เป ดร บสม ครอ.สอนคณะมน ษยศาสตร ม.เทคโนโลย เจ าค ณทหารลาดกระบ ง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (อังกฤษ: King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang; อักษรย่อ: สจล. – KMITL) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ก่อตั้งด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น (มหาวิทยาลัยโตไก) โดยเน้นการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

ประวัติ[แก้]

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2551 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัย และการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยีเพื่อความก้าวหน้า ทางอุตสาหกรรม และ เศรษฐกิจของประเทศเดิมที สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พ.ศ. 2514 ด้วยการรวม วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ และวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี เข้าด้วยกัน โดยแต่ละแห่งมีฐานะเป็นวิทยาเขต วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี เป็นสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตนนทบุรี และในปีเดียวกันนั้นได้ย้ายไปที่ อำเภอลาดกระบัง เป็นวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประกอบด้วยพระนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฎ" มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันฯ ด้วย นับเป็นสิ่งอันศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมหามงคลยิ่งส่วนคำว่า "เจ้าคุณทหาร" นั้น มีไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "เจ้าคุณทหาร" ตามที่ ท่านเลี่ยม พรตพิทยพยัต ทายาทของท่านได้แจ้งความประสงค์ไว้ในการบริจาคที่ดิน อันเป็นที่ตั้งของสถาบันฯ ในปัจจุบัน

การบริจาคที่ดิน 1,041 ไร่ ให้กระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นปลัดกระทรวง เพื่อจัดตั้งวิทยาลัยเจ้าคุณทหารเป็นอนุสรณ์แด่ท่านเจ้าคุณทหาร และเพื่อสร้างสถาบันฯ นั้น มี เขียน ขำปัญญา ครูใหญ่คนแรกของโรงเรียนพรตพิทยพยัต เป็นผู้ประสานงาน

ลำดับเหตุการณ์[แก้]

เป ดร บสม ครอ.สอนคณะมน ษยศาสตร ม.เทคโนโลย เจ าค ณทหารลาดกระบ ง
ลานกิจกรรมภายในอาคารเจ้าคุณทหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า "พระจอมเกล้าลาดกระบัง" มีประวัติความเป็นมาและเหตุการณ์สำคัญ ดังนี้

  • พ.ศ. 2503 - ก่อตั้ง ศูนย์ฝึกโทรคมนาคมนนทบุรี สังกัด กองโรงเรียนพาณิชย์ กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2507 - ศูนย์ฝึกโทรคมนนทบุรี ได้ยกฐานะเป็น วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี
  • พ.ศ. 2510 - วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี รับนักศึกษาจาก การสอบคัดเลือกร่วมกับ สภาการศึกษาแห่งชาติ วิธีสอบคัดเลือกรวมเพื่อรับนักศึกษาร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ (การสอบเอนทรานซ์) เป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2513 - โรงเรียนเกษตรกรรมนครปฐม ได้ย้ายมาดำเนินการที่โรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พระนคร
  • พ.ศ. 2514 - วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ได้มีสถานะเป็น วิทยาเขตนนทบุรี ของ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า และย้ายที่ตั้งจาก นนทบุรี มาอยู่ ลาดกระบัง
  • พ.ศ. 2515 - วิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี ยกฐานะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ สังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง - วิทยาลัยวิชาการก่อสร้าง โอนมาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และยกฐานะเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2517 - โรงเรียนเกษตรกรรมเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้รับการสถาปนาเป็น วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร
  • พ.ศ. 2517 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ได้โอนสังกัดจากกระทรวงศึกษาธิการมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2518 - ก่อสร้างอาคารหอประชุมใหญ่ อาคารอนุสรณ์ อาคารห้องสมุด อาคารปฏิบัติการโทรคมนาคม และอาคารยิมเนเซี่ยม ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น
  • พ.ศ. 2520 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้จัดตั้งคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และวิทยาศาสตร์ขึ้น เพื่อผลิตบัญฑิตทางด้านครูอาชีวศึกษา สำหรับวิทยาลัยเทคนิคและอาชีวศึกษาต่างๆ และให้การศึกษา การค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2522 - วิทยาลัยเกษตรกรรมเจ้าคุณทหาร ได้โอนจากกระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบังและยกฐานะเป็น คณะเทคโนโลยีการเกษตร
  • พ.ศ. 2524 - ได้จัดตั้งสำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์
  • พ.ศ. 2527 - ก่อสร้างศูนย์เรียน "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ" อันประกอบด้วยอาคารบรรยายรวม อาคารเรียนและ ปฏิบัติการ อาคารศูนย์สารสนเทศ อาคารสันทนาการ อาคารสำนักอธิการบดี หอพักนักศึกษา ชาย-หญิง และสระว่ายน้ำ ด้วยความช่วยเหลือของรัฐบาลญี่ปุ่น มูลค่า 480 ล้านบาท และเปิดใช้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2529
  • พ.ศ. 2528 - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ตามพระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. 2528 และมีชื่อเต็มว่า "สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง" หรือเรียกสั้นๆ ว่า "พระจอมเกล้าลาดกระบัง" - ได้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2530 - 16 มิถุนายน พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อุทยานพระจอมเกล้า และทรงเปิดงานแสดงทาง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี "พระจอมเกล้าลาดกระบังนิทรรศการปี '3๐"
  • พ.ศ. 2532 - ได้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์โดยแยกออกจาก คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์
  • พ.ศ. 2539 - 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 สถาปนาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • พ.ศ. 2563 - ครบรอบ 60 ปี การสถาปนาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ภายใต้แนวคิด “KMITL GO BEYOND THE LIMIT”

รายชื่ออธิการบดี[แก้]

ลำดับ รูป ชื่ออธิการบดี เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ 1 รองศาสตราจารย์ โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ พ.ศ. 2529 พ.ศ. 2535 2 ศาสตราจารย์ ไพรัช ธัชยพงษ์ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2541 3 รองศาสตราจารย์ ประกิจ ตังติสานนท์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2547 - ศาสตราจารย์ ภาวิช ทองโรจน์ (รักษาราชการแทน) พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2548 4 รองศาสตราจารย์ กิตติ ตีรเศรษฐ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 5 ศาสตราจารย์ ถวิล พึ่งมา 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - ศาสตราจารย์ โมไนย ไกรฤกษ์ (รักษาราชการแทน) 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 30 เมษายน พ.ศ. 2558 -

เป ดร บสม ครอ.สอนคณะมน ษยศาสตร ม.เทคโนโลย เจ าค ณทหารลาดกระบ ง
ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (รักษาราชการแทน) 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 6 ศาสตราจารย์ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2558 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 - รองศาสตราจารย์ อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ (รักษาราชการแทน) 13 ธันวาคม พ.ศ. 2564 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 7 รองศาสตราจารย์ คมสัน มาลีสี 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ปัจจุบัน

สัญลักษณ์ประจำสถาบัน[แก้]

เป ดร บสม ครอ.สอนคณะมน ษยศาสตร ม.เทคโนโลย เจ าค ณทหารลาดกระบ ง
พระมหามงกุฎ ตราประจำมหาวิทยาลัย
เป ดร บสม ครอ.สอนคณะมน ษยศาสตร ม.เทคโนโลย เจ าค ณทหารลาดกระบ ง
ดอกแคแสด ดอกไม้ประจำสถาบันฯ

  • พระมหามงกุฎ มีพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญตรา "พระมหามงกุฎ" มาเป็นสัญลักษณ์แห่งสถาบันฯ ตามนาม "พระจอมเกล้า" ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิ คุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานตามพระบรมนามาภิไธย แห่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • ดอกไม้ประจำสถาบัน คือ ดอกแคแสด
  • สีประจำสถาบัน คือ สีแสด (ซึ่งเป็นสีประจำรัชกาลที่ 4)

อัตลักษณ์สถาบัน[แก้]

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังได้สร้างอัตลักษณ์ประจำสถาบันขึ้นมา เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันขององค์กรและนักศึกษาภายในสถาบัน โดยมีไฟล์สำหรับดาวน์โหลดอยู่ในเว็บไซต์สถาบัน ประกอบไปด้วย

โลโก้และตราสถาบัน[แก้]

สำหรับการใช้งานโลโก้และตราสถาบัน ได้กำหนดไว้ 3 รูปแบบด้วยกัน คือ

  • โลโก้หลัก ประกอบไปด้วยตราประจำสถาบันท้างด้านซ้าย โลโก้สถาบันและชื่อสถาบันทางด้านขวาที่มีการตัดคำอย่างสวยงาม มีทั้งรูปแบบของภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • โลโก้แนวนอน ประกอบด้วยตราประจำสถาบันทางด้านซ้าย และชื่อของสถาบันทางด้านขวา บรรทัดบนเป็นภาษาไทย และบรรทัดล่างเป็นภาษาอังกฤษ
  • โลโก้ย่อย เป็นโลโก้ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในโอกาสพิเศษต่าง ๆ อาทิ โลโก้ KMITL โลโก้ I Love KMITL

ฟอนต์สถาบัน[แก้]

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กำหนดใช้ใช้ฟอนต์ของสถาบันในการประกอบการใช้งานต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงอัตลักษณ์ของหน่วยงาน โดยฟอนต์ชื่อว่า KMITL GO และ KMITL 2020

โค้ดสีประจำสถาบัน[แก้]

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีสีประจำสถาบันคือสีแสดขาว โดยได้กำหนดโค้ดสีสำหรับใช้งาน ประกอบไปด้วยค่า ดังนี้

รูปแบบโค้ด สีหลัก สีรอง แสด ขาว เทา ดำ DIC 1511 - - - Pantone 166C - - - RGB 227 82 5 255 255 255 102 102 102 0 0 0 HEX/HTML E35205 FFFFFF 666666 000000 CMYK 0 76 100 0 0 0 0 0 60 51 51 20 75 68 67 90

แม่แบบของการนำเสนอ[แก้]

สจล. ได้กำหนดแม่แบบของการนำเสนอด้วยโปรแกรมไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยต์

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

รายชื่อศิษย์เก่า ศิษย์เก่าคณะ ผลงาน สมศักดิ์ เทพสุทิน วิศวกรรมศาสตร์

  • รองนายกรัฐมนตรี
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหลายกระทรวง เช่น กระทรวงแรงงาน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น ศรีเมือง เจริญศิริ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
  • อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดมหาสารคาม สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ก่อแก้ว พิกุลทอง วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สงกรานต์ จิตสุทธิภากร วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ภิมุข สิมะโรจน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • รองประธานกรรมการ บริษัท ซักโก้ จำกัด(มหาชน) ศรีศักดิ์ ว่องส่งสาร วิศวกรรมศาสตร์
  • สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • ประธานคณะอนุกรรมาธิการด้านศิลปวัฒนธรรม สันติ พร้อมพัฒน์ บริหารธุรกิจ
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน บริหารธุรกิจ
  • รองประธานรัฐสภา
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย พิชิต ชื่นบาน บริหารธุรกิจ
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  • ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์ บริหารธุรกิจ
  • ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ปรีชาพล พงษ์พานิช บริหารธุรกิจ
  • อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ
  • อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดขอนแก่น อนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด บริหารธุรกิจ
  • อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โฆษกพรรคเพื่อไทย ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์สื่อสารการเมืองพรรคเพื่อไทย
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ บริหารธุรกิจ
  • รองประธานกรรมการอาวุโส กลุ่มบริษัท ไทยซัมมิท วัลลภ สุระกำพลธร วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา
  • ราชบัณฑิต นักวิทยาศาตร์ดีเด่น และนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ เหรียญชัย เรียววิไลสุข วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข
  • อดีตกรรมการกสทช อมรเทพ จิรัฐิติเจริญ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการ กสทช นงลักษณ์ วัชระเกียรติพงษ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • เลขานุการประธาน กสทช พล.ต.ต อาคม ไตรพยัคฆ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองผู้บัญชาการ สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ผู้บังคับการกองตำรวจสื่อสาร พล.ต.อ.กวี สุภานันท์ บริหารธุรกิจ
  • ตำรวจราชองครักษ์พิเศษ ปกรณ์ อาภาพันธุ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สิทธิพร ชาญนำสิน วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีอวกาศ อดิสร เตือนตรานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี(สวทช) สุธี ผู้เจริญชนะชัย วิศวกรรมศาสตร์
  • รองผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
  • ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านบริหาร สวทช. จิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน TGI ยุทธนา ตันติวิวัฒน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สุชาติ สุชาติเวชภูมิ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
  • อดีคคณะกรรมการ กสทช ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สุเจตน์ จันทรังษ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร อธิคม ฤกษบุตร วิศวกรรมศาสตร์
  • รองอธิการบดีอาวุโสและคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร จิรยุทธ์ มหัทธนกุล วิศวกรรมศาสตร์
  • รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เผ่าภัค ศิริสุข วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารระดับสูงในหลายรัฐวิสาหกิจและบริษัท เช่น รฟม. การยางแห่งประเทศไทย บริษัท โคลเวอร์ เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นต้น ประภาษ ไพรสุวรรณา วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  • อดีตประธานกรรมการ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
  • ประธานกรรมการบริษัทและกรรมการอิสระ

บมจ.ซีพีที ไดร์ แอนด์ เพาเวอร์

พิชญะ จันทรานุวัฒน์ วิศวกรรมศาสตร์

  • วิศวกรรมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอาคารของในและต่างประเทศ
  • นายกสมาคมผู้ตรวจสอบอาคารและ เลขาธิการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ อารดา เฟื่องทอง วิศวกรรมศาสตร์
  • รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ สมศักดิ์ ตริยานุรักษ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองผู้ว่าการ ไฟฟ้านครหลวง กิตติ เพ็ชรสันทัด วิศวกรรมศาสตร์
  • รองผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ชินนาฎ คุณเจริญ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ปนิธิ เสมอวงษ์ เทคโนโลยีการเกษตร
  • รองอธิบดี กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กิตติ ตีรเศรษฐ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตอธิการบดี สจล. ถวิล พึ่งมา วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตอธิการบดี สจล.
  • ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม สจล. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตอธิการบดี สจล.
  • อดีตนายกสภาวิศวกร
  • อดีตนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
  • อดีตประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ ,
  • ประธานสมาคมสถาบันการศึกษาขั้นอุดมแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
  • ศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา สจล. ประกิจ ตังติสานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล.
  • อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ประธาน มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ พิชิต ลำยอง วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการสภาวิศวกร
  • คณะกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ บมจ.คัมเวล คอร์ปอเรชั่น
  • อาจารย์พิเศษ ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ปรมินทร์ อินโสม วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้พัฒนาเหรียญคริปโทเคอร์เรนซี FIRO พิรดา เตชะวิจิตร์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ว่าที่นักบินอวกาศหญิง 1 ใน 23 ผู้ชนะ axe apollo space academy นิพนธ์ เจริญกิจการ วิศวกรรมศาสตร์
  • คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ธนภัทร์ วานิชานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
  • คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เวคิน ปิยรัตน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ประธานสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย สมัยที่ 36 วันชัย ไพจิตโรจนา วิศวกรรมศาสตร์
  • อาจารย์ประจำ (ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษด้านควอนตัม) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สัญญา มิตรเอม วิศวกรรมศาสตร์
  • คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะกรรมการรับรองหลักสูตรการพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เอกจิตต์ จึงเจริญ วิศวกรรมศาสตร์
  • อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • หัวหน้าโครงการบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการสำนักบริหารหลักสูตรวิศวกรรมนานาชาติ(ISE)และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดนัย วันทนาการ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งผลักดันโครงการTEP-TEPE วันประชา เชาวลิตวงศ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารข้อมูลและดาต้าอนาไลติกส์ ธนาคารแห่งประเทศไทย ภากร ปีตธวัชชัย วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ประสพสุข ดำรงชิตานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย วศิน วณิชย์วรนันต์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหารหลักทรัพย์จัดการกองทุน(Kasset)และรองกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย วีรวัฒน์ ปัณฑวังกูร วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จํากัด
  • รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. กสท โทรคมนาคม จิรายุทธ รุ่งศรีทอง วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด อานนท์ ทับเที่ยง วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) มนต์ชัย หนูสง วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ศักดิ์ชัย บัวมูล วิศวกรรมศาสตร์
  • ที่ปรึกษาคณะผู้บริหารและรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพีเอฟ)จำกัด มนัสส์ มานะวุฒิเวช วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ดูแลธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจมีเดีย ระบบงานปฏิบัติการและเครือข่าย งานบริหารจัดการระดับภูมิภาคทั่วประเทศ ประสิทธิ์ เลาหวิรภาพ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้า(EGCO) จำกัด(มหาชน) สุระ เกนทะนะศิล วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สฤษดิ์ จิณสิทธิ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด(รถไฟความเร็วสูงภาคตะวันออก)
  • หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) ประเทศ ตันกุรานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
  • หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน) พิชิต ธันโยดม วิศวกรรมศาสตร์
  • หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านกลุ่มธุรกิจองค์กร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการบริษัท ทรู มูฟ จำกัด ธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้บริหารระดับสูงกลุ่มทรู
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่คนแรกของ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด สุจิตต์ เชาว์ศิริกุล วิศวกรรมศาสตร์
  • รองผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย จิรศักดิ์ เยาว์วัชสกุล วิศวกรรมศาสตร์
  • อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด ชินวัชร์ สุรัสวดี วิศวกรรมศาสตร์
  • ศิษย์เก่า MIT,ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ www.worldmeteorology.com ,WMApp , นักวิจัยเทคโนโลยีรุ่นใหม่ วันฉัตร ผดุงรัตน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้ง pantip.com ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สราวุฒิ อยู่วิทยา วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เรดบูล จำกัด ชวลิต ทิพพาวนิช วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการจัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
  • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมชั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วุฒิกร สติฐิต วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ(บริษัท ปตท จำกัด(มหาชน)) ปิติพันธ์ เทพปฏิมากร วิศวกรรมศาสตร์
  • ที่ปรึกษาคณะกรรมการ โรงเรียนกำเนิดวิทย์
  • อดีตประธานเจ้าหน้าที่ธุรกิจกลุ่มปิโตรเลียมก๊าซธรรมชาติและที่ปรึกษา ปตท.
  • กรรมการอิสระ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) วศิน สุนทราจารย์ วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการ บริษัท Brighter PTT Oil and Retail Business Company Limited
  • รองประธานเจ้าหน้าที่และกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร นวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) สุนทร เชื้อสุข อุตสาหกรรม
  • ประธานกรรมการ บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด
  • รองกรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการคลังปิโตรเลียม บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) รัฐพล ชื่นสมจิตต์ วิศวกรรมศาสตร์
  • รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
  • กรรมการ บริษัท ไทยคม จำกัด นพพร วิฑูรชาติ วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ณัฐ วงศ์พานิช วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซนทรัล เรสเตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด พงษ์ชัย อมตานนท์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น. วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการ CISCO ประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน
  • ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส หรือ เอดับบลิวเอส (AWS) สุภัทร จำปาทอง สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • อดีตปลัดกระทรวงศึกษาและเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ทิพวรรณ บุณย์เพิ่ม สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วุฒิ ด่านกิตติกุล สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • รองผู้อำนวยการ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สายงานเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

ทรงพล ยมนาค สถาปัตยกรรมศาสตร์

  • สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญระบบBIM
  • กรรมการสถาบันBIMใน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ทวีเกียรติ ศรีสกุลเมฆี สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • สถาปนิกใหญ่ กรมโยธาธิการและผังเมือง ทรงศักดิ์ เปรมสุข สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด คืนสิทธิ์ สุวรรณวัฒกี สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • อดีตพิธีกร (รายการ ตีสิบ) ธนญชัย ศรศรีวิชัย สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา บริษัท ฟีโนมีน่า จำกัด ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักออกแบบและผู้ก่อตั้งแบรนด์ Qualy จีรเวช หงสกุล สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • founder IDIN Architecture คทาทิพย์ เอี่ยมกมลา สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ผู้อำนวยการสำนักสถาปัตยกรรม กรมโยธาธิการและผังเมือง
  • สถาปนิกใหญ่และผู้ตรวจราชการกรม โยธาธิการและผังเมือง วิรัตน์ รัตตากร สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • อดีตคณบดีสถาปัตยกรรมศาสตร์และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิเชษฐ์ สุวิสิทฐ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร สิทธิพงศ์ ณ เชียงใหม่ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • ประธานสมาพันธ์อาชีวศึกษาแห่งประเทศไทย, เจ้านายฝ่ายเหนือ คงเดช จาตุรันต์รัศมี สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ผู้เขียนบท (ต้มยำกุ้ง, เดอะเลตเตอร์จดหมายรัก, แฮ๊ปปี้เบิร์ดเดย์) กำกับภาพยนตร์ (ตั้งวง), นักร้องวงสี่เต่าเธอ ภาณุพล รัตนกาญจนภัทร วิทยาศาสตร์
  • ผู้อำนวยการองค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย สยาม เจริญเสียง วิทยาศาสตร์
  • ผู้อำนวยการ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม(FIBO) มจธ
  • กรรมการสภา มจธ พิชัยยุทธ์ เตชะพงษ์ วิทยาศาสตร์
  • ผู้บริหารอาวุโส บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ประเทศอินเดีย
  • อดีตนายกสมาคมศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์ สจล. สุวัฒน์ สูงเลิศส่งฟ้า วิทยาศาสตร์
  • นักวิจัย ฝ่ายวิจัยเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ธวัชชัย พีชะพัฒน์ วิทยาศาสตร์
  • รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส AEON ปรอง กองทรัพย์โต วิทยาศาสตร์
  • ผู้อำนวยการอาวุโส ด้านคุณภาพและวิจัย บริษัท ลูเมนตั้ม อินเตอร์เนชั่นแนล(ประเทศไทย) จำกัด
  • วิทยากรด้านการพัฒนาองค์กรด้านเทคโนโลยีและด้านการจัดการ สุนทรียา วงศ์ศิริกุล วิทยาศาสตร์
  • รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ อสมท
  • กรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท จี สตีล จำกัด(มหาชน) และ บริษัท จี เจ สตีล จำกัด(มหาชน) ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ วิทยาศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เวนเจอร์ จำกัด
  • ผู้เชี่ยวชาญด้าน blockchain และ Crptocurrency ปิยดา เจริญสิริสมบูรณ์ วิทยาศาสตร์
  • Vice president Global Development Pesonal Care Solutions,BASF personal care and Nutrition GmbH in Germany
  • Vice president research Innovative campus Asia pacific BASF Auxillaly chemicals co, ltd จิรยุทธ์ กาญจนมยูร วิทยาศาสตร์
  • Vice president information technology at The Mall Group วีระ อารีรัตนศักดิ์ วิทยาศาสตร์
  • Managing director,Malaysia,Indonesia,Thailand and Indochina at Netapp Inc. ธารา บัวคำศรี วิทยาศาสตร์
  • ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ผู้ร่วมก่อตั้งองค์กรกรีนพีช(greenpeace)ในภูมิภาคเอเชีย มนตรี วิบูลยรัตน์ วิทยาศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์ ภาควิชา ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อุปนายกสมาคมนักวิจัยแห่งชาติและ รองผู้อำนวยการสำนักงานศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย วิทยาศาสตร์
  • รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขา ฟิสิกส์พอลิเมอร์
  • อาจาร์ยประจำภาคเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กิตติชัย วัชรเวชศฤงคาร วิทยาศาสตร์
  • Associate Professor and Director of Graduate studies Consumer,Apparel ,and Retail studies -Byan school of business and Economic at University of north carolina ภราดร จินขุนทอง เทคโนโลยีการเกษตร
  • กรรมการผู้จัดการ CPF TURKEY ศรุต ทับลอย สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ YGG
  • ผลงานอาทิ เช่น เกม home sweet home ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ศิลปินนักวิจัยละที่ปรึกษาอิสระด้านการออกแบบและศิลปะ
  • อดีตผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด้านศิลปะและการออกแบบ San Diego State University เมืองซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
  • อดีตอาจารย์ ด้านการออกแบบเครื่องประดับและงานโลหะ Savannah College of Art and design เมืองซาวาน่า รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • อดีตผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ ด้านศิลปะและการออกแบบ Northern Illinois University เมืองดีเคลบ์ รัฐอิลอนยล์ พิชพิมพ์ ปัทมสัตยาสนธิ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • กรรมการบริหาร บริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด วีรพันธ์ อังสุมาลี วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) รังสรรค์ พรมประสิทธิ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท QueQ (ประเทศไทย) จำกัด สุรเชษฐ์ ภาณุพัฒนา วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการบริหาร และรองผู้อำนวยการ สายงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี บมจ.ซันเวนดิ้ง เทคโนโลยี รุ่งโรจน์ อุปถัมภ์โพธิวัฒน์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารค่ายเพลงสมอลล์รูม ชาติฉกาจ ไวกวี สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ช่างภาพศิลปินแถวหน้าของประเทศไทย
  • ผู้ก่อตั้งแบรนด์ TRULY ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักแสดง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ทศพร อาชวานันทกุล สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักร้องวง Singular,นักแต่งเพลง อนุสรณ์ มณีเทศ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักร้องนำและมือกีตาร้ วงอาร์มแชร์ เจตมนต์ มละโยธา สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักร้อง penguin Villa และอดีตมือกีต้าร์พราว ชาราฎา อิมราพร สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • อดีตนักร้องวง ชูการ์ อายส์ , นักแสดง gmm สิทธิ ภาณุพัฒนพงศ์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บจก.สินแพทย์
  • กรรมการบริหาร บจก.รพ.วิภาราม
  • กรรมการบริหาร บมจ.รพ.วิภาวดี ศรีฟ้า จันทร์ทองวัฒนา เทคโนโลยีการเกษตร
  • ผู้ประกาศข่าว ผู้สื่อข่าว สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นภ หอยสังข์ อุตสาหกรรมเกษตร
  • แรปเปอร์ AKA nil lhohitz
  • อาจารย์วิชา สุนทรียะเพลงแรป ศากุน บุญอิต อุตสาหกรรมเกษตร
  • อาจารย์ประจำMBAมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จิระ ด่านบวรเกียรติ วิศวกรรมศาสตร์
  • นักร้อง,นักแสดง,สมาชิกวง ซีควินท์ (C-Quint) จรณ โสรัตน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • นักแสดง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ณวัสน์ ภู่พันธัชสีห์ วิศวกรรมศาสตร์
  • นักแสดง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กฤตพร มณฑีรรัตน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • สมาชิกวง โอลีฟส์ นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • นักแสดง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เทพกิจ ฉัตรสุริยาวงศ์ บริหารธุรกิจ
  • ผู้ประกาศข่าว ช่อง 8 กานต์ธีรา วัชรทัศนกุล วิทยาศาสตร์
  • สมาชิกวง วิชญ วัฒนศัพท์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ศิลปิน นักดนตรี โปรดิวเซอร์ นักประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ หัวหน้าวง Hualampong Riddim ดุลยพล ศรีจันทร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • นักออกแบบและผู้ก่อตั้ง PDM Brand อารียา ศิลปนาวา ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
  • นักแสดง ช่อง 8 ชลากรณ์ ปัญญาโฉม วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัล บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) สุทัศน์ คงดำรงเกียรติ วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ประจำประเทศไทยกัมพูชา เมียนมา และลาวบริษัท เอ็นทีที จำกัด สุรศักดิ์ เอิบสิริสุข วิศวกรรมศาสตร์
  • ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จำกัด (มหาชน) วิทวัส เรืองปัญญาวุฒิ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท วิทวี(WITTAWII)จำกัด สมบูรณ์ ทรงพิพัฒน์ วิศวกรรมศาสตร์
  • ทีมผู้บริหารและรองกรรมการผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการแนวราบ บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) จิรพัฒน์ จันทร์เจิดศักดิ์ วิศวกรรศาสตร์
  • ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี สิริ เวนเจอร์ส บริษัทในเครือแสนสิริ ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ วิศวกรรมศาสตร์
  • CEO และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท จิตตะ ดอทคอม จำกัด เจ้าของ Jitta ธีระชัย รัตนกมลพร วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งและผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.ดิทโต้ (ประเทศไทย) และผู้ถือหุ้นใหญ่ บมจ.ทีม คอนชัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ บุญศักดิ์ เกียรติจรูญ วิศวกรรมศาสตร์
  • ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คัมเวล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • นายกสมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย (TEMCA)
  • กรรมการมูลนิธิอุตสาหกรรมก่อสร้างไฟฟ้าและเครื่องกล
  • กรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน
  • อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเพื่อการป้องกันประเทศ สุรวีย์ ชัยธำรงค์กุล วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) บุญธรรม หาญพาณิชย์ วิศวกรรมศาสตร์
  • กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงพยาบาลรัตนาธิเบศร์ จำกัด วิชัย สุขประเสริฐกุล วิศวกรรมศาสตร์
  • Vice President and General Manager บริษัทฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส์จำกัด(มหาชน)

การศึกษา[แก้]

ปัจจุบัน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเปิดสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก มีทั้งหลักสูตรทั่วไป หลักสูตรภาคสมทบ และหลักสูตรนานาชาติ ประกอบด้วยคณะทั้งหมด 8 คณะ 4 วิทยาลัย ได้แก่

คณะ ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก คณะวิศวกรรมศาสตร์

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
    • หลักสูตรวิศวกรรมโทรคมนาคม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
    • หลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า
    • หลักสูตรวิศวกรรมพลังงานไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    • หลักสูตรวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการวัดและควบคุม
    • หลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ
    • หลักสูตรวิศวกรรมระบบควบคุม
    • หลักสูตรวิศวกรรมการวัดคุม
    • หลักสูตรวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
    • หลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ
    • วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล
    • หลักสูตรวิศวกรรมเกษตร
    • หลักสูตรวิศวกรรมขนส่งทางราง
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
    • หลักสูตรวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
    • หลักสูตรวิศวกรรมเคมี
    • หลักสูตรวิศวกรรมปิโตรเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
    • หลักสูตรวิศวกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
    • หลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการ
    • หลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมออกแบบการผลิตและวัสดุ
  • โครงการหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา
    • IoT: IoT System and Information Engineering & Bachelor of Science Program in Industrial Physics , วิศวกรรมระบบไอโอทีและสารสนเทศ & วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อุตสาหกรรม
    • วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต(วิศวกรรมเกษตร) & วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการสมาร์ตฟาร์ม)
  • หลักสูตรวิศวกรรมสหวิทยาการนานาชาติ - SIIE: School of International & Interdisciplinary Engineering Programs
    • BME: Biomedical Engineering- วิศวกรรมชีวการแพทย์
    • CHEM: Chemical Engineering - วิศวกรรมเคมี
    • CIE: Computer Innovation Engineering - วิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์
    • CIV: Civil Engineering - วิศวกรรมโยธา
    • EE: Electrical Engineering - วิศวกรรมไฟฟ้า
      • Communication and Data major
      • Electrical Power major
      • Mechatronics major
      • Electronics major
    • ENE: Energy Engineering - วิศวกรรมพลังงาน
    • EME: Engineering Management and Entrepreneurship: การจัดการวิศวกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ
    • FE: Financial Engineering - วิศวกรรมการเงิน 5ปี ตรี-โท (ลาดกระบัง-นิด้า)
    • IEDMS: Industrial Engineering & Digital Management Systems - วิศวกรรมอุตสาหการและระบบการจัดการเชิงดิจิทัล
    • ME: Mechanical Engineering - วิศวกรรมเครื่องกล
    • RAI: Robotics & AI Engineering - วิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
    • SE: Software Engineering - วิศวกรรมซอฟแวร์
  • Dual Bachelor’s Degree Program
    • Bachelor of Engineering (Civil Engineering) & Bachelor of Science (Architecture)
    • Bachelor of Engineering in Smart Materials Technology & Bachelor of Engineering in Robotics and AI Engineering
    • B.Eng.(Biomedical Engineering) & Doctor of Medicine วิศวกรรมชีวการแพทย & แพทยศาสตรบัณฑิต
    • B.Eng.(Biomedical Engineering) & Doctor of Dental Surgery วิศวกรรมชีวการแพทย & ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (coming soon)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไมโครอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมระบบควบคุม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการวัดคุม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวิศวกรรมอัตโนมัติ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ
  • วิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและพลังงานและความยั่งยืน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมปิโตรเคมี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมป้องกันประเทศ
  • สาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์(หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการโลจีสติกส์และซัพพลายเชน(หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาระบบอัจฉริยะเชิงคำนวณ(หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัจฉริยะ(หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์(หลักสูตรนานาชาติ)
  • วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัจฉริยะ(หลักสูตรนานาชาติ)
  • สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน(หลักสูตรนานาชาติ) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมหลัก
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
  • สาขาวิชาภูมิสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาการออกแบบสนเทศสามมิติ
  • สาขาวิชานิเทศศิลป์
  • สาขาวิชาภาพยนตร์ และ ดิจิทัลมีเดีย
  • สาขาวิชาการถ่ายภาพ
  • สาขาวิชาจิตรกรรม
  • สาขาวิชาประติมากรรม
  • สาขาวิชาภาพพิมพ์
  • หลักสูตรนานาชาติ
    • Bachelor of Science in Architecture สาขาวิชาสถาปัตยกรรมดิจิตัลและกระบวนการคิดเชิงออกแบบ(หลักสูตรนานาชาติ)
    • BACHELOR OF FINE ARTS PROGRAM IN CREATIVE ARTS AND CURATORIAL STUDIES (INTERNATIONAL PROGRAM) NEW PROGRAM 2022
  • โครงการหลักสูตรควบระดับปริญญาตรี 2 ปริญญา (Dual Bachelor’s Degree Program)
    • Bachelor of Engineering (Civil Engineering) & Bachelor of Science (Architecture)
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมเขตร้อน
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
  • สาขาวิชาศิลปอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาทัศนศิลป์
  • สาขาวิชาการวางแผนชุมชนเมืองและสภาพแวดล้อม
  • สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชานวัตกรรมและการออกแบบดิจิทัลมีเดีย
  • หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
    • สาขาวิชาสหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ
  • หลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต
    • สาขาวิชาการบริหารจัดการเมือง(หลักสูตรนานาชาติ)
  • หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชานวัตกรรมและการออกแบบดิจิทัลมีเดีย คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
  • สาขาวิชาครุศาสตร์สถาปัตยกรรมและการออกแบบ
    • หลักสูตรครุศาสตร์สถาปัตยกรรม (5 ปี)
    • หลักสูตรครุศาสตร์สภาพแวดล้อมภายใน (5 ปี)
    • หลักสูตรครุศาสตร์การออกแบบ (5 ปี)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์วิศวกรรม
    • หลักสูตรครุศาสตร์วิศวกรรม (5 ปี)
  • สาขาวิชาครุศาสตร์เกษตร
    • หลักสูตรครุศาสตร์เกษตร (5 ปี)

1. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต

  • Master of Industrial Education (M.I.Ed.) มี 3 หลักสูตร
    • ค.อ.ม. (สถาปัตยกรรม)
    • ค.อ.ม. (การบริหารการศึกษา)
    • ค.อ.ม. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม) มี 4 วิชาเอก
      • เทคโนโลยีทางการศึกษา
      • หลักสูตรและการสอน
      • หลักสูตรและการสอนอาชีวศึกษา
      • การวิจัยและประเมินผลทางการศึกษา
  • Master of Science in Industrial Education (M.S.I.Ed.) มี 1 หลักสูตร
    • ค.อ.ม. (เทคโนโลยีการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)
  • Master of Science in Industrial Education (M.Sc.I.Ed.) มี 2 หลักสูตร
    • ค.อ.ม. (วิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร)
    • ค.อ.ม. (อิเล็กทรอนิกส์)

2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต 3 หลักสูตร

  • Master of Science (M.S.)
    • วท.ม.(ครุศาสตร์เกษตร)
  • Master of Science (M.Sc.)
    • วท.ม. (การศึกษาวิทยาศาสตร์)
  • Master of Science (Computer Education)
    • วท.ม. (คอมพิวเตอร์ศึกษา)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) 1. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต มี 2 หลักสูตร
  • ค.อ.ด. (การบริหารอาชีวะศึกษา)
  • ค.อ.ด. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม) มี 3 วิชาเอก
    • เทคโนโลยีการศึกษา
    • การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
    • การศึกษาสถาปัตยกรรมและการออกแบบ

2. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มี 3 หลักสูตร

  • ปร.ด. สาขาวิชาการศึกษาเกษตร
  • ปร.ด. สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์เกษตร
  • ปร.ด. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
  • ปร.ด. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าศึกษา
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และนวัตกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเคมีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) งดรับนักศึกษา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาวิชาหลักสูตรเคมีวิศวกรรมและอุตสาหกรรม (หลักสูตรนานาชาติ) 2564
  • Applied Mathematics
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเคมี
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • สาขาวิชาปิโตรเคมีและเคมีของไฮโดรคาร์บอน
  • สาขาวิชาเคมีสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาเคมีประยุกต์
  • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต์
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาสถิติประยุกต์
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์อุตสาหการ หลักสูตรใหม่ 2561
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
    • สาขาวิชาเคมีประยุกต์
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
    • สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
    • สาขาวิชาฟิสิกส์ประยุกต
    • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะศิลปศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ
  • สาขาวิชาภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม

หลักสูตรในอนาคต

  • โครงการหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • สาขาวิชากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา
  • โครงการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต โครงการหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะเทคโนโลยีการเกษตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์และวิทยาศาสตร์เนื้อสัตว์
  • สาขาวิชานวัตกรรมการผลิตสัตว์น้ำและการจัดการทรัพยากรประมง
  • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร
  • สาขาวิชาการจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด
  • สาขาวิชาภูมิทัศน์เพื่อสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชานิเทศศาสตร์เกษตร วิทยาศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
  • สาขาวิชาพืชสวน
  • สาขาวิชาพืชไร่
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์
  • สาขาวิชากีฏวิทยาและสิ่งแวดล้อม
  • สาขาวิชาปฐพีวิทยา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการศัตรูพืช
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางโรคพืช
  • สาขาวิชาพัฒนาการเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมอาหาร
  • สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการหมัก
  • สาขาวิชาวิศวกรรมแปรรูปอาหาร
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประกอบอาหารและเทคโนโลยีการบริการอาหาร (หลักสูตรนานาชาติ 2561)
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดและบริการอาหาร
  • สาขาวิชาสุขาภิบาลอาหาร

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชา วิทยาศาสตร์การอาหาร คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ (นานาชาติ)
    • สาขาวิชาสาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะบริหารธุรกิจ
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
    • นวัตกรรมการจัดการอุตสาหกรรม
    • การจัดการและการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรม
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาเศรษฐศาสตรธุรกิจและการจัดการ
  • Bachelor of Business Administration (International Program)
    • Innovation & Technological Marketing
    • Global Business & Financial Management
    • Digital Logistics & Supply Chain Management
    • Global Entrepreneurship
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
  • Master of Business Administration in Industrial Business Administration (International Program)
  • Doctor of Philosophy in Industrial Business Administration (International Program) วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

Bachelor of Engineering Program in Manufacturing System Engineering

  • B.Eng. Manufacturing System Engineering
  • B.Eng. Manufacturing System Engineering(หลักสูตรต่อเนื่อง3ปี)

Master degree program:

  • Master of Engineering Program in Advanced Manufacturing System Engineering
    • M.Eng. (Advanced Manufacturing System Engineering)

Doctor of Philosophy Program in Advanced Manufacturing System Engineering (International Program)

  • Ph.D. (Advanced Manufacturing System Engineering) วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี
  • สาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุนาโน
  • Bachelor of Engineering Program in Smart Materials Technology and Bachelor of Engineering Program in Robotics and AI (Dual Degree) (International Program)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชานาโนวิทยา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
  • สาขาวิชานาโนเทคโนโลยี วิทยาลัยวิจัยนวัตกรรมทางการศึกษา
  • โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า

-

-

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมและอุตสาหกรรม วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)

  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและนักบินพาณิชย์(Aeronautical Engineering and Commercial Pilot)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ(Aerospace Engineering)
    • สาขาวิศวกรรมวิทยาการข้อมูลการบินและอวกาศ (Aviation Data Analysis and AeroSpace Engineering) เปิดรับปีการศึกษา 2565
    • วิศวกรรมระบบอากาศยานไร้คนขับ(Unmanned Aircraft Systems Engineering) เปิดรับปีการศึกษา 2565
    • วิศวกรรมซ่อมบำรุงอากาศยาน(Aviation Maintenance Engineering) เปิดรับปีการศึกษา 2565
  • หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต(นานาชาติ)
    • สาขาวิชาการจัดการลอจิสติกส์ วิทยาลัยวิศวกรรมสังคีต (Institute of Music Science and Engineering : IMSE) สาขาวิชาวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม
  • หลักสูตรวิศวกรรมดนตรีและสื่อประสม
  • โครงการหลักสูตรการจัดการดนตรีและสื่อประสม

-

โครงการจัดตั้งวิทยาลัยวิศวกรรมอวกาศและระบบโลก (College of Space and Earth Systems Engineering : SESE)

  • 1. Earth Systems & Environmental Engineering
  • 2. Space Engineering

-

คณะแพทยศาสตร์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาแพทยศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ

-

คณะทันตแพทยศาสตร์ หลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาทันตแพทยศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ

-

โครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์บัณฑิตหลักสูตรนานาชาติ

-

สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN - KMITL) หลักสูตรอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ 5 ปี (รับผู้สำเร็จ ม.3) (หลักสูตรภาษาอังกฤษ-ญิปุ่น)

  1. Mechatronics Engineering (2019)
  2. Computer Engineering (2021)
  3. Electrical and Electronics Engineering (2023)

Advanced course

  1. Production Engineering (2024)

-

วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์[แก้]

ในปี พ.ศ. 2526 ทางสถาบันฯ ได้มีความเห็นว่าควรจะได้มีการขยายงานการศึกษา การวิจัย และบริการสังคมของสถาบันไป สู่ภูมิภาค จึงจัดตั้งวิทยาเขตชุมพรขึ้นในปี พ.ศ. 2533 และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนรวม พร้อมเปิดป้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2541 วิทยาเขตชุมพรเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2539

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ 3,500 ไร่ ประกอบไปด้วย 4 ภาควิชา 15 สาขาวิชาดังนี้

ภาควิชา ปริญญาตรี บัณฑิตศึกษา

วิศวกรรมศาสตร์

วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
    • แขนงวิศวกรรมเครื่องกล
    • แขนงวิศวกรรมเครื่องกลเกษตรและอาหาร
  • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศ
  • โครงการวิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิศวกรรมเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  • สาขาวิศวกรรมเครื่องกล

เทคโนโลยีการเกษตร

วิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมงและทรัพยากรทางน้ำ
  • สาขาวิชาพืชสวน
  • สาขาวิชาสัตวศาสตร์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาพืชสวน

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
  • สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์

บริหารธุรกิจ

บริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
    • แขนงบริหารธุรกิจเกษตร
    • แขนงบริหารเทคโนโลยี
    • แขนงบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

พื้นที่มหาวิทยาลัย[แก้]

เป ดร บสม ครอ.สอนคณะมน ษยศาสตร ม.เทคโนโลย เจ าค ณทหารลาดกระบ ง
ภายในสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แบ่งโดยถนนฉลองกรุงและทางรถไฟสายตะวันออก

  • ส่วนที่หนึ่ง อยู่ทางทิศเหนือ ประกอบไปด้วยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะการบริหารและจัดการ คณะศิลปศาสตร์ สำนักวิจัยและบริการคอมพิวเตอร์ พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 4 อุทยานพระจอมเกล้า อาคารกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ศูนย์เรียนรวมสมเด็จพระเทพฯ วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง วิทยาลัยนานานาชาติ วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการวิศวกรรมศาสตร์2 รวมถึงบางส่วนของภาควิชาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ หอพักสถาบัน สมาคมศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และศูนย์กีฬาพระจอมเกล้าลาดกระบัง
  • ส่วนที่สอง อยู่ทางทิศตะวันออก ประกอบไปด้วย อาคารบุนนาคของคณะเทคโนโลยีการเกษตร อาคารเรียนและปฏิบัติการพิเศษจอมไตรของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และอาคารพระจอมเกล้า หอประชุมจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อาคารจุฬาภรณวลัยลักษณ์1 อาคารจุฬาภรณวลัยลักษณ์2 อาคารวิทยาศาสตร์ ของคณะวิทยาศาสตร์ รวมถึงอาคารกิจกรรมนักศึกษา
  • ส่วนที่สาม อยู่ทางทิศตะวันตก ประกอบไปด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และหอประชุมใหญ่สถาบัน
  • ส่วนที่สี่ อยู่ทางทิศใต้ ประกอบไปด้วย สำนักหอสมุดกลาง โรงเรียนสาธิตนานาชาติพระจอมเกล้า หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) แปลงเกษตรสาธิตของคณะเทคโนโลยีการเกษตร อาคารเจ้าคุณทหารซึ่งเป็นอาคารเรียนของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและคณะอุตสาหกรรมเกษตร และอาคารเรียนรวมและปฏิบัติการคณะอุตสาหกรรมเกษตร
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร[แก้]

ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของสถาบัน โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรนั้น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดที่ KMITL Convention Hall หอประชุมเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)

การเดินทาง[แก้]

เป ดร บสม ครอ.สอนคณะมน ษยศาสตร ม.เทคโนโลย เจ าค ณทหารลาดกระบ ง
สถานีรถไฟพระจอมเกล้า ผ่านกลางสถาบัน

1. รถไฟสายตะวันออก

  • จากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ผ่านป้ายหยุดรถยมราช ป้ายหยุดรถอุรุพงษ์ ป้ายหยุดรถพญาไท สถานีรถไฟมักกะสัน ป้ายหยุดรถอโศก สถานีรถไฟคลองตัน ป้ายหยุดรถสุขุมวิท 71 สถานีรถไฟหัวหมาก สถานีรถไฟบ้านทับช้าง สถานีรถไฟลาดกระบัง และป้ายหยุดรถไฟพระจอมเกล้า (ตั้งอยู่ภายในบริเวณสถาบันฯ)

2. รถโดยสารประจำทาง

เป ดร บสม ครอ.สอนคณะมน ษยศาสตร ม.เทคโนโลย เจ าค ณทหารลาดกระบ ง
รถโดยสารประจำทางสาย 143 วิ่งระหว่างแฮปปี้แลนด์ ถึงสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เป ดร บสม ครอ.สอนคณะมน ษยศาสตร ม.เทคโนโลย เจ าค ณทหารลาดกระบ ง
รถโดยสารประจำทางสาย 517 วิ่งระหว่างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

  • รถโดยสารประจำทางสาย 143 (ของ ขสมก. / ไทยสมายล์บัส) ต้นทางจากตลาดแฮปปี้แลนด์ (The Mall บางกะปิ) ปลายทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • รถโดยสารประจำทางสาย 517 (ของไทยสมายล์บัส) ต้นทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปลายทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • รถโดยสารประจำทางสาย 1-56 (ของไทยสมายล์บัส) ต้นทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ปลายทางหมอชิต 2

3. รถสองแถว

  • รถสองแถวสาย 1013 (555) ต้นทางวัดราชโกษา ปลายทางเคหะร่มเกล้า
  • รถสองแถวสาย 1013 (777) (วงกลม) ต้นทาง ARL ลาดกระบัง ปลายทางสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • รถสองแถวสาย 1269 ต้นทางหัวตะเข้ ปลายทางลำผักชี
  • รถสองแถวสาย 1269 ต้นทางหัวตะเข้ ปลายทางวัดทิพพาวาส
  • รถสองแถวสาย 1517 ต้นทางหัวตะเข้ ปลายทางบึงบัว

4. รถยนต์ส่วนตัว

  • ใช้ทางด่วนพิเศษมอเตอร์เวย์ (กรุงเทพ-ชลบุรี) ออกจากทางด่วนที่ถนนร่มเกล้า เลี้ยวขวาเข้าถนนร่มเกล้า เลี้ยวซ้ายเข้าถนนอ่อนนุชและเลี้ยวซ้ายเข้าถนนฉลองกรุง
  • จากถนนศรีนครินทร์ เข้าถนนอ่อนนุช (สุขุมวิท 77) ระยะทางประมาณ 16 กม. และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนฉลองกรุง

5. รถตู้ปรับอากาศ

  • อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • เดอะมอลล์บางกะปิ - หัวตะเข้
  • มีนบุรี - ลาดกระบัง (ตลาดหัวตะเข้)
  • มีนบุรี - บึงบัว - หัวตะเข้
  • ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • แฟชั่นไอส์แลนด์ - ลาดกระบัง
  • เมกาบางนา - สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

6. อากาศยาน

อยู่ห่างสนามบินสุวรรณภูมิประมาณ 5 กิโลเมตร

ชื่อเสียงและการจัดอันดับสถาบัน[แก้]

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เป็นมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย และหนังสือพิมพ์ชั้นนำของอเมริกายกย่องให้เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยที่เติบโตเร็วที่สุดในอาเซียน สจล. มีศักยภาพสูงเป็นที่ยอมรับทางด้านสาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์ (อันดับ 2 (ร่วม)) วิทยาศาสตร์ (อันดับ 2 (ร่วม)) คอมพิวเตอร์ (อันดับ 1 (ร่วม)) เทคโนโลยี (อันดับ 2 (ร่วม)) และนวัตกรรม มาอย่างยาวนานทั้งในประเทศและนานาชาติ ได้รับการจัดอันดับจากองค์กรจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลกมากมาย เช่น Times Higher Education (THE) , QS University Rankings , Webometrics Ranking เป็นต้น ซึ่งสถาบันได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง และมีผลงานด้านการวิจัย ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ จนทำให้ผลงานเป็นที่ประจักษ์ ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก อาทิ เช่น

การจัดอันดับมหาวิทยาลัย[แก้]

ประจำปี 2016[แก้]

  • อันดับที่ 9 ของประเทศ จากการจัดอันดับของ QS University Rankings: Asia 2016

ประจำปี 2017[แก้]

  • อันดับที่ 5 ของประเทศไทย (อันดับที่ 181-190 ของเอเชีย) จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2017 (Times Higher Education Asia University Rankings 2017)
  • อันดับที่ 11 ของประเทศ จากการจัดอันดับ Webometrics Ranking January 2017 รอบที่ 1

ประจำปี 2016-2017[แก้]

  • อันดับที่ 8 ของไทย ติด อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ประจำปี 2016-2017 (Times Higher Education World University Rankings 2016-2017) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ติดเข้ามาใน อันดับ 801+ นับเป็นครั้งแรก ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ติดอันดับเข้ามาใน อันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (Times Higher Education World University Rankings) นับตั้งแต่ปี 2004 ที่ได้มีการจัดอันดับ โดยใน 2016 นี้ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) ยังติดอันดับ 67 ในด้าน Industry income รายได้ทางอุตสาหกรรม โดยวัดจาก นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

ประจำปี 2019-2020[แก้]

โดย Times Higher Education (THE)[แก้]
  • อันดับที่ 1 ของประเทศไทย ด้านงานวิจัย ประจำปี 2019 (อันดับที่ 251–300 ของโลก) จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด ด้านงานวิจัย (World University Rankings 2019 : Research)
  • อันดับที่ 1 ของประเทศไทย ด้านรายได้จากภาคอุตสาหกรรม ประจำปี 2019 และ 2020 จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด (World University Rankings 2019 And 2020 : Industry Income)
  • อันดับที่ 1 (ร่วม) ของประเทศไทย ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ประจำปี 2020 จาก Times Higher Education (THE) ด้วยช่วงคะแนน 11.2-23.4 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด (World University Rankings 2020 by subject: Computer Science)
  • อันดับที่ 2 (ร่วม) ของประเทศไทย ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2019 และ 2020 (อันดับที่ 601-800 ของโลก) จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (World University Rankings 2019 and 2020 by Subject : Engineering and Technology)
  • อันดับที่ 2 (ร่วม) ของประเทศไทย ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ ประจำปี 2020 จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุด ด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ (World University Rankings 2020 by Subject : Physical Sciences
  • อันดับที่ 4 ของประเทศไทย ประจำปี 2019 จาก Times Higher Education (THE) ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีระบบการศึกษาดีที่สุดในประเทศไทย (World University Rankings 2019)
โดย QS World University Rankings[แก้]

ระดับประเทศ

  • อันดับที่ 2 ของประเทศไทย ด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (QS World University Rankings 2019 by Subject Engineering - Electrical & Electronic)

ระดับนานาชาติและระดับโลก

  • อันดับที่ 271 - 280 ของภูมิภาคเอเชีย (Asian University Rankings 2020)
  • อันดับที่ 301 - 350 ของโลก ด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (World University Rankings 2019 by Subject Engineering - Electrical & Electronic)
  • อันดับที่ 451 - 500 ของโลก ด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาเกี่ยวกับเครื่องกล การบินและการผลิต (World University Rankings 2019 by Subject Engineering - Mechanical, Aeronautical & Manufacturing)

อ้างอิง[แก้]

  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภาสถาบันและกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ. ๒๕๕๑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๔๕ ก ๗ มีนาคม ๒๕๕๑ หน้า ๙๕-๑๒๔
  • "ประวัติการบริจาคที่ดินของท่านเลี่ยม เพื่อสร้างสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-11. สืบค้นเมื่อ 2010-12-29.
  • http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/011/3.PDF
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์)
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์)
  • แต่งตั้ง ผู้รักษาการแทนอธิการบดี สจล.
  • ↑ สัญลักษณ์ของสถาบัน KMITL
  • https://www.workpoint.co.th/th/leadership/management-team คณะผู้บริหาร เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์]
  • ประกาศสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี แบบ Portfolio รอบที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) หลักสูตร 4 ปี คณะเทคโนโลยีการเกษตร ประจำปีการศึกษา 2564
  • "International Academy of Aviation Industry, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang – Aviation | วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบิน" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  • "Dean Message – IMSE".
  • ↑ "Kosen-Kmitl". www.kosen.kmitl.ac.th. ประวัติวิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เก็บถาวร 2014-10-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร