ก น cetirizine ก บ bisovon ได ม ย

โรคจีซิกพีดีหรือโรคพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี (G6PD deficiency หรือ glucose-6-phosphate dehydrogenase deficiency) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เอนไซม์จีซิกพีดีมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าปกติ จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก โดยเฉพาะเมื่อได้รับสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชัน (oxidative stress) เช่น โรคติดเชื้อ ยา อาหาร สารเคมี บางชนิด ยาเซ็นซิล (Zensil) มีตัวยาสำคัญคือ cetirizine ซึ่งเป็นยาต้านฮีสตามีน พบชื่อ cetirizine ปรากฏอยู่ในรายการยาที่ระบุว่าไม่ให้ใช้ในผู้ที่พร่องเอนไซม์จีซิกพีดีซึ่งรวบรวมไว้เมื่อปี ค.ศ. 2005 หรือ พ.ศ 2548 (www.rddiagnostics.com/g6pd_disorder2.htm) แต่จากการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งอื่นจนถึงขณะนี้ไม่พบว่ายาดังกล่าวอยู่ในรายการยาที่ห้ามใช้ในผู้ที่พร่องเอนไซม์จีซิกพีดี นอกจากนี้ข้อมูลจากหน่วยงานอิสระที่มีการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการใช้ cetirizine กับการเกิดโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกเพราะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดี ซึ่งในเบื้องต้นมีข้อมูลจาก 16,735 คน (ถึงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2565) ยังไม่พบรายงานเกี่ยวกับโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตกเพราะพร่องเอนไซม์จีซิกพีดีในผู้ที่ใช้ cetirizine ด้วยเหตุนี้จากข้อมูลที่มีอยู่คาดว่าผู้ที่เป็นโรคจีซิกพีดีสามารถใช้ยา cetirizine ได้ อย่างไรก็ตามขอให้ใช้ด้วยความระมัดระวัง อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง “โรคจีซิกพีดี...ยาและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง” โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/490

Reference: 1. R & D Diagnostics Ltd. Glucose 6 phosphate dehydrogenase deficiency (G-6-PD). List of contraindicated drugs & foodstuff, last edited on 05/07/2005. http://www.rddiagnostics.com/g6pd_disorder2.htm. 2. eHealthMe. Cetirizine hydrochloride and anemia - hemolytic due to G6PD deficiency - a phase IV clinical study of FDA data. https://www.ehealthme.com/ds/cetirizine-hydrochloride/anemia-hemolytic-due-to-g6pd-deficiency/

Keywords: cetirizine, glucose 6 phosphate dehydrogenase deficiency, G6PD deficiency, โรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก

Alerest, Cetihis, Cetrizin, Fatec, Setin, Zensil, Zertine, Zetrix, Zirin, Zittec, Zymed, Zyrac, Zyrlergic, Zyrtec

รูปแบบและส่วนประกอบของยา

เซทิริซีน (cetirizine) เป็นยากลุ่ม ยาต้านอาการแพ้ (antihistamine) ยาสำหรับรับประทานยาเม็ดประกอบด้วยเซทิริซีน ขนาด 10 มิลลิกรัม และยาน้ำเชื่อม (syrup) ประกอบด้วยเซทิริซีน ขนาด 5 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร

กลไกการออกฤทธิ์

กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ เซทิริซีนเป็นเมทาบอไลท์ของไฮดรอกซีซีน (hydroxyzine) มีความแรงและจำเพาะอย่างสูงต่อการยับยั้งการทำงานของตัวรับฮีสตามีน H1 บนเซลล์ในระบบทางเดินอาหาร หลอดเลือด และระบบทางเดินหายใจ

ข้อบ่งใช้

ยาเซทิริซีน ชนิดรับประทาน มีข้อบ่งใช้ คือ รักษาอาการแพ้ ได้แก่ อาการคันตาจากการแพ้ ภูมิแพ้เยื่อบุโพรงจมูกอักเสบจากสารก่อการแพ้ ผื่นคัน อาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ในผู้ใหญ่ ขนาดรับประทาน 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง หรือรับประทานครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ขนาดยาสูงสุดต่อวันคือ 10 มิลลิกรัมขนาดรับประทานในเด็ก 6-23 เดือน รับประทาน 2.5 มิลลิกรัมวันละครั้ง สามารถเพิ่มขนาดยาได้สูงสุด 2.5 มิลลิกรัม วันละสองครั้งสำหรับเด็กอายุมากกว่า 12 เดือน ขนาดรับประทานในเด็กอายุ 2-5 ปี รับประทาน 5 มิลลิกรัม วันละครั้ง หรือแบ่งรับประทานเป็นวันละสองครั้ง ครั้งละ 2.5 มิลลิกรัม ขนาดรับประทานในเด็กอายุมากกว่า 6 ปี ขนาดรับประทาน 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง หรือแบ่งรับประทานเป็นวันละสองครั้ง ครั้งละ 2.5 มิลลิกรัม ในผู้ป่วยสูงอายุ ให้เริ่มรับประทานที่ 5 มิลลิกรัม วันละครั้ง สามารถรับประทานยาก่อนหรือหลังอาหารก็ได้

ข้อปฏิบัติเมื่อลืมรับประทานยา

หากลืมรับประทานยาตามเวลาปกติที่รับประทาน ถ้าปกติรับประทาน 1 เม็ด ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้จำนวน 1 เม็ดโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ดแทนเม็ดที่ลืมรับประทาน ในกรณีลืมรับประทานยาใกล้กับเวลารับประทานถัดไป ให้รับประทานยาในมื้อถัดไปในขนาด 1 เม็ด โดยข้ามยาในมื้อที่ลืมไปและไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เม็ด

ข้อควรระวังของการใช้ยา

  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีอาการชัก หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการชัก
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับและโรคไต
  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ
  • ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร

ผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา

อาจก่อให้เกิดการง่วงซึม นอนไม่หลับ เมื่อยล้า มึนงง ปวดศีรษะ ปวดท้อง ไอ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง

ข้อมูลการใช้ยาในสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร

สำหรับการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ ตัวยาจัดอยู่ในกลุ่ม category Bคือยาค่อนข้างมีความปลอดภัยในการใช้ยาในสตรีมีครรภ์

ประเภทของยาตามองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

ยาจัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น

ข้อมูลการเก็บรักษา

ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 20-25องศาเซลเซียส สำหรับยาน้ำเชื่อม ควรเก็บรักษายาที่อุณหภูมิ 2 ถึง 8 องศาเซลเซียส เก็บให้พ้นจากแสงแดด

Cetirizine (เซทิริซีน) เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) มีคุณสมบัติในการรักษาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล เคืองตา คันจมูก คันคอ จาม มีผื่นขึ้น บรรเทาอาการบวมและคัน ซึ่งเกิดจากลมพิษ ภูมิแพ้อากาศ โรคหืด และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) โดยปริมาณยาที่แนะนำคือไม่ควรเกินวันละ 10 มิลลิกรัม

ตัวยาออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการปล่อยสารฮิสตามีน (Histamine) ที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อเกิดอาการแพ้ อย่างไรก็ตาม ยา Cetirizine ไม่ได้ช่วยป้องกันลมพิษ และไม่ได้ช่วยป้องกันหรือรักษาอาการแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) ผู้มีอาการแพ้รุนแรงที่แพทย์สั่งจ่ายยาฉีดอิพิเนฟรีนเพื่อระงับอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน ควรพกยาติดตัวไปด้วยเสมอ และไม่สามารถใช้ Cetirizine แทนยาฉีดเอพิเนฟรีนได้

ก น cetirizine ก บ bisovon ได ม ย

เกี่ยวกับยา Cetirizine

กลุ่มยา ยาต้านการทำงานของฮีสตามีน (Antihistamine) ประเภทยายาหาซื้อได้เอง ยาตามใบสั่งแพทย์สรรพคุณ บรรเทาอาการหวัด และแก้แพ้จากภูมิแพ้อากาศและลมพิษ กลุ่มผู้ป่วยเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป และผู้ใหญ่การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และผู้ให้นมบุตร ยังไม่มีการจัดหมวดหมู่ของยาชนิดนี้จากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) สตรีมีครรภ์ ผู้วางแผนจะตั้งครรภ์ และผู้ให้นมบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยานี้ เนื่องจากตัวยาอาจซึมผ่านน้ำนมมารดา และอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์และทารกหลังคลอด รูปแบบของยา ยาเม็ด ยาน้ำ ยาหยอดตา ยาฉีดเข้าหลอดเลือด

คำเตือนการใช้ยา Cetirizine

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้ป่วยควรระมัดระวังและปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ยา Cetirizine สามารถส่งผลข้างเคียงต่อกระบวนการคิดและการตอบสนอง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการขับรถ การทำงานกับเครื่องจักร หรือกิจกรรมที่ต้องการการตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
  • ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมื่อใช้ยา Cetirizine เพราะจะทำให้เพิ่มการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาได้
  • ควรปรึกษาแพทย์หากใช้ยาชนิดนี้แล้วอาการไม่ดีขึ้น มีอาการแย่ลง หรือมีอาการไข้เมื่อใช้ยาดังกล่าว
  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ผู้มีภาวะตับและไตเสื่อม รวมทั้งผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้
  • แจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง เพราะการใช้ยานี้อาจทำให้ผลการทดสอบที่คาดเคลื่อนได้

ปริมาณการใช้ยา Cetirizine

ปริมาณและระยะเวลาในการใช้ยาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา โดยตัวอย่างการใช้ยา Cetirizine เพื่อรักษาอาการปวดต่าง ๆ มีดังนี้

1. ยาชนิดรับประทาน

การใช้ยา Cetirizine ชนิดรับประทาน จะใช้เพื่อรักษาอาการแพ้จากโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) ทั้งชนิดที่เกิดอาการแพ้เฉพาะบางฤดูกาล หรือเกิดอาการแพ้ได้ตลอดทั้งปี และรักษาอาการแพ้จากลมพิษเรื้อรังชนิดไม่ทราบสาเหตุ

ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานยาเกิน 10 มิลลิกรัมภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งปริมาณการรับประทานจะแบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้

  • เด็กอายุ 6–12 ปี รับประทานครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง
  • เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ รับประทานวันละ 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง หากอาการแพ้ไม่รุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้แบ่งรับประทานยาครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละ 1–2 ครั้ง

2. ยาหยอดตา

การใช้ยา Cetirizine ชนิดหยอดตา จะใช้เพื่อรักษาอาการคันและระคายเคืองดวงตาจากโรคภูมิแพ้ขึ้นตา (Allergic Conjunctivitis) ซึ่งจะใช้ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ โดยหยดยาที่ดวงตาข้างที่มีอาการครั้งละ 1 หยด วันละ 2 ครั้ง โดยเว้นระยะเวลาห่างกัน 8 ชั่วโมง

3. ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

การใช้ยา Cetirizine ชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำในการกำกับดูแลของแพทย์ที่สถานพยาบาลเท่านั้น โดยจะใช้รักษาอาการลมพิษเฉียบพลัน ซึ่งปริมาณการให้ยาจะแบ่งตามช่วงอายุ ดังนี้

  • เด็กอายุ 6 เดือน จนถึงอายุ 5 ปี ให้ยาครั้งละ 2.5 มิลลิกรัม ทุก 24 ชั่วโมง
  • เด็กอายุ 6–11 ปี ให้ยาครั้งละ 5–10 มิลลิกรัม ทุก 24 ชั่วโมง หรือขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ
  • เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป และผู้ใหญ่ ให้ยาครั้งละ 10 มิลลิกรัม ทุก 24 ชั่วโมง

การใช้ยา Cetirizine

การใช้ยา Cetirizine สามารถรับประทานได้ทั้งก่อนและหลังอาหาร หากรับประทานยาดังกล่าวเป็นชนิดน้ำ ควรใช้ช้อนสำหรับตวงยาโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้ช้อนธรรมดาในการตวงเพราะอาจจะทำให้รับประทานยาเกินขนาด หรือน้อยกว่าปริมาณที่ควรจะเป็น หากเป็นยาเม็ดสำหรับเคี้ยว ควรเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน

หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ แต่หากนึกได้ในเวลาที่ใกล้เคียงกับเวลาในการรับประทานยาครั้งถัดไป ควรรอให้ถึงเวลาแล้วค่อยรับประทานโดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณยา เนื่องจากการรับประทานยาเกินขนาดอาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้ได้

  • เกิดอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย ง่วงซึม
  • มีอาการคัน
  • ปากแห้ง
  • ท้องเสีย
  • รูม่านตาขยาย ตัวสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ปัสสาวะไม่ออก
  • นอนไม่หลับ

หากเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นควรรีบไปพบแพทย์หรือเรียกรถหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังควรสังเกตอาการในระหว่างการใช้ยาด้วย หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีทีท่าว่าจะยิ่งแย่ลง ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน

ในเรื่องการเก็บรักษา ยาเซทิริซีนเป็นยาที่ควรเก็บรักษาในอุณหภูมิห้อง และให้ห่างจากความชื้นและความร้อน เนื่องจากอาจทำให้ยาเสื่อมประสิทธิภาพลงได้

ปฏิกิริยาระหว่างยา Cetirizine กับยาอื่น

ยา Cetirizine อาจทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม หรือลดประสิทธิภาพของยาลง เช่น

  • ยาแก้แพ้ชนิดอื่น ๆ ทั้งยารับประทานและยาทา เช่น คลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ไฮดรอกไซซีน (Hydroxyzine) และเลโวเซทิริซีน (Levocetirizine)
  • ยารักษาโรคหอบหืดและโรคปอด เช่น ทีโอฟิลลีน (Theophylline)
  • ยาระงับประสาท และยานอนหลับที่ใช้รักษาอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวล เช่น อัลปราโซแลม (Alprazolam) และลอราซีแพม (Lorazepam)
  • ยาแก้ปวดชนิดเสพติด เช่น ยากลุ่มโอปิออยด์ (Opioids)
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น คาริโซโพรดอล (Carisoprodol) ไซโคลเบนซาพรีน (Cyclobenzaprine)

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ใช้ยาชนิดอื่น ๆ เช่น ยารักษาอาการไอและหวัด ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทุกครั้งก่อนได้รับยา เนื่องจากยาชนิดนี้จะยิ่งทำให้เกิดอาการง่วงมากขึ้น

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Cetirizine

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Cetirizine มีค่อนข้างมาก โดยผลข้างเคียงที่พบมักมีความแตกต่างไปกันตามช่วงวัย ดังนี้

  • ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปี ขึ้นไป อาจเกิดอาการง่วงนอน อ่อนเพลีย ปากแห้ง นอนไม่หลับ
  • เด็กอายุ 2–11 ปี อาจปวดศีรษะ คออักเสบ และปวดท้อง
  • เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือน จนถึง 2 ปี อาจมีอาการตอบสนองต่อสิ่งเร้ามากผิดปกติ มีอาการมึนงง นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว

นอกจากนี้ ยาดังกล่าวยังอาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้อีก เช่น วิงเวียนศีรษะ ง่วงซึม รู้สึกเหนื่อย ปวดศีรษะ ปากแห้ง เจ็บคอ ไอ คลื่นไส้ ท้องผูก เป็นต้น ส่วนผลข้างเคียงที่รุนแรงก็สามารถพบได้เช่นกัน ได้แก่

  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • เหนื่อย มีอาการสั่น หรือนอนไม่หลับ
  • มีอาการอยู่ไม่สุข ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา
  • มีอาการมึนงง
  • มีปัญหาในเรื่องการมองเห็น
  • ปัสสาวะน้อย หรือไม่ปัสสาวะเลย

ไม่เพียงเท่านั้น การแพ้ยาชนิดนี้ยังส่งผลให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่ถือเป็นสัญญาณอันตราย เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น และคอ มีอาการบวม ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบหยุดยาทันที หรือหากอาการค่อนข้าง

ยาแก้แพ้ Cetirizine กินทุกวันได้ไหม

Cetirizine (เซทิริซีน) เป็นยาในกลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) มีคุณสมบัติในการรักษาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น น้ำมูกไหล เคืองตา คันจมูก คันคอ จาม มีผื่นขึ้น บรรเทาอาการบวมและคัน ซึ่งเกิดจากลมพิษ ภูมิแพ้อากาศ โรคหืด และโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) โดยปริมาณยาที่แนะนำคือไม่ควรเกินวันละ 10 มิลลิกรัม

ยาแก้แพ้กับยาลดน้ำมูกเหมือนกันไหม

ยารักษาอาการน้ำมูกไหล หรือยาลดน้ำมูก มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของยาแอนติฮีสตามีน และยาลดการคั่งของน้ำมูก ยาแก้แพ้ หรือยาแอนติฮีสตามีน หรือยาต้านฮีสตามีน ยาจะไปป้องกันไม่ให้ฮิสตามีนจับกับตัวรับฮิสตามีนที่อวัยวะต่างๆ ช่วยบรรเทาอาการของโรคภูมิแพ้ ปัจจุบันยาต้านฮีสตามีน แบ่งเป็น 3 รุ่น

ยาแก้แพ้ Cetirizine ออกฤทธิ์ กี่ชั่วโมง

เซทิริซีน.

Cetirizine ลดน้ำมูกได้ไหม

ยาซีร์เทค (Zyrtec) ประกอบด้วยตัวยาเซทิริซีน (Cetirizine) เป็นยาประเภท Antihistamine กลุ่มสารต้านฮีสตามีน ใช้ในการลดอาการแพ้อากาศ เช่น เมื่อมีอาการอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันตา ตาแดง น้ำตาไหล ลมพิษ มีทั้งแบบเม็ด สำหรับผู้ใหญ่ และแบบน้ำสำหรับเด็ก