ม ม เส นขนาน ส วนของเส นตรง ป.6 5x 4

บทนี้จะเรียนเกี่ยวกับรูปร่างต่าง ๆ ที่เกิดจากการตัดทรงกรวยด้วยระนาบหนึ่ง โดยการตัดทำมุมต่าง ๆ กัน จะทำให้ได้รอยเฉือนรูปร่างต่าง ๆ ได้แก่ วงกลม, วงรี, พาราโบลา และไฮเพอร์โบลา

ซึ่งคุณสมบัติของรูปร่างต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยเฉพาะในทางวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์

วงกลม นิยามของวงกลม คือ เซตของจุดที่มีระยะห่างจากจุด ๆ หนึ่ง (จุดศูนย์กลางของวงกลม) เป็นระยะเท่า ๆ กัน จะได้ว่า ทุก ๆ จุดบนวงกลมจะมีระยะห่างจากจุดศูนย์กลางเท่ากับรัศมี

ม ม เส นขนาน ส วนของเส นตรง ป.6 5x 4

สมการวงกลม กลมที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด (h, k) และมีรัศมียาว r หน่วย จะมีสมการ คือ

(x – h)2 + (y – k)2 = r2

แต่สมการวงกลมสามารถเขียนได้อีกแบบดังนี้

จาก (x-h)2 + (y-k)2 = r2

จะได้ x2 – 2hx + h2 + y2 – 2ky + y2 = r2

x2 + y2 – 2hx – 2ky + h2 + y2 – r2 = 0

ให้ A = -2h, B = -2k, C = h2 + k2 – r2

จะได้รูปทั่วไปของสมการวงกลม คือ x2 + y2 + Ax + By + C = 0

วงรี นิยามของวงรี ให้ F1 และ F2 เป็นจุดใด ๆ จุด P ใด ๆ บนวงรีจะมีผลบวกของระยะจากจุดนั้นไปยังจุด F1 และ F2 เป็นค่าคงที่ค่าหนึ่งเสมอ โดยที่ค่าคงที่นี้มีค่ามากกว่าระยะ F1F2 หรือก็คือ F1P + F2P = k โดยที่ k > F1F2 สำหรับทุกจุด P บนวงรี เรียกจุด F1 และ F2 ว่า จุดโฟกัส และเรียก k ว่า ผลบวกคงตัว

ม ม เส นขนาน ส วนของเส นตรง ป.6 5x 4

F1P1 + F2P1 = k = F1P2 + F2P2

ส่วนประกอบของวงรี กราฟวงรีที่จะศึกษาในตอนนี้มี 2 แบบ ดังนี้

ม ม เส นขนาน ส วนของเส นตรง ป.6 5x 4

ส่วนประกอบของวงรี มีดังนี้ 1. จุดศูนย์กลางวงรี (จากรูปคือจุด C(h, k)) คือ จุดกึ่งกลางระหว่างจุดโฟกัสทั้งสองจุด กำหนดให้ จุดโฟกัสทั้งสองห่างจากจุดศูนย์กลาง c หน่วย จะได้ว่า จุดโฟกัสทั้งสองห่างกัน 2c หน่วย

  • ถ้าวงรีเป็นแนวนอน จะได้ว่าจุดโฟกัสคือ (h ± c, k)
  • ถ้าวงรีเป็นแนวตั้ง จะได้ว่าจุดโฟกัสคือ (h, k ± c)

2. แกนเอก (จากรูปคือเส้นตรง V1,V2) คือ ส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายอยู่บนวงรี และลากผ่านจุดโฟกัสทั้งสองจุด กำหนดให้ แกนเอกยาว 2a หน่วย

3. จุดยอดของวงรี (จากรูปคือจุด V1 และ V2) คือ จุดปลายของแกนเอก จะเห็นว่า ผลบวกคงตัว จะมีค่าเท่ากับความยาวแกนเอก = 2a หน่วย

  • ถ้าวงรีเป็นแนวนอน จะได้ว่าจุดยอดคือ (h ± a, k)
  • ถ้าวงรีเป็นแนวตั้ง จะได้ว่าจุดยอดคือ (h, k ± a)
  • จุดกึ่งกลางระหว่างจุดยอดทั้งสองจุด คือ จุดศูนย์กลางวงรี

4. แกนโท (จากรูปคือเส้นตรง B1B2) คือ ส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายอยู่บนวงรี โดยตั้งฉากกับแกนเอก และผ่านจุดศูนย์กลางวงรี กำหนดให้ แกนโทยาว 2b หน่วย ดังนั้น จุดกึ่งกลางระหว่างจุดปลายของแกนโท คือ จุดศูนย์กลางวงรี

5. เส้นเลตัสเรกตัม (Latus Rectum) (คือ เส้นประทั้งสองเส้น ในรูปวงรีแนวนอน และวงรีแนวตั้ง) คือ ส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลาย อยู่บนวงรี(คอร์ดของวงรี) โดยตั้งฉากกับแกนเอก และผ่านจุดโฟกัส

6. ค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงรี (e) คือ ค่าที่บอกความรีของวงรี โดย e = c/a

  • ค่า e มีค่าอยู่ในช่วง (0, 1)
  • ถ้า e มีค่าเข้าใกล้ 1 วงรีจะรีมาก
  • ถ้า e มีค่าเข้าใกล้ 0 วงรีจะรีน้อย

สมการวงรี

ม ม เส นขนาน ส วนของเส นตรง ป.6 5x 4

โจทย์ตัวอย่าง วงรีที่มีสมการเป็น (x+1)2⁄25 + (y+2)2⁄16 = 1

  • เป็นวงรีแนวนอน หรือแนวตั้ง ?
  • หาจุดศูนย์กลางวงรี ?
  • จุดโฟกัส ความยาวแกนเอก ?
  • จุดยอดของวงรี ?
  • ความยาวแกนโท ?
  • ความยาวของเส้นเลตัสเรกตัม ?
  • ค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงรีนี้ ? เฉลย

พาราโบลา นิยามของพาราโบลา ให้ L เป็นเส้นตรงใด ๆ และ F เป็นจุดใด ๆ ที่ไม่อยู่บนเส้นตรง L จุด P ใด ๆ บนพาราโบลาจะมีระยะห่างจากเส้นตรง L เท่ากับ ระยะห่างจากจุด F เรียกจุด F ว่า จุดโฟกัสของพาราโบลา และเรียกเส้นตรง L ว่า เส้นไดเรกตริกซ์ ส่วนประกอบของพาราโบลา

กราฟพาราโบลาที่จะศึกษามี 4 แบบ ดังนี้

ม ม เส นขนาน ส วนของเส นตรง ป.6 5x 4

ส่วนประกอบของพาราโบลา มีดังนี้ 1. จุดยอด (จากรูปคือ V(h, k)) คือ จุดที่แบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่ลากจากจุดโฟกัสไปตั้งฉากกับเส้นไดเรกตริกซ์ ให้ระยะห่างระหว่างจุดโฟกัสกับจดยอดเท่ากับ a จะได้ระยะห่างระหว่างจุดโฟกัสกับเส้นไดเรกตริกซ์เท่ากับ 2a

2. แกนสมมาตร คือ เส้นตรงที่ตั้งฉากกับเส้นไดเรกตริกซ์ และผ่านจุดโฟกัส และจะผ่านจุดยอดด้วย แกนสมมาตรจะแบ่งกราฟพาราโบลาออกเป็น 2 ส่วนที่สมมาตรกัน

3. เส้นเลตัสเรกตัม (จากรูปคือ เส้นประ) คือ ส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายอยู่บนพาราโบลา และลากผ่านจุดโฟกัส และขนานกับเส้นไดเรกตริกซ์ เส้นเลตัสเรกตัมยาวเท่ากับ 4a

ตารางแสดงส่วนประกอบของพาราโบลา

ลักษณะกราฟจุดโฟกัสสมการเส้นไดเรกตริกซ์สมการแกนสมมาตรจุดปลายของเส้นเลตัสเรกตัมหงาย(h, k + a)y = k – ax = h (h 2a, k + a)คว่ำ(h, k – a)y = k + ax = h (h 2a, k – a)ตะแคงขวา(h + a, k) x = h – ay = k(h + a, k 2a)ตะแคงซ้าย (h – a, k) x = h + ay = k(h – a, k 2a)

สมการของพาราโบลา

  • พาราโบลาหงาย จะมีสมการ คือ (x – h)2 = 4a(y – k)
  • พาราโบลาคว่ำ จะมีสมการ คือ (x – h)2 = -4a(y – k)
  • พาราโบลาตะแคงขวา จะมีสมการ คือ (y – k)2 = 4a(x – h)
  • พาราโบลาตะแคงซ้าย จะมีสมการ คือ (y – k)2 = -4a(x – h)

โจทย์ตัวอย่าง จงบอกลักษณะกราฟ จุดยอด จุดโฟกัส เส้นไดเรกตริกซ์ แกนสมมาตร ความยาวของเส้นเลตัสเรกตัม และจุดปลายของเส้นเลตัสเรกตัมของพาราโบลาที่มีสมการเป็น y2 = -4x – 4 เฉลย