือ สิ่งแวดล้อม และ

อุปกรณ์ทางการแพทย์ จึงต้องมีเครื่องตรวจชีพจรและการท างานของอวัยวะ เครื่องช่วยพยุงการท างานของ

หัวใจและปอด (ECMO) เครื่องช่วยหายใจอัตราการไหลสูง และเครื่องให้ออกซิเจนเข้าทางสายยางคู่เข้าจมูก

รวมถึงสายสวนทางหลอดเลือดด าส่วนกลาง (CVC) และสายสวนเข้าหลอดเลือดด าส่วนกลางที่ใส่จากต าแหน่ง

ที่ห่างจากหัวใจ (PICC) เครื่องวิเคราะห์ก๊าซจากหลอดเลือดแดง (ABG) เครื่องส่องกล้องหลอดลม อัตราซาวด์

๑๖๘

เครื่องตรวจคลื่นหัวใจ และเครื่องเอ็กซเรย์ เครื่องมือทั้งหมด มาจากโรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น ในปักกิ่ง

ทั้งนี้ เครื่องมือส าคัญ คือ การบ าบัดวิกฤติด้วยอัลตร้าซาวด์ ซึ่งจะช่วยในการวินิจฉัย คัดกรองว่าผู้ป่วยคนใดมี

อาการหนัก นอกจากนั้น ยังช่วยอัลตราซาวด์เฉพาะจุด และสุดท้าย คือ ช่วยในการท าอัลตราซาวด์ทั่วร่างกาย

ดร. ต้วน จุน กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ เรายังมีคณะท างานที่มีประสบการณ์ โดยมีผู้น าคณะ ๑ คน ผู้

ประสานงาน ๔ คน มีแพทย์ ๓๐ คน รวมทั้งอาจารย์แพทย์ แพทย์ประจ าบ้านต่อยอด แพทย์ประจ าบ้าน โดย

๒๔ คน มาจากภาควิชาอายุรศาสตร์ ๑๓ คนมาจากหน่วยโรคหายใจ และเวชบ าบัดวิกฤต ประกอบด้วย

อาจารย์แพทย์ ๓ ท่าน และแพทย์ประจ าบ้านต่อยอด ๖ ท่าน นอกจากนั้นเรายังมีพยาบาลร่วม ๑๗๗ คน มา

จากหน่วยไอซียู รวมถึงนักบ าบัดทางเดินหายใจ ๑ คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมการติดเชื้อใน

โรงพยาบาล ๑ คน ล้วนเชี่ยวชาญการใช้ECMO ทั้งสิ้น

“ทั้งนี้ เราดูรายละเอียดการเข้าเวรทั้งกลางวันและกลางคืนของแพทย์ และพยาบาล เพื่อให้แน่ใจว่า

พวกเขามีก าลังพอที่จะต่อสู้กับโควิด-๑๙ เรามีคณะท างานที่มีประสบการณ์ และขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้

แน่ใจว่าผู้ป่วยจะปลอดภัย นอกจากนี้ การดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ที่ต่อสู้กับโรค

ก็ส าคัญเช่นกัน” ดร.ต้วน จุน กล่าว

 เฝ้าติดตามการกลายพันธุ์ของไวรัส

จากกรณีที่มีความกังวลเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ศ.ดร.เฉา ปิน ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจ

และภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ รองผู้อ านวยการ โรงพยาบาลมิตรภาพจีน – ญี่ปุ่น อธิบายว่า เนื่องจาก

เราทราบเมื่อไม่นานมานี้ว่า เชื้อดังกล่าวเป็นโคโรน่าไวรัส ที่ก่อให้เกิดทั้งอาการที่ไม่รุนแรง และอาการแทรก

ซ้อน เช่น โรคปอดอักเสบ และ ARDS (Acute respiratory distress syndrome ภาวะหายใจล้มเหลว

เฉียบพลันที่เกิดจากการที่เนื้อปอดมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นอย่างรุนแรง) แต่จากการศึกษาของนักไวรัสวิทยาชาว

๑๖๙

จีนพบว่า ไม่มีการกลายพันธุ์ของโควิด-๑๙ และคณะวิจัยทางวิทยาศาสตร์อีก ๒ คณะที่ก าลังศึกษาการผลิต

วัคซีนอยู่ “นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ในสหรัฐฯ และยุโรป ก าลังพัฒนาวัคซีนอยู่เช่นกัน เพราะเราทุกคน

ต่างเข้าใจดีว่า วัคซีนเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิผล ไม่ใช่แค่ในเอเชีย แต่ในยุโรคและอเมริกาเหนือด้วย เราไม่

คิดว่าจะมีข้อห่วงใยเรื่องการกลายพันธุ์ของไวรัส แต่เห็นด้วยว่าเราควรต้องเฝ้าติดตามว่ามีการกลายพันธุ์บ้าง

หรือไม่ ทั้งในแง่ของการแพร่กระจายและผลกระทบของโรค”

ทั้งนี้ มีข้อสงสัยประการหนึ่ง คือ ในประเทศแถบเอเชีย สถานการณ์ดูไม่ค่อยรุนแรง ต่างจากแถบยุโรป เช่น

อิตาลี เยอรมนี สเปน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งไม่แน่ใจว่าอาจเพราะสภาพอากาศหรือไม่ เนื่องจากประเทศไทย

เวียดนาม อยู่ในเขตร้อน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีค าตอบให้กับสมมติฐานนี้ แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์ที่สนใจเกี่ยวกับ

ความเชื่อมโยงของไวรัสนี้กับอุณหภูมิที่ต่างกัน และเชื่อว่านักวิทยาศาสตร์ไทยก็ให้ความสนใจวิจัยการ

แพร่กระจายของไวรัสในพื้นที่ต่างๆ เช่นเดียวกัน

 การกลายพันธุ์ของเชื้อ ไม่เป็นอุปสรรคการผลิตวัคซีน

ส าหรับประเด็นที่ว่าหากเชื้อโควิด-๑๙ กลายพันธุ์ จะมีผลต่อการผลิตวัคซีนหรือไม่ ศ.ดร. เฉา ปิน ให้ความเห็น

ว่า การกลายพันธุ์ไม่น่าจะมีผล เพราะโคโรน่าไวรัสต่างจากไข้หวัดใหญ่ ที่เราเคยได้ยินว่ามีการกลายพันธุ์ทั้ง

สายพันธุ์ A และ สายพันธุ์ B แต่โคโรน่าไวรัสคนละเรื่องกัน นักวิทยาศาสตร์ที่ก าลังผลิตวัคซีนต้าน SARSCoV-2 ไม่ได้น าเอาเชื้อทั้งหมดมาใช้ในการผลิต เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ล้ าสมัยที่ใช้เทคนิคโดยมุ่งไปที่แอนติเจน

ดังนั้น การกลายพันธุ์ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคในการผลิตวัคซีน แต่น่าจะมีอุปสรรคทางเทคนิกมากกว่า เช่น การ

ตอบสนองของแอนติเจน หรือแอนติบอดี้ นี่คือข้อห่วงใยในการผลิตวัคซีนมากกว่า ไม่ใช่เรื่องการกลายพันธุ์

 การใช้ยาต้านไวรัสในประเทศจีน

๑๗๐

ศ.ดร. เฉาปิน กล่าวถึงประเด็นการใช้ยาต้านไวรัสในประเทศจีนว่า ตั้งแต่มีการติดเชื้อโควิด-๑๙ แรกเริ่มในช่วง

ธันวาคม ๒๕๖๒ เมื่อมีผู้ป่วยคนแรกๆ เราไม่รู้ว่ามันคือเชื้อก่อโรคชนิดใด ตอนแรกที่เราทราบว่ามันเป็นโคโร

นาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ เราใช้ยาส าหรับรักษาโคโรนาไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น ซาร์ส เมอร์ส ต่อมาใช้

Lopinavir/ritonavir อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยซาร์ส ในช่วงปีค.ศ. ๒๐๐๓–๒๐๐๔ แม้ว่าจะ

ไม่มีการทดลองแบบสุ่ม และกลุ่มควบคุม แต่จากการรายงานทางคลินิก การใช้ยา Lopinavir/ritonavir ก็ยัง

ให้ผลที่น่าพอใจ ท าให้เราคิดว่าน่าจะน ามาใช้กับผู้ป่วยโควิด-๑๙ ได้

นอกจากนั้น ยังมีการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์ว่า ช่วงที่มีการระบาดของเมอร์ส ในตะวันออกกลาง และเกาหลี

มีการให้รับประทานยา lopinavir/ritonavir ด้วย นี่คือเหตุผลที่ท าให้เราทดลองใช้ยาตัวนี้กับผู้ป่วยโควิด-๑๙

เราเป็นที่แรกที่ได้ท างานวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมในการใช้ lopinavir/ritonavir รักษาผู้ป่วย

โควิด-๑๙ ที่มีอาการรุนแรง ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่มกราคม สิ้นสุดการทดลองเมื่อต้นมีนาคม และได้ตีพิมพ์เมื่อวันที่

๑๘ มีนาคม แต่หลังจากที่ตีพิมพ์แล้ว เราได้รับอีเมล์จากทั่วโลกว่าเป็นงานวิจัยที่ไม่พบความแตกต่าง แพทย์

บางท่านจึงเลิกใช้ lopinavir/ritonavir รักษาผู้ป่วยโควิด-๑๙ แต่ส่วนตัวคิดว่า เร็วเกินที่จะหยุดใช้

lopinavir/ritonavir เนื่องจากไม่ใช่แพทย์ทุกคนที่อ่านงานนี้อย่างละเอียดทั้งหมด

“ถ้าดูการเสียชีวิตที่ ๒๘ วัน กลุ่มที่ใช้ lopinavir/ritonavir จะอยู่ที่ร้อยละ ๑๙ ขณะที่กลุ่มที่ได้รับการรักษา

ตามมาตรฐานอยู่ที่ร้อยละ ๒๕ เรามีการวิเคราะห์ด้วยวิธีอื่นๆ ด้วย เช่น ระยะเวลาที่อยู่ในไอซียู ระยะเวลา

นอนที่โรงพยาบาล และร้อยละของผู้ป่วยที่มีอาการทางคลินิกที่ดีขึ้นที่ ๑๔ วัน กลุ่มที่ใช้ lopinavir มีอาการ

ทางคลินิกที่ดีขึ้นอยู่ที่ร้อยละ ๔๕ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตามมาตรฐานมีผลส าเร็จอยู่ที่ร้อบละ ๓๐ นับว่ามี

ความแตกต่างโดยมีนัยส าคัญ และยังพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยามีระยะเวลารักษาตัวในไอซียูสั้นกว่า ถ้าลองเอาผล

มารวมกันจะเห็นว่า lopinavir/ritonavir มีประโยชน์”

นอกจากนั้น เรายังได้ท าการวิเคราะห์กลุ่มย่อย โดยแบ่งกลุ่มผู้ได้รับยา lopinavir ภายใน ๑๒ วัน และกลุ่มที่

ได้รับหลังจาก ๑๒ วัน พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาภายใน ๑๒ วันจะมีอาการดีขึ้นมากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาช้ากว่า ๑๒

วัน จะเห็นได้ว่าการใช้ยาต้านไวรัส เป็นหัวใจส าคัญอย่างหนึ่งในการรักษาผู้ป่วย

อีกหนึ่งทางเลือก คือ การใช้ remdesivir ที่อยู่ในการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร New England Journal of

Medicine ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-๑๙ ที่มีอาการรุนแรง ข้อมูลทั้งหมดดูเหมือนจะได้ผลดี แต่การวิจัยแบบสุ่ม

และมีกลุ่มควบคุมเท่านั้น ที่ตอบได้ว่าการใช้ remdesivir มีประสิทธิผลและปลอดภัยพอ ที่จะรักษาผู้ป่วยโค

วิด-๑๙ หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่มีอาการรุนแรง

ศ.ดร. เฉาปิน กล่าวต่อไปว่า ในอู่ฮั่น เราได้ลองการให้พลาสมา จากผู้ที่เคยติดเชื้อ ซึ่งเป็นการรักษาที่ใช้กันมา

นานแล้ว นับตั้งแต่การระบาดของไข้หวัดใหญ่เมื่อร้อยปีที่แล้ว ในปี ค.ศ. ๑๙๑๘ มีการตีพิมพ์ใน JAMA เรื่อง

การใช้วิธีนี้ แต่ทดลองกับผู้ป่วยเพียง ๕ รายซึ่งมีอาการทางคลินิกดีขึ้นหลังจากการรักษา และอีกงานหนึ่งท า

การทดลองกับผู้ป่วย ๑๐ คน มีเพียงรายงานผู้ป่วย ๒ ฉบับนี้เท่านั้นที่กล่าวถึงการรักษาโดยวิธีนี้

 สเตียรอยด์ ใช้ในระดับต่ าถึงปานกลาง

๑๗๑

ศ.ดร. เฉาปิน กล่าวต่อไปว่า ส าหรับยาต้านไวรัส favipiravir จากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการพบว่า

lopinavir/ritonavir แรงกว่า favipiravir เราคุ้นเคยกับการใช้ favipiravir แต่ยังไม่เคยทดลองกับผู้ป่วยโควิด๑๙ แต่เคยทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีการตีพิมพ์การทดลองใช้ favipiravir ร่วมกับ

Teevir ในการรักษาไข้หวัดใหญ่ แต่ขนาดยาเหล่านี้ไม่น่าจะเพียงพอในผู้ป่วยโควิด-๑๙ ที่มีอาการหนัก เราจึง

ไม่แนะน าให้ใช้ favipiravir ในผู้ป่วยโควิด-๑๙ อาการหนักที่ประเทศจีน นอกจากนี้ แม้ว่าประเทศจีนจะใช้ยา

lopinavir/ritonavir แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยยาแผนจีน จึงนับว่าจีนใช้ยาหลายตัวร่วมกัน

“ส าหรับยาสเตียรอยด์ ในช่วงแรกทางการจีนคิดว่าจะใช้ในผู้ป่วยโควิด-๑๙ หากจ าได้ในช่วงการระบาดของ

ซาร์ส ในประเทศจีน เราใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ในขนาดสูง ทั้งในกวางตุ้ง ฮ่องกง และปักกิ่ง เพราะมีผู้ป่วยซาร์ส

จ านวนมาก ซึ่งพบว่ามีผลข้างเคียงและเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยบางราย ดังนั้น จึงต้องรอบคอบในการใช้คอร์ติ

โคสเตียรอยด์ ในผู้ป่วยโควิด-๑๙ ถ้าจะให้ต้องให้ในขนาดต่ าหรือปานกลาง”

ทั้งนี้ เวลาให้ยาก็ส าคัญ มีการประชุมระหว่างผู้เชี่ยวชาญว่า การให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ ควรให้ ณ จุดที่มีการ

พัฒนาของโรคอย่างรวดเร็ว เช่น เมื่อออกซิเจนในเลือดลดลงอย่ารวดเร็ว หรือเมื่อมีรอยในปอดมากขึ้นอย่าง

รวดเร็วไม่ควรให้นานเกินหนึ่งสัปดาห์ อีกอย่างที่น่ากังวล คือ การติดเชื้อแทรกซ้อนของแบคทีเรียหรือเชื้อรา

ถ้าเราให้ คอร์ติโคสเตียรอยด์ ในปริมาณต่ า หรือปานกลาง ก็จะมีผลข้างเคียงไม่มากนัก

“มีการศึกษาว่าการให้ คอร์ติโคสเตียรอยด์ ไม่ได้มีผลต่อการเสียชีวิตที่ ๒๘ วัน ในการศึกษากลุ่มย่อย คอร์ติ

โคสเตียรอยด์ สามารถยับยั้งการพัฒนาของโรคได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถช่วยชีวิตได้ ข่าวดี คือ การ

ให้ในขนาดต่ าหรือปานกลาง ไม่พบการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราแทรกซ้อนอย่างมีนัยส าคัญ” ศ.ดร.เฉา ปิน

กล่าว

ดร.จาง ยี่ แพทย์ ภาควิชาโรคระบบการหายใจและเวชบ าบัดวิกฤต โรงพยาบาลมิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น

อธิบายเพิ่มเติมว่า เนื่องจากโควิด-๑๙ มีอาการหลากหลายที่คล้ายกับ ARDS (acute respiratory distress

syndrome ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่เกิดจากการที่เนื้อปอดมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นอย่างรุนแรง) นี่คือ

สาเหตุว่าท าไมเราถึงมีขั้นตอนการปฏิบัติที่คล้ายกันเพื่อรองรับผู้ป่วย รวมถึงการใส่ท่อและ ECMO เราจึงคิดว่า

มันอาจอยู่ในกลุ่มเดียวกับ ARDS ด้วย

ทั้งนี้ ความแตกต่างของโควิด-๑๙ และ ARDS ทั่วไปในอาการช่วงระยะสุดท้ายนั้นต่างกัน เมื่อเทียบ

กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แต่ไม่ได้มีผลต่อวิธีการรักษาโควิด-๑๙ เรายังคงใช้ PEEP ในการสู้กับโควิด-๑๙ ใน

แง่ของการรักษาเพราะถือว่าเป็น ARDS ชนิดหนึ่ง

 ปัจจัยส าคัญที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค

ดร.จาง ยี่ กล่าวต่อไปว่า การพัฒนาของโรคจากไม่รุนแรงมาก ไปสู่อาการที่รุนแรง บางรายใช้เวลา

รวดเร็วนั้น เนื่องด้วยโรคโควิด-๑๙ มีลักษณะที่ปรากฏออกมาหลากหลายในประเทศต่างๆ เช่น จีน อิตาลี หรือ

สหรัฐฯ เพราะฉะนั้น ปัจจัยส าคัญ คือ การขาดบุคลากรทางการแพทย์ ท าให้ความรุนแรงของโรคปรากฏ

ออกมาได้หลากหลาย เพราะหากบุคลากรทางการแพทย์เพียงพอ เราจะสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้เร็ว สามารถ

ระงับไม่ให้ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงทรุดหนักได้

๑๗๒

ด้าน ดร. หวาง ยี่หมิง แพทย์ปฏิบัติการ ภาควิชาระบบการหายใจและเวชบ าบัดวิกฤต โรงพยาบาล

มิตรภาพจีน-ญี่ปุ่น กล่าวเสริมว่า นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น อายุของผู้ป่วย ยิ่งอายุมากยิ่งมี

ความเสี่ยง ค่า d-dimer ที่มากขึ้น ค่าฮีโมโกลบิน หรือการท างานของโลหิต และ SOFA Scoring System ซึ่ง

มีความส าคัญในการระบุผู้ป่วยในระยะเริ่มต้น

 จีนเน้นเอ็กซเรย์หลังควบคุมได้

ทั้งนี้ หลังจากที่ประเทศจีนใช้เวลาเพียง ๓ เดือน ท าให้โรคเริ่มสงบและชะลอการระบาดลงได้ ศ.ดร. เฉา ปิน

กล่าวว่า หลังสถานการณ์ควบคุมได้ การตรวจ PCR Test เป็นสิ่งที่ไม่จ าเป็น แต่หันมาระวังในเรื่องของประวัติ

การติดต่อ เพราะบางกรณีโควิด-๑๙ ก็มีอาการน้อย เช่น อาการไอเล็กน้อย หรืออาการอ่อนเพลีย หรือเบื่อ

อาหาร อย่างไรก็ตาม ควรจะท าการเอ็กซเรย์ปอดหรือท า CT Scan หลังจากนั้นถ้ามีความน่าจะเป็นโควิด-๑๙

ก็ต้องท า PCR Test ด้วย ส าหรับการผ่าตัดใหญ่ ต้องมีการตรวจสมรรถภาพของปอด และการเอ็กซเรย์เป็น

ประจ าอยู่แล้ว

 ผู้ป่วยที่หายแล้ว กลับมาเป็นซ้ าได้จริงหรือ?

ส าหรับประเด็นที่ว่าผู้ป่วยที่เคยเป็นแล้ว กลับมาเป็นใหม่ ศ.ดร. เฉา ปิน อธิบายว่า ต้องระวังในการวินิจฉัยการ

กลับมาเป็นซ้ า เนื่องจากในประเทศจีน มีการศึกษาโดยใช้ลิงเป็นต้นแบบ พบว่าลิงไม่สามารถติดเชื้อซ้ าได้ ซึ่งไม่

คิดว่าจะมีกรณีกลับมาเป็นซ้ าได้บ่อย ไม่มีรายงานทางวิทยาศาสตร์ เราได้ยินแค่จากข่าวเท่านั้น นอกจากนี้

สัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ใช้ คือ หนู แต่ในหนูยากที่จะพัฒนาโรครุนแรง หากอยากทดลองอาการรุนแรงต้องใช้หนู

ชนิดพิเศษ “หากผู้ป่วยจะกลับมาเป็นซ้ า ต้องดูว่ามีระยะเวลาการขับไวรัสออกที่ยาวนานหรือไม่ การที่ผู้ป่วย

ออกจากโรงพยาบาลแล้วกลับมาเป็นซ้ า ไม่ได้หมายความว่ากลับเป็นซ้ าอีก แต่อาจเกิดจากระยะเวลาการขับ

เชื้อมีระยะเวลานาน ซึ่งเราเคยพบว่า นานเกิน ๒ เดือน การตรวจส่วนใหญ่เป็นการตรวจทางคอ อาจให้ผล

๑๗๓

ต่างกันในแต่ละครั้ง จากการที่ตรวจแล้ว ได้ผลลบแล้วบวก ลบแล้วบวก ขึ้นอยู่กับระยะวเลาการขับเชื้อของแต่

ละคน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้พบแค่ร้อยละ ๓๐ การกลับมาเป็นซ้ าเป็นไปได้ยาก จึงควรวินิจฉัยอย่างรอบคอบว่า

เป็นการกลับมาเป็นซ้ าหรือไม่” ศ.ดร.เฉา ปิน อธิบาย

เอกสารจัดท าส่งแพทยสภาหลังการประชุม

โครงการพิเศษ ถอดบทเรียนแดนมังกร (Frontline)

โปรแกรมประชุมทางไกลแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์จีนและไทย

วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๓ ณ บริษัท อสมท จ ากัด (มหาชน)

เวลาบันทึกเทป ๑๔:๐๐ ถึง ๑๖:๐๐ น.

ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๓ เวลา ๒๐:๓๕ ถึง ๒๑:๕๐ น.

โดยมีความร่วมมือของการถ่ายทอดระหว่าง China Media Group (CMG) และ อสมท. (MCOT)

รายชื่อแพทย์ไทยที่ร่วมท า teleconference รวม ๗ ท่าน

๑. ศาสตราจารย์ดร.นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

๒. ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ และ

ศาสตราจารย์สาขาวิชาโรคติดเชื้อและอายุรศาสตร์เขตร้อน ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริ

ราชพยาบาล ม.มหิดล

๓. ศาสตราจารย์แพทย์หญิง กุลกัญยา โชคไพบูลย์กิจ สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะ

แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล

๔. รองศาสตราจารย์นายแพทย์ ฉันชาย สิทธิพันธุ์ สาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะ

วิกฤติโรคระบบการหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

๕. พลอากาศตรีนายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภาและผู้ทรงคุณวุฒิ

กองทัพอากาศ

๖. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ ปราการ ถมยางกูร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคระบบการหายใจ

ผู้ทรงคุณวุฒิหัวหน้าที่ปรึกษากรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

๗. นายแพทย์วิศิษฎ์ ประสิทธิศิริกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

รายชื่อแพทย์จีนรวม ๖ ท่าน

๑. Professor Dai Huaping, Professor, chief physician, deputy director of the Respiratory

Center at the China-Japan Friendship Hospital

๒. Professor Guo Liping, Professor, deputy director of the Center for Disease Control at the

China-Japan Friendship Hospital

๓. Dr. Duan Jun, Vice director of the Department of Surgical Critical Care Medicine at the

China-Japan Friendship Hospital

๔.Dr. Xia Jingen, Respiratory Therapist, Department of Pulmonary and Critical Care Medicine

at the China-Japan Friendship Hospital

๕. Dr. Jang Yi, Department of Pulmonary and Critical Care Medicine at the China-Japan

๑๗๔

Friendship Hospital

๖. Dr. Wang Yi Ming, Department of Pulmonary and Critical Care Medicine at the China-Japan

Friendship Hospital

เริ่มต้นของการท า teleconference มีการกล่าวน า ชื่นชม เป็นก าลังใจให้ทุกฝ่ายและแสดงความยินดี

ที่มีการท า teleconference ระหว่างประเทศจีนและประเทศไทย และขอบคุณทั้งสองฝ่ายและผู้บริหาร

จัดการการประชุมในครั้งนี้ กล่าวน าตามล าดับดังนี้

๑. คุณชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรีและประธานสภาผู้แทนราษฎร

๒. คุณหยางซิน อุปทูตรักษาราชการสถานทูตจีน (Charge the affairs of the Chinese Embassy)

๓. คุณพินิจ จารุสมบัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรีและประธานสภาวัฒนธรรมไทย-จีน

เมื่อเริ่มการประชุม มีการกล่าวน า โดย

 ศาสตราจารย์ดร.นายแพทย์ ประสิทธิ์ วัฒนาภา

ต่อด้วยการบรรยายสถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย โดย

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ อมร ลีลารัศมี

แล้วมีการบรรยายสถานการณ์โรคติดเชื้อ COVID-19 ที่ China-Japan Friendship Hospital ในเมือง

Wuhan และการเตรียมเครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึง ECMO ทีมบุคลากรทางการแพทย์ และยาที่ใช้ วิธีการ

รักษาแบบประคับประคองและการดูแลติดตามคนไข้ในหอผู้ป่วย ฯลฯ ที่โรงพยาบาลแห่งนี้มีคนไข้ COVID-19

มากกว่า ๑๐๐ ราย และตายเพียง ๔ ราย ฯลฯ โดย

 Dr. Duan Jun, Vice director of the Department of Surgical Critical Care Medicine at the

China-Japan Friendship Hospital

เนื้อหาหลัก ๆ ที่ได้จากการประชุมและถาม-ตอบ

๑. การกลายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 มีข่าวมากมายจากหลายแหล่ง และมีผู้อ้างว่า เป็นสาเหตุของ

การท าให้มีอัตราตายสูงในบางประเทศ ไม่ทราบว่า ตอนนี้มีข้อมูลด้านการกลายพันธุ์และผลของการกลาย

พันธุ์ต่อการด าเนินโรค การท าลายอวัยวะต่างๆ ที่รุนแรงขึ้น การดื้อยา รวมทั้งจะมีผลต่อการผลิตวัคซีนมา

ใช้ในประเทศต่าง ๆ หรือไม่?

 แพทย์จีนตอบว่า ยังไม่ทราบแน่ชัดในด้านความสัมพันธ์ดังกล่าว เรื่องกลายพันธุ์ยังไม่พบว่า จะมี

ผลร้ายดังกล่าว ความแตกต่างในด้านผลการรักษาอาจจะเกี่ยวกับ time zone กับ อุณหภูมิ มากกว่า

การกลายพันธ์และยังไม่น่าจะมีผลต่อการผลิตวัคซีน

 แพทย์จีนไม่เชื่อเรื่องการกลายพันธ์ ของ COVID-19 อนึ่งการท า Vaccine ไม่ได้ใช้ whole cell หรือ

เชื้อไวรัสทั้งตัว แต่เลือกเอาเฉพาะบางส่วนของเซลล์ที่มีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูง ดังนั้นการผลิต

vaccine จึงไม่น่ามีปัญหาในการน ามาใช้ทั่วโลก และไม่น่ามีหลายสายพันธุ์เหมือนเชื้อไวรัสไข้หวัด

ใหญ่

๒. มีรายงานการกลับเป็นซ้ าหลายราย ในประเทศไทยมีรายงานสองราย ในประเทศเกาหลี ญี่ปุ่นและใน

จีนเองก็มีหลายราย จะมีผลใด ๆ ต่อ การด าเนินโรค ความรุนแรงของโรค และการแพร่กระจายของเชื้อ

หรือไม่?

๑๗๕

 แพทย์จีนไม่เชื่อเรื่องการกลับเป็นซ้ าของโรค COVID-19 แต่คิดว่าอาจเป็นจากการหายช้าหรือยังไม่

หายขาด เพราะมีรายงานว่า ไวรัสสามารถคงอยู่ในร่างกายมนุษย์ได้นานถึง ๒ เดือน ที่ตรวจพบซ้ า

อาจจะเป็นจากเทคนิกการเก็บตัวอย่างด้วยและเป็นการตรวจหารหัสพันธุกรรมด้วยที่อาจจะออกมา

จากทางเดินหายใจส่วนล่าง แต่ไม่คิดว่าจะมีผู้ป่วยที่หายแล้วกลับเป็นซ้ า ดังนั้น จากประสบการณ์

และข้อมูลทั้งหมด แพทย์จีนคิดว่า “ไม่มีการเป็นโควิดซ้ า” มีแต่ในข่าวที่เอาไปพูดเท่านั้น

 ในด้านการทดลองโรคติดเชื้อ COVID-19 ในสัตว์ ฝ่ายจีนใช้ลิงในการทดลองการกลับเป็นซ้ า ซึ่งลิงก็

ไม่กลับมาเป็นอีก และมีการทดลองในหนู แต่การที่จะท าให้หนูมีอาการรุนแรงต้องใช้หนูพิเศษในการ

ทดลอง

๓. เรื่องยาต้านไวรัสที่ใช้ในการรักษา คิดว่ายาขนานใดน่าจะให้ผลดีกว่ากันหรือว่า ต้องใช้ร่วมกัน?

 แพทย์จีนยังนิยมให้ยาขนานเดียวก่อน เช่น lopinavir (+ ritonavir) และได้มีการรายงานผลการรักษา

ไปบ้างแล้วในวารสาร NEJM ในบางรายจีนอาจจะให้ยาผสมผสานหลายขนานและจีนเองก็ลองใช้

สมุนไพรจีนด้วย ส่วนประสบการณ์ของแพทย์ไทยรู้สึกว่า favipiravir น่าจะให้ผลดีกว่ายาต้านไวรัส

ขนานอื่นนั้น แพทย์จีนก็ยังไม่มั่นใจ และเชื่อว่าต้องใช้ขนาดสูงก่อน ส่วนยาขนานอื่น ๆ นั้นยังต้องรอ

ผลการวิจัยก่อน ส่วนไทยใช้ chloroquine ร่วมด้วยเพราะมีประสบการณ์ว่า ได้ผลดีและยา

chloroquine มีขายอยู่แล้วในไทย จีนยังแนะน าให้ไทยท าวิจัยเปรียบเทียบการรักษาผู้ป่วย COVID19 ในแต่ละภูมิภาคของไทยด้วย

๔. การใช้น้ าเหลืองจากผู้ที่หายแล้วมารักษาผู้ป่วย ได้ผลดีหรือไม่?

 มีการใช้น้ าเหลืองจากผู้ที่หายจากโรคติดเชื้อไวรัสมาใช้รักษานับตั้งแต่การระบาดของไข้หวัดใหญ่เมื่อ

ร้อยปีที่แล้ว ในปี ค.ศ. ๑๙๑๘ มีการตีพิมพ์ใน JAMA เรื่องการใช้วิธีนี้ ที่นี้ได้ทดลองให้กับผู้ป่วยเพียง

๕ คน ซึ่งมีอาการทางคลินิกดีขึ้นหลังจากการรักษา ขณะนี้ก็มีการใช้บ้าง แต่ต้องติดตามผลการรักษา

ไปก่อน

๕. การใช้ยาสเตียรอยด์ขนาดสูง มีผลดีผลเสียในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือไม่?

 แพทย์จีนยังไม่แนะน า เพราะตอนใช้สเตียรอยด์กับโรค SARS มีบทเรียนหลายอย่าง เช่น มีการติดเชื้อ

ราและแบคทีเรียเเทรกซ้อนง่าย แต่ถ้าผู้ป่วยมีอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว แนะน าว่าต้องมี timing ของ

การให้ที่ถูกต้อง ตรงจุดที่มีการพัฒนาโรคเลวลงอย่างรวดเร็ว เช่น ระดับความอิ่มตัวของออกซิเจนใน

เลือดลดต่ าลงอย่างรวดเร็ว ก็อาจใช้ได้ในขนาดกลาง ๆ และเป็นช่วงสั้น ๆ มีงานวิจัยที่ยืนยันว่า การ

ให้ยาสเตียรอยด์มิได้ลดอัตราการเสียชีวิตใน ๒๘ วันแรกของการรักษา

 ส่วนการดูแลรักษากลุ่มอาการ ARDS ( acute respiratory distress syndrome ) ที่เกิดใน COVID19 แม้ว่าเชื้อก่อโรคจะแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การรักษาตามอาการ จะคล้ายกันอยู่ดี

๖. การเตรียมผู้ป่วย COVID-19 ก่อนการผ่าตัด มีการเตรียมการเป็นพิเศษใด ๆ หรือไม่?

 แพทย์จีนบอกว่า การท า RT-PCR test ส าหรับผู้ป่วยเข้าผ่าตัดทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับโควิด คิดว่าไม่จ าเป็น

ในรายที่สงสัย แนะน าท า X-ray ปอด หรือ CT scan จะมีความไวสูงและทราบผลเร็วกว่า แต่ถ้ามี

อ า ก า รไ ข้ ก็ ค ว รท า RT-PCR จ า ก ตั ว อ ย่ างที่ เ ก็บ จ า ก สิ่ง คั ดห ลั่งใน ช่ องป า ก แ ล ะ จ มู ก

๑๗๖

กล่าวสรุปและขอบคุณเมื่อเสร็จสิ้นการประชุมวิชาการทางไกลโดย ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี

ในนามของแพทยสภา แพทยสมาคม กระทรวงสาธารณสุขและรัฐบาลไทย ผู้อภิปรายได้ขอบคุณ

ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายแพทย์จีนที่มาร่วมท า teleconference และได้ชื่นชมประเทศจีนที่ได้ควบคุมการระบาดของ

โรค COVID-19 ได้ส าเร็จอย่างรวดเร็ว และขอชมเชยแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ของจีนที่ได้เสียสละ ทุ่มเท

ดูแลคนไข้อย่างดีจนบางท่านโชคร้ายได้เสียชีวิตไป และสุดท้ายขอขอบคุณสถานทูตจีน CMG และ MCOT ที่

ได้ประสานงานจนมีการท า teleconference ในครั้งนี้

๑๗๗

การแปลเอกสาร Infographic COVID-19 ภาษาไทยและการทดสอบความรู้ CME online

ส าหรับสมาชิกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

Collaborate with International organizations to leverage the global Health Care คือหนึ่งในภารกิจ

“แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในการร่วมพิชิตภัย COVID-19” แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จึงได้มีส่วนร่วมในการ

สนับสนุนองค์กรทางการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศในการรักษาระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพอนามัยของประชากรโลก

โดยการร่วมมือกับสมาชิกจากราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยและผู้จัดท า Infographic “Principles of

Airway Management in Suspected or Confirmed Cases of COVID-19” ที่มีการเผยแพร่ทั่วโลกโดย World

Federation of Societies of Anesthesiologists-WFSA ท าการแปลเอกสารให้เป็น Infographic ภาษาไทย โดยมี

การตรวจสอบค าแปลและความหมายให้สั้นกระชับและยังคงสื่อความหมายที่ถูกต้องเพื่อให้สามารถน าไปใช้ปฎิบัติงานได้

จริงเนื่องจากค าในภาษาอังกฤษเมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้วจะต้องใช้พื้นที่หลายบรรทัดมากขึ้น จึงเป็นเรื่องยากและซับซ้อน

ที่จะสื่อสารให้ทีมต่างประเทศซึ่งเป็นผู้ออกแบบและแก้ไขเพียงผู้เดียวให้เข้าใจความหมายที่ตรงกัน หลังจากการร่วมท างาน

เกือบตลอดเดือนเมษายน ๒๕๖๓ ต้องมีการแก้ไขหลายสิบครั้ง จึงได้รับผลงาน Infographic ภาษาไทยฉบับสมบูรณ์ และมี

การกล่าวถึงการแปลโดยแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ใน website WFSA: Acknowledgement for Thai translation

by the Medical Association of Thailand (MAT)

ทั้งนี้ เพราะในยุคที่โรค COVID-19 ระบาดและในรายที่ป่วยรุนแรง จะมีปอดอักเสบจนหลายรายต้องใส่ท่อช่วย

หายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจประคับประคองการหายใจของผู้ป่วยในผ่านพ้นภาวะ ARDS เพื่อเข้าสู่ระยะฟื้นตัวและค่อย

ๆ ฟื้นหายจากโรคปอดอักเสบและโรคติดเชื้อในที่สุด จึงได้เกิดความร่วมมือในการเขียนหลักการและแนวทางการจัดการ

ระบบทางเดินหายใจในรายที่ติดเชื้อ SARS-CoV-2 และเกิดปัญหาการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในภาวะ ARDS และการแก้ไข

พ.ต.นพ.ชาญฤทธิ์ ล้อทวีสวัสดิ์

รองเลขาธิการและฝ่ายปฎิคม

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

๑๗๘

Infographic หลักการจัดการทางเดินหายใจนี้สามารถปรับใช้ส าหรับการปฏิบัติงานของแพทย์สาขาต่างๆ

นอกจากวิสัญญีแพทย์ เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์เวชบ าบัดวิกฤต รวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ที่ร่วมปฏิบัติงาน

ในห้องผ่าตัด, ห้องฉุกเฉิน และห้องผู้ป่วยวิกฤต โดยปรับใช้หลักการเดียวกันในการท าหัตถการที่ก่อให้เกิดละอองฝอย ได้แก่

การใส่และถอดท่อหายใจ, การปฏิบัติการช่วยชีวิต CPR, การส่องกล้องหลอดลม, การดูดเสมหะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายแต่

ละสถาบัน รวมถึงทรัพยากร เครื่องมือ และศักยภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้น โดย Infographic ภาษาไทยนี้จะช่วยเพื่อเพิ่ม

ประสิทธิภาพและความปลอดภัยส าหรับทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสผู้ป่วยโดยตรงในการสื่อสารขั้นตอนการท างาน

๑๗๙

เป็นทีม เช่น ควรระบุบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน, ทบทวนสื่อสารวิธีปฏิบัติเพื่อลดความผิดพลาดขณะสวม PPE รวมถึงมีการ

สรุปผลการปฏิบัติงานเพื่อทบทวนประสิทธิภาพและความปลอดภัยในครั้งต่อไป

Infographic ภาษาไทยนี้ ได้ถูกน าไปใช้ประกอบในค าแนะน า Clear Communication Guidance on COVID19 for Anesthesiologists and Perioperative Care Providers ตามประกาศราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย

วันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๖๓ เรื่อง สรุปแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในการ

ระงับความรู้สึกผ่านทาง website ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยและแพทยสภา แพทย์ทุกสาขาที่สนใจ

สามารถเข้าร่วมการท าแบบทดสอบความรู้ WFSA-CME online ได้ตาม link ด้านล่าง หากผู้เข้าร่วมการท าแบบทดสอบ

ท าคะแนนได้มากกว่าร้อยละ ๘๐ จะได้รับใบประกาศนียบัตรจาก WFSA โดยศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์ แพทยสภา

ได้ด าเนินการคิดคะแนน CME ส าหรับแพทย์ที่เข้าร่วมการท าแบบทดสอบความรู้ให้แล้ว เพราะถือเป็นกิจกรรมทางวิชาการ

ที่ทันสมัยน าไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละโรงพยาบาลได้จริง

๑๗๙

๑๘๐

การให้ข่าวเกี่ยวกับ COVID-19 ตามสื่อโทรทัศน์ต่างๆ ของนายกแพทยสมาคม ฯ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

 นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

 รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม

ในระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๓ จนถึงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมีได้ไปให้

ข้อมูลบนพื้นฐานของวิชาการ ให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ให้ความรู้แก่แพทย์ ประชาชน ผ่านทางสื่อโทรทัศน์ต่าง ๆ

หลายช่องทาง เพื่อให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนก มีความรู้ใช้หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง ทราบวิธีการปฏิบัติตนในยุค

COVID-19 วิธีการกักตัว ๑๔ วันส าหรับคนไทยและคนต่างชาติที่กลับมาจากดินแดนที่โรค COVID-19 ระบาด เป็นต้น

ทั้งนี้ ได้ให้ข่าว หรือใช้วิธี phone-in หลายครั้งผ่านสื่อทีวีช่องต่าง ๆ เช่น TNN16, TharathTV, MCOT,

NationTV ช่อง22, TNN2, ThaiPBS, TV รัฐสภา, NBT, Amarin TV, TV5, TVone31 ขอขอบคุณทีวีและสื่อทุกช่องที่

ให้ใช้ภาพ

ตัวอย่าง การให้ข่าวทาง TNN-16 รายการ คนชนข่าว หลาย

ครั้ง เวลาประมาณ ๒๐:๓๐ ถึง ๒๑:๑๕ น.

หัวข่าว คนชนข่าว TNN16

ไทยติดเชื้อเพิ่ม ๖๐ เสี่ยงระบาดทั่วประเทศ?(๓๐). วันนี้

พูดคุยกับ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทย์สมาคม

แห่งประเทศไทยฯ และรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม

และคุณสุภาพ งามแยะ คนไทยในฝรั่งเศส. เกี่ยวกับเรื่อง

ประเทศไทยที่เชื้อโควิด-๑๙ ลามไป หลายจังหวัดแล้วแต่ใน

ขณะเดียวกัน ทั่วโลกเชื้อก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การพูดคุยจะเป็น

แบบไหน. ติดตามได้ในรายการคนชนข่าว คืนนี้ ๒๐:๓๐ น.

๑๘๔

วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๓ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ รอง

อธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม และอดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ให้สัมภาษณ์แผนรับมือ ผีน้อย

กลับไทย กัน “โควิด-๑๙” ระบาด ในรายการ ถามตรงๆ กับจอมขวัญ ออกอากาศทางไทยรัฐทีวี ช่อง ๓๒

๑๘๕

 เตรียมลงทะเบียนรับเงิน สู้โควิด-๑๙ พรุ่งนี้! (๓๖) .

 วันนี้พูดคุยกับ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และรองอธิการบดี

มหาวิทยาลัยสยาม และ ลวรณ แสงสนิท ผู้อ านวยการส านักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษก

กระทรวงการคลัง.

 พูดคุยเกี่ยวกับเรื่อง จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ ส่งผลกระทบให้หลายคนตกงาน มีมาตรการเปิดให้

ลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือ

พบกันในรายการ คนชนข่าว ๒๐:๓๐ น.

๑๘๖

? ตจว.เข้ม! งดออกนอกเคหะสถาน กทม.รอลุ้นมาตรการพรุ่งนี้ (๓๘) .

??วันนี้พูดคุยกับ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และรองอธิการบดี

มหาวิทยาลัยสยาม และ ดร.ชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อ านวยการธนาคารออมสิน.

??พบกันในรายการ คนชนข่าว วันนี้เวลา ๒๐:๒๐ น.

๑๘๗

? ติดเชื้อโควิด-๑๙ รายใหม่เหลือ ๕๑ \"เคอร์ฟิว\" ได้ผล? (๔๒).

?วันนี้พูดคุยกับ ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และรองอธิการบดี

มหาวิทยาลัยสยาม และ ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจ านงค์ ผอ. สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

?เกี่ยวกับเรื่อง ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ รายใหม่เพิ่ม ๕๑ ราย ผู้เสียชีวิตมีจ านวนเพิ่มขึ้น ๓ ราย แต่

สถานการณ์ยังไม่น่าวางใจ ยังคงเฝ้าระวังต่อไป.

?พบกันในรายการ คนชนข่าว

*วันนี้รายการเข้าเร็วนะคะ เวลา ๒๐:๒๐ น.

๑๘๘

ค่าตรวจ RT-PCR ส าหรับเชื้อ SARS-CoV-2 ในโรงพยาบาลเอกชนจะรวมทั้งชุด PPE ของแพทย์และพยาบาลด้วย

#รายการคมชัดลึก คืนนี้...ห้ามพลาด!!! วันพฤหัสบดี ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓

คลายล็อกเร็ว ผ่อนปรนมั่ว หายนะเกิดแน่

๑๙๐

สามารถติดตามรายการนี้ทั้งหมดได้ที่

//www.youtube.com/watch?v=nAlxo2jLrYs

ปิดประเทศต้องปิดตั้งแต่จ านวนผู้ติดเชื้อยังน้อยเพื่อป้องกัน ไม่ใช่ไปปิดตอนคนติดเชื้อเยอะแล้ว

๑๙๑

๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี อาจารย์แพทย์อายุรศาสตร์ นายกแพทยสมาคมฯ หนึ่งในคณะที่

ปรึกษารับมือโควิด-๑๙ ของรัฐบาล ให้สัมภาษณ์ในรายการ THE STANDARD Daily ระบุว่า ตาม

ความเห็นส่วนตัว สถานการณ์ประเทศไทยอยู่ในระยะที่ ๓ แล้ว เพราะมีผู้ป่วยหลายสิบรายต่อวัน และมี

การติดต่อกันเองภายในประเทศแล้ว ไม่ใช่เฉพาะติดมาจากต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ยืนยันว่าแนวทางที่ไทย

ด าเนินการอยู่เรามาถูกทางแน่นอน แต่ผู้คนของเราต้องมีวินัยที่จะอยู่ในบ้านตัวเอง พยายามเดินทางน้อย

ที่สุด ถ้าท าแบบนี้เราจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

ส่วนการปิดประเทศเป็นวิธีการหนึ่ง แต่ต้องดูว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด าเนินการไปในแนวทางเดียวกัน

หรือไม่?

๑๙๒

ถ้าท่านปิดประเทศไทยคือกักตัวคนที่ติดเชื้อของเราไม่ให้ออกไปข้างนออก รวมถึงป้องกันคนติดเชื้อจาก

ภายนอกไม่ให้เข้ามาในประเทศ แต่ถ้าทุกประเทศทั่วโลกไม่ท าพร้อมกัน ค าถามคือเราจะต้องปิดประเทศ

ไปถึงเมื่อไร เพราะเมื่อการระบาดของเราจบลง พอเราเปิดประเทศผู้ติดเชื้อก็จะกลับเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ส าคัญที่สุดเวลานี้ คือการควบคุมการแพร่เชื้อในประเทศของเราให้ได้ โดยการท า

Social Distancing ซึ่งก็คือ พื้นฐานของการปิดประเทศ

ส่วนการรองรับผู้ป่วยในบ้านเราท าได้มากแค่ไหน? กรณีสมมติมีผู้ป่วยติดเชื้อระดับ ๑,๐๐๐ คน จะรองรับ

ไหวหรือไม่นั้น? ศ.นพ.อมร ยืนยันว่าการรับผู้ป่วยโควิด-๑๙ เรามีการเตรียมการร่วมกันหมดทั้งภาครัฐ

และเอกชน สมมติมีผู้ติดเชื้อ ๑,๐๐๐ ราย จะมีประมาณร้อยละ ๘๐ ที่อาการไม่หนัก ส่วนที่อาการหนัก

จริงๆ จะแค่ ๒๐๐-๓๐๐ คน แต่ถ้าเราท า Social Distancing การแพร่เชื้อจะทยอยๆ เกิดขึ้นไม่พุ่งแบบ

ก้าวกระโดด ซึ่งจะท าให้เราสามารถรองรับได้

“อยากให้ประชาชนทุกคนช่วยกันอยู่ที่บ้านเพื่อหมอ และหมอจะอยู่โรงพยาบาลเพื่อคุณ” นพ.อมร กล่าว

ส่วนวันที่ ๑๕ มีนาคม เวลาบ่าย ไปให้ข้อมูลในนามของกรรมการแพทยสภาที่ อสมท. ทีวีช่อง ๙

๑๙๗

Interviewed by phone-in at 12:33 PM (2 minutes ago)

National, April 15, 2020

๑๙๘

Restrictions can be lifted, but very gradually, experts say

Experts suggest that restrictions can be eased in some areas, provided it is not done

all at once and everywhere.

Owing to the drop in new confirmed COVID-19 cases, an informed source said that

after Prime Minister Prayut Chan-o-cha chaired a meeting with the government’s Centre

for COVID-19Situation Administration (CCSA) on Monday (April 13), the authorities signalled

a chance of easing restrictions on businesses that have been forced to close. There were

only 28 new cases on that day. The governor of Nonthaburi province made the first move

in easing restrictions, but reversed his position soon after he was hit by criticism.

Also, on Tuesday, the number of cases rose to 34 and CCSA spokesman Dr.

Taweesin Visanuyothin warned that the country should not let its guard down. He said the

early easing of restrictions could lead to a spike in cases, citing Singapore and Japan, where

infections rose sharply after being flat for a while. A report on national security suggests

that restrictions should be lifted very gradually, adding that only some provinces or some

areas should reopen first. For instance, provincial governors may consider reopening

hairdressing and beauty salons first provided the number of customers is kept limited and

hand gel or steriliser is made available. Clients will also be required to wear face masks.

Dr Amorn Leelarasamee, president of the Medical Association of Thailand, said he

agrees that some restrictions should be lifted to support businesses, but it should be done

slowly, carefully and hand in hand with seven-day assessments of new cases. For instance,

if new cases are in single digits, then shops or businesses can be reopened provided no

more than 10 people are served at a time. He also said that social distancing should

continue being practised. Large department stores may have fewer risks, compared to

small air-conditioned shops, the doctor said. Also, entertainment venues that are usually

packed with customers, such as pubs and restaurants, should be the last to be reopened,

he suggested.

Amorn also said the number of customers allowed to enter shops should be increased

gradually, such as 10 initially, then 50 and then 100 based on the rate of new cases. He

also warned that there is a high chance of a spike in new cases once the flight ban ends

๑๙๙

on April 18. Therefore, it is necessary that all foreign or Thai arrivals be put under

quarantine for 14 days. In the future, foreign tourists wanting to visit Thailand will have to

apply a month ahead and must agree to a 14-day quarantine upon entering the country.

He said this move may help the private sector arrange quarantine sites for visitors.

วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๓ ให้สัมภาษณ์คุณ สุชาดา นิ่มนวล ประเด็นข่าวร้อน ททบ. ช่อง ๕ เรื่องการ

ควบคุมอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19

๒๐๐

รายการ คิดเพื่อชาติ: ตอน การเตรียมพร้อมหลังปลดล็อกพระราชก าหนดฉุกเฉิน

Ep.1 OA: 02/04/2563

ผู้ด าเนินรายการ: ?คุณชัยยันต์ เจริญโชคทวี

แขกรับเชิญ: ?ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ และอาจารย์แพทย์อายุรศาสตร์

? ติดตามรายการคิดเพื่อชาติ ทางสถานีโทรทัศน์ TNN 2 (True Visions 784)

ออกอากาศประจ าทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๒๐:๓๐ – ๒๑:๐๐ น. ออกอากาศ เป็น ๒ ตอน

 //youtu.be/JNIK8AT-hm4

 //youtu.be/8vmHMpweuzc

? ติดตามรายการคิดเพื่อชาติ ทางสถานีโทรทัศน์ TNN 2 (True Visions 784)

ออกอากาศประจ าทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา ๒๐:๓๐ – ๒๑:๐๐ น.

//youtu.be/8vmHMpweuzc

Preview YouTube video คิดเพื่อชาติ ตอน การเตรียมพร้อมหลังปลดล็อกพระราชก าหนดฉุกเฉิน

Ep.2 OA : 03/04/2563

๒๐๔

ออกรายการทีวี ช่อง ๙ อสมท. วันพุธที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เวลา ๒๒:๓๐ น. เป็นต้นไป

๒๐๕

คืนวันพฤหัสบดีที่ ๑๔ พฤษภาคม TV Nation สัมภาษณ์ว่า ตอนปลด lock down คนไทยท าอะไรบ้าง?

๒๐๖

วันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ให้สัมภาษณ์ Nation TV ช่อง ๒๒ จะคลายล็อคไปถึงผับบาร์หรือไม่?

๒๐๙

เอกสารโรค COVID-19 ที่เผยแพร่ข้ อมูล้ความรู ความเห็น้ให แพทย์และประชาชน

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

 นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

วาระ มกราคม ๒๕๖๓ ถึง มกราคม ๒๕๖๕

 รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม

ในเดือนมกราคม ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นเดือนแรกที่มีการระบาดของโรค COVID-19 เข้ามาที่ประเทศไทยและเริ่มมี

ข่าวว่า โรคนี้ก าลังแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ และน าเข้าประเทศเหล่านั้นโดยนักท่องเที่ยวหรือคนที่กลับมา

จากเมืองอ ่ฮ ั่น ประเทศจีน ขณะนั้นผมยังอย ่ในต าแหน่งที่ช ่วยงานของนายกแพทยสภาและเป นนายกแพทยสมาคม

ฯ ใหม่ๆ และยังเป็นผ ้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อท่านเดียวในบรรดากรรมการหลักขององค์กรแพทย์ระดับชาติทั้งสองแห ่ง

นี้ ก ร ้สึกว่า ต้องมาให้ความร ้และข้อม ลของโรคระบาดชนิดใหม่นี้แก่แพทย์และประชาชนแล้ว เนื่องจากโรคนี้เกิด

จาก เชื้อไวร ัส corona ชน ิดใหม่ที่กลายพ ันธุ ์มา(หร ือผสมรห ัสพ ันธ ุกรรมก ับเชื้อไวร ัสตัวอื่นมา)และย ังไม ่มียาต ้าน

ไวร ัส หรือวัคซีนที่ได้ผล ยังท าให้เกิดปอดอ ักเสบและบางรายถึงแก ่กรรมด้วย จึงเป็นข่าวที่ท าให ้คนไทยและ

ชาวต่างชาติ เริ่มตื่นต ัวหร ือถ ึงก ับตื่นตระหนกมากก ับข ่าวการระบาดของโรคนี้ผมจ ึงพยายามรวบรวมข ้อม ลและ

ว ิเคราะห ์ให้ ความเห นตลอดมา โดยส ่วนหนึ่งจ ัดท าเป นเอกสารฉบ ับยาวและเผยแพร ่ผ ่านทาง website ของ

แพทยสภา(หมอ ชวนร ้) แพทยสมาคมฯ คณะแพทยศาสตร์ ม.สยาม หรือสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยบ้าง

แต่เนื่องจาก ข้อม ลของการระบาด ลักษณะคลินิกของโรคและจุลชีววิทยาของเชื้อไวรัสตัวนี้เพ ิ่มพ นทุกนาท ีและม ี

ข้อม ลเผยแพร่ ออกมาจากสื่อหลายๆ แห ่ง ท าให ้ข้อม ลในบทความของผมเองล ้าสมัยเร วมาก(ในเวลาไม ่ถึงส ัปดาห์)

จ ึงต้องเขียน ปรับปรุงบทความแบบยาวๆ เป็นรายสัปดาห์จนถึง version 6 ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ จากนั้นก เลิก

เขียนเพราะยิ่งเขียนก ยิ่งมีหัวข้อและข้อม ลมาก บทความจะยาวขึ้น จนผ ้อ่านอาจจะไม่ได้สนใจในข้อม ลทุกด้าน จึง

เลิกเขียนบทความฉบับยาวไปและเขียนเป็นแบบ FAQ สั้นๆ ให้ตรงประเด นของความสนใจของผ ้อ่านหรือผ ้ที่ถาม

มา

บทความฉบับแรกที่เขียนแล้วเผยแพร่เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๓ แสดงถึงข้อม ล สมมติฐานของการระบาด

และข้อคิดเห นเท่าที่มีข้อม ลก่อนหน้านี้ ในบทความฉบับแรกนี้ยังไม่แน่ใจว่า การระบาดจะแพร่จาก“คนส ่คน”

โดยตรง นอกประเทศจีน ได้หรือไม่? ผ ้เขียนไม่ได้ปรับเนื้อหาความร ้ในบทความเหล่านี้เพื่อให้ผ ้ที่อ่านได้รับทราบ

ข้อม ล และความคิดเห นของผ ้เขียนในขณะนั้น บทความที่เขียนมาตั้งแต่ต้นและยืนยันว่าเมื่อพบข้อม ลใหม่ว่า มีการ

แพร่เชื้อจาก “คนสู่คน”ได้โดยตรงนอกประเทศจีน ประกอบกับการระบาดที่รวดเร วมากในเมืองอ ่ฮั่นที่เกิดจากเชื้อ

ไวรัสและก่อโรคในระบบทางเดินหายใจ จะต้องมีแพร่เชื้อแบบ airborne ผ่านทาง aerosol ด้วยเสมอ เหมือนการ

ระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่แพร่กระจายจากผ ้ติดเชื้อที่แทบไม่มีอาการหรืออย ่ในระยะฟักตัวของโรค ไม่ใช่ว่า “อยู่ห่าง

เกิน ๒ เมตร้แล วไม่ติดเชื้อ” ข้อความแบบนี้จะไม่เป็นความจริงเลยถ้าผ ้ติดเชื้ออย ่ในห้อง/สถานที่คับแคบ อากาศ

ไม่ถ่ายเทและมีผ ้อื่นอย ่ร่วมด้วยเป็นจ านวนมาก หรือมีการตะโกน ส่งเสียงเชียร์ ร้องเพลงดัง ๆ ร่วมไปด้วย

๒๑๐

ผ ้เขียนจึงได้รวบรวมเอกสารต่างๆ ที่ได้เผยแพร่ไว้ที่นี่ เพื่อแสดงให้สมาชิกได้ทราบว่า แพทยสมาคมฯ ได้

พยายามท าหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ข้อ ๖ ของการจัดตั้งสมาคมแล้วด้วย (เผยแพร่ความร ้เกี่ยวกับการแพทย์และ

สาธารณสุขแก่ประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถปฏิบัติตนให้ถ กต้องทั้งด้านการป้องกันและการรักษาโรค)

ในบทนี้จะมีเอกสารบางฉบับที่เขียนเผยแพร่ เรียงล าดับตามกาลเวลาเพื่อเผยแพร่ให้สมาชิกแพทยสมาคมฯ

แพทยสภาและองคกรอื่นๆ (ไม่รวมถึงนิตยสารที่ขอบทความมาด้วย) เรียงตามล าดับดังที่แสดงข้างล่างนี้ส่วนเนื้อหา

ในแต่ละบทความอาจจะไม่ทันสมัยตามความร ้และข้อม ลใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลัง แต่ผ ้เขียนไม่ได้แก้ไข ผ ้อ่านจะได้

มองเห นวิวัฒนาการของข้อม ลที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน

ล าดับของบทความมีดังนี้

๑. จากแพทยสภา ความร ้และการวิเคราะห ์เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า

๒. หมอชวนร ้(แพทยสภา) ความร ้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ ส าหรับแพทย์ (วันที่ ๒๙ มกราคม

๒๕๖๓)

๓. ความร ้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ส าหรับแพทย์ version 1 (ที่ website แพทยสมาคมฯ)

๔. ความร ้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ส าหรับแพทย์ version 2 (ที่ website แพทยสมาคมฯ)

๕. ความร ้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019-nCoV ส าหรับแพทย์ version 6 (แจกไปหลายแห่ง)

๖. เรื่องน่าร ้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2

๗. เมื่อท่านกลับจากประเทศที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่า มีการระบาดของโรค COVID-19 แล้ว และให้

ท่านกักกันตนเองไว้ที่บ้าน ท่านจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง?

๘. ร่างประกาศแพทยสภา เรื่อง การใส่หน้ากากอนาม ัยของประชาชนทั่วไปในที่สาธารณะ

๙. ร่างประกาศแพทยสภา เรื่อง การกักกันพื้นที่ของผ ้ที่มีอาการไอ ไข้เจ บคอ และผ ้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังที่อย ่ภายใต้

สังเกตอาการ (PUI)

๑๐.สัตว์ที่อาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อ SARS-CoV-2

๒๑๑

จากแพทยสภา ความร ้และการวิเคราะห์เรื่อง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

เชื้อก่อโรค้coronavirus

เชื้อไวรัสนี้มีชื่อเฉพาะว่า 2019-nCoV ในตระก ล lineage B, จีนัส betacoronavirus

เชื้อมีล าดับยีนมากกว่าร้อยละ ๘๕ ที่เหมือนกับยีโนมของเชื้อ SARS-like CoV ในค้างคาว (bat-SL-CoVZC45,

MG772933.1)

แหล่งแรกที่แพร่เชื้อและท าให เกิดการระบาด

ในระยะแรก ทุกคนก พุ่งไปที่ตลาดขายอาหารทะเลสดในเมือง Wuhan (seafood market, Wuhan) ประเทศจีน

ว่าเป็นแหล่งแรกที่เริ่มแพร่เชื้อ แต่ในบทความรายงานผ ้ป่วยในวารสาร Lancet ท าให้เกิดสมมติฐานเพิ่มเติมอีก รวมเป็น

สมมติฐานสามแบบที่ต้องหาหลักฐานมาพิส จน์ ดังนี้

๑. ในบทความกล่าวถึง ผ ้ป่วยรายแรกเกิดในวันที่ ๑ ธันวาคม แสดงว่า รายนี้เริ่มติดเชื้อในปลายเดือนพฤศจิกายนและ

ในเวลานั้น รายนี้ไม่ได้มาที่เมือง Wuhan (แสดงว่า การติดเชื้อมีมาแบบเงียบ ๆ ในสถานที่อื่นก่อนจะมีการระบาด

ครั้งนี้ แต่ไม่ได้ชันส ตรเชื้อก่อโรคให้ชัดเจน และในรายงานฉบับนี้พบว่า ผ ้ป่วยอีก ๑๓ รายจาก ๔๑ รายก ไม่ได้มาที่

เมือง Wuhan ด้วย) สรุปว่า โรคนี้น่าจะมีมาก่อนแล้วในเมืองจีน แล้วมาแพร่เชื้อและชันส ตรเชื้อได้ในผ ้ป่วยที่มาซื้อ

ของหรือเข้ามาที่ตลาดขายอาหารทะเลสดที่เมือง Wuhanและท าให้เกิดการระบาด ท าให้ผ ้ป่วยส่วนใหญ่แสดง

อาการออกมาในวันที่ ๘ ธันวาคม แม้ว่าทางการจีนยอมรับว่า เชื้ออาจจะแพร่จากผ ้ป่วยไปยังคนข้างเคียงได้(คนส ่

คน) แต่หลักฐานเชิงระบาดวิทยาแสดงว่า การระบาดจาก“คนส ่คน”ยังเป็นไปได้น้อยมาก ขณะนี้มีการรายงาน

ผ ้ป่วยชายเวียตนามอายุ ๖๕ ปีติดเชื้อ 2019-nCoV เมื่อไปเมืองจีน แต่ไม่ได้ไปที่ตลาดสด Wuhan แล้วกลับมา

ป่วยในประเทศเวียตนามในวันที่ ๑๗ มกราคม ภรรยาที่ไปด้วยไม่ป่วยไม่ติดเชื้อ แต่ล กชายอายุ ๒๗ ปีที่อย ่ใน

เวียตนาม มารับพ่อที่สนามบินและนอนอย ่กับพ่อตั้งแต่วันที่ ๑๗ มกราคม แล้วมีไข้และไอในวันที่ ๒๐ มกราคม

ตรวจพบเชื้อ 2019-nCov ด้วย แสดงว่าล กชายอย ่ใกล้ชิดกับพ่อ ติดจากพ่อ และรายนี้มีระยะฟักตัวของโรคเท่ากับ

๓ วัน

๒. มีกลุ่มสัตว์ปีกรวมถึงค้างคาวที่มีเชื้อ 2019-nCoV ในล าคอและอุจจาระ แล้วถ กน ามารวมกันและขายในตลาดสด

แห่งนี้ สัตว์เหล่านี้ไม่ได้ป่วยแต่เป็นรังแพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะขณะที่มีการร้องของสัตว์ปีกหรือการถ่ายม ลอุจจาระ

ที่มีเชื้อโรคออกมาเป็นละอองฝอย ท าให้คนที่เดินผ่านเข้าไปรับเชื้อเข้าส ่หลอดลมและปอด

๓. มีสัตว์ปีก ๑ ตัว (เช่น ค้างคาวปล่อยม ลนก) ที่บินมาแพร่เชื้อ 2019-nCoV กลางอากาศในตลาดสดแห่งนี้แล้วแพร่

เชื้อเป็นละอองฝอยต่อไปส ่สัตว์ปีกและผ ้ป่วยจ านวนมากในท้องที่นี้

สถานการณ์ของโรค้รายงาน้ณ้วันที่้๒๙้มกราคม้๒๕๖๓

ทั่วโลก มีผ ้ป่วย ๖,๐๓๐ รายที่ตรวจพบเชื้อแล้ว และยังคงมีจ านวนเพิ่มขึ้นอีก

๒๑๒

ในประเทศจีน้มีรายป่วยมี ๕,๙๗๔ รายที่ตรวจพบเชื้อแล้ว ผ ้ที่มีอาการและสงสัยว่า จะติดเชื้ออีกจ านวน ๖,๙๗๓ ราย มี

อาการรุนแรง ๙๗๖ ราย และถึงแก่กรรม ๑๓๒ ราย (ร้อยละ ๒.๒) ผ ้ป่วยที่ถึงแก่กรรมโดยมากเป็นผ ้ส งอายุและมีโรคอื่นใน

กลุ่ม NCD ร่วมด้วย

นอกประเทศจีน้พบผ ้ป่วย ๕๖ รายที่ตรวจพบเชื้อแล้วและอย ่ใน ๑๔ ประเทศ

ขอบคุณร ปภาพจากองค์การอนามัยโลก

ประเทศไทย

ตรวจพบรายแรกที่สนามบินสุวรรณภ มิโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีนายแพทย์โรม บัวทอง ส าน ักระบาด

วิทยา กรมควบคุมโรค เป็นหัวหน้าทีมเฝ้าระวัง และได้ส่งตัวอย่างไปตรวจที่ศ นย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ที่

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อก พบว่า เป็นเชื้อ 2019-nCoV โดย ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี

จนถึงวันที่ ๒๙ มกราคม มีผ ้ป่วยทั้งหมด ๑๔ รายที่ตรวจพบเชื้อชนิดนี้ เป็นคนไทย ๑ ราย ที่เหลือเป็นคนจีน ยังไม่

มีรายใดถึงแก่กรรม มีรายที่หายดีและบินกลับเมืองจีนแล้ว ๕ ราย (ในวันที่ ๒๘ มกราคม นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย

ประกาศผ ้ป่วยใหม่อีก ๖ รายเป็นชาวจีนที่เดินทางมายังประเทศไทย โดยใน ๕ รายนั้นเป็นครอบครัวเดียวกันที่เดินทางมา

เที่ยว คือ พ่อแม่ล กหลาน ซึ่งเดินทางมาจากมณฑลห เป่ย ประเทศจีน

ยังไม่ม ีแพทย์บุคลากรทางการแพทย์หร ือผ ้ติดเชื้อ“คนส ่คน”จากการแพร ่กระจายในประเทศไทย

๒๑๓

ทั้งนี้ มีข้อม ลว่า การตรวจคัดกรองที่สนามบินพบ มีผ ้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด ๘๔ ราย คัดกรอง

จากสนามบิน ๒๔ ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง ๖๐ ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว ๔๕ ราย ส่วนใหญ่ติดเชื้อ

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤด กาล และยังคงรับไว้ในห้องแยกโรค จ านวน ๓๙ ราย เพื่อรอการยืนยันการติดเชื้อชนิดนี้

ลักษณะคลินิกของโรค

๑. ผ ้ป่วยมีประวัติเดินทางมาจากเมืองจีนโดยเฉพาะเมืองอ ่ฮั่นและเมืองในแถบตะวันออกของประเทศจีน หรืออย ่ใกล้ชิด

กับผ ้ป่วยจีนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย และป่วยภายใน ๑๔ วันหลังจากออกมาจากเมืองจีนหรือสัมผัสรายป่วย

นั้นแล้ว

๒. มีไข้ ไอ มีเสมหะ เสมหะอาจจะมีเลือดติดเป็นเส้น หายใจเหนื่อย ปวดเมื่อยตามตัว (อาจจะเป็นโรคติดเชื้อไวรัสไข้หวัด

ใหญ่ก ได้และมีอาการเหมือนกัน)

ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของรายที่ป่วยเป็นปอดอักเสบรุนแรงจาก 2019-nCoV ขอบคุณร ปภาพจาก NEJM January 24, 2020

DOI:10.1056/NEJMoa2001017

อัตราการตายต่อรายป่วย้เชื้อกลุ่มนี้มี

อัตราการตายของผ ้ป่วย (case fatality

rate) ดังนี้

 ผ ้ป่วยโรคติดเชื้อ SARS-CoV

ตายร้อยละ ๙.๕

 ผ ้ป่วยโรคติดเชื้อ MERS-CoV

ตายร้อยละ ๓๔.๔

 ผู ป่วยโรคติดเชื้อ้2019-nCoV ในประเทศจีนตายร้อยละ ๒.๒ (ข้อม ลประเทศจีน วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๓)

การรักษาโรคนี้

ให้ผ ้ป่วยอย ่ในห้องแยก มีความดันในห้องเป็นลบ ผ ้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย ให้การรักษาแบบประคับประคอง ให้

ออกซิเจน เป็นต้น ผ ้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที และห้ามผ ้ป่วยเดินทางไปท างานโดย

เด ดขาด โรงพยาบาลต้องมีการก าจัดเชื้อไวรัสในพื้นที่และสถานที่โดยรอบที่ตรวจพบเชื้อ แพทย์ต้องรายงานผลการตรวจ

ผ ้ป่วยทุกรายที่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ สสจ. ในแต่ละจังหวัดด้วย

การป้องกันการติดเชื้อส าหรับคนไทย

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019-nCoV คือ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังเมืองจีนในแถบ

ตะวันออกรวมถึงเมืองต้นตอคือ เมืองอ ่ฮั่น มณฑลห เป่ย ซึ่งตอนนี้ประเทศจีนประกาศปิดการเข้า-ออกเมืองไปแล้วหลาย

เมือง

๒๑๔

ส าหรับบุคคลทั่วไป ให้หลีกเลี่ยงการอย ่ในสถานที่แออัด ควรสวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกไปในที่ชุมชน ให้อย ่ห่าง

จากผ ้ที่ไอ จาม หรือให้อย ่ต้นลมเมื่อเข้าใกล้ผ ้ที่ต้องสงสัย หมั่นล้างมือด้วยสบ ่หรือใช้แอลกอฮอลเจลล้างมือ ไม่น ามือมา

สัมผัสเยื่อบุตา จม ก ปาก สามารถติดตามสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ได้ที่

website ขององค์การอนามัยโลก

หากใครกลับมาจากประเทศจีนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วมีไข้ ไอ มีเสมหะ หายใจเหนื่อยหอบ ให้ไปพบ

แพทย์ที่โรงพยาบาลทันทีพร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางด้วย

ส่วนผ ้ที่ร ้สึกตัวว่า มีไข้ ไม่สบายหรือร ้สึกป่วย ยิ่งต้องสวมหน้ากากอนามัยไว้ก่อนและพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

เวลาไอหรือจามให้ใช้กระดาษทิชช ่หรือแขนเสื้อป ้องกันการกระเด นของน้ าลายและเสมหะ หากเพ ิ่งกลับมาจากเมืองจ ีนหรือ

สัมผัสใกล้ชิดกับผ ้ป่วยปอดบวม ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลศ นย์ กรมควบคุมโรค หรือ โรงพยาบาลบ าราศนราด ร และ

ติดตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องแนวทางการประสานงานเมื่อพบผ ้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน Novel

coronavirus 2019

ยาต านไวรัสที่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลอง

ยังไม่มียาขนานใดที่ผ่านการรับรองให้ใช้เป็นยามาตรฐานในการรักษาโรคนี้ มีแต่ยาต้านไวรัสที่อย ่ระหว่างการทดลอง ทั้ง

ในสัตว์และผ ้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ได้แก่

๑. ยา lopinavir และ ritonavir (ในเมืองจีนใช้ยา Aluvia® เป็นยาสองขนานร่วมกัน) เพื่อยับยั้งการผลิตโปรตีนให้

เชื้อชนิดนี้ขณะที่เชื้อก าลังอย ่ในเซลล์มนุษย์ เพราะเคยใช้ได้ผลบ้างกับเชื้อไวรัส SARS-CoV มาแล้ว (มีการให้ยา

ribavirin ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจ านวนเชื้อไวรัสร่วมด้วย) แต่เป็นการศึกษาที่ไม่ใช่ randomized control trial

(RCT) เมื่อกินยาและยาเข้าไปในกระแสเลือด ยาค ่นี้รวมตัวกับโปรตีนในเลือดส งมากถึงร้อยละ ๙๕ ขึ้นไป จึงเหลือ

ตัวยาอิสระเพียงเล กน้อยที่จะไปออกฤทธิ์ บังเอิญเชื้อ HIV ไวต่อยากลุ่มนี้มากๆ จึงใช้ได้ผลดี แต่เชื้อ

coronaviruses ไม่ค่อยไวต่อยาค ่นี้ จึงอาจจะใช้ไม่ได้ผลดีกับโรคติดเชื้อ 2019-nCoV ขณะนี้ ก าลังศึกษา

ประสิทธิผลของยา Aluvia แบบ RCT ที่ประเทศจีนอย ่ น่าจะทราบผลการรักษาเบื้องต้นภายใน ๖ เดือนข้างหน้า

๒. ยากลุ่ม interferon beta-1b ส าหรับพ่นเข้าไปยับยั้งเชื้อไวรัสในหลอดลม ระบบทางเดินหายใจ

๓. ยา remdesivir ผลิตโดยบริษัท Gilead และออกฤทธิ์ต้านการท างานของเอนซัยม์ polymerase ของเชื้อไวรัส

๔. โมโนโคลนอล แอนติบอดี(monoclonal antibodies) ผลิตโดยบริษัท Regeneron Pharmaceuticals

๕. ใช้ยาในข้อ ๓. ร่วมกับข้อ ๔. คือ remdesivir + monoclonal antibodies ของเชื้อชนิดนี้

หลักการรักษาคือ ต้องให้ยาต้านไวรัสตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ แต่ผ ้ป่วยมักจะมาหาแพทย์เมื่อป่วยเป็นปอดบวมเต มขั้นหรืออย ่

ในระยะท้ายของโรค ท าให้ผลการรักษาไม่ดี การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสลงปอด ต้องใช้วิธีการรักษาแบบไข้หวัดใหญ่ คือ ให้ยา

เร วตั้งแต่ระยะแรกของโรคที่ยังไม่เป็นปอดบวม หรือยังไม่เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อเนื้อปอด เพื่อให้การรักษาด้วยยาต้าน

ไวรัสได้ผลดีที่สุด ดังนั้น จึงต้องมี rapid test หรือการทดสอบด้านการวินิจฉัยเชื้อก่อโรคให้ทราบผลโดยเร วที่สุดในผ ้ป่วยที่

เริ่มมีไข้ ไอ ในวันแรกที่ป่วยด้วย

วัคซีน

๒๑๕

สามารถผลิตได้ในระยะเวลา ๖ ถึง ๑๒ เดือนข้างหน้า แต ่มีปัญหาด้านการลงทุนว่า ถ้าไม่มีการระบาดของโรคหรือ

มี การติดเชื้ออีก การลงทุนท าวัคซีนจนผ่านการศึกษาทดลองและรับรองให้ใช้ได้ในมนุษย์อาจจะไม่คุ้มค่ากับการ

ลงทุนผลิตวัคซีน

เชื้อก่อโรค coronavirus สายพันธุ์ใหม่

เชื้อไวรัสนี้มีชื่อเฉพาะว่า 2019-nCoV ในสมาชิก

ล าดับที่ 7 ในตระกูล coronaviruses lineage B, จีนัส

betacoronavirus, เชื้อมีล าดับยีนมากกว่าร้อยละ 85

ที่เหมือนกับยีโนมของเชื้อ SARS-like CoV ในค้างคาว

(bat-SL-CoVZC45, MG772933.1) การก่อ โรคใน

มนุษย์จากเชื้อโรคในค้างคาวถือว่า เป็น zoonotic

disease ด้วย

แหล่งแรกที่แพร่เชื้อและท าให้เกิดการระบาด

ในร ะย ะแรก ทุกคนก็พุ่ ง ไปที่ตลาดขายอาหารท ะเลสดในเมือง Wuhan

(seafood market, Wuhan) ปร ะเทศจีนว่าเป็นแหล่งแรกที่เริ่มแพร่เชื้อ แต่ใน

บทความรายงานผู้ป่วยในวารสาร Lancet ท าให้เกิดสมมติฐานเพิ่มเติมอีก รวมเป็น

สมมติฐานสี่แบบที่ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ ดังนี้

1. ในบทความกล่าวถึง ผู้ป่วยรายแรกในวันที่ 1 ธันวาคม แสดงว่า รายนี้

เริ่มติดเชื้อในปลายเดือนพฤศจิกายนและในเวลานั้นไม่ได้มาที่เมืองอู่ฮั่น (Wuhan)

(แสดงว่า การติดเชื้อมีมาแบบเงียบ ๆ ในสถานที่อื่นก่อนจะมีการระบาดครั้งนี้ แต่ไม่

สามารถชันสูตรเชื้อก่อโรคได้ชัดเจน และในบทความฉบับนี้รายงานว่า มีผู้ป่วยอีก 13

รายจาก 41 ราย ที่ไม่ได้มาที่เมืองอู่ฮั่นด้วย) สรุปว่า โรคนี้น่าจะมีมาก่อนแล้วในเมือง

ความรู้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า

สายพันธุ์ใหม่ ส าหรับแพทย์

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

อดีตประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

อดีตนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย

๒๑๖

จีน แล้วมาแพร่เชื้อและชันสูตรเชื้อได้ในผู้ป่วยที่มาซื้อสินค้าหรือเข้ามาที่ตลาดขาย

อาหารทะเลสดที่เมืองอู่ฮั่นและท าให้เกิดการระบาดของโรค zoonosis ท าให้ผู้ป่วยส่วน

ใหญ่แสดงอาการออกมาในวันที่ 8 ธันวาคม แม้ว่า ทางการจีนยอมรับว่า เชื้ออาจจะ

แพร่จากผู้ป่วยไปยังคนข้างเคียงได้(คนสู่คน) แต่หลักฐานเชิงระบาดวิทยาแสดงว่า

การระบาดจาก“คนสู่คน”ยังเป็นไปได้น้อยมาก ขณะนี้มีการรายงานผู้ป่วยชายชาว

เวียดนามอายุ 65 ปีติดเชื้อ 2019-nCoV เมื่อไปเมืองจีน แต่ไม่ได้ไปที่ตลาดสด เมือง

อู่ฮั่น แล้วกลับมาป่วยในประเทศเวียดนามในวันที่17 มกราคม ภรรยาที่ไปด้วยไม่ป่วย

ไม่ติดเชื้อ แต่ลูกชายอายุ 27 ปีที่อยู่ในเวียดนาม มารับพ่ อที่สนามบินและนอนอยู่กับ

พ่อตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม ต่อมามีไข้และไอในวันที่ 20 มกราคม ตรวจพบเชื้อ 2019-

nCoV ด้วย แสดงว่าลูกชายอยู่ใกล้ชิดกับพ่อ ติดจากพ่อ และรายนี้มีระยะฟักตัวของ

โรคเท่ากับ 3 วัน

2. มีกลุ่มสัตว์ปีกรวมถึงค้างคาวที่มีเชื้อ 2019-nCoV ล าคอและอุจจาระ

แล้วถูกน ามารวมกันในกรงและขายในตลาดสดแห่งนี้ สัตว์เหล่านี้ไม่ได้ป่วยแต่เป็นรัง

แพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะขณะที่มีการร้องของสัตว์ปีกหรือการถ่ายมูลอุจจาระที่มีเชื้อโรค

ออกมาเป็นละอองฝอย มักจะเกิดขึ้นตอนที่จะเชือดคอสัตว์ปีกให้ตายต่อหน้าลูกค้าที่มา

ซื้อ ท าให้คนที่เดินผ่านหรือลูกค้าที่มาซื้อสัตว์ เข้าไปรับเชื้อที่กระจายเป็นละอองฝอยเข้า

สู่หลอดลมและปอด

3. มีสัตว์ปีก 1 ชนิดหรือ 1 ตัว เช่น ค้างคาว 1 ตัวหรือกลุ่มค้างคาวที่มีเชื้อ

และบินอยู่ในอากาศ ปล่อยมูลนกกลางอากาศให้กลายเป็นละอองฝอย แล้วบินผ่านมา

แพร่เชื้อ 2019-nCoV กลางอากาศในตลาดสดแห่งนี้ เป็นละอองฝอยต่อไปสู่สัตว์ปีก

และผู้คนจ านวนมากที่เดินผ่านมาในตลาดสดหรือในพื้นที่นี้

4. มีคลิป (ดูรูปข้างล่าง 2 ภาพ) ที่ส่งต่อมาแจ้งว่า มีค้างคาวจ านวนมาก

อาศัยอยู่ใต้หลังคาบ้านในหมู่บ้านอู่ฮั่น ถ้ามีค้างคาวมากแบบนี้จริงใต้กระเบื้องบุหลังคา

และติดเชื้อ 2019-nCoV ค้างคาวเหล่านี้อาจจะเป็นรังโรคและปล่อยมูลนกและสิ่งคัด

หลั่งทางลมหายใจออกมาใต้หลังคาบ้านที่อยู่ในตลาดสดแห่งนี้หรือในพื้นที่บริเวณนี้

แล้วแพร่เชื้อเป็นละอองฝอยสู่ผู้คนที่อาศัยในบ้านหรือพื้นที่ใกล้เคียง จนท าให้มีผู้สูดดม

อากาศที่มีเชื้อปนเปื้อนและป่วยเป็นจ านวนมากจากพื้นที่แห่งนี้ ผู้ป่วยบางรายจึงอาจจะ

๒๑๗

ไม่ได้ไปที่ตลาดสดอู่ฮั่น แต่อยู่ในมณฑลหูเป่ย และสูดอากาศที่มีละอองฝอยที่ปนเปื้อน

เชื้อ 2019-nCoV ท าให้มีการายงานผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลจากตลาดขายอาหารทะเลสด

ได้ หรือผู้ป่วยไม่เคยมาที่ตลาดแห่งนี้ หากค้างคาวติดเชื้อกลุ่มนี้ไปอยู่ที่มณฑลอื่นของ

ประเทศจีน ก็จะแพร่เชื้อในอากาศให้แก่ประชาชนในมณฑลอื่นได้ ซึ่งจะท าให้มีการระบาด

ของโรคเร็วกว่าวิธีระบาดแบบ “คนสู่คน”

ข้อมูลที่จะแสดงให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สมมติฐานข้อใดน่าจะถูกต้องที่สุด คือ ต้อง

ไปเก็บตัวอย่างอากาศในพื้นที่ ในบ้าน และจากมูลสัตว์และสิ่งคัดหลั่งเช่น น ้าลายของ

สัตว์ปีกเหล่านี้ในอู่ฮั่น รวมทั้งค้างคาวที่อาศัยตามหลังคาบ้าน แล้วน ามาตรวจเพาะเชือ้

ว่า มีเชื้อ 2019-nCoV ในตัวอย่างเหล่านี้หรือไม่? แล้วตรวจล าดับรหัสพันธุกรรมอีก

ครั้งเพื่อยืนยันว่า เป็นเชื้อชนิดเดียวกันจริงไหมกับที่พบในผู้ป่วย?

สถานการณ์ของโรค รายงาน ณ วันที่ 29 มกราคม 2563

ทั่วโลก มีผู้ป่วยจ านวน 6,030 รายที่ตรวจพบเชื้อแล้ว และยังคงมีจ านวน

เพิ่มขึ้นอีกทุกวัน

ในประเทศจีน มีรายป่วย 5,974 รายที่ตรวจพบเชื้อแล้ว ผู้ที่มีอาการและสงสัย

ว่าจะติดเชื้ออีกยังมีอีก 6,973 ราย ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง 976 รายและถึงแก่กรรม

132 ราย (อัตราตายร้อยละ 2.2) ผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมโดยมากเป็นผู้สูงอายุและมีโรคอืน่

ในกลุ่ม NCD ร่วมด้วย

นอกประเทศจีน พบผู้ป่วย 56 รายที่ตรวจพบเชื้อแล้วและอยู่ใน 14 ประเทศ

๒๑๘

ประเทศไทย

ตรวจพบรายแรกที่สนามบินสุวรรณภูมิ

โดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีนายแพทย์

โรม บัวทอง ส านักระบาดวิทยา กรมควบคุม

โรค เป็นหัวหน้าทีมเฝ้าระวัง และได้ส่งตัวอย่าง

ไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติ

ใหม่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย เมื่อ

ถอดรหัสพั นธุกรรมของเชื้อก็พบว่า เป็นเชื้อ

2019-nCoV โดย ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี ท าให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกนอก

ประเทศจีนที่ตรวจพบเชื้อไวรัส 2019-nCoV ได้ก่อนประเทศอื่น และมีความส าคัญ

อย่างยิ่งในการแสดงข้อมูลทางระบาดวิทยาและการควบคุมโรคนี้

จนถึงวันที่ 29 มกร าคม มีผู้ป่วย

ทั้งหมด 14 รายที่ตรวจพบเชื้อชนิดนี้ เป็นคนไทย 1

ราย ที่เหลือเป็นคนจีน ยังไม่มีรายใดถึงแก่กรรม มี

รายที่หายดีและบินกลับเมืองจีนแล้ว 5 ราย (ในวันที่

28 มกราคม นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ประกาศ

ว่า มีผู้ป่วยรายใหม่อีก 6 รายเป็นชาวจีนที่เดินทาง

มายังประเทศไทย โดยใน 5 รายนั้นเป็นครอบครัว

เดียวกันที่เดินทางมาเที่ยว คือ เป็นพ่ อแม่ลูกหลาน

กันและเดินทางมาจากมณฑลหูเป่ย ประเทศจีน

ยังไม่มีแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ติดเชื้อ “คนสู่คน”จากการ

แพร่กระจายในประเทศไทย

นอกจากนี้ อยากจะแสดงข้อมูลว่า การตรวจคัดกรองที่สนามบินพบ มีผู้ป่วย

เข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 84 ราย คัดกรองจากสนามบิน 24 ราย มารับ

การรักษาที่โรงพยาบาลเอง 60 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 45 ราย ส่วนใหญ่

ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และยังคงรับไว้ในห้องแยกโรค จ านวน 39 ราย

เพื่อรอการยืนยันการติดเชื้อชนิดนี้

๒๑๙

วิธีการติดต่อของเชื้อไวรัส 2019-nCoV ที่ก่อโรค

การระบาดในกลุ่มชนจ านวนมากและป่วยเป็นโรคปอดอักเสบในบางราย พร้อม

ๆ กันในเมืองอู่ฮั่นหรือเมืองจีน แสดงว่า วิธีการแพร่เชื้อจะเป็นวิธีผ่านทางการสูดดม

ละอองฝอยในอากาศที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่ แหล่งที่แพร่เชื้อน่าจะเป็นตามสมมติฐานใน

ข้อที่สองถึงสี่มากที่สุด (โดยเฉพาะสมมติฐานข้อ 4) เพราะการกินสัตว์ปีกหรือค้าวค้าง

(หรืองู)เป็นการติดเชื้อจากการสัมผัส ซึ่งจะแพร่เชื้อได้ช้ากว่ามาก ไม่รวดเร็วแบบที่พบ

ในครั้งนี้ และเชื้อไวรัสอาจจะตายไปแล้วในขณะปรุงอาหารด้วยความร้อน จากการที่มี

ผู้ป่วยบางรายกลับไปยังประเทศของตนห่างไกลจากประเทศจีน แล้วยังไม่พบชัดเจน

ว่า มีผู้ที่อยู่ใกล้เคียงผู้ป่วย เช่น ภรรยา สามี ลูกหลานในบ้านเดียวกัน เพื่อนในสถานที่

ท างานเดียวกันกับผู้ป่วย หรือผู้โดยสารในเครื่องบินหรือรถโดยสารด้วยกัน ป่วย

หลายรายพร้อม ๆ กันเป็นวงกว้าง ก็จะสนับสนุนว่า การแพร่เชื้อจาก “คนสู่คน” ยังมี

โอกาสน้อยมากและไม่สามารถแพร่เชื้อได้รวดเร็วแบบที่เห็นในเมืองจีนในครั้งนี้ ดังนั้น

การหลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ระบาด เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะอากาศในพื้นที่เป็น

มลพิษไปแล้ว จนกว่าสัตว์ที่เป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรค เช่น ค้างคาว ได้ถูกก าจัด

ไป หรือถูกเลี้ยงดูในระบบปิดที่ไม่ให้อากาศถ่ายเทง่ายจากภายในกรงสู่อากาศภายนอก

๒๒๐

ความรุนแรงของ โรคยังขึ้นอยู่กับ

จ านวนเชื้อที่เข้าไปถึงเนื้อเยื่อปอดที่ยอมให้

เชื้อเข้าไปในเซลล์ได้ (receptor ที่ผิวเซลล์

มนุษย์และตัวจับ receptor ที่ผิวเซลล์ของ

เชื้อไวรัส ต้องตรงกันด้วย) และความลึก

ของเชื้อที่เข้าไปในปอด ละอองฝอยที่มีขนาด

เล็กกว่า 2.5 ไมครอนและมีเชื้อไวรัสปะปนอยู่

ส า ม า ร ถ ล่ อ ง ล อ ย ผ่ า น รู จ มู ก ค อ ห อ ย

หลอดลม ลึกจนไปถึงเนื้อปอดได้ (ในความ

เป็นจริง ละอองฝอยมักจะลอยชนมูกตามขน

จมูก มูกที่เคลือบเนื้อเยื่อบุคอหอย ท าให้เชื้อติดอยู่ที่ทางเดินหายใจส่วนบนและยังไม่

สามารถท าให้เกิดปอดอักเสบได้ทันที ต้องค่อย ๆ แบ่งตัวและลอยเข้าไปในเนื้อปอดใน

ระยะต่อไป) และยังขึ้นกับจ านวนเชื้อที่สามารถหลุดลอยเข้าไปถึงเนื้อปอดพร้อม ๆ กัน

สมมติว่า มีเชื้อล่องลอยหลุดไปถึงเนื้อปอดพร้อมกันหลายหมื่นหลายแสนตัว ก็จะท าให้

ปอดอักเสบพร้อม ๆ กันหลายที่จนเนื้อปอดท าหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่เพียงพอ

จนเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน ขณะเดียวกัน ภูมิต้านทานของผู้ป่วยยังไม่

สามารถสร้างภูมิต้านทานมาต่อสู้ท าลายเชื้อได้ทัน

กาลด้วยเพราะเม็ดเลือดขาวเพิ่งพบกับเชื้อไวรัส

เป็นครั้งแรก ผู้ป่วยจึงอาจจะเสียชีวิตได้ ข้อมูล

ของผู้เสียชีวิตจากโรคนี้พบว่า ส่วนมากเป็นผู้ป่วย

สูงอายู (เลยสร้างภูมิต้านทานช้าจนมาสู้เชื้อไม่ทัน)

และเป็นผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรังอยู่แล้ว ท าให้ปอด

อักเสบที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อรุนแรงและรวดเร็ว

ท าให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน ส่วนผู้ที่

มีปอดแข็งแรง ก็สามารถทนต่อการก่อโรคของเชื้อ

ที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนถึงเวลาที่ภูมิต้านทานของผู้ป่วยเกิดมามากพอจนต่อสู้ท าลายเชื้อ

ก่อโรคได้ทันก่อนที่เนื้อปอดจะเสียหายมากจนแก้ไขไม่ทัน ผู้ป่วยที่แข็งแรงกว่าจึงป่วย

และฟื้นตัวได้ทันจากภูมิต้านทานของตนเอง

๒๒๑

ดังนั้น การที่เจ็บป่วยเป็นปอด

อักเสบรุนแรงจนถึงแก่กรรม จึงขึ้นอยู่

กับความเล็กและความง่ายของละออง

ฝอยที่จะผ่านไปถึงเนื้อปอด ยิ่งเข้าถึงได้

ง่ายก็จะก่อโรคได้มากและรวดเร็ว จ านวน

เชื้อที่เข้าไปถึงเนื้อปอดพร้อม ๆ กันใน

เวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน หากมี

จ านวนมากและเข้าถึงพร้อมกัน ระยะฟัก

ตัวของโรคสั้น เช่น 2 ถึง 4 วัน จะท าให้

ป่วยเป็นปอดอักเสบได้มากและรุนแรง

มากจนร่างกายสร้างภูมิต้านทานไม่ทัน ผู้ที่สวมหน้ากากอนามัยจะป้องกันหรือลด

จ านวนเชื้อที่จะเข้าปอดได้ ผู้ที่มีเนื้อปอดปกติ ไม่มีโรคปอดเรื้อรัง จะทนโรคติดเชื้อได้

นานกว่า ผู้ที่นอนพั กผ่อน จะไม่ช่วยให้เชื้อลอยลึกเข้าไปในปอดได้เร็ว ในทางกลับกัน

ส่วนผู้ที่อ้วนมาก หรือผู้ที่วิ่งออกก าลังกายในระยะที่เริ่มป่วยและหายใจในอากาศที่มีเชื้อ

ในคอหอยหรือในอากาศโดยรอบขณะออกก าลังกาย จะหายใจลึก ๆ หรือหอบจากการ

ออกก าลังกาย และท าให้เชื้อเข้าไปในปอดได้เร็วและมีจ านวนได้มากกว่าคนที่พั กผ่อน

ท าให้ผู้ป่วยที่ยังออกก าลังกาย เกิดความเจ็บป่วยได้รุนแรงในเวลาอันสั้น

การเจ็บป่วยและความรุนแรงของโรคจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้น

พร้อม ๆ กัน และไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่มีเชื้อเข้าไปในทางเดินหายใจอย่างเดียวเท่านั้น

ลักษณะคลินิกของโรค

การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ อาจจะท าให้มีผู้ที่ป่วยเล็กน้อยหรือไม่มีอาการชัดเจน เรา

ยังไม่ทราบว่า จ านวนผู้ที่ไม่มีอาการหรือป่วยเพียงเล็กน้อยว่า มีเท่าใดหรือมีอัตราส่วน

เท่าใดของผู้ติดเชื้อ? แต่มีผู้ตั้งสมมติฐานว่า ผู้ที่มีอาการชัดเจน อาจจะมีอัตราป่วย

เพี ยงร้อยละ 5 ถึง 10 เท่านั้น ดังนั้น อาจจะมีผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อย เดินไปมาใน

ชุมชนได้ แต่ถ้าเขาไม่ไอ-จาม ก็จะไม่แพร่เชื้อออกมาทางลมหายใจ หรือถ้ามีเชื้อในลม

หายใจปกติ จะมีเชื้อจ านวนน้อยมาก ซึ่งจะท าให้โอกาสที่จะแพร่เชื้อทางอากาศน้อยมาก

ตามไปด้วย

๒๒๒

ส่วนผู้ป่วยที่แสดงอาการชัดเจน จะอาศัยหลักการวินิจฉัยดังนี้

1. ผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากเมืองจีนโดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นและเมืองในแถบ

ตะวันออกของประเทศจีน หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยจีนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย

และป่วยภายใน 14 วันหลังจากออกมาจากเมืองจีนหรือสัมผัสรายป่วยนั้นแล้ว

2. ผู้ที่มีไข้ ไอ มีเสมหะ เสมหะอาจจะมีเลือดติดเป็นเส้นสาย หายใจเหนื่อย

ปวดเมื่อยตามตัว (อาจจะเป็นโรคติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ก็ได้และมีอาการเหมือนกัน)

ที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยที่รายงานใน Lancet ไม่ค่อยมีอาการในระบบทางเดินหายใจ

ส่วนบน เช่น เจ็บคอ น ้ามูกไหล แต่จะมีอาการไอและปอดอักเสบเลย และไม่ค่อยมี

อาการอุจจาระร่วงด้วย แสดงว่า เชื้อจะไปก่อโรคได้ดีในเซลล์เยื่อบุหายใจส่วนล่าง แต่

อาจจะไม่สามารถไปก่อโรคในเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร ส่วนเซลล์ที่ใช้เพาะเลี้ยงเชือก่อ้

โ ร ค จ ะ เ ป็ น human airway epithelial cell, Vero E6 ( ไ ด้ ม า จ า ก kidney

epithelial cells) และ Huh-7 (ได้มาจากตับ) cell lines

อัตราการตายต่อรายป่วย

เชื้อกลุ่มนี้มีอัตราการตายของผู้ป่วย (case fatality rate) ดังนี้

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ SARS-CoV ตายร้อยละ 9.5

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ MERS-CoV ตายร้อยละ 34.4

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ 2019-nCoV ในประเทศจีนตายร้อยละ 2.2 (ประเทศจีน

วันที่ 29 มกราคม 2563)

ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของรายที่ป่วยเป็นปอดอักเสบรุนแรงจาก 2019-nCoV จาก NEJM January 24, 2020

DOI:10.1056/NEJMoa2001017

๒๒๓

การรักษาโรคนี้

ให้รับผู้ป่วยไว้รักษาในห้องแยกที่มีความดันอากาศในห้องเป็นลบ ซึ่งมีอยู่แล้วใน

โรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลศูนย์ ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย ให้การรักษา

แบบประคับประคอง มีการให้ออกซิเจนหรือใส่ท่อช่วยหายใจตามความจ าเป็น เป็นต้น

ผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที และห้ามผู้ป่วย

เดินทางไปท างานหรืออยู่ที่บ้านโดยเด็ดขาด โรงพยาบาลต้องมีการวิธีก าจัดเชื้อไวรัส

ในพื้นที่และสถานที่โดยรอบที่ตรวจพบเชื้อ แพทย์ต้องรายงานผลการตรวจผู้ป่วยทุก

รายที่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ สสจ.

ในแต่ละจังหวัดด้วย

การป้องกันการติดเชื้อส าหรับคนไทย

การป้องกันการติดเชื้อไวรัส

โคโรน่าสายพั นธุ์ใหม่ 2019-nCoV

คือ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยัง

เมืองจีนในแถบตะวันออกรวมถึง

เมืองต้นตอคือ เมืองอู่ฮั่น มณฑล

หูเป่ย ซึ่งตอนนี้ ประเทศจีนประกาศ

ปิดการเข้า-ออกเมืองไปแล้วหลาย

เมือง เท่ากับควบคุมมิให้มีการแพร่

ของโรคออกไปที่อื่น ๆ แต่ต้องไม่มีผู้คนหนีออกจากเมืองไปก่อนที่จะมีการประกาศ

ส าหรับบุคคลทั่วไป ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ควรสวมหน้ากาก

อนามัยทั่วไป หรือ N95 เมื่อออกไปในที่ชุมชน ให้อยู่ห่างจากผู้ที่ไอ จาม อย่างน้อย 2

เมตรหรือให้อยู่ต้นลมเมื่อเข้าใกล้ผู้ที่ต้องสงสัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือใช้แอลกอฮอล

เจลถูเช็ดมือ ไม่น ามือมาสัมผัสเยื่อบุตา จมูก ปาก ประชาชนสามารถติดตาม

สถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพั นธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ได้ที่

website ขององค์การอนามัยโลก

หากใครกลับมาจากประเทศจีนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วมีไข้ ไอ มีเสมหะ

หายใจเหนื่อยหอบ ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทันทีพร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง

ด้วย

๒๒๔

ส่วนผู้ที่รู้สึกตัวว่า มีไข้ ไม่สบายหรือ

รู้สึกป่วย ยิ่งต้องสวมหน้ากากอนามัยไว้ก่อนและ

พั กรักษาตัวในโรงพยาบาล เวลาไอหรือจามให้ใช้

กระดาษทิชชูหรือแขนเสื้อป้องกันการกระเด็นของ

น ้าลายและเสมหะ หากเพิ่งกลับมาจากเมืองจีนหรือ

สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยปอดบวม ให้ไปพบแพทย์ที่

โ ร ง พ ย า บ า ล ศู น ย์ ก ร ม ค ว บ คุ ม โ ร ค ห รื อ

โรงพยาบาลบ าราศนราดูร และติดตามประกาศของ

กระทรวงสาธารณสุขในเรื่องแนวทางการประสานงานเมื่อพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน

Novel coronavirus 2019

ส าหรับบุคลากรทางการแพทย์ ที่ดูแลผู้ป่วยที่สงสัยหรือป่วยติดเชื้อจากโรคนี้

แน ะน าให้ป้องกันตนเองเต็มที่ทั้งวิธีแบบ contact precaution และ airborne

precaution รวมถึง universal precaution เพื่อให้ความมั่นใจและป้องกันการติด

เชื้อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าไปดูแลรักษาผู้ป่วย จึงแนะน าแพทย์และบุคลากร

ทางการแพทย์ให้ใช้อย่างน้อยหน้ากาก N95 ใน

การป้องกันการติดเชื้อทางล ะออยฝอยแล ะ

droplet หรือจ ะใส่ชุดอวกาศคลุมศีรษ ะเพื่อ

ป้องกันการติดเชื้อจากทุกช่องทางของการ

ติดต่อ เพราะเป็นการเข้าไปดูผู้ป่วยที่มีเชื้อจ านวน

มากกว่าผู้ป่วยที่ป่วยเล็กน้อยหรือยังไม่เจ็บป่วย

วิธีป้องกันแบบนี้ไม่เหมาะสมที่จะมาใช้กับบุคคล

ทั่วไปในชุมชนนอกโรงพยาบาล

ยาต้านไวรัสที่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลอง

ยังไม่มียาขนานใดที่ผ่านการรับรองให้ใช้เป็นยามาตรฐานในการรักษาโรคนี้ มีแต่

ยาต้านไวรัสที่อยู่ระหว่างการทดลองทั้งในสัตว์และผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ได้แก่

1. ยา lopinavir และ ritonavir (ในเมืองจีนขณะนี้ทดลองใช้ยา Aluvia®

เป็นยาสองขนานร่วมกัน) เพื่อยับยั้งการผลิตโปรตีนให้เชื้อชนิดนี้ขณะที่เชื้อก าลังอยู่ใน

เซลล์มนุษย์ เพราะเคยใช้ได้ผลบ้างกับเชื้อไวรัส SARS-CoV มาแล้ว (ในโรค SARS มี

การให้ยา ribavirin ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจ านวนเชื้อไวรัสร่วมด้วย) แต่เป็น

๒๒๕

การศึกษาที่ไม่ใช่ randomized control trial (RCT) เมื่อกินยาและยาเข้าไปในกระแส

เลือด ยาคู่นี้รวมตัวกับโปรตีนในเลือดสูงมากถึงร้อยละ 95 ขึ้นไป จึงเหลือตัวยาอิสระ

เพี ยงเล็กน้อยที่จะไปออกฤทธิ์ บังเอิญเชื้อ HIV ไวต่อยากลุ่มนี้มาก ๆ จึงใช้ได้ผลดี

แต่เชื้อ coronaviruses ไม่ค่อยไวต่อยาคู่นี้ จึงอาจจะใช้ไม่ได้ผลดีกับโรคติดเชื้อเชื้อ

2019-nCoV ขณะนี้ ก าลังทดลองศึกษาประสิทธิผลของยา Aluvia® แบบ RCT ที่

ประเทศจีนอยู่ น่าจะทราบผลการรักษาเบื้องต้นภายใน 6 เดือนข้างหน้า

2. ยากลุ่ม interferon beta-1b มีชื่อว่า remdesivir ผลิตโดย Gilead

และออกฤทธิ์ต้านการท างานของเอนซัยม์polymerase ของเชื้อไวรัส

3. โมโนโคลนอล แอนติบอดี ผลิตโดย Regeneron Pharmaceuticals

ใช้ในการท าลายเชื้อไวรัสนอกเซลล์

4. อาจจะใช้ยาในข้อ 2. ร่วมกับข้อ 3. คือ remdesivir + monoclonal

antibodies ของเชื้อชนิดนี้ในการรักษา

หลักการรักษาคือ ต้องให้ยาต้านไวรัสตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ แต่ผู้ป่วยมักจะมาหา

แพทย์เมื่อป่วยเป็นปอดบวมเต็มขั้นหรืออยู่ในระยะท้ายของโรค ท าให้ผลการรักษาไม่ดี

การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสลงปอด ต้องใช้วิธีการรักษาแบบไข้หวัดใหญ่ คือ ให้ยาเร็ว

ตั้งแต่ระยะแรกของโรคที่ผู้ป่วยยังไม่เป็นปอดบวม หรือยังไม่เกิดความเสียหายใด ๆ

ต่อเนื้อปอด เพื่อให้การรักษาด้วยยาต้านไวรัสได้ผลดีที่สุด ดังนั้น จึงต้องมี rapid

test หรือการทดสอบด้านการวินิจฉัยเชื้อก่อโรคให้ทราบผลโดยเร็วที่สุดในผู้ป่วยที่เริ่ม

มีไข้ ไอ ในวันแรกที่ป่วยด้วย

วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ 2019-nCoV

สามารถผลิตได้ในระยะเวลา 6 ถึง 12 เดือนข้างหน้า แต่มีปัญหาด้านการลงทุนว่า

ถ้าไม่มีการระบาดของโรคหรือมีการติดเชื้ออีก การลงทุนท าวัคซีนจนผ่านการศึกษา

ทดลองและรับรองให้ใช้ได้ในมนุษย์ อาจจะได้ผลลัพธ์ด้านทุนทรัพย์ไม่คุ้มค่ากับการ

ลงทุนก็ได้

๒๒๖

ข้อมูลสู่ประชาชน

สรุปได้ว่า เมื่อตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ

และระบบการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อและมาตรการ

การควบคุมการระบาดในประเทศของรัฐบาลแล้ว

แพทยสภ าขอให้ปร ะช าชนมีคว ามเชื่อมั่นว่า

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และแพทย์

ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อต่าง ๆ รวมทั้งแพทยสภา

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ได้มาช่วยกันดูแลในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า

อย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมโรคนี้มิให้มีการระบาดในประเทศไทยให้ได้ระบบการเฝ้าระวัง

ที่สนามบินและท่าเรือรวมทั้งด่านต่าง ๆ ที่มีคนจีนเข้ามา ต้องมีระบบตรวจค้นหาราย

ป่วยอย่างที่กระทรวงสาธารณสุขได้วางระบบการตรวจค้นที่สนามบินและวางระบบการ

ส่งต่อและดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยไว้แล้วตามจุดต่าง ๆ ในประเทศ มีแนวทางการ

ประสานงานที่ชัดเจนและผู้รับผิดชอบได้เฝ้าติดตามสถาณการณ์ของโรคทั้งใน

ต่างประเทศและในประเทศอยู่แล้ว

ฝ่ายสัตวแพทย์ต้องเริ่มส ารวจพาหะที่น าเชื้อโรค 2019-nCoV เช่น ค้างคาว

โดยเฉพาะในภาคเหนือหรือเขตอพยพของสัตว์ปีกจากประเทศจีนมาที่ประเทศไทยว่า

ตรวจพบเชื้อไวรัสชนิดนี้ในมูลสัตว์และสิ่งคัดหลั่งจากช่องปากหรือไม่? และท าการเฝ้า

ระวังตรวจหาเชื้อเป็นระยะ ๆ การน าสัตว์ที่มีชีวิตข้ามประเทศเป็นสิ่งต้องห้ามอยู่แล้วแต่

ต้องเพิ่มระบบตรวจตราให้เข้มข้นเพราะยังมีผู้ลักลอบน าเข้ามาอยู่

ขณะนี้ คาดว่า สัตว์ปีกเหล่านี้ในประเทศไทยยังไม่เป็นพาพะของเชื้อ

ไวรัสนี้ การสูดอากาศในประเทศไทยจึงยังมีความปลอดภัยจากโรค

ติดเชื้อชนิดนี้ ส่วนการติดต่อจาก “คนสู่คน” เป็นไปได้อย่างจ ากัด

มาก หากผู้ใดเจ็บป่วยเป็นไข้และแสดงอาการของระบบทางเดินหายใจ

ขอให้สวมหน้ากากอนามัยทั้งผู้ป่วยและญาติที่เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด

จะลดการแพร่แบบ “คนสู่คน” ได้มาก และแนะน าให้พาผู้ป่วยไป

ตรวจหาเชื้อก่อโรคว่า เป็นเชื้อชนิดใดในโรงพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐ

จึงขอให้แพทย์ช่วยกันให้ความมั่นใจแก่ประชาชนว่า ประเทศไทย “เอาอยู่แน่”

อย่างแน่นอน เรื่องการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ภายในประเทศ

๒๒๗

ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ส าหรับแพทย์ version 1

“ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ส าหรับแพทย์” ตอนที่เขียนบทความครั้งแรก หลายท่าน

๒๒๘

ส่งไปแชร์ในหลายห้อง เช่น ที่ศูนย์แพทย์ ฯ “ช่วยกัน Share ความรู้ส าหรับแพทย์เรื่อง Corona Virus สาย

พันธุ์ใหม่ เขียนโดยท่านนายกแพทยสมาคม” ได้เขียนฉบับแรกและส่งออกเมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๓ ยัง

ปรากฎอยู่ที่ Website ของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ //online.fliphtml5.com/elbls/cecr/

แต่ข้อมูลจนถึงปลายเดือนมกราคม ๒๕๖๓ ที่เกี่ยวกับ COVID-19 ยังมีน้อยมาก ท าให้การเขียนเนื้อหา ต้องใส่

สมมติฐานหรือความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไปมากมายบนพื้นฐานของข้อมูลการระบาดเท่าที่มีอยู่ในประเทศจีน

โดยเฉพาะจากข้อมูลในเมืองอู่ฮั่น บทความท านองนี้ ผมเขียนมาหลาย version จนถึง version ที่ ๖ ในราว

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ แล้วเลิกเขียนไปเพราะมีข้อมูลออกมาเยอะมาก ยิ่งเขียนจะยิ่งยาวมาก จึงเปลี่ยนไป

เป็นการเขียนบทความแบบ FAQ แทน ตัวอย่างของบทความฉบับแรก มี ๙ หน้า ดังที่แสดงให้เห็นในเอกสาร

๒๒๙

ในเอกสารชุดแรกนี้ ได้เน้นข้อมูลสู่ประชาชนชัดเจนว่า

สรุปได้ว่า เมื่อตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ และระบบการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อและมาตรการการควบคุม

การระบาดในประเทศของรัฐบาลแล้ว แพทยสภาและแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ขอให้ประชาชนมี

ความเชื่อมั่นว่า กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อต่าง ๆ รวมทั้งแพทย

๒๓๐

สภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ได้มาร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในช่วยกันดูแลในเรื่องโรคติดเชื้อ

ไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมโรคนี้มิให้มีการระบาดในประเทศไทยให้ได้ ระบบการเฝ้าระวังที่

สนามบินและท่าเรือรวมทั้งด่านต่าง ๆ ที่มีคนจีนเข้ามา ต้องมีระบบตรวจค้นหารายป่วยอย่างที่กระทรวง

สาธารณสุขได้วางระบบการตรวจค้นที่สนามบินและวางระบบการส่งต่อและดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยไว้แล้วตาม

จุดต่าง ๆ ในประเทศ มีแนวทางการประสานงานที่ชัดเจนและผู้รับผิดชอบได้เฝ้าติดตามสถาณการณ์ของโรค

ทั้งในต่างประเทศและในประเทศอยู่แล้ว

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ได้ส่งก าลังใจและสนับสนุนแพทย์จีนและวงการแพทย์ของประเทศ

จีนที่ได้แสดงความจริงใจในการควบคุมโรคระบาดของเชื้อ 2019-nCoV ผ่านทาง Chinese Medical

Association ไปหลายวันแล้ว ครั้งนี้ก็ขอส่งก าลังใจให้แพทย์ไทยในกระทรวงสาธารณสุข และขอยืนยันความ

เหมาะสมของมาตรการและแนวทางที่ใช้การควบคุมโรคที่รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เป็นองค์กรหลักได้ประกาศและรีบเข้ามาท างานอย่างรวดเร็วและเสียสละ เพื่อ

ควบคุมการระบาดของโรคนี้อย่างทันกาล สร้างความอบอุ่นใจให้แก่ประชาชนชาวไทยในยามที่เกิดความ

ตระหนกแตกตื่นและความกลัวในโรคร้ายแรงที่อาจจะระบาดในประเทศไทย ทุกองค์กรในวิชาชีพทาง

การแพทย์ได้ผนึกก าลัง ความรู้ ความข านาญ และประสบการณ์และพร้อมมาช่วยกันควบคุมโรคนี้ตามความ

ถนัดและโอกาสที่แต่ละท่านมีอยู่แล้ว

จึงขอให้แพทย์ทุกท่านช่วยกันให้ความมั่นใจแก่ประชาชนว่า ประเทศไทย “เอาอยู่แน่” อย่าง

แน่นอน ในเรื่องการควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ภายในประเทศได้อย่างไม่ต้องสงสัย

๒๓๑

๒๓๒

ความรู้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ส าหรับแพทย์version 2

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

ข้อมูล ณ วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๓

เชื้อก่อโรค coronavirus สายพันธุ์ใหม่

เชื้อไวรัสนี้มีชื่อเฉพาะในขณะนี้ว่า 2019-nCoV ในสมาชิกล าดับที่ ๗ ในตระกูล coronaviruses lineage B, จีนัส

betacoronavirus, เชื้อมีล าดับยีนร้อยละ ๘๕ ถึง ๙๖ ที่เหมือนกับยีโนมของเชื้อ SARS-like CoV ในค้างคาว (bat-SLCoVZC45, MG772933.1) สถาบัน Wuhan Institute of Virology (WIV) และ Chinese Academy of Sciences

(CAS) ได้ค้นพบและยืนยันล าดับจีโนมของเชื้อชนิดนี้ในวันที่ ๒ มกราคม ๒๕๖๓ และแยกเพาะเชื้อได้ในวันที่ ๕ มกราคม

และส่งข้อมูลล าดับจีโนมให้องค์การอนามัยโลกในวันที่ ๑๑ มกราคม เพื่อน าข้อมูลนี้ไปใช้ในสถาบันทางการแพทย์ทั่วโลก

และ การก่อโรคในมนุษย์จากเชื้อโรคในค้างคาวถือว่าเป็น zoonotic disease ด้วย

สถานการณ์ของความรุนแรงในขณะนี้ตามประกาศขององค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินระดับนานาชาติ “public health

emergency of international concern ย่อว่า PHEIC” เพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อสรุปของผู้บริหารระดับสูงของ

องค์การอนามัยโลกให้ทุกประเทศทราบ แต่ยังให้แต่ละประเทศตัดสินใจว่า จะปิดพรมแดนระหว่างประเทศ ยกเลิก

เที่ยวบินเข้าประเทศจากพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ การตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อที่ด่านเข้าประเทศ เช่น ที่สนามบิน และวิธีการ

ป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อ ประกาศนี้เป็นการกลับค าขององค์การอนามัยโลกเองที่ประกาศว่า ยังไม่เป็นภาวะ

ฉุกเฉิน ข้อมูลหลักประกอบการตัดสินใจได้แก่ มีข้อมูลการติดเชื้อจาก “คนสู่คน” เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะล่าสุดในประเทศ

สหรัฐอเมริกา ค าเตือนนี้ เหมือนกับ ไฟจราจรที่อยู่ในระดับ “สีเหลือง” ก่อนจะถึง “สีแดง” การประกาศเช่นนี้ท าให้

ประเทศต่าง ๆ สามารถขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากองค์การอนามัยโลกในการควบคุมการระบาดได้

การประกาศครั้งนี้ เพื่อเตือนประเทศต่าง ๆ ให้เตรียมพร้อมที่จะควบคุมการระบาดของโรคในประเทศของตนนอก

ประเทศจีน โดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือมีศักยภาพต่ าในการควบคุมโรคระบาดจากโรคติดเชื้อ

ประเทศไทยถือว่า มีการเตรียมความพร้อมและมีศักยภาพสูงมากพอที่จะรับมือกับโรคนี้ได้

สมมติฐานของแหล่งแรกที่แพร่เชื้อและท าให้เกิดการระบาดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

ในระยะแรก ทุกคนก็พุ่งไปที่ตลาดขายอาหารทะเลสดในเมือง Wuhan (seafood market, Wuhan) ประเทศจีน

ว่าเป็นแหล่งแรกที่เริ่มแพร่เชื้อ แต่ในบทความรายงานผู้ป่วยในวารสาร Lancet ท าให้เกิดสมมติฐานเพิ่มเติมอีก รวมเป็น

สมมติฐานสี่แบบที่ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ดังนี้

๑. ในบทความกล่าวถึง ผู้ป่วยรายแรกในวันที่ ๑ ธันวาคม แสดงว่า รายนี้เริ่มติดเชื้อในปลายเดือนพฤศจิกายนและใน

เวลานั้นไม่ได้มาที่เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) (แสดงว่า การติดเชื้อมีมาแบบเงียบ ๆ ในสถานที่อื่นก่อนจะมีการระบาดครั้ง

๒๓๓

นี้ แต่ไม่สามารถชันสูตรเชื้อก่อโรคได้ชัดเจน และในบทความฉบับนี้รายงานว่า มีผู้ป่วยอีก ๑๓ รายจาก ๔๑ ราย ที่

ไม่ได้มาที่เมืองอู่ฮั่นด้วย) สรุปว่า โรคนี้น่าจะมีมาก่อนแล้วในเมืองจีน แล้วมาแพร่เชื้อและชันสูตรเชื้อได้ในผู้ป่วย

ที่มาซื้อสินค้าหรือเข้ามาที่ตลาดขายอาหารทะเลสดที่เมืองอู่ฮั่นและท าให้เกิดการระบาดของโรค zoonosis ท าให้

ผู้ป่วยส่วนใหญ่แสดงอาการออกมาในวันที่ ๘ ธันวาคม แม้ว่า ทางการจีนยอมรับว่า เชื้ออาจจะแพร่จากผู้ป่วยไป

ยังคนข้างเคียงได้(คนสู่คน) แต่หลักฐานเชิงระบาดวิทยาแสดงว่า การระบาดจาก“คนสู่คน”ยังเป็นไปได้น้อยมาก

ขณะนี้มีการรายงานผู้ป่วยชายชาวเวียตนามอายุ ๖๕ ปีติดเชื้อ 2019-nCoV เมื่อไปเมืองจีน แต่ไม่ได้ไปที่ตลาดสด

เมืองอู่ฮั่น แล้วกลับมาป่วยในประเทศเวียตนามในวันที่ ๑๗ มกราคม ภรรยาที่ไปด้วยไม่ป่วยไม่ติดเชื้อ แต่ลูกชาย

อายุ ๒๗ ปีที่อยู่ในเวียตนาม มารับพ่อที่สนามบินและนอนอยู่กับพ่อตั้งแต่วันที่ ๑๗ มกราคม ต่อมามีไข้และไอใน

วันที่ ๒๐ มกราคม ตรวจพบเชื้อ 2019-nCoV ด้วย แสดงว่าลูกชายอยู่ใกล้ชิดกับพ่อ ติดจากพ่อ และรายนี้มีระยะ

ฟักตัวของโรคเท่ากับ ๓ วัน

๒. มีกลุ่มสัตว์ปีกรวมถึงค้างคาวที่(เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)มีเชื้อ 2019-nCoV ล าคอและอุจจาระ แล้วถูกน ามา

รวมกันในกรงและขายในตลาดสดแห่งนี้ สัตว์เหล่านี้ไม่ได้ป่วยแต่เป็นรังแพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะขณะที่มีการร้องของ

สัตว์ปีกหรือการถ่ายมูลอุจจาระที่มีเชื้อโรคออกมาเป็นละอองฝอย มักจะเกิดขึ้นตอนที่จะเชือดคอสัตว์ปีกให้ตายต่อ

หน้าลูกค้าที่มาซื้อ ท าให้คนหรือลูกค้าที่ผ่านมา เข้าไปรับเชื้อที่กระจายเป็นละอองฝอยเข้าสู่หลอดลมและปอด

๓. มีสัตว์ปีก ๑ ชนิดหรือ ๑ ตัว เช่น ค้างคาว ๑ ตัวหรือกลุ่มค้างคาวที่มีเชื้อและบินอยู่ในอากาศ ปล่อยมูลนกกลาง

อากาศให้กลายเป็นละอองฝอย แล้วบินผ่านมาแพร่เชื้อ 2019-nCoV กลางอากาศในตลาดสดแห่งนี้ เป็นละออง

ฝอยต่อไปสู่สัตว์ปีกและผู้คนจ านวนมากที่เดินผ่านมาในตลาดสดหรือในพื้นที่นี้

๔. มีคลิป (ดูรูปข้างล่าง ๒ ภาพ) ที่ส่งต่อมาแจ้งว่า มีค้างคาวจ านวนมากอาศัยอยู่ใต้หลังคาบ้านในหมู่บ้านอู่ฮั่น ถ้ามี

ค้างคาวมากแบบนี้จริงใต้กระเบื้องบุหลังคาและติดเชื้อ 2019-nCoV ค้างคาวเหล่านี้อาจจะเป็นรังโรคและปล่อย

มูลนกและสิ่งคัดหลั่งทางลมหายใจออกมาใต้หลังคาบ้านที่อยู่ในตลาดสดแห่งนี้หรือในพื้นที่บริเวณนี้แล้วแพร่เชื้อ

เป็นละอองฝอยสู่ผู้คนที่อาศัยในบ้านหรือพื้นที่ใกล้เคียง จนท าให้มีผู้สูดดมอากาศที่มีเชื้อปนเปื้อนและป่วยเป็น

จ านวนมากจากพื้นที่แห่งนี้ ผู้ป่วยบางรายจึงอาจจะไม่ได้ไปที่ตลาดสดอู่ฮั่น แต่อยู่ในมณฑลหูเป่ย และสูดอากาศที่

มีละอองฝอยที่ปนเปื้อนเชื้อ 2019-nCoV ท าให้มีการายงานผู้ป่วยที่อยู่ห่างไกลจากตลาดขายอาหารทะเลสดได้

หรือผู้ป่วยไม่เคยมาที่ตลาดแห่งนี้ หากค้างคาวติดเชื้อกลุ่มนี้ไปอยู่ที่มณฑลอื่นของประเทศจีน ก็จะแพร่เชื้อใน

อากาศให้แก่ประชาชนในมณฑลอื่นได้ ซึ่งจะท าให้มีการระบาดของโรคเร็วกว่าวิธีระบาดแบบ “คนสู่คน”

๒๓๔

ข้อมูลที่จะแสดงให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สมมติฐานข้อใดน่าจะถูกต้องที่สุด คือ ต้องไปเก็บตัวอย่างอากาศในพื้นที่ ใน

บ้าน และจากมูลสัตว์และสิ่งคัดหลั่งเช่น น้ าลายของสัตว์ปีกเหล่านี้ในอู่ฮั่น รวมทั้งค้างคาวที่อาศัยตามหลังคาบ้าน แล้ว

น ามาตรวจเพาะเชื้อว่า มีเชื้อไวรัส 2019-nCoV ในตัวอย่างเหล่านี้หรือไม่? แล้วตรวจล าดับรหัสพันธุกรรมอีกครั้งเพื่อ

ยืนยันว่า เป็นเชื้อชนิดเดียวกันจริงไหมกับที่พบในผู้ป่วย? การตรวจพบเชื้อในอากาศและในสัตว์ปีกในพื้นที่ จะช่วยใน

การควบคุมการแพร่กระจายจากแหล่งของรังโรคได้ดีขึ้น

สถานการณ์ของโรค รายงาน ณ วันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๓

ทั่วโลก มีผู้ป่วยจ านวน ๗,๘๑๘ รายที่ตรวจพบเชื้อแล้ว และยังคงมีจ านวนเพิ่มขึ้นอีกทุกวัน

ในประเทศจีน มีรายป่วย ๗,๗๓๖ รายที่ตรวจพบเชื้อแล้ว ผู้ที่มีอาการและสงสัยว่าจะติดเชื้ออีกยังมีอีก ๑๒,๑๖๗ ราย

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง ๑,๓๗๐ รายและถึงแก่กรรม ๑๗๐ ราย อัตราตายร้อยละ (๑๗๐/๗๘๑๘)*๑๐๐ เท่ากับ ๒.๑๗)

ผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมโดยมากเป็นผู้สูงอายุและมีโรคอื่นในกลุ่ม NCD ร่วมด้วย

นอกประเทศจีน พบผู้ป่วย ๘๒ รายที่ตรวจพบเชื้อแล้วและอยู่ใน ๑๘ ประเทศ (ให้ดูรายละเอียดจากภาพ ๒ ภาพที่แนบ

มาข้างล่าง)

ในประเทศไทย

ยังมีทั้งหมดอยูที่ ๑๔ ราย มีอีก ๒ รายที่สงสัยคือ คนขับรถแท๊กซี่ที่รับส่งชาวจีนมาท่องเที่ยว รายแรกถูกตรวจพบ

ที่สนามบินสุวรรณภูมิโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่มีนายแพทย์โรม บัวทอง ส านักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เป็น

หัวหน้าทีมเฝ้าระวัง และได้ส่งตัวอย่างไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย เมื่อ

ถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อก็พบว่า เป็นเชื้อ 2019-nCoV โดย ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดีท าให้ประเทศไทยเป็นประเทศ

แรกนอกประเทศจีนที่ตรวจพบเชื้อไวรัส 2019-nCoV ได้ก่อนประเทศอื่น และมีความส าคัญอย่างยิ่งในการแสดงข้อมูลทาง

ระบาดวิทยาและการควบคุมโรคนี้

จนถึงวันที่ ๒๙ มกราคม มีผู้ป่วยทั้งหมด ๑๔ รายที่ตรวจพบเชื้อชนิดนี้ เป็นคนไทย ๑ ราย ที่เหลือเป็นคนจีน ยังไม่

มีรายใดถึงแก่กรรม มีรายที่หายดีและบินกลับเมืองจีนแล้ว ๕ ราย (ในวันที่ ๒๘ มกราคม นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย

ประกาศว่า มีผู้ป่วยรายใหม่อีก ๖ รายเป็นชาวจีนที่เดินทางมายังประเทศไทย โดยใน ๕ รายนั้นเป็นครอบครัวเดียวกันที่

เดินทางมาเที่ยว คือ เป็นพ่อแม่ลูกหลานกันและเดินทางมาจากมณฑลหูเป่ย ประเทศจีน

ยังไม่มีแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ติดเชื้อ “คนสู่คน”จากการแพร่กระจายในประเทศไทย

นอกจากนี้อยากจะแสดงข้อมูลว่า การตรวจคัดกรองที่สนามบินพบ มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด

๘๔ ราย คัดกรองจากสนามบิน ๒๔ ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง ๖๐ ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว ๔๕ ราย

ส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล และยังคงรับไว้ในห้องแยกโรค จ านวน ๓๙ ราย เพื่อรอการยืนยันการติดเชื้อ

ชนิดนี้แสดงว่า การตรวจคัดกรองผู้ป่วยที่สนามบินท าได้ผลดี

ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้รับรองผลการตรวจชันสูตรเชื้อ 2019 nCoV ได้แน่นอน ๔ แห่ง คือ สถาบันวิจัย

วิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สถาบันบ าราศนราดูร ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะ

แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลราชวิถี ส่วนการตรวจเบื้องต้นในโรงพยาบาล

ประจ าจังหวัดหรือในสถาบันอื่นก็สามารถตรวจหาเชื้อชนิดนี้และได้ผลเบื้องต้นได้ แต่ขอให้ส่งตัวอย่างมาตรวจยืนยันความ

ถูกต้องอีกครั้งที่สถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งใน ๔ แห่งนี้

๒๓๖

ส่วนรายงานข่าวจาก South China Morning Post ในประเทศจีน จะให้ตัวเลขของผู้ป่วยที่ยืนยันว่า ติดเชื้อ

2019-nCoV สูงกว่าขององค์การอนามัยโลก ดังนี้

จ านวนผู้ป่วยทั้งหมด ๑๐,๖๘๔ ราย จ านวนผู้ป่วยในเมืองจีน ๙,๖๙๒ ราย ถึงแก่กรรมจ านวน ๒๑๓ ราย

อัตราตายอยู่ที่ (๒๑๓/๙๘๑๖)*๑๐๐ = ร้อยละ ๒.๑๗

วิธีการติดต่อของเชื้อไวรัส 2019-nCoV ที่ก่อโรค

การระบาดในกลุ่มชนพร้อม ๆ กันเป็นจ านวนมากและป่วยเป็นโรคปอดอักเสบในบางรายในเมืองอู่ฮั่นหรือเมืองจีน

แสดงว่า การสูดดมละอองฝอยในอากาศที่มีเชื้อไวรัสปะปนอยู่เป็นวิธีที่แพร่เชื้อตามข้อมูลเชิงระบาดวิทยา อาจจะมีการ

ระบาดจากคนสู่คน หรือการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคได้บ้างแต่จะเป็นในผู้ป่วยส่วนน้อย แหล่งที่แพร่เชื้อน่าจะเป็นตาม

สมมติฐานในข้อที่สองถึงสี่มากที่สุด (โดยเฉพาะสมมติฐานข้อ ๔) เพราะการกินสัตว์ปีกหรือค้าวค้าง(หรืองู)เป็นการติดเชื้อ

จากการสัมผัสซึ่งแพร่เชื้อได้ช้ากว่ามาก ไม่รวดเร็วแบบที่พบในการระบาดครั้งนี้ นอกจากนี้เชื้อไวรัสอาจจะตายไปแล้วใน

ระหว่างการปรุงอาหารด้วยความร้อน จากการที่มีผู้ป่วยบางรายกลับไปยังประเทศของตนซึ่งอยู่ห่างไกลจากประเทศจีน

แล้วยังไม่พบชัดเจนว่า มีผู้ที่อยู่ใกล้เคียงผู้ป่วย เช่น ภรรยา สามีลูกหลานในบ้านเดียวกัน เพื่อนในสถานที่ท างานเดียวกัน

กับผู้ป่วย หรือผู้โดยสารในเครื่องบินหรือรถโดยสารด้วยกัน ป่วยหลายรายพร้อม ๆ กันเป็นวงกว้าง ก็จะสนับสนุนว่า การ

แพร่เชื้อจาก “คนสู่คน” ยังมีโอกาสน้อยมากและไม่สามารถแพร่เชื้อได้รวดเร็วแบบที่เห็นในเมืองจีนในครั้งนี้ ดังนั้น การ

หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีโรคระบาด เป็นวิธีที่ดีที่สุดเพราะอากาศในพื้นที่น่าจะเป็นมลพิษไปแล้ว จนกว่าสัตว์

ที่เป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรคเช่น ค้างคาว ได้ถูกก าจัดไป หรือสัตว์ถูกเลี้ยงดูในระบบปิดที่ไม่ให้อากาศถ่ายเทจากภายใน

กรงออกสู่อากาศภายนอกโดยปราศจากการท าลายเชื้อโรคก่อน

มีหลักฐานที่แสดงว่า การแพร่เชื้อเกิดขึ้นได้โดยการจามหรือไอตั้งแต่ก่อนที่รายนั้นจะมีอาการทางคลินิก ดังนั้น

ระยะเวลาการแพร่เชื้อจึงนานขึ้นเพราะผู้ติดและแพร่เชื้อรายนั้นยังไม่มีไข้หรืออาการอื่นนอกจาก ไอ หรือ จาม แต่

๒๓๗

ความสามารถในการแพร่เชื้อในระยะนี้ยังอยู่ในระดับต่ าคือ ยังมีหลักฐานไม่มากนักที่แสดงว่า มีการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้

อย่างรวดเร็วและท าให้มีผู้ติดเชื้อรายถัดไปเป็นจ านวนมากในคราวเดียวกัน

ความรุนแรงของโรคยังขึ้นอยู่กับจ านวนเชื้อที่เข้าไปถึงเนื้อเยื่อปอดที่ยอมให้เชื้อเข้าไปในเซลล์ได้ (receptor ที่ผิว

เซลล์มนุษย์และตัวจับ receptor ที่ผิวเซลล์ของเชื้อไวรัส ต้องตรงกันด้วย) และความลึกของเชื้อที่เข้าไปถึงปอด ละออง

ฝอยที่มีขนาดเล็กกว่า ๒.๕ ไมครอนและมีเชื้อไวรัสปะปนอยู่สามารถล่องลอยผ่านรูจมูก คอหอย หลอดลม ลึกจนไปถึง

เนื้อปอดได้ (ในความเป็นจริง ละอองฝอยมักจะลอยชนมูกตามขนจมูก มูกที่เคลือบเนื้อเยื่อบุคอหอย ท าให้เชื้อติดอยู่ที่

ทางเดินหายใจส่วนบนและยังไม่สามารถท าให้เกิดปอดอักเสบได้ทันทีต้องค่อย ๆ แบ่งตัวและลอยเข้าไปในเนื้อปอดในระยะ

ต่อไป) และยังขึ้นกับจ านวนเชื้อที่สามารถหลุดลอยเข้าไปถึงเนื้อปอดพร้อม ๆ กัน สมมติว่า มีเชื้อล่องลอยหลุดไปถึงเนื้อ

ปอดพร้อมกันหลายหมื่นหลายแสนตัว ก็จะท าให้ปอดอักเสบพร้อม ๆ กันหลายที่จนเนื้อปอดท าหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจน

เหลือไม่เพียงพอจนเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน ขณะเดียวกัน ผู้ป่วยยังไม่สามารถสร้างภูมิต้านทานให้สูงพอที่จะ

มาต่อสู้ท าลายเชื้อได้ทันกาลด้วยเพราะเม็ดเลือดขาวเพิ่งพบกับเชื้อไวรัส 2019-nCoV เป็นครั้งแรก ผู้ป่วยจึงอาจจะ

เสียชีวิตได้ ข้อมูลของผู้เสียชีวิตจากโรคนี้พบว่า ส่วนมากเป็นผู้ป่วยสูงอายู (เลยสร้างภูมิต้านทานช้าจนมาสู้เชื้อไม่ทัน) และ

เป็นผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรังอยู่แล้ว ท าให้ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อมีอาการรุนแรงและรวดเร็ว จนท าให้เกิดภาวะการ

หายใจล้มเหลวฉับพลัน ส่วนผู้ที่มีปอดแข็งแรงก็สามารถทนต่อการก่อโรคของเชื้อที่ค่อย ๆ เพิ่มจ านวนขึ้นจนถึงเวลาที่ภูมิ

ต้านทานของผู้ป่วยเกิดมามากพอจนต่อสู้ท าลายเชื้อก่อโรคได้ทันก่อนที่เนื้อปอดจะเสียหายไปมากจนแก้ไขไม่ทัน ผู้ป่วยที่

แข็งแรงกว่าจึงป่วยและฟิ้นตัวได้ทันจากภูมิต้านทานของตนเอง หรือหลายรายป่วยแค่หลอดลมอักเสบเท่านั้น

ดังนั้น การเจ็บป่วยจนเป็นปอดอักเสบรุนแรงและถึงแก่กรรม จึงขึ้นอยู่กับความเล็กและความง่ายของละอองฝอยที่

จะผ่านไปถึงเนื้อปอด ยิ่งเข้าถึงได้ง่ายก็จะก่อโรคได้มากและรวดเร็ว จ านวนเชื้อที่เข้าไปถึงเนื้อปอดพร้อม ๆ กันในเวลา

เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน หากมีจ านวนมากและเข้าถึงพร้อมกัน ระยะฟักตัวของโรคจะสั้น เช่น ๒ ถึง ๔ วัน จะท าให้ป่วย

เป็นปอดอักเสบได้มากและรุนแรงมากจนร่างกายสร้างภูมิต้านทานไม่ทัน ผู้ที่สวมหน้ากากอนามัยจะป้องกันหรือลดจ านวน

เชื้อที่จะเข้าปอดได้ ผู้ที่มีเนื้อปอดปกติ ไม่มีโรคปอดเรื้อรัง จะทนโรคติดเชื้อได้นานกว่า ผู้ที่นอนพักผ่อน จะไม่ช่วยให้เชื้อ

ลอยลึกเข้าไปถึงเนื้อปอดได้เร็วหรือเข้าไปครั้งละจ านวนมาก ในทางกลับกัน ส่วนผู้ที่อ้วนมาก หรือผู้ที่วิ่งออกก าลังกายใน

ระยะที่เริ่มป่วยและหายใจในอากาศที่มีเชื้อในคอหอยหรือในอากาศโดยรอบขณะออกก าลังกาย จะหายใจลึก ๆ หรือหอบ

จากการออกก าลังกาย และท าให้เชื้อเข้าไปในปอดได้เร็วและมีจ านวนได้มากกว่าคนที่พักผ่อน ท าให้ผู้ป่วยที่ยังออกก าลัง

กาย เกิดความเจ็บป่วยได้รุนแรงในเวลาอันสั้น

การเจ็บป่วยและความรุนแรงของโรคจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่มี

เชื้อเข้าไปในทางเดินหายใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ลักษณะคลินิกของโรค

การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ อาจจะท าให้มีผู้ที่ป่วยเล็กน้อยหรือไม่มีอาการชัดเจน เรายังไม่ทราบว่า จ านวนผู้ที่ไม่มี

อาการหรือป่วยเพียงเล็กน้อยว่า มีจ านวนเท่าใดหรือมีอัตราส่วนเท่าใดของผู้ที่แสดงอาการติดเชื้อ? แต่มีผู้ตั้งสมมติฐานว่า ผู้

ที่มีอาการชัดเจน อาจจะมีอัตราป่วยเพียงร้อยละ ๕ ถึง ๑๐ เท่านั้น ดังนั้น อาจจะมีผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อยเป็นจ านวนมาก

เดินไปมาในชุมชนได้ แต่ถ้าเขาไม่ไอ-จาม ก็จะไม่แพร่เชื้อออกมาทางลมหายใจ หรือถ้ามีเชื้อในลมหายใจปกติ จะมีเชื้อ

จ านวนน้อยมาก ซึ่งจะท าให้โอกาสแพร่เชื้อทางอากาศมีน้อยมากตามไปด้วย

ส่วนผู้ป่วยที่แสดงอาการชัดเจน จะอาศัยหลักการวินิจฉัยดังนี้

๒๓๘

๑. ผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากเมืองจีนโดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นและเมืองในแถบตะวันออกของประเทศจีน หรืออยู่ใกล้ชิด

กับผู้ป่วยจีนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทย และป่วยภายใน ๑๔ วันหลังจากออกมาจากเมืองจีนหรือสัมผัสราย

ป่วยนั้นแล้ว

๒. ผู้ที่มีไข้ ไอ มีเสมหะ เสมหะอาจจะมีเลือดติดเป็นเส้นสาย หายใจเหนื่อย ปวดเมื่อยตามตัว (อาจจะเป็นโรคติดเชื้อ

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ก็ได้และมีอาการเหมือนกัน) หรือเจ็บคอ มีน้ ามูกไหล

ที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยที่รายงานในวารสาร Lancet ไม่ค่อยแสดงอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เจ็บคอ

น้ ามูกไหล แต่จะมีอาการไอและหายใจเร็ว เหนื่อยง่ายแบบปอดอักเสบเลย และไม่ค่อยมีอาการอุจจาระร่วงด้วย แสดงว่า

เชื้อจะไปก่อโรคได้ดีในเซลล์เยื่อบุหายใจส่วนล่างของระบบการหายใจ แต่อาจจะไม่สามารถไปก่อโรคในเซลล์เยื่อบุทางเดิน

อาหารหรือทางเดินหายใจส่วนบนได้ดีนัก ส่วนเซลล์ที่ใช้เพาะเลี้ยงเชื้อก่อโรคจะเป็น human airway epithelial cell,

Vero E6 (ได้มาจาก kidney epithelial cells) และ Huh-7 (ได้มาจากตับ) cell lines

ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของรายที่ป่วยเป็นปอดอักเสบรุนแรงจาก 2019-nCoV จาก NEJM January 24, 2020

DOI:10.1056/NEJMoa2001017

อัตราการตายต่อรายป่วย

เชื้อกลุ่มนี้มีอัตราการตายของผู้ป่วย

(case fatality rate) ดังนี้

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ SARS-CoV

ตายร้อยละ ๙.๕

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ MERS-CoV

ตายร้อยละ ๓๔.๔

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ 2019-nCoV ในประเทศจีนตายร้อยละ ๒.๒ (ข้อมูลจากประเทศจีน ณ วันที่ ๒๙ มกราคม

๒๕๖๓)

การรักษาโรคนี้

การรักษาหลักเป็นการรักษาตามอาการ ยังไม่มียาต้านไวรัสโดยเฉพาะ การให้ยาลดการอักเสบหรือกลุ่ม

corticosteroid มีทั้งผลดีระยะสั้นและผลเสียระยะยาวเพราะเรายังไม่มียาท าลายเชื้อไวรัสอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ ให้รับ

ผู้ป่วยไว้รักษาในห้องแยกที่มีความดันอากาศในห้องเป็นลบ ซึ่งมีอยู่แล้วในโรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลศูนย์

ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย ให้การรักษาแบบประคับประคอง มีการให้ออกซิเจนหรือใส่ท่อช่วยหายใจตามความจ าเป็น เป็น

ต้น ผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที และห้ามผู้ป่วยเดินทางไปท างานหรืออยู่ที่บ้านโดย

เด็ดขาด โรงพยาบาลต้องมีการวิธีก าจัดเชื้อไวรัสในพื้นที่และสถานที่โดยรอบที่ตรวจพบเชื้อ แพทย์ต้องรายงานผลการตรวจ

ผู้ป่วยทุกรายที่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ สสจ. ในแต่ละจังหวัดด้วย

๒๓๙

การป้องกันการติดเชื้อส าหรับคนไทย

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019-nCoV คือ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังเมืองจีนในแถบ

ตะวันออกรวมถึงเมืองต้นตอคือ เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ซึ่งตอนนี้ ประเทศจีนประกาศปิดการเข้า-ออกเมืองไปแล้วหลาย

เมือง เท่ากับควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรคออกไปที่อื่น ๆ แต่ต้องไม่มีผู้คนหนีออกจากเมืองไปก่อนที่จะมีการประกาศ

ส าหรับบุคคลทั่วไป ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ควรสวมหน้ากากอนามัยทั่วไป หรือ N95 เมื่อออกไปในที่

ชุมชน ให้อยู่ห่างจากผู้ที่ไอ จาม อย่างน้อย ๒ เมตรหรือให้อยู่ต้นลมเมื่อเข้าใกล้ผู้ที่ต้องสงสัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือใช้

แอลกอฮอลเจลถูเช็ดมือเมื่อสัมผัสกับสิ่งของที่ใช้ร่วมกันโดยเฉพาะในที่สาธารณะ ไม่น ามือมาสัมผัสเยื่อบุตา จมูก ปาก ไม่

ไปเดินชมสัตว์ปีกในฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์โดยระบบเปิด หรือเข้าใกล้ชิดและไปจับสัตว์ ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์

การระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (2019-nCoV) ได้ที่ website ขององค์การอนามัยโลก

หากใครกลับมาจากประเทศจีนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วมีไข้ ไอ มีเสมหะ หายใจเหนื่อยหอบ ให้ไปพบ

แพทย์ที่โรงพยาบาลทันทีพร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางด้วย

ส่วนผู้ที่รู้สึกตัวว่า มีไข้ ไม่สบายหรือรู้สึกป่วย ยิ่งต้องสวมหน้ากากอนามัยไว้ก่อนและพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

เวลาไอหรือจามให้ใช้กระดาษทิชชู่หรือแขนเสื้อป้องกันการกระเด็นของน้ าลายและเสมหะ ให้หันหน้าไปทางที่ไม่มีผู้คนเมื่อ

เวลาไอ-จาม ล้างมือตนเองให้บ่อยขึ้นก่อนและหลังการจับสิ่งของในที่สาธารณะ หากเพิ่งกลับมาจากเมืองจีนหรือสัมผัส

ใกล้ชิดกับผู้ป่วยปอดบวม ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลศูนย์ กรมควบคุมโรค หรือ โรงพยาบาลบ าราศนราดูร และติดตาม

ประกาศของกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องแนวทางการประสานงานเมื่อพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน Novel coronavirus

2019

ส าหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่สงสัยหรือป่วยติดเชื้อจากโรคนี้ แนะน าให้ป้องกันตนเองเต็มที่ทั้งวิธี

แบบ contact precaution และ airborne precaution รวมถึง universal precaution เพื่อให้ความมั่นใจและป้องกัน

การติดเชื้อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าไปดูแลรักษาผู้ป่วย จึงแนะน าแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้ใช้อย่างน้อย

หน้ากาก N95 ในการป้องกันการติดเชื้อทางละออยฝอยและ droplet หรือจะใส่ชุดอวกาศคลุมศีรษะเพื่อป้องกันการติด

เชื้อจากทุกช่องทางของการติดต่อ เพราะเป็นการเข้าไปดูผู้ป่วยที่มีเชื้อจ านวนมากกว่าผู้ป่วยที่ป่วยเล็กน้อยหรือยังไม่

เจ็บป่วย วิธีป้องกันแบบนี้ไม่เหมาะสมที่จะมาใช้กับบุคคลทั่วไปในชุมชนนอกโรงพยาบาล

ยาต้านไวรัสที่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลอง

ยังไม่มียาขนานใดที่ผ่านการรับรองให้ใช้เป็นยามาตรฐานในการรักษาโรคนี้ มีแต่ยาต้านไวรัสที่อยู่ระหว่างการ

ทดลองทั้งในสัตว์และผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ยาที่คาดว่า จะออกฤทธิ์ได้ในระดับเซลล์และนอกเซลล์ ได้แก่

๑. ยา chloroquine (Virol J. 2005 Aug 22;2:69) ข้อมูลตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๘ พบว่า ยาขนานนี้ออกฤทธิ์ต้านเชื้อ

ไวรัส SARS-CoV ได้ดีในระดับเซลล์ไม่ว่าจะให้ยาก่อนหรือหลังสัมผัสเชื้อไวรัส จึงชี้แนะว่า อาจจะน ามาทดลองใช้

ทั้งในด้านการป้องกันหรือรักษาโรค ยาขนานนี้เพิ่ม pH ภายใน endosome ของเซลล์และรบกวน endosomemediated fusion นอกจากนี้ ยังรบกวนการจับตัวของไวรัสตรง terminal glycosylation ของ receptor ที่ผิว

เซลล์ ท าให้เชื้อ SARS CoV ไม่สามารถเข้ามาในเซลล์เพื่อก่อโรคได้ คาดว่า ยาขนานนี้น่าจะออกฤทธิ์ต้านไวรัส

กับเชื้อไวรัส 2019-nCoV ได้ด้วยเพราะเข้าใจว่า เชื้อ 2019-nCoV ใช้ receptor ต าแหน่งเดียวกับเชื้อ SARS CoV

ในการเข้าสู่เซลล์มนุษย์ ข้อมูลในการรักษาในลูกหนูพบว่า (AAC Jul 2009, 53 (8) 3416-3421) ยา

๒๔๐

chloroquine ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HCoV-OC43 ใน HRT-18 เซลล์ด้วยระดับยาที่ต่ า การให้ยา

chloroquine ในลูกหนูเกิดใหม่สามารถลดอัตราตายจากการติดเชื้อ HCoV-OC43 ได้สูงถึงร้อยละ ๘๘ ถึง ๙๘

แสดงว่า การให้ยาขนานนี้กินในขนาด ๕ ถึง ๑๕ มกต่อ กก. ใช้ได้ผลดีในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัส HCoV-OC43

จึงท าให้มีการคาดการณ์ว่า ยา chloroquine น่าจะออกฤทธิ์ได้ดีกับเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019-nCoV ด้วย ไม่ว่า จะ

ใช้กินเพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือใช้รักษาโรค ยาขนานนี้มีอยู่แล้วและสามารถน ามาทดลองใช้ได้เลย

๒. ยา lopinavir และ ritonavir (ในเมืองจีนขณะนี้ทดลองใช้ยา Aluvia®

เป็นยาสองขนานร่วมกัน) เพื่อยับยั้งการ

ผลิตโปรตีนให้เชื้อชนิดนี้ขณะที่เชื้อก าลังอยู่ในเซลล์มนุษย์ เพราะเคยใช้ได้ผลบ้างกับเชื้อไวรัส SARS-CoV มาแล้ว

(ในโรค SARS มีการให้ยา ribavirin ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเพิ่มจ านวนเชื้อไวรัสร่วมด้วย) แต่เป็นการศึกษาที่ไม่ใช่

randomized control trial (RCT) เมื่อกินยาและยาเข้าไปในกระแสเลือด ยาคู่นี้รวมตัวกับโปรตีนในเลือดสูงมาก

ถึงร้อยละ ๙๕ ขึ้นไป จึงเหลือตัวยาอิสระเพียงเล็กน้อยที่จะไปออกฤทธิ์ บังเอิญเชื้อ HIV ไวต่อยากลุ่มนี้มาก ๆ จึง

ใช้ได้ผลดี แต่เชื้อ coronaviruses ไม่ค่อยไวต่อยาคู่นี้ จึงอาจจะใช้ไม่ได้ผลดีกับโรคติดเชื้อเชื้อ 2019-nCoV

ขณะนี้ ก าลังทดลองศึกษาประสิทธิผลของยา Aluvia®

แบบ RCT ที่ประเทศจีนอยู่ น่าจะทราบผลการรักษา

เบื้องต้นภายใน ๖ เดือนข้างหน้า

๓. ยากลุ่ม interferon beta-1b มีชื่อว่า remdesivir ผลิตโดย Gilead และออกฤทธิ์ต้านการท างานของเอนซัยม์

polymerase ของเชื้อไวรัส ยังต้องประสานงานกับบริษัท Gilead เพื่อน ามาทดลองใช้ในผู้ป่วย

๔. โมโนโคลนอล แอนติบอดี ผลิตโดย Regeneron Pharmaceuticals ใช้ในการท าลายเชื้อไวรัสนอกเซลล์มนุษย์เมื่อ

เชื้อไวรัสกระจายเข้ามาในกระแสโลหิต แต่ไม่สามารถก าจัดเชื้อที่อยู่ในเซลล์ได้ การผลิตโมโนโคลนอล

แอนติบอดียังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะน ามาทดสอบและศึกษาถึงประสิทธิผลในการรักษา

๕. อาจจะใช้ยาขนานใดขนานหนึ่งในข้อ ๑. ถึงข้อ ๔. เช่น ใช้chloroquine + remdesivir + monoclonal

antibodies ของเชื้อชนิดนี้ในการรักษาปอดอักเสบที่รุนแรงจากโรคติดเชื้อ 2019-nCoV

หลักการรักษาคือ ต้องให้ยาต้านไวรัสตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ ผู้ป่วยที่มาหาแพทย์เมื่อป่วยเป็นปอดบวมเต็มขั้นหรืออยู่ในระยะ

ท้ายของโรค จะท าให้ผลการรักษาไม่ดี การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสลงปอด ต้องใช้วิธีการรักษาแบบไข้หวัดใหญ่ คือ ให้ยาเร็ว

ตั้งแต่ระยะแรกของโรคที่ผู้ป่วยยังไม่เป็นปอดบวม หรือยังไม่เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อเนื้อปอด เพื่อให้การรักษาด้วยยา

ต้านไวรัสได้ผลดีที่สุด ดังนั้นจึงต้องมี rapid test หรือการทดสอบด้านการวินิจฉัยเชื้อก่อโรคให้ทราบผลโดยเร็วที่สุดใน

ผู้ป่วยที่เริ่มมีไข้ ไอ ในวันแรกที่ป่วยด้วย

วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ 2019-nCoV

สามารถผลิตได้ในระยะเวลา ๖ ถึง ๑๒ เดือนข้างหน้า แต่มีปัญหาด้านการลงทุนว่า ถ้าไม่มีการระบาดของโรคหรือ

มีการติดเชื้ออีก การลงทุนท าวัคซีนจนผ่านการศึกษาทดลองและรับรองให้ใช้ได้ในมนุษย์อาจจะได้ผลลัพธ์ด้านทุนทรัพย์ไม่

คุ้มค่ากับการลงทุนก็ได้

การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าจาก “คนสู่คน” นอกประเทศจีน

๒๔๑

ส าหรับเชื้อไวรัสโคโรน่า การแพร่เชื้อจากคนสู่คนมีความเป็นไปได้แต่ค่อนข้างจ ากัด ในอดีตมีการแพร่กระจาย

แบบ “คนสู่คน” ของเชื้อชนิดนี้ดังมีหลักฐานที่ชัดเจนดังนี้ เชื้อ SARS-CoV จากผู้ป่วย ๑ ราย ที่บินจากฮ่องกงไปที่เมืองโต

รอนโต้ ประเทศแคนาดา ท าให้เกิดรายป่วยต่อเนื่องในโรงพยาบาลและในพื้นที่อีก ๑๒๘ ราย หรือเชื้อ MERS-CoV ใน

ผู้ป่วยหนึ่งรายบินจากประเทศซาอุดิอาระเบียไปประเทศเกาหลีใต้ ท าให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้ใกล้ชิดในพื้นที่ติดเชื้อ

และป่วยไปอีก ๑๘๖ ราย ส าหรับเชื้อ 2019-nCoV ก็มีความเป็นไปได้ที่จะแพร่เชื้อจาก “คนสู่คน” แต่จะท าได้ในระดับใด

ยังต้องติดตามดูข้อมูลเชิงระบาดวิทยา ข้อมูล ณ ปัจจุบันยังแสดงว่า การแพร่จาก “คนสู่คน” ยังมีได้จ ากัดมาก ข้อมูลที่มี

อยู่ชัดเจนได้แก่ เวียดนาม อเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน

รายที่ติดต่อจาก “คนสู่คน” ในเวียตนาม มีข้อมูลว่า วันที่ ๒๒ มกราคม ผู้ป่วยชาวเวียดนาม อายุ ๖๕ ปี มีโรค

ประจ าตัวคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและใส่ stent รักษาแล้ว และป่วยเป็นมะเร็งปอดด้วย

รับไว้ในโรงพยาบาลเพราะมีไข้และอ่อนเพลียตั้งแต่วันที่ ๑๗ มกราคม ทั้งผู้ป่วยและภรรยาเพิ่งบินกลับมาจากพื้นที่ในเมืองอู่

ฮั่นได้ ๔ วัน แต่ทั้งคู่ไม่ได้ไปที่ตลาดสดแต่อย่างใด การตรวจตัวอย่างจากล าคอพบเชื้อ 2019-nCoV ด้วยวิธี real-time

reverse-transcription–polymerase-chain-reaction assays ส่วนลูกชายอายุ ๒๗ ปีมารับพ่อที่สนามบินและพักใน

บ้านและนอนเตียงเดียวกันกับพ่อในห้องนอนที่มีเครื่องปรับอากาศ ลูกชายคนนี้ไม่ได้ไปเมืองจีนและไม่ได้สัมผัสกับผู้ป่วย

หรือนักท่องเที่ยวชาวจีนมาก่อน สามวันต่อมาคือในวันที่ ๒๐ มกราคม ลูกชายมีไข้สูง ไอแห้ง ๆ ภาพถ่ายรังสีของปอดไม่

พบความผิดปกติ ลูกชายมีคลื่นไส้อาเจียนและถ่ายเหลวหนึ่งครั้ง การตรวจตัวอย่างจากลูกชายก็พบเชื้อ 2019-nCoV ด้วย

ดังนั้น ระยะฟักตัวของโรคในลูกชายคือ ๓ วัน อาการของลูกชายดีขึ้นในวันที่ ๒๓ มกราคม ส่วนภรรยาผู้ป่วยที่ร่วม

เดินทางไปด้วยจนถึงวันที่ ๒๘ มกราคม ยังไม่มีอาการใด ๆ

รายที่พบในประเทศญี่ปุ่นเป็นคนขับรถอายุในวัย ๖๐ ปี ได้ขับรถรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ๓๑ รายจากเมืองโอซาก้า

ไปเมืองโตเกียว ระหว่างวันที่ ๘ ถึง ๑๑ มกราคม และขับรถรับนักท่องเที่ยวชาวจีนอีก ๒๙ รายกลับมาในระหว่างวันที่ ๑๒

ถึง ๑๖ มกราคม นักท่องเที่ยวชาวจีนไม่ได้แสดงอาการเจ็บป่วยแต่อย่างใด

ในประเทศเยอรมนี มีหญิงจีนจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนมารับการฝึกอบรมที่บริษัทในรัฐ Bavaria นานประมาณ

๗ วัน เมื่ออบรมเสร็จและบินกลับเมืองจีนในวันที่ ๒๓ มกราคม หญิงจีนรายนี้เริ่มมีไข้และไม่สบาย ส่วนผู้เข้ารับการอบรม

ชาวเยอรมนีมีชายหนึ่งรายอายุ ๓๓ ปีที่เริ่มป่วยโดยมีอาการไอ (bronchitis-like symptoms) ระหว่างวันที่ ๒๕ ถึง ๒๖

มกราคมและอาการทุเลาในวันที่ ๒๗ มกราคม ตรวจพบเชื้อ 2019-nCoV ด้วย จึงเป็นรายแรกในยุโรปที่ติดจาก “คนสู่คน”

ส่วนรายอื่น ๆ ที่มารับการฝึกอบรมด้วยยังอยู่ระหว่างการติดตามว่า จะมีรายป่วยเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่?

รายล่าสุดมีรายงานผู้ติดเชื้อจาก “คนสู่คน” ในสหรัฐอเมริกา ผู้ติดเชื้อรายนี้เป็นสามีของผู้ป่วยหญิงรายแรกที่ติด

เชื้อมาแล้วหลังจากกลับมาจากเมืองอู่ฮั่น ส่วนผู้ป่วยหญิงรายนี้อยู่ในวัย ๖๐ ปีและอาศัยในเมืองชิคาโก รายนี้ยังรักษาตัวอยู่

ในโรงพยาบาลแต่อาการไม่รุนแรง ทางการสหรัฐอเมริกาก าลังติดตามรายอื่น ๆ ที่มาใกล้ชิดหรือสัมผัสทั้งสามีและภรรยาคู่

นี้ตั้งแต่เข้ามาในสหรัฐอเมริกา เพื่อติดตามว่า จะมีการแพร่กระจายแบบ “คนสู่คน” ต่อไปอีกหรือไม่?

ข้อมูลการแพร่กระจายจาก “คนสู่คน” จึงยังมีจ ากัดและมีผู้ติดเชื้อจ านวนน้อย แต่วงการแพทย์ไทยมิได้ประมาท

และท าการป้องกันการแพร่กระจายแบบ “คนสู่คน” อย่างเต็มที่ตามมาตรฐานสากล ปัญหาของเชื้อไวรัสตัวนี้อยู่ที่ว่า ยัง

มีสัตว์ปีกที่เป็นพาหะคอยแพร่เชื้ออยู่แล้วในพื้นที่ที่เกิดการระบาด การมีรายใหม่เกิดขึ้นจึงต้องตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจน

ว่า ติดเชื้อมาจากผู้ป่วยที่ตนเองดูแลใกล้ชิดหรือติดเชื้อมาจากมลพิษในอากาศรอบตัวที่มีเชื้อปนเปื้อนจากสัตว์ปีกที่น าเชื้อ

โรค ส่วนเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั่วไปจะแพร่จาก “คนสู่คน” เป็นหลัก เพราะเป็นเชื้อที่อยู่ในคนและคนเป็นพาหะ การแพร่

๒๔๒

จาก “คนสู่คน” จึงเป็นวิธีหลักในการแพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ของคน ยกเว้นเชื้อไวรัสไข้หวัดนกที่มีเชื้ออยู่ในสัตว์ปีกและ

สัตว์ปีกกลายเป็นพาหะน าเชื้อโรคด้วย การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจึงจะคล้ายกับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์

ใหม่ที่มีรังโรคอยู่ในสัตว์ปีกและเป็นกลายเป็นโรคที่เรียกว่า zoonosis ซึ่งจะมีวิธีการแพร่กระจายทั้งจาก “สัตว์ปีกสู่คน”

และจาก “คนสู่คน”

การระบาดของโรคติดเชื้อ 2019-nCoV ในประเทศไทย จะรุนแรงไหม?

ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคติดเชื้อ 2019-nCoV ข้อมูลของการระบาดในประเทศไทยจน

ขณะนี้ระบุชัดเจนว่า ผู้ป่วยทุกรายทั้งคนไทยและชาวจีนทุกรายมีประวัติการเดินทางกลับมาจากประเทศจีน ยังไม่มีรายใด

ที่แสดงว่า มีการระบาดจาก “คนสู่คน” ในประเทศไทย ดังนั้น หากการควบคุมการระบาดของโรคนี้ในประเทศจีนได้ผลดี

ประเทศไทยจะมีความเสี่ยงต่ ามากที่จะมีโรคนี้มาระบาดไปทั่วประเทศ แม้ว่าจะมีคนจีนจ านวนมากมาเที่ยวประเทศไทย

อัตราตายจากการเจ็บป่วยของโรคนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ าระดับร้อยละ ๒.๑๗ ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการค้นคว้าหายาที่อยู่ระหว่าง

การศึกษาและมีแนวโน้มว่า จะใช้ได้ผลบ้างในการรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง มาตรการการป้องกันการแพร่เชื้อของผู้

ต้องสงสัยว่าติดเชื้อและผู้ป่วยในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ในระดับสูงสุดตามมาตรฐานโลก การเฝ้าระวัง

และค้นหารายป่วยของกรมควบคุมโรคตามด่านต่างและที่สนามบินอยู่ในระดับมาตรฐาน มีห้องปฏิบัติการหลายแห่งที่

สามารถชันสูตรเชื้อไวรัสหลายชนิดที่ก่อโรคในทางเดินหายใจรวมทั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และเชื้อไวรัส 2019-nCoV ส่วน

ความดุร้ายของตัวเชื้อโรคเองก็ยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบว่าเท่าเทียมกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ ประชาชนให้ความ

ร่วมมือในการสวมหน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ดังนั้น บนพื้นฐานของข้อมูล

ณ วันนี้ จึงคาดว่า การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV ในประเทศไทยอาจจะมีได้บ้างในระดับที่ไม่รุนแรง จึงคาด

ว่า มาตรการการควบคุมการระบาดของกระทรวงสาธารณสุขและวงการแพทย์ “เอาอยู่แน่” กับการระบาดของโรคติดเชื้อ

2019-nCoV ในประเทศไทย

ข้อมูลที่อยากให้แพทย์แจ้งให้ประชาชน

สรุปได้ว่า เมื่อตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ และระบบการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อและมาตรการการควบคุมการระบาดใน

ประเทศของรัฐบาลแล้ว แพทยสภาและแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ขอให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่า กระทรวง

สาธารณสุข กรมควบคุมโรค และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อต่าง ๆ รวมทั้งแพทยสภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

ได้มาร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในช่วยกันดูแลในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมโรคนี้มิให้มีการ

ระบาดในประเทศไทยให้ได้ ระบบการเฝ้าระวังที่สนามบินและท่าเรือรวมทั้งด่านต่าง ๆ ที่มีคนจีนเข้ามา ต้องมีระบบ

ตรวจค้นหารายป่วยอย่างที่กระทรวงสาธารณสุขได้วางระบบการตรวจค้นที่สนามบินและวางระบบการส่งต่อและดูแลผู้ป่วย

ที่ต้องสงสัยไว้แล้วตามจุดต่าง ๆ ในประเทศ มีแนวทางการประสานงานที่ชัดเจนและผู้รับผิดชอบได้เฝ้าติดตามสถาณการณ์

ของโรคทั้งในต่างประเทศและในประเทศอยู่แล้ว

ฝ่ายสัตวแพทย์ต้องเริ่มส ารวจพาหะที่น าเชื้อโรค 2019-nCoV เช่น ค้างคาว โดยเฉพาะในภาคเหนือหรือเขตอพยพ

ของสัตว์ปีกจากประเทศจีนที่บินมาที่ประเทศไทยว่า ตรวจพบเชื้อไวรัสชนิดนี้ในมูลสัตว์และสิ่งคัดหลั่งจากช่องปากหรือไม่?

และท าการเฝ้าระวังตรวจหาเชื้อเป็นระยะ ๆ การน าสัตว์ที่มีชีวิตข้ามประเทศเป็นสิ่งต้องห้ามอยู่แล้วแต่ต้องเพิ่มระบบ

๒๔๓

ตรวจตราให้เข้มข้นเพราะยังมีผู้ลักลอบน าเข้ามาอยู่ ขณะนี้คาดว่า สัตว์ปีกเหล่านี้ในประเทศไทยยังไม่เป็นพาพะของเชื้อ

ไวรัสนี้ การสูดอากาศในประเทศไทยจึงยังมีความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อชนิดนี้ ส่วนการติดต่อจาก “คนสู่คน” เป็นไปได้

อย่างจ ากัดมาก หากผู้ใดเจ็บป่วยเป็นไข้และแสดงอาการของระบบทางเดินหายใจ ขอให้สวมหน้ากากอนามัยทั้งผู้ป่วย

และญาติที่เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ไอจามใส่หน้าผู้อื่น จะลดการแพร่เชื้อแบบ “คนสู่คน” ได้มาก และแนะน าให้ผู้ป่วย

ไปตรวจหาเชื้อก่อโรคว่า เป็นเชื้อชนิดใดในโรงพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐ

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ได้ส่งก าลังใจและสนับสนุนแพทย์จีนและวงการแพทย์ของประเทศจีนที่ได้แสดง

ความจริงใจในการควบคุมโรคระบาดของเชื้อ 2019-nCoV ผ่านทาง Chinese Medical Association ไปหลายวันแล้ว

ครั้งนี้ก็ขอส่งก าลังใจให้แพทย์ไทยในกระทรวงสาธารณสุข และขอยืนยันความเหมาะสมของมาตรการและแนวทางที่ใช้การ

ควบคุมโรคที่รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เป็นองค์กรหลักได้ประกาศและ

รีบเข้ามาท างานอย่างรวดเร็วและเสียสละ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคนี้อย่างทันกาล สร้างความอบอุ่นใจให้แก่

ประชาชนชาวไทยในยามที่เกิดความตระหนกแตกตื่นและความกลัวในโรคร้ายแรงที่อาจจะระบาดในประเทศไทย ทุก

องค์กรในวิชาชีพทางการแพทย์ได้ผนึกก าลัง ความรู้ ความข านาญ และประสบการณ์และพร้อมมาช่วยกันควบคุมโรคนี้

ตามความถนัดและโอกาสที่แต่ละท่านมีอยู่แล้ว

จึงขอให้แพทย์ทุกท่านช่วยกันให้ความมั่นใจแก่ประชาชนว่า ประเทศไทย “เอาอยู่แน่” อย่างแน่นอน ในเรื่องการ

ควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ภายในประเทศได้อย่างไม่ต้องสงสัย

๒๔๔

ความรู้ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019-nCoV ส าหรับแพทย์version 6

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

ค ำน ำ

บทความนี้เขียนเพื่อให้แพทย์อ่านเนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV เป็นเรื่องใหม่และมีข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้นเป็น

จ านวนมากและรวดเร็วทุกวัน ผู้เขียนพยายามตรวจสอบข้อมูลที่น ามาเสนอและอธิบายให้ถูกต้องที่สุดหรือให้ความเห็น

ส่วนตัวที่คิดว่าถูกต้องที่สุด อย่างไรก็ตาม ข้อความเหล่านี้อาจจะถูกปรับเปลี่ยนได้เมื่อมีข้อมูลใหม่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะข้อมูล

เชิงระบาดวิทยา ลักษณะของจุลชีพ และพยาธิก าเนิดของการก่อโรคของเชื้อไวรัส 2019-nCoV จากการศึกษาในหลอด

ทดลองในห้องปฏิบัติการ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณและรับผิดชอบในการน าข้อมูลในบทความมาใช้หรืออ้างอิงต่อไปใน

อนาคต โดยเฉพาะการใช้เลือกใช้ยารักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV ที่รุนแรง (การหายใจล้มเหลว) หรือการรักษา

แบบ empiric ในผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรงในพื้นที่เสี่ยงหรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV ผู้เขียนคาดว่าจะท าให้

ผู้อ่านบทความนี้อย่างน้อยชอบแบะรักที่จะได้ทราบข้อมูลวิชาการใหม่ ๆ และความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งแสดงว่าตนเอง

เป็นผู้หมั่นหาความรู้เพิ่มเติมได้โดยการอ่านและเกิดความคิดต่อยอดและอยู่ใกล้กับสมมติฐานหรือความจริงของเรื่องนี้มาก

ที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับข้อความที่องค์การอนามัยโลกกล่าวว่า “the coronavirus is spreading NOT ONLY disease,

but also rumors, myths and misinformation.” ซึ่งแพทย์ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองให้ทันกาล สม่ าเสมอ

และเลือกใช้ข้อมูลให้เหมาะสม

เชื้อ coronavirus สำยพันธุ์ใหม่ชื่อว่ำ SARS-CoV-2 ที่ก่อโรค COVID-19

เชื้อไวรัสชนิดนี้มีชื่อเฉพาะก่อนหน้านี้ว่า 2019-nCoV ในสมาชิกล าดับที่ ๗ ในตระกูล coronaviruses lineage B,

จีนัส Betacoronavirus, subgenus Sarbecovirus เชื้อมีล าดับยีนร้อยละ ๘๘ ถึง ๙๖ ที่เหมือนกับยีโนมของเชื้อ SARSlike CoV ในค้างคาว (bat-SL-CoVZC45, bat-SL-CoVZXC21 และ MG772933.1) สถาบัน Wuhan Institute of

Virology (WIV) และ Chinese Academy of Sciences (CAS) ได้ค้นพบและยืนยันล าดับจีโนมของเชื้อชนิดนี้ในวันที่ ๒

มกราคม ๒๕๖๓ และแยกเพาะเชื้อได้ในวันที่ ๕ มกราคม ทั้งนี้ ได้ส่งข้อมูลล าดับจีโนมให้องค์การอนามัยโลกในวันที่ ๑๑

มกราคม เพื่อน าข้อมูลนี้ไปใช้ในสถาบันทางการแพทย์ทั่วโลก ข้อมูลล่าสุดรายงานในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พบว่า

assembled genome ของเชื้อเหมือนกับ SARS-like coronavirus (SL-CoV) ถึงร้อยละ ๙๙.๙ ขึ้นไป และเชื้อ 2019-

nCoV จัดเป็น Sarbecovirus subgenus ของ betacoronaviruses clade 2 ส่วนเชื้อ SARS-CoV จัดเป็น clade 3

Sarbecovirus การบุกเข้าเซลล์มนุษย์อาศัย receptor binding domain (RBD) ที่เหมือนกับ SARS-CoV โดยใช้เอนไซม์

angiotensin converting enzyme II ชนิดเดียวกันในการทดลองให้เซลล์ติดเชื้อ การก่อโรคติดเชื้อชนิดนี้ในมนุษย์สรุปว่า

มีต้นตอมาจากเชื้อโรค corona virus ที่อยู่ในค้างคาว แล้วมีการกลายพันธ์(recombination event)ที่ผ่านมาทางสัตว์อีก

หนึ่งชนิด(intermediate host)ก่อนจะเข้ามาก่อโรคในคน จึงถือว่าเป็นโรคติดเชื้อชนิด zoonosis ด้วย เมื่อมีการศึกษา

การเรียงล าดับจีโนมของเชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วย ๑๐ ราย พบว่า การเรียงล าดับของจีโนมของเชื้อทั้ง ๑๐ ชนิดเหมือนกัน

๒๔๕

มากกว่าร้อยละ ๙๙.๙๘ ขึ้นไป แสดงว่า เชื้อกลุ่มนี้เพิ่งเข้ามาก่อโรคในมนุษย์ไม่นาน หากเข้ามาก่อโรคนานแล้ว น่าจะมี

การเรียงล าดับจีโนมที่แตกต่างกันมากขึ้นเพราะเชื้อไวรัสแบ่งตัวและกลายพันธุ์(มีจีโนมที่แตกต่างกัน)ง่ายมาก

น้ าเหลืองของผู้ป่วยที่หายจากโรค COVID-19 สามารถต่อต้าน(neutralized the virus) ที่ระดับความเจือจาง ๑:

๔๐ ถึง ๑:๘๐ ส่วนน้ าเหลืองของม้าที่ถูกกระตุ้นให้ต่อต้าน SARS-CoV ก็ต่อต้านเชื้อ 2019-nCoV ที่ระดับความเจือจาง ๑:

๔๐ ถึง ๑:๘๐ เช่นกัน โดยใช้เอนไซม์ angiotensin converting enzyme II ชนิดเดียวกันในการทดลองให้เซลล์ติดเชื้อด้วย

อนึ่ง ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่บินได้ในอันดับ chiroptera ส่วนสัตว์ปีกอื่น ๆ เช่น นก จัดอยู่

ไฟลัมมีแกนสันหลัง ชั้น Aves (ข้อมูลจากนายกสัตวแพทยสภา)

The World Health Organization (W.H.O.) ได้ตั้งชื่อโรคติดเชื้อชนิดนี้ในวันอังคารที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ว่า COVID19 ซึ่งย่อมาจาก coronavirus disease 2019 (CO ย่อจาก corona, VI ย่อจาก virus, D ย่อจาก disease และ 19 ย่อ

จาก 2019) ทั้งนี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อที่ท าให้เกิดการเกิด “มลทินหรือรอยด่างพร้อย (stigma)” กับเชื้อชาติหรือกลุ่ม

ประชาชนที่ติดเชื้อ สถานที่หรือประเทศที่เกิดการระบาดของโรค สัตว์ที่อาจจะเป็นตัวแพร่เชื้อ นอกจากนี้ ชื่อโรคต้องอ่าน

ง่ายและเข้าใจง่ายว่าเป็นโรคติดเชื้อชนิดนี้ ส่วนชื่อของเชื้อที่เรียกว่า 2019-nCoV ก็ตั้งชื่อใหม่ว่า SARS-CoV-2

ภาพจาก scanning electron microscope แสดงเชื้อ SAR-CoV-2 (สีเหลือง) ที่อยู่บนผิวเซลล์มนุษย์ (สีชมพู) จากผู้ป่วยในอเมริกา (Image

credit: © Rocky Mountain Laboratories at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases หรือย่อว่า NIAID-RML)

๒๔๖

ภาพจาก transmission electron microscope แสดงเชื้อที่เพิ่งออกมาจากเซลล์มนุษย์ จะเห็นว่า มีปุ่มโดยรอบ

ผิวเชื้อที่เรียกว่า corona หรือแปลว่า มงกุฎ จึงกลายเป็นชื่อของเชื้อชนิดนี้ coronavirus (Image credit: NIAID-RML)

ภาพแสดงการจับระหว่าง SARS-spike protein ของเชื้อกับ angiotensin-converting enzyme (ACE2) receptor ที่ผิว

เซลล์ในปอดของมนุษย์และท าให้เชื้อเข้าไปในเซลล์และก่อให้เกิดการอักเสบของปอด (จาก Journal of Molecular

Medicine 2006;84:814–20.) เชื่อว่า เชื้อ SARS-CoV-2 ใช้ receptor อันเดียวกับ SARS-CoV-3

๒๔๗

Figure 1. (a) Mutations in contact residues of the SARS-CoV-2 spike protein. The spike

protein of SARS-CoV-2 (top) was aligned against the most closely related SARS-like CoVs and

SARS-CoV-1. Key residues in the spike protein that make contact to the ACE2 receptor are

marked with blue boxes in both SARS-CoV-2 and the SARS-CoV Urbani strain. ( b) Acquisition

of polybasic cleavage site and O-linked glycans. The polybasic cleavage site is marked in grey

with the three adjacent predicted O-linked glycans in blue. Both the polybasic cleavage site and Olinked glycans are unique to SARS-CoV-2 and not previously seen in lineage B betacoronaviruses.

Sequences shown are from NCBI GenBank, accession numbers MN908947, MN996532,

AY278741, KY417146, MK211376. The pangolin coronavirus sequences are a consensus

generated from SRR10168377 and SRR10168378 (NCBI BioProject PRJNA573298)18,19

.

Figure 1. (a) Mutations in contact residues of the SARS-CoV-2 spike protein. The spike protein of

SARS-CoV-2 (top) was aligned against the most closely related SARS-like CoVs and SARS-CoV-1.

Key residues in the spike protein that make contact to the ACE2 receptor are marked with blue

boxes in both SARS-CoV-2 and the SARS-CoV Urbani strain. ( b) Acquisition of polybasic cleavage

site and O-linked glycans. The polybasic cleavage site is marked in grey with the three adjacent

predicted O-linked glycans in blue. Both the polybasic cleavage site and O-linked glycans are

unique to SARS-CoV-2 and not previously seen in lineage B betacoronaviruses. Sequences shown

are from NCBI GenBank, accession numbers MN908947, MN996532, AY278741, KY417146,

MK211376. The pangolin coronavirus sequences are a consensus generated from SRR10168377

and SRR10168378 (NCBI BioProject PRJNA573298)18,19.

๒๔๘

ข้อมูล ณ วันที่ ๑๒ กุมภำพันธ์๒๕๖๓ (epidemiologic picture is changing on a daily basis)

ข้อมูลก่อนหน้ำนี้

การรายงานผู้ป่วยและผู้สัมผัสรายป่วยและติดเชื้อในประเทศเยอรมนีใน letter to NEJM (January 30, 2020

DOI: 10.1056/NEJMc2001468) เป็นข้อมูลใหม่ที่ท าให้มีการปรับสมมติฐานและความคิดในเรื่องการแพร่กระจายเชื้อ จึง

ใช้ข้อมูลใหม่มาปรับเนื้อหาของบทความนี้ หลังจากปรับข้อความในบทความก่อนหน้านี้ไปแล้ว ปรากฏว่า มีข้อมูลใหม่

ข้างล่างที่เพิ่มเติมมาอีก ท าให้บทความฉบับนี้ต้องกลับไปสรุปเหมือนเดิมว่า การแพร่เชื้อโดยผู้ที่ไม่มีอาการเลย เป็นไปได้

น้อยมาก ดังที่แสดงในข้อความข้างล่างนี้ข้อมูลใหม่นี้รายงานจากหน่วยงานหนึ่งของประเทศเยอรมนีที่ชี้แจงว่า ข้อมูลใน

letter to NEJM (January 30, 2020, DOI: 10.1056/NEJMc2001468) ที่ว่า หญิงจีนไม่ป่วยขณะที่ประชุมนั้น “ไม่จริง”

ข้อมูลเพิ่มเติมใหม่ในเรื่องนี้จาก The Robert Koch Institute (RKI), the German government’s public health

agency ได้เขียนจดหมายไปถึง NEJM ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์และแจ้งว่า ข้อมูลในจดหมายนั้นยังไม่ถูกต้อง ดังที่พาดหัวข้อ

ว่า “Study claiming new coronavirus can be transmitted by people without symptoms was flawed

” by Kai Kupferschmidt; Feb. 3, 2020, 5:30 PM. และต้องการให้ข้อมูลที่ถูกต้องดังมีข้อความบางตอนที่ส าคัญดังนี้

But the researchers didn’t actually speak to the Chinese woman before they published the

paper. The last author, Michael Hoelscher of the Ludwig Maximilian University of Munich Medical

Center, says the paper relied on information from the four other patients: “They told us that the

patient from China did not appear to have any symptoms.” Afterward, however, RKI and the Health

and Food Safety Authority of the state of Bavaria did talk to the Shanghai patient on the phone, and it

turned out she did have symptoms while in Germany. According to people familiar with the call, she

felt tired, suffered from muscle pain, and took paracetamol, a fever-lowering medication. (An RKI

spokesperson would only confirm to Science that the woman had symptoms.) แสดงว่า หญิงจีนรายนี้ป่วย

ขณะที่เข้าประชุมที่บริษัทในเยอรมนีกินยาลดไข้ และคงไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยด้วย ท าให้ผู้อื่นคิดว่า เธอปกติ ท าให้

ผู้อื่นไม่ระวังตัวและเธอก็แพร่เชื้อไปในอากาศง่ายขึ้น ข้อมูลใหม่นี้แสดงว่า การแพร่เชื้อโดยผู้ที่ไม่มีอาการใด ๆ เลยยังมี

ความเป็นไปได้น้อยและไม่น่าใช่วิธีหลักในการแพร่เชื้อ ดังนั้นข้อมูลที่มีถึงขณะนี้จะยังแสดงว่า การแพร่เชื้อโดยผู้ที่ไม่มี

อาการใด ๆ เลยมีโอกาสท าให้ผู้ที่อยู่ข้างเคียงติดเชื้อน้อย ผู้ที่มีไข้ ไอ จะแพร่เชื้อได้มากกว่าจนท าให้คนที่อยู่ข้างเคียงป่วย

ต่อได้แต่มักจะป่วยไม่รุนแรง ผู้ที่ป่วยจนถึงขั้นเป็นปอดอักเสบรุนแรงจะแพร่เชื้อได้มากที่สุด ท าให้ผู้อื่นติดเชื้อได้ง่ายที่สุด

สถำนกำรณ์ของควำมรุนแรงตำมประกำศขององค์กำรอนำมัยโลกและหนังสือพิมพ์จีน

องค์การอนามัยโลกประกาศให้การระบาดของโรคนี้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ “public

health emergency of international concern ย่อว่า PHEIC” เพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อสรุปของผู้บริหารระดับสูง

ขององค์การอนามัยโลกให้ทุกประเทศทราบ แต่ยังให้แต่ละประเทศตัดสินใจเลือกใช้วิธีการป้องกันและการตรวจโรคเองว่า

จะปิดพรมแดนระหว่างประเทศ จะยกเลิกเที่ยวบินเข้าประเทศจากพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ จะท าการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อที่

๒๔๙

ด่านเข้าประเทศ เช่น ที่สนามบิน และใช้วิธีการป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้ออย่างเข้มข้นอย่างไรก็ได้ ประกาศของ

องค์การอนามัยโลกครั้งนี้เป็นการกลับค าขององค์การอนามัยโลกเองที่เคยประกาศว่า “ยังไม่เป็นภาวะฉุกเฉิน ฯ” ข้อมูล

หลักประกอบการตัดสินใจครั้งนี้ได้แก่ ข้อมูลการติดเชื้อจาก “คนสู่คน” มีเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะล่าสุด เกิดในประเทศ

สหรัฐอเมริกาและยังไม่มียาต้านไวรัสโดยเฉพาะ ค าเตือนนี้คล้ายกับไฟจราจรที่อยู่ในระดับ “สีเหลือง” ก่อนจะถึง “สีแดง”

การประกาศเช่นนี้ท าให้ประเทศต่าง ๆ ที่ด้อยศักยภาพและขาดแคลนทรัพยากรในด้านต่าง ๆ สามารถขอความช่วยเหลือ

จากองค์การอนามัยโลกในการควบคุมการระบาดได้ ในอดีตที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลกเคยประกาศภาวะฉุกเฉินมาแล้ว

๕ ครั้ง ได้แก่ pandemic Flu ค.ศ. 2009, Poliomyelitis ค.ศ. 2014, Ebola ค.ศ. 2014, Zika virus ค.ศ. 2016, Ebola

ค.ศ. 2019 และครั้งที่ ๖ ได้แก่ 2019-nCoV ในปี ค.ศ. 2020

การประกาศครั้งนี้ เพื่อเตือนประเทศอื่น ๆ ให้เตรียมพร้อมที่จะควบคุมการระบาดของโรคในประเทศของตนนอก

ประเทศจีน โดยเฉพาะประเทศที่ยังไม่มีการเตรียมความพร้อมหรือมีศักยภาพต่ าในการควบคุมโรคระบาดจากโรคติดเชื้อ

และสามารถขอความช่วยเหลือในการควบคุมโรคในด้านทรัพยากรต่าง ๆ จากองค์การอนามัยโลกได้ ส่วนประเทศไทยถือว่า

มีการเตรียมความพร้อมและมีศักยภาพสูงมากพอที่จะรับมือกับโรคนี้ได้

สมมติฐำนของแหล่งแรกที่แพร่เชื้อและท ำให้เกิดกำรระบำดในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน

ในระยะแรก ทุกคนก็พุ่งไปที่ตลาดขายอาหารทะเลสดในเมือง Wuhan (seafood market, Wuhan) ประเทศจีน

ว่าเป็นแหล่งแรกที่เริ่มแพร่เชื้อ แต่ในบทความรายงานผู้ป่วยในวารสาร Lancet ท าให้เกิดสมมติฐานเพิ่มเติมอีก รวมเป็น

สมมติฐานสี่แบบที่ต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ดังนี้

๑. ในบทความกล่าวถึง ผู้ป่วยรายแรกในวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ แสดงว่า รายนี้เริ่มติดเชื้อในปลายเดือนพฤศจิกายนและใน

เวลานั้น รายนี้ยังไม่ได้มาที่เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) แสดงว่า การติดเชื้อมีมาแบบเงียบ ๆ ในสถานที่อื่นก่อนจะมีการระบาดครั้ง

นี้ แต่ไม่สามารถชันสูตรเชื้อก่อโรคได้ชัดเจน บทความฉบับนี้รายงานว่ามีผู้ป่วยอีก ๑๓ รายจาก ๔๑ รายที่ไม่ได้มาที่เมืองอู่

ฮั่นด้วย สรุปว่าโรคนี้น่าจะมีมาก่อนแล้วในประเทศจีน แต่มาแพร่เชื้อและชันสูตรเชื้อได้ในผู้ป่วยที่มาซื้อสินค้าหรือเข้ามาที่

ตลาดขายอาหารทะเลสดที่เมืองอู่ฮั่นเพราะมีการเจ็บป่วยของผู้คนพร้อมกันเป็นจ านวนมาก ท าให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่แสดง

อาการออกมาตั้งแต่วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๖๒ และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นตลอดทั้งเดือนธันวาคมจนถึงมกราคม แม้ว่าทางการจีน

ยอมรับว่า เชื้ออาจจะแพร่จากผู้ป่วยไปยังคนข้างเคียงได้(คนสู่คน) แต่หลักฐานเชิงระบาดวิทยาแสดงว่า การระบาดจาก“คน

สู่คน”ยังเป็นไปได้น้อย ขณะนี้มีการรายงานผู้ป่วยชายชาวเวียตนามอายุ ๖๕ ปีติดเชื้อ 2019-nCoV เมื่อไปเมืองจีน แต่ไม่ได้

ไปตลาดสดที่เมืองอู่ฮั่น แล้วกลับมาป่วยในประเทศเวียตนามในวันที่ ๑๗ มกราคม ภรรยาที่ไปด้วยไม่ได้ป่วยไม่ติดเชื้อ แต่ลูก

ชายอายุ ๒๗ ปีที่อยู่ในเวียตนาม มารับพ่อที่สนามบินและนอนอยู่กับพ่อตั้งแต่วันที่ ๑๗ มกราคม ต่อมามีไข้และไอในวันที่ ๒๐

มกราคมและตรวจพบเชื้อ 2019-nCoV ด้วย แสดงว่าลูกชายอยู่ใกล้ชิดกับพ่อ ติดจากพ่อ และรายนี้มีระยะฟักตัวของโรค

เท่ากับ ๓ วัน ข้อมูลล่าสุดของการแพร่เชื้อจาก “คนสู่คนนอกพื้นที่เสี่ยง” ในเยอรมนีสนับสนุนความคิดที่ว่า การแพร่เชื้อ

จาก “คนสู่คน” เกิดได้ง่ายมากกว่าที่คาดคิดไว้ แต่ข้อมูลในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์จาก The Robert Koch Institute (RKI),

the German government’s public health agency แจ้งว่า หญิงจีนรายนั้นก็ป่วยมีไข้อยู่แล้วในขณะที่เธอมาประชุม

ดังนั้น การแพร่เชื้อโดย “คนสู่คนนอกพื้นที่ระบาด” ยังเป็นไปได้น้อยมากเช่นเดิม

 เมื่อรัฐบาลจีนสั่งปิดเมืองและห้ามการเคลื่อนย้ายของประชากรในพื้นที่ที่มีการระบาดมากของโรคโดยเฉพาะเมืองที่

เป็น epicenter of the 2019-nCoV coronavirus outbreak และถ้าได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่

๒๕๐

นั้นอย่างเต็มที่ในการอยู่แต่ในพื้นที่ในบ้านที่อยู่อาศัยเท่านั้น มีการสวมหน้ากากอนามัย การแพร่เชื้อจากคนสู่คนใน

พื้นที่จะลดลงและจ านวนผู้ป่วยน่าจะคงที่และเริ่มลดลงเพราะการแพร่เชื้อจะหมดสิ้นไปภายในกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓

เพราะไม่มีคนเอาเชื้อไปแพร่นอกพื้นที่อื่นอีก การแพร่เชื้อตามสมมติฐานในข้อ ๑ จาก “คนสู่คน” ก็จะหมดสิ้นไป

หากยังมีรายป่วยเพิ่มมากขึ้นอีก ต้องไปหาแหล่งอื่นที่เป็น superspreader ของเชื้อโรค

๒. มีกลุ่มสัตว์ปีกรวมถึงค้างคาว(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม)ที่มีเชื้อ 2019-nCoV ล าคอและอุจจาระ แล้วถูกน ามารวมกันในกรง

และขายในตลาดสดแห่งนี้ สัตว์เหล่านี้ไม่ได้ป่วยแต่เป็นรังแพร่เชื้อโรค โดยเฉพาะขณะที่มีการร้องของสัตว์ปีกหรือการถ่าย

มูลอุจจาระที่มีเชื้อโรคออกมาเป็นละอองฝอยในตลาดสด มักจะเกิดขึ้นตอนที่จะเชือดคอสัตว์ปีกให้ตายต่อหน้าลูกค้าที่มาซื้อ

ท าให้คนที่เดินผ่านหรือลูกค้าที่มาซื้อสัตว์ เข้าไปรับเชื้อที่กระจายเป็นละอองฝอยเข้าสู่หลอดลมและปอด

 ขณะนี้ประเทศจีนได้สั่งปิดตลาดสดไปหมดแล้ว การแพร่เชื้อจาก “สัตว์ในตลาดสดไปสู่คน” จึงไม่ใช่วิธีหลักใน

การแพร่เชื้ออีกต่อไป การแพร่เชื้อตามสมมติฐานในข้อ ๒ ก็จะตกหรือหมดสิ้นไปในขณะนี้ จ านวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ

โดยวิธีนี้น่าจะหมดไปแล้วด้วยภายในเดือนกุมภาพันธ์เช่นกัน

๓. มีสัตว์ปีก ๑ ชนิดหรือ ๑ ตัว เช่น ค้างคาว(สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ๑ ตัวหรือกลุ่มค้างคาวที่มีเชื้อและบินอยู่ในอากาศ

ปล่อยมูลนกกลางอากาศให้กลายเป็นละอองฝอย แล้วบินผ่านมาแพร่เชื้อ 2019-nCoV กลางอากาศในตลาดสดแห่งนี้ เป็น

ละอองฝอยต่อไปสู่สัตว์ปีกและผู้คนจ านวนมากที่เดินผ่านมาในตลาดสดหรือในพื้นที่นี้ท าให้เกิดการรายงานรายป่วยจ านวน

มากพร้อม ๆ กันจากพื้นที่ในเมืองอู่ฮั่น และในเมืองอื่น ๆ ตามมา

 ขณะนี้ก าลังรอข้อมูลการตรวจหาเชื้อไวรัสในสิ่งแวดล้อม ในอากาศ ในสัตว์ปีกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็น

epicenter of new coronavirus outbreak ว่า ยังพบเชื้อชนิดนี้หรือไม่? โดยเฉพาะค้างคาว(สัตว์เลี้ยงลูกด้วย

นม)ซึ่งสามารถเป็นพาหะของเชื้อโดยตัวค้างคาวเองไม่เจ็บป่วย สัตวแพทย์จะต้องหาข้อมูลในด้านนี้ให้พร้อม เพื่อ

จะได้พบข้อมูลที่ถูกต้องถึงแหล่งแรกที่ยังคงแพร่เชื้ออยู่ต่อไปหากยังมีจ านวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณในเดือน

กุมภาพันธ์และมีนาคม

๔. มีการแพร่เชื้อภายในที่อยู่อาศัย มีคลิป (ดูรูปข้างล่าง ๒ ภาพ) ที่ส่งต่อมาแจ้งว่า ในเดือนธันวาคม ๒๐๑๙ พบว่า มี

ค้างคาวจ านวนมาก “จ าศีล” โดยอาศัยอยู่ใต้หลังคาบ้านในหมู่บ้านบริเวณเมืองอู่ฮั่น ถ้ามีค้างคาวมากแบบนี้จริงใต้

กระเบื้องบุหลังคาและเป็นพาหะของเชื้อ 2019-nCoV ค้างคาวเหล่านี้อาจจะเป็นรังโรคที่ส าคัญและปล่อยมูลนกและสิ่งคัด

หลั่งทางลมหายใจออกมาใต้หลังคาบ้านที่อยู่ในตลาดสดแห่งนี้หรือในพื้นที่บริเวณนี้แล้วแพร่เชื้อเป็นละอองฝอยสู่ผู้คนที่

อาศัยในบ้านหรือพื้นที่ใกล้เคียง จนท าให้มีผู้คนจ านวนมากสูดดมอากาศที่มีเชื้อปนเปื้อนและป่วยเป็นจ านวนมากด้วยจาก

พื้นที่แห่งนี้ ค้างคาวในพื้นที่อื่นที่ใกล้เคียงอาจจะมีเชื้อ 2019-nCoV ด้วย จึงมีการรายงานผู้ป่วยบางรายที่ไม่ได้ไปที่ตลาด

สดเมืองอู่ฮั่น แต่อยู่ในมณฑลหูเป่ย การสูดอากาศที่มีละอองฝอยที่ปนเปื้อนเชื้อ 2019-nCoV ท าให้มีการรายงานผู้ป่วยที่อยู่

ห่างไกลจากตลาดขายอาหารทะเลสดได้หรือผู้ป่วยไม่เคยมาที่ตลาดแห่งนี้ หากค้างคาวติดเชื้อกลุ่มนี้ไปอยู่ที่มณฑลอื่นของ

ประเทศจีน ก็จะแพร่เชื้อในอากาศหรือในบ้านให้แก่ประชาชนในมณฑลอื่นได้ ซึ่งจะท าให้มีการระบาดของโรคไปในพื้นที่

ใหม่ที่ยังไม่เคยมีโรค รวดเร็วกว่าวิธีแพร่เชื้อแบบ “คนสู่คน”

๒๕๑

ข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่า สมมติฐานข้อใดน่าจะถูกต้องที่สุดหรือมีหลายข้อที่ถูกต้องร่วมกัน คือ ต้อง

ไปเก็บตัวอย่างอากาศในพื้นที่ ในบ้าน และจากมูลสัตว์และสิ่งคัดหลั่งเช่น น้ าลายของสัตว์ปีกเหล่านี้ในเมืองอู่ฮั่น

รวมทั้งค้างคาวที่อาศัยตามหลังคาบ้าน แล้วน ามาตรวจเพาะเชื้อว่า มีเชื้อไวรัส 2019-nCoV ในตัวอย่างเหล่านี้หรือไม่?

แล้วตรวจล าดับรหัสพันธุกรรมอีกครั้งเพื่อยืนยันว่า เป็นเชื้อชนิดเดียวกันจริงไหมกับที่พบในผู้ป่วย? การตรวจพบเชื้อ

ในอากาศ ในสัตว์ปีกและค้างคาวในพื้นที่ จะช่วยในการควบคุมการแพร่กระจายจากแหล่งของรังโรคได้ดีขึ้น อนึ่ง การ

ตรวจหารหัสพันธุกรรมของเชื้อ 2019-nCoV ด้วยวิธี quantitative real-time RT-PCR (qRT-PCR) ไม่ได้แปลว่า

เป็นเชื้อไวรัสที่มีชีวิตและแพร่กระจายได้เพียงแต่แสดงว่า มีหลักฐานของเชื้อโรคมาอยู่ที่บริเวณนั้นหรือผู้ป่วยรายนั้นมี

การติดเชื้อเท่านั้น

ดังนั้น หลังจากการปิดเมืองที่มีการระบาดและตลาดสดแล้ว หากยังมีการระบาดของโรคหรือยังมีรายใหม่เกิดขึ้น

อย่างรวดเร็วและมีจ านวนมากในพื้นที่หรือนอกพื้นที่ที่มีการระบาดและอยู่ในประเทศจีนอีก แสดงว่า การแพร่เชื้อโดย

สมมติฐานข้อ ๓ และ ๔ จะเป็นจริงมากขึ้นและต้องยืนยันโดยการตรวจพบเชื้อในอากาศและสัตว์ปีก เช่น ค้างคาวใน

ประเทศจีน ต่อไป หากเป็นเช่นนี้จริงตามสมมติฐานข้อที่ ๓ และ ๔ การควบคุมการระบาดของโรคจะมีวิธีการที่

ชัดเจน เพิ่มเติมและมุ่งตรงไปที่การก าจัดเชื้อที่แหล่งต้นตอที่แพร่เชื้อได้เสียทีเช่น การพ่นน้ ายาฆ่าเชื้อไปในอากาศ

สวนสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ตามบ้านเรือนของผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่ที่มีผู้ป่วยรายใหม่เกิดขึ้นอีกเป็นจ านวนมาก เสมือน

หนึ่งพ่นยาฆ่ายุงตามบ้านของผู้ป่วยไข้เลือดออกรายใหม่และสิ่งแวดล้อมนอกบ้าน เป็นต้น การมีเครื่องกรองอากาศและ

ฆ่าเชื้อไว้ท าลายเชื้อไวรัสภายในบ้าน

สถำนกำรณ์ของโรคขององค์กำรอนำมัยโลก รำยงำน ณ วันที่ ๑๓ กุมภำพันธ์๒๕๖๓

การรายงานขององค์การอนามัยโลก แสดงว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยจ านวน ๔๖,๙๙๗ รายที่ตรวจพบเชื้อและมีการยืนยัน

แล้ว และยังมีจ านวนเพิ่มขึ้นทุกวัน มีผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรม ๑,๓๖๗ ราย พบผู้ป่วยใน ๒๔ ประเทศ อัตราตายเท่ากับ

(๑,๓๖๗/๔๖,๙๙๗)*๑๐๐ เท่ากับ ร้อยละ ๒.๙๑ ทั้งนี้ ไม่รวมกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการในทางเดินหายใจแต่ยังไม่ทราบผลการ

ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

๒๕๒

สถำนกำรณ์ของโรคของประเทศจีน รำยงำน ณ วันที่ ๑๕ กุมภำพันธ์๒๕๖๓ จำก South China Morning Post

๒๕๓

ในประเทศจีน ตามรายงานของ South China Morning Post พบว่า มีรายป่วย ๖๔,๔๕๔ รายทั่วโลกที่ตรวจพบเชื้อแล้ว

และถึงแก่กรรม ๑,๓๘๓ ราย อัตราตายโดยรวมร้อยละ (๑,๓๘๓/๖๔,๔๕๔)*๑๐๐ เท่ากับ ๒.๑๔) เมื่อคิดแยกว่า เป็นอัตรา

ตายในประเทศจีนและนอกประเทศจีนพบว่า แตกต่างกันค่อนข้างมาก ดังนี้ อัตราตายในประเทศจีนร้อยละ (๑,๓๘๐/

๖๓,๘๕๑)*๑๐๐ เท่ากับ ๒.๑๖) อัตราตายนอกประเทศจีนร้อยละ (๓/๖๐๓)*๑๐๐ เท่ากับ ๐.๐๔๙๗) แตกต่างกันเกือบ ๖

เท่า และรายที่ตายนอกประเทศจีนก็เป็นชาวจีน ๒ รายที่ออกนอกประเทศจีนมาด้วย ส่วนในประเทศญี่ปุ่นเป็นหญิงญี่ปุ่น

รายแรกอายุ ๘๐ กว่าปี ป่วยในวันที่ ๒๒ มกราคม และถึงแก่กรรมในวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ โดยที่ไม่มีประวัติไปประเทศจีน

หรือสัมผัสรายป่วยจากที่อื่น นอกประเทศจีน พบผู้ป่วย ๖๐๓ รายที่ตรวจพบเชื้อแล้วและอยู่ในมากกว่า ๒๗ ประเทศ (ให้

ดูรายละเอียดจากภาพที่แนบมาข้างล่าง) จนถึงวันนี้มีชาวจีน ๒ รายที่ติดเชื้อและออกมาป่วยนอกประเทศจีนและถึงแก่

กรรมคือ ที่ประเทศฟิลิปปินส์และฮ่องกงอย่างละ ๑ ราย มากกว่าร้อยละ ๘๐ ของผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมมีอายุมากกว่า ๖๐ ปี

และมากกว่าร้อยละ ๗๕ มีโรคประจ าตัวร่วมด้วย เช่น เบาหวาน เป็นต้น

ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง ๑ ถึง ๑๔ วัน แม้จะมีการรายงานใหม่ว่า อาจจะนานถึง ๒๔ วันได้รายงานใหม่

แจ้งว่า ค่า median ของระยะฟักตัวคือ ๒ หรือ ๓ วัน พบผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ ๑ เดือนไปจนถึงอายุ ๙๐ ปี ลักษณะคลินิก

ของโรคนี้ตามรายงานของ Dr. Sylvie Briand, หัวหน้าหน่วยของ WHO’s Global Infectious Hazard Preparedness

division ในวันจันทร์ที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ แจ้งว่า ผู้ที่ติดเชื้อ 2019-nCoV ร้อยละ ๘๐ มีอาการคล้ายหวัด ไอ อีกร้อยละ ๑๕

เป็นปอดอักเสบ และร้อยละ ๓ ถึง ๕ ป่วยหนักจนต้องรักษาในหออภิบาล การป่วยที่รุนแรงจะเกิดหลังจากป่วยได้ ๖ ถึง ๘

วัน ความรุนแรงของโรคท าให้เกิดปอดอักเสบและระบบการหายใจล้มเหลวและส่วนมากเกิดขึ้นในวันที่ ๖ ถึง ๘ ของการ

ด าเนินโรค ส่วนผู้ที่ป่วยเป็นเพียงหลอดลมอักเสบ ผู้ป่วยส่วนมากจะมีอาการทุเลาแล้วในวันที่ ๗ ของการด าเนินโรค ร้อย

ละ ๗๕ ของผู้ป่วยที่ถึงแก่กรรมเป็นผู้สูงอายุและมีโรคอื่นในกลุ่ม NCD ร่วมด้วย

๒๕๔

ข้อมูล ณ วันที่ ๑๔ กุมภำพันธ์ ๒๕๖๓ จำกประเทศจีน เมื่อมีกำรปรับค ำจ ำกัดควำมว่ำ ผู้ที่พบว่ำ มีรอยโรคจำก

ภำพถ่ำยด้ำนรังสี ให้นับเป็น case และผู้ที่ให้ผลบวกกับกำรตรวจหำเชื้อให้นับเป็น “ผู้ที่ให้ผลบวก”

ในประเทศไทย (ณ วันที่ ๑๒ กุมภำพันธุ์๒๕๖๓)

ในวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ได้สรุปว่า รายงานผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีเพิ่มขึ้นอีก ๖ ราย ส่งผล

ให้ประเทศไทยมีผู้ป่วยสะสมทั้งสิ้น ๒๕ ราย รักษาหายแล้ว ๙ ราย เหลือรักษาใน รพ.อีก ๑๖ ราย ส าหรับผู้ป่วยรายใหม่ ๖

ราย เป็นคนไทย ๔ ราย โดย ๒ ราย เป็นสามีภรรยา มีประวัติเดินทางกลับจากท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น ส่วนอีก ๒ ราย

เป็นผู้ขับรถโดยสารไม่ประจ าทางและรับนักท่องเที่ยวชาวจีน และอีก ๒ รายเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน ในจ านวนผู้ป่วย

ยืนยันรายใหม่ ๖ รายนั้น ๕ ราย อาการดีขึ้น รอผลตรวจเชื้อทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เป็นลบ ก็จะอนุญาตให้กลับ

บ้านได้ แต่มี ๑ รายที่เป็นรายล่าสุด อายุ ๗๐ ปี ส่งต่อจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งมายังสถาบันบ าราศนราดูรเมื่อวันที่

๓ กุมภาพันธ์สภาพแรกรับใส่ท่อช่วยหายใจ ผลการวินิจฉัยเป็นวัณโรคและติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วย ส่วนคนขับ

แท็กซี่ชาวไทย ๑ รายที่ป่วยเป็นรายแรกของไทยที่ติดจาก “คนสู่คน” นอกพื้นที่เสี่ยง รายนี้ขับรถรับนักท่องเที่ยวจีนที่

สนามบินมาเที่ยวในไทย หายดีแล้ว ไม่มีรายใดในประเทศไทยเสียชีวิต นอกจากนี้ มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวัง ๕๔๘

ราย คัดกรองจากสนามบิน ๔๘ ราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง ๕๐๑ ราย ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล ๔๒๕ ราย

(อยู่ใน รพ.เอกชน มากกว่าครึ่ง) กลับบ้านแล้ว ๑๒๔ ราย

จนถึงวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ไทยมีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันนี้ ยืนยันเพิ่มเติมอีก ๑ ราย เป็น

รายที่ ๓๓ โดยเป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีนอายุ ๕๔ ปี มาจากเมืองอู่ฮั่น เดินทางมาก่อนปิดเมือง โดยรายนี้เป็นผู้สัมผัส

ใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อยืนยันที่เป็นนักท่องเที่ยวชายจีนรายที่ ๒๒ ซึ่งรายนี้เป็นผู้สัมผัส จึงได้ติดตามเฝ้าระวังไข้ทุกวันใน

๒๕๕

๑๔ วัน เมื่อพบว่ามีไข้ไอ เจ็บคอ จึงน าตัวเข้ามาที่ห้องแยกโรค สถาบันบ าราศนราดูรเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ และ

ดูแลรักษา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการในวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ พบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อาการดีขึ้น

โดยล าดับ ผู้ป่วยส่วนมากในภาพภาพรวมอาการดีขึ้น หลายรายพร้อมให้กลับบ้าน รอแต่ผลตรวจต้องไม่พบเชื้อ แม้มี

ผู้ป่วยจ านวนหนึ่งยังนอนห้องแยกโรคแต่สบายดีทุกอย่าง ผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ๒ ราย อาการยังทรงตัว

ที่ต้องบันทึกไว้คือ ผู้ป่วยติดเชื้อรายแรกในประเทศไทยเป็นชาวจีนและถูกตรวจพบที่สนามบินสุวรรณภูมิโดยทีม

บุคลากรทางการแพทย์ที่มีนายแพทย์โรม บัวทอง ส านักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เป็นหัวหน้าทีมเฝ้าระวัง และได้ส่ง

ตัวอย่างไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ด้วย เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมของเชื้อก็

พบว่า เป็นเชื้อ 2019-nCoV โดย ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดีท าให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกนอกประเทศจีนที่ตรวจพบ

เชื้อไวรัส 2019-nCoV ได้ก่อนประเทศอื่น และมีความส าคัญอย่างยิ่งในการแสดงข้อมูลทางระบาดวิทยาและศักยภาพใน

การควบคุมโรคนี้ในประเทศไทย ยังไม่มีแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อแบบ “คนสู่คน”จากการแพร่กระจายใน

ประเทศไทย

ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้รับรองผลการตรวจชันสูตรเชื้อ 2019 nCoV ได้แน่นอน ๔ แห่ง คือ สถาบันวิจัย

วิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์สถาบันบ าราศนราดูร ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่

สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลราชวิถี ส่วนการตรวจชันสูตรเชื้อเบื้องต้นในโรงพยาบาลประจ าจังหวัดหรือในสถาบันอื่น

ก็สามารถตรวจหาเชื้อชนิดนี้และได้ผลเบื้องต้นได้ แต่ขอให้ส่งตัวอย่างมาตรวจยืนยันความถูกต้องอีกครั้งที่สถาบันแห่งใด

แห่งหนึ่งใน ๔ แห่งนี้

วิธีกำรติดต่อของเชื้อไวรัส 2019-nCoV

การระบาดในกลุ่มชนพร้อม ๆ กันเป็นจ านวนมากและป่วยเป็นโรคปอดอักเสบในบางรายในเมืองอู่ฮั่นหรือเมืองจีน

แสดงว่า การสูดดมละอองฝอย aerosol และ droplet ในอากาศเป็นการกระจายของเชื้อ จากการไอจามของผู้ป่วยที่มี

เชื้อไวรัสปะปนอยู่ซึ่งเป็นวิธีที่แพร่เชื้อที่ส าคัญสอดคล้องกับข้อมูลเชิงระบาดวิทยา อาจจะมีการระบาดจากคนสู่คน หรือ

การใช้มือสัมผัสสิ่งปนเปื้อนเชื้อโรคได้บ้างแต่จะเกิดในผู้ป่วยส่วนน้อย แหล่งที่แพร่เชื้อในตอนแรกน่าจะเป็นตามสมมติฐาน

ในข้อที่สองถึงสี่มากที่สุด (โดยเฉพาะสมมติฐานข้อ ๔) เพราะการกินสัตว์ปีกหรือค้าวค้าง(หรืองู)เป็นการติดเชื้อจากการ

สัมผัสซึ่งแพร่เชื้อได้ช้ากว่ามาก ไม่รวดเร็วแบบที่พบในการระบาดครั้งนี้ นอกจากนี้เชื้อไวรัสอาจจะตายไปแล้วในระหว่าง

การปรุงอาหารด้วยความร้อน จากการที่มีผู้ป่วยบางรายกลับไปยังประเทศของตนซึ่งอยู่ห่างไกลจากประเทศจีน แล้วยังไม่

พบชัดเจนว่า มีผู้ที่อยู่ใกล้เคียงผู้ป่วย เช่น ภรรยา สามีลูกหลานในบ้านเดียวกัน เพื่อนในสถานที่ท างานเดียวกันกับผู้ป่วย

หรือผู้โดยสารในเครื่องบินหรือรถโดยสารด้วยกัน ป่วยหลายรายพร้อม ๆ กันเป็นวงกว้าง ก็จะสนับสนุนว่า การแพร่เชื้อ

จาก “คนสู่คน” ยังมีโอกาสน้อยและไม่สามารถแพร่เชื้อได้รวดเร็วแบบที่เห็นในเมืองจีนในครั้งนี้ ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการ

เดินทางเข้าไปในพื้นที่ที่มีโรคระบาด เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคเพราะอากาศในพื้นที่น่าจะเป็นมลพิษไปแล้ว จนกว่า

สัตว์ที่เป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อโรคเช่น ค้างคาว ได้ถูกก าจัดไป หรือสัตว์ถูกเลี้ยงดูในระบบปิดที่ไม่ให้อากาศถ่ายเทจาก

ภายในกรงออกสู่อากาศภายนอกโดยปราศจากการท าลายเชื้อโรคก่อน

อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานใหม่ที่แสดงว่า การแพร่เชื้อเกิดขึ้นได้โดยการจามหรือไอตั้งแต่ก่อนที่รายนั้นจะมีอาการ

ทางคลินิก และข้อมูลการติดเชื้อจากคนสู่คนในประเทศเยอรมนีท าให้คิดว่า การระบาดจากคนสู่คนอาจจะง่ายกว่าที่คาดคิด

แต่ว่า ข้อมูลต่อมาในเรื่องนี้ แจ้งว่า ที่จริงหญิงจีนรายนี้ป่วยในขณะประชุมอยู่แล้วและคงจะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย

ดังนั้น การแพร่เชื้อยังมีจ ากัด แม้ว่าระยะเวลาการแพร่เชื้อให้ผู้อื่นติดไปอาจจะง่ายขึ้นเพราะผู้ติดและแพร่เชื้อรายนั้นยังไม่มี

๒๕๖

ไข้หรืออาการอื่นนอกจาก ไอ หรือ จาม แต่ความสามารถในการแพร่เชื้อในระยะนี้อาจจะอยู่ในระดับต่ าคือ ยังมีหลักฐาน

น้อยที่แสดงว่า มีการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อย่างรวดเร็วและท าให้มีผู้ติดเชื้อรายถัดไปเป็นจ านวนมากในคราวเดียวกัน ขณะนี้

ประเทศจีนสั่งปิดตลาดสดไปแล้ว การแพร่กระจายเชื้อตามสมมติฐานข้อสองในการท าให้เกิดรายป่วยรายใหม่ก็จะหมดไป

ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ เป็นต้นไป

เวลาที่ไอจาม จะท าให้มีเชื้อออกมาในรูปทั้ง virus-laden droplets และ aerosols ส่วนที่เป็น droplet จะตก

ลงพื้นเร็ว ถ้าเราอยู่ห่างผู้ป่วยประมาณ ๒ เมตร ก็จะไม่มีโอกาสสูดดม droplet เข้าไปในปอด แต่ที่กระจายออกมาเป็น

aerosol จะล่องลอยไปได้ไกลกว่า และถูกสูดดมเข้าไปในปอดได้ง่ายกว่า

เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ นักวิทยาศาสตร์จากโรงพยาบาล Renmin ของมหาวิทยาลัยอู่ฮั่นได้รายงานว่า

ตรวจพบสายรหัสพันธุกรรมในอุจจาระและตัวอย่างที่ป้ายผ่านรูทวารหนักของผู้ป่วยด้วย แม้ยังไม่ได้แสดงว่า สามารถเพาะ

เชื้อไวรัสตัวเป็น ๆ จากอุจจาระได้ด้วย แต่ท าให้คิดได้ว่า เชื้ออาจจะแพร่กระจายผ่านอุจจาระได้ด้วยเป็นแบบ fecal-oral

route การตรวจอุจจาระของผู้ป่วยรายแรกในสหรัฐอเมริกาก็ตรวจพบรหัสพันธุกรรมในอุจจาระเช่นกัน หากการ

แพร่กระจายของเชื้อเกิดจาก fecal-oral route การสวมหน้ากากอนามัยจะไม่สามารถป้องกันการแพร่เชื้อวิธีนี้ ท าให้การ

ล้างมือและการรักษาความสะอาดของสิ่งของกลับมีความส าคัญมากขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่น่าจะเป็นวิธีหลักในการแพร่

เชื้อในขณะนี้นอกจากว่า การท าลายเชื้อในอุจจาระจากบ้านที่อยู่อาศัยบกพร่อง มีการปล่อยอุจจาระติดเชื้อลงในแม่น้ าล า

คลองในที่สาธารณะ และมีการใช้น้ าที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อมาพ่นเป็นละอองฝอยเพื่อรดน้ าให้สนามหญ้าหรือต้นไม้ ท า

ให้ผู้คนที่อยู่ใกล้หรือเดินผ่านมาสูดดมละอองฝอยเข้าไปในปอดและติดเชื้อตามมา นอกจากนี้ การที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระใน

ห้องน้ าและกดปุ่มชักโครก จะท าให้เกิดละอองฝอยฟุ้งขึ้นมาในอากาศในห้องส้วมได้ หากเป็นส้วมสาธารณะที่มีผู้ไปใช้คับ

คั่ง ก็อาจจะเป็นแหล่งที่แพร่เชื้อจากอุจจาระผ่านทางละอองฝอยเข้าสู่ทางเดินหายใจได้โดยตรง

ความรุนแรงของโรคยังขึ้นอยู่กับจ านวนเชื้อที่เข้าไปถึงเนื้อเยื่อปอดที่ยอมให้เชื้อเข้าไปในเซลล์ได้ เชื้อจะก่อโรคได้

จะต้องเข้าไปในเซลล์มนุษย์ก่อน โดยจับกับ angiotensin-converting enzyme-2 (ACE2) receptors ที่ผิวเซลล์มนุษย์

บนเยื่อบุทางเดินหลอดลมส่วนล่าง การศึกษาในเชิงลึกพบว่า ถ้ามีการกลายพันธุ์เพิ่มอีก ๑ ต าแหน่งในยีโนมที่ต าแหน่ง

๕๐๑ หรือ ๔๙๔ อาจจะท าให้เชื้อไวรัสเข้าเซลล์มนุษย์ได้ดีขึ้นอีก จึงต้องติดตามการกลายพันธุ์ในต าแหน่งนี้ต่อไป

(Journal of Virology, 2020; DOI: 10.1128/JVI.00127-20) ความลึกของจ านวนเชื้อที่เข้าไปถึงปอดก็มีส่วนท าให้โรค

เกิดความรุนแรง ละอองฝอยที่มีขนาดเล็กกว่า ๒.๕ ไมครอนและมีเชื้อไวรัสปะปนอยู่สามารถล่องลอยผ่านรูจมูก คอหอย

หลอดลม ลึกจนไปถึงเนื้อปอดได้ ในความเป็นจริง ละอองฝอยมักจะลอยชนมูกตามขนจมูก มูกที่เคลือบเนื้อเยื่อบุคอหอย

ท าให้เชื้อติดอยู่ที่ทางเดินหายใจส่วนบนและยังไม่สามารถท าให้เกิดปอดอักเสบได้ทันทีเชื้อต้องค่อย ๆ แบ่งตัวและลอยเข้า

ไปในเนื้อปอดในระยะเวลาต่อไป ความรุนแรงของโรคยังขึ้นกับจ านวนเชื้อที่สามารถหลุดลอยเข้าไปถึงเนื้อปอดพร้อม ๆ กัน

ด้วย สมมติว่า มีเชื้อล่องลอยหลุดไปถึงเนื้อปอดพร้อมกันหลายหมื่นหลายแสนตัว ก็จะท าให้ปอดอักเสบพร้อม ๆ กันหลาย

ที่จนเนื้อปอดดี ๆ ที่ท าหน้าที่แลกเปลี่ยนออกซิเจนเหลือไม่เพียงพอจนเกิดภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน ขณะเดียวกัน

ผู้ป่วยยังไม่สามารถสร้างภูมิต้านทานให้สูงพอที่จะมาต่อสู้ท าลายเชื้อได้ทันกาลด้วยเพราะเม็ดเลือดขาวเพิ่งพบกับเชื้อไวรัส

2019-nCoV เป็นครั้งแรก ผู้ป่วยจึงอาจจะเสียชีวิตได้ ข้อมูลของผู้เสียชีวิตจากโรคนี้พบว่า ส่วนมากเป็นผู้ป่วยสูงอายู (เลย

สร้างภูมิต้านทานช้าจนมาสู้เชื้อไม่ทัน) และเป็นผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรังอยู่แล้ว ท าให้ปอดอักเสบที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อมี

อาการรุนแรงและรวดเร็ว จนท าให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน ส่วนผู้ที่มีปอดแข็งแรงก็สามารถทนต่อการก่อโรค

ของเชื้อที่ค่อย ๆ เพิ่มจ านวนขึ้นจนถึงเวลาที่ภูมิต้านทานของผู้ป่วยมีมากพอจนต่อสู้ท าลายเชื้อก่อโรคได้ทันก่อนที่เนื้อปอด

๒๕๗

จะเสียหายไปมากจนแก้ไขไม่ทัน ผู้ป่วยที่แข็งแรงกว่าจึงป่วยและฟื้นตัวได้ทันจากภูมิต้านทานของตนเอง หรือหลายราย

ป่วยแค่หลอดลมอักเสบเท่านั้นแล้วก็ทุเลาหายไป

ดังนั้น การเจ็บป่วยจนเป็นปอดอักเสบรุนแรงและถึงแก่กรรม จึงขึ้นอยู่กับความเล็ก ความรวดเร็วและจ านวน

ละอองฝอยที่มีเชื้อลอยผ่านไปถึงเนื้อปอด ยิ่งเข้าถึงได้ง่ายก็จะก่อโรคได้มากและรวดเร็ว จ านวนเชื้อที่เข้าไปถึงเนื้อปอด

พร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน หากมีจ านวนมากและเข้าถึงพร้อมกัน ระยะฟักตัวของโรคจะสั้น เช่น ๒ ถึง ๔

วัน จะท าให้ป่วยเป็นปอดอักเสบได้มากและรุนแรงมากจนร่างกายสร้างภูมิต้านทานไม่ทัน ผู้ที่สวมหน้ากากอนามัยจะ

ป้องกันหรือลดจ านวนเชื้อที่จะเข้าปอดได้ ผู้ที่มีเนื้อปอดปกติ ไม่มีโรคปอดเรื้อรัง จะทนโรคติดเชื้อได้นานกว่า ผู้ที่นอน

พักผ่อน จะไม่ช่วยให้เชื้อลอยลึกเข้าไปถึงเนื้อปอดได้เร็วหรือเข้าไปครั้งละจ านวนมาก ในทางกลับกัน ส่วนผู้ที่อ้วนมาก

หรือผู้ที่วิ่งออกก าลังกายในระยะที่เริ่มป่วยและหายใจในอากาศที่มีเชื้อในคอหอยหรือในอากาศโดยรอบขณะออกก าลังกาย

จะหายใจลึก ๆ หรือหอบจากการออกก าลังกาย และท าให้เชื้อเข้าไปในปอดได้เร็วและมีจ านวนเชื้อมาก และก่อโรคพร้อม

กันในปอดหลายจุด ท าให้ผู้ป่วยที่ยังฝืนออกก าลังกาย เกิดความเจ็บป่วยได้รุนแรงในเวลาอันสั้น ดังนั้นหากมีไข้ ไอ ควรที่

จะพักผ่อนให้เพียงพอ

การเจ็บป่วยและความรุนแรงของโรคจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน และไม่ได้ขึ้นอยู่กับการที่มี

เชื้อเข้าไปในทางเดินหายใจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ลักษณะคลินิกของโรค

การติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ อาจจะท าให้มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ เรายังไม่ทราบว่า ผู้ที่ไม่มีอาการหรือป่วย

เพียงเล็กน้อยมีจ านวนเท่าใด หรือมีอัตราส่วนเป็นเท่าใดของผู้ป่วยที่แสดงอาการ? แต่มีผู้ตั้งสมมติฐานว่า ผู้ที่มีอาการ

ชัดเจน อาจจะเป็นเพียงร้อยละ ๕ ถึง ๑๐ ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ดังนั้นอาจจะมีผู้ติดเชื้อที่มีอาการน้อยเป็นจ านวนมาก เดิน

ไปมาในชุมชนได้ แต่ถ้าเขาไม่ไอ-จาม ก็จะไม่แพร่เชื้อออกมาทางลมหายใจ หรือถ้ามีเชื้อในลมหายใจปกติ จะมีเชื้อจ านวน

น้อยซึ่งจะท าให้โอกาสแพร่เชื้อทางอากาศมีน้อยตามไปด้วย แต่ถ้าเชื้อสามารถมาเพิ่มจ านวนที่คอหอยได้ จะเพิ่ม

ความสามารถในการแพร่กระจายได้ ทั้งนี้ ให้ตรวจสอบจากข้อมูลในเชิงระบาดวิทยาด้วย

ส่วนผู้ป่วยที่แสดงอาการชัดเจน จะอาศัยหลักการวินิจฉัยเบื้องต้นเพื่อให้มีมาตรการขั้นตอนต่อไปในการชันสูตรเชื้อ

ก่อโรคดังนี้

๑. ผู้ที่มีประวัติเดินทางมาจากเมืองจีนโดยเฉพาะเมืองอู่ฮั่นและเมืองในแถบตะวันออกของประเทศจีน หรือผู้ที่สัมผัส

อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยจีนที่เดินทางมาเที่ยวในประเทศไทยหรือผู้ป่วยนอกประเทศจีนที่ตรวจพบเชื้อ 2019-nCoV

และป่วยภายใน ๑๔ วันหลังจากออกมาจากเมืองจีนหรือสัมผัสรายป่วยนั้นแล้ว

๒. ผู้ที่มีไข้ ไอ มีเสมหะ เสมหะอาจจะมีเลือดติดเป็นเส้นสาย หายใจเหนื่อย ปวดเมื่อยตามตัว (อาจจะเป็นโรคติดเชื้อ

ไวรัสไข้หวัดใหญ่ก็ได้และมีอาการเหมือนกัน) หรือผู้ที่เจ็บคอ มีน้ ามูกไหล

ที่น่าสนใจคือ ผู้ป่วยที่รายงานในวารสาร Lancet ไม่ค่อยแสดงอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น เจ็บคอ

น้ ามูกไหล แต่จะมีอาการไอและหายใจเร็ว เหนื่อยง่ายแบบปอดอักเสบและไม่ค่อยมีอาการอุจจาระร่วง แสดงว่าเชื้อจะไป

ก่อโรคได้ดีในเซลล์เยื่อบุหายใจส่วนล่างของระบบการหายใจ แต่อาจจะไม่สามารถไปก่อโรคในเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร

หรือทางเดินหายใจส่วนบนได้ดีนัก ส่วนเซลล์ที่ใช้เพาะเลี้ยงเชื้อก่อโรคจะเป็น human airway epithelial cell, Vero E6

(ได้มาจาก kidney epithelial cells) และ Huh-7 (ได้มาจากตับ) cell lines ผู้ป่วยส่วนมากที่ติดเชื้อ “จากคนสู่คน นอก

ประเทศจีน” จะมีอาการเหมือนหลอดลมอักเสบฉับพลันเท่านั้นและมักไม่ถึงแก่กรรม

๒๕๘

ภาพถ่ายรังสีทรวงอกของรายที่ป่วยเป็นปอดอักเสบรุนแรงจากเชื้อไวรัส 2019-nCoV จาก NEJM January 24, 2020

DOI:10.1056/NEJMoa2001017

อัตรำกำรตำยต่อรำยป่วย

เชื้อกลุ่มนี้มีอัตราการตายของผู้ป่วย

(case fatality rate) ดังนี้

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ SARS-CoV

ตายร้อยละ ๙.๕

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ MERS-CoV

ตายร้อยละ ๓๔.๔

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ 2019-nCoV ตายร้อยละ ๒.๑๗ (ข้อมูลจากประเทศจีน ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์๒๕๖๓) หรือ

๑.๙๙ ในวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ที่น่าสนใจคือ อัตราตายนอกประเทศจีนต่ ากว่านี้ การค านวนรายป่วยนอกประเทศ

จีน มี ๓๘๓ ราย ตาย ๒ ราย คิดเป็นอัตราตายร้อยละ ๐.๕๒ เท่านั้น (ข้อมูล ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓)

ภาพ CT (computed tomography) scan ของปอดผู้ป่วยจีนรายหนึ่งในโรงพยาบาล ข่าวในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์จาก

China Daily ผ่านทาง Reuters

กำรรักษำโรคนี้

การรักษาหลักเป็นการรักษาตามอาการ ยังไม่มียาต้านไวรัสโดยเฉพาะที่ได้รับการยืนยันแล้ว การให้ยาลดการ

อักเสบหรือกลุ่ม corticosteroid มีทั้งผลดีระยะสั้นและผลเสียระยะยาวเพราะเรายังไม่มียาท าลายเชื้อไวรัสอย่างรวดเร็ว

โดยเฉพาะ ให้รับผู้ป่วยไว้รักษาในห้องแยกที่มีความดันอากาศในห้องเป็นลบ ซึ่งมีอยู่แล้วในโรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือ

๒๕๙

โรงพยาบาลศูนย์ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย ให้การรักษาแบบประคับประคอง มีการให้ออกซิเจนหรือใส่ท่อช่วยหายใจตาม

ความจ าเป็น เป็นต้น ผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อ จะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทันที และห้ามผู้ป่วยเดินทางไปท างาน

หรืออยู่ที่บ้านโดยเด็ดขาด โรงพยาบาลต้องมีการวิธีก าจัดเชื้อไวรัสในพื้นที่และสถานที่โดยรอบที่ตรวจพบเชื้อ แพทย์ต้อง

รายงานผลการตรวจผู้ป่วยทุกรายที่พบการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ สสจ. ในแต่ละ

จังหวัดด้วย หากมีข้อมูลเพิ่มขึ้นว่า เชื้อก่อโรคออกมาในอุจจาระด้วย การท าลายเชื้อในอุจจาระในห้องน้ าจะมีความส าคัญ

เพิ่มขึ้น

กำรป้องกันกำรติดเชื้อส ำหรับคนไทย

การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019-nCoV คือ หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังเมืองจีนในแถบ

ตะวันออกรวมถึงเมืองต้นตอคือ เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ซึ่งตอนนี้ ประเทศจีนประกาศปิดการเข้า-ออกเมืองไปแล้วหลาย

เมือง เท่ากับควบคุมมิให้มีการแพร่ของโรคออกไปที่อื่น ๆ แต่ต้องไม่มีผู้คนหนีออกจากเมืองไปก่อนที่จะมีการประกาศ

ส าหรับบุคคลทั่วไป ให้หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด ควรสวมหน้ากากอนามัยทั่วไปหรือ N95 เมื่อออกไปในที่

ชุมชน ให้อยู่ห่างจากผู้ที่ไอ จาม อย่างน้อย ๒ เมตรหรือให้อยู่ต้นลมเมื่อเข้าใกล้ผู้ที่ต้องสงสัย หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือใช้

แอลกอฮอลเจลถูเช็ดมือเมื่อสัมผัสกับสิ่งของที่ใช้ร่วมกันโดยเฉพาะในที่สาธารณะ ไม่น ามือมาสัมผัสเยื่อบุตา จมูก ปาก ไม่

ไปเดินชมสัตว์ปีกในฟาร์มที่เลี้ยงสัตว์โดยระบบเปิดหรือเข้าใกล้ชิดและไปจับสัตว์ ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์

การระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ (2019-nCoV) ได้ที่ website ขององค์การอนามัยโลก

ผู้ใดที่กลับมาจากประเทศจีนในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วมีไข้ ไอ มีเสมหะ หายใจเหนื่อยหอบ ให้ไปพบแพทย์

ที่โรงพยาบาลทันทีพร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทางด้วย

ผู้ที่รู้สึกตัวว่า มีไข้ ไม่สบายหรือรู้สึกป่วย ยิ่งต้องสวมหน้ากากอนามัยไว้ก่อนและพักรักษาตัวในโรงพยาบาล เวลา

ไอหรือจามให้ใช้กระดาษทิชชู่หรือแขนเสื้อป้องกันการกระเด็นของน้ าลายและเสมหะ ให้หันหน้าไปทางที่ไม่มีผู้คนเมื่อเวลา

ไอจาม ล้างมือตนเองให้บ่อยขึ้นก่อนและหลังการจับสิ่งของในที่สาธารณะ หากเพิ่งกลับมาจากเมืองจีนหรือสัมผัสใกล้ชิด

กับผู้ป่วยปอดบวม ให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลศูนย์ กรมควบคุมโรค หรือ โรงพยาบาลบ าราศนราดูร และติดตามและ

ปฏิบัติตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขในเรื่องแนวทางการประสานงานเมื่อพบผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน Novel

coronavirus 2019

ค าแนะน าที่จะให้แก่คนขับรถแท็กซี่หรือรถสาธารณะที่สนามบินหรือด่านเข้าเมือง หากท าได้ครบถ้วนจะเป็นการ

เตรียมตัวที่สมบูรณ์แบบมากที่สุด เริ่มจาก ให้เตรียมแอลกอฮอลเจลเช็ดมือ หน้ากากอนามัยจ านวนเพียงพอให้แก่ตนเอง

และผู้โดยสาร ถ้าท าได้จัดการเรื่องการระบายอากาศภายในรถ แยกการไหลเวียนของอากาศในส่วนของตนและผู้โดยสาร

และหาเครื่องกรองอากาศและท าลายเชื้อในอากาศติดตัวไว้ในรถ ให้เช็ดท าความสะอาดภายในรถ(ที่นั่งและประตูด้านใน)

ด้วยน้ ายาท าลายเชื้อ povidone iodine หรือแอลกอฮอลในส่วนที่นั่งและตรงประตูส่วนที่มือของผู้โดยสารจะไปจับ เมื่อ

จะรับผู้โดยสำรขึ้นรถ ให้สอบถามก่อนว่า มีผู้ใดมีไข้ ไอ เจ็บคอ หากมีผู้โดยสารดังกล่าว แนะน าให้คุยกับผู้โดยสารเพื่อส่งไป

รักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนผู้โดยสารท่านอื่นที่ไม่มีไข้ ไอ ให้แจกหน้ากากอนามัยเพื่อสวมใส่และตนเองก็สวมใส่หน้ากาก

อนามัยด้วย ให้สอบถามผู้โดยสารต่อว่า จะอมกลั้วคอด้วยน้ ายาฆ่าเชื้อในปากและล าคอ(อ่านต่อข้างล่าง)ไหมก่อนขึ้นรถ?

ถ้าผู้โดยสารยินยอม ก็ให้อมกลั้วคอด้วยน้ ายาอมกลั้วคอและช่องปากนาน ๒๐ วินาทีด้วย (อ่านต่อข้างล่าง) แล้วให้ผู้โดยสาร

เช็ดมือด้วยแอลกอออลเจลก่อนขึ้นรถ ถ้ามีเครื่องกรองและท าลายจุลชีพในอากาศภายในรถ ก็เปิดเครื่องให้ท างาน หากไม่มี

เครื่องดังกล่าวและอากาศไม่ร้อนและผู้โดยสารยินยอม อาจจะเปิดหน้าต่างระบายลมในส่วนห้องผู้โดยสาร แล้วเชิญ

๒๖๐

ผู้โดยสารขึ้นรถ เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง ก็รับหน้ากากอนามัยจากผู้โดยสารเพื่อน าไปท าลายต่อไป ให้ผู้โดยสารเช้ดมือ

ด้วยแอลกอฮอลเจลอีกครั้ง (ค่าโดยสารอาจจะแพงขึ้นอีกเล็กน้อย) เมื่อผู้โดยสารลงจากรถ ให้ท าความสะอาดภายในรถและ

ประตูด้านในทันทีและรอให้แห้งสัก ๕ นาที ก่อนจะไปรับผู้โดยสารรายต่อไป

นอกจากจัดเตรียมให้มีหน้ำกำกอนำมัยให้ผู้โดยสารสวมแล้ว กำรท ำลำยเชื้อไวรัสในช่องปำกก่อนจะขึ้นรถ

โดยสารรถร่วมกันจะเป็นมาตรการเสริมที่ดีด้วย ให้เตรียมน้ ายาอมกลั้วคอและช่องปากที่มี povidone iodine (PVP-I) ร้อย

ละ ๗ ไว้ในรถ (ตัวยา povidone iodine อยู่ใน WHO Model List of Essential Medicines 2019, 21st editions

หัวข้อ antiseptics หน้า ๓๙) ก่อนจะใช้ให้ผสมน้ ายา PVP-I ๒ มล. ด้วยน้ าดื่มบริสุทธ์๖๐ มล. (เจือจางในอัตรา ๑ ต่อ

๓๐) จะได้ความเข้มข้นของ povidone iodine ร้อยละ ๐.๒๓ ในสารละลายน้ ายาชนิดนี้ที่มีปริมาณ ๖๒ มล. ซึ่งมีตัวยา

เพียงพอจะฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าได้ทั้งสามชนิดในช่องปากรวมทั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ด้วย (Infect Dis Ther 2018

Jun;7(2):249–259) ให้ผู้โดยสารอมกลั้วคอในช่องปากนาน ๒๐-๓๐ วินาทีแล้วบ้วนใส่ถุงพลาสติกสีด าในกระโถนที่เตรียม

ไว้รองรับ แล้วผูกเชือกปิดปากถุงและน าไปท าลาย คนขับรถจะต้องแสดงการใช้น้ ายาอมกลั้วคอและช่องปากให้ผู้โดยสาร

ดูก่อนด้วย เพื่อแสดงถึงวิธีการใช้สารละลายน้ ายา PVP-I เข้มข้นร้อยละ ๐.๒๓ และยืนยันความปลอดภัยของการใช้

สารละลายน้ ายาชนิดนี้ในคน รวมทั้งเป็นการแสดงเจตจ านงว่า เราต่างฝ่ายต่างจะไม่แพร่เชื้อให้กันและกันในรถโดยสาร

ทั้งนี้ ยังต้องให้มีการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่มีผู้โดยสารอยู่ด้วยกันในรถด้วย (ในเมืองไทย มีสินค้าขายเป็น

น้ ายาเบตาดีน การ์เกิล บ้วนปาก ปริมาณ ๓๐ มล. มี PVP-I ๗๐ มก.ต่อ มล. หรือใช้แบบ \"เบตาดีน(R) โทรตสเปรย์คือพ่นใส่

ช่องปากให้เลยซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกมากในการน ามาใช้ มีค าแนะน าว่า หากจะใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัส แนะน าให้พ่นช่อง

ปากทุกวัน ๆ ละครั้งก่อนจะออกจากบ้านไปยังที่มีฝูงชนหนาแน่นและให้สวมหน้ากากอนามัยด้วย)

ส าหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยที่สงสัยหรือป่วยติดเชื้อจากโรคนี้ แนะน าให้ป้องกันตนเองเต็มที่ทั้งวิธี

แบบ contact precaution และ airborne precaution รวมถึง universal precaution เพื่อให้ความมั่นใจและป้องกัน

การติดเชื้อให้บุคลากรทางการแพทย์ที่เข้าไปดูแลรักษาผู้ป่วย จึงแนะน าแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ให้ใช้อย่างน้อย

หน้ากาก N95 ในการป้องกันการติดเชื้อทางละออยฝอยและ droplet หากท าให้ครบทุกขั้นตอน ต้องใช้และสวมชุด

อุปกรณ์ป้องกันที่เรียกว่า Personal Protective Equipment (PPE) เป็นอุปกรณ์ป้องกันและคุ้มครองความปลอดภัยใน

การดูแลผู้ป่วย เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่เชื้อโรค ซึ่งเป็นไปตามหลักองค์การอนามัยโลกเพื่อป้องกันการติดเชื้อจาก

ทุกช่องทางของการติดต่อ เพราะเป็นการเข้าไปดูผู้ป่วยที่มีเชื้อจ านวนมากกว่าผู้ป่วยที่ป่วยเล็กน้อยหรือยังไม่เจ็บป่วย วิธี

ป้องกันแบบนี้ไม่เหมาะสมที่จะมาใช้กับบุคคลทั่วไปในชุมชนนอกโรงพยาบาล ชุด PPE แบบนี้ ให้บุคลากรทางการแพทย์

สวมใส่ขณะดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลและขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยระหว่างประเทศว่า จะติดเชื้อมาแล้ว

๒๖๒

กำรใช้หน้ำกำกอนำมัยส ำหรับประชำชนทั่วไปนอกโรงพยำบำล

หน้ากากอนามัยที่ใช้กับประชาชนทั่วไป คือ หน้ากากอนามัยปกติและหน้ากากอนามัยที่เป็นชนิด N95 (ซึ่งมีที่กรอง

อากาศที่มีเชื้อโรคและฝุ่นจิ๋ว เวลาหายใจจะรู้สึกต้องใช้แรงเพิ่มขึ้นตลอดเวลาในการหายใจเข้า-ออก)

ในพื้นที่ที่ไม่มีการระบาดของโรคอย่างหนาแน่น หน้ากากอนามัยแบบปกติมีไว้ให้ผู้ป่วยสวมใส่ หรือผู้ที่ไอ-จามและ

สงสัยตนเองว่า เริ่มจะติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ ผู้ที่ไอ-จามกลุ่มนี้ขอให้อยู่แต่ในบ้านจนหมดระยะเวลาฟักตัวของ

โรคและพบว่าตนเองไม่ป่วย ส่วนผู้ที่ไม่ได้ป่วยหรือแข็งแรงดี ไม่ได้เป็นผู้อยู่ในข่ายสงสัยว่า อาจจะติดเชื้อไวรัสที่ก าลังเป็น

ข่าว(ให้ประชาชนติดตามอยู่) ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่อท่านไม่ได้เข้าไปในที่ชุมชนแออัดหรือที่สาธารณะที่มีฝูงชน

แออัด หากท่านเป็นผู้สูงวัย มีโรคปอดเรื้อรัง ก าลังตั้งครรภ์ อ้วนมาก ได้รับยาต้านภูมิคุ้มกัน หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะป่วย

รุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ เมื่อจะเข้าไปในกลุ่มชนแออัด ให้พิจารณาสวมหน้ากากอนามัยโดยเฉพาะ N95 หากประชาชนกลุ่ม

เสี่ยงนี้ไม่อยากสวมหน้ากากอนามัย ขอให้อยู่ในบ้านหรือที่โล่งที่อากาศถ่ายเทได้ดี หรืออยู่ในบ้านที่มีเครื่องกรองอากาศที่

ท าลายเชื้อโรคและกรองฝุ่นจิ๋วได้ด้วย

หากท่านอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เช่น อยู่ในเมืองอู่ฮั่นที่เป็นดงระบาดของโรค 2019-nCoV หรือในพื้นที่ที่

มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจอย่างหนาแน่น แสดงว่า มีการแพร่เชื้อโรคแบบละอองฝอยในอากาศใน

พื้นที่นี้ด้วย ให้สวมหน้ากากอนามัยไว้เพราะในอากาศมีมลพิษ เหมือนกับในอากาศที่มีฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ลอยละล่อง

ตลอดเวลาในบรรยากาศรอบตัวเรา ทางการควรจะออกมาพ่นสารเคมีท าลายเชื้อในบรรยากาศและในที่สาธารณะเพื่อลด

หรือท าลายเชื้อที่ล่องลอยในอากาศให้หมดสิ้นไปด้วย ควบคู่กับการอยู่บ้าน สวมหน้ากากอนามัย และใช้เครื่องกรองอากาศ

และท าลายเชื้ออากาศในบ้านได้ด้วย

๒๖๓

ยำต้ำนไวรัส 2019-nCoV ที่อยู่ระหว่ำงกำรศึกษำทดลอง

ยังไม่มียาขนานใดที่ผ่านการรับรองให้ใช้เป็นยามาตรฐานในการรักษาโรคนี้ มีแต่ยาต้านไวรัสเชื้อชนิดอื่น ๆ ที่อยู่

ระหว่างการทดลองทั้งในเซลล์เลี้ยงเชื้อ สัตว์และผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ในบรรดายาเหล่านี้ มีข้อมูลในอดีตที่แสดงว่า

ยาบางขนานออกฤทธิ์ต้านไวรัส 2019-nCoV ได้โดยคาดว่า ยาที่ออกฤทธิ์ได้ในระดับภายในเซลล์และนอกเซลล์ ได้แก่

๑. ยา chloroquine (Virol J. 2005 Aug 22;2:69) ข้อมูลตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๔๘ พบว่า ยาขนานนี้ออกฤทธิ์ต้านเชื้อ

ไวรัส SARS-CoV ได้ดีในระดับเซลล์ไม่ว่าจะให้ยาก่อนหรือหลังสัมผัสเชื้อไวรัส จึงชี้แนะว่า อาจจะน ามาทดลองใช้

ทั้งในด้านการป้องกันหรือรักษาโรค ยาขนานนี้เพิ่ม pH ภายใน endosome ของเซลล์และรบกวน endosomemediated fusion นอกจากนี้ ยังรบกวนการจับตัวของไวรัสตรง terminal glycosylation ของ ACE2

receptor ที่ผิวเซลล์ ท าให้เชื้อ SARS CoV ไม่สามารถเข้ามาในเซลล์เพื่อก่อโรคได้ คาดว่า ยาขนานนี้น่าจะออก

ฤทธิ์ต้านไวรัสกับเชื้อไวรัส 2019-nCoV ได้ด้วยเพราะคาดว่า เชื้อ 2019-nCoV ใช้ receptor ต าแหน่งเดียวกับเชื้อ

SARS CoV ในการเข้าสู่เซลล์มนุษย์ ข้อมูลในด้านประสิทธิภาพในการรักษาลูกหนูที่ติดเชื้อพบว่า (AAC Jul

2009, 53 (8) 3416-3421) ยา chloroquine ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HCoV-OC43 ใน HRT-18 เซลล์ด้วย

ระดับยาที่ค่อนข้างต่ า การให้ยา chloroquine ในลูกหนูเกิดใหม่สามารถลดอัตราตายจากการติดเชื้อ HCoVOC43 ได้สูงถึงร้อยละ ๘๘ ถึง ๙๘ แสดงว่า การให้ยาขนานนี้กินในขนาด ๕ ถึง ๑๕ มกต่อ กก. ใช้ได้ผลดีในการ

รักษาโรคติดเชื้อไวรัส HCoV-OC43 จึงท าให้มีการคาดการณ์ว่า ยา chloroquine น่าจะออกฤทธิ์ได้ดีกับเชื้อไวรัส

โคโรน่า 2019-nCoV ด้วย ไม่ว่าจะใช้กินเพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือใช้รักษาโรค ยาขนานนี้มีอยู่แล้วและสามารถ

น ามาทดลองใช้ได้เลย

๒. ยา lopinavir และ ritonavir (ในเมืองจีนได้ทดลองใช้ยา Aluvia®

เป็นยาสองขนานร่วมกัน ตั้งแต่วันที่ ๑๘

มกราคม ๒๕๖๓) เพื่อยับยั้งการผลิตโปรตีนให้เชื้อชนิดนี้ขณะที่เชื้อก าลังเพิ่มรหัสพันธุกรรมอยู่ในเซลล์มนุษย์

เพราะเคยใช้ได้ผลบ้างกับเชื้อไวรัส SARS-CoV มาแล้ว (ในโรค SARS มีการให้ยา ribavirin ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการ

เพิ่มจ านวนเชื้อไวรัสร่วมด้วย) แต่เป็นการศึกษาที่ไม่ใช่ randomized control trial (RCT) เมื่อกินยาและยาเข้าไป

ในกระแสเลือด ยาคู่นี้รวมตัวกับโปรตีนในเลือดสูงมากถึงร้อยละ ๙๕ ขึ้นไป จึงเหลือตัวยาอิสระเพียงเล็กน้อยที่จะ

ไปออกฤทธิ์ บังเอิญเชื้อ HIV ไวต่อยากลุ่มนี้มาก ๆ จึงใช้ได้ผลดี แต่เชื้อ coronaviruses ไม่ค่อยไวต่อยาคู่นี้มาก

เท่าเชื้อ HIV จึงอาจจะใช้ไม่ได้ผลดีกับโรคติดเชื้อเชื้อ 2019-nCoV ขณะนี้ ก าลังทดลองศึกษาประสิทธิผลของยา

Aluvia® หรือ Kaletra®

แบบ randomized controlled trial (RCT) ที่ประเทศจีนอยู่ โดยทดลองในผู้ป่วย

จ านวน ๒๐๐ รายที่ได้รับยาสองขนานนี้และจะเปรียบเทียบผลการรักษากับผู้ป่วยที่ไม่ได้ยาสองขนานนี้อีก ๒๐๐

รายและเป็นผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคใกล้เคียงกัน น่าจะทราบผลการรักษาเบื้องต้นภายใน ๒-๖ เดือนข้างหน้า

และนักวิทยาศาสตร์จีนน่าจะรายงานผลการรักษาด้วยยาสองขนานนี้ลงในวารสาร NEJM หรือ Lancet เช่นเคย

๓. ยา remdesivir หรือ remdesivire ผลิตโดยบริษัท Gilead ยาขนานนี้เป็นสาร adenosine analogue ที่จะถูก

น าเข้าไปสร้าง RNA ของไวรัส เมื่อ remdesivir ถูกน าไปต่อเป็น chains จะท าให้การสร้าง RNA หยุดชะงักและไม่

สามารถสร้าง RNA ต่อไปได้ เคยมีผู้ใช้ร่วมกับ interferon beta-1b ในการรักษาหนูทดลองที่ติดเชื้อ MERSCoV แล้วพบว่า ได้ผลดีมากในการลดการเพิ่มจ านวนของเชื้อโรคและท าให้หน้าที่การท างานของปอดดีขึ้น ยา

ขนานนี้จึงยับยั้งไวรัสในการท าส าเนาสารพันธุกรรม และยาขนานนี้ออกฤทธิ์ได้เมื่อเชื้อไวรัสเข้าไปในเซลล์แล้ว

๒๖๔

ข้อมูลและภาพจากการศึกษาในเซลล์เพาะเลี้ยงเชื้อกับเชื้อ 2019-nCoV จากรายงานใน Letter to the Editor Published: 04

February 2020 ในวารสาร Cell Res (2020). //doi.org/10.1038/s41422-020-0282-0

ค ำอธิบำยภำพ Full time คือการให้ยาตั้งแต่ก่อนที่เซลล์ vero E6 จะสัมผัสเชื้อและหลังสัมผัสเชื้อแล้ว, Entry คือ

การให้ยาก่อนเซลล์จะสัมผัสเชื้อ, Post-entry คือการให้ยาหลังเซลล์สัมผัสเชื้อ พบว่า remdesivir ใช้ยับยั้งการเพิ่ม

จ านวนของเชื้อเมื่อเชื้อได้เข้าไปในเซลล์แล้ว จึงเป็นการรักษาเซลล์ที่ติดเชื้อแล้ว, ส่วน chloroquine ยับยั้งการเพิ่ม

จ านวนของเชื้อได้ตั้งแต่ยาเข้าไปรออยู่ในเซลล์ก่อนหรือหลังจากเชื้อได้เข้าไปในเซลล์แล้ว ดังนั้น ยา chloroquine

ใช้ได้ทั้งการป้องกันการติดเชื้อในเซลล์และใช้รักษาเซลล์ที่ติดเชื้อไปก่อนแล้ว ในภาพล่างที่แสดงขนาดต่าง ๆ ของยา

Reddesivir และ Chloroquine ต่อการติดเชื้อ 2019-nCoV จะเห็นได้ชัดเจนว่า เซลล์ที่ติดเชื้อมีจ านวนลดลงอย่าง

มากเมื่อเพิ่มขนาดยา Remdesivir จาก ๑.๒๓ μM มาเป็น ๑๑.๑๑ μM หรือยา chloroquine จาก ๑.๑๑ μM มา

เป็น ๑๐ μM

๒๖๕

ผลการศึกษายา remdesivir และ chloroquine ในการออกฤทธิ์ต้านไวรัส 2019-nCoV ที่เพาะเลี้ยงใน

เซลล์ vero E6 cells และเติมยาทั้งก่อนและหลังให้เซลล์เพาะเลี้ยงเชื้อสัมผัสเชื้อไวรัส พบว่า หากให้ยา

chloroquine เข้าไปในเซลล์เพาะเลี้ยงเชื้อก่อนจะติดเชื้อ สามารถป้องกันเซลล์จากการติดเชื้อได้ด้วย ทั้งยา

chloroquine และ remdesivir ใช้ในการรักษาได้ด้วยโดยแสดงการออกฤทธิ์ต้านไวรัสได้หลังเซลล์ติดเชื้อไป

ก่อนแล้ว ยาทั้งสองขนานยับยั้งการเพิ่มจ านวนเชื้อได้มากถึงร้อยละ ๕๐ ถึง ๘๐ ขนาดของยา chloroquine ที่

ใช้ก็เป็นขนาดที่ใช้อยู่แล้วในคนไข้โรคอื่นและยากระจายไปที่เนื้อปอดได้ดี การศึกษาครั้งนี้ พบว่า ยา

chloroquine และ remdesivir น่าจะน ามาใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยติดเชื้อ 2019-nCoV โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นปอด

อักเสบรุนแรงด้วย การใช้สารนี้ต้องประสานงานกับบริษัท Gilead เพื่อน ามาทดลองใช้ในผู้ป่วย ประเทศจีนได้ขอ

ขึ้นทะเบียนยาขนานนี้ในประเทศตั้งแต่วันที่ ๒๑ มกราคม และในวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ได้เริ่มทดลองใช้ในผู้ป่วย

ประมาณ ๗๖๑ รายในรูปแบบงานวิจัยชนิดrandomized, controlled trial โดยมีผู้ป่วย ๓๐๘ รายที่มีอาการ

รุนแรงน้อยถึงปานกลางและอีก ๔๕๓ รายเป็นปอดอักเสบและมีอาการรุนแรง ทั้งนี้มีข้อมูลเบื้องต้นว่า อเมริกา

ลองใช้ในผู้ป่วย ๑ ราย แล้วพบว่าอาการทุเลาหลังรักษาได้ ๔๘ ชั่วโมง ยาขนานนี้ให้โดยการหยดเข้าหลอดเลือด

ด าวันละครั้งนาน ๑๐ วัน

ยา adenosine analogue อีกหนึ่งขนานคือ Galidesivir (BCX4430) ซึ่งยับยั้ง nucleoside RNA

polymerase ของเชื้อไวรัส ท าให้การท าส าเนา (transcription and replication) ยีนของไวรัสหยุดชงัก เมื่อยา

ขนานนี้เข้าในร่างกาย จะถูกปรับให้อยู่ในรูป triphosphate (nucleotide) โดยเอนไซม์cellular kinases แล้ว

ตัวยาจะอยู่ในรูป triphosphate ก่อนไปจับกับเอนไซม์ของเชื้อไวรัสที่ใช้ในการท าส าเนายีน RNA strand ซึ่งจะ

ท าให้กระบวนการท าส าเนายีน RNA หยุดชงักไป เชื้อก็ไม่สามารถเพิ่มจ านวนได้อีก ยาขนานนี้เคยใช้ได้ผลในการ

รักษาโรคติดเชื้อ Ebola, Zika, Marburg, และ Yellow fever มาแล้ว

๔. โมโนโคลนอล แอนติบอดี ผลิตโดย Regeneron Pharmaceuticals ใช้ในการท าลายเชื้อไวรัสนอกเซลล์มนุษย์เมื่อ

เชื้อไวรัสกระจายเข้ามาในกระแสโลหิต ตัวแอนติบอดีอาจจะไปจับกับ receptor-binding protein ของเชื้อที่ท า

ให้เชื้อเข้าไปจับกับ receptor ของเซลล์มนุษย์เชื้อเลยไม่สามารถเข้าไปในเซลล์มนุษย์เพื่อแบ่งตัว การใช้โมโน

โคลนอล แอนติบอดีจะไม่สามารถก าจัดเชื้อที่เข้าไปอยู่ในเซลล์ได้ การผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดียังต้องใช้

เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะน ามาทดสอบและศึกษาถึงประสิทธิภาพในการรักษา

๕. ยาขนานอื่น ๆอีก แอลฟา-อินเตอร์เฟียรอน ชนิดสูดดม เพื่อช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของผู้ป่วยในการต่อสู้กับเชื้อ

โรค การใช้ interferon มีข้อดีที่ว่า กระตุ้นภูมิต้านทานของเซลล์ในการท าลายเชื้อไวรัสได้ทุกชนิด ไม่มากก็น้อย

๖. อาจจะใช้ยาขนานใดขนานหนึ่งในข้อ ๑. ถึงข้อ ๕. เช่น ใช้chloroquine + remdesivir + monoclonal

antibodies ของเชื้อชนิดนี้ในการรักษาปอดอักเสบที่รุนแรงจากโรคติดเชื้อ 2019-nCoV ส่วนยาที่มีอยู่แล้วใน

ประเทศไทยและน ามาใช้ได้เลย ได้แก่ chloroquine + lopinavir และ ritonavir

หลักการรักษาคือ ต้องให้ยาต้านไวรัสตั้งแต่เริ่มติดเชื้อ ผู้ป่วยที่มาหาแพทย์เมื่อป่วยเป็นปอดบวมเต็มขั้นหรืออยู่ในระยะ

ท้ายของโรค จะท าให้ผลการรักษาไม่ดี การรักษาโรคติดเชื้อไวรัสลงปอด ต้องใช้วิธีการรักษาแบบไข้หวัดใหญ่ คือ ให้ยาเร็ว

ตั้งแต่ระยะแรกของโรคที่ผู้ป่วยยังไม่เป็นปอดบวม หรือยังไม่เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อเนื้อปอด เพื่อให้การรักษาด้วยยา

ต้านไวรัสได้ผลดีที่สุด ดังนั้นจึงต้องมี rapid test หรือการทดสอบด้านการวินิจฉัยเชื้อก่อโรคให้ทราบผลโดยเร็วที่สุดใน

๒๖๖

ผู้ป่วยที่เริ่มมีไข้ ไอ ในวันแรกที่ป่วย การศึกษาทดลองใช้ยาเหล่านี้ อาจจะต้องให้ยาสองถึงสามขนานร่วมกันเพื่อป้องกัน

การดื้อยาก็ได้ ประเทศจีนควรจะท าการศึกษาให้ทราบผลโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้น าข้อมูลมาใช้ในพื้นที่ที่มีการปิดเมืองหรือ

ห้ามการเคลื่อนย้ายประชากร เพื่อให้ประชากรที่เสียสละกลุ่มนี้เกิดความมั่นใจว่า จะมียาใช้รักษาเมื่อตนเองเกิดเจ็บป่วย

จากการติดเชื้อชนิดนี้ในพื้นที่ตนถูกควบคุมอยู่

ในด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบหรือหลอดลมอักเสบ แม้ว่า ผู้ป่วยมาจากพื้นที่เสี่ยงหรือมีการระบาดของ

เชื้อไวรัส 2019-nCoV อยุ่แล้ว แต่จะต้องตรวจหรือรักษาเชื้อก่อโรคชนิดอื่นที่ท าให้เกิดปอดอักเสบหรือหลอดลมอักเสบ

ด้วย เพราะมีอาการเหมือนกันจนแยกไม่ออก ดังนั้น ต้องมีการตรวจหาหรือรักษาเชื้อชนิดอื่นด้วย เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัด

ใหญ่ เชื้อกลุ่ม mycoplasma หรือ rickettsia ที่ก่อโรคร่วมด้วยหรือเป็นตัวก่อโรคในรายนั้นด้วย ทั้งนี้เพราะมียาที่ใช้รักษา

ได้ผลดีเต็มที่และปลอดภัยอยู่แล้ว เช่น oseltamivir ส าหรับรักษาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ กระทรวงเกษตรของจีน เพิ่ง

รายงานการระบาดของไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 ที่ฟาร์มไก่ในเมืองเชาหยาง มณฑลหูหนาน หลังจากไก่ในฟาร์มแห่งนี้ตาย

จากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ H5N1 ไปแล้ว ๔,๕๐๐ ตัวจากทั้งหมด ๗,๗๕๐ ตัว ด้านรัฐบาลท้องถิ่นของจีน สั่งฆ่าสัตว์ปีก

๑๗,๘๒๘ ตัว เพื่อป้องกันการระบาดเป็นวงกว้าง แม้ว่าขณะนี้ยังไม่พบผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนกก็ตาม

วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ 2019-nCoV

สามารถผลิตได้ในระยะเวลา ๖ ถึง ๑๒ เดือนข้างหน้า แต่มีปัญหาด้านการลงทุนว่า ถ้าไม่มีการระบาดของโรคหรือ

มีการติดเชื้ออีก การลงทุนท าวัคซีนจนผ่านการศึกษาทดลองและรับรองให้ใช้ได้ในมนุษย์อาจจะได้ผลลัพธ์ด้านทุนทรัพย์ไม่

คุ้มค่ากับการลงทุนก็ได้วิธีการผลิตวัคซีนคือเอารหัสพันธุกรรมส่วนหนึ่งของเชื้อ 2019-nCoV แล้วสอดรหัสพันธุกรรมนี้เข้า

ไป messenger RNA platform เพื่อให้สร้างโปรตีนที่จะใช้เป็นแอนติเจน แล้วจะน าไปทดลองศึกษา immunogenicity

ในหนู หากทดลองได้ผลดี จะผลิตออกมาเป็นวัคซีนที่ใช้ gold nanoparticle แล้วน ามาศึกษาในคนในระยะที่หนึ่งในเวลา

สามเดือนข้างหน้า กว่าจะได้ผลการศึกษาและพร้อมที่น ามาใช้ได้ คงต้องรอจนถึงต้นปีหน้า คือ พ.ศ. ๒๕๖๔

๒๖๗

กำรระบำดของเชื้อไวรัสโคโรน่ำ 2019-nCoV จำก “คนสู่คน” นอกประเทศจีน

ส าหรับเชื้อไวรัสโคโรน่า การแพร่เชื้อจากคนสู่คนนอกพื้นที่เสี่ยงมีความเป็นไปได้แต่ยังมีข้อมูลจ ากัด ในอดีตมีการ

แพร่กระจายแบบ “คนสู่คน” นอกพื้นที่เสี่ยงของเชื้อชนิดนี้ดังมีหลักฐานที่ชัดเจนดังนี้ เชื้อ SARS-CoV จากผู้ป่วย ๑ ราย

ที่บินจากฮ่องกงไปที่เมืองโตรอนโต้ ประเทศแคนาดา ท าให้เกิดรายป่วยต่อเนื่องในโรงพยาบาลและในพื้นที่อีก ๑๒๘ ราย

หรือเชื้อ MERS-CoV ในผู้ป่วยหนึ่งรายบินจากประเทศซาอุดิอาระเบียไปประเทศเกาหลีใต้ ท าให้บุคลากรทางการแพทย์

และผู้ใกล้ชิดในพื้นที่ติดเชื้อและป่วยไปอีก ๑๘๖ ราย ส าหรับเชื้อ 2019-nCoV ก็มีความเป็นไปได้ที่จะแพร่เชื้อจาก “คนสู่

คน”นอกพื้นที่เสี่ยง แต่จะท าได้ในระดับใดยังต้องติดตามดูข้อมูลเชิงระบาดวิทยา ข้อมูล ณ ปัจจุบันยังแสดงว่า การแพร่

จาก “คนสู่คน” ยังมีได้จ ากัด ข้อมูลที่มีอยู่ชัดเจนได้แก่ เวียดนาม อเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน ไทย

รายที่ติดต่อจาก “คนสู่คน” ในเวียตนาม มีข้อมูลว่า วันที่ ๒๒ มกราคม ผู้ป่วยชาวเวียดนาม อายุ ๖๕ ปี มีโรค

ประจ าตัวคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันและใส่ stent รักษาแล้ว และป่วยเป็นมะเร็งปอดด้วย

รับไว้ในโรงพยาบาลเพราะมีไข้และอ่อนเพลียตั้งแต่วันที่ ๑๗ มกราคม ทั้งผู้ป่วยและภรรยาเพิ่งบินกลับมาจากพื้นที่ในเมืองอู่

ฮั่นได้ ๔ วัน แต่ทั้งคู่ไม่ได้ไปที่ตลาดสดแต่อย่างใด การตรวจตัวอย่างจากล าคอพบเชื้อ 2019-nCoV ด้วยวิธี real-time

reverse-transcription–polymerase-chain-reaction assays ส่วนลูกชายอายุ ๒๗ ปีมารับพ่อที่สนามบินและพักใน

บ้านและนอนเตียงเดียวกันกับพ่อในห้องนอนที่มีเครื่องปรับอากาศ ลูกชายคนนี้ไม่ได้ไปเมืองจีนและไม่ได้สัมผัสกับผู้ป่วย

หรือนักท่องเที่ยวชาวจีนมาก่อน สามวันต่อมาคือในวันที่ ๒๐ มกราคม ลูกชายมีไข้สูง ไอแห้ง ๆ ภาพถ่ายรังสีของปอดไม่

พบความผิดปกติ ลูกชายมีคลื่นไส้อาเจียนและถ่ายเหลวหนึ่งครั้ง การตรวจตัวอย่างจากลูกชายก็พบเชื้อ 2019-nCoV ด้วย

ดังนั้น ระยะฟักตัวของโรคในลูกชายคือ ๓ วัน อาการของลูกชายดีขึ้นในวันที่ ๒๓ มกราคม ส่วนภรรยาผู้ป่วยที่ร่วม

เดินทางไปด้วยจนถึงวันที่ ๒๘ มกราคม ยังไม่มีอาการใด ๆ

รายที่พบในประเทศญี่ปุ่นเป็นคนขับรถอายุในวัย ๖๐ ปี ได้ขับรถรับนักท่องเที่ยวชาวจีน ๓๑ รายจากเมืองโอซาก้า

ไปเมืองโตเกียว ระหว่างวันที่ ๘ ถึง ๑๑ มกราคม และขับรถรับนักท่องเที่ยวชาวจีนอีก ๒๙ รายกลับมาในระหว่างวันที่ ๑๒

ถึง ๑๖ มกราคม นักท่องเที่ยวชาวจีนไม่ได้แสดงอาการเจ็บป่วยแต่อย่างใด

ในประเทศเยอรมนี มีนักธุรกิจหญิงจีนจากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีนมารับการฝึกอบรมที่บริษัทในรัฐ Bavaria นาน

ประมาณ ๔ วันร่วมกับนักธุรกิจชาวเยอรมนีเมื่ออบรมเสร็จเธอบินกลับประเทศจีนในวันที่ ๒๓ มกราคม หญิงจีนรายนี้เริ่ม

มีไข้และไม่สบายขณะบินกลับและตรวจพบเชื้อ 2019-nCoV ในวันที่ ๒๖ มกราคม ส่วนผู้เข้ารับการอบรมในที่ประชุมก็มี

ชายชาวเยอรมนีรายหนึ่งอายุ ๓๓ ปีที่เริ่มป่วยโดยมีอาการไอ (bronchitis-like symptoms) ระหว่างวันที่ ๒๕ ถึง ๒๖

มกราคมและอาการทุเลาในวันที่ ๒๗ มกราคม ต่อมาตรวจพบเชื้อ 2019-nCoV ในเสมหะด้วย ชาวเยอรมนีรายนี้จึงเป็นราย

แรกในทวีปยุโรปที่ติดจาก “คนสู่คน”นอกพื้นที่เสี่ยง ส่วนรายอื่น ๆ ที่มารับการฝึกอบรมด้วยยังอยู่ระหว่างการติดตามว่า

จะมีรายป่วยเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่? รายละเอียดเพิ่มเติมล่าสุดส าหรับการติดเชื้อครั้งนี้ได้มาจาก letter published on

January 30, 2020, at NEJM.org. DOI: 10.1056/NEJMc2001468 ดังนี้ นักธุรกิจชาวเยอรมันอายุ ๓๓ ปี มีอาการหนาว

สั่น เจ็บคอ ไอ ในวันที่ ๒๔ มค. วันรุ่งขึ้นมีไข้ ๓๙.๑ องศาเซลเซียสและไอมีเสมหะ ตอนเย็นของวันที่ ๒๖ มกราคม รู้สึก

สบายขึ้นและกลับมาท างานได้ในวันจันทร์ที่ ๒๗ มกราคม นักธุรกิจชาวเยอรมันรายนี้ได้ประชุมอบรมกับนักธุรกิจหญิงชาว

จีนในวันที่ ๒๐ ถึง ๒๑ มกราคม หญิงจีนรายนี้บินมาจากเซี่ยงไฮ้และมาอบรมในบริษัทในรัฐ Bavaria เยอรมนีตั้งแต่วันที่

๑๙ มกราคมและบินกลับประเทศจีนในวันที่ ๒๒ มกราคม ระหว่างทางบินกลับ ก็เจ็บป่วยและตรวจพบเชื้อ 2019-nCoV

ในวันที่ ๒๖ ม.ค. (index patient ในภาพข้างล่าง) ข่าวแจ้งว่าหญิงจีนรายนี้ไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ ระหว่างการ

๒๖๘

ประชุม [หรือว่า เธอปกปิดการเจ็บป่วยโดย(ไม่รู้ตัว?)กินยาลดไข้หรือเปล่า? ก็ไม่ทราบ] หญิงจีนรายนี้แจ้งผลการตรวจกับ

บริษัท จึงท าให้มีการเชิญผู้ที่สัมผัสรายนี้ผู้เข้าประชุม และเจ้าพนักงานในบริษัทนี้มาตรวจหาเชื้อ วันที่ ๒๘ ม.ค. ก็ตรวจ

พบเชื้อ 2019-nCoV ในรายที่ ๑ และในเจ้าพนักงานอีก ๓ ราย (รายที่ ๒ ถึง ๔ ในภาพ) แต่มีรายที่ ๒ ที่เข้าร่วมประชุมกับ

หญิงจีนที่เป็นรายป่วย ส่วนรายที่ ๓ และ ๔ ได้ท างานกับ(สัมผัส)กับรายที่ ๑ เท่านั้น ทุกรายมีอาการเล็กน้อยและเจ็บป่วย

นานเพียง ๒-๓ วันก็ทุเลา ที่ยังน่าสนใจอีกคือ การตรวจด้วยวิธีqRT-PCR assay พบเชื้อมีจ านวนสูงถึง ๑๐

ต่อ มล.ของ

เสมหะในรายที่ ๑ จนถึงวันที่ ๒๙ มกราคมในขณะที่รายที่ ๑ นี้หายดีแล้ว แต่ยังต้องรอผลการเพาะเชื้อไวรัสยืนยันก่อนว่า

การตรวจพบรหัสพันธุกรรมด้วยวิธีนี้และแปลงเป็นจ านวนเชื้อสูงขนาดนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่ยังมีชีวิตหรือว่าตายแล้ว ดังนั้น

เมื่อดูข้อมูลจากการแพร่เชื้อของรายป่วยที่ ๑ ไปยังรายที่ ๓ และ ๔ แสดงว่า การแพร่เชื้อเกิดได้เร็วมากอย่างไม่น่าเชื่อ และ

ผู้ได้รับเชื้อเกิดอาการได้เร็ว มีระยะฟักตัวของโรคสั้น การแพร่เชื้อที่คาดว่าในระยะฟักตัวมีโอกาสน้อยมากเพราะน่าจะมีเชื้อ

กระจายออกมาน้อยก็อาจจะไม่จริง ทั้งนี้ เรายังต้องติดตามข้อมูลแบบนี้ในประเทศอื่น ๆ หรือในกลุ่มอีกครั้งเพื่อยืนยันว่า

มีการแพร่เชื้อได้รวดเร็วตั้งแต่ในระยะฟักตัวของโรคและยังมีโอกาสแพร่เชื้อต่อหลังจากหายแล้ว ทั้งนี้ ต้องรอผลการเพาะ

เชื้อไวรัสเพื่อมายืนยันว่า เชื้อไวรัสยังมีชีวิตอยู่แม้ว่ารายป่วยนั้นจะหายป่วยแล้ว

ไดอาแกรมแสดงการแพร่เชื้อ ระยะฟักตัวของโรคและการตรวจพบเชื้อด้วยวิธี qRT-PCR assay (index patient คือหญิง

จีนที่ป่วยขณะบินกลับประเทศจีน รายที่ ๑ และ ๒ ประชุมกับหญิงจีน รายที่ ๓ และ ๔ สัมผัสโรคกับรายที่ ๑ เท่านั้น)

หลังจากมีการเผยแพร่รายงานฉบับนี้ หน่วยงานของประเทศเยอรมนีแจ้งข้อมูลใหม่ว่า ข้อมูลใน letter to NEJM

(January 30, 2020, DOI: 10.1056/NEJMc2001468) ที่ว่า หญิงจีนไม่ป่วยขณะที่ประชุมนั้น “ไม่จริง” ข้อมูลเพิ่มเติม

ใหม่ในเรื่องนี้ ได้มาจาก The Robert Koch Institute (RKI), the German government’s public health agency ได้

๒๖๙

เขียนจดหมายไปถึง NEJM ในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์และแจ้งว่า เมื่อได้โทรศัพท์ไปสัมภาษณ์หญิงจีนรายนี้แล้ว พบว่า เธอป่วย

ขณะที่ประชุมในเยอรมนีแล้วและน่าจะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ดังนั้น การแพร่เชื้อจึงเกิดได้ง่ายดังที่วิเคราะห์ไว้แล้ว

รายล่าสุดมีรายงานผู้ติดเชื้อจาก “คนสู่คน” ในสหรัฐอเมริกา ผู้ติดเชื้อรายนี้เป็นสามีของผู้ป่วยหญิงรายแรกที่ติด

เชื้อมาแล้วหลังจากกลับมาจากเมืองอู่ฮั่น ผู้ป่วยหญิงรายนี้อยู่ในวัย ๖๐ ปีและอาศัยในเมืองชิคาโก รายนี้ยังรักษาตัวอยู่ใน

โรงพยาบาลแต่อาการไม่รุนแรง ทางการสหรัฐอเมริกาก าลังติดตามรายอื่น ๆ ที่มาใกล้ชิดหรือสัมผัสทั้งสามีและภรรยาคู่นี้

ตั้งแต่เข้ามาในสหรัฐอเมริกา เพื่อติดตามว่า จะมีการแพร่กระจายแบบ “คนสู่คน” ในสหรัฐอเมริการอีกหรือไม่?

ประเทศไทยเพิ่งมีรายงานในวันที่ ๓๑ มกราคมที่ยอมรับว่า คนขับรถแท็กซี่ ๑ รายที่เฝ้าระวังอยู่ซึ่งเป็นผู้ขับรถรับ

นักท่องเที่ยวชาวจีนและเริ่มป่วย ได้ยืนยันการตรวจพบเชื้อ 2019-nCoV ด้วย นับเป็นรายแรกของประเทศไทยที่ติดจาก

“คนสู่คน” นอกพื้นที่เสี่ยง (คือ ติดเชื้อในเมืองไทยนั่นเอง)

ข้อมูลการแพร่กระจายจาก “คนสู่คน” จึงยังมีจ ากัดและมีผู้ติดเชื้อจ านวนน้อยและเจ็บป่วยไม่รุนแรง แต่วงการ

แพทย์ไทยมิได้ประมาทและท าการป้องกันการแพร่กระจายแบบ “คนสู่คน” อย่างเต็มที่ตามมาตรฐานสากล ปัญหาของ

เชื้อไวรัสตัวนี้อยู่ที่ว่า ยังมีสัตว์ปีกรวมทั้งสัตว์ปีกที่เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค้างคาว ที่เป็นพาหะคอยแพร่เชื้ออยู่แล้วในพื้นที่ที่

เกิดการระบาดหรือไม่? การมีรายใหม่เกิดขึ้นจึงต้องตรวจสอบข้อมูลให้ชัดเจนว่า ติดเชื้อมาจากผู้ป่วยที่ตนเองดูแลใกล้ชิด

หรือติดเชื้อมาจากมลพิษในอากาศรอบตัวที่มีเชื้อปนเปื้อนจากสัตว์ปีกที่น าเชื้อโรค ส่วนข้อมูลการแพร่เชื้อจาก“คนสู่คน”

ในประเทศเยอรมนีซึ่งเป็นข้อมูลใหม่ ท าให้เราคิดใหม่ว่า การแพร่จาก “คนสู่คน” ง่ายกว่าที่เคยคิดไว้และจะคล้ายกับการ

แพร่เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แต่ก็มีข้อมูลล่าสุดกลับมาแจ้งว่า หญิงจีนรายนั้นป่วยขณะที่มาประชุมในบริษัทในเยอรมนี ๒ วัน

และกินยาพาราเซตามอลอยู่แล้ว(และไม่สวมหน้ากากอนามัยขณะประชุมด้วย?) เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ทั่วไปจะแพร่จาก

“คนสู่คน” เป็นหลักโดยใช้ละอองฝอย (aerosol มากกว่า droplet) เพราะเป็นเชื้อที่อยู่ในคนและคนเป็นพาหะ ยกเว้นเชื้อ

ไวรัสไข้หวัดนกที่มีเชื้ออยู่ในสัตว์ปีกและสัตว์ปีกกลายเป็นพาหะน าเชื้อโรคด้วย การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หวัดนกจึง

จะคล้ายกับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่มีรังโรคอยู่ในสัตว์ปีกและเป็นกลายเป็นโรคที่เรียกว่า zoonosis ซึ่งจะมีวิธีการ

แพร่กระจายเชื้อทั้งจาก “สัตว์ปีกหรือสัตว์ปีกเลี้ยงลูกด้วยนมสู่คน” และจาก “คนสู่คน”

กำรระบำดของโรคติดเชื้อ 2019-nCoV ในประเทศไทย จะรุนแรงไหม?

ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคติดเชื้อ 2019-nCoV ข้อมูลของการระบาดในประเทศไทยจน

ขณะนี้ระบุชัดเจนว่า ผู้ป่วยทุกรายทั้งคนไทยและชาวจีนทุกรายมีประวัติการเดินทางกลับมาจากประเทศจีน มีเพียงคนขับ

แท๊กซี่ ๑ รายที่ติดจากนักท่องเที่ยวชาวจีน เป็นการระบาดจาก “คนสู่คน” ในประเทศไทย ดังนั้น หากการควบคุมการ

ระบาดของโรคนี้ในประเทศจีนได้ผลดี ประเทศไทยน่าจะมีความเสี่ยงต่ ามากที่จะมีโรคนี้มาระบาดไปทั่วประเทศ แม้ว่าจะ

มีคนจีนจ านวนมากมาเที่ยวประเทศไทย อัตราตายจากการเจ็บป่วยของโรคนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ าระดับร้อยละ ๒.๑๗ ทั้งนี้

ยังไม่รวมถึงการค้นคว้าหายาที่อยู่ระหว่างการศึกษาและมีแนวโน้มว่า จะใช้ได้ผลบ้างในการรักษาผู้ป่วยปอดอักเสบรุนแรง

หากมียาต้านไวรัสโดยเฉพาะ อาจจะลดอัตราตายลงได้อีก มาตรการการป้องกันการแพร่เชื้อของผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อและ

ผู้ป่วยในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ในระดับสูงสุดตามมาตรฐานโลก การเฝ้าระวังและค้นหารายป่วยของกรม

ควบคุมโรคตามด่านต่างและที่สนามบินอยู่ในระดับมาตรฐาน มีห้องปฏิบัติการหลายแห่งที่สามารถชันสูตรเชื้อไวรัสหลาย

ชนิดที่ก่อโรคในทางเดินหายใจรวมทั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่และเชื้อไวรัส 2019-nCoV ส่วนความดุร้ายของตัวเชื้อโรคเองก็

๒๗๐

ยังไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบว่าเท่าเทียมกับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ ประชาชนให้ความร่วมมือในการสวมหน้ากากอนามัย

และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ดังนั้น บนพื้นฐานของข้อมูล ณ วันนี้ จึงคาดว่า การระบาดของ

โรคติดเชื้อไวรัส 2019-nCoV ในประเทศไทยอาจจะมีได้บ้างในระดับที่ไม่รุนแรง หากมีการระบาดเกิดขึ้น จ านวนผู้ป่วยจะ

ทะยอยเกิดขึ้นช้า ๆ ท าให้มีโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์รับมือได้ทันกับความรวดเร็วของการระบาด จึงคาดว่า

มาตรการการควบคุมการระบาดของกระทรวงสาธารณสุขและวงการแพทย์ “เอาอยู่แน่” กับการระบาดของโรคติดเชื้อ

2019-nCoV ในประเทศไทยภายใน ๖ เดือนข้างหน้า ถึงแม้ว่า การติดต่อจาก “คนสู่คน” อาจจะเป็นไปได้ง่ายขึ้นจาก

ข้อมูลใหม่ในประเทศเยอรมนี หากเป็นเช่นนั้นจริง ลักษณะของการระบาดของโรคติดชื้อ 2019-nCoV อาจจะมาคล้ายกับ

โรคไข้หวัดใหญ่ ๒๐๐๙ ได้มากขึ้น ส่วนหลังการระบาดครั้งนี้แล้ว โรคจะหายไปเลยแบบโรคติดเชื้อ SARS-CoV ก็เป็นเรื่อง

ที่จะต้องติดตามต่อไป

ข้อมูลที่อยำกให้แพทย์แจ้งให้ประชำชน

สรุปได้ว่า เมื่อตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ และระบบการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อและมาตรการการควบคุมการระบาดใน

ประเทศของรัฐบาลแล้ว แพทยสภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทยขอให้

ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่า กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อต่าง ๆ รวมทั้งแพทย

สภา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ได้มาร่วมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในช่วยกัน

ดูแลในเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าอย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมโรคนี้มิให้มีกำรระบำดในประเทศไทยให้ได้ ระบบการเฝ้า

ระวังที่สนามบินและท่าเรือรวมทั้งด่านต่าง ๆ ที่มีคนจีนเข้ามา ต้องมีระบบตรวจค้นหารายป่วยอย่างที่กระทรวงสาธารณสุข

ได้วางระบบการตรวจค้นที่สนามบินและวางระบบการส่งต่อและดูแลผู้ป่วยที่ต้องสงสัยไว้แล้วตามจุดต่าง ๆ ในประเทศ มี

แนวทางการประสานงานที่ชัดเจนและผู้รับผิดชอบได้เฝ้าติดตามสถาณการณ์ของโรคทั้งในต่างประเทศและในประเทศอยู่

แล้ว

ฝ่ายสัตวแพทย์ต้องเริ่มส ารวจพาหะที่น าเชื้อโรค 2019-nCoV เช่น ค้างคาว โดยเฉพาะในภาคเหนือหรือเขตอพยพ

ของสัตว์ปีกจากประเทศจีนที่บินมาที่ประเทศไทยว่า ตรวจพบเชื้อไวรัสชนิดนี้ในมูลสัตว์และสิ่งคัดหลั่งจากช่องปากหรือไม่?

และท าการเฝ้าระวังตรวจหาเชื้อเป็นระยะ ๆ การน าสัตว์ที่มีชีวิตข้ามประเทศเป็นสิ่งต้องห้ามอยู่แล้วแต่ต้องเพิ่มระบบ

ตรวจตราให้เข้มข้นเพราะยังมีผู้ลักลอบน าเข้ามาอยู่ ขณะนี้คาดว่า สัตว์ปีกเหล่านี้ในประเทศไทยยังไม่เป็นพาพะของเชื้อ

ไวรัสนี้ การสูดอากาศในประเทศไทยจึงยังมีความปลอดภัยจากโรคติดเชื้อชนิดนี้ ส่วนการติดต่อจาก “คนสู่คน” เป็นไป

ได้มากขึ้น หากผู้ใดเจ็บป่วยเป็นไข้และแสดงอาการของระบบทางเดินหายใจ ขอให้สวมหน้ากากอนามัยทั้งผู้ป่วยและ

ญาติที่เข้ามาดูแลอย่างใกล้ชิด ไม่ไอ-จามใส่หน้าผู้อื่น จะลดการแพร่เชื้อแบบ “คนสู่คน” ได้มาก และแนะน าให้ผู้ป่วยไป

ตรวจหาเชื้อก่อโรคว่า เป็นเชื้อชนิดใดในโรงพยาบาลต่าง ๆ ของรัฐ

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ ได้ส่งก าลังใจและสนับสนุนแพทย์จีนและวงการแพทย์ของประเทศจีนที่ได้แสดง

ความจริงใจในการควบคุมโรคระบาดของเชื้อ 2019-nCoV ผ่านทาง Chinese Medical Association ไปหลายวันแล้ว

ครั้งนี้ก็ขอส่งก าลังใจให้แพทย์ไทยในกระทรวงสาธารณสุข และขอยืนยันความเหมาะสมของมาตรการและแนวทางที่ใช้การ

ควบคุมโรคที่รัฐบาล กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่เป็นองค์กรหลักได้ประกาศและ

รีบเข้ามาท างานอย่างรวดเร็วและเสียสละ เพื่อควบคุมการระบาดของโรคนี้อย่างทันกาล สร้างความอบอุ่นใจให้แก่

ประชาชนชาวไทยในยามที่เกิดความตระหนกแตกตื่นและความกลัวในโรคร้ายแรงที่อาจจะระบาดในประเทศไทย ทุก

๒๗๑

องค์กรในวิชาชีพทางการแพทย์ได้ผนึกก าลัง ความรู้ ความช านาญ และประสบการณ์และพร้อมมาช่วยกันควบคุมโรคนี้

ตามความถนัดและโอกาสที่แต่ละท่านมีอยู่แล้ว

จึงขอให้แพทย์ทุกท่านช่วยกันให้ความมั่นใจแก่ประชาชนว่า ประเทศไทย “เอำอยู่แน่” อย่างแน่นอน ในเรื่องการ

ควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ภายในประเทศอย่างไม่ต้องสงสัย

๒๗๒

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อ COVID-19 จากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

เชื้อไวรัสก่อโรคโคโรนา มีชื่อทางการว่าอะไร?

 เชื้อก่อโรคไวรัสโคโรนา มีชื่อชั่วคราวที่ใช้ในตอนแรกคือ 2019-nCoV

ชื่อทางการในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2 ส่วนชื่อของโรคติดเชื้อชนิดนี้

เรียกว่า COVID-19 ย่อมาจาก CO แทน corona, VI แทน virus, D แทน disease และ 19 แทน 2019

องค์การอนามัยโลกตั้งชื่อแบบนี้เพื่อมิให้เกิด “รอยมลทิน” กับประเทศ พื้นที่ ผู้ป่วย ประชาชน และสัตว์ที่

เกี่ยวข้องกับจุดก าเนิดและการระบาดของโรคนี้

เชื้อไวรัสก่อโรคโคโรนาในมนุษย์มีกี่ชนิดและมีชื่ออะไรบ้าง?

 เดิมมีเชื้อไวรัสชนิดนี้๔ ชนิดที่ก่อโรคในทางเดินหายใจส่วนบนของคนและก่อโรคไม่รุนแรง ได้แก่ HKU1,

NL63, OC43 และ 229E ส่วนอีก ๓ ชนิดก่อโรคได้รุนแรง ท าให้ปอดอักเสบและถึงตายได้ ได้แก่ SARS

CoV-1 (ก่อโรค SARS ในจีนและฮ่องกง ๒๕๔๖), MERS-CoV และล่าสุดคือ SARS-CoV-2

ส่วนตัวเชื้อ SARS-CoV-2 เอง ก็มีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อยได้อยู่แล้ว เพราะเป็นไวรัส RNA ที่

กระบวนการเพิ่มจ านวนและรหัสพันธุกรรมไม่ได้มีประสิทธิภาพเต็มร้อยอยู่แล้ว ท าให้มีหลายสายพันธุ์

ย่อยได้ในเวลาต่อมา แต่การกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวยังไม่พบข้อมูลว่า ท าให้มีการติดเชื้อง่าย

ขึ้นอีก ท าให้โรครุนแรงมากขึ้นอีก ท าให้เชื้อดื้อยาต้านไวรัสที่ใช้อยู่ หรือท าให้ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจาก

การติดเชื้อครั้งก่อน ใช้ไม่ได้ผลกับการติดเชื้อสายพันธุ์ย่อยในครั้งที่สองหรือสาม ดังนั้น เรื่องการกลาย

พันธุ์เป็นเรื่องปกติ แต่ยังไม่มีผลร้ายอย่างใดที่แตกต่างไปจากการก่อโรคของเชื้อ SAR-CoV-2 ของสาย

พันธุ์ที่เป็นต้นแบบ (parent strain)

เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีต้นตอมาจากที่ใด?

 การศึกษารหัสพันธุกรรมและการเรียงล าดับของรหัสแต่ละตัวจะบอกถึงต้นตอของเชื้อ การศึกษาดังกล่าว

พบว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีจ านวน ๒๙,๙๐๓ นิวคลีโอไทด์และพบว่า มีนิวคลีโอไทด์ที่เหมือนกันถึง

ร้อยละ ๘๙.๑ ของเชื้อ SARS-like coronaviruses ในค้างคาวที่เคยพบในประเทศจีน จึงจัดให้เชื้ออยู่ใน

จีนัส Betacoronavirus, ซับจีนัส Sarbecovirus ปัจจุบัน ทราบว่าต้นตอมาจากเชื้อไวรัสโคโรนาใน

ค้างคาวและเกิดการกลายพันธุ์ ท าให้ได้เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เพียงแต่ไม่แน่ชัดว่า การกลายพันธุ์และ

การแพร่กระจายเกิดในสัตว์อื่นที่เป็นตัวกลาง(intermediate host)ก่อนมาสู่คนหรือไม่? มีการศึกษายีน

ของเชื้อชนิดนี้ในตัวตัวลิ่น(หรือตัวนิ่ม) พบว่า มีรหัสพันธุกรรมเหมือนกับ SARS-CoV-2 ถึงร้อยละ ๙๙

และตัวลิ่นเป็นสัตว์มีแกนสันหลังและเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย ดังนั้น ตัวลิ่นอาจจะเป็น intermediate

host ก่อนแพร่เชื้อสู่คน หรือว่า เกิดการกลายพันธุ์ในค้างคาวแล้วกระจายมาสู่คนเลย (ค้างคาวเป็นสัตว์

เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนนกเป็นสัตว์ปีก แต่ทั้งคู่มีเชื้อไวรัสโคโรนาอยู่ในตัวได้)

๒๗๓

 การศึกษาการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ในสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัข แมว พบว่า สุนัขไม่ใช่สัตว์ที่จะติดเชื้อได้

ดี จึงไม่น่าเป็นพาหะที่ส าคัญ ส่วนแมวเป็นสัตว์ที่เชื้อ SARS-CoV-2 ก่อโรคได้ดีและสามารถแพร่เชื้อไปให้

แมวข้างเคียงได้ จึงต้องคอยดูแลแมวในบ้านมิให้ไปเพ่นพล่านนอกบ้าน หรือไม่ให้แมวเข้ามาในสถานที่

ดูแลรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 เพื่อป้องกันแมวมิให้เป็นพาหะน าเชื้อต่อไปยังคนได้

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์อื่น มีสัตว์อื่น(intermediate host)เป็นตัวกลางในการแพร่เชื้อสู่คนหรือไม่?

 เชื้อ SARS-CoV ที่ก่อโรค SARS ในประเทศจีนในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ มีอีเห็นหรือชะมด(palm civet)เป็น

intermediate host และเชื้อ MERS-CoV ที่ก่อโรค MERS ในประเทศซาอุดิอารเบียในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มี

อูฐเป็น intermediate host

เชื้อโรคชนิดนี้แพร่กระจายโดยวิธีใด?

 การแพร่เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่พบบ่อยที่สุดคือ ผู้ติดเชื้อแพร่เชื้อผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่และ

ขนาดเล็กเข้าไปในทางเดินหายใจของผู้รับเชื้อ ส่วนการสัมผัสสิ่งของที่ใช้ร่วมกันแล้วแพร่เชื้อเข้ามาใน

ทางเดินหายใจยังเกิดขึ้นได้แต่พบน้อย ตามปกติการก่อโรคของเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจ มีการ

แพร่กระจายเชื้อทางอากาศ(airborne)ได้สัตว์ที่แพร่เชื้อต้องร้องพ่นสิ่งคัดหลั่งออกมาทางปาก หรือผู้ป่วย

ต้องไอ ไอมีเสมหะ การไอ จาม การตะโกนเชียร์ ร้องเพลงเสียงดัง ท าให้มีฝอยละอองขนาด

ใหญ่(droplet)และฝอยละอองขนาดเล็ก(เล็กกว่า ๕ ไมครอนเรียกว่า aerosol)กระเด็นออกมา ผู้ที่อยู่

ใกล้ชิดไม่เกิน ๒ เมตรจากผู้แพร่เชื้อจะสูดดมเชื้อในอากาศผ่านทางฝอยละอองขนาดใหญ่(droplet) และ

ฝอยละอองขนาดเล็ก(เล็กกว่า ๕ ไมครอนเรียกว่า droplet nuclei หรือ aerosol)เข้าไปในทางเดินหายใจ

โดยเฉพาะจากการไอจามรดกันโดยตรง ถ้าอยู่ห่างจากผู้แพร่เชื้อหรือผู้ป่วยเกิน ๒ เมตรขึ้นไป จะติดเชื้อ

จากการสูดฝอยละอองขนาดเล็กที่ล่องลอยในอากาศไปได้ไกลกว่า ๕ เมตร การแพร่เชื้อทั้งสองวิธีมีการ

ป้องกันที่มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน การแพร่เชื้อผ่านทางฝอยละอองขนาดเล็ก (aerosol) จะเกิดขึ้นได้

เมื่อมีผู้ติดเชื้อมาแพร่เชื้อในห้องหรือสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท ผู้ติดเชื้อและผู้รับเชื้อมาอยู่ร่วมกันในห้อง

นานเป็นชั่วโมง เช่น อยู่ในสนามมวย ในผับ ในห้องคาราโอเกะ เป็นต้น ส่วนการแพร่เชื้อโดยการสัมผัส

เช่น การจับมือกันหรือมือจับของใช้สาธารณะที่ปนเปื้อนเชื้อ แล้วมาแคะจมูกหรือเช็ดตาตนเองแล้วติดเชื้อ

มีความเป็นไปได้แต่ไม่ได้ท าให้เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อนใหญ่อย่างรวดเร็ว การแพร่เชื้อทางอุจจาระ

อาจจะเป็นไปได้เพราะเชื้อออกมาทางอุจจาระได้ด้วย แต่การแพร่เชื้อจากอุจจาระอาจจะเกิดจากการ

สัมผัสอุจจาระ หรือมีการท าให้น้ าล้างอุจจาระกระเด็นเป็นฝอยละอองขึ้นมาเมื่อเวลากดชักโครกโดยไม่ปิด

ฝาโถส้วม (การแพร่กระจายเชื้อก่อโรค SARS ในปี ๒๕๔๖ ในโรงแรมที่ฮ่องกง เกิดจากการแพร่กระจาย

ของเชื้อ SARS-CoV ในอุจจาระที่กลายเป็นฝอยละอองแพร่ไปในอากาศ) การแพร่ที่ยังไม่มีการศึกษาให้

เห็นผลชัดเจนคือ การผายลมออกมาเป็นละอองฝอยในขณะถ่ายอุจจาระหรือในเวลาอื่น จะเป็นวิธีการ

แพร่เชื้อทางฝอยละอองขนาดเล็กได้หรือไม่?

ฝอยละอองขนาดเล็ก(aerosol)เกิดจากอะไร? และป้องกันการติดเชื้อจากฝอยละอองจิ๋วได้อย่างไร?

 ฝอยละอองขนาดเล็กกว่า ๕ ไมครอน เกิดจากการไอ จาม หายใจแรง ๆ การกดชักโครกอุจจาระโดยไม่ปิด

ฝาโถส้วม การผายลม และการเกิดในโรงพยาบาลจากการใช้เครื่องดูดเสมหะจากท่อช่วยหายใจหรือ

หลอดลมของผู้ป่วย การใส่หรือถอดท่อช่วยหายใจจากผู้ป่วย ท าให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็กกว่า ๕

ไมครอนและปลิวไปได้ไกลหรือลอยละล่องในอากาศได้นานหลายชั่วโมง(เหมือนเมฆหรือหมอก)

๒๗๔

โดยเฉพาะในสถานที่หรือห้องแออัดและอากาศไม่ถ่ายเท จะมีการสะสมของฝอยละอองขนาดเล็กที่

ปนเปื้อนเชื้อได้มากขึ้นในแต่ละชั่วโมงที่ผ่านไป การป้องกันที่ใช้การสวมหน้ากากอนามัยจะไม่เพียงพอ

การป้องกันที่ได้ผลถึงร้อยละ ๙๕ คือการสวมหน้ากากแบบ N95 และปิดตาหรือสวมชุด PPE ห่อหุ้มทั้งตัว

นอกจากนี้ต้องป้องกันการติดฝอยละอองขนาดเล็ก โดยไม่เข้าใกล้ผู้คนซึ่งกันและกัน(social or physical

distancing)หรือท าให้ตนเองอยู่เหนือลมในฝูงชน หรือใช้พัดลมเป่าจากตนเองไปสู่ผู้ติดเชื้อ นอกจากนี้

ต้องยกเลิกการท ากิจกรรมกลุ่มและการรวมตัวทางสังคม ยกเลิกการไปท่องเที่ยวในแดนที่มีการระบาดของ

โรคอย่างหนาแน่น การเปิดหน้าต่างในห้องท างานในส านักงานเป็นประจ าเพื่อให้อากาศหมุนเวียน และใส่

ใจในการฆ่าเชื้อโรคภายในบ้าน ส านักงานโดยใช้แสงแดด เครื่องฟอกอากาศที่ท าลายและกรองฝุ่นจิ๋ว

หรือสเปรย์แอลกอฮอล์ซิลเวอร์นาโนพ่นฆ่าเชื้อในอากาศทุกวันก่อนเริ่มท างานและหลังเลิกงาน

น้้ายาท้าลายเชื้ออะไรบ้างที่ท้าลายเชื้อไวรัสโคโรนา ได้ดี?

 สารละลายแอลกอฮอล(๗๕–๙๕%), แอลกอฮอล์ทั่วไปชนิด 2-propanol(๗๐-๑๐๐%), น้ ายากลูตาราลดี

ไฮด์(๐.๕–๒.๕%), ฟอร์มาลดีไฮด์(๐.๗–๑%), povidone iodine(๐.๒๓–๗.๕%) และโซเดียม ไฮโปคลอ

ไรด์(๐.๒๑% ขึ้นไป) ท าลายเชื้อโคโรนาได้เร็วใน ๓๐ วินาทีส่วนสารไฮโดรเจน เปอร์อ๊อกไซด์(๐.๕%) ใช้

เวลาอย่างน้อย ๑ นาทีในการฆ่าเชื้อ สาร benzalkonium chloride ได้ผลไม่แน่นอนรวมทั้ง

chlorhexidine digluconate (๐.๐๒%)

เชื้อไวรัสโคโรนามีความคงทนอยู่บนผิวสิ่งของต่าง ๆ ได้นานเท่าใด?

 เชื้อมีชีวิตบนผิวโลหะ อลูมีเนียม ไม้ กระดาษ แก้ว หรือผิวของสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่อุณหภูมิ ๒๐ องศา

เซลเซียสได้นาน ๔-๕ วัน และบนผิวพลาสติกอาจจะมีชีวิตนานถึง ๙ วัน ถ้าอุณหภูมิลดเหลือ ๔ องศา

เซลเซียสจะมีชีวิตได้นาน ๒๘ วัน ถ้าอุณหภูมิสูงถึง ๓๐ องศาเซลเซียสจะอยู่ได้นานไม่เกิน ๑ วัน

ผู้ที่มาจากดงระบาดของโรค COVID-19 และไม่มีอาการใด ๆ สามารถแพร่เชื้อได้ไหม?

 การตรวจผู้ที่อพยพจ านวน ๑๒๖ รายจากเมืองอู่ฮั่นมายังประเทศเยอรมนีโดยเครื่องบิน พบว่า มี๒ รายที่

ไม่มีอาการใด ๆ (ทั้งที่ไม่มีอาการจริง ๆ หรือไม่รู้ตัวว่ามีอาการเพราะมีอาการน้อยมาก)และให้ผลบวกกับ

การตรวจหารหัสพันธุกรรมของเชื้อ SARS-CoV-2 และการเพาะเชื้อในเซลล์Caco-2 cells ของคน ดังนั้น

๒ รายนี้ที่ไม่มีอาการใด ๆ ยังมีเชื้อไวรัสเป็น ๆ ในคอหอยที่แพร่เชื้อได้ถ้ามีการไอ จาม เกิดขึ้น

ปัจจุบัน ทราบดีแล้วว่า ผู้ที่แพร่เชื้ออาจจะไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อยมากหรือแทบไม่มีอาการ เป็นผู้

ที่เพิ่งติดเชื้อมานาน และเป็นคนในวัยที่เดินทางเก่งหรือเดินทางบ่อย

ใครคือผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ SARS-CoV-2?

 บุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่สัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในระยะที่ยังไม่ทราบว่าป่วย

เป็นโรคนี้การเข้าไปในที่ชุมชนแออัดที่อาจจะมีผู้ป่วยปะปนอยู่ด้วย ผู้ที่เดินทางมาจากดินแดนที่มีการ

ระบาดของโรค COVID-19 อย่างมากเช่น ที่ประเทศจีนตอนใต้ สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่น อิตาลี อิหร่าน ฝรั่งเศส

สเปน เป็นต้น ผู้ที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยเมื่อไปดูแลผู้ป่วยที่มีอาการไอ ไข้ ในบ้านตนเองหรือส านักงาน

การเข้าร่วมท าพิธีกรรมทางศาสนาที่ท าให้ผู้คนต้องเข้ามาอยู่ใกล้ชิดกัน ในห้องประชุมเดียวกัน เป็นต้น

หากเกิดการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ใครคือผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคที่รุนแรงจนถึงตายได้?

๒๗๕

 ผู้ที่มีอายุเกิน ๖๐ ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจ าตัวเกี่ยวกับปอด หัวใจ เบาหวาน โรคไตพิการเรื้อรัง ผู้ที่กิน

ยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ติดสุราเรื้อรัง ผู้ที่อ้วนมากหรือมีค่า BMI มากกว่า ๓๐ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่

ปลูกเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ที่ท างานหนักอดหลับอดนอน คนอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคที่รุนแรงจนถึงตายได้

ส่วนเด็กเล็ก วัยรุ่น ผู้ที่แข็งแรงดีมักจะป่วยเพียงเล็กน้อย เช่น หลอดลมอักเสบ แล้วอาการก็ทุเลาหาย

ระยะฟักตัวของโรค COVID-19 คือกี่วัน?

 ข้อมูลจากผู้ป่วย ๑,๐๙๙ รายในโรงพยาบาล ๕๒๒ แห่งพบว่า ระยะฟักตัวของโรคโดยทั่วไปคือภายใน ๑๔

วัน แต่มีช่วงเวลาระหว่าง ๐ ถึง ๒๔ วัน พบว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้ป่วยทั่วไปมีระยะฟักตัว ๓ วัน ร้อยละ

๕๐ ของผู้ป่วยหนักจะมีระยะฟักตัวเท่ากับ ๒ วันเท่านั้น มีเพียง ๑๔ รายจาก ๑,๐๙๙ รายหรือร้อยละ

๑.๒๗ เท่านั้นที่มีระยะฟักตัวระหว่าง ๑๕-๒๔ วัน และมีรายเดียวที่มีระยะฟักตัว ๒๔ วัน ดังนั้น ผู้ป่วยร้อย

ละ ๙๘ ขึ้นไป จะมีอาการภายใน ๑๔ วันและส่วนมากมีอาการระหว่าง ๓ ถึง ๗ วัน

การจ้ากัดสถานที่ให้ผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อกักกันตนเอง ใช้เวลากี่วัน?

 โดยทั่วไป ใช้เวลา ๑๔ วันในการจ ากัดสถานที่ให้ผู้ต้องสงสัย ในระยะ ๑ ถึง ๑๔ วันแรกของระยะฟักตัว

ให้อยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงหรือแพทย์ที่ได้รับมอบหมาย หากผู้นั้นไม่

มีอาการใด ๆ(ไอหรือไข้) และผลการตรวจด้วยวิธี qRT-PCR จากสิ่งคัดหลั่งในระบบหายใจให้ผลลบ ก็

สามารถกลับไปอยู่ที่บ้านได้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ชุมชน เมื่อผู้สัมผัสเชื้อกลับไปอยู่ที่บ้านหลัง

๑๔ วันแล้ว ผู้นั้นควรอยู่ในบ้าน เข้าไปในที่ชุมนุมชนให้น้อยที่สุดและเท่าที่จ าเป็น ให้สวมหน้ากากอนามัย

ถ้าต้องเข้าไปในที่ชุมนุมชนหรือขึ้นรถโดยสารหรือเข้าไปในห้างสรรพสินค้า หลังจากนั้นอีก ๑๔ วันแล้วยัง

ไม่มีไข้หรือไอ ให้ถือว่าผู้นั้นไม่แพร่เชื้อและไม่ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือตรวจพบว่า ตนเองมี

ภูมิคุ้มกันแล้ว

เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เข้าไปในเซลล์มนุษย์และก่อโรคได้อย่างไร?

 เชื้อไวรัสต้องเข้าไปแบ่งตัวและเจริญเติบโตในเซลล์มนุษย์ เช่น เซลล์ของเยื่อบุหลอดลม จึงจะก่อโรคได้

เชื้อใช้ผิวเซลล์ของไวรัสจับกับ angiotensin converting enzyme II ที่ผิวเซลล์มนุษย์เพื่อเข้าไป

เจริญเติบโตและเพิ่มจ านวนเชื้อในเซลล์มนุษย์ แล้วเซลล์มนุษย์ที่ติดเชื้อจะปล่อยเชื้อไวรัสออกมานอก

เซลล์เพื่อไปก่อโรคในเซลล์ข้างเคียงต่อไป การที่เชื้อเพิ่มจ านวนมากขึ้นและเข้าไปในเซลล์ข้างเคียงอีก

หลายรอบ จะท าลายเซลล์มนุษย์ในหลอดลมและปอด ท าให้ปอดอักเสบและการหายใจล้มเหลวในที่สุด

หากระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ไม่สามารถท าลายหรือควบคุมเชื้อให้ทันกาล

ท้าไมพยาธิสภาพในเนื้อปอดของผู้ตายจากโรค COVID-19 จึงมีผังพืดมาก?

 โรค COVID-19 ก่อโรคได้รุนแรงในผู้สูงวัย(อายุเกิน ๖๐ ปีขึ้นไป)เพราะระบบภูมิคุ้มกันที่ติดตัวมาแต่

ก าเนิดตามธรรมชาติเสื่อมไปตามวัย ท าให้ไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มจ านวนของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2

ในเซลล์ที่หลอดลมและถุงลมในเนื้อปอดได้ทันกาล ท าให้เซลล์ในถุงลมที่ติดเชื้อจ านวนมากตายและ

ทดแทนด้วยผังพืดในเวลา ๒-๓ สัปดาห์หลังการเจ็บป่วย ท าให้การหายใจล้มเหลวและผู้ป่วยถึงแก่กรรม

ในที่สุด

อัตราการตายต่อรายป่วยของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสูงมากไหม?

๒๗๖

การติดเชื้อไวรัสโคโรนากลุ่มนี้มีอัตราการตาย (case fatality rate) แตกต่างกันดังนี้

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ SARS-CoV มีอัตราตายร้อยละ ๙.๕

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ MERS-CoV มีอัตราตายร้อยละ ๓๔.๔

 ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีอัตราตายเฉลี่ยร้อยละ ๒.๖๗ (ข้อมูลจาก SCMP ณ วันที่

๑๙ กุมภาพันธ์๒๕๖๓) ที่น่าสนใจคือ อัตราตายในประเทศจีนคิดเป็นร้อยละ ๒.๗๐ (ตาย ๒,๐๐๔

รายจาก ๗๔,๑๘๕ ราย) อัตราตายนอกประเทศจีนคิดเป็นร้อยละ ๐.๔๙ เท่านั้น(ตาย ๕ รายจาก

๑,๐๑๒ รายและคนที่ตายยังมีบางคนเป็นคนจีนที่ออกมาจากพื้นที่ที่เป็นดงระบาด) อัตราตายนอก

ประเทศจีนจึงน้อยกว่าถึง ๕.๔ เท่า ผู้ที่ติดเชื้อนอกดงระบาด(นอกประเทศจีน)อาจจะได้รับเชื้อ

จ านวนน้อยกว่า หรือไม่ได้มีผู้สูงวัยที่ติดเชื้อก็ได้ อัตราตายของผู้ติดเชื้อของคนไทย ณ วันที่ ๒๙

มีนาคม คิดเป็น ๑,๓๘๘ ราย ตาย ๗ รายหรือร้อยละ ๐.๕๐

ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการอะไรบ้าง?

 ผู้ที่ติดเชื้อร้อยละ ๘๐ ไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อย บางรายมีอาการแบบโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจ

ส่วนบน เช่น เจ็บคอน้ ามูกไหล แต่พบน้อย ประมาณร้อยละ ๑๕ จะมีอาการชัดเจน เช่น ไอและไอมี

เสมหะ มีไข้บางรายโดยเฉพาะผู้สูงวัยมีไข้และหายใจเร็ว หอบ จากปอดบวม มีน้อยรายที่มีอุจจาระร่วง

อีกประมาณร้อยละ ๕ จะป่วยรุนแรง จะหายใจเร็ว หอบ จนถึงการหายใจล้มเหลวและช็อคได้

COVID-19 ต่างจากไข้แบบอื่นอย่างไร?

 โรค COVID-19 แตกต่างจากไข้หวัดอื่น ๆ ตรงที่ว่า เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ที่กลายพันธุ์มาจาก

เชื้อโคโรนาที่พบในค้างคาว การกลายพันธุ์ท าให้เชื้อก่อโรค COVID-19 แพร่กระจายได้เก่งและก่อโรค

รุนแรงในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจนท าให้ระบบการหายใจล้มเหลวได้ ร่างกายมนุษย์ยังไม่มีภูมิคุ้มกันเฉพาะเชื้อ

ชนิดนี้มาก่อน จึงต้องใช้เวลาสร้างภูมิคุ้มกันประมาณ ๗ ถึง ๑๔ วันหลังติดเชื้อ

เมื่อไหร่ หรือมีอาการอย่างไร ถึงควรไปพบแพทย์

 เมื่อมีอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่รุนแรงแบบที่ไม่เคยป่วยมาก่อน เช่น ไข้สูงเกิน ๓๘.๕ องศา

เซลเซียสอย่างต่อเนื่อง ปวดเมื่อยตามตัวมาก อ่อนเพลียมากผิดปกติ หรือมีอาการในระบบทางเดินหายใจ

ส่วนล่างเพิ่มขึ้นในเวลาต่อมา คือ ไอถี่ขึ้นและเริ่มมีเสมหะ หายใจเร็วตื้น หอบเหนื่อยง่ายขึ้น หายใจแรง ๆ

จะเจ็บหน้าอกจนถึงนั่งอยู่เฉยๆ ก็หอบเหนื่อย ทั้ง ๆ ที่เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ก็ไม่ได้เป็นแบบนี้ อย่างไรก็

ตาม หากสงสัยว่า ตนเองติดเชื้อ อาจจะไปรับการตรวจเพื่อให้ทราบว่า ติดเชื้อแล้วหรือยัง อย่างไรก็ตาม

หากการตรวจได้ผลลบ ต้องขอค าอธิบายว่า เกิดจากการไม่ติดเชื้อ หรือว่า ตนเองอยู่ในระยะฟักตัวของโรค

หรือไม่?

การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาผู้ติดเชื้อ ท้าได้อย่างไรบ้าง?

 การตรวจหารหัสพันธุกรรมของเชื้อ สามารถตรวจพบได้จากสิ่งคัดหลั่งในทางเดินหายใจ เลือด อุจจาระ

และปัสสาวะ แต่ไม่ได้หมายความว่าจ านวนเชื้อที่ตรวจพบเป็นเชื้อที่มีชีวิตทั้งหมดหรือไม่? วิธีนี้ใช้เป็นวิธี

มาตรฐานในการวินิจฉัยการติดเชื้อในขณะนี้

๒๗๗

 การเพาะเชื้อโดยใช้เซลล์ชนิดต่าง ๆ วิธีนี้มีข้อดีคือแสดงว่า เชื้อยังมีชีวิตและสามารถแบ่งตัวได้ แต่จะ

ทราบผลการตรวจช้ากว่าและท าการตรวจยากกว่า เซลล์ที่ใช้เพาะเลี้ยงเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จะเป็น

เซลล์จากหลอดลม ไต หรือตับ มีชื่อว่า human airway epithelial cell, Vero E6 (จาก kidney

epithelial cells) และ Huh-7 (จากตับ) และ Caco-2 cell (จากเยื่อบุล าไส้ใหญ่ชนิด

adenocarcinoma cell)

 ส่วนการตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM และ IgG จากเลือดต่อเชื้อชนิดนี้ด้วยวิธี ICT จะใช้ได้เมื่อผู้ป่วยเริ่ม

แสดงอาการของโรคแล้วมาประมาณ ๓-๕ วันแล้ว การตรวจอาจจะให้ผลลบลวงได้ในผู้ติดเชื้อที่อยู่ใน

ระยะฟักตัวของโรคหรือผู้ที่ไม่แสดงอาการใด ๆ หรือในระยะ ๒-๓ วันของการเจ็บป่วยก็ได้

 ต่อไปจะพัฒนาจนมีการตรวจหาแอนติเจน หรือระดับแอนติบอดีชนิด IgG ๒ ครั้งจากน้ าเหลืองเพื่อแสดง

ถึงการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2

ปัจจุบัน มีการตรวจ COVID-19 แบบ drive thru ซึ่งเป็นการป้ายเก็บตัวอย่าง เช่น ป้ายคอหอย ป้าย

น้ ามูกจากเนื้อเยื่อในโพรงจมูกด้านใน ซึ่งจะได้เซลล์ที่หลุดไปพร้อมกับเชื้อโคโรนาที่อยู่ทั้งนอกเซลล์และใน

เซลล์ผู้ที่อยากตรวจ สามารถขับรถผ่านไปโดยไม่ต้องลงจากรถ ท าการตรวจหาเชื้อโดยเก็บตัวอย่างจาก

การป้ายคอหรือผ่านรูจมูก การที่ไม่ต้องลงจากรถและยังไม่มีแพทย์มาตรวจร่างกาย จะเพิ่มความสะดวก

ในการตรวจหาเชื้อจากตัวอย่างในผู้ที่สงสัยว่า ตนเองติดเชื้อหรือไม่ และเป็นการตรวจที่ตนเองไม่ต้อง

เปิดเผยตัวตนในสถานพยาบาลและไม่ไปแพร่เชื้อในโรงพยาบาลด้วย

ยาที่ใช้รักษาโรค COVID-19 มีแล้วหรือยัง?

 ยังไม่มียามาตรฐานที่รับรองว่าใช้ได้ผลดีแล้วในขณะนี้ ยาที่ใช้และปรากฎในข่าวอยู่ในขณะนี้ถือว่าเป็นยา

ทดลองใช้เท่านั้น มีทั้งยาต้านไวรัส remdesivir, chloroquine, hydroxychloroquine,

lopinavir+ritonavir, darunavir+ritonavir, แอลฟา-interferon ชนิดพ่น, ยาอื่น ๆ อีก เช่น losartan,

แอนติบอดีชนิด monoclonal, น้ าเหลืองของผู้ป่วยที่หายจากโรคนี้ยา azithromycin เป็นต้น

นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ในประเทศจีน น่าจะเป็นผู้ที่ประกาศและให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือพร้อมกับวารสาร

ทางการแพทย์ชั้นน าว่า ยาขนานใดใช้ได้ผลและปลอดภัยภายในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ปีนี้

เมื่อรักษาหายแล้ว เป็นแล้วเป็นซ้้าได้อีกไหม?

การป่วยเป็นโรค COVID-19 แล้วหาย จะกลับเป็นซ้ าในผู้ป่วยบางรายได้ แต่พบได้น้อยมาก สาเหตุ

อาจจะเป็นเพราะผู้ป่วยรายนั้นค่อนข้างอ่อนแอ มีการสร้างภูมิต้านทานไม่ดีหรือในอนาคต เชื้ออาจจะมีการ

กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ได้อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานว่า ผู้ที่กลับเป็นซ้ าจะป่วยรุนแรงกว่าเดิม หรือตาย

มากขึ้น หรือสามารถแพร่เชื้อไปให้คนข้างเคียงได้

การระบาดระดับที่ 3 ต่างจากระดับอื่นๆ อย่างไร?

การระบาดระดับที่ ๓ ต่างจากการระบาดระดับที่ ๑ และ ๒ คือว่า มีการแพร่เชื้อในชุมชนของตนเอง

ภายในประเทศ โดยหาต้นตอที่รับเชื้อมาไม่ได้(ถ้าอยู่ในตอนต้นของการระบาดระยะที่สาม) จนถึงหาต้นตอที่รับ

เชื้อมาได้ แต่เป็นคนไทยที่อยู่ภายในประเทศด้วยกันมาตลอด และพบว่า มีกลุ่มผู้ติดเชื้อแพร่กระจายอยู่หลาย

พื้นที่ (ถ้าอยู่ในตอนกลางหรือปลายของระยะที่สาม) เมื่อการระบาดอยู่ในระยะที่สาม ต้องถือเสมือนว่า ทุก

คนที่เราไม่รู้จักดีและเข้าใกล้เรา เป็นผู้ต้องสงสัยว่า ติดเชื้อไว้ก่อน

๒๗๘

การสวมใส่หน้ากากอนามัยในบ้านและในที่ชุมชน มีหลักการอย่างไร?

การสวมหน้ากากอนามัยใช้หลักการว่า ท่านอยู่ในกลุ่มใดใน ๔ กลุ่มและใช้ได้ในพื้นที่ประเทศไทยที่ยังไม่ได้

จัดเป็นดงระบาดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (เมื่อประเทศไทยอยู่ในระดับที่สองของการระบาด)

๑. ท่านเป็นผู้ป่วยหรือผู้ที่มีไข้หรือไอ เป็นโรคติดเชื้อในปอดและหลอดลม (มีอาการไอ) หรือผู้สัมผัสผู้ป่วยแล้ว

คล้ายกับว่าจะป่วย ไอ

 สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและจ ากัดตนเองให้อยู่แต่ในบ้าน ให้ไปตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุที่

โรงพยาบาล

๒. ผู้สัมผัสผู้ป่วยหรือสงสัยว่าตนเองสัมผัสใกล้ชิด แต่ไม่มีอาการใด ๆ

 ให้สวมหน้ากากอนามัยและจ ากัดตนเองให้อยู่แต่ในบ้านไว้ก่อน หากออกนอกบ้านและไปสัมผัสผู้อื่น

ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา จนหมดระยะเวลาฟักตัวของโรคคือ ๑๔ วันในขณะนี้

๓. ผู้ที่มีอายุเกิน ๖๐ ปีหรือมีโรคประจ าตัวคือ โรคปอด หลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง หรือมีภูมิคุ้มกันต่ าจากการได้รับ

ยาเคมีบ าบัดหรือยากดภูมิคุ้มกัน

 ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในบ้าน หากออกนอกบ้านและไปสัมผัสผู้อื่น ควรสวมหน้ากาก

อนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา โดยเฉพาะเวลาเข้าไปอยู่ในที่ชุมชน ห้างสรรพสินค้าที่มีลูกค้ามาก

ในรถโดยสารและรถไฟฟ้าที่มีผู้โดยสารแออัด

๔. ผู้ที่มีอายุต่ ากว่า ๖๐ ปีและไม่มีโรคประจ าตัว แข็งแรงดี

 ไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย

การสวมใส่หน้ากากทุกชนิด ต้องใส่ให้กระชับใบหน้า ตั้งแต่ดั้งจมูกลงมาถึงใต้คาง และที่ส าคัญผลิกด้านที่มี

สีออกข้างนอกหน้า การใส่ไม่กระชับหรือการออกแบบหน้ากากอนามัยที่ไม่ปิดกระชับดั้งจมูก ใบหน้า และใต้

คาง จะลดประสิทธิภาพในการกรองเชื้อหรือฝุ่นลงไปถึงร้อยละ ๕๐ ได้ หากอยู่ในพื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อน้อยมาก

และการระบาดอยู่ในระดับที่ ๒ สามารถใช้หน้ากากผ้าได้ หากการระบาดอยู่ในระดับที่สามหรืออยู่ในสถานที่

แออัด อากาศไม่ระบาย ควรเลือกใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากอนามัยแบบ N95

เมื่อประเทศไทยมีการระบาดในระดับที่สาม หมายถึงว่า ให้สมมติไว้ก่อนว่า ทุกคนที่เราไม่คุ้นเคยเป็นผู้ติด

เชื้อทั้งสิ้น การออกนอกบ้านจึงต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

ประสิทธิภาพของหน้ากากอนามัยในการป้องกันการติดเชื้อทางอากาศ เป็นอย่างไร?

 ผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อที่ใส่หน้ากากอนามัย สามารถลดการแพร่กระจายของฝอยละอองขนาดใหญ่และขนาด

เล็กได้ถึงร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป จึงต้องสวมใส่ให้กระชับติดใบหน้าเมื่อจะเข้าไปเข้าในห้องเรียน ห้องท างาน

ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงแรม รถโดยสาร ในห้องปรับอากาศ (ที่จริงควรหลีกเลี่ยงการแพร่เชื้อ

โดยไม่เข้าไปในสถานที่เหล่านี้) ประชาชนทั่วไปที่สวมหน้ากากอนามัยจะป้องกันการติดเชื้อจากฝอย

ละอองขนาดใหญ่ได้ดี แต่ป้องกันการติดเชื้อจากฝอยละอองขนาดเล็กไม่เต็มที่ ผู้ที่สูงวัย มีโรคปอดหรือ

โรคประจ าตัวและต้องออกไปสู่ชุมชน จึงควรพิจารณาสวมหน้ากากอนามัยชนิด N-95 จึงจะป้องกันฝอย

ละอองที่ติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนแพทย์ พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย์ต้องสวมหน้ากาก

แบบ N95 เมื่อเวลาดูแลผู้ป่วยโรคนี้ เพราะหน้ากากแบบ N95 จะป้องกันฝอยละอองขนาดเล็กได้ถึงร้อย

ละ ๙๕ ขั้นไป

การป้องกันการติดเชื้อวิธีอื่น ๆ มีอีกไหม?

๒๗๙

 แนะน าการอยู่ห่างจากผู้ป่วยหรือผู้ที่มีอาการไออย่างน้อย ๒ เมตร เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการสูดฝอย

ละอองขนาดใหญ่ การสวมหน้ากากอนามัยแบบทั่วไปจะป้องกันการติดเชื้อจากฝอยละอองขนาดใหญ่ได้ดี

จึงควรสวมเมื่อเข้าไปอยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นเช่น บนรถโดยสาร การล้างมือหลังการจับหรือใช้ของสาธารณะ

ร่วมกัน แนะน าใช้แอลกอฮอลเจลหรือล้างด้วยสบู่นาน ๒๐ วินาทีการไม่ใช้มือขยี้ตาหรือแคะจมูกก่อนที่

จะไปล้างมือ การอยู่ต้นลม การอยู่ในที่โล่งอากาศถ่ายเทได้ดี การหลีกเลี่ยงเข้าไปในที่ชุมนุม สถานที่

แออัด การกินของร้อน ใช้ช้อนกลาง ยังเป็นวิธีพื้นฐานส าหรับการป้องกันโรคติดเชื้ออื่น ๆ ด้วย หากมี

วัคซีนแล้ว จะใช้การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อด้วย

ค้าแนะน้าที่จะให้แก่คนขับรถแท็กซี่หรือรถสาธารณะที่รับผู้โดยสารจากสนามบินหรือด่านเข้าเมือง มีให้

พิจารณาอย่างไรบ้าง?

 เริ่มจาก ให้เตรียมแอลกอฮอลเจลเช็ดมือ หน้ากากอนามัยจ านวนเพียงพอให้แก่ตนเองและผู้โดยสาร ถ้า

จัดการเรื่องการระบายอากาศภายในรถได้โดยแยกการไหลเวียนของอากาศในส่วนของตนและผู้โดยสาร

ออกจากกัน และหาเครื่องกรองอากาศและท าลายเชื้อในอากาศติดตัวไว้ในรถ ให้เช็ดท าความสะอาด

ภายในรถ(ที่นั่งและประตูด้านใน)ด้วย ไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ น้ ายาท าลายเชื้อ povidone iodine หรือ

แอลกอฮอลในส่วนที่นั่งและตรงราวประตูส่วนที่มือของผู้โดยสารจะไปจับ

 เมื่อจะรับผู้โดยสารขึ้นรถ ให้สอบถามก่อนว่า มาจากประเทศใด หากมาจากประเทศที่มีการระบาดอย่าง

ต่อเนื่อง เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ต้องเข้มงวดในการให้ข้อมูล ให้สอบถามว่า มีผู้ใดมีไข้ ไอ เจ็บคอ หากมี

ผู้โดยสารดังกล่าว แนะน าให้คุยกับผู้โดยสารเพื่อส่งไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนผู้โดยสารท่านอื่นที่ไม่มี

ไข้ ไอ ให้แจกหน้ากากอนามัยเพื่อสวมใส่และตนเองก็สวมใส่หน้ากากอนามัยอยู่แล้วด้วย ให้ผู้โดยสารเช็ด

มือด้วยแอลกอออลเจลก่อนขึ้นรถ หากอากาศไม่ร้อนและผู้โดยสารยินยอม ให้เปิดหน้าต่างระบายลมใน

ส่วนห้องผู้โดยสาร แล้วเชิญผู้โดยสารขึ้นรถ เมื่อถึงจุดหมายปลายทาง ก็รับหน้ากากอนามัยจากผู้โดยสาร

เพื่อน าไปท าลายต่อไป ให้ผู้โดยสารเช็ดมือด้วยแอลกอฮอลเจลอีกครั้ง เมื่อผู้โดยสารลงจากรถ ให้ท าความ

สะอาดภายในรถและประตูด้านในทันทีและรอให้แห้งสัก ๕ นาทีก่อนจะไปรับผู้โดยสารรายต่อไป แล้วล้าง

มือตนเองหรือเช็ดมือด้วยแอลกอฮอลเจลเป็นขั้นตอนสุดท้าย

ควรเดินทางกลับภูมิล้าเนาในช่วงที่การระบาดอยู่ในระดับสามหรือไม่?

หากการระบาดของโรคเข้าสู่ระดับที่สาม การเดินทางกลับภูมิล าเนาโดยใช้รถสาธารณะเป็นสิ่งที่ไม่

ควรท าอย่างยิ่ง เพราะผู้โดยสารบางท่านอาจจะติดเชื้ออยู่แล้วโดยไม่รู้ตัว และมีโอกาสแพร่เชื้อได้ตลอดเวลา

โดยเฉพาะรถโดยสารสาธารณะที่ปรับอากาศแต่ไม่มีการถ่ายเทอากาศออกจากห้องผู้โดยสาร ช่วงนี้ให้กักกัน

ตัวอยู่ในบ้าน หมู่บ้าน หรือในพื้นที่ที่ตนอยู่

Social Distancing จริง ๆ แล้วท้าอย่างไร?

Social Distancing หมายถึงการไม่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ เราจะใช้วิธีนี้เมื่อการระบาดเข้าสู่ระดับที่

สาม เพราะต้องสมมติว่า คนอื่น ๆ อาจจะติดเชื้อ และเป็นการหลีกเลี่ยงการติดเชื้อทางอากาศ (แบบ

airborne) ในทางปฏิบัติ เราจะหมายถึงการอยู่กับคนที่เรารู้จักกันมานานว่า ไม่ติดเชื้อ เช่น สมาชิกใน

ครอบครัวซึ่งไม่มีผู้ใดมีปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นั่นคือ เราอยู่ในบ้านด้วยกัน แต่เราไม่จัดปาร์ตี้ที่บ้านและไป

เชื้อเชิญผู้อื่นหรือเพื่อนที่ยังไม่ได้ระมัดระวังตัวเข้ามาพบปะสังสรรค์กัน เราไม่เข้าไปในสถานที่เป็นที่ชุมนุมของ

๒๘๐

คนที่เราไม่รู้จักกันจ านวนมากกว่า ๑๐ คนขึ้นไป เช่น ผับ ห้องประชุม สนามมวย โดยเฉพาะในสถานที่หรือ

ห้องที่อากาศไม่ถ่ายเท และอากาศในห้องมีความเย็น และในสถานที่ที่มีการตะโกนเชียร์ ร้องเพลงดัง ๆ การ

ไอ จาม ตะโกนจะท าให้ฝอยละอองทั้งใหญ่และเล็กฟุ้งกระจายไปทั่วและลอยอยู่ในอากาศนานหลายชั่วโมง

แม้แต่การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ รถไฟ ไปที่ท างาน ก็ถือว่า ไม่ได้ท า social distancing เพราะเข้า

ไปอยู่ในรถเป็นเวลานานเป็นชั่วโมง เป็นต้น ปกติแล้ว social distancing จะท าร่วมกับ community

quarantine คือกักกันตนเองให้อยู่ในพื้นที่หรือในบ้านด้วยและหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้อื่นที่เราไม่คุ้นเคย

ตัวอย่างของวิธีเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) ต้านโควิด-19

 ยืน นั่ง ห่างกัน 2 เมตร

 งดการรวมตัวกันในสถานศึกษา ที่ท างาน ร้านอาหาร งานพิธีสมรส สถานที่ประกอบพิธีกรรมทาง

ศาสนาทุกศาสนา หรือสถานบันเทิงต่างๆ รวมทั้งสถานออกก าลังกายในห้องที่อากาศไม่ถ่ายเท

 หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารร่วมกับผู้คนที่ไม่รู้จัก ในร้านอาหาร โดยแยกกินคนเดียว

 ท างานจากที่บ้านทางออนไลน์ และติดต่อทางโทรศัพท์เป็นหลัก หรือปรับเวลาการมาท างานให้

ยืดหยุ่นเพื่อไม่ให้เกิดการที่มีคนจ านวนมากอยู่ใกล้ชิดกัน

 เรียนออนไลน์แทนการเรียนในชั้นเรียน

 งดการจัดประชุมที่มีการรวมคนเป็นจ านวนมากกว่า ๑๐ คนขึ้นไป

 ในสถานที่ที่มีคิวยาว เช่น ในห้างสรรพสินค้า ให้มีการยืนห่างหรือมีระบบจัดคิวแบบ

อิเล็กทรอนิกส์ หรือในห้องสุมดให้น าหนังสือไปอ่านที่บ้านหรืออ่านเป็น e-book

 ลดความหนาแน่นในลิฟท์ด้วยการจ ากัดคนเข้า เน้นการเดินขึ้นลงบันใดแทน

หากต้องเดินทางไปท้างาน จะท้าอย่างไร?

 ขับรถไปเอง

 หากต้องนั่งรถสาธารณะ ให้ใช้รถแท๊กซี่ รถสามล้อ หรือรถสองแถว โดยรถทุกชนิด

ต้องเปิดหน้าต่างทุกบาน และทุกคนต้องสวมหน้ากากอนามัย หากไม่มีทางเลือก

แล้ว จึงจะนั่งรถไฟฟ้า

 สถานที่ท างานของตน ต้องมีการตรวจคัดกรองผู้ที่มีไข้และให้สวมหน้ากากอนามัยหาก

ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เสี่ยง

 เดินขึ้นบันไดหากขึ้นได้ ใช้ลิฟต์ต้องไม่ใช้นิ้วมือแตะปุ่ม และล้างมือเมื่ออกจากลิฟต์เมื่อไปจับราว

หรือปุ่มต่าง ๆ

 นั่งท างานในห้องของตนเอง โดยแยกกับผู้อื่น หากเป็นห้องขนาดใหญ่ที่มีคนนั่งท างานเกิน ๑๐

คนและอยู่ใกล้ชิดกัน ต้องเว้นระยะห่าง ๒ เมตร ต้องมีการระบายอากาศอย่างดีหรือ เปิด

หน้าต่างให้ลมเข้ามาถ่ายเทเข้ามาในห้อง

 น าของที่จะใช้ มาใช้ในห้องและใช้ส่วนตัว ทั้งแก้วน้ า ภาชนะต่าง ๆ

 กินอาหารโดยแยกห้องหรือกกินในห้องตนเอง จัดน าอาหารกลางวันไปเอง

 ประชุมโดยนั่งห่างกัน ๑-๒ เมตร ในห้องที่เปิดให้อากาศถ่ายเทสู่ภายนอกอาคาร ทุกคนสวม

หน้ากากอนามัย

 คุยกันหรือสั่งงานทางโทรศัพท์ หรือ ติดต่องานผ่านทางอินเทอร์เน็ต

๒๘๑

 ล้างมือทุกครั้งที่จับสิ่งของสาธารณะที่มีคนอื่นร่วมจับหรือสัมผัสด้วย หรือล้างมือบ่อย ๆ ใช้แอล

กอฮอลเจลเช็ดมือแทนการล้างมือก็ได้

 เวลากลับบ้าน ก่อนจะเข้าบ้านต้องล้างมือ เช็ดแอลกอฮอลและเปลี่ยนเสื้อผ้าโดยเร็ว

วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จะมีให้ประชาชนได้ใช้เมื่อไร?

 ถึงแม้จะมีเทคโนโลยีรองรับในการผลิตวัคซีนอยู่แล้ว แต่การผลิตวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 จะต้องมี

ขั้นตอนเพื่อตรวจสอบว่า ป้องกันการติดเชื้อได้จริงและใช้ได้อย่างปลอดภัยในมนุษย์คาดว่า จะผลิตและ

การทดสอบจนผ่านการรับรองให้ใช้ได้ทั่วไปอย่างเร็วที่สุดในปี พ.ศ ๒๕๖๔

มาตรการอื่น ๆ ในการป้องกันการติดเชื้อ ที่ยังอยู่ในขั้นทดลองหรือมีค่าใช้จ่ายสูง ยังมีไหม?

 นอกจากหน้ากากอนามัยแล้ว วิธีการอื่นที่อาจจะน ามาใช้ ได้แก่ การท้าลายเชื้อไวรัสในช่องปากก่อนจะ

ขึ้นรถโดยสารรถร่วมกัน โดยเตรียมน้ ายาอมกลั้วคอและช่องปากที่มี povidone iodine (PVP-I) ร้อยละ

๗ ไว้ในรถด้วย (ในเมืองไทย มีสินค้าขายเป็นน้ ายาเบตาดีน การ์เกิล บ้วนปาก ปริมาณ ๓๐ มล. มี PVP-I

๗๐ มก.ต่อ มล. หรือใช้แบบ \"เบตาดีน(R) โทรตสเปรย์คือพ่นใส่ช่องปากให้เลยซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกมากใน

การน ามาใช้ มีค าแนะน าว่า หากจะใช้ป้องกันการติดเชื้อไวรัส แนะน าให้พ่นช่องปากทุกวัน ๆ ละครั้งก่อน

จะออกจากบ้านไปยังที่มีฝูงชนหนาแน่นและให้สวมหน้ากากอนามัยด้วย) การใช้เครื่องกรองและท าลาย

เชื้อไวรัสในอากาศในห้องที่ท างาน ในสถานที่ที่เป็นที่ชุมนุมชน ในห้องประชุม เป็นต้น เพื่อลดทั้งฝอย

ละอองขนาดเล็กที่มีเชื้อโรคและ PM 2.5 ในอากาศด้วย

เมื่อท่านกลับจากประเทศที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศว่า มีการระบาดของโรค COVID-19 แล้ว

และให้ท่านกักกันตนเองไว้ที่บ้าน ท่านจะปฏิบัติอย่างไรบ้าง?

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

สิ่งที่ควรรู้

๑. ระยะฟักตัวของโรค ให้ใช้อย่างน้อย ๑๔ วัน แต่ไม่เกิน ๒๘ วัน

๒. เชื้อโรคจะแพร่ทางน้้าลาย น้้ามูก เสมหะ ฝอยละอองขนาดใหญ่(ตกลงพื้นในระยะ ๒ เมตร) และฝอย

ละอองขนาดเล็ก(เล็กกว่า ๕ ไมครอน)จากการไอ จาม ตะโกนเสียงดัง

๓. เชื้อโรคอาจจะแพร่กระจายผ่านทางอุจจาระเหลวได้โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอุจาระร่วง ผ่านการที่มือสัมผัส

อุจจาระ หรือการกดชักโครกซึ่งท้าให้มีฝอยละอองขนาดเล็กเกิดขึ้นได้

๔. เชื้อโรคตายง่ายเมื่อท้าสิ่งต่อไปนี้นาน ๑ นาที

 เมื่อถูกความร้อน (ต้ม ตากแดด เผา) เกิน ๖๐ องศาเซลเซียส

 เมื่อล้างมือด้วยสบู่

 เมื่อสัมผัสแอลกอฮอล์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป (จากการเช็ด ถู ล้างมือ หรือ สิ่งของ)

 เมื่อสัมผัสกับน้้ายาท้าลายเชื้อ เช่น povidone iodine (PVI), 0.5% hydrogen peroxide,

0.1% sodium hypochlorite

 ไม่แนะน้า benzalkonium chloride และ 0.02% chlorhexidine digluconate

เพราะอาจจะไม่ได้ผลเลย

๕. หน้ากากอนามัยในการป้องกันการสูดดมฝอยละอองขนาดเล็กและขนาดใหญ่

 มีไว้ให้ผู้ป่วยสวมใส่ตลอดเวลา

 หากให้คนปกติสวม หน้ากากอนามัยทั่วไปป้องกันการสูดดมฝอยละอองขนาดใหญ่ได้(หากเผลอ

ไปนั่งหรือยืนใกล้คนที่แพร่เชื้อในระยะ ๒ เมตร) แต่ป้องกันการสูดดมฝอยละอองขนาดเล็กไม่ดี

 การป้องกันการสูดดมฝอยละอองขนาดเล็กกว่า ๕ ไมครอน ต้องสวมหน้ากากอนามัยชนิด N-95

ให้กระชับใบหน้า เวลาหายใจจะรู้สึกฝืดและต้องสูดหายใจแรงขึ้นตลอดเวลา

สิ่งที่ควรปฏิบัติตลอด ๑๔ วันที่จ ากัดสถานที่ให้ตนเองอยู่

๑. ห้ามออกไปนอกบ้านหรือการเข้าไปในฝูงชนหรือปะปนกับคนอื่น

 ไม่ต้องไปท้างาน ไม่ไปเที่ยวนอกบ้าน ไม่ไปห้างสรรพสินค้าที่มีคนพลุกพล่าน

 ไม่ไปขึ้นรถโดยสารสาธารณะ รถไฟฟ้าโดยสารสาธารณะ

๒. ให้อยู่ในบ้าน

 พักผ่อนและแยกตนเองอยู่

๒๘๒

 ไม่ชวนเพื่อนมาพบปะพูดคุยชุมนุมจนกว่าจะพ้นระยะกักกันตนเอง

 อยู่ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย ๒ เมตร

 ใส่หน้ากากอนามัย

 ไม่จับมือหรือกอดจูบกับผู้อื่นในบ้าน ทักทายด้วยการไหว้พูดคุย

 แยกสิ่งของที่จะใช้ร่วมกัน เช่น จานข้าว ช้อนส้อม แก้วน้้า ใช้ช้อนกลางตักอาหาร

 ใช้ห้องน้้าแยก หรือใช้ห้องน้้ารวม เมื่ออาบน้้าหรือใช้ห้องน้้าเสร็แล้ว ให้ท้าความสะอาดทุกอย่างในห้องน้้า

ด้วยน้้ากับสบู่หรือแอลกอฮอล์หรือน้้ายาฆ่าเขื้อ โดยเฉพาะที่อ่างน้้า ก๊อกน้้า ที่กดชักโครก ลูกบิดประตู

ราวเสื้อผ้าหรือราวให้มือจับ

o เวลาถ่ายอุจจาระเสร็จ ให้ปิดฝาชักโครกก่อนจะกดน้้าล้างอุจจาระลงโถส้วม

 เสื้อผ้าและเครื่องใช้ส่วนตัว ให้ท้าความสะอาดโดยการต้ม ๑ นาที ก่อนน้าไปซักล้างร่วมกับเสื้อผ้าของ

ผู้อื่น

 ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ใช้มือไปแคะขี้มูกในรูจมูก แคะขี้ฟันในช่องปาก จับต้องใบหน้า หรือขยี้ตา

๓. การไอ จาม และการท้าลายหน้ากากอนามัยที่ปนเปื้อนน้าลาย น้้ามูก เสมหะ

 ให้ไอใส่หน้ากากอนามัย หรือไอใส่แขนเสื้อตนเอง(หากสวมหน้ากากอนามัยไม่ทัน)

 เอาหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ใส่ถุงพลาสติกแล้วปิดถุงเพื่อน้าไปทิ้งลงในถังขยะสีแดง(ท้าลายเชื้อ) หาก

ปนเปื้อนน้้ามูก น้้าลายมาก อาจจะพ่นแอลกอฮอล์สเปรย์ที่หน้ากากอนามัยก่อนปิดถุง เมื่อปิดถุงแล้ว

ให้ล้างมือด้วยน้้าและสบู่นาน ๓๐ วินาที หรือเช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์เจล

 ท้าลายเชื้อในบ้าน บนสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจจะปนเปื้อนน้้าลาย น้้ามูก มือไปสัมผัสถูก โดยการใช้น้้ายา

แอลกอฮอล์เช็ดถูและปล่อยให้แห้งนาน ๑ นาที

 หากยังมีอาการไอและจามบ่อย ให้พิจารณาพ่นน้้ายา PVI throat spray วันละ ๓ ครั้งในล้าคอและรู

จมูก (เช้า กลางวัน เย็น) เพื่อท้าลายเชื้อไวรัส และพิจารณาการใช้เครื่องกรองอากาศท้าลายเชื้อใน

ห้องพัก

เมื่อเกิน ๑๔ วันและท่านยังไม่มีอาการใด ๆ แนะน าให้ปฏิบัติตนดังต่อไปนี้อีก ๑๔ วัน

 ให้สวมหน้ากากอนามัยเมื่อออกนอกบ้านหรือเข้าฝูงชน

 หลีกเลี่ยงการเข้าไปในห้างสรรพสินค้าหรือในที่ที่มีฝูงชนหนาแน่น และการขึ้นรถโดยสารสาธารณะ

 ล้างมือบ่อย ๆ กินร้อน ช้อนกลาง

๒๘๓

ร่าง ประกาศแพทยสภา เรื่อง

การใส่หน้ากากอนามัยของประชาชนทั่วไปในที่สาธารณะ

ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทยและยังอยู่ในระยะที่ ๒ ซึ่งมีจ านวนผู้ป่วย

๔๓ รายและผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังอีก ๓,๘๙๗ ราย ณ วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๓ จ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ผ่านมา

เพิ่มขึ้นค่อนข้างน้อย สถานการณ์เช่นนี้มีความหมายว่า การระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยยังอยู่ในวงแคบมาก

และสิ่งแวดล้อมทั่วไปในที่สาธารณะยังปลอดภัยปราศจากเชื้อจากโรค COVID-19 ขณะเดียวกัน ประชาชนทั่วไป

สนใจในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อโรคดังกล่าว แพทยสภาได้วิเคราะห์สถานการณ์แล้ว เห็นสมควรให้

ค าแนะน าการใส่หน้ากากอนามัยในประชาชนทั่วไปดังนี้

๑. ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางเข้าสู่หรืออยู่ในแหล่งชุมชนแออัดโดยเฉพาะในห้องประชุมหรือรถโดยสาร

และขอให้อยู่ในสถานที่แบบนั้นในระยะเวลาที่สั้นที่สุดหรือน้อยครั้งที่สุดเท่าที่จ าเป็น

๒. การอยู่ในสถานที่โล่ง กลางแจ้ง มีแสงแดดและอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่จัดว่า มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ

จึงไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย

๓. ผู้ที่มีความจ าเป็นต้องเดินทางเข้าสู่หรืออยู่ในแหล่งชุมชนแออัด โดยเฉพาะผู้มีอายุเกิน ๖๐ ปีและ/

หรือมีโรคประจ าตัว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคติดสุราเรื้อรัง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกัน

อ่อนแอจากโรคเดิมหรือกินยากดภูมิคุ้มกันอยู่ สมควรใส่หน้ากากอนามัยเมื่อจ าเป็นต้องเดินทางเข้าสู่

หรืออยู่ในแหล่งชุมชนแออัด

๔. ใช้หน้ากากอนามัยที่มีจ าหน่าย หรือหน้ากากอนามัยชนิดผ้าที่ท าขึ้นเอง เพราะป้องกันฝอยละออง

ขนาดใหญ่ที่มีผู้ ไอ จาม ออกมา และอยู่ห่างจากตัวเราไม่เกิน ๒ เมตร มิให้เชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจ

ของเรา

๕. เมื่อถอดหน้ากากอนามัยแล้ว ให้ล้างมือหรือเช็ดถูมือด้วยแอลกอฮอลเจลก่อนจับต้องใบหน้าตนเอง

๖. ส าหรับหน้ากากอนามัยที่ท าจากผ้า ต้องเปลี่ยนเมื่อเปื้อนหรือเปลี่ยนทุกวัน ให้ซักด้วยน้ าผสม

ผงซักฟอก ตากแดดให้แห้งหรือฉีดพ่นด้วยแอลกอฮอล์สเปรย์จนหน้ากากแห้งเอง แล้วน ากลับมาใช้

ใหม่ได้จนกว่าจะช ารุด ไม่ใช้หน้ากากอนามัยชนิดผ้าที่ท าขึ้นเองร่วมกับผู้อื่น

ขณะเดียวกัน แพทยสภาขอให้หน่วยราชการที่มีหน้าที่ตรวจตรา ก ากับการผลิต การจ าหน่ายหน้ากาก

อนามัย ให้มุ่งเน้นการด าเนินการให้หน้ากากอนามัยมีจ านวนเพียงพอและจ าหน่ายในราคาย่อมเยา เพื่อมิให้

ประชาชนเดือนร้อนในยามที่เราต้องก าจัดโรค COVID-19 ให้สงบจบสิ้นโดยเร็วที่สุด

๒๘๔

ร่าง ประกาศแพทยสภา เรื่อง

การกักกันพื้นที่ของผู้ที่มีอาการไอ ไข้ เจ็บคอ และผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังที่อยู่ภายใต้สังเกตอาการ

ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทยและภายใต้การตรวจคัดกรองผู้ป่วยอย่าง

เข้มข้น ท าให้การระบาดยังอยู่ในระยะที่ ๒ ดังที่แจ้งว่ามีผู้ป่วย ๔๓ รายและผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังอีก ๓,๘๙๗ ราย

ณ วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๓ จ านวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นค่อนข้างน้อย สถานการณ์เช่นนี้มีความหมายว่า

การระบาดของโรคนี้ในประเทศไทยยังอยู่ในวงแคบมาก แพทยสภาได้วิเคราะห์สถานการณ์แล้ว เห็นว่า เพื่อให้

การควบคุมการระบาดของโรค COVID-19 มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สมควรให้ค าแนะน าการกักกันพื้นที่ส าหรับผู้

ที่มาจากต่างประเทศและผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภายในประเทศไทยดังนี้

ส าหรับคนไทยในประเทศ

๑. งดการเดินทางไปต่างประเทศอย่างน้อยจนถึงเดือนมิถุนายน โดยเฉพาะการเดินทางไปประเทศที่มีพื้นที่ที่

มีโรคระบาดอย่างต่อเนื่องตามประกาศของกรมควบคุมโรค ขณะนี้ได้แก่ ประเทศจีน ฮ่องกง มาเก๊า ญี่ปุ่น

เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ อิตาลี อิหร่าน ฝรั่งเศส เยอรมัน และอาจจะมีประเทศอื่น ๆ อีกได้ตามประกาศ

ของกรมควบคุมโรค

๒. งดการประชุมหรือการจัดกิจกรรมที่จะมีผู้คนมาอยู่อย่างแออัดจ านวนมากในสถานที่คับแคบหรือสถานที่ที่

อากาศไม่ถ่ายเท

๓. คนไทยที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศที่มีพื้นที่ที่มีโรคระบาดอย่างต่อเนื่อง และไม่มีอาการไข้ ไอ เจ็บ

คอ ใด ๆ ขอให้กักกันตนเองภายในบ้านเป็นเวลา ๑๔ วัน ทั้งนี้ ตั้งแต่ให้นับผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ

กลับเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา

ส าหรับชาวต่างประเทศจากประเทศที่มีพื้นที่ที่มีโรคระบาดอย่างต่อเนื่องตามประกาศของกรมควบคุมโรค

และเดินทางเข้ามาในประเทศไทย นอกจากจะต้องผ่านการตรวจวัดไข้และอาการในระบบทางเดินหายใจที่ท่า

อากาศยานหรือด่านตรวจคนเข้าเมืองแล้ว ยังต้องกักกันตนเองให้อยู่กับที่ในประเทศไทยเป็นเวลา ๑๔ วัน หรือ

จนกว่าจะเดินทางออกนอกประเทศไทยไปก่อน

ทั้งนี้ แพทยสภาขอให้กระทรวงการต่างประเทศ แจ้งไปยังรัฐบาลที่เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค COVID-19

แจ้งให้ประชาชนของตนงดการเดินทางเข้ามาประเทศไทย และหากมีการเดินทางมาประเทศไทย จะต้องถูกกักกัน

พื้นที่เป็นเวลา ๑๔ วันเช่นกัน หรือจนกว่าจะเดินทางออกนอกประเทศไทย

๒๘๕

สัตว์ที่อาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อ SARS-CoV-2

ตามที่มีข่าวว่า สัตว์บางชนิด เช่น สุนัข เสือโคร่ง ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV2 ได้นั้น ข้อมูลจากการวิจัยใน

ประเทศจีนพบว่า สัตว์ ferret (พังพอน?) และแมวสามารถติดเชื้อไวรัสได้ดี โดยเฉพาะในแมวพบว่า แมวที่ติดเชื้อ

ไวรัสยังสามารถแพร่เชื้อไปให้แมวข้างเคียงด้วยวิธี airborne ได้ด้วย (แมวยังไม่รู้จักวิธีสวมหน้ากากอนามัยและ

physical distancing!!!) ส่วนสุนัขยังไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยส าคัญ ดังนั้น จากข้อมูลจนถึงขณะนี้ สมควรที่จะแยกแมว

ออกห่างจากคนไว้ก่อน ไม่ว่า ในโรงแรมหรือโรงพยาบาลที่รักษาผู้ติดเชื้อ ต้องไม่ให้แมวเข้ามาในพื้นที่เด็ดขาด

ขณะเดียวกัน ผู้ที่เลี้ยงแมวที่บ้าน ไม่สมควรให้แมวออกไปเผ่นพล่านนอกบ้าน ตนเองอยู่ห่างจากแมวไว้ก่อนใน

ขณะนี้ หมั่นสังเกตว่า แมวที่บ้าน “ป่วยบ้างไหม?” จนไว้ใจได้ว่า แมวในบ้านไม่ป่วย ไม่ได้ออกไปนอกบ้านหรือไป

ติดเชื้อจากนอกบ้านมา จึงจะเข้าใกล้ได้ ส่วนการซักประวัติ PUI อาจจะเติมประวัติ การกอดจูบแมวตัวไหนหรือ

เปล่า? ไว้ด้วย

ศ.นพ. อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย

๒๘๖

๒๘๗

การพัฒนางานวิจัยด้านคลินิกของโรค COVID-19 ผ่าน สวรส.

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

 นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

 วาระ มกราคม ๒๕๖๓ ถึง มกราคม ๒๕๖๕

ในเดือนมกราคม ๒๕๖๓ ซึ่งเป็นเดือนแรกที่มีการระบาดของโรค COVID-19 เข้ามาที่ประเทศไทยและเริ่มมี

ข่าวว่า โรคนี้ก าลังแพร่กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ด้วย มีค าถามมากมายเกี่ยวกับโรคนี้ที่ต้องการค าตอบที่

รวดเร็ว เพื่อน ามาใช้ในการควบคุมโรค ตั้งแต่วิธีคัดกรองผู้ติดเชื้อหรือผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อ(วิธีคัดกรองที่เหมาะสม)

การกักกันตัวผู้ต้องสงสัย(นานเท่าไร) การตรวจหาการติดเชื้อทางห้องปฏิบัติการ(ใช้วิธีอะไร) การค้นหายารักษาโรค

COVID-19 (ที่ได้ผลดีและให้ยาในระยะใดของโรค) การผลิตวัคซีนที่จะน ามาใช้ในการป้องกันการระบาดของโรค

ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่ท าให้ติดเชื้อง่ายขึ้น ปัจจัยเสี่ยงที่ท าให้ผู้ติดเชื้อถึงแก่กรรมง่ายขึ้นหรือมากกว่าคนอื่น ๆ เป็น

ต้น กรมควบคุมโรคจึงได้มีการตั้งศูนย์ประสานงานวิจัยและนวัตกรรมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (CRIC)

เพื่อจัดการประชุมในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย แพทย์ที่สนใจโรคนี้ เพื่อร่วมวางแนวทางการขับเคลื่อนหน่วย

ประสานงานด้านการวิจัยเพื่อป้องกันและรับมือการระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส ๒๐๑๙ โดยประชุมในบ่ายวัน

จันทร์ทุก ๒ สัปดาห์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมาและได้เชิญ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี มาร่วมให้ความเห็นและ

ขับเคลื่อนงานวิจัยทางคลินิกของโรค COVID-19 ตลอดมา นอกจากนี้ ยังให้ไปประชุมต่อเพื่อพัฒนางานวิจัย

ทางคลินิกและระบาดวิทยาของโรค COVID-19 ผ่านทางส านักงานวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) ดังปรากฏ

ในเอกสารแนบท้าย

ทั้งนี้ผมได้รับเกียรติให้เป็นประธานพัฒนาโครงการวิจัยทางคลินิกที่เกี่ยวกับโรค COVID-19 ที่ สวรส.

ด้วย ซึ่งถือว่า เป็นงานวิจัยเร่งด่วนที่ต้องรีบทบทวนโครงการวิจัยต่าง ๆ ที่เสนอเข้ามาโดยรับเป็นประธานในที่

ประชุมและเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมประชุมทบทวนคุณค่าของงานวิจัยโดยเร็ว แล้วโครงงานวิจัยเหล่านี้ต้องได้รับ

การอนุมัติให้ด าเนินการจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนของแต่ละสถาบันด้วย โดยงานวิจัยทางคลินิกนี้

รับมาพิจารณาความเหมาะสมและการให้ทุนวิจัยที่ สวรส. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ตั้งอยู่ที่ ๘๘/๓๙ ชั้น ๔ อาคาร

สุขภาพแห่งชาติ ซ.สาธารณสุข ๖ ถ.ติวานนท์ ๑๔ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐ มีการประชุมหารือ

พัฒนาข้อเสนอโครงการงานวิจัย COVID-19 ด้านคลินิก ที่ห้องประชุมชั้นที่ ๔ ส านักงาน สวรส. ตั้งแต่วันที่ ๒๐

มีนาคม ๒๕๖๓ เพื่อรับทุนวิจัยจาก สวรส. ทั้งนี้ ผู้บริหารของ สวรส. ได้แก่ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อ านวยการ

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้รับทราบและแต่งตั้งให้ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี เป็นผู้ประสานและพัฒนางานวิจัย

ด้านคลินิกของ COVID-19 ที่ สวรส. โดยจะหาเงินมาสนับสนุนงานวิจัยที่เร่งด่วนให้เพียงพอ โดยในระยะแรก มี

นส.สุรางค์รัตน์ จิรนันทนากร (นักบริหารโครงการอาวุโส สวรส.) มาช่วยประสานงานด้วย

๒๘๙

ตัวอย่างรายงานการประชุมเพื่อวางแนวทางการขับเคลื่อนหน่วยประสานงานด้านการวิจัยเพื่อป้องกัน

และรับมือการระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัส ๒๐๑๙ ครั้งที่ ๙/๒๕๖๓ ของศูนย์ประสานงานวิจัยและ

นวัตกรรมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (CRIC) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

๒๘๙

๒๙๑

การประชุมในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓

ในภาพ วนจากขวามาซ้ายรอบโต๊ะ ผศ.ดร.นาวิน ห่อทองค า (รพ.ศิริราช) รศ.นพ.รุจิภาส สิริจตุภัทร (รพ.ศิริราช)

นพ.เขตต์ ศรีประทักษ์ (สถาบันโรคทรวงอก) ทพ.จเร วิชาไทย (สวรส.) ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี(รองอธิการบดี ม.

สยาม) ดร.นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ (กรมการแพทย์) รศ.นพ.สืบสาย คงแสงดาว (นายแพทย์เชี่ยวชาญ รพ.ราชวิถี)

พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ (ที่ปรึกษากรมการแพทย์กท.สธ.)

พร้อมด้วย ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ (สวรส.) นส.ปิยะฉัตร สมทรง (สวรส. ยืน สวมเสื้อสีน้ าเงิน) นส.แพรว เอี่ยมน้อย

(สวรส. ยืน ซ้ายมือสุด) และ นส.สุรางค์รัตน์ จิรนันทนากร (นักบริหารโครงการอาวุโส สวรส. เป็นผู้ถ่ายภาพ)

๒๙๒

การประชุมวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๓ ในภาพมี นส.สุรางค์รัตน์ จิรนันทนากร (นักบริหารโครงการอาวุโส สวรส.)

ยืน ซ้ายมือสุดข้าง ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ (สวรส.)

๒๙๓

ในภาพด้านล่างเป็นการประชุมในวันอังคารที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๖๓ เวลา ๙:๓๐ น. เป็นประธานการประชุมใน

ห้องและทางไกล ที่ห้องประชุมชั้นที่ ๔ ส านักงาน สวรส. เกี่ยวกับโครงการวิจัยที่จะใช้น้ าเหลืองของผู้ติดเชื้อที่หาย

แล้ว มารักษาผู้ติดเชื้อที่ก าลังมีอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ไอ มีรอยโรคในเนื้อปอดอย่างน้อย ๒

จุดจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก เป็นต้น

 ในจอภาพโทรทัศน์ ศ.นพ อมร ลีลารัศมี (มุมซ้ายบน) นั่งเป็นประธานการประชุม ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ

(มุมขวาบน) นพ. วีรวัฒน์ มโนสุทธิ(มุมซ้ายแถวกลาง สถาบันบ าราศนราดูร) ศ.นพ.สมนึก สังฆานุภาพ

(แถวสอง ตรงกลาง) พญ.พลิตา เหลืองชูเกียรติ(รพ.บ ารุงราษฏร์มุมซ้ายล่าง) รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ

ผู้อ านวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มุมขวาแถวกลาง แต่ไม่ปรากฎรูป)

 ในห้องประชุมด้านซ้าย รศ.ดร.จินตนา จิรถาวร (คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ทพ.จเร

วิชาไทย ผู้จัดการงานวิจัย สวรส. (ด้านขวาไกล)

๒๙๔

บทสรุปส่งท้าย (last but not the least)

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นางสาวศุภธิดา เพ็งแจ้ง

เมื่อโรค COVID-19 ระบาดเข้าประเทศไทย และยังไม่มียาต้านไวรัสรักษาหรือวัคซีนป้องกันโรค ประชาชนตื่น

ตระหนกจนเกิดความโกลาหลในการหาซื้อเวชภัณฑ์ป้องกันตนเองจนสินค้าขาดตลาด หรือมีสินค้าขายแต่ราคาแพงขึ้น

หลายเท่า แพทย์ต้องรักษาผู้ป่วยและป้องกันตนเองจากการติดเชื้ออย่างสุดความสามารถ จนถึงเดือนมีนาคม ๒๕๖๓

รัฐบาลยังไม่ได้ออกมาตรการอย่างเข้มข้นในการสกัดกั้นการระบาดของโรคให้ประชาชนเกิดความมั่นใจว่า “เอาอยู่”

ตั้งแต่เดือนมกราคม ๒๕๖๓ เป็นต้นมา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้เกาะติดสถานการณ์ของโรค COVID-19

ตลอดมา และได้ท ากิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างขวัญ ก าลังใจและความปลอดภัยให้แก่แพทย์ พยาบาล บุคลากร

ทางการแพทย์ในการท างานตามหน้าที่ และให้ความรู้และความช่วยเหลือแก่ประชาชน อสม. โดยสรุปเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้

๑. ให้ความรู้และการป้องกันโรค COVID-19 แก่แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนผ่านสื่อต่าง ๆ มากมาย

๒. สร้างขวัญ ก าลังใจและความรู้แก่แพทย์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อหรือต้องสงสัยว่าติดเชื้อ SARS-CoV-2

๓. เป็นศูนย์กลางในการรับมอบและแจกอุปกรณ์ทางการแพทย์ในป้องกันการติดเชื้อให้แก่jแพทย์พยาบาล ทั่วประเทศ

รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมเพื่อปกป้องแพทย์ พยาบาลมิให้ติดเชื้อจากการท าหัตถการกับผู้ป่วย

๔. จัดหาและมอบหน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ ฯลฯ ให้ อสม. และประชาชน เพื่อป้องกันตนเองเมื่อการระบาดทวีความ

รุนแรงขึ้นในประเทศ

๕. ให้ข้อคิดเห็นและเสนอแนะแก่ผู้บริหารรัฐบาลว่า “สุขภาพมาก่อนเศรษฐกิจ” โดยเสนอมาตรการต่าง ๆ ในการป้องกัน

การระบาดของโรคในที่ประชุมขององค์กร พร้อมทั้งเตรียมการเยียวยาด้านเศรษฐกิจให้ประชาชนระดับรากหญ้า

๖. จัดท าโครงการประกันชีวิตให้แพทย์และพยาบาลที่เป็นนักรบเสื้อขาวด่านหน้าในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19

รวมทั้งผู้ช่วยพยาบาล นักรังสีเทคนิค และนักเทคนิคการแพทย์ทั่วประเทศ หากพลาดพลั้งจนเกิดการติดเชื้อและโรค

ลุกลามจนถึงแก่ชีวิต ทายาทจะได้รับสินไหมทดแทนจ านวน ๑ ถึง ๕ ล้านบาท

๗. เป็นศูนย์ประสานงานในการร่วมรับเงินและสิ่งของบริจาคจากองค์กรและผู้มีจิตกุศลที่จะมอบให้แก่คณะแพทย์และ

องค์กรอื่นๆ นอกแพทยสมาคมฯ เพื่อน าไปมอบให้แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ในสถาบันเหล่านั้น เพื่อ

ช่วยกันในการป้องกันแพทย์ พยาบาล บุคลาการทางการแพทย์จากการติดเชื้อในขณะดูแลรักษาผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัย

ว่าติดเชื้อ SARS-CoV2

๘. ร่วมถ่ายทอด ศึกษาและเรียนรู้ประสบการณ์การรักษาโรค COVID-19 จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในประเทศจีนและ

แลกเปลี่ยนประสบการณ์การควบคุมโรค COVID-19 กับประเทศในหมู่ MASEAN

๙. ร่วมพัฒนาและส่งเสริมการท าวิจัยเพื่อหายา วิธีการรักษา การป้องกันโรคที่เหมาะสม รวมถึงข้อมูลเชิงระบาดวิทยาของ

โรค COVID-19 ผ่านสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)

๑๐.ร่วมส ารวจและให้ความเห็น ข้อแนะน ามาตรการการป้องกันการติดเชื้อให้แก่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลในการเปิดบริการ

ให้ลูกค้า หลังจากรัฐบาลอนุมัติให้เปิดท าการได้

๒๙๕

ประสานงานให้กลุ่มผู้บริหารเซ็นทรัล (คุณสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา คุณพิชัย จิราธิวัฒน์

กรรมการบริหาร คุณสุพัตรา จิราธิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่) มอบเงินและอุปกรณ์การแพทย์ มูลค่า ๓ ล้านบาทให้

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยมีคณบดี ผู้อ านวยการ รพ.ศิริราช และรองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร ฯ รับมอบ

ประสานงานให้ผู้มีจิตศรัทธา ๒ ราย (คุณรัตนาวดี เสนาดิสัย และ คุณวรลักษณ์ องค์โฆษิต กรรมการบริษัท เคซีอี(ประเทศ

ไทย) จ ากัด ร่วมกันบริจาคเครื่อง ultrasonography ๒ เครื่อง มูลค่า ๑ ล้านบาทให้ภาควิชาอายุรศาสตร์ โดยมีหัวหน้า

ภาควิชาอายุรศาสตร์ (รศ.นพ.ไชยรัตน์ เพิ่มพิกุล) รับมอบ

๒๙๖

ในภาพข้างล่าง ๕ ภาพ กรรมการจากแพทยสมาคมฯ ได้ไปเยี่ยมชมมาตรการการป้องกันลูกค้าติดเชื้อโรค COVID-19 เมื่อ

เข้ามาในศูนย์การค้า CentralwOrld โดยมี นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ และ

ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี ได้เข้ามาตรวจสอบและเยี่ยมชมมาตรการการป้องกันการติดเชื้อให้ลูกค้า โดยมี ดร.สุพัตรา จิราธิวัฒน์

คุณพิชัย จิราธิวัฒน์และผู้บริหาร CentralWOrld ให้การต้อนรับและพาชมมาตรการป้องกันโรคตามห้างร้านต่าง ๆ

ท่านที่สนใจเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ //youtu.be/MpSTxMR5gVk

๒๙๙

ตั้งแต่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดท าโครงการต่าง ๆ เพื่อพิชิตภัย COVID-19 ร่วมกับบุคคลต่าง ๆ ทั้ง

ฝ่ายภาครัฐและเอกชน และต่อมา แพทยสมาคมฯ ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากบุคคลและสถาบันต่าง ๆ ทั้งในและนอก

วงการแพทย์เป็นอย่างดีในการด าเนินการจนโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ บรรลุส าเร็จตามเป้าหมาย ท าให้สมาชิกแพทย์

ของแพทยสมาคมฯ แพทย์ทั่วไป และบุคลากรทางการแพทย์มีขวัญ ก าลังใจ และได้รับอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเพียง

พอที่จะน าไปใช้ในการท างานสู้ภัย COVID-19 ได้เป็นอย่างดี

การท างานดังกล่าวที่ส าเร็จลุล่วงไปได้ ได้รับความร่วมมือและความเสียสละจากเจ้าหน้าที่ของแพทยสมาคมฯ ใน

การช่วยประสานงานต่าง ๆ ให้ด าเนินการไปด้วยดี แพทยสมาคมฯ จึงขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่มีรายชื่ออยู่ข้างล่างนี้

นางสาวศุภธิดา เพ็งแจ้ง นายคีตณัฐ สุระมณี นายเอกชาคริต บุญเพ็ญ

เลขานุการ เจ้าหน้าที่ต่างประเทศ นิติกร

นางสาวงามเนตร ศิรเลิศมุกุล นางสาวเกษร สุวชัย นางสาวอารียา โพนเกาะ

เจ้าหน้าที่บัญชี เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่ธุรการ

๓๐๐

นางสาวสุพัตรา จิตบุญเรือง นายสุวรรณชัย สุขคณาลักษณ์ นายที ไพสิฐพัฒนพงษ์

เจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าหน้าที่ประสานงาน เจ้าหน้าที่ Artwork

จดหมายเหตุทางแพทย์ฯ จดหมายเหตุทางแพทย์ฯ จดหมายเหตุทางแพทย์ฯ

นายจ ารูญรักษ์ รองศรีแย้ม นายปวริศร์ ศุภชัยประเสริฐ

เจ้าหน้าที่ Artwork เจ้าหน้าที่ Artwork

จดหมายเหตุทางแพทย์ฯ จดหมายเหตุทางแพทย์ฯ

ผมจึงขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ได้ร่วมมือกันท างานให้ประสบความส าเร็จไปด้วยดีจนถึงวันนี้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

วาระ ม.ค. ๒๕๖๓ ถึง ม.ค. ๒๕๖๕

วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๓

๓๐๑

ภาคผนวก

ข้อมูลต่อเนื่องและเพิ่มเติมหลังจากปิดเล่มแรกไปแล้ว

บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ อีกหน้าหนึ่งของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ

“แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ร่วมพิชิตภัย COVID-19”

สารบัญ หน้า

๑. ก่อนจะเริ่มปลดล็อค และ “พี่หมอ มาท าให้คนเริ่มฟังผมมากขึ้น”๓๐๓-๓๐๖

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๒. What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like? ๓๐๗-๓๑๕

บรรยายให้เทคนิคการแพทย์

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๓. การพัฒนางานวิจัยด้านคลินิกของโรค COVID-19 ผ่าน สวรส. ภาคผนวก ๓๑๖-๓๒๓

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๔. โครงการ “นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” เหตุการณ์และ ๗ ขั้นตอนที่ พสท. ๓๒๔-๓๓๐

จะด าเนินการมอบสินไหมทดแทนในโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19

ทั้งสองกรมธรรม์

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๕. การประชาสัมพันธ์ข่าว โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัยโควิด-๑๙ ๓๓๑-๓๓๘

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๖. เมื่อไปออกข่าวทีวีเนชั่น คุยเรื่อง กองทุน อสม. เงื่อนไขผ่อนปรนการเปิดผับบาร์ ๓๓๙-๓๔๔

สถานบันเทิง สงครามแย่งวัคซีนโควิด-๑๙

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

๗. MASEAN actions on each national COVID-19 containment ๓๔๕-๓๖๒

 ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

หมายเหตุของผู้จัดท าหนังสือ(ภาคผนวก)เล่มนี้

การจัดท าหนังสือเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมและบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ในการท าโครงการและกิจกรรมของ

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในยุคที่โรค COVID-19 ระบาดในประเทศไทยให้ชัดเจนและเก็บรักษาไว้ให้สมาชิก

เพื่อแสดงว่าเป็นกิจกรรมที่ต้องท าร่วมกับองค์กรและบุคคลอื่นๆ ในการต่อสู้ต้านภัยโรค COVID-19 และยังต้องการ

แสดงความส านึกในพระมหากรุณาธิคุณของทุกพระองค์และขอบพระคุณทุกท่านที่แสดงน้ าใจอันดีงามที่เข้ามา

ช่วยเหลือแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ผ่านทางแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นสามารถ

ท างานในหน้าที่ตนเองได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังต้องการบันทึกไว้เป็นข้อมูลทางวิชาการ ความคิดเห็นของอาจารย์

และแพทย์ที่ท ากิจกรรมในแต่ละห้วงเวลา โดยไม่ต้องการไปเผยแพร่ต่อ ข้อมูลด้านวิชาการของโรคนี้มีการเปลี่ยนแปลง

ไปเร็วมากแต่จะไม่มีการแก้ไขเนื้อหาให้ทันสมัยเพราะอยากให้เป็นการบันทึกเหตุการณ์และข้อมูลที่มีอยู่ในห้วงเวลานั้น

การท าหนังสือเล่มนี้ให้เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-book มิได้มีเจตนาท าเพื่อการค้าขายหรือเผยแพร่

ออกไปนอกวงการสมาชิกของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ผู้จัดท าพยายามท าหนังสือให้ดีที่สุดโดยมิให้มีการ

ล่วงเกินหรือละเมิดสิทธิ์ใด ๆ หรือความเป็นส่วนตัวของผู้ที่หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงหรือมีรูปปรากฏอยู่ หากมีรูปหรือ

๓๐๒

ข้อมูลของท่านใดในหนังสือที่ผู้จัดท ายังไม่ได้ขออนุญาตหรือคลาดเคลื่อนไปบ้าง ผู้จัดท ากราบขออภัยและขออนุญาต

ด้วย รูปต่าง ๆ ที่น ามาเก็บไว้ในหนังสือเล่มนี้จะเป็นรูปภาพที่เคยเผยแพร่ในสื่อสาธารณะแล้วทั้งสิ้น หากท่านใดจะ

น าไปเผยแพร่หรืออ้างอิงต่อในเอกสารหรือในสื่ออื่น ๆ และเป็นการท าเพื่อการศึกษาและมิใช่เพื่อการค้าหรือละเมิดสิทธิ

ส่วนบุคคลใด ๆ หรือความเป็นส่วนตัวของท่านนั้น ขอได้โปรดท าจดหมายเป็นเอกสารมาแจ้งขออนุมัติจากนายกแพทย

สมาคมแห่งประเทศไทยฯ ด้วย

ผู้จัดท าขอขอบคุณผู้เขียนทุกท่านที่ได้ช่วยกันเขียนบทความให้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อแสดงถึงน้ าใจและ

ความร่วมมือเป็นน้ าหนึ่งใจเดียวกันของแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ที่มีต่อสมาชิกและวงการแพทย์และปฏิบัติ

ภารกิจต่อต้านภัย COVID-19 ด้วยความเสียสละในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งที่ได้ถูกบันทึกไว้ในหนังสือเล่มนี้

ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี

นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ (ม.ค. ๒๕๖๓ - ม.ค. ๒๕๖๕)

๓๐๓

ก่อนจะเริ่มปลดล็อค และ “พี่หมอ มาท าให้คนเริ่มฟังผมมากขึ้น”

เรื่องเกี่ยวกับการปลดล็อคต่าง ๆ ของรัฐบาล และจะท าให้เกิดการระบาดรอบสอง หรือไม่?

ไทยโพสต์ ให้ความเห็นโดยเขียนในคอลัมน์ด้านล่าง และอ้างว่า เพราะนายกรัฐมนตรีได้คุณหมอมา ๕ ท่าน มาช่วย

น าหนักและความเห็นในการคุม COVID-19 ท าให้ประชาชนให้ความเชื่อถือตัวนายกรัฐมนตรีมากขึ น

หลังจากรัฐบาลเริ่มผ่อนปรนระยะที่ ๑, ๒, ๓ และ ๔ จ านวนผู้ติดเชื อรายใหม่ยังไม่เพิ่มจากศูนย์มานานถึง ๒๑ วัน

แล้ว ก าลังผ่อนคลายระยะที่ ๔ ในวันจันทร์ที่ ๑๕ มิถุนายน และจะผ่อนคลายหมดในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like? บรรยายให้เทคนิคการแพทย์

การบรรยายให้สมาชิกของสภาเทคนิคการแพทย์และสมาคมเทคนิคการแพทย์ฟัง เกี่ยวกับสถานการณ์

ของโรค COVID-19 ในประเทศไทย การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการพร่ระบาดและท านายว่า second

wave จะเกิดได้รุนแรงมากหรือไหม? ได้บรรยายในวันอังคารที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๒:๐๐ ถึง ๑๓:๐๐

น. ผ่านทางระบบสื่อสารทางไกล CisCo WebEx โดยใช้ชื่อหัวข้อว่า What the Second Wave of COVID-19

Might Look Like? และมีบริษัท PCL Holding Group ให้การสนับสนุนในการบรรยายผ่านสื่อทางไกลครั้งนี้

ได้ให้ความเห็นว่า second wave ของประเทศไทย ไม่น่าจะมีหรือมีจ านวนน้อยมาก ไม่เกิน ๓๐ ราย

เพราะประชาชนให้ความสนใจในการรวังตัวดีมากอยู่แล้ว ดีกว่าเมื่อครั้งที่ influenza 2009 ระบาดเสียอีก หาก

ประชาชนยังสวมหน้ากากอนามัย อยู่ห่างจากคนที่ไม่รู้จักอย่างน้อย ๒ เมตร ล้างมือบ่อย ๆ ไม่อยู่ในที่แออัด

อากาศไม่ถ่ายเท ไม่อยู่ในฝูงชนนาน ๆ โดยไม่จ าเป็น มาตรการเหล่านี้จะเป็นเกราะป้องกันการระบาดของ

COVID-19 และโรคไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินหายใจได้ดีมาก จนไม่เกิด second wave

๓๐๗

6/16/2020

1

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

CisCo WebEx Conference at Siriraj Hospital

June 16, 2020; 12:00-13:00

1. COVID-19: Epidemiology, Virology & Clinical

Features

2. What the second wave might look like?

3. Interpreting the diagnostic tests for SARS-CoV2

4. COVID-19 laboratory testing for the future

Professor Amorn Leelarasamee, MD.,

F.R.C.P.T., FACP.

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

CisCo WebEx Conference at Siriraj Hospital

June 16, 2020; 12:00-13:00

Current positions

President, the Medical Association of Thailand under the Royal Patronage

Vice President, Siam University

Chairman, subcommittee of HIV Vaccine Development, National AIDS Prevention

and Alleviation Committee, Thailand

Member of administrative committee of Thai Medical Council

Past positions

President, the Infectious Disease Association of Thailand

Chairman, subcommittee of Infectious Disease Training Program, Royal College of

Physicians of Thailand

Chairman, Department of Medicine, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol

University

President, the Royal College of Physicians of Thailand

Dean, Faculty of Medicine, Siam University

Professor Amorn Leelarasamee, MD.,

F.R.C.P.T., FACP.

1. COVID-19: Epidemiology, Virology &

Clinical Features

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

CisCo WebEx Conference at Siriraj Hospital

June 16, 2020; 12:00-13:00

Ayal B. Gussow et al. PNAS doi:10.1073/pnas.2008176117

Searching coronavirus genomes for determinants of pathogenicity. (A) Phylogenetic tree of coronavirus species, based on the alignment of complete

nucleotide sequences of virus genomes. Blue font corresponds to alphacoronaviruses, and magenta font corresponds to betacoronaviruses. (B) A schematic

illustration of the pipeline applied for detection of genomic regions predictive of high‐CFR strains. (C) (Top) Pie chart showing the percentage of identified

genomic determinants in each protein. (Bottom) Map of SARS‐CoV‐2 genome with detected regions. (D) Bar plot showing the significance of the distribution

of detected regions across each protein. (E) Percentage of detected predictive regions in each protein.

PNAS first published June 10, 2020

//doi.org/10.1073/pnas.2008176117

Searching coronavirus genomes for determinants of pathogenicity

๓๐๙

6/16/2020

2

Spectrum of illness severity and case fatality rates

Specifically, in a report from the Chinese Center for Disease

Control and Prevention that included approximately 44,500

confirmed infections with an estimation of disease severity:

● Asymptomatic/Mild (no/mild pneumonia) was reported in 81%.

● Severe disease (eg, with dyspnea, hypoxia, or >50 percent lung

involvement on imaging within 24 to 48 hours) was reported in 14%.

● Critical disease (eg, with respiratory failure, shock, or multiorgan

dysfunction) was reported in 5%.

The overall case fatality rate was 2.3%; no deaths were reported

among noncritical cases.

Clinical Spectrum of COVID-19 Severity & CFR

Wu Z, McGoogan JM. Characteristics of and Important Lessons From the Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Outbreak in China:

Summary of a Report of 72 314 Cases From the Chinese Center for Disease Control and Prevention. JAMA 2020.

Disease tracker

An infection with a new coronavirus begins with an onset

of symptoms including fever, cough and fatigue.

Those symptoms can then intensify fairly quickly, resulting

in hospital admission and acute respiratory disease

syndrome, or ARDS (median time from onset of symptoms, shown).

How fast a new coronavirus can sicken a patient

CFR = 1.85%

Virology and Clinical Testing for COVID-19

Virology and Clinical Testing for COVID-19

2. What the second wave of COVID-19 in

Thailand might look like?

• South Korea (nightclubs in the capital's

Itaewon district)

• China (Shulan, a city in China’s northeast)

• Malaysia?

• Japan

How to predict the wave & based on which factors??

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

๓๑๐

6/16/2020

3

Virology and Clinical Testing for COVID-19

via

CisCo WebEx Conference at Siriraj Hospital

June 16, 2020; 12:00-13:00

First Wave

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like? What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

มีไข้ป่วย สงสัยว่าตนเองติด

เชื้อ หาหมอ/ไป รพ.

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

๑. สวมหน้ากากอนามัย

๒. ล้างมือบ่อย ๆ

๓. อยู่ห่างอย่างน้อย ๒ เมตร

จากคนอื่น

๔. ไม่อยู่ในที่แออัด-อากาศ

ไม่ถ่ายเท

๕. ไม่ตะโกน เชียร์หรือ

พูดให้น้อยที่สุด

มีไข้ป่วย สงสัยว่าตนเองติด

เชื้อ หาหมอ/ไป รพ.

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

๓๑๑

6/16/2020

4

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like? What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

ศบค.เผย วันนี้ไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่ม

• ผู้ป่วยติดเชื้อสะสมคงที่๓,๑๓๕ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม (= ๕๘ ราย)

นพ.ทวีศิลป์วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติด

เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ แถลงถึงสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย ณ

ทําเนียบรัฐบาล

วันจันทร์ที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๖๓ วันแรกหลังมีการผ่อนคลาย/ยกเลิกเคอร์ฟิวเมื่อคืน

• โดยวันนี้ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

• หายป่วยแล้ว ๒,๙๘๗ ราย รักษาอาการอยู่ ๙๐ คน

• ไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศติดต่อกัน ๒๑ วัน/๓ สัปดาห์เต็มแล้ว

Virology and Clinical Testing for COVID-19

๓๑๒

6/16/2020

5

Virology and Clinical Testing for COVID-19 Virology and Clinical Testing for COVID-19

???

2nd wave

Spanish Flu death by month

1918 1919

6/29 7/27 8/24 9/21 10/19 11/16 12/14 1/11 2/8 3/8 4/5

๑. ติดเช

ื้

อง่ายขึ้นไหม?

๒. ความดุร้ายของเช

ื้อโรค เพิ่มข

ึ้นไหม?

๓. ความรุนแรงของโรค/ติดเช

ื้

อก่อนเริ่มการรักษา เพิ่มขึ้นไหม?

๔. เช

ื้

อด

ื้

อยาต้านไวรัสที่ใช้อยู่ ไหม?

๕. เช

ื้

อกลายพันธุ์ไปมาก เป็นเช

ื้อใหม่ไหม? ต้องเปลี่ยนมาใช้

วิธีการตรวจแบบใหม่ วัคซีนแบบใหม่หรือไม่?

การเกิด second wave หลังการระบาดรอบท

ี่

หน

ึ่

งผ่านไปแล้ว: คําถามที่เกิดข

ึ้

นตามมา 3. Interpreting the diagnostic tests for

SARS-CoV2

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

Exposure/

contact

Onset of Symptom

วันท

ี่

เจบป็ ่วย/มีอาการ

Day1 D2 D3 D4………Dx..

1. Viral culture

2. qRT-PCR

3. IgM, IgG against “S” or “N” proteins

viremia เพาะไดเช้ ้

ือเป็น

RNA-CoV ตรวจดวยว้ ิธี RT-PCR

วันทของการเจี่ บป็ ่วย

0 4 6 8 10 12 14

Gene 3 targets at E, N, RdRP

Protocol of the first real-time RT-PCR assays targeting the

1. RNA-dependent RNA Polymerase (RdRP)

2. envelope (E)

3. nucleocapsid (N)

genes of SARS-CoV-2 were published on 23 January 2020

๓๑๓

6/16/2020

6

Over the 4 days of infection before the typical time of

symptom onset (day 5), the probability of a false-negative

result in an infected person by RT-PCR

Median 95% CI

• Day1 after exposure 100% 100%-100%

• Day4 after exposure 67% 27%-94%)

On the day of symptom onset,

• Day1(5) of symptom onset 38% 18%-65%

• Day3(7) after symptom onset 20% 12%-30%

• Day4(8) 21% 13%-31%)

• Day16(20) 66% 54%-77%)

Kucirka LM, Lauer SA, Laeyendecker O, Boon D, Lessler J. Variation in false-negative rate of reverse transcriptase polymerase chain reaction–based SARS-CoV-2

tests by time since exposure. Ann Intern Med 2020; May 13 [Epub ahead of print]

False-negative Result after the Exposure & Onset of Illness

Quick Takes

1. Tests for SARS-CoV-2 based on RT-PCR add

little diagnostic value in the first 5 days

immediately after exposure.

2. Decisions regarding removing contact

precautions or ending quarantine should not be

made on the basis of results obtained in the first

5 days post-exposure and absence of symptoms.

3. Serial testing may improve test performance but

needs to be studied..

Kucirka LM, Lauer SA, Laeyendecker O, Boon D, Lessler J. Variation in false-negative rate of reverse transcriptase polymerase chain reaction–based SARS-CoV-2

tests by time since exposure. Ann Intern Med 2020; May 13 [Epub ahead of print]

False-negative Result after the Exposure & Onset of Illness

1. Enzyme Linked Immunosorbent Assay (ELISA)

2. Chemiluminescence Immunoassay (CLIA) • are two frequently employed tests for quantification of antibody

• ELISA and CLIA are based on different test-principles

• CLIA offers the advantage of rapid turn-over and is less

demanding in technical expertise

• ELISA offers the advantage of being less dependent on

specialized equipment

3. Radioimmunoassay (RIA)

4. Micro-particle enzyme immunoassay (MEIA)

5. CRISPR-CAS technology

Comparing Assay Performance of ELISA and Chemiluminescence Immunoassay in Detecting Antibodies to Hepatitis B Surface Antigen. Mridula Madiyal, Siddharth

Sagar, Shashidhar Vishwanath, Barnini Banerjee, Vandana Kalwaje Eshwara, Kiran Chawla. J Clin Diagn Res. 2016 Nov; 10(11): DC22–DC25

Methods to Measure HBV IgM, IgG Titres Result Interpretations of RT-PCR, IgM, IgG Tests

๓๑๔

6/16/2020

7

Thailand plans ‘travel bubbles’ when borders reopen

4. COVID-19 laboratory testing for the future

via

CisCo WebEx Conference at Siriraj Hospital

June 16, 2020; 12:00-13:00

Let’s guess together.

What the Second Wave of COVID-19 Might Look Like?

๓๑๕

๓๑๖

การพัฒนางานวิจัยด้านคลินิกของโรค COVID-19 ผ่าน สวรส. ภาคผนวก

กองนวัตกรรมและวิจัยได้เชิญให้ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี (มหาวิทยาลัยสยาม) เป็นผู้ประสาน

งานวิจัยด้านคลินิกของ COVID-19 จากศูนย์ประสานงานวิจัยและนวัตกรรม โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(COVID-19 Research and Innovation Coordinating unit: CRIC) ซึ่งมีส านักงานที่ห้องปฏิบัติการผู้ทรงคุณวุฒิ

ชั้น ๖ อาคาร ๑๐ และอยู่ภายใต้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.

นนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทร ๐๘๐ ๙๗๓ ๑๘๖๓ โดยมีผู้วิจัยจากหน่วยงานต่าง ๆ มาเสนอโครงการวิจัยร่วมกันเพื่อ

ทราบแนวทางของงานวิจัยในด้านต่าง ๆ และมีผู้แทนจากหน่วยงานที่ให้ทุน เช่น วช. สวรส. มาร่วมนั่งฟังและให้

ความเห็น มีการประชุมทุก ๒ สัปดาห์เพื่อร่วมพิจารณางานวิจัยและติดตามความก้าวหน้าและรับทราบ

ผลงานวิจัยที่ท าไปแล้ว

ส่วนงานวิจัยด้านคลินิก ศ.เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี(มหาวิทยาลัยสยาม) ได้รับมอบจากที่ประชุมให้

ช่วยประสานการด าเนินงานวิจัยด้านคลินิกและน าโครงการวิจัยด้านคลินิกมาประชุม พิจารณาและดูรายละเอียด

ต่อที่ สวรส. เพื่อให้ความเห็นและให้ทุนวิจัยตามระบบของ สวรส. ต่อไป ทุนวิจัยนี้อาจจะได้รับจากสถาบันอื่น

นอกเหนือจาก สวรส. ด้วยก็ได้

ภาคผนวกนี้ แสดงความก้าวหน้าของการผลักดันให้มีการด าเนินงานวิจัยด้านคลินิกของ COVID-19 ทั้ง

การประชุมที่กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค และการประชุมที่ สวรส. ที่ได้ด าเนินการต่อเนื่องตลอดมา

และมีตัวอย่างแสดงรายงานความก้าวหน้า ๑ เรื่องของนายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ สถาบันโรคทรวงอก

n7flfl4 flh11 000

Jl Icbn

LIEN flL fl L

2019 o/lcbGn

a

-iJ (i) nJij

)fl 'U

2019 COVID-19 Research and Innovation Coordinating Unit (CRIC) 41JTh

1.ThU LL1 'J LJ4

L½I1X 2019 Wii fl LL fl LflL1J n.j

e -' ( fl fl 6flfl Jfl

n1 °i1T L L1l'flTlJ1J L 1J11

2019 o/bn

Ixn Ln n.no — cno i. u YWfl øo

nJtJ Application ZOOM Cloud Meeting (ID: 947 3454 7856 Password: 12123)

nniJi Lhi QR code vIJ

//bit.ly/3dn5cZd tnrn lcn LU Lu1iT LW1J3J

u

a

fl1J1

(iru ii;)

Jn-JJ

nci nii

rn. o 10 Gfl)G

๓๑๗

วาระการประชุมขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อป้องกันและรับมือการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019

ครั้งที่ 10/2563 วันที่ 8 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30–16.30 น.

ณ ห้องประชุมกองนวัตกรรมและวิจัย อาคาร 10 ชั้น 1 กรมควบคุมโรค (ผ่านระบบ Application Zoom meeting)

วาระ

ที่

เรื่อง/ประเด็น วัตถุประสงค์การ

นำเสนอ

ผู้นำเสนอ เวลา

นำเสนอ

1 ประธานแจ้งเพื่อทราบ

2 รับรองรายงานการประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563

3 เรื่องสืบเนื่อง และพิจารณาตามกลุ่ม

3.1 กลุ่มการเฝ้าระวังและระบาดวิทยา

3.1.1 Prophylaxis in household members

และ Seroprevalence in HCW

รายงาน

ความก้าวหน้า

งานวิจัย

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ

คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล

3 นาที

3.2 กลุ่มการศึกษาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์

3.2.1 โครงการ “Mathematical Modeling ของ

การระบาดโรค COVID - 19 ในประเทศไทย

มาตรการ Social distancing และ

Active case finding

รายงาน

ความก้าวหน้า

งานวิจัย

รศ.ดร. ชรินทร์ โหมดชัง

มหาวิทยาลัยมหิดล

3 นาที

3.2.2 System Modelling for COVID–19 รายงาน

ความก้าวหน้า

งานวิจัย

1. นพ. บวรศม ลีระพันธ์

โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

2. นพ.ระพีพงษ์ สุพรรณไชยมาตย์

กองระบาดวิทยา กรม คร.

3 นาที

3.2.3 การคาดการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา

2019

รายงาน

ความก้าวหน้า

งานวิจัย

1. นพ. กฤชวัฐ ปลอดดี

กองระบาดวิทยา

2. นพ. ปณิธี ธัมมวิจยะ

กองนวัตกรรมและวิจัย

กรมควบคุมโรค

3 นาที

3.2.4 Mathematical modelling of the spread

of the COVID-19 in the Thailand

(CoMo Model)

รายงาน

ความก้าวหน้า

งานวิจัย

1. ผศ.ดร. วิริชดา ปานงาม

2. ดร. สมภพ ศรลัมพ์

มหาวิทยาลัยมหิดล

3 นาที

๓๑๘

วาระ

ที่

เรื่อง/ประเด็น วัตถุประสงค์การ

นำเสนอ

ผู้นำเสนอ เวลา

นำเสนอ

3.2.5 Socio economic Impact COVID-19 รายงาน

ความก้าวหน้า

งานวิจัย

ผศ.ดร. อภิรดา ชิณประทีป

3. สำนักบัณฑิตพัฒนบริหาร

ศาสตร์

3 นาที

3.3 กลุ่มวัคซีน และการรักษา

3.3.1 โครงการวิจัยทางคลินิก เน้นการวินิจฉัยโรค

รักษา และป้องกันโรค

รายงาน

ความก้าวหน้า

งานวิจัย

นพ. อมร ลีลารัศมี

มหาวิทยาลัยสยาม

3 นาที

3.4 กลุ่มการวินิจฉัยและการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

3.4.1 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพของการวินิจฉัย

เบื้องต้นสำหรับโรคโควิด 19 โดยใช้

แบบสอบถามประเมินตนเองเชิงความเสี่ยง

และปัญญาประดิษฐ์สำหรับการรับรู้เสียง

จากตัวอย่างไอแบบแห้ง และหายใจถี่

(โครงการใหม่)

ขอรับคำแนะนำ

จากผู้เชี่ยวชาญ

และผู้ทรงคุณวุฒิ

รศ.ดร.วฤษาย์ ร่มสายหยุด

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

5 นาที

3.5 กลุ่มนวัตกรรมการควบคุมป้องกันโรค

3.5.1 หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโรคโดยใช้รังสี UVC (Xterlizer

UV Disinfection Robot) (โครงการใหม่)

ขอรับคำแนะนำ

จากผู้เชี่ยวชาญ

และผู้ทรงคุณวุฒิ

นส.โรสลิน สุวรรณพันธ์

บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์

เวนเจอร์ส จำกัด

5 นาที

3.6 กลุ่มพัฒนาระบบควบคุมป้องกันโรค

- - - -

3.7 กลุ่มด้านจิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ

- - - -

4 เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)

กำหนดการประชุมครั้งต่อไป วันที่ 22 มิถุนายน 2563 เวลา 13.30 – 16.30 น.

หมายเหตุ : 1. การประชุมฯ ใช้ผ่านระบบ Application Zoom meeting Download Application Zoom meeting Install ลงใน

PC/ Notebook/ โทรศัพท์มือถือ (ในช่องทางที่เลือกใช้) เมื่อเข้าระบบแล้วเลือก Join Meeting เข้าสู่ระบบการประชุมฯ

2. กรณีเดินทางมาเข้าร่วมประชุม สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง

๓๑๙

๓๒๔

โครงการ “นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” เหตุการณ์และ ๗ ขั้นตอนที่ พสท. จะด าเนินการมอบสินไหมทดแทน

ในโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 ทั้งสองกรมธรรม์

(แพทย์ พยาบาล กรมธรรม์ที่ ๑) (ผู้ช่วยพยาบาล เทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค กรมธรรม์ที่ ๒ )

ในกรณีที่แพทย์ พยาบาล ติดเชื้อ SARS-CoV-2 จนถึงแก่ชีวิต มี ๗ ขั้นตอนในการขอรับสินไหมจากการเสียชีวิตจาก

กรมธรรม์ที่ ๑ ในโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 ของแพทย์ พยาบาล

๑. แพทย์ พยาบาล รับทราบว่า สามารถลงทะเบียนมาก่อนได้เองทาง website ของแพทยสมาคมฯ หรือ ผอ.

รพ. ส่งชื่อมาที่แพทยสมาคมฯ (พสท.)

ฝ่าย พสท. ประกาศว่า มีโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 ให้แพทย์ พยาบาลทราบ

๒. แพทย์ พยาบาล เริ่มติดเชื้อ ให้แจ้งรายชื่อและหลักฐานข้อมูลการติดเชื้อเข้ามาที่ พสท.

ฝ่าย พสท. เริ่มให้สิทธิ์ขั้นแรกในการรับความคุ้มครองชีวิตของแพทย์ พยาบาล โดยมีเอกสารรับรองการติดเชื้อ

แนบมา

๓. แพทย์ พยาบาล เริ่มป่วยรุนแรง เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเมื่อป่วยรุนแรงหรือเป็นปอดอักเสบ ผู้ป่วย

หรือญาติแจ้งการเข้ารักษาตัวมาให้ พสท. ทราบ

ฝ่าย พสท. ให้สิทธิ์ความคุ้มครองชีวิตของแพทย์ พยาบาล (เอกสารรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล เป็น

หลักฐานที่ส าคัญมากในการพิจารณาสิทธิ์ที่จะได้สินไหมทดแทน)

๔. แพทย์ พยาบาล เก็บหลักฐานการรักษาโรคติดเชื้อ COVID-19 ของตนเองไว้ก่อน

ฝ่าย พสท. ให้สิทธิ์รับสินไหมทดแทนเมื่อแจ้งหลักฐานการอยู่ในโรงพยาบาล

๕. แพทย์ พยาบาลเสียชีวิตจากการด าเนินโรคของ COVID-19 ให้ญาติแจ้งข่าวการตายมาที่แพทยสมาคม ฯ

และส่งหลักฐานการติดเชื้อ การรักษาตัวในโรงพยาบาลและสาเหตุการตาย

ฝ่าย พสท. รับทราบหลักฐานการรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล

๖. ญาติของแพทย์ พยาบาลที่เสียชีวิต ส่งหลักฐานการรักษาโรค COVID-19 และสาเหตุการเสียชีวิตมาที่ พสท.

ฝ่าย พสท. กรรมการตรวจสอบข้อมูลและหลักฐานว่า ถูกต้องเข้าหลักเกณฑ์ กรรมการเห็นชอบและตัดสินว่า

สาเหตุการตายเกิดจากการด าเนินโรค COVID-19 ผู้นั้นมีสิทธิ์ครบถ้วนสมบูรณ์

แล้วแจ้งไทยประกันชีวิตให้จ่ายสินไหมว่า เป็นการตายที่เกิดจากการด าเนินโรคของ COVID-19

๗. ญาติผู้ตายรับสินไหมทดแทนรายละ ๕ ล้านบาท แต่ไม่เกิน ๑๕ รายตามล าดับการเสียชีวิต

ไทยประกันชีวิตจ่ายสินไหมทดแทนให้รายละ ๕ ล้านบาท แต่ไม่เกิน ๑๕ ราย

หมายเหตุ แนะน าให้แพทย์ พยาบาลและญาติแจ้ง พสท. มาเป็นระยะตามขั้นตอนที่แสดงไว้ ขั้นตอนที่ส าคัญมาก

และขาดไม่ได้เลยคือ ขั้นตอนที่ ๒ และ ๕ ส่วนกรมธรรม์ที่ ๒ ที่ให้สินไหมทดแทนผู้ช่วยพยาบาล รังสีเทคนิค

เทคนิคการแพทย์ที่เสียชีวิต ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน โดยจ่ายรายละ ๑ ล้านบาท

สมุดบัญชีออมทรัพย์ที่รับเงินบริจาคเข้า “โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” ในกรมธรรม์ที่ ๑ (ส าหรับแพทย์

และพยาบาล) จากองค์กรต่าง ๆ แพทย์ ประชาชน และผู้มีจิตศรัทธา โดยหลาย ๆ ท่าน ไม่ต้องการมีชื่อในการบริจาค

เงินในโครงการนี้ แผ่นแรกเป็นชื่อสมุดบัญชีของธนาคารกรุงไทย สาขาถนนเพชรบุรีตัดใหม่ อีก ๓ หน้าที่ตามมา เป็น

รายการเงินฝากของแต่ละรายการที่ได้มาจากองค์กร ผู้มีจิตศรัทธาในเดือนมีนาคมถึงเมษายน ๒๕๖๓

๓๒๕

ส่วนเงินประกันภัยในกรมธรรม์ที่ ๒ มีผู้บริจาคมาให้ ๑๐ ล้านบาทแล้ว จึงไม่ต้องขอรับบริจาคเพิ่ม

๓๒๘

Press Release - 28 April 2020 ในพิธีลงนามในกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่ม ผู้ช่วยพยาบาล นักเทคนิค

การแพทย์และนักรังสีเทคนิค จ านวน 100,000 คน

สืบเนื่องจากการที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดตั้งโครงการที่หนึ่ง คือโครงการนักรบเสื้อ

ขาวสู้ภัย COVID-19 ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างขวัญก าลังใจให้แพทย์และพยาบาลผู้ซึ่งท างานด่านหน้าในการ

ดูแลรักษาคนไข้และควบคุมการระบาดของโรคนี้ โดยจัดหาวัสดุทางการแพทย์และกรมธรรม์ประกันชีวิต

แพทย์และพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งหมด 280,000 คน คุ้มครองชีวิตรายละ 5,000,000 บาท และเริ่ม

คุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 และได้ท าการประชาสัมพันธ์ไปแล้ว

โครงการในวันนี้ เป็นโครงการที่สองซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างขวัญก าลังใจแก่ผู้ช่วยพยาบาล นัก

เทคนิคการแพทย์และนักรังสีเทคนิค โดยจัดท าเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่มผู้ช่วยพยาบาล นักเทคนิค

การแพทย์และนักรังสีเทคนิค ทั่วประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน จ านวนประมาณ 100,000 คน แยกเป็น

กรมธรรม์ฉบับที่สอง และให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตเนื่องจากการติดเชื้อไวรัสและการด าเนินโรค COVID19 จากการปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยตามที่ได้รับมอบหมาย โดยทายาทตามกฎหมายจะได้รับสินไหมรายละ

1,000,000 บาท กรมธรรม์ฉบับนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2564

กรมธรรม์ฉบับที่สองนี้มีศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมฯ

ร่วมกับอาจารย์อภิรักษ์ ไทยพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทไทยประกันชีวิต จ ากัด

(มหาชน) ลงนามในกรมธรรม์โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา,

นายแพทย์ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ ผู้อ านวยการโครงการ, คุณสมชัย เจิดเสริมอนันต์ นายกสภาเทคนิค

การแพทย์, คุณสละ อุบลฉาย นายกสมาคมรังสีเทคนิคแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน

เมื่อรวมทั้งสองกรมธรรม์นี้แล้ว เท่ากับว่า แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดท ากรมธรรม์

ประกันชีวิตแก่บุคลากรทางการแพทย์รวมเกือบ 400,000 คน

นอกเหนือจากการจัดท ากรมธรรม์ทั้งสองฉบับนี้แล้ว แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ยังมีส่วนร่วม

ในการริเริ่มให้มีอีก 2 กองทุนคือ

  1. กองทุน อสม. สู้ภัย COVID-19 ซึ่งมีนายแพทย์ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ ผู้อ านวยการโครงการเป็น

ประธานกองทุนนี้โดยกองทุนนี้ให้คุ้มครองครองชีวิตแก่ อสม. จ านวน 1,050,000 คนทั่ว

ประเทศ โดยถ้าหากเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสและการด าเนินโรค COVID-19 จากการ

ปฏิบัติงานในหน้าที่ คณะกรรมการกองทุนนี้จะเป็นผู้ตัดสินและมอบเงินให้รายละ 500,000

บาท แก่ทายาทตามกฎหมาย โดยใช้หลักฐานในการพิจารณาสิทธิ์เช่นเดียวกับโครงการนักรบ

เสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 กองทุนนี้อยู่นอกแพทยสมาคมและสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2564

  1. กองทุนเยียวยาบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อและได้รับผลกระทบจากการรักษาโรค COVID19 โดยผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการติดเชื้อไวรัสและการรักษาโรค COVID-19 และผู้

๓๒๙

รับรอง สามารถแจ้งเรื่องเข้ามาที่แพทยสมาคมฯ สมาคม ฯ จะมีคณะกรรมการโครงการนักรบ

เสื้อขาวสู้ภัย COVID-19 พิจารณาช่วยเหลือตามหลักฐานที่แสดงมาและจะต้องได้รับความ

อนุเคราะห์จากภาคเอกชนที่มีจิตกุศลให้ความช่วยเหลือโดยจะพิจารณาเป็นแต่ละกรณีไป ทั้งนี้

กองทุนนี้ใช้ส าหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่มีสิทธิ์ในโครงการหรือกองทุนข้างต้น กองทุนนี้

จะสิ้นสุดในวันที่ 30 เมษายน 2564

โดยสรุป ณ ปัจจุบัน แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ฯ เป็นผู้ทรงกรมธรรม์ประกันชีวิตกลุ่ม 2

กรมธรรม์(โครงการที่ 1 และ 2) ซึ่งครอบคลุมบุคลากรทางการแพทย์เกือบ 400,000 คน และได้ริเริ่มให้มี

อีก 2 กองทุน ซึ่งให้ความคุ้มครองชีวิต อสม. จ านวน 1,050,000 คน และให้ความช่วยเหลือบุคลากร

ทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโรค COVID-19 ด้วย

๓๓๐

๓๓๑

การประชาสัมพันธ์ข่าว โครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัยโควิด-๑๙

โครงการนี้มีเบี้ยประกันสูงถึง ๕๐ ล้านบาทและแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการหา

และช าระเบี้ยประกันและจัดการใช้เงินหรือให้สินไหมทดแทนแต่ผู้เดียว (แม้จะให้สินไหมทดแทนแก่สมาชิกแพทย์

พยาบาล บุคลากรที่เกี่ยวข้องในองค์กรอื่น ๆ ก็ตาม) แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ได้ท าการประชาสัมพันธ์ โครงการ

นักรบเสื้อขาวสู้ภัยโควิด-๑๙ ผ่านทางสื่อต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งสื่อของแพทยสมาคมเอง และผ่าน บริษัทไทยประกัน

ชีวิตและเครือข่ายบริษัทที่จัดท าสื่อต่าง ๆ ตัวอย่าง เช่น วันที่ ๓ เม.ย. สื่อของไทยประกันชีวิต แจ้งว่า แพทยสมาคมฯ

เชิญชวนประชาชาวไทยสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ผู้ท าหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ผ่านการบริจาคเงินเข้า

โครงการ “นักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19” พร้อมวางใจไทยประกันชีวิตท าประกันชีวิตกลุ่ม คุ้มครองชีวิตแพทย์-

พยาบาลที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ ร่วมสนับสนุนการท างานของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ทุ่มเทและเสียสละ

ปฏิบัติหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ด้วยการบริจาคเงินสมทบทุนในโครงการดังกล่าว เพื่อจัดหาความ

คุ้มครองชีวิตให้แพทย์และพยาบาลสังกัดแพทยสมาคมฯ แพทยสภา และสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยที่ได้รับ

มอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ทุนประกันภัยรายละ ๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท นอกจากนี้ ข่าวดังกล่าวยัง

ปรากฏออกในสื่อทั่วไปอีกหลายแห่ง ดังที่แสดงข้างล่าง

๓๓๒

การบริจาคผ่านทางโทรศัพท์มือถือครั้งละ ๑๐ บาท หรือ ๑๐๐ บาท ท าได้ง่าย ๆ โดยการโทรออกที่มือถือผ่านเครือข่าย

AIS DTAC TRUE ทั้งสามเครือข่าย โดยใช้เบอร์โทรศัพท์เดียวกัน เพื่อให้ประชาชนทุกท่านสามารถมีส่วนร่วมบริจาค

ให้ก าลังใจแก่แพทย์ พยาบาล ที่เป็นนักรบด่านหน้าในการต่อสู้กับภัยโควิด-๑๙ ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ SARS-CoV2

ดังตัวอย่างข้างล่างจากสื่อของ AIS

วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๖๓… บริจาคเงินได้ง่ายๆ ผ่าน ๒ ช่องทาง โดยลูกค้าเอไอเอส บริจาค ๑๐๐ บาท กด

*948*1919*100# แล้วโทรออก บริจาค ๑๐ บาท กด *948*1919*10# แล้วโทรออก

๓๓๓

และในวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๕๖๓ เวลาบ่ายสองโมงเป็นต้นไปที่ส านักงานแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ โดย ศ.พญ.

สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ศ.นพ.อมร ลีลารัศมี และ นพ.ชัยวัฒน์เตชะไพฑูรย์เป็นผู้ให้ข่าว ได้จัดการให้ข่าวผ่านสื่อทีวีและข่าว

หลายช่องทางอีกครั้ง และได้แถลงข่าวเรื่องโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัยโควิด-๑๙ พร้อมกับแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

น าเข้ายา Flavipiravir เข้ามาในประเทศเพื่อเตรียมยาขนานนี้ให้เพียงพอส าหรับการรักษาผู้ติดเชื้อและป่วยด้วยโรคโค

วิด-๑๙ โดยเฉพาะรายที่ป่วยเป็นปอดอักเสบหรือรุนแรง ตัวอย่างข้างล่าง ช่อง ๓ ไปออกข่าว ๓ มิติในเวลากลางคืน

“แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์แสดงความเห็นว่ากลุ่มผู้ป่วยที่หายจากเชื้อโควิด-๑๙ แล้ว มีความ

เป็นไปได้ว่าจะกลับมาติดเชื้อใหม่ได้ หรืออาจจะมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากขึ้นหากควบคุมการระบาดของโรคไม่ได้ จึง

ขอให้เร่งน าเข้ายารักษาให้เพียงพอ ส่วนกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แพทย์ พยาบาล จ านวน ๒๘๐,๐๐๐ ราย และยังมี

กรมธรรม์ที่สองที่รองรับบุคลากรทางการแพทย์อื่นที่ดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ โดยหากเสียชีวิตจากการด าเนินโรคโควิด-๑๙

จะมีสินไหมทดแทนให้ทายาท โดยตนเองไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน และมีเวลาคุ้มครองเป็นเวลา ๑ ปี

แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ว่า

สถานการณ์ยังไม่น่าไว้วางใจ ผู้ป่วยที่หายแล้ว อาจจะกลับมาเป็นซ้ าใหม่ได้ จึงแนะน าให้กักตัวเองสักระยะ เพื่อไม่ให้

แพร่เชื้อต่อผู้อื่น ส่วนยาฟาวิพิราเวียร์ ที่ใช้รักษาผู้ติดเชื้อ คาดว่ามีไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนต้องได้รับยา

ประมาณ ๗๐ เม็ด ท าให้แต่ละโรงพยาบาล จะใช้ยารักษาต่อเมื่อผู้ป่วยค่อนข้างรุนแรงแล้ว ซึ่งขณะนี้ยามีประมาณ

๘๗,๐๐๐ เม็ด จึงเสนอการน าเข้ายาส าหรับรักษาโรคโควิด-๑๙ ให้มีช่องทางด่วนเพื่อเร่งรัดการขึ้นทะเบียนต ารับยาที่ใช้

รักษา ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น”

๓๓๔

“ส่วนการคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ทั่วประเทศเกือบสามแสนคน ทางสมาคมได้จัดท าโครงการนักรบเสื้อขาวสู้ภัย

โควิด-๑๙ เพื่อจัดท ากรมธรรม์ประกันชีวิตให้กับ แพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติหน้าที่ หากติดเชื้อและเสียชีวิตจะได้รับ

การคุ้มครอง ๕ ล้านบาท ล่าสุดได้รับการสนับสนุนจากบริษัทเอกชน (บีทีเอส) จ านวน ๖๐ ล้านบาท โดยบุคลากรทาง

การแพทย์ที่ลงทะเบียนไว้กับแพทยสมาคมและสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย จ านวนประมาณ ๒๘๐,๐๐๐ คน ซึ่ง

จะคุ้มครองแพทย์และพยาบาลทั้งหมดในระยะเวลา ๑ ปี แม้ว่าที่ผ่านมามีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ มีการจัดท า

ประกันชีวิตให้บุคลากรทางการแพทย์แล้ว แต่ยังไม่ครอบคลุม โดยรวมถึงแพทย์ที่เกษียณอายุ ผู้ช่วยพยาบาล

นักรังสีเทคนิค เทคนิคการแพทย์ ประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานกับโรงพยาบาล เพื่อขอ

ข้อมูลจัดท าประกันชีวิตให้ด้วย โดยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงและจ านวนผู้เอาประกันน่าจะน้อยกว่ากลุ่มแรก”

๓๓๗

Nation TV Live #รายการคมชัดลึก คืนนี้...ห้ามพลาด!!!

วันพุธที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๓ นักรบเสื้อขาวทุ่มเทเพื่อเรา แล้วเราคนไทยทุ่มเทเพื่อใคร?

สนทนากับ

๑. ศ.เกียรติคุณ พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภาและผู้อ านวยการส านักงานแพทยสมาคมฯ

๒. ศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ อดีตนายกแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทยฯ

๓. นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์ ผู้อ านวยการศูนย์สนับสนุนนักรบเสื้อขาวสู้ภัย COVID-19

ด าเนินรายการโดย

๔. คุณวรเทพ สุวัฒนพิมพ์(คุณต้น)

ห้ามพลาด ! ใน รายการคมชัดลึก คืนนี้เวลา ๒๒:๓๐ น.

NationTV

CH22

๓๓๙

เมื่อ นพ.ชัยวัฒน์ เตชะไพฑูรย์นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์และ อสม. ไปออกข่าวทีวี เนชั่น คุยเรื่อง กองทุน อสม.

และ ศ.นพ. อมร ลีลารัศมี ไปคุยเรื่องเงื่อนไขผ่อนปรนการเปิดผับบาร์ สถานบันเทิง สงครามแย่งวัคซีนโควิด-๑๙

ข่าวอยู่ใน //youtube/9HLz7Bs447o

๓๔๒

VIETNAM MEDICAL ASSOCIATION

68A, Ba Trieu, Hoan Kiem, Ha Noi, Vietnam

Tel: 84-24-39439323

Email: [email protected]; Website:

www.tonghoiyhoc.vn

To:

Brunei Medical Association

Cambodian Medical Association

Indonesian Medical Association

Lao Medical Association

Malaysian Medical Association

Myanmar Medical Association

Phillippine Medical Association

Singapore Medical Association

Medical Association of Thailand

Hanoi, 7 May 2020

Dear Presidents of the MASEAN members,

In the complicated and unpredictable situation of Covid-19 epidemic on a global

scale, the number of infected people and deaths increased, there was no sign of

stopping and profound impact on all aspects of social - economic life of all

nations. As an active and responsible member of the World Medical

Association, the Medical Association of South East Asian Nations, the Vietnam

Medical Association expressed its interest, sharing, deep sympathy with the

responsible efforts and coordination of the MASEAN members in the prevention

of the Covid-19 pandemic. With the goal of working together to overcome the

Covid-19 pandemic, in order to effectively control and stop the spread,

proactively prevent and respond to epidemics, the President of the MASEAN

term. 2018-2020 call for:

1. Presidents of the MASEAN members continue to unite their actions and

contribute to the Government and the health sector to work together to overcome

the Covid-19 pandemic and share the burden of the healthcare system in each

country.

2. Create a forum for exchanging and sharing experiences and initiatives in

combating the Covid-19 pandemic in a way that is most appropriate for ASEAN

countries.

In Vietnam, up to 22 April 2020 there were 268 cases, of which, the number of

cases reported to be cured was 216. 52 patients were being treated at medical

facilities and there were no deaths. Up to now, Vietnam has 7 consecutive days

๓๔๕

no new cases being recorded. International media affirmed that Vietnam has

done very well in the fight against the Covid-19 epidemic, gaining the attention

and appreciation of the international public opinion. Having these results, the

Vietnam Medical Association would like to share some experiences in dealing

with the Covid-19 pandemic in Vietnam as follows:

1. The Government took the initiative in the prevention of Covid-19

epidemic

- The Government has established a National Steering Committee for Disease

Prevention and Combat Covid-19 led by Deputy Prime Minister Vu Duc Dam.

- Promptly issue 06 directives of the Prime Minister to direct epidemic

prevention and control in each period:

+ Directive No.05/CT-TTg dated 28 January 2020 on the prevention and control

of acute respiratory infections caused by new strains of Corona virus.

+ Directive No.06/CT-TTg dated 31 January 2020 on strengthening prevention

and control measures against the nCoV epidemic.

+ Directive No.10/CT-TTg dated 25 February 2020 on enhancement of Covid19 prevention and control

+ Directive No.13/CT-TTg dated 11 March 2020 on continuing to promote the

prevention and control of Covid-19 epidemic in the new situation.

+ Directive No.15/CT-TTg dated 27 March 2020 of the Prime Minister on

drastically implementing the peak wave of prevention and control of Covid-19

epidemic

+ Directive No.16/CT-TTg dated 31 March 2020 of the Prime Minister on the

implementation of urgent measures to prevent and control Covid-19

- General Secretary and President Nguyen Phu Trong called on the entire

Vietnamese people to work together and overcome all difficulties and challenges

to overcome the Covid-19 epidemic.

2. Mobilize the entire society's participation and anti-epidemic efforts on all

fronts

- Vietnam's success in controlling Covid-19 is mobilizing the participation of the

whole society, especially the army, healthcare, police, education, other

ministries and industries participate in epidemic prevention.

- From the outset, Vietnam implemented strict quarantine measures and

monitored all people who had contact with people infected with Covid-19.

Anyone from a high-risk area to Vietnam must be isolated for 14 days. The

entire population strictly wears masks when leaving the house, isolating society

in line with the epidemic situation since 1

st April 2020.

- Shutting down schools, cinemas, clubs and bars, massage parlors, karaoke

rooms and online game centers in urban areas. Restrict flights, suspend visa

exemption for citizens of some countries ...

๓๔๖

- The Central Committee of the Vietnam Fatherland Front has launched the Call

for \"All people to support the prevention and control of COVID-19\", which is

supported by the whole society, many organizations and individuals. many

forms and initiatives such as: Directly supporting, sending messages, organizing

mask distribution sites, distributing rice, free food ... to support people. Amounts

and exhibits allocated by The Central Committee of the Vietnam Fatherland

Front to Ministry of Health, Ministry of Public Security, and Ministry of

National Defense for epidemic prevention.

3. Attach much importance to the information and propaganda

- Vietnam has taken measures to prevent epidemics and transparency, especially

the timely notification of the epidemic situation, continuously sending messages

and preventive measures to people to limit the spread of epidemics.

- Vietnam's Ministry of Health regularly sends messages about Covid-19

epidemic and instructions on how to prevent disease, wash hands, wear a mask

and stay healthy.

- The Government's effort to fight Covid-19 has received the support of the

people, reflected in the strict implementation of the regulation of \"social

isolation\", posts on social networks to encourage the health workers, or sharing

propaganda messages: \"At home is patriotism\".

4. Activities of the Vietnam Medical Association

Right from the first days of outbreak detection, the Vietnam Medical

Association has actively participated and contributed with the Government, all

levels, ministries, branches and localities to implement many synchronous

measures and have gained many positive results in preventing and limiting the

rate of spread of Covid-19 disease, namely:

- Direct the member associations and NGO organizations under the Vietnam

Medical Association to popularize the members to strictly implement the Call of

the General Secretary and President Nguyen Phu Trong; implementing the

instructions of the Prime Minister, Head of the National Steering Committee for

Disease Prevention and Control Covid-19; guidance of the Central Committee of

Vietnam Fatherland Front and Central Committee for External Relations and

Vietnam Union of Science and Technology Associations on the implementation

of urgent measures to prevent and control Covid-19.

- President of Vietnam Medical Association attended a number of meetings of of

the National Steering Committee for Disease Prevention and Control Covid-19;

at the same time directly propagating the prevention of Covid-19 epidemic on

the television channel VTV1.

- To assign the Center for Communication and Community Health Care under

the Vietnam Medical Association with the Vietnam Institute of Applied

Medicine to promptly publish the newsletters on the website of Vietnam

Medical Association on the situation of epidemics and measures for people to

๓๔๗

proactively prevent and fight epidemics under the direction of the Prime

Minister, the Head of the National Steering Committee for the Prevention of

Epidemic Diseases caused by new strains of Corona virus and recommendations

of the World Health Organization.

- Member associations and NGOs directly under the Vietnam Medical

Association such as Vietnam Infectious Association, Vietnam Association of

Preventive Medicine in collaboration with Central Tropical Diseases Hospital,

Institute of Defense Epidemiology of the Central Government and concerned

units actively take measures to prevent and control epidemics; coordinate with

Departments of the Ministry of Health to develop a Guideline for diagnosis and

treatment of acute respiratory infections caused by Covid-19, contributing to

protecting people's health and lives, minimizing the rate of transmission and

death caused by disease.

- Calling the member associations and NGOs to respond positively to the Call of

General Secretary and President Nguyen Phu Trong, with the spirit of respecting

the health and life of children who is above all, unite one heart, unify the will

and action, carry out drastically and effectively the undertakings of the Party and

the State, the direction and administration of the Government, the Prime

Minister, the Head National Steering Committee for Disease Prevention and

Control Covid-19. Willing to mobilize human resources, members who are

doctors, nurses, health workers and retired, healthy people to participate in first

aid, medical examination and epidemic prevention when required. Each member

is a soldier on the front of disease prevention.

- To mobilize officials of the Vietnam Medical Association and its member

associations to organize donations to prevent and control Covid-19 epidemics at

the launch of the Central Committee of Vietnam Fatherland Front and the Prime

Minister's call.

Due to social isolation conditions, the MASEAN members can share

information, exchange experiences and creativity in combating this pandemic

through forums or send one another research papers related to Covid 19 or

submitted to the Editorial Board of Masean Magazine for review and

publication.

Wishing you all the best and warmest regards,

Assoc. Prof. Nguyen Thi Xuyen,

President of Masean (2018-2020)

๓๔๘

Control Measures of COVID-19 Outbreak in Thailand by the

Government, MOPH, the Medical Association of Thailand, Thai

Medical Council and Other Thai Health Organizations

Reported by the Medical Association of Thailand (MAT)

Since the response plan has been frequently set up or adjusted according to

the daily change of the spreading status of COVID-19, the MAT will report the

situations of COVID-19 by month and the response plans with all activities in detail

that have been set up and executed in each month according to the outbreak status.

In addition, the current president of the MAT is also an infectious disease

specialist, hence the MAT has been involved in several activities including joining

the official meetings in order to help the Thai Government, the prime minister of

Thailand and the Ministry of Public Health (MOPH) cope with the situation of

COVID-19 in Thailand and to stimulate clinical research needed to solve the urgent

clinical problems.

Initial Timeline of COVID-19 by WHO from December to 13th January 2020

31 Dec 2019

 Wuhan Municipal Health Commission, China, reported a cluster of cases of

pneumonia in Wuhan, Hubei Province. A novel coronavirus was eventually

identified.

1 January 2020

 WHO had set up the IMST (Incident Management Support Team) across the

three levels of the organization: headquarters, regional headquarters and

country level, putting the organization on an emergency footing for dealing

with the outbreak.

4 January 2020

 WHO reported on social media that there was a cluster of pneumonia cases –

with no deaths – in Wuhan, Hubei province.

12 January 2020

 China publicly shared the genetic sequence of COVID-19.

13 January 2020

 Officials confirmed a case of COVID-19 in Thailand, the first recorded case

outside of China. (In fact, local Thai news already reported this case on

January 8, 2020)

๓๕๐

The Situation in January 2020 (just start!! Keep a vigilant eye at the airport and

country borders)

Since late December, the news from China that many cases with unknown

cause of severe pneumonia in Wuhan city, caused a lot of concern to many officers

in Department of Disease control (DDC), Thai MOPH since it was known that many

Chinese tourists coming to Thailand, departed from Wuhan city in China where it

become the center of the disease outbreak. The disease was referred to severe viral

pneumonia but the type and the cause of it were unknown by then.

Strategic preparedness and response plan from the Government, MOPH, the

Thai Medical Council and the Thai Medical Association of Thailand

 The DDC set up a team to check up the febrile Chinese tourists at the entrance

to Suvarnabhumi International Airport.

 The Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute of MOPH was activated to

respond to a possible admission of the first case of COVID-19.

By January 8, 2020 a tourist from China just landed in Bangkok with a

temperature over 37.5° C, a possible sign of a deadly new disease. This was the first

case of suspected COVID-19 landed and detected at Suvarnabhumi International

Airport and later admitted at Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute on the

same day. This case was later confirmed as Thailand’s first COVID-19 case on

January 13, 2020. At first, all nurses designated to go to the airport to pick up this

case, had put on Personal Protection Equipment, consisting of an overall, N95 mask,

goggles, a face shield, a hat, a pair of plastic socks, boots and gloves. Everyone

helped each other check that they were all properly in place before the team went off

in an ambulance heading to take care of this case. This was the first time, the medical

team from Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute started to fight against the

infection, later named COVID-19 by WHO.

By the late January 2020, the news on COVID-19 in China took up the first

front page of every newspaper in Thailand.

Since the disease was frightening to the Thai public as it was being spread

quickly, the first thing that came up to mind from all people and medical team was

to have all essential medical equipment ready to protect them from contracting the

disease. The MOPH and government urgently needed to provide and store them for

the medical personnel to cover an approximate use for at least one-three months and

even to provide more negative pressure rooms to isolate and keep the patients inside.

All protective medical devices were listed such as

 Personal protection equipment

 N95 masks

 Surgical masks

๓๕๑

 Alcohol hand rub and gel

 Face shield

And they were being ordered to keep in stock in the hospitals. Thai people were also

being alert to begin protect themselves from the disease by wearing facial masks and

kept on alert for the information of the epidemic.

The Medical Association of Thailand (MAT) and Thai Medical Council

(TMC) started to educate people about the disease, disease prevention with strict

respiratory hygiene and tried to calm down the scary mood of the public. In addition,

the MAT and TMC advised medical doctors how to treat the case if they found one.

The Situation in February 2020 (Public frightening mood escalated, the first batch

of Thai people returned from Wuhan, China)

The situation was being viewed by Thai community as an eminent crisis. In

early February, it was found that other four Chinese airline passengers from China’s

Hubei province, and one Thai citizen – a taxi driver – have now been confirmed as

infected with the novel coronavirus announced in a briefing in Bangkok. This

announcement was made in the first week of February and brought the current toll

of confirmed coronavirus cases in the Kingdom to 19 cases.

Of note, the taxi driver was the first instance of a local human-to-human viral

transmission. The driver had never travelled to China, let alone since mid-December

when the Wuhan coronavirus was first identified. Since his diagnosis, Thai health

officials had traced 13 people who had been in close contact with the taxi driver, but

none had tested positive for the virus at this stage.

On 4 February 2020, at 20:30 hrs., the special flight operated by Thai Air Asia

to bring back Thais in Wuhan and Hubei, China, safely landed at U-Tapao RayongPattaya International Airport with 138 Thais from Wuhan and Hubei. Also on board

were seven medical personnel from the Ministry of Public Health, two officials from

the Ministry of Foreign Affairs, and three officials from the Royal Thai Embassy in

Beijing, earlier dispatched to Wuhan to facilitate the return of the Thais in Wuhan

and Hubei. All passengers and crew travelling with this flight passed through

screening procedure for signs and symptoms associated with the 2019 novel

coronavirus, as required by the Ministry of Public Health. The return of Thai

nationals or workers in other countries was also considered to be done. They were

quarantined for 14 days at a seaside resort in Sattahip naval base area.

The total number of laboratory confirmed COVID-19 cases reported at the

end of February stood at 42 (including 10 locally transmitted cases), of which 28 had

recovered and 14 remained in hospital. Two patients were still severely unwell. The

cumulative number of PUIs stood at 2,798 PUIs.

๓๕๒

Strategic preparedness and response plan from the Government, MOPH, the

Thai Medical Council and Thai Medical Association of Thailand

The DDC, MOPH kept monitoring and detected more cases from international

travelers at the airports and country borders who came from any countries reported

to have COVID-19 endemics. Those who had fever, were isolated and treated at

Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute or Rajavithi Hospital. The Department

of Medical Science, MOPH collaborated with medical schools to develop the

diagnostic test for SARS-CoV2 using the RT-PCR technique.

The MOPH had announced and designated COVID-19 as a dangerous

communicable disease according to the provisions in Sections 5 and 6 of the

Communicable Disease Act. It was published in the Royal Gazette and took effect

on Sunday, 1st March 2020. This gave legal authority to communicable disease

officers to test, treat and quarantine people infected with COVID-19 as well as high

risk contacts if needed.

Since then, the Medical Association of Thailand as well as all health

organizations and MOPH together continuously educated medical personnel and

Thai people through social media and television about the disease and emphasized

personal measurements which played the most important role in containing the

outbreak and was responding to queries from media and the general public. People

were asked to protect themselves and members of the family and friends among

them, by strictly following practices such as wearing a cloth or surgical masks

outside the house, frequent hand washing, avoiding touching one own face, coughing

๓๕๓

or sneezing into sleeves, maintaining a distance of 2 meters from unknown people,

and staying at home or work from home as much as possible. All the annual meeting

organized by health academic colleges, society or association were requested to

postpone for an unknown period to avoid mass gathering. The public was urged to

do their parts to stop or even end the outbreak, and protected Thailand’s healthcare

workers and public health system from overwhelming workload due to the possible

COVID-19 outbreak in the Kingdom.

Of note at this time, facial or surgical masks began to shift or move to black

market and finding even a few hundred masks proved very difficult. People were

told that the masks were all sold out and the price if there was any, was at least more

than three-five folds from the ordinary price. The government has intervened the

market and bought facial masks to be distributed to health personnel.

The Situation in March 2020 (the expected peak has finally come!!!)

At the beginning of March, the daily newly infected cases were reported to be

below ten cases per day until the mid of March. Then up to the 28th of March 2020,

109 new cases of laboratory-confirmed COVID-19 had been announced, bringing

the total number of cases to 1,245. Most newly reported cases were related to

previously reported clusters but others had returned from abroad or had occupational

exposure to large numbers of people (spa, hotel, boxing stadium, restaurant, shops).

The news that many unauthorized workers in South Korea requested to return to

Thailand in the early March and many of them got infected with COVID-19 even

before returning to Thailand, caused a national intensely debate whether how to best

deal with this group.

At this time, two new cases were health personnel. The total number of COVID19 cases in healthcare workers was eleven by then, but several of these individuals

may have been exposed in community settings.

 Of the 76 provinces in the country, 57 had now reported cases. The proportion

of COVID-19 cases detected outside of Bangkok wasincreasing further; cases

had now been reported in 3/4 of Thailand’s provinces.

Swift and decisive Strategic preparedness and response plan from the

Government, MOPH, the Thai Medical Council and Thai Medical Association

of Thailand

The COVID-19 spreading in Thailand was considered unavoidable and

possibly escalating by the medical authorities. All health authority in Thailand

agreed to postpone all the annual meeting to stop local COVID-19 spreading unless

strong measures to contain the disease were urgently established.

On March 3, 2020 The Prime Minister had issued 14 urgent measures to

handle the Covid-19 situation.

๓๕๔

1. State agencies must strictly enforce the Public Health Ministry’s measures and

guidelines on the outbreak and, if need be, could also issue their own internal

measures.

2. State officials had to suspend or postpone overseas official trips in countries

where the virus was spreading and countries being monitored by the Public

Health Ministry. If they could not cancel the trips, they needed permission from

their heads or related agencies to go on the trips.

3. State employees who had returned to Thailand from countries at risk or had

transited these countries or suspected to have contracted the virus could work at

home for 14 days to observe their condition; the work at home was not be

regarded as taking a leave.

4. An information centre was set up at Government House to integrate information

from all agencies and received complaints as well as provided the right

information to the public regarding the virus.

5. The Commerce, Public Health, and Industry ministries jointly evaluated the

demand for products needed for preventing the situation from escalating, such as

gels and masks, and provided these to sufficiently cater to public needs.

6. The Commerce Ministry must prevent hoarding of such products both online and

in shops/stores.

7. Transport agencies and local administrative bodies must strictly screen

passengers at key areas such as airports, train stations and bus stations.

8. The Labor and Foreign ministries had to closely monitor and took care of Thais

living in the countries hit by the virus.

9. The Interior and Defence ministries prepared locations for quarantine and

observed the condition of people who had returned to Thailand or those who were

suspected of having been infected.

10.In case the Public Health Ministry and related agencies had to procure medical

equipment needed to handle the outbreak, they could coordinate with the Budge

Bureau to ask for more money.

11.The committee preparing the prevention of and solutions for the coronarivus held

a meeting on a regular basis and constantly updated the PM on the situation.

12.The Public Health Ministry must take care of medical personnel and staff and

provided them with special welfare to boost their morale.

13.The Interior and Public Health ministries had to integrate their information on the

situation.

14.State agencies seek the cooperation of private companies to avoid or postpone

activities that saw a mass gathering of people, which might expose them to the

risk of virus infection.

๓๕๕

On Monday morning of March 16, 2020, The government had a dialogue with

seven leading doctors in Thailand (two from the MAT) to discuss and find

appropriate measures to fight the new coronavirus (Covid-19). Prime Minister sat

with the top doctors to hear their suggestions on the right way to deal with this virus

crisis. The doctors who attended the meeting were: Clinical Professor Emeritus Dr.

Piyasakol Sakolsatayadorn, Clinical Professor Dr. Udom Kachintorn, Prof. Dr.

Yong Poovorawan, Prof. Dr. Amorn Leelarasamee and Prof. Dr. Somsri Pausawasdi.

These doctors had supported the 14 urgent actions and encouraged the government

to issue new critical measures and implement strong decisions such as cancelling the

Songkran holidays and closing entertainment venues, boxing stadium to stop Covid19 from further spreading. Top-down and bottom-up of enforcements of quarantine

and social distancing were emphasized and asked every official units and public to

comply with. The prime minister was reassured to take “Health priority before the

Economy” in the middle of the COVID-19 crisis.

On March 17, 2020, the Prime Minister announced the closure of schools,

universities, department stores, retailing shops, sports venues, pubs and

entertainment centres in the Bangkok metropolitan area, the first mass social

distancing strategy implemented by Thailand to contain the possible spread of

transmission. One week later, the prime minister declares a state of emergency firstly

from March 26 to April 26, 2020, and set up a COVID-19 center for the resolution

of the emergency situation to oversee the operation. Later on the government also

issued an Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations

which was used and expanded to the end of June 2020.

The MOPH had expanded the diagnostic facilities with the medical schools

and private sectors to provide more tests available for PUI and newly febrile patients

with URI symptoms. Together with the leading academicians, the MOPH had issued

several clinical practice guidelines on how to deal with and diagnose the persons

under investigation and quarantine, how to diagnose and treat patients with COVID19 and to provide all medical equipment necessary to cope with the increasing

demand of protective device among the provincial hospitals.

The Thai sub-national public health capacity was robust, including extensive

networks of Rapid Response Teams and Village Health Volunteers. These networks

worked relentlessly to identify suspected cases, ensured they were quickly isolated

from others, treated them and traced and quarantined their close contacts. Rapidly

separating infected persons from others minimized opportunities for spread of the

virus and was effective in preventing disease in the population.

Even in the worst case scenario, the MAT provided an active life insurance

policy for every Thai doctors and nurses, certain medical personnel in Thailand who

were to die due to their frontline duties on caring patients with COVID-19, their

๓๕๖

families would receive the death benefit of 1-5 million Baht. The covering insurance

duration was from April to March 2021. There was also similar funding for Village

Health Volunteers from the MOPH if they unfortunately died due to their duties on

COVID-19 surveillance, contact tracing and case detection and reporting to the

DDC, MOPH.

Public was emphasized frequently through social media, newspaper,

television everyday on the necessary action everyone must take to contain the

disease:

1. Everyone can play their part by staying at home when possible, maintaining

1-2 m distance from others if they must go out, washing hands frequently with

soap and water or an alcohol-based sanitizer, avoiding touching the mouth and

nose, and observing respiratory hygiene (coughing into flexed elbow or a

tissue which is disposed of safely).

2. Anyone who has recently travelled to any province from Bangkok in the past

14 days, and who develops symptoms of COVID-19, should separate

themselves from others, wear a mask and seek medical attention immediately.

The Prime Minister and Defense Minister, held video conference with the cabinet

for the first time, endorsed measures to control and prevent the spread of COVID19.

๓๕๗

The Situation in April-May 2020 (just follow the master plan of control measures

established in March)

Newly infected cases seemed to escalate to more than 100 cases in the first

two weeks of April according to official daily report. Field hospitals were being

prepared to set up in many provinces if the country failed to contain the COVID-19

and the government had made sure that there were enough medical supplies, beds

including ventilators.

However, the reported cases began to stabilize and decrease in the last two

weeks of April and in May, though more RT-PCR tests were even more available to

the public demand and performed among the high risk population in Government

and private hospitals.

Strategic preparedness and response plan from the Government, MOPH, the

Thai Medical Council and Thai Medical Association of Thailand

Since the decisive, bold and straightforward response plan were clearly

established in the mid of March, the actions taken in April to June to the response

went in line with the March master plan of response.

 The Ministry of Public Health had allocated 1.5 million surgical masks

(approximately adequate for a one-month supply) for health facilities,

including those not under the Ministry.

 The current stock of N95 masks held by the Ministry of Public Health might

not be enough to meet current demand, and due to very high global demand,

procurement was a challenge. Urgent research was being undertaken on the

efficiency of UVC irradiation for N95 disinfection and reuse.

 The General Pharmaceutical Organization had procured 240,000 doses of

Favipiravir from Japan (40,000 delivered on 30 March, 200,000 delivered in

April) and 100,000 doses from China, delivered in April

 The Bangkok municipality had more than 1,000 beds available as well as a

reserve of 1,000 beds in other locations (such as hotels). It also had a reserve

of 300 ventilators identified through a network of hospitals. At the provincial

level, there was a reserve of 10,000 beds and 1,000 ventilators.

 The declaration of the state of emergency still in place.

 Nightly curfew was implemented from 10:00 p.m. to 4:00 a.m.

 People in risk areas should not return to their home provinces at this time. If

they have to travel, they are required to go through the screening process and

may need 14-day quarantine.

 International flights will remain locked out until except for the special

agreement until the end of June but domestic flights are allowed from June.

 Thailand remains under emergency decree until the end of June

๓๕๘

 Thai government urges the public to comply with contact-tracing system

“Thai Shana” digital platform available in Thai and English using one own

mobile phone to “checked in” and “check out” at various business area or

department stores.

 The Transport Ministry allowed all public transport, including buses, trains

and planes to resume, to meet the people’s demand for travel, with the

exception of some provinces that have not ended lockdown measures. The

ministry’s deputy permanent secretary said the move was in line with the

Centre for Covid-19 Situation Administration’s third phase of relaxation of

Emergency Decree restrictions but public transport operators were required to

enforce the ministry’s Covid-19 preventive measures, such as maintaining

social distancing, wearing facemasks, providing sanitizing gels, and using the

Thai Chana app to monitor public movement.

 Visitors to Thailand traveling from affected areas are being screened and

provided information upon arrival by the Ministry of Public Health, including

how to report any possible illness to the Department of Disease Control using

the 1422 hotline.

 The Ministry has also introduced a self-reporting online tool, available in

Thai, English and Chinese called “Thai Shana” digital platform.

 At least 47 provinces had a ban on the sale of alcohol to reduce the risk of

social gatherings at home or in a community.

 From February until June 6, 2020, more than 400,000 samples had been tested

with RT-PCR method, the majority through private hospitals. In total, more

than 160 laboratories had been certified for COVID-19 testing. At present,

approximately 20,000 samples can be tested in a day (10,000 in Bangkok, and

10,000 in the provinces).

 The Ministry of Public Health establishes telemedicine services and it is

currently being piloted in 27 hospitals, mostly located in or nearby Bangkok

to enhance social distancing to perform on-line consultation via a video call

and home delivery of medicine at no additional costs, other than costs of

delivery.

 Thailand is in the initial stages of vaccine development. The vaccination

‘Team Thailand’ includes the academic sector, government research institutes

and private companies which developing various types of vaccine. The

vaccine against COVID-19 are being tested in Thailand with collaboration

from international company

๓๕๙

 In the immediate future, entry to Thailand will be determined on the following

basis until July 1, 2020:

o Thai nationals will need to produce:

 A Medical certificate that they are fit to travel

 Certificate to enter to Thailand (issued by the Thai Embassy)

 They must accept mandatory quarantine for 14 days

 They may only enter Thailand on designated dates and points of

entry.

o Non-Thais

 Are not permitted to enter Thailand except diplomats and those

who have a work permit.

 Details of these regulations have been sent to all diplomatic

missions in Thailand.

 The president of the MAT appeared several times on many TV channels to

give opinion and answered how to deal with each question asked by the public.

 The president of the MAT also presided on several research meetings on

COVID-19 at the Health System Research Institute to guide the research

direction on many proposals and provided funding, a total of approximately

30 million Baht.

This recommendations and advice for the public were frequently showed or

repeated on social media and newspaper. A common motto displayed almost

everywhere in Thailand: “You stay at home for doctors, Doctors stay at the hospital

for you!!)

• Remain inside your home. Leave your home only for essential activities (e.g.

medical care, purchase food).

• Always try to maintain a distance of at least 1 meter from all other persons.

• Wash your hands frequently. An alcohol-based hand rub is also effective

• Do not touch your eyes, nose or mouth.

• If unwell, wear a mask. Do not use N95 respirators as supplies are limited and they

are critically needed for healthcare workers.

• Cough or sneeze into your elbow or a clean tissue. Dispose of tissues immediately

and wash your hands.

• Do not shake hands, embrace, share eating utensils or smoking devices with other

people.

• Keep all commonly touched surfaces clean. Advice on cleaning practices and the

survivability of the SARSCoV-2 virus on surfaces & in different settings is available

• Avoiding close contact with people suffering from acute respiratory infections.

• Avoiding unprotected contact with farm or wild animals.

๓๖๐

The situation in June-July 2020 (after the battle, we won!!)

From the end of May to June, a newly infected case was reported to be less

than 5 cases per day. Imported cases under state quarantine were found to be the

infected cases. No local human to human transmission was discovered. Hence a

gradual easing of lockdown measures and business restriction that had been planned

into three steps, were implemented. It is reassured that in July, all existing COVID19 lockdown measures will be lifted, including international flight restrictions and a

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด