กลไลการท างานของ growth hormone ท ม ผลต อการเจร ญเต บโต

2. ในขั้นตอนการกรอกแบบฟอร์มการสมัครสมาชิกเว็บไซต์เพชรเวช โดยท่านจะต้องกรอกข้อมูลตามความเป็นจริง โดยท่านจะต้องยอมรับข้อกำหนดและข้อตกลงในการใช้บริการ โดยการกดปุ่ม "ยอมรับ" เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวใด ๆ ขอให้ท่านเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวจากปุ่ม "ข้อมูลส่วนตัว" หรือ “Member Profile”

การลงทะเบียนขอเปิดบัญชีแทนบุคคลอื่นเป็นผู้รับบริการทางการแพทย์ 3. ท่านสามารถลงทะเบียนขอเปิดบัญชีแทนบุคคลอื่น เพื่อให้ผู้นั้นเป็นผู้รับบริการทางการแพทย์ ซึ่งอาจมีจำนวนมากกว่าหนึ่งคน และท่านต้องรับประกันว่าบุคคลอื่นนั้นต้องอยู่ในอำนาจปกครองและอยู่ในความดูแล หรือความรับผิดชอบของท่านโดยชอบด้วยกฎหมาย

4. หากทางเพชรเวชไม่ได้รับข้อมูลที่จำเป็นเพียงพอต่อการยืนยันตัวตน ความสัมพันธ์ ความยินยอม หรืออำนาจในการกระทำการแทนผู้รับบริการทางการแพทย์ เพชรเวชจะปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลเพื่อป้องกันการละเมิดระเบียบข้อบังคับของกฎหมาย

5. หากท่านเปิดบัญชีแทนผู้เยาว์ในขณะที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดให้ยินยอมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ด้วยตนเอง ท่านมีสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เยาว์ตามที่กฎหมายกำหนด และเมื่อผู้เยาว์มีอายุตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด (20 ปีบริบูรณ์) ทางเพชรเวชจะดำเนินการขอความยินยอมจากผู้เยาว์โดยตรง และทางเพชรเวชขอสงวนสิทธิ์ให้ผู้รับบริการทางการแพทย์ที่ท่านเปิดบัญชีแทนนั้นปรับสถานะเป็นผู้ใช้บริการด้วยตนเอง เมื่อมีเหตุจำเป็น

6. เพชรเวชขอสงวนสิทธิ์ในการให้บริการเว็บไซต์ หรือหยุดให้บริการเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ท่านทราบล่วงหน้า

กรณีที่ท่านเข้าสู่ระบบเพื่อทำการสั่งซื้อแพ็กเกจให้บุคคลอื่น 7. เพชรเวชขอสงวนสิทธิ์ในการส่งผลตรวจสุขภาพผ่านช่องทางอีเมลของผู้ทำการสั่งซื้อในหมวด “ซื้อให้ผู้อื่น” เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล

8. เพชรเวชจะทำการยืนยันอีเมลจากผู้เข้ารับการตรวจโดยตรงในวันที่เข้าใช้บริการ โดยจะส่งผลการตรวจสุขภาพไปทางอีเมลของผู้ใช้บริการ

9. ท่านสามารถชำระค่าใช้บริการทางการแพทย์ผ่านเว็บไซต์เพชรเวชนี้ โดยท่านจะต้องกรอกข้อมูลทางการเงินที่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนด โดยเพชรเวชจะไม่รับผิดชอบใด ๆ หากทางเราได้ดำเนินการถูกต้องตามคำสั่งการทำรายการของท่าน กรณีท่านมีความประสงค์ต้องการยกเลิกแพ็กเกจ ท่านจะต้องเสียค่าธรรมเนียม 2.1 % จากยอดชำระบริการทางการแพทย์ของเว็บไซต์เพชรเวช ยกเว้นท่านจะชำระผ่าน Credit card ต้องแจ้งยกเลิกก่อนเวลา 21:00 น. จึงจะสามารถคืนเงินเต็มราคาได้ โดยมีระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ 3-7 วัน

10. หากมีข้อผิดพลาดหรือท่านมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับข้อมูลผู้ใช้ หรือผู้รับบริการทางการแพทย์ ท่านจะแจ้งรายละเอียดดังกล่าวมายังเพชรเวชเพื่อยืนยันตรวจสอบแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว

ข้อกำหนดการใช้บริการและนโยบายความปลอดภัย 11. เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวของท่าน เพชรเวชจะเก็บรักษาชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน โดยไม่เปิดเผยข้อมูลแก่ผู้อื่น หากมีบุคคลอื่นล่วงรู้รหัสผ่านของท่านจากความประมาทของผู้ใช้เอง ควรแจ้งให้ทางเพชรเวชทราบโดยด่วน หากบุคคลอื่นใช้รหัสผ่านของท่านกระทำการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดข้อกฎหมาย ท่านจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกระทำดังกล่าวด้วยตนเอง

12. ในกรณีที่ผู้ใช้บริการไม่สะดวกรอรับผลการตรวจและข้อมูลทางการแพทย์ ทางเราจะส่งข้อมูลดังกล่าวไปยังอีเมลของบัญชีที่ได้ลงทะเบียนไว้ และบันทึกลงในประวัติการรักษาในส่วนของข้อมูลส่วนบุคคล

13. ท่านจะต้องไม่อัปโหลดข้อมูล หรือทำกิจกรรมที่เป็นอันตราย หรือเป็นการแทรกแซง ขัดขวางการทำงานของระบบภายในเว็บไซต์ หากทางเรามีการตรวจสอบว่าท่านได้ละเมิดข้อตกลงดังกล่าวท่านจะต้องชดใช้ค่าเสียหายแทนทางเพชรเวช

14. สมาชิกเว็บไซต์เพชรเวชจะไม่นำข้อมูลการใช้บริการไปใช้ในกิจกรรมที่ผิดกฎหมายเพื่อละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของสังคม เพชรเวชจะไม่รับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าว หากทางเพชรเวชพบว่าสมาชิกของเว็บไซต์ละเมิดข้อตกลงดังกล่าว ทางเราจะขอสงวนสิทธิ์ในการระงับการให้บริการกับสมาชิกท่านนั้นโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

15. หากเพชรเวชมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในการให้บริการจะแจ้งให้ท่านทราบ โดยการขึ้นหน้าจอ “ข้อตกลง” เพื่อให้ท่านรับทราบเงื่อนไขการใช้บริการและกด “ยอมรับ” เพื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่อไป ทางเพชรเวชจะถือว่าท่านทราบข้อตกลงและยอมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว แล้วจะไม่มีการฝ่าฝืนเงื่อนไขและข้อตกลงโดยอ้างว่าไม่ทราบไม่ได้

16. เว็บไซต์ของเพชรเวช (www.petcharavejhospital.com) อาจจะฝัง cookies ไว้ยังอุปกรณ์ของท่านเพื่อทำการเก็บข้อมูลส่วนตัวและติดตามการกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่านในอนาคต เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาเว็บไซต์ให้ตรงตามความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น หากผู้ใช้ไม่ต้องการให้ข้อมูลใด ๆ ที่ทางเว็บไซต์ร้องขอผู้ใช้สามารถปฏิเสธการรับ cookies นี้ได้ แต่ท่านยังคงสามารถเยี่ยมชมบริการและใช้บริการต่าง ๆ ได้เช่นกัน ยกเว้นข้อมูลที่เกี่ยวกับการสั่งซื้อแพ็กเกจสุขภาพ ทั้งนี้หากท่านยอมรับการเก็บ cookies แล้วท่านต้องการยกเลิกการให้ข้อมูลดังกล่าวท่านสามารถดำเนินการได้ด้วยการลบ cookies ได้ที่ประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ตามเบราว์เซอร์ที่ท่านใช้ได้ทันที

17. ทางเพชรเวชได้แปลคำศัพท์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่เกี่ยวกับเทคนิคทางการแพทย์เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าใจการวินิจฉัยโรคได้ง่าย ซึ่งคำศัพท์นั้นอาจจะไม่ตรงตามความหมายของเทคนิคการแพทย์โดยตรง หากท่านเกิดข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่โรงพยาบาลโดยตรง

“โกรทฮอร์โมน (growth hormone)” หรือ “ฮอร์โมนเจริญเติบโต” เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการเจริญเติบโตในเด็ก การขาดฮอร์โมนนี้หรือมีการหลั่งฮอร์โมนไม่เพียงพอจะทำให้เด็กเติบโตช้าและตัวเตี้ย การให้ยาโกรทฮอร์โมนทดแทนช่วยกระตุ้นให้เด็กเติบโตและมีส่วนสูงเพิ่มขึ้น ยาโกรทฮอร์โมนยังนำมาใช้รักษาภาวะเด็กตัวเตี้ยจากสาเหตุอื่นบางชนิด ในบทความนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสำคัญของโกรทฮอร์โมนต่อการเจริญเติบโตของเด็ก ยาโกรทฮอร์โมนชนิดที่นำมาใช้รักษาภาวะเด็กเติบโตช้าและเด็กตัวเตี้ย ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ผลไม่พึงประสงค์ของยา และข้อควรคำนึงเมื่อใช้ยาโกรทฮอร์โมน

กลไลการท างานของ growth hormone ท ม ผลต อการเจร ญเต บโต

ภาพจาก : https://paidiatreio.gr/images/arthra/diataraxes-ipsous/ipsos2.jpg

โกรทฮอร์โมนมีความสำคัญอย่างไร?

ในร่างกายโกรทฮอร์โมน (growth hormone หรือ somatotropin หรือ GH) เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากส่วนหน้าของต่อมใต้สมอง (anterior pituitary gland) โครงสร้างโกรทฮอร์โมนประกอบด้วยกรดอะมิโน 191 ตัว การหลั่งฮอร์โมนนี้เกิดขึ้นตลอดช่วงอายุของคนแต่ปริมาณที่หลั่งมีมากหรือน้อยแตกต่างไปตามวัย การหลั่งเกิดขึ้นมากในวัยเด็กซึ่งอยู่ในช่วงที่กำลังเจริญเติบโต เด็กเล็กมีฮอร์โมนนี้ในระดับสูงและการหลั่งเกิดมากขณะหลับ ในผู้ใหญ่มีการหลั่งฮอร์โมนลดลงโดยเฉพาะผู้สูงอายุ โกรทฮอร์โมนมีฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยมีผลต่อเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะเกือบทุกชนิด ทำให้กระดูกของเด็กเจริญยาวขึ้นและเด็กมีรูปร่างสูงใหญ่ ส่วนในผู้ใหญ่ซึ่งหยุดสูงแล้วฮอร์โมนนี้ทำให้กระดูกกว้างและหนา โกรทฮอร์โมนมีความสำคัญต่อเมแทบอลิซึม (หมายถึงกระบวนการสร้างและสลายสาร) ของโปรตีน คาร์โบไฮเดรตและไขมัน นอกจากนี้ยังมีความสำคัญต่อพัฒนาการและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนการเรียนรู้ เด็กที่ขาดฮอร์โมนนี้ (รวมถึงการหลั่งที่ไม่เพียงพอ) สิ่งที่ปรากฏชัดคือเด็กมีรูปร่างเตี้ยแคระ

เด็กเติบโตช้าและเด็กตัวเตี้ยเกิดจากสาเหตุใดบ้าง?

มีสาเหตุมากมายทำให้เด็กเติบโตช้าและ/หรือเด็กตัวเตี้ย เช่น พันธุกรรมจากพ่อและแม่ การขาดอาหาร การขาดโกรทฮอร์โมน การทำงานของต่อมเพศน้อย การเป็นโรคหรือมีความผิดปกติบางอย่าง หรือเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ

ภาวะเด็กเติบโตช้าและตัวเตี้ยเนื่องจากขาดโกรทฮอร์โมน จากที่กล่าวข้างต้นแล้วว่าโกรทฮอร์โมนช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเด็ก การขาดโกรทฮอร์โมนจึงทำให้เด็กเติบโตช้าและตัวเตี้ย การขาดฮอร์โมนอาจเป็นมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง และอาจขาดโกรทฮอร์โมนเพียงชนิดเดียวหรือขาดฮอร์โมนชนิดอื่นด้วย หากขาดฮอร์โมนชนิดอื่นด้วยต้องให้การรักษาความผิดปกติอื่นที่เกิดขึ้นนั้นเช่นเดียวกัน

ภาวะเด็กเติบโตช้าและตัวเตี้ยเนื่องจากสาเหตุอื่น สาเหตุที่เด็กเติบโตช้าและ/หรือเด็กตัวเตี้ย นอกเหนือจากพันธุกรรมของพ่อและแม่ การขาดอาหารและการขาดโกรทฮอร์โมนแล้ว อาจมีสาเหตุอย่างอื่น เช่น ภาวะต่อมเพศทำงานน้อย (hypogonadism) ในผู้ชาย, ภาวะมีไทรอยด์ฮอร์โมนน้อย (hypothyroidism), โรคไตเรื้อรัง, ภาวะทารกตัวเล็กตั้งแต่คลอดเมื่อเทียบกับทารกทั่วไปที่มีอายุครรภ์เท่ากัน (small for gestational age) ซึ่งโดยทั่วไปจะโตทันเกณฑ์ใน 2 ปีหรือไม่เกิน 4 ปี, ความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ตัวอย่างเช่น กลุ่มอาการนูแนน (Noonan syndrome) ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบางชนิด ทำให้มีความผิดปกติด้านการเจริญเติบโต ด้านโครงสร้างร่างกายและอวัยวะบางอย่าง ด้านการเรียนรู้และพัฒนาการต่าง ๆ, กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome) ในเพศหญิง ซึ่งมีความผิดปกติของโครโมโซมเอกซ์ (X chromosome) โดยมีแท่งหนึ่งหายไปบางส่วนหรือหายไปทั้งหมด ทำให้รังไข่ไม่ทำงาน ร่างกายมีพัฒนาการที่ผิดปกติและการเรียนรู้ด้อยลง, หรือภาวะเด็กตัวเตี้ยเกิดโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic short stature)

ยาโกรทฮอร์โมน

ในการใช้ยาโกรทฮอร์โมนเพื่อรักษาภาวะเด็กเติบโตช้าและเด็กตัวเตี้ยนั้น ต้องให้ยาก่อนที่ส่วนปลายของกระดูกยาว (epiphysis) จะเชื่อมปิดกัน ยาโกรทฮอร์โมนรุ่นแรกสกัดมาจากต่อมใต้สมองของคนที่เสียชีวิต นำมาใช้ในราวต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 เพื่อรักษาเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน เป็นยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ต่อมาในปี ค.ศ. 1985 พบว่ายาบางรุ่นมีการปนเปื้อนด้วยโปรตีนจากไวรัสทำให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง คือ โรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ (Creutzfeldt-Jakob disease) ผู้ป่วยเกิดภาวะสมองเสื่อม แม้จะเกิดขึ้นน้อยแต่การปนเปื้อนตรวจสอบได้ยาก ทั่วโลกจึงเลิกใช้ยาโกรทฮอร์โมนที่ผลิตโดยวิธีดังกล่าว และในปีเดียวกันได้เปลี่ยนมาใช้ยาโกรทฮอร์โมนชนิดที่ผลิตโดยกรรมวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ คือ รีคอมบิแนนต์โกรทฮอร์โมน (recombinant growth hormone หรือ rGH) ซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่าชนิดที่สกัดมาจากต่อมใต้สมองของคนที่เสียชีวิต

  1. โซมาเทรม (somatrem) เป็นรีคอมบิแนนต์โกรทฮอร์โมนที่มีกรดอะมิโน 192 ตัว ซึ่งเรียงตัวเหมือนโกรทฮอร์โมนของคนแต่มีกรดอะมิโนเพิ่มอีก 1 ตัว คือ เมไทโอนีน (methionine) ทางปลายด้านที่มีหมู่อะมิโน (N-terminus) ยานี้เริ่มใช้เมื่อปี ค.ศ. 1985 ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ปัจจุบันยานี้ถูกแทนที่ด้วยโซมาโทรพิน
  2. โซมาโทรพิน (somatropin) เป็นรีคอมบิแนนต์ฮิวแมนโกรทฮอร์โมน (recombinant human growth hormone หรือ rhGH) ที่มีกรดอะมิโน 191 ตัวและเรียงกันเหมือนโกรทฮอร์โมนของคน ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังทุกวัน (หรือฉีด 6 วันใน 1 สัปดาห์) ขนาดยาขึ้นกับความรุนแรงของการขาดโกรทฮอร์โมนโดยอยู่ในช่วง 0.025-0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว/วัน หรือ 0.7-1.4 มิลลิกรัม/ตารางเมตรผิวกาย/วัน ในบางกรณีอาจใช้ขนาดสูงกว่านี้ โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังบริเวณท้อง ต้นแขน สะโพกส่วนก้น หรือต้นขา ควรเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดในแต่ละครั้งเพื่อไม่ให้เกิดการฝ่อของเนื้อเยื่อไขมันตรงที่ฉีด ในเด็กที่เป็นโรคอ้วนแนะนำให้ใช้ขนาดยาตามพื้นที่ผิวกาย ปรับขนาดยาทุก 6-12 เดือนให้สอดคล้องกับการเติบโตของเด็ก โดยมีการติดตามวัดระดับไอจีเอฟ-1 ในซีรัม (ดูเรื่อง ไอจีเอฟ-1 ในหัวข้อ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของโกรทฮอร์โมน) เป็นประจำทุกปีหรือเมื่อมีการปรับขนาดยา ซึ่งไม่ควรเกินระดับสูงสุดของค่ามาตรฐาน แม้ว่าค่าไอจีเอฟ-1 จะสัมพันธ์กับประสิทธิภาพของยาในการกระตุ้นการเติบโต แต่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลไม่พึงประสงค์ หากมีระดับสูงเกินควรลดขนาดยาโกรทฮอร์โมนลง แต่ถ้ามีระดับไอจีเอฟ-1 ต่ำให้ประเมินการใช้ยาของผู้ป่วยว่าเป็นไปตามที่แนะนำหรือไม่ก่อนที่จะมีการปรับขนาดยา เนื่องจากส่วนใหญ่มักเกิดจากการใช้ยาไม่สม่ำเสมอ
  3. โลนาเพกโซมาโทรพิน (lonapegsomatropin) เป็นรีคอมบิแนนต์โกรทฮอร์โมนชนิดใหม่ โครงสร้างประกอบด้วยตัวยาโซมาโทรพินที่เชื่อมกับพาหะ (methoxypolyethylene glycol carrier) ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยตัวยาทีละน้อยอย่างช้า ๆ ทำให้ยาออกฤทธิ์ได้นาน ใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนังเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง จึงเพิ่มความสะดวก (ต่างจากยาโซมาโทรพินซึ่งต้องฉีดทุกวัน) ขณะนี้มีใช้แล้วในบางประเทศในข้อบ่งใช้สำหรับรักษาภาวะการเจริญเติบโตล้มเหลวเนื่องจากโกรทฮอร์โมนหลั่งไม่เพียงพอในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไปและมีน้ำหนักตัวไม่น้อยกว่า 11.5 กิโลกรัม ขนาดที่แนะนำคือ 0.24 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ฉีดเข้าใต้ผิวหนังสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยเปลี่ยนบริเวณที่ฉีดในแต่ละครั้งเพื่อไม่ให้เกิดการฝ่อของเนื้อเยื่อไขมันตรงที่ฉีด

ยาโกรทฮอร์โมนใช้กับใครบ้าง?

ยาโกรทฮอร์โมนนำมาใช้รักษาเด็กที่มีภาวะเติบโตช้าและเด็กตัวเตี้ยในหลายกรณีดังกล่าวข้างล่างนี้ อย่างไรก็ตามการใช้ในกรณีที่นอกเหนือจากรายที่ขาดโกรทฮอร์โมนนั้น ผลการศึกษาที่มาสนับสนุนประสิทธิภาพของยายังไม่ชัดเจนว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด

  1. เด็กเติบโตช้าและตัวเตี้ยเนื่องจากขาดโกรทฮอร์โมน (หรือหลั่งไม่เพียงพอ) หากได้รับการรักษาในช่วงอายุ 0-3 ปี (โดยเฉพาะหากมีอายุต่ำกว่า 12 เดือน) จะเห็นผลดีในการเพิ่มทั้งส่วนสูงและน้ำหนัก หยุดใช้ยาเมื่อส่วนปลายของกระดูกยาวเชื่อมปิดกันแล้ว
  2. เด็กตัวเตี้ยที่พบร่วมกับความผิดปกติอื่น (ตามที่กล่าวไว้ในหัวข้อ เด็กเติบโตช้าและเด็กตัวเตี้ยเกิดจากสาเหตุใดบ้าง?) เช่น กลุ่มอาการนูแนน (Noonan syndrome), กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome) มีการศึกษาที่สนับสนุนว่ายาโกรทฮอร์โมนช่วยให้เด็กตัวเตี้ยที่พบร่วมกับความผิดปกติที่กล่าวข้างต้นสูงเพิ่มขึ้นได้ (เช่น ในกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ความสูงเพิ่มอาจเพิ่มได้ 5-8 เซนติเมตร) อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายาโกรทฮอร์โมนช่วยเพิ่มความสูงได้เท่าใด เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้ได้รับยาเพื่อรักษาความผิดปกติอื่นร่วมด้วย
  3. เด็กตัวเตี้ยเนื่องจากมีภาวะทารกตัวเล็กตั้งแต่คลอดเมื่อเทียบกับทารกทั่วไปที่มีอายุครรภ์เท่ากัน (small for gestational age) ซึ่งเด็กโตไม่ทันเกณฑ์เมื่ออายุ 2-4 ปี อย่างไรก็ตามผลการรักษาอาจแตกต่างกันได้เนื่องจากพันธุกรรม อายุเด็กเมื่อเริ่มใช้ยา ระยะเวลาที่ใช้ยา หรือปัจจัยอื่น ๆ
  4. เด็กตัวเตี้ยโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งประสิทธิผลของยาที่รายงานพบว่ามีความแปรปรวนสูง

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของยาโกรทฮอร์โมน

ยาโกรทฮอร์โมนมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลายอย่าง ยาอาจแสดงฤทธิ์โดยตรงผ่านตัวรับ (GH receptor) ที่อยู่บนผิวเซลล์ หรือแสดงฤทธิ์ผ่านสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลิน คือไอจีเอฟ-1 (IGF-1 หรือ insulin-like growth factor-1 หรือ somatomedin C) ในเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนจะมีระดับไอจีเอฟ-1 ในซีรัมต่ำ การให้ยาโกรทฮอร์โมนทำให้ระดับไอจีเอฟ-1 สูงขึ้น จึงมีการติดตามวัดระดับไอจีเอฟ-1 ในซีรัมเพื่อประเมินประสิทธิภาพของยา ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของโกรทฮอร์โมนที่จะกล่าวถึง (เพื่อให้เกิดความเข้าใจทั้งด้านการนำยาไปใช้ประโยชน์และด้านผลไม่พึงประสงค์) มีดังนี้

  1. กระตุ้นการเจริญในระดับเซลล์ จนถึงระดับเนื้อเยื่อและอวัยวะ (ทั้งอวัยวะภายนอกและอวัยวะภายใน) ทำให้เด็กมีกล้ามเนื้อโครงร่างและกระดูกเจริญเติบโต มีรูปร่างสูงใหญ่ ซึ่งฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตและสร้างกล้ามเนื้อนี้ส่วนใหญ่ออกฤทธิ์ผ่านสารไอจีเอฟ-1
  2. กระตุ้นเมแทบอลิซึมของโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และอิเล็กโทรไลต์ โปรตีน: ทำให้เกิดการสร้างโปรตีนในร่างกาย (anabolic effect) และลดการสร้างยูเรีย โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนเสริมสร้าง ยาโกรทฮอร์โมนจึงเป็นสารต้องห้ามทางการกีฬา คาร์โบไฮเดรต: ทำให้เกิดการสลายไกลโคเจน (glycogen) มีการนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้มากขึ้นและทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ไขมัน: ทำให้เกิดการสลายไขมันไปเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ดังนั้นการที่ยาโกรทฮอร์โมนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อในขณะที่ลดเนื้อเยื่อไขมัน จึงมีการนำยาโกรทฮอร์โมนไปใช้ในทางที่ผิดในด้านการกีฬาเพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อโตขึ้นในขณะที่น้ำหนักไม่เพิ่มขึ้น (เนื่องจากมีเนื้อเยื่อไขมันลดลง) อิเล็กโทรไลต์: ทำให้เกิดการสะสมแมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียมและฟอสเฟตในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งฟอสเฟตเป็นส่วนประกอบของกระดูก ส่วนการสะสมโซเดียม (รวมถึงน้ำ) ทำให้มีความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
  3. ฤทธิ์อื่น ๆ เช่น เพิ่มจำนวนเม็ดเลือดแดง, เพิ่มการสร้างคอนดรอยตินซัลเฟต (chondroitin sulfate) ซึ่งสารนี้เป็นส่วนประกอบของกระดูกอ่อน, เพิ่มการสร้างคอลลาเจน (collagen), ลดการหลั่งฮอร์โมนไทโรโทรปิน (thyrotropin หรือ thyroid-stimulating hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน (thyroid hormone) ดังนั้นการใช้ยาโกรทฮอร์โมนจึงทำให้ไทรอยด์ฮอร์โมนหลั่งน้อยลง

ผลไม่พึงประสงค์ยาโกรทฮอร์โมน

ยาโกรทฮอร์โมนชนิดที่ใช้ในปัจจุบัน (รีคอมบิแนนต์ฮิวแมนโกรทฮอร์โมน) นั้นมีใช้มานานแล้ว เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัยโดยเฉพาะเมื่อใช้รักษาภาวะขาดโกรทฮอร์โมนในเด็ก พบผลไม่พึงประสงค์น้อยและส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง การใช้ยาเพื่อรักษาภาวะเด็กเติบโตช้าและตัวเตี้ยที่มีสาเหตุมาจากการขาดโกรทฮอร์โมนพบผลไม่พึงประสงค์ได้น้อยกว่าการใช้ยาเพื่อรักษาภาวะเด็กตัวเตี้ยจากสาเหตุอื่น ผลไม่พึงประสงค์ของยาโกรทฮอร์โมนที่อาจพบมีดังนี้