ตัวอย่าง case study นักเรียนยากจน

การศึกษารายกรณี (Case Study) ชื่อนักเรียน เด็กชายพรณภัทร ฉายแฉง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ๑. สภาพปัญหาของนักเรียน จากการสังเกตพบว่านักเรียนมีความบกพร่องด้านการอ่านไม่ออก และเขียนไม่ได้รวมไปถึงการเขียน พยัญชนะบางพยัญชนะกลับหัว เขียนตัวอักษรที่คล้ายกันผิด ตัวเลขบางตัวกลับด้าน และเขียนคำตามที่ตนองสะกด ๒. จุดประสงค์ในการศึกษา ๑. เพื่อให้ทราบถึงปัญหา และสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับนักเรียน ๒. เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหาและศึกษาวิธีแก้ปัญหาของนักเรียนอย่างถูกต้องเหมาะสม ๓. เพื่อจะช่วยเหลือเด็กนักเรียนในเรื่องการเรียน และพัฒนาด้านการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ๓. สภาพทั่วไปเกี่ยวกับนักเรียน ๓.๑ ประวัติและครอบครัว ชื่อ เด็กชายพรณภัทร ฉายแสง ชื่อเล่น สตางค์ เกิด วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 ที่อยู่ปัจจุบัน 28 หมู่ที่ 14 ต.วังม้า อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60150 บิดาชื่อ นายนภัสกร ฉายแสง อาชีพ รับจ้างทั่วไป รายได้ - บาท มารดาชื่อ นางสาวสุรีย์พร ใจจอมกุล อาชีพ รับจ้าง รายได้ ไม่แน่นอน ที่อยู่ปัจจุบัน 28 หมู่ที่ 14 ต.วังม้า อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60150 โทรศัพท์มือถือ 094-4828763 3.2 ประวัติการศึกษาและผลการศึกษา - การศึกษาระดับอนุบาล – ประถมศึกษาปีที่ 2 ที่โรงเรียนวัดน้ำโท้ง จังหวัดลำปาง - การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ ๓ (กำลังศึกษาอยู่) โรงเรียนบ้านวังสำราญ 3.3 ประวัติสุขภาพ เด็กชายพรณภัทร ฉายแสง อายุ 9 ปี สุขภาพร่ายกายแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว น้ำหนัก 25 กิโลกรัม ส่วนสูง 124 เซนติเมตร

3.4 สภาพครอบครัวและฐานะทางเศรษฐกิจ บ้านของเด็กชายพรณภัทร ฉายแสง อาศัยอยู่กับมารดา และปู่ย่า มารดาทำงานรับจ้างทั่วไปใน อำเภอลาดยาว ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวอยู่ในระดับค่อนข้างยากจน 3.๕ ทัศนคติของบุคคลรอบข้างที่มีต่อนักเรียน - มารดา พรณภัทรเป็นลูกคนเดียว มีนิสัยค่อนข้างเอาแต่ใจ ต้องการสิ่งใดต้องได้ แต่ทางครอบครัวไม่ได้ตามใจ เวลาโกรธหรือไม่พอใจ จะไม่สนใจใครไม่ทำอะไรเลย ช่วยเหลืองานบ้านในบ้างครั้ง ชอบเล่นสนุก ร่าเริง - คุณครูในโรงเรียน ครูวรรณิดา ทวีชาติ ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความคิดเห็นต่อ เด็กชายพรรภัทร ฉายแสง ดังนี้ ด้านการเรียน ค่อยข้างที่จะเรียนรู้ช้า ด้านการอ่านยังอ่านหนังสือไม่ได้ ส่วนการเขียนไม่สามารถเขียนคำได้ ถูกต้อง ลายมือไม่เป็นระเบียบ ทำงานไม่เรียบร้อย การเรียนรู้ในเรื่องใหม่ ต้องเน้นการอธิบายอย่าง ละเอียดเรียนแบบต้องตัวต่อตัว ซ้ำๆ ด้านพฤติกรรมและลักษณะนิสัย ชอบขี้ลืม เช่น สมุด หนังสือ ไม่รักษาสิ่งของ ของหายบ่อยพอถามมักจะจำไม่ได้ ไม่ค่อยมีระเบียบ ใต้ลิ้นชัก มักมีขยะหรือเศษกระดาษอยู่ใต้โต๊ะ มีนิสัยร่าเริง ชอบเล่นสนุก พูดจาสุภาพ มีน้ำใจ ช่วยเหลือ ครูและเพื่อน ๆ ร่วมชั้นเรียน ด้านสุขภาพร่างกาย มีสุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงดี ด้านสังคมและการอยู่ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อน ร่วมห้อง รุ่นน้อง รุ่นพี่ในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี 3.6 บุคลิกภาพทั่วไปของนักเรียน - ลักษณะทางร่างกาย (รูปร่าง หน้าตา การแต่งกาย กิริยาวาจา) เป็นคนที่มีรูปร่างสมส่วน น้ำหนัก 25 กิโลกรัม ส่วนสูง 124 เซนติเมตร ผิวเหลือง ตาเล็ก แต่งกาย เรียบร้อย พูดจาไพเราะ - ลักษณะทางอารมณ์ (การแสดงออกทางอารมณ์ สดชื่น ร่าเริง หรือเงียบขรึม การควบคุมอารมณ์ ฯลฯ) เป็นคนที่มีนิสัยสดใส ร่าเริง ชอบพูดคุยและเข้ากับเพื่อน ๆ ได้เป็นอย่างดี ไม่ค่อยมีสมาธิในเวลาเรียน

- ลักษณะทางสติปัญญา (ความสามารถในการเรียน ความสามารถพิเศษ ความถนัดความสนใจ พิเศษ) มีผลการเรียนอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ระดับไม่ถึง 2.oo ชอบเล่นกีฬาในช่วงพักกลางวัน - ลักษณะทางสังคม (การปรับตัวเข้ากับเพื่อน ครู บิดา มารดาพี่น้องคนอื่น ๆ ทักษะสังคมใน ห้องเรียนและโรงเรียน) - เพื่อน สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อน ร่วมห้อง รุ่นน้อง รุ่นพี่ในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี - ครู มีความเคารพเชื่อฟังครู มีน้ำใจชอบช่วยเหลือ แต่ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน มีการเรียนรู้ค่อนข้างช้า อาศัยการอธิบายซ้ำเพิ่มเติมต่อตัว ไม่ค่อยมั่นใจในตนเอง การเขียนการทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ แต่มี ความกระตือรือร้นความพยายามในการทำงานตามที่ครูสั่ง และกล้าจะถามครูในสิ่งที่ตนเองทำไม่ได้ - บิดา มารดาและญาติพี่น้อง มีการเคารพเชื่อฟังคำสอน และช่วยทำงานบ้านหลังเลิกเรียนตามหน้าที่ของตนเองที่ได้รับ 3.7 พฤติกรรมที่ควรปรับปรุงแก้ไข (เรียงลำดับจากมาไปหาน้อย) 1. ด้านอ่านหนังสือไม่ออก ๒. ด้านการเขียนไม่ได้ ๓. ด้านความเป็นระเบียบ 4. การรวบรวบข้อมูลได้รวบรวมข้อมูลจากวิธีการต่อไปนี้ 1. การสังเกต 2. การสัมภาษณ์ 3. การเยี่ยมบ้าน 5. สมมุติฐานของปัญหา หลังจากได้ศึกษานักเรียนด้วยวิธีต่าง ๆ แล้ว ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้ 1. ทักษะด้านการอ่านภาษาไทย 2. ทักษะด้านการเขียน 6. แนวทางการแก้ปัญหา 1. จัดการสอนซ่อมเสริมให้นักเรียนในคาบ 5-6 ของทุกวัน โดยเริ่มจากการคัดพยัญชนะ สระ และ ท่อง เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เพิ่มการจดจำรูปสระ พยัญชนะ ๒. เริ่มจากอ่านเขียนแบบฝึกทักษะมาตราตัวสะกดแม่ ก กา ใช้ทักษะ การอ่านสะกดคำ อ่านเป็นคำ คัดลายมือ เขียนตามคำบอก และแต่งประโยค

3. หลังจากนั้นให้นักเรียนอ่านเขียนแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์มาตราตัวสะกดแม่ ก กา ใช้ทักษะ การอ่านสะกดคำ อ่านเป็นคำ คัดลายมือ เขียนตามคำบอก และแต่งประโยค เช่นเดิม 4. ให้นักเรียนเริ่มอ่านเขียนแบบฝึกทักษะมาตราตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา แม่กง กน กม ฯลฯ จน ครบทั้ง 8 มาตรา ใช้ทักษะการอ่านสะกดคำ อ่านเป็นคำ คัดลายมือ เขียนตามคำบอก และแต่งประโยค 5. ให้นักเรียนเริ่มอ่านเขียนแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์คำที่มีตัวสะกด ใช้ทักษะการอ่านสะกดคำ อ่านเป็นคำ คัดลายมือ เขียนตามคำบอก และแต่งประโยค 7. การติดตามผล เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2566 ช่วงต้นเดือน มิถุนายน 2566 ถึง ภาคเรียนที่ 2/2566 ในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2566 เป็นการติดตามผลโดยการสังเกตพฤติกรรมการอ่านการเขียนของ นักเรียน 1. ช่วงเริ่มแรกนักเรียนให้ความร่วมมือมีความตั้งใจ และพยายามกระตือรือร้น อ่านเขียนสระและพยัญชนะ แต่ยังมีสระหรือพยัญชนะบางตัวที่เขียนยังเขียนผิดอยู่มาก และให้ฝึกอ่านเขียนตัวสระและพยัญชนะที่ ไม่ได้อยู่เรื่อย ๆ ทุกวัน เริ่มจากอ่านเขียน แบบฝึกมาตราตัวสะกดแม่ก กา โดยให้ ฝึกอ่านสะกดคำ ฝึกอ่านเป็นคำ ฝึกคัดลายมือ ฝึกเขียนตามคำบอก ฝึกแต่งประโยค จนครบ แต่ใช้เวลาค่อนข้างมากเพราะ ตัวนักเรียนเรียนรู้ค่อนข้างช้า 2. จากนั้นติดตามผลจากการที่นำหนังสือมาตราตัวสะกดแม่ก กา มาให้นักเรียนอ่าน พบว่านักเรียนสามารถ อ่านคำได้ไวมากขึ้นแต่ต้องอาศัยการสะกดคำ และเขียนตามคำบอก แม่ก กา ได้ถูกต้อง และจึงเริ่มสอน การผันวรรณยุกต์จากแบบฝึกทักษะ โดยให้ ฝึกอ่านสะกดคำ ฝึกอ่านเป็นคำ ฝึกคัดลายมือ ฝึกเขียนตาม คำบอก ฝึกแต่งประโยค 3. จากการสังเกต พบว่านักเรียน อ่านสะกดคำคล่องมากขึ้น หรือบางคำเจอแล้วสามารถอ่านได้โดยไม่ต้อง สะกด แต่ด้านการเขียนสะกดคำอยู่บ้าง ซึ่งถือว่ามีการพัฒนาการอ่านการเขียนได้ดีมากขึ้น และจึงเริ่มการ ฝึกอ่านฝึกเขียนคำที่มีตัวสะกดที่ตรงตามมาตรา 4. จากการสังเกตในภาคเรียนที่ 2/2566 นักเรียนมีพฤติกรรมด้านการอ่านและการเขียนที่ดีขึ้นเริ่มอ่านคำ ได้มากขึ้น สามารถอ่านหนังสือนิทานได้ และด้านการเขียน ยังมีเขียนผิดอยู่บ้างแต่มีการพัฒนาขึ้นดี กว่าเดิมตัวนักเรียนเองมีความพยายามให้ความร่วมมือกับครูผู้สอนเป็นอย่างดี ๘. อุปสรรคในการแก้ไขปัญหาและการให้ความช่วยเหลือมีดังนี้ การสอนซ่อมเสริมในบางครั้ง อาจจะไม่ได้ต่อเนื่องเพราะด้วยภาระงานอื่น ๆ มีค่อนข้างมาก ทำให้ไม่ได้อยู่ กับตัวเด็กตลอดเวลา เลยให้นักเรียนฝึกอ่านฝึกเขียนด้วยตนเองบ้าง และกลับมาทบทวนให้กับนักเรียน หรือ บางครั้งขอความร่วมมือจากผู้ปกครองให้ช่วยดูแล ด้วยความที่นักเรียนนนั้นมีความพยายาม ตั้งใจ ได้ให้ความ ร่วมมือกับครูเป็นอย่างดี

9. ข้อเสนอแนะ ในการศึกษารายกรณี ครูจะต้องพยายามศึกษา ทำความเข้าใจนักเรียนให้มาก เพื่อหาแนวทางแก้ไข ปัญหาที่เกิดขึ้น และสร้างความสนิทสนมกับนักเรียน การแก้ไขปัญหาควรร่วมมือทุกฝ่ายทั้งครู ผู้ปกครอง เพื่อน นักเรียน และตัวนักเรียนเอง