การร กษาผ ป วยต อมล กหมากโต ยากล ม alpha blocker

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH - Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ

โรคต่อมลูกหมากโต (BPH - Benign Prostatic Hyperplasia) คือ ภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติ ซึ่งชาวตะวันตกมักเปรียบเทียบขนาดปกติของต่อมลูกหมากว่าเท่ากับขนาดของผลวอลนัท (walnut-size) ตำแหน่งของต่อมลูกหมากจะอยู่ในบริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากทำหน้าที่สร้างสารที่เป็นของเหลวประมาณ 30% ของน้ำอสุจิ

ด้วยเหตุที่ต่อมลูกหมากจะห่อหุ้มท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้ ดังนั้นเมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นก็อาจกดทับท่อปัสสาวะให้ตีบเล็กลง ส่งผลให้คนไข้มีอาการปัสสาวะติดขัด นอกจากนี้ต่อมลูกหมากโตอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบๆ และเมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะลดลง คนไข้จึงต้องปัสสาวะบ่อย และอาจได้รับการกระตุ้นให้ปวดปัสสาวะขึ้นมาอย่างกะทันหันได้

โรคต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่พบได้เป็นปกติ และการเกิดขึ้นมักจะสัมพันธ์กับอายุ มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่า 50% ของผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมากนั้นมีอายุประมาณ 60 ปี

ที่ผ่านมายังไม่มีหลักฐานที่แสดงชัดว่าโรคต่อมลูกหมากโตจะนำไปสู่โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่อย่างไรก็ตามอาการของความผิดปกติทั้งในต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากนั้นมีความคล้ายกัน และอาจเป็นไปได้ว่าภาวะต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมากจะเกิดขึ้นในขณะเดียวกันได้ โรคต่อมลูกหมากโตนี้สามารถรักษาได้

  • ปัสสาวะบ่อยหรือต้องการปัสสาวะทันที
  • ปัสสาวะนาน ปัสสาวะอ่อน ปัสสาวะสะดุด (ขัดเบา) ปัสสาวะเป็นหยดๆ
  • รู้สึกปวดขณะถ่ายปัสสาวะ
  • ปัสสาวะหลายครั้งในตอนกลางคืน
  • มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ
  • การตรวจสอบร่างกายและซักประวัติคนไข้โดยละเอียด ซึ่งรวมไปถึงการตรวจต่อมลูกหมากทางทวารหนัก(Digital Rectal Examination) ซึ่งแพทย์จะใช้นิ้วสวมถุงมือสอดเข้าไปในทวารหนักและกดลงบนต่อมลูกหมากเพื่อตรวจและประเมินขนาดของต่อมลูกหมากว่าผิดปกติหรือไม่
  • ทำการทดสอบเพื่อวัดอัตราการไหลของปัสสาวะ
  • ตรวจเพาะเชื้อจากปัสสาวะ
  • วัดปริมาณปัสสาวะที่เก็บอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
  • หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา
  • ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • แพทย์อาจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น Proscar (finasteride) ซึ่งช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้อ่อนตัวลง (alpha-blockers)
  • รักษาด้วยความร้อน (การใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก) สามารถใช้เพื่อลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ ข้อดีของการรักษานี้ก็คือสามารถดำเนินการรักษาในขณะที่เป็นผู้ป่วยนอกได้ โดยจะมีการใช้พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นความถี่วิทยุจำนวนเล็กน้อยในการรักษา
  • รักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (TURP) วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีผ่าตัดที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ผ่าตัดจะส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดทับท่อปัสสาวะไว้
  • ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา
  • การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตด้วยไอน้ำ

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.86 of 10,จากจำนวนคนโหวต 154 คน

ทำความรู้จักต่อมลูกหมาก ผ่านความเชื่อต่างๆ ที่ทุกท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง วันนี้เรามาไขข้อสงสัย ไปพร้อมๆกัน โดยทีมแพท์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา จากศูนย์ระบบทางเดินปัสสาวะโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ทั้งนี้แพทย์จะพูดคุยกับผู้ป่วยถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยประเมินจากอาการ ขนาดของต่อมลูกหมาก และสุขภาพร่างกายของตัวผู้ป่วยเอง และวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยต้องการ

อาการของโรคต่อมลูกหมากโต

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจมีอาการแตกต่างกันไป แต่หากปล่อยทิ้งไว้ อาการมักจะแย่ลงเรื่อย ๆ โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ปัสสาวะบ่อย
  • ตื่นขึ้นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อย
  • ปัสสาวะออกช้า
  • ปัสสาวะไหลอ่อน หรือปัสสาวะขาดหรือสะดุดเป็นช่วง ๆ
  • ปัสสาวะเล็ดหลังปัสสาวะเสร็จ
  • ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะออกยากต้องเบ่ง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

อาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากโตอื่น ๆ ที่อาจพบเห็นได้ด้วยเช่นกัน

  • ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • ปัสสาวะมีอาการปวดแสบปวดร้อน
  • มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ

อย่างไรก็ตามขนาดของต่อมลูกหมากไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยบางรายที่ต่อมลูกหมากโตเพียงเล็กน้อยอาจมีอาการรุนแรงได้ ในขณะที่บางรายที่มีต่อมลูกหมากโตมากอาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในผู้ป่วยบางรายอาการอาจทรงตัวและดีขึ้นได้เอง

ควรพบแพทย์เมื่อไร

ควรไปปรึกษาแพทย์เมื่อมีปัญหาเรื่องการปัสสาวะหรือมีอาการที่กล่าวมาแล้วข้างต้นถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงก็ตาม ทั้งนี้โรคต่อมลูกหมากโตทำให้ทางเดินปัสสาวะอุดตันได้ หากปัสสาวะไม่ออกควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

สาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากอยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะของเพศชาย โดยจะมีท่อลําเลียงปัสสาวะอยู่กลางต่อมลูกหมาก เมื่อต่อมลูกหมากโตขึ้นอาจไปเบียดท่อจนทำให้ปัสสาวะไหลออกมาไม่ได้ ทั้งนี้ต่อมลูกหมากสามารถโตขึ้นได้ตลอดเวลา จนทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัดหรือปัสสาวะไม่ออก

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าสาเหตุหลักของโรคต่อมลูกหมากโตคืออะไร แต่เชื่อกันว่าสาเหตุเบื้องต้นน่าจะมาจากภาวะฮอร์โมนเพศชายไม่สมดุล

โรคที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับอาการของโรคต่อมลูกหมากโต ได้แก่

  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • ต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis)
  • ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture)
  • แผลเป็นพังผืดในคอกระเพาะปัสสาวะที่เป็นผลมาจากการผ่าตัดก่อนหน้า
  • นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะ
  • มะเร็งต่อมลูกหมากหรือกระเพาะปัสสาวะ

ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากโต

ปัจจัยเสี่ยงของโรคต่อมลูกหมากโต ได้แก่

  • อายุที่มากขึ้น ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 มักมีอาการของภาวะต่อมลูกหมากโตน้อยกว่าผู้ป่วยวัยอื่น ผู้ป่วยราวหนึ่งในสามอาจมีอาการปานกลางถึงรุนแรงก่อนวัย 60 และอีกที่เหลือจะมีอาการรุนแรงในช่วงก่อนวัย 80
  • ใช้สมุนไพรบางอย่าง: ผู้ป่วยอาจใช้สมุนไพรบางอย่างในการเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย และกำลังอยู่ในระหว่างการรักษาด้วยวิธีการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งทั้งสองวิธีนี้อาจให้ลูกหมากโตได้
  • เป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ การศึกษาแสดงให้เห็นว่า โรคเบาหวาน โรคหัวใจและการใช้เบต้าบล็อกเกอร์ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่อมลูกหมากโต
  • ติดเชื้อในลูกหมาก: ผู้ป่วยเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบ (Prostatitis) ที่อาจทำให้ลูกหมากบวมช้ำและเป็นผลให้เกิดต่อมลูกหมากโต

การตรวจวินิจฉัยโรคต่อมลูกหมากโต

แพทย์อาจเริ่มด้วยการซักประวัติผู้ป่วยและตรวจร่างกาย แพทย์อาจใช้การตรวจร่างกายด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น:

  • การซักประวัติผู้ป่วยและตรวจร่างกาย
  • การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Exam: DRE) แพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อดูว่าต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีความผิดปกติ และมีลักษณะของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่
  • การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) แพทย์อาจใช้การการตรวจปัสสาวะเพื่อวิเคราะห์ตัวอย่างปัสสาวะ เพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อหรือมีโรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคต่อมลูกหมากโตหรือไม่
  • การตรวจเลือด ผลจากการตรวจเลือดทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่ามีปัญหาโรคไตหรือไม่
  • การตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate-Specific Antigen: PSA) แพทย์จะตรวจหาสารแอนติเจนต่อมลูกหมากที่ผลิตจากต่อมลูกหมาก หากพบระดับของสารแอนติเจนต่อมลูกหมากเพียงเล็กน้อยแต่สูงขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณว่าผู้ป่วยกำลังเป็นโรคต่อมลูกหมากโต ระดับสารแอนติเจนต่อมลูกหมากในปริมาณที่มากกว่า 4 ng/ml อาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อ เคยเข้ารับการผ่าตัด หรือเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอยู่แล้ว

แพทย์อาจแนะนําให้ผู้ป่วยเข้ารับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อช่วยยืนยันว่าเป็นโรคต่อมลูกหมากโตและตัดโรคอื่น ๆ ออก เพราะโรคต่อมลูกหมากโตหรือมะเร็งต่อมลูกหมากอาจทำให้เกิดอาการที่คล้าย ๆ กัน โดยจะทำการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • การตรวจการไหลของปัสสาวะ (Urinary Flow Test) เป็นการตรวจวัดความแรงและปริมาณของปัสสาวะ ผลจากการตรวจช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลง
  • การตรวจปริมาณปัสสาวะที่คงค้างอยู่ (Post-Void Residual Urine Test: PVR) การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์ดูว่าผู้ป่วยปัสสาวะสุดหรือไม่ โดยผ่านการทำอัลตราซาวนด์หรือใช้วิธีใช้สายสวนปัสสาวะใส่เข้าไปทางท่อปัสสาวะหลังปัสสาวะแล้ว เพื่อวัดปริมาณปัสสาวะที่เหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
  • บันทึกการปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง วิธีนี้เป็นการจดบันทึกความถี่และปริมาณของปัสสาวะที่อาจเป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่การปัสสาวะในตอนกลางคืนมีปริมาณมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณการปัสสาวะต่อวัน

หากอาการซับซ้อนมากขึ้น แพทย์อาจแนะนํา

  • การตรวจความเร็วการไหลของการปัสสาวะ (Uroflowmetry): แพทย์จะให้ผู้ป่วยขับถ่ายปัสสาวะผ่านห้องน้ำแบบพิเศษที่เชื่อมต่อกับระบบคอมพิวเตอร์เพื่อตรวจหารูปแบบการปัสสาวะที่ผิดปกติ
  • การตรวจปริมาณปัสสาวะที่คงค้างอยู่ (Post-Void Residual Urine Test: PVR) การตรวจนี้ช่วยให้แพทย์ประเมินได้ว่าผู้ป่วยปัสสาวะได้หมดหรือไม่ โดยการทำอัลตราซาวนด์หรือใช้วิธีใช้สายสวนปัสสาวะใส่เข้าไปทางท่อปัสสาวะหลังจากปัสสาวะเสร็จแล้วเพื่อวัดปริมาณปัสสาวะที่คงเหลืออยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
  • บันทึกการปัสสาวะใน 24 ชั่วโมง การจดบันทึกความถี่และปริมาณปัสสาวะสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ปริมาณปัสสาวะในตอนกลางคืนนั้นมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณปัสสาวะรวมทั้งวัน หากผู้ป่วยมีอาการซับซ้อนมากขึ้น แพทย์อาจแนะนําให้รับการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้
  • การตรวจความแรงของปัสสาวะ (Uroflowmetry): เพื่อตรวจอัตราการไหลของปัสสาวะ
  • การตรวจอัลตราซาวด์ทางทวารหนัก (Transrectal Ultrasound): เป็นการตรวจด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ โดยใส่อุปกรณ์ตรวจเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจวินิจฉัยต่อมลูกหมาก
  • การตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก (Prostate Biopsy): เพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุของโรคต่อมลูกหมากโตว่าเกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากหรือสาเหตุอื่น ๆ
  • การวิเคราะห์แบบบยูโรไดนามิกและตรวจความสัมพันธ์ของแรงดัน (Urodynamic and pressure flow study) แพทย์จะใส่สายสวนเป็นเกลียวผ่านท่อปัสสาวะเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แล้วฉีดน้ำหรืออากาศเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นแพทย์จะวัดความดันกระเพาะปัสสาวะและตรวจว่ากล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะยังทํางานเป็นปกติดีหรือไม่ วิธีนี้มักจะใช้เฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและในผู้เข้ารับการรักษาต่อมลูกหมากมาก่อนและยังมีอาการอยู่
  • การส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy): แพทย์จะสอดกล่องเข้าไปในท่อปัสสาวะเพื่อช่วยให้แพทย์ได้เห็นภาพภายในท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะของผู้ป่วยได้ชัดเจนขึ้น ในการตรวจนี้ แพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ก่อนเริ่มการตรวจ

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโตอาจทำได้ด้วยการรับประทานยาหรือการผ่าตัดแบบส่องกล้อง อย่างไรก็ตามวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุดได้นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่

  • ขนาดของต่อมลูกหมาก
  • อายุของผู้ป่วย
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย
  • ความรุนแรงของโรค

การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยยา

  • ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha blockers) ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อในต่อมลูกหมาก ซึ่งจะทำให้ปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ ได้แก่ ยาอัลฟูโซซิน (alfuzosin) ยาโดซาโซซิน (doxazosin) ยาแทมซูโลซิน (tamsulosin) และยาซิโลโดซิน (silodosin) ออกฤทธิ์ได้ดีในผู้ป่วยที่ขนาดต่อมลูกหมากค่อนข้างเล็ก โดยการรับประทานยาอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น วิงเวียนศีรษะหรือมีภาวะอุสจิไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งไม่เป็นอันตราย
  • 5 แอลฟา รีดักเตส อินฮิบิเตอร์ (5 Alpha Reductase Inhibitor) ยากลุ่มนี้จะทำให้ต่อมลูกหมากหดตัว โดยจะไปยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ทําให้ต่อมลูกหมากโต ยากลุ่มนี้ ได้แก่ ยาฟินาสเตอไรด์ (finasteride) และยาดูตาสเตอไรด์ (dutasteride) ซึ่งอาจใช้เวลาถึง 6 เดือนจึงจะเห็นผล ผลข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ ความต้องการทางเพศลดลง
  • การใช้ยาหลาย ๆ ชนิดร่วมกัน แพทย์อาจแนะนําให้รับประทานยากลุ่มแอลฟา-บล็อกเกอร์ และ 5 แอลฟา รีดักเตส อินฮิบิเตอร์พร้อมกัน หากการรักษาด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่งไม่ได้ผล

การรักษาต่อมลูกหมากโต โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้อง

แพทย์อาจแนะนำการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ในกรณีที่

  • อาการของผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลางถึงรุนแรง
  • การรักษาด้วยยาไม่ได้ผล
  • ผู้ป่วยมีภาวะทางเดินปัสสาวะอุดตัน มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ มีเลือดในปัสสาวะ หรือโรคไต

แพทย์อาจไม่แนะนำการผ่าตัดแบบส่องกล้อง ในกรณีที่

  • ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะที่ไม่ได้รับการรักษา
  • เป็นโรคท่อปัสสาวะตีบอยู่แล้ว
  • มีโรคทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน หรือโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง

โดยการรักษาต่อมลูกหมากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ดังต่อไปนี้

  • ภาวะอุสจิไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ
  • ปัสสาวะเล็ด
  • ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • มีเลือดออกในปัสสาวะ
  • ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเกิดขึ้นหลังผ่าตัดต่อมลูกหมาก แต่จะเกิดขึ้นน้อยหากรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยเลเซอร์

การรักษาต่อมลูกหมากโต โดยการผ่าตัดแบบส่องกล้องประเภทต่าง ๆ

  • การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดต่อมลูกหมาก (TURP) วิธีนี้แพทย์จะสอดกล้องขนาดเล็กเข้าไปในท่อปัสสาวะของผู้ป่วย และตัดเอาเนื้อเยื่อด้านในต่อมลูกหมากออก ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการได้อย่างรวดเร็วและผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถปัสสาวะได้แรงทันทีหลังผ่าตัด อย่างไรก็ตามหลังจากการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกแล้ว ผู้ป่วยจะยังต้องสายสวนท่อปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะออกเป็นการชั่วคราว
  • การผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขยายท่อปัสสาวะ (TUIP) หลังทำการสอดกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะของผู้ป่วย แพทย์จะกรีดต่อมลูกหมากเป็นรอยเล็ก ๆ 1-2 รอย ทําให้ปัสสาวะไหลออกได้ดีขึ้น
  • การผ่าตัดด้วยการใช้คลื่นไมโครเวฟ (TUMT) แพทย์จะสอดกล้องเข้าไปในท่อปัสสาวะและสอดขั้วไฟฟ้าพิเศษผ่านท่อปัสสาวะของผู้ป่วยเข้าไปในต่อมลูกหมาก จากนั้นจะปล่อยพลังงานไมโครเวฟจากขั้วไฟฟ้าเข้าทำให้ด้านในของต่อมลูกหมากที่โตหดตัวลงและทำให้ปัสสาวะไหลดีขึ้น การผ่าตัดด้วยการใช้คลื่นไมโครเวฟอาจช่วยบรรเทาอาการบางส่วนเท่านั้น และอาจใช้เวลาสักพักถึงจะเห็นผล ทั้งนี้การผ่าตัดวิธีนี้เหมาะกับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น และผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องกลับมารักษาอีกครั้ง
  • การผ่าตัดส่องกล้องด้วยเข็ม (TUNA) แพทย์จะสอดกล้องเข้าไปทางท่อปัสสาวะแล้วสอดเข็มเข้าไปในต่อมลูกหมาก จากนั้นแพทย์จะปล่อยคลื่นวิทยุไปที่เข็ม ความร้อนจากคลื่นวิทยุจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมากที่อุดกั้นปัสสาวะ ในปัจจุบันการผ่าตัดวิธีนี้มักไม่ค่อยเป็นที่ไม่นิยม
  • การรักษาด้วยเลเซอร์ (Laser Therapy) การรักษาด้วยเลเซอร์เป็นการรักษาที่ใช้เลเซอร์พลังงานสูงเพื่อทําลายหรือตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่โตเกินออกไป โดยทั่วไปแล้วการรักษาด้วยเลเซอร์มักรักษาอาการได้ทันทีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการผ่าตัดแบบไม่ใช้เลเซอร์ เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาละลายลิ่มเลือดและไม่สามารถรับการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ รวมถึงผู้ป่วยที่ไม่ต้องการนอนโรงพยาบาลหรือใส่สายสวนปัสสาวะเป็นระยะเวลานาน

การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยเลเซอร์

การรักษาต่อมลูกหมากโตด้วยเลเซอร์ สามารถทำได้โดย

  • * การสลายเนื้อเยื่อ (Ablative Procedure)จะสลายเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่อุดตันเพื่อทำให้ปัสสาวะไหลได้ให้มากขึ้น โดยวิธีนี้ทำให้เลือดออกน้อยและผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าการผ่าตัดส่องกล้องทั่วไป
    • การเลาะเนื้อเยื่อออกทั้งหมด (Enucleation procedures) เป็นการใช้เลเซอร์เลาะเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากที่ขวางท่อทางเดินปัสสาวะออกทั้งหมด ทำให้ปัสสาวะไหลได้ดีขึ้นและป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ แพทย์จะส่งตรวจเนื้อเยื่อที่เลาะออกมาเพื่อตรวจหาเชื้อมะเร็งต่อมลูกหมากหรือโรคอื่น ๆ

การย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะ (PUL)

ในการรักษาด้วยวิธีนี้ แพทย์จะใช้อุปกรณ์พิเศษกดบีบด้านข้างของต่อมลูกหมากเพื่อเพิ่มการไหลของปัสสาวะ และแพทย์มักแนะนำวิธีนี้หากผู้ป่วยมีกลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง นอกจากนี้ การย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะอาจใช้กับผู้ป่วยบางกรณีที่กังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อการหย่อนสมรรถภาพทางเพศและปัญหาการหลั่ง เนื่องจากการย้ายหรือยกเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากออกจากท่อปัสสาวะมีผลต่อการหลั่งและสมรรถภาพทางเพศต่ำกว่าการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อขูดต่อมลูกหมากออกอยู่มาก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจยังต้องเข้ารับการผ่าตัดแบบเปิดแผลกว้างอีกในอนาคต

ต่อมลูกหมากโต หายเองได้ไหม

โรคต่อมลูกหมากโตสามารถรักษาให้หายได้ วิธีรักษาแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือการรักษาด้วยยา และการผ่าตัด ได้แก่

ต่อมลูกหมากโตควรกินยาอะไร

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน แพทย์อาจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น Proscar (finasteride) ซึ่งช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้อ่อนตัวลง (alpha-blockers)

ยารักษาต่อมลูกหมากโตมีกี่กลุ่ม

การรักษาด้วยยา ปัจจุบันมียาอยู่ 3 กลุ่มหลักๆ กลุ่มแรกคือยาที่ทำให้กล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากคลายตัว ทำให้ปัสสาวะคล่องขึ้น กลุ่มที่สองคือยาลดขนาดต่อมลูกหมาก ซึ่งต้องใช้อย่างต่อเนื่องประมาณ 6 เดือนถึงจะเริ่มเห็นผล หากหยุดยาต่อมลูกหมากจะกลับมาโตได้อีก กลุ่มที่สาม เป็นสารสกัดจากซอร์ พัลเมตโต (Saw Palmetto berry) ช่วยลด ...

ต่อมลูกหมากโตกี่วันหาย

การใช้ยาปฏิชีวนะ ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อที่ตรวจพบและอาการของผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูง อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำ แล้วเปลี่ยนเป็นชนิดรับประทานเมื่ออาการดีขึ้น สำหรับต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อชนิดเฉียบพลัน มักให้การรักษา 2-4 สัปดาห์ สำหรับต่อมลูกหมากอักเสบติดเชื้อชนิดเรื้อรัง มักให้การรักษา 4-6 สัปดาห์ หรืออาจ ...