Gaviscon ม ก ชน ด ต างก นอย างไร

ห้ามกินร่วมกับยาดังต่อไปนี้ ถ้าจะกินให้เว้นช่วงห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

ยาฆ่าเชื้อเตตร้าไซคลีน เช่น Doxycycline , Minocycline

ยาฆ่าเชื้อกลุ่มควิโนโลน เช่น Norflox, Ciproflox, Levoflox, Moxifloxacin

ยารักษาโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มเบต้าบล็อคเกอร์ (Beta-Blocker) เช่น Atenolol

ยาที่เป็นแร่ธาตุอื่นๆ เช่น ธาตุเหล็ก สังกะสี

ทานเพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อนครับ โดยเมื่อกาวิสคอนเจอกับกรดในกระเพาะ ก็จะพองตัวเป็นโฟม ลอยขึ้นไปอุดหลอดอาหาร ทำให้กรดในกระเพาะไหลย้อนไปหลอดอาหารได้น้อยลง แต่เดี๋ยวนี้ เห็นเข้าใจกันว่า กินแล้วจะบรรเทาการแสบท้อง ปวดท้องได้ ซึ่งกาวิสคอนมันไม่ได้ช่วยตรงนี้ครับ ต้องใช้ยาลดกรด ตอนหลังกาวิสคอนจึงต้องมีสูตร Dual action สีชมพู ที่ใส่ยาลดกรดลงไปด้วย แต่ก็ได้ไม่เยอะ (เหมือนเกาไม่ถูกที่คันเท่าไหร่)

สรุปก็คือ หากคุณมีอาการปวดท้อง ก่อน/หลังมื้ออาหาร ท้องอืด แต่ไม่มีอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว แปลว่าคุณมีอาการกรดเกินในกระเพาะ ไม่ได้เป็นกรดไหลย้อน ยาลดกรดพวก Antacid จะบรรเทาอาการได้ดีกว่าครับ

กาวิสคอนดูอัลแอคชั่น ประกอบด้วย โซเดียม แอลจิเนต, โซเดียม ไบคาร์บอเนต, แคลเซียม คาร์บอเนต เมื่อรับประทานยานี้เข้าไปจะทำปฏิกิริยากับกรดในกระเพาะอาหารอย่างรวดเร็ว แล้วรวมตัวกันเป็นชั้นเจล แอลจีนิก แอซิด (ALGINIC ACID) ซึ่งมี pH ใกล้เคียงธรรมชาติ ลอยตัวเป็นแพอยู่บนของเหลวในกระเพาะอาหาร ซึ่งช่วยป้องกันภาวะกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ แคลเซียม คาร์บอเนต

กาวิสคอน ช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกจากโรคกรดไหลย้อน และอาหารไม่ย่อย เนื่องจากมีกรดมากเกินไป ในกระเพาะอาหาร โดยรวมตัวกันเป็นชั้นเจลลอยตัวอยู่ชั้นบนของกรดในกระเพาะ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้กรดใน กระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โซเดียม แอลจิเนตในกาวิสคอน สกัดมาจากสาหร่ายสีน้ำตาลในคาบสมุทร สแกนดิเนเวีย

กรดแอลจินิก (Alginic acid) ประกอบไปด้วยโมเลกุลของน้ำตาลมาจับเรียงตัวกันเป็นสายโซ่ยาว (Anionic polysaccharide) อาจเรียกในชื่ออื่นอีก เช่น แอลจิน (Algin) หรือแอลจิเนต (Alginate) พบได้มากในสาหร่ายสีน้ำตาล

กรดแอลจินิก ถูกนำมาแปรรูปเป็นเกลือของสารประกอบมีชื่อเรียกว่า โซเดียมแอลจิเนต(Sodium alginate) และถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมทอผ้า และผลิตภัณฑ์ยา

จากคุณลักษณะที่กรดแอลจินิกสามารถเปลี่ยนโครงสร้างเป็นเจลหรือฟิล์มบางๆ จึงถูกนำ มาผลิตเป็นยารักษาภาวะ/โรคกรดไหลย้อน ซึ่งในบ้านเราสามารถพบเห็นกรดแอลจินิกเป็นส่วน ผสมในรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำชนิดรับประทาน โดยมีส่วนผสมร่วมกับตัวยาลดกรดอื่น เช่น อะลู มิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium hydroxide) แคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium carbonate) แมก นีเซียมคาร์บอเนต (Magnesium carbonate) และโซเดียมคาร์บอเนต (Sodium carbonate) เป็นต้น ซึ่งยาชื่อการค้าที่มีกรดแอลจินิกเป็นส่วนประกอบ ที่เป็นที่รู้จักกันคือยากาวิสคอน (Gavis con)

อย่างไรก็ตาม ยาที่มีส่วนผสมของกรดแอลจินิก จัดอยู่ในทั้งหมวดยาอันตราย และยาไม่อันตราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการจดทะเบียนของบริษัทยา การรับประทานยาที่ถูกต้องตรงตามอาการของโรค จึงควรอยู่ภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์

กรดแอลจินิกมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

Gaviscon ม ก ชน ด ต างก นอย างไร

กรดแอลจินิกมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้:

  • รักษาและป้องกันภาวะ/โรคกรดไหลย้อน (GERD)
  • บรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกเนื่องจากภาวะกรดไหลย้อน

กรดแอลจินิกมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กรดแอลจินิกมีกลไกการออกฤทธิ์ โดยหลังรับประทานยาที่มีส่วนผสมของกรดแอลจินิก พบว่าจะมีการเปลี่ยนโครงสร้างของกรดแอลจินิกเป็นเจลและปกคลุมบริเวณกระเพาะอาหาร เพื่อป้องกันมิให้กรดไหลย้อนกลับเข้ามาที่หลอดอาหาร ส่วนยาลดกรดที่ผสมร่วมกันจะทำหน้าที่ลดความเป็นกรดในน้ำย่อย จึงทำให้มีฤทธิ์รักษาอาการกรดไหลย้อนตามสรรพคุณ

กรดแอลจินิกมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

กรดแอลจินิกมีรูปแบบการจัดจำหน่าย :

  • รูปแบบยาเม็ดที่ผสมร่วมกับยาลดกรด โดยมีส่วนประกอบของกรดแอลจินิก ขนาด 200 และ 250 มิลลิกรัม/เม็ด
  • รูปแบบยาน้ำแขวนตะกอน

กรดแอลจินิกมีขนาดรับประทานอย่างไร?

เนื่องจากสูตรตำรับยาที่มีส่วนผสมของกรดแอลจินิก มียาลดกรดที่แตกต่างกันดังนั้น ขนาดการรับประทานควรต้องเป็นไปตาม ฉลากยา/ เอกสารกำกับยาของแต่ละบริษัท แพทย์จะเป็นผู้กำหนดขนาดการรับประทานได้อย่างปลอดภัยและเหมาะสม ทั้งนี้รวมถึงการใช้ยาเหล่านี้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และในเด็ก (นิยามคำว่าเด็ก)

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยากรดแอลจินิก ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยา หรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยากรดแอลจินิก อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆหรืออาหารเสริมที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยากรดแอลจินิก สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

กรดแอลจินิกมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

กรดแอลจินิกที่เป็นส่วนประกอบของยาชนิดต่างๆ สามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผล ข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น

  • มีอาการสะอึก (สะอึก2)
  • ปวดท้อง
  • แน่นท้อง

มีข้อควรระวังการใช้กรดแอลจินิกอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้กรดแอลจินิก เช่น

  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่แพ้ยา/แพ้กรดแอลจินิก
  • ห้ามใช้ยานี้ระหว่างที่ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่ต้องจำกัดปริมาณเกลือโซเดียม (อาหารเค็ม/เกลือแกง) ด้วย บางสูตรตำรับยา กรดแอลจินิกจะถูกเตรียมอยู่ในรูปสารประกอบของเกลือโซเดียม
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุก ชนิด (รวมกรดแอลจินิกด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้ คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

กรดแอลจินิกมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ด้วยลักษณะโครงสร้างของกรดแอลจินิกที่ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย จึงไม่ค่อยพบปฏิกิริยาระหว่างยานี้กับยาใดๆ แต่มักจะเกิดจากยาอื่นที่เป็นยาประกอบร่วมกับกรดแอลจินิก

อย่างไรก็ตามหากพบความผิดปกติ เช่น มีอาการเหมือนแพ้ยาของการรับประทานยาอื่นร่วมกับยาที่มีกรดแอลจินิกเป็นส่วนประกอบ ให้หยุดการใช้ยาและรีบปรึกษาแพทย์/ไปโรงพยาบาลโดยเร็ว

Gaviscon แต่ละสีต่างกันยังไง

เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสูตรเขียวกับชมพู จะเห็นว่า ชมพูมียาแคลเซียม คาร์บอเนต 325 มิลลิกรัม ซึ่งมีมากกว่าสูตรสีเขียวถึง 2 เท่า จึงออกฤทธิ์ลดกรดได้ดีกว่าและนานกว่านั่นเองค่ะ

ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยี่ห้อไหนดี

แนะนำ 5 ยาลดกรด ช่วยให้สบายท้องลดอาการจุกเสียด.

1. BELCID ยาลดกรด และช่วยเคลือบกระเพาะ | 240 ml. ... .

2. ENO แบบผงชงน้ำดื่ม รสส้ม | 60 ซอง ... .

3. Gaviscon Dual Action ชนิดน้ำ สูตรปราศจากน้ำตาล รสมิ้นต์ | 10 ml (24 ซอง) ... .

4. Air-X แอร์-เอ็กซ์ ชนิดเม็ด | 10 เม็ด ... .

5. Antacil แอนตาซิล | 10 เม็ด.

กินอะไรถึงจะหายเป็นกรดไหลย้อน

1.อาหารโปรตีนที่ไขมันต่ำ อย่างเช่น เนื้อปลา ไก่ ไข่ขาว นมไขมันต่ำ หรือน้ำเต้าหู้ 2.อาหารที่มีไฟเบอร์สูง ควรเน้นอาการที่มีไฟเบอร์หรือกากใยสูง อย่างเช่น ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮลวีท ผัก ผลไม้ โดยผลไม้สำหรับคนเป็นกรดไหลย้อนนั้น ควรเป็นผลไม้ที่ไม่มีกรดมาก อย่างเช่น กล้วย แตงโม แคนตาลูป แอปเปิ้ล พีช ลูกแพร์ อะโวคาโด

ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร กินตอนไหน

- ยาหลังอาหาร เป็นยาที่อาหารไม่มีผลต่อการดูดซึมจึงรับประทานหลังอาหาร ได้ รับประทานหลังอาหาร 15 นาที - ส่วนยาลดกรดในกระเพาะควรกินก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง