นายก อบจ.ม อาย ในการเล อกต งไม ต ำกว าก ป

เปิดผลอย่างไม่เป็นทางการ เลือกตั้งอบจ. เช็ก 76 รายชื่อว่าที่นายกฯทั่วประเทศ

คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ประกาศ ผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ อบจ. 76 จังหวัดทั่วประเทศ อย่างเป็นทางการ มติชนออนไลน์ รวบรวบรายชื่อว่าที่นายกอบจ.ทั่วประเทศ

นายก อบจ.ม อาย ในการเล อกต งไม ต ำกว าก ป

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดเผยรายชื่อผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด (อย่างไม่เป็นทางการ) ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั้ง 76 จ. ภายหลังแกนนำพรรคการเมือง/กลุ่มการเมืองที่ส่งผู้สมัคร ทยอยออกมาแถลงขอบคุณประชาชนที่ลงคะแนนเสียงให้พวกเขา ตั้งแต่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เอ่ยคำ "ขอโทษที่ไม่สามารถเข้าไปดำรงตำแหน่งนายก อบจ. แม้แต่ 1 จ." แต่ขอบคุณคะแนนเสียงกว่า 2.6 ล้านคะแนนที่กาให้ผู้สมัครของกลุ่ม

วันนี้ (25 ธ.ค.) สำนักงาน กกต. เผยแพร่ข้อมูลการเลือกตั้งสมาชิก อบจ. และนายก อบจ. เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยพบว่า จ.พัทลุง มีประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากที่สุด 78.04% รองลงมาคือ จ.ลำพูน 77.86% ตามด้วย จ.นครนายก 75.79% จ.สตูล 74.29% และ จ.เชียงใหม่ 71.95%

ส่วน จ. ที่มีจำนวนบัตรเสียน้อยที่สุดคือ จ.ปทุมธานี จำนวนบัตรเสียคิดเป็น 2.94%

  • ศึกชิงเก้าอี้นายก อบจ.อุดรธานี ใน "อดีตเมืองหลวงคนเสื้อแดง" และความเคลื่อนไหวของ "ขบวนการราษฎร"
  • ปรากฏการณ์ใหม่-ข้อมูล-สถิติน่าสนใจในศึกเลือกตั้ง อบจ. 63
  • 4 ปัจจัยบวก 1 ปัจจัยลบของ "คณะก้าวหน้า" ในศึกชิงนายก อบจ. ก่อนถูก กกต. สอบปมดำเนินการ "คล้ายพรรค"

นอกจากนี้ กกต. ยังเผยแพร่รายชื่อผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด (อย่างไม่เป็นทางการ) ซึ่งจ่อเป็นนายก อบจ. ทั้ง 76 จ. ด้วย

ก่อนหน้านี้ บีบีซีไทยตรวจสอบผลการนับคะแนนเลือกตั้งนายก อบจ. อย่างไม่เป็นทางการ ที่เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของ อบจ. ทั้ง 76 จังหวัด รวมถึงการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนของ กกต. จังหวัดต่าง ๆ ก่อนประมวลข้อมูลที่น่าสนใจมาไว้ ณ ที่นี้

ก้าวหน้าแพ้ราบคาบ 42 จ. ส่วน พท. ปักธงได้แค่ 9 จ.

ข้อจำกัดทางกฎหมายตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ห้ามไม่ให้ข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. เป็นผู้ช่วยหาเสียง ทำให้มีเพียง 2 พรรคการเมือง และ 1 กลุ่มการเมือง ส่งผู้สมัครชิงเก้าอี้ในนามพรรค/กลุ่ม ประกอบด้วย คณะก้าวหน้า 42 จ. พรรคเพื่อไทย (พท.) 25 จ. และพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 2 จ. ส่วนผู้สมัครที่เหลือลงสนามในนามอิสระ แม้มีนามสกุลเดียวกับ รมต. และ ส.ส. ก็ตาม

ผลการนับคะแนนเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการใน 76 จังหวัด พบว่า คณะก้าวหน้าภายใต้การนำของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ไม่สามารถปักธงในสนามเลือกตั้งนายก อบจ. ได้แม้แต่จังหวัดเดียว ซึ่งเขายอมรับว่า "ทำงานไม่มากพอ" แต่ถึงกระนั้น คณะก้าวหน้าให้ข้อมูลว่าได้ ส.อบจ. 57 คน ใน 20 จ.

นายก อบจ.ม อาย ในการเล อกต งไม ต ำกว าก ป

ที่มาของภาพ, คณะก้าวหน้า

คำบรรยายภาพ,

สไลด์ประกอบการแถลงข่าวของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ชี้ให้เห็นคะแนนนิยมของคณะก้าวหน้าในการเลือกตั้ง อบจ. ปี 2563 เทียบกับพรรคอนาคตใหม่ในการเลือกตั้งทั่วไป 2562

ขณะที่ พท. กำชัยชนะไม่ถึงครึ่ง โดยได้เป็นว่าที่นายก อบจ. เพียง 9 คน

  • ภาคอีสาน ชนะ 4 จาก 10 จ. ที่ส่งผู้สมัคร ได้แก่ จ.อุดรธานี, อุบลราชธานี, ยโสธร และมุกดาหาร ส่วน จ.ที่แพ้ ประกอบด้วย ชัยภูมิ, มหาสารคาม, หนองคาย, หนองบัวลำภู, กาฬสินธุ์ และนครพนม
  • ภาคเหนือ ชนะ 5 จาก 6 จ. ที่ส่งผู้สมัคร ได้แก่ เชียงใหม่, ลำพูน, น่าน, ลำปาง และแพร่ ส่วน จ. ที่พลาดท่าไปคือเชียงราย
  • ภาคกลาง แพ้ยกทีม 9 จ. ที่ส่งผู้สมัคร ได้แก่ สุพรรณบุรี, ระยอง, นครนายก, ปราจีนบุรี, นครปฐม, สมุทรสงคราม, สมุทรสาคร, ประจวบคีรีขันธ์ และสิงห์บุรี

ด้าน ปชป. คว้าชัยที่ จ.สงขลา แต่พลาดท่าที่ จ. สตูล

จ. ที่ "แชมป์เก่า" ถูกโค่น

สำหรับ จ. ที่ "นายกหน้าเดิม" ต้องเสียเก้าอี้ให้แก่ผู้ท้าชิงมีหลาย จ. แต่ที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ หนีไม่พ้น จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นการต่อสู้กันระหว่าง พิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือ "ส.ว.ก๊อง" สวมเสื้อเพื่อไทยลงสนาม โดยแกนนำพรรคต้นสังกัดบุกไปช่วยหาเสียงอย่างหนักในช่วงโค้งสุดท้าย ซ้ำยังมีข้อความชวน-เชียร์ข้ามประเทศจาก ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่ออ้อนขอคะแนนจากประชาชนในบ้านเกิดว่า "ช่วยกันเลือก เอาให้ชนะขาดนะครับ ถ้าไม่เช่นนั้นเขาจะพูดได้ว่าคนเชียงใหม่ไม่รักผมแล้ว"

สุดท้าย ส.ว.ก๊อง ก็สามารถโค่น บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ อดีตนายก อบจ.เชียงใหม่ 2 สมัย ที่แยกตัวจาก พท. ไปลงสมัครในนามกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม ด้วยคะแนน 421,426 คะแนน ต่อ 353,010 คะแนน ตามการเปิดเผยผลการนับคะแนน 100% ของ ผอ.กกต.เชียงใหม่

นายก อบจ.ม อาย ในการเล อกต งไม ต ำกว าก ป

ที่มาของภาพ, กองโฆษก พรรคเพื่อไทย

คำบรรยายภาพ,

สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ และน้องเขยของ ทักษิณ ชินวัตร เป็นอีกคนที่รุดไปหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ เพราะเป็นพื้นที่ที่ตระกูลชินวัตรจะแพ้ไม่ได้

เช่นเดียวกับ จ.ปทุมธานี ที่ พล.ต.ท. คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง หรือ "บิ๊กแจ๊ด" ผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนจาก พท. แต่ไม่ยอมสวมเสื้อพรรคลงสู่สนาม มีคะแนนสูงสุดที่ 252,499 คะแนน เบียด ชาญ พวงเพ็ชร์ อดีตนายก อบจ.ปทุมธานี 3 สมัย ตกขอบไปด้วยคะแนน 222,211 คะแนน

ส่วน จ.นครพนม ศุภพานี โพธิ์สุ หรือขวัญ วัย 36 ปี จากกลุ่มนครพนมร่วมใจ บุตรสาวของ ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ส.ส.นครพนม พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ล้มอดีตนายก 2 สมัยจาก พท. สมชอบ นิติพจน์ ลงได้ด้วยคะแนน 161,933 คะแนน ต่อ 110,596 คะแนน หรือทิ้งห่างกันกว่า 5 หมื่นแต้ม

จ. ที่ "นายกเล็กหน้าเดิม" ได้ไปต่อ

บีบีซีไทยตรวจสอบพบว่า ประชาชนในอย่างน้อย 34 จ. ยังเทคะแนนเลือกอดีตนายก อบจ. ที่เพิ่งพ้นจากตำแหน่งไปหมาด ๆ ก่อนการเลือกตั้งปี 2563 ให้หวนกลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง เป็นผลให้ "นายกเล็ก" 3 คนยึดครองอำนาจยาวนานรวม 6 สมัย เป็นเวลารวมกว่า 2 ทศวรรษ (วาระละ 4 ปี)

ส่วนอีก 1 คนคือ สมศักดิ์ กิตติธรกุล หรือ "โกหงวน" วัย 74 ปี ดำรงตำแหน่งนายก อบจ.กระบี่ 7 สมัยตั้งแต่ปี 2540 (เว้นไปแค่ 3 เดือน - ธ.ค. 2543-มี.ค. 2544 เพราะเจ้าตัวขอลาออก ก่อนได้รับเลือกให้กลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง) และยังได้รับความไว้วางใจให้เป็นนายกสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2560

โกหงวนยังเป็น 1 ใน 3 ของอดีตนายก อบจ. ที่ลงสนามเลือกตั้ง อบจ. แบบไร้คู่แข่ง ซึ่งนอกจากเขา ยังมีอดีตนายก อบจ.เพชรบุรี และอุทัยธานี โดยทั้งหมดชนะการเลือกตั้ง-ได้กลับมาทำหน้าที่เดิม เนื่องจากผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำทางกฎหมายคือ ได้รับคะแนนเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10% ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และมากกว่าผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน

ขึ้นสู่สมัยที่ 2 รวม 9 คน

ลพบุรี - อรพิน จิระพันธุ์วาณิช// สมุทรสงคราม - พิสิฐ เสือสมิง// เพชรบุรี - ชัยยะ อังกินันทน์ (ไร้คู่แข่ง)// พัทลุง - วิสุทธิ์ ธรรมเพชร// ตาก - ณัฐวุฒิ ทวีเกื้อกูลกิจ// พิษณุโลก - มนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒน์// กำแพงเพชร - สุนทร รัตนากร// มหาสารคาม - คมคาย อุดรพิมพ์// อุดรธานี - วิเชียร ขาวขำ

นายก อบจ.ม อาย ในการเล อกต งไม ต ำกว าก ป

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBC Thai

คำบรรยายภาพ,

ประชาชนราว 300 คนร่วมรับฟังการปราศรัยย่อยของ วิเชียร ขาวขำ ผู้สมัครนายก อบจ.อุดรธานี ที่วัดโนนสวรรค์ ต.บ้านขาว อ.เมือง ช่วงต้นเดือน ธ.ค.

ขึ้นสู่สมัยที่ 3 รวม 8 คน

ชัยนาท - อนุสรณ์ นาคาศัย// ชลบุรี - วิทยา คุณปลื้ม// ระยอง - ปิยะ ปิตุเตชะ// สุพรรณบุรี - บุญชู จันทร์สุวรรณ// อ่างทอง - สุรเชษ นิ่มกุล// สตูล - สัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์// แพร่ - อนุวัธ วงศ์วรรณ// แม่ฮ่องสอน - อัครเดช วันไชยธนวงศ์

ขึ้นสู่สมัยที่ 4 รวม 7 คน

นนทบุรี - พ.ต.อ. ธงชัย เย็นประเสริฐ// พระนครศรีอยุธยา - สมทรง พันธ์เจริญวรกุล// ฉะเชิงเทรา - กิตติ เป้าเปี่ยมทรัพย์// ปัตตานี - เศรษฐ์ อัลยุฟรี// ยะลา - มุขตาร์ มะทา// อุตรดิตถ์ - ชัยศิริ ศุภรักษ์จินดา// สกลนคร - ชัยมงคล ไชยรบ

ขึ้นสู่สมัยที่ 5 รวม 7 คน

จันทบุรี - ธนภณ กิจกาญจน์// ตราด - วิเชียร ทรัพย์เจริญ// อุทัยธานี - เผด็จ นุ้ยปรี (ไร้คู่แข่ง)// นราธิวาส - กูเซ็ง ยาวอหะซัน// ขอนแก่น - พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์// เลย - ธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ // หนองคาย - ยุทธนา ศรีตะบุตร

นายก อบจ.ม อาย ในการเล อกต งไม ต ำกว าก ป

ที่มาของภาพ, กองโฆษก พรรคเพื่อไทย

ขึ้นสู่สมัยที่ 6 รวม 3 คน

เพชรบูรณ์ - อัครเดช ทองใจสด// ศรีสะเกษ - วิชิต ไตรสรณกุล// ขอนแก่น - พงษ์ศักดิ์ ตั้งวานิชกพงษ์

ขึ้นสู่สมัยที่ 7 รวม 1 คน

กระบี่ - สมศักดิ์ กิตติธรกุล (ไร้คู่แข่ง)

นอกจาก "นายกเล็กหน้าเดิม" ยังมี สัญญา บุญ-หลง อดีตนายก อบจ.นครนายก 2 สมัย ข้ามเขต จ. ไปลงชิงเก้าอี้นายก อบจ.สระบุรี และได้รับความไว้วางใจจากประชาชน เดินหน้าสถิติการเป็นนายกเล็กต่อไปในวาระที่ 3 ของชีวิต

อีกทั้งยังมี ศุภวัฒน์ เทียนถาวร หวนกลับมาเป็นนายก อบจ.สิงห์บุรี สมัยที่ 3 หลังเว้นวรรคไปในสมัยล่าสุด

จ. ที่ยังอยู่ใต้เงา "บ้านใหญ่-แกนนำรัฐบาล"

เมื่อไล่เรียงชื่อว่าที่นายก อบจ. จะพบว่าหลายคนเป็นสมาชิก "บ้านใหญ่" อันหมายถึงตระกูลการเมืองที่ทรงอิทธิพลในพื้นที่ และอีกหลายคนเป็นเครือญาติใกล้ชิดของนักการเมืองซีกรัฐบาล

สำหรับว่าที่นายก อบจ. ที่ถูกเข้าใจว่าอยู่ใต้ "เงา" ของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และพรรคภูมิใจไทย (ภท.) มีอย่างน้อย 9 คน แม้ทั้ง 2 พรรคมีมติไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคก็ตาม

ชลบุรี - วิทยา คุณปลื้ม ผู้สมัครจากกลุ่มเรารักชลบุรี พี่ชายของ อิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม สังกัด พปชร.

ชัยนาท - อนุสรณ์ นาคาศัย อดีตนายก อบจ. น้องชายของ อนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการ พปชร. ที่ลงรักษาแชมป์ได้สำเร็จ

ราชบุรี - วิวัฒน์ นิติกาญจนา ผู้สมัครจากกลุ่มพัฒนาราชบุรี สามีของ บุญยิ่ง นิติกาญจนา ส.ส.ราชบุรี พปชร.

นายก อบจ.ม อาย ในการเล อกต งไม ต ำกว าก ป

ที่มาของภาพ, กองโฆษก พปชร.

คำบรรยายภาพ,

ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นประธานในพิธีจัดงานปีใหม่ม้งที่ อ.ปง จ.พะเยา เมื่อ 16 ธ.ค.

พะเยา - อัครา พรหมเผ่า ผู้สมัครจากกลุ่มฮักพะเยา น้องชาย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ สังกัด พปชร.

กำแพงเพชร - สุนทร รัตนากร อดีตนายก อบจ. ลงสมัครในนามทีมหมอทร โดยที่เขาเป็นพี่ชายของ วราเทพ รัตนากร แกนนำกลุ่มชากังราว พปชร.

นครพนม - ศุภพานี โพธิ์สุ ผู้สมัครจากกลุ่มนครพนมร่วมใจ บุตรสาวของ ศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภา สังกัด ภท.

นครราชสีมา - ยลดา หวังศุภกิจโกศล ผู้สมัครจากกลุ่มสร้างโคราชโฉมใหม่ ภรรยาของ วีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ สังกัด ภท.

บึงกาฬ -แว่นฟ้า ทองศรี ผู้สมัครจากกลุ่มนครนาคา ภรรยาของ ทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย สังกัด ภท.

บุรีรัมย์ - ภูษิต เล็กอุดากร ผู้สมัครจากกลุ่มเราเพื่อนเนวิน เนวินเพื่อนเรา หลานชายของ เนวิน ชิดชอบ ที่ถูกขนานนามว่า "ครูใหญ่ภูมิใจไทย" ซึ่งส่งหลานลงแทนภรรยา กรุณา ชิดชอบ อดีตนายก 3 สมัยที่วางมือ

นอกจากนี้ยังมี จิรวัฒน์ สะสมทรัพย์ บุตรชายของ ไชยา สะสมทรัพย์ อดีต รมต.หลายสมัย ที่ยกทีม "บ้านใหญ่นครปฐม" มาอยู่ใต้ชายคาพรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) ตั้งแต่เลือกตั้งทั่วไป ซึ่งชนะการเลือกตั้ง-จ่อเข้าเป็นนายก อบจ.นครปฐม คนใหม่ด้วย

จ. ที่ได้ "นายกหญิง"

ท่ามกลางการแข่งขันดุเดือด มีผู้หญิง 13 คนหลุดเข้าไปทำหน้าที่นายกเล็กได้ หรือคิดเป็น 17.11% ของ อบจ. ทั้งหมด โดยมีทั้งคนหน้าเดิมและคนหน้าใหม่ ดังนี้ อทิตาธร วันไชยธนวงศ์ ว่าที่นายก อบจ.เชียงราย, ศุภพานี โพธิ์สุ ว่าที่นายก อบจ.นครพน, ยลดา หวังศุภกิจโกศล ว่าที่นายกอบจ.นครราชสีมา, กนกพร เดชเดโช ว่าที่นายก อบจ.นครศรีธรรมราช, แว่นฟ้า ทองศรี ว่าที่นายก อบจ.บึงกาฬ, สมทรง พันธ์เจริญวรกุล ว่าที่นายก อบจ.พระนครศรีอยุธยา

คมคาย อุดรพิมพ์ ว่าที่นายก อบจ.มหาสารคาม, อรพิน จิระพันธุ์วาณิช ว่าที่นายก อบจ.ลพบุรี, ดวงรัตน์ โล่ห์สุนทร ว่าที่นายก อบจ.ลำปาง, นันทิดา แก้วบัวสาย ว่าที่นายก อบจ.สมุทรปราการ, สุกานดา ปานะสุทธะ ว่าที่นายก อบจ.สมุทรสงคราม, ขวัญเรือน เทียนทอง ว่าที่นายก อบจ.สระแก้ว และวันเพ็ญ ตั้งสกุล ว่าที่นายก อบจ.อำนาจเจริญ

คำขอบคุณ-คำมั่นสัญญาจากคนการเมือง

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวแสดงความยินดีกับผู้ชนะการเลือกตั้ง อบจ. พร้อมชี้ว่า "นี่คือการใช้อำนาจตามระบอบประชาธิปไตย" เมื่อการเลือกตั้งผลออกมาแล้ว ก็ขอให้ทุกคนเตรียมการบริหารท้องถิ่นให้ดี ทั้งเรื่องของการพัฒนาวิธีการบริหาร การใช้จ่ายงบประมาณ การจัดทำแผนให้สอดคล้องกับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

นายก อบจ.ม อาย ในการเล อกต งไม ต ำกว าก ป

ที่มาของภาพ, กองโฆษก คณะก้าวหน้า

คำบรรยายภาพ,

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ยืนยันเดินหน้าทำงานการเมืองต่อไปทั้งระดับชาติและท้องถิ่น โดยให้ ส.อบจ. ทั้ง 55 คนของกลุ่มเข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลท้องถิ่น

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เปิดแถลงข่าวโดยเอ่ยคำ "ขอโทษที่ไม่สามารถเข้าไปดำรงตำแหน่งนายก อบจ. แม้แต่ 1 จ. แต่พวกเราได้แสดงให้เห็นความตั้งใจที่จะสร้างการเมืองใหม่ทั้งประเทศ ไม่เฉพาะการเมืองระดับชาติ แต่ลงมาที่ท้องถิ่น"

ธนาธรย้ำว่า คะแนน 2.6 ล้านเสียงที่ได้รับ เป็น "คะแนนที่บริสุทธิ์ และไม่ได้มาจากเครือข่ายผลประโยชน์ นั่นคือสิ่งที่เราภาคภูมิใจในการทำงานตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา"

ด้าน พท. โดย ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรค แสดงความพึงพอใจเป็นอย่างยิ่งกับผลการเลือกตั้งที่ พท. ชนะใน 9 จ. โดยถือว่า "เราประสบชัยชนะ" โดยเฉพาะในภาคเหนือและอีสานที่ผู้สมัครนายก อบจ. ของพรรคชนะเป็นส่วนมาก แต่ในภาคกลาง แม้ผู้สมัครได้พยายามทำงานเต็มที่ แต่เนื่องจากเป็นคนหน้าใหม่ จึงไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่ก็ถือว่าได้รับการตอบรับที่มีนัยที่ดี

ส่วน ปชป. ชัยชนะของ ร.ต. ไพเจน มากสุวรรณ์ ผู้สมัครนายก อบจ.สงขลา ของพรรค ที่มีเหนือ พ.อ. สุชาติ จันทรโชติกุล เพื่อนร่วมรุ่น ตท. 12 ของนายกฯ ทำให้ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้า ปชป. นำทีมแถลงขอบคุณชาวสงขลาที่ลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครของพรรค พร้อมระบุว่า "มีภารกิจสำคัญในการปฏิบัติตามสัญญาที่ให้ไว้กับพี่น้องประชาชนชาวสงขลาทุกคน ไม่ว่าจะเลือกหรือไม่เลือกผู้สมัครของพรรคก็ตาม" และบอกว่า พรรคได้รับการตอบรับอย่างมีนัยสำคัญ และเป็นกำลังใจให้กับพรรคเดินหน้าทำงานทางการเมืองต่อไป