นรม หน.คสช.ขอประชาชนภ ม ใจ ศาสตร พระราชา ๑๐๐ กว าประเทศนำไปปร บใช

ถ้าจะถามว่าอะไรเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด สภาวิศวกร หรือ พระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ผู้เขียนเชื่อว่าวิศวกรทุกคนที่ติดตามกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมจะต้อง ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า การถล่มของโรงแรมรอยัลพลาซ่า ที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2536 ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเกือบสองร้อยรายและมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก เป็นสาเหตุหลักและเป็นจุดเริ่มต้นของการได้มาของสภาวิศวกร เนื่องจากเป็นการวิบัติภายใต้ความรับผิดชอบโดยตรงของวิศวกรตามพระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงมากที่สุดในประวัติศาสตร์

การบันทึกเรื่องราวและความเป็นมาของ วิศวกรคงจะสมบูรณ์ไปไม่ได้ ถ้าจะไม่ย้อนอดีตไปถึงกฎหมายวิชาชีพวิศวกรรมฉบับแรกของประเทศนั่นคือ พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ.2505 โดยมีคณะกรรมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม หรือ ก.ว. เป็นองค์กรควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม ก.ว. ประกอบด้วยปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน มีวุฒิวิศวกรซึ่งกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้งอีก 14 คน เป็นคณะกรรมการ

คณะกรรมการควบคุมประกอบวิชาชีพ วิศวกรรม (ก.ว.) ชุดแรก ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 1281/2505 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2505 ซึ่ง พล.อ.ประภาส จารุเสถียร เป็นรัฐมนตรี มีปลัดกระทรวงเป็นประธาน ส่วนกรรมการอื่นๆ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์อรุณ สรเทศน์, ศาสตราจารย์พิเศษ ปัตตะพงษ์, หลวงยุกตเสวีวิวัฒน์, อธิบดีกรมโยธาเทศบาล (ต่อมาเปลี่ยนซื่อเป็นกรมโยธาธิการ และกรมโยธาธิการและผังเมืองในปัจจุบัน) นายกาญจนะ เฮงสุวนิช, หลวงสัมฤทธิวิศวกรรม, พระประกอบยันตรกิจ, พล.อ.ต.โอบศิริ วิเศษสมิต, นายอาชว์ กุญชร ณ อยุธยา, ดร.บุญรอด บิณฑสันต์, นายเกษม จาติกวนิช, พ.ต.อ.จรัส วงศาโรจน์, นายบุญเยี่ยม มีสุข, นายวิชา เศรษฐบุตร และนายนิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของวิศวกร ทุกคนในยุคนั้น ที่วิศวกรและวิชาชีพวิศวกรรมได้รับการยอมรับเป็นทางการ จากการออกกฎหมายของรัฐบาลคณะปฏิวัติ ที่มีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี และจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะรัฐสภา เมื่อปี พ.ศ.2505 อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่ พรบ. ดังกล่าวมีหน้าที่ควบคุมวิศวกร และวิชาชีพวิศวกรรมแต่เพียงอย่างเดียว จึงมีวิศวกร (ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบให้ใครมาบังคับอยู่แล้ว) ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย ที่ไม่ค่อยจะเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับนี้ รวมทั้งตัวผู้เขียนเองด้วยที่เพิ่งจบการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ใหม่ ๆ ในช่วงที่กฎหมายเริ่มมีผลบังคับ ก็ไม่ไปจดทะเบียนกับ ก.ว. แต่ในที่สุดกฎหมายก็ย่อมเป็นกฎหมาย และเมื่อเข้าใจในกฎหมายแล้ววิศวกรที่ต้องประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมทุก สาขา ก็ต้องไปจดทะเบียนกับ ก.ว. ทุกคน

เหตุผลในการตราพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 มีดังนี้ : “เนื่องจากวิชาชีพวิศวกรรม เป็นลักษณะงานที่มีการกระทำกระทบต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน สวัสดิภาพ และความปลอดภัยของประชาชนโดยตรง

จำเป็นที่รัฐซึ่งเป็นผู้รักษากฎหมายต้องกำหนดมาตรการควบคุมการประกอบวิชาชีวิศวกรรมเป็นการเฉพาะ” หลักการในการควบคุมการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในขณะนั้นได้แก่การออกใบอนุญาต การสั่งพักใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต การออกข้อบังคับในกระบวนการควบคุมต่างๆ การรับรองหลักสูตร และสถานศึกษาและการดำเนินการด้านมารยาทแห่งวิชาชีพ โดยมีคณะกรรมการ ก.ว. เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ควบคุม ในช่วงระยะเวลากว่า 37 ปี ที่พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ใช้บังคับ ได้มีการแก้ไขกฎหมายนี้ถึง 2 ครั้ง คือ ฉบับที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2512 และฉบับที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2520 ซึ่งในการปรับปรุงทั้งสองครั้งนั้น เป็นปรับปรุงในส่วนของโครงสร้างของคณะกรรมการ ก.ว. อำนาจหน้าที่และการดำเนินงานของคณะกรรมการ ก.ว. การสออกใบอนุญาตพิเศษ มรรยาทแห่งวิชาชีพและบทลงโทษ รวมทั้งคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาต ส่วนคณะกรรมการ ก.ว. ยังคงแต่งตั้งมาจากกระทรวงมหาดไทยทั้งหมด โดยมีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน และกฎหมายนี้ยังคงหลักการในการควบคุมวิศวกรและวิชาชีพวิศวกรรมซึ่งมีอยู่ 5 สาขา คือ วิศวกรรมโยธา เครื่องกล ไฟฟ้า อุตสาหกรรมและการเหมืองแร่ เช่นเดิม มิได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมหลักการในการพัฒนาและส่งเสริมวิศวกรและวิศวกรรม แต่ประการใด ยิ่งไปกว่านั้น พรบ. วิชาชีพวิศวกรรม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ.2505 ยังบั่นทอนความเข็มแข่งของสมาคมวิชาชีพวิศวกรรมต่าง ๆ ให้ลดลงเป็นอันมาก เนื่องจากแต่เดิม (พ.ศ.2505) ผู้ขอรับใบอนุญาตจะต้องเป็นสมาชิกของสมาคมวิชาชีพวิศวกรรมที่ ก.ว. รับรองด้วย ซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้อง กล่าวคือ รัฐบาลมีอำนาจหน้าที่ควบคุม สมาคมวิชาชีพมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาวิชาชีพตามแนวนโยบายของ รัฐบาล รวมทั้งให้คำแนะนำและเสนอแนะการแก้ปัญหาต่าง ๆ ต่อรัฐบาล แต่เมื่อมีการแก่ไขในปี พ.ศ. 2520 กลับมีการยกเลิกคุณสมบัติข้อนี้เสีย ทำให้วิศวกรผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกของสมาคมวิชาชีพวิศวกรรมใด ๆ ทั้งสิ้น ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา อันเป็นแหตุให้จำนวนสมาชิกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพวิศวกรรมหลักของประเทศที่ ก.ว. รับรองมาโดยตลอด เพิ่มขึ้นน้อยมาก ทั้ง ๆ ที่ วสท. เป็นองค์กรที่ผลักดันให้มี พระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ.2505

หลายคนอาจสงสัยว่า วสท. เป็นองค์กรหลักที่ผลักให้มี พรบ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505ได้อย่างไร? ผู้เขียนได้ไปสัมภาษณ์ เพื่อหาข้อมูลจากการวิศวกรอาวุโส 2 ท่าน คือ คุณสิน สมบูรณ์ อดีตโยธาธิการจังหวัดเชียงใหม่ และอดีตประธาน วสท. สาขาภาคเหนือ (พ.ศ.2518) ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ ปรมาจารย์ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ อดีตนายก วสท. (พ.ศ. 2505-2508) และเป็นกรรมการ ก.ว. ชุดแรกได้ความว่า :-

คุณสิน สมบูรณ์ “………..ผมเข้ารับราชการที่กรมโยธาธิการเทศบาล (ซึ่งปัจจุบันเป็นกรมโยธาธิการและผังเมือง) เมื่อปี พ.ศ. 2492 ในสมัยที่หลวงบุรกรรมโกวิท เป็นอธิบดี มารับตำแหน่งที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นนายช่างทางหลวงจังหวัดเมื่อปี พ.ศ. 2495 ต่อมารับราชในตำแหน่งโยธาธิการจังหวัดจนเกษียณอายุ ที่จังหวัดเชียงใหม่…….ก่อนปี พ.ศ. 2505 ไม่มีกฎหมายเฉพาะในการควบคุมการทำงานของวิศวกร มีแต่เทศบัญญัติของเทศบาลต่าง ๆ …….สมัยนั้นงานก่อสร้างทั้งหมดกรมโยธาฯ เป็นผู้ควบคุมดูแลเท่านั้น……..ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2501 มีการพัฒนาอย่างรีบแร่ง มีการตั้งกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ประเทศไทยเริ่มมีการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ………เมื่อมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ก็เริ่มมีความเสียหายทางด้านวิศวกรรมขึ้นมาเป็นเงาตามตัว………กรรมการ วสท. ขณะนั้นก็มีข้าราชการจากกรมโยธาเทศบาล อาจารย์จากจุฬาฯ รวมทั้งเพื่อนๆ วิศวฯ ของท่านเหล่านั้นหลายคน เมื่อรัฐบาลมีการควบคุมด้านวิศวกรรม กรมโยธาเทศบาล และ วสท. ก็ช่วยกันร่างและผลักดันกันจนพวกเราได้ พรบ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ในสมัยที่หลวงยุกตเสวีวิวัฒน์ ( วย.1 ) เป็นอธิบดีและศาสตราจารย์ ดร. บุญรอด บิณฑสันต์ (กฟภ.3) เป็นนายก วสท………..” ศาสตราจารย์ ดร.บุญรอด บิณฑสันต์ “………..ก่อนที่จะมี วสท. นั้น พวกวิศวกรที่จบจากต่างประเทศได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคม ซื่อว่า สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยามส่วนพวกที่จบจากจุฬาฯ ก็ก่อตั้งสมาคมขึ้นเช่นเดียวกัน ชื่อว่าสมาคมวิศวฯ จุฬา…….. ต่อมาทั้งสองสมาคมได้รวมตัวกันเป็น วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยหรือ วสท. เป็นสมาคมกลาง เนืองจากเห็นว่าสมาคมวิชาชีพนั้นไม่ควรแยกสถาบันการศึกษา ต่อมาทรงโปรดเกล้าฯ รับ วสท. ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์………..แน่นอน – ผมเป็นนายก วสท. ในช่วงนั้น วสท. ได้ร่วมกับกรมโยธาเทศบาลอย่างใกล้ชิดในการผลักดันให้เกิด พรบ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ทำให้ วสท.มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมมากขึ้น เพราะว่าผู้ที่เป็นสมาชิก ก.ว. ตอนนั้นต้องเป็นสมาชิก วสท. ก่อนถึงจะสมัครได้……..” ข้อมูลที่ได้จากวิศวกรอาวุโสสอง ท่านข้างต้น เป็นที่ยืนยันชัดเจนว่า วสท. มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากในการผลักดันให้เกิด พรบ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ.2505 ภายใต้การควบคุมวิชาชีพวิศวกรรมตาม พรบ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ที่ยาวนานถึง 37 ปี สภาพเศรษฐกิจและสังคมวิทยาการด้านวิศวกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยในช่วงปี พ.ศ.2525 -2535 ประเทศมีความต้องการวิศวกรเพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวนมาก จำนวนวิศวกรที่มอยู่ไม่เพียงพอ ทำให้จำนวนวิศวกรจำนวนไม่น้อยที่ต้องรับงานเกินกำลังความสามารถของตน มีการเร่งรีบผลิตวิศวกรตามสถานศึกษาต่าง ๆ ทำให้คุณภาพวิศวกรและงานวิศวกรรมด้อยลงเป็นลำดับก่อให้เกิดวิบัติภัยภายใต้ ความรับผิดชอบของวิศวกรตามกฎหมายเพิ่มมากขึ้น นำความเสียหายสู่ประเทศชาติอย่างมหาศาล จึงเกิดแนวความคิดใหม่ในประเด็นที่ว่าการวิชาชีพวิศวกรรมที่ผ่านมาน่าจะไม่ ถูกต้อง อาจถูกต้องในช่วงต้น ๆ ของการใช้กฎหมายแต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปนาน จะมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับ การเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัฒน์

13 สิงหาคม 2536 โรงแรมรอยัลพล่าซ่าที่โคราชถล่มในเวลาเช้า ขณะที่มีผู้ใช้บริการเต็มที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแลสะบาลเจ็บมากมาย สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ประชาชนทั้งประเทศ รัฐบาลขณะนั้นซึ่ง นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ต้องการลดความวิตกกังวลของประชาชนอย่างแร่งด่วน ได้มอบหมายคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้หาสาเหตุของอาคารและหาทางป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก รวมให้การอนุเคราะห์ตรวจสอบอาคารที่คาดว่าไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน โดยอาศัยความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศด้วย ขณะเดียวกันแนวความคิดก่อตั้งสภาวิศวกร เพื่อให้วิศวกรดูแลกันเอง แทนที่รัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมฝ่ายเดียวก็มีกระแสรุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ ต่อมา เพื่อเป็นการสนองนโยบาย ทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท. ) ซึ่งมี ฯพณฯ พล.อ.ต. กำธน สินธวานนท์ เป็นนายก ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเรื่องนี้ที่โคราชขึ้นอย่างแร่งด่วนหลังจากที่ อาคารถล่มได้ไม่นาน ผู้เขียนจำได้ว่าได้รับหมอบหมายให้ประธานที่ประชุมใหญ่สรุปผลการการสัมมนา ซึ่งที่ประชุมภาคสรุปสุดท้ายมีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ ให้มีสภาวิศวกร ที่สามารถ ปกครองและควบคุมดูแลกันเอง เป็นนิติบุคคลที่มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ มีอำนาจหน้าที่ส่งเสริม และสนับสนุนงานวิชาชีพวิศวกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนาให้ทันต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี แต่เป็นที่หน้าเสียด้ายที่รัฐบาลไม่ได้รับข้อเสนอจริงจัง ผู้เขียนได้ติดตามผลการสัมมนาอย่างต่อเนื่อง ก็ได้รับคำตอบจากผู้บริหารระดับสูงของทบวงมาหาวิทยาลัยว่า รัฐบาลต้องการเพียงคู่มือแนะนำชาวบ้านและประชาชนทั่วไปว่า จะตรวจสอบอาคารอย่างไรอาคารจึงจะไม่ผังลงมาเท่านั้น…….. ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับผลการสัมมนา ที่เสียงบประมาณแผ่นดินไปไม่น้อยในการสัมมนาครั้งนั้น

ระยะเวลาผ่านไปอีกกว่า 1 ปี แรงกดดันของรัฐบาลจากประชาชนในเรื่องของอาคารถล่มค่อย ๆ ก็ลดลง กระแสเรียกร้องให้มีสภาวิศวกรก็คลายตัว อย่างไรก็ตามนับเป็นความโชคดีที่วิศวกรเรามี วสท. เป็นองค์กรหลัก คณะกรรมการทุกยุคทุกสมัยมีความเสียสละและรับผิดชอบต่อหน้าที่ คณะกรรมการชุดต่อ ๆ มา จำกำหนดเป็นนโยบายหลักดันให้มี “สภาวิศวกร” อย่างต่อเนื่อง เป็นที่ทราบกันดีว่าการที่จะจัด ตั้ง “สภาวิศวกร” ขึ้นได้นั้น จะต้องมีการแก้ไข พรบ. เดิม นั้นคือ พรบ.วิชาชีพวิศวกร พ.ศ.2505 และเป็นที่ทราบกันดีอีกเช่นกันในหมู่วิศวกรว่า การแก้ไข พรบ. นั้นเป็นเรื่องลำบากยากเย็นยิ่ง ต้องผ่านความเห็นชอบกระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลในเบื้องต้น จากนั้นต้องผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาตามลำดับ แต่เนื่องจากการจัดตั้งสภาวิศวกร เป็นนโยบายหลักของ วสท. ที่จะต้องทำให้สำเร็จลุล่วงต่อไป

วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ในยุคที่ ศาสตราจารย์อรุณ ชัยเสรี เป็นนายกสมาคม (2538-2541) ได้แต่งตั้งคณะทำงานร่าง พรบ. สภาวิศวกร เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2538 เพื่อทำหน้าที่ยกร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ประกอบด้วย ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม เป็นประธาน รศ. ประสิทธิ์ โฆวิไลกุล ดร. ไกรวุฒิ เกียรติโกมล ดร. กิตติ อินทานนท์ นายจิตต์ ลีลาวิวัฒน์ และ ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ เป็นคณะทำงาน ในที่สุดคณะทำงานได้ร่างพระราชบัญญัติสภาวิศวกร พ.ศ. ………จนสำเร็จจากนั้นได้นำเสนอเข้าพิจารณาในคณะกรรมการอำนวยการซึ่งคณะ กรรมการได้อำนวยการได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบร่างฯ ขึ้นคณะหนึ่ง ในที่สุดร่าง พรบ. สภาวิศวกร พ.ศ….ก็ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการอำนวยการ วสท. ในการผลักดันกฎหมายขึ้นให้มีผล บังคับนั้น จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล พรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น วสท. ซึ่งเป็นองค์กรหลักในการผลักดันร่างกฎหมายสภาวิศวกร จึงประสานกับผู้มีบทบาทในการตรากฎหมายดังกล่าว เพื่อชี้แจงและขอรับการสนับสนุน ปรากฏว่าร่างกฎหมายสภาวิศวกรนี้ได้รับการสนับสนุนจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นกฎหมายมหาชนที่ดี เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นส่วนรวม มิใช่เป็นประโยชน์เฉพาะวิศวกรเท่านั้น

คณะทำงานสภาวิศวกร นำโดย ศาสตราจารย์อรุณ ชัยเสรี นายก วสท. ได้เข้าพบนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2538 ที่ทำเนียบรัฐบาล ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งสภาวิศวกรรวมทั้งแนวทางการดำเนิน การของรัฐบาลในเรื่องนี้ แต่ด้วยมีเหตุยุบสภาผู้แทนราษฎรเสียก่อน เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2538 ทำให้ร่าง พรบ. ที่รอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเป็นอันต้องระงับไป ในรัฐบาลชุดต่อมาที่มีนายบรรหาร ศิลปะอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายก วสท., เลขาธิการ วสท. ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล พร้อมด้วยนายกสมาคมสถาปนิกสยาม ได้เข้าพบนายบรรหาร ที่บ้านพักเพื่อขอความสนับสนุนร่าง พรบ. สภาวิศวกร ซึ่งนายบรรหารได้แนะนำให้สองสมาคมจัดทำประชาพิจารณ์เรื่องสภาวิชาชีพ (วิศวกร/สถาปนิก) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของวิศวกรและสถาปนิกโดยทั่วไป ซึ่งทั้ง 2 สมาคม คือ วสท. และสมาคมสถาปนิกสยาม ให้ความเห็นชอบและได้จัดให้มีประชาพิจารณ์เรื่องสภาวิชาชีพ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ณ โรงแรมเซ็นทรัล ลาดพร้าว โดยนายบรรหาร ศิลปะอาชา ให้เกียรติมาเป็นประธาน นายศิลป์ชัย นุ้ยปรี ส.ส. อุทัยธานี และประธานคณะกรรมการการปกครองของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นวิศวกรอาวุโสด้วย ได้เป็นผู้ประสานงานกับนายกรัฐมนตรีอย่างใกล้ชิดให้ วสท. ในเรื่องนี้มาโดยตลอด ผลของการผลประชามติในวันนั้นที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้สนับสนุนร่าง พรบ. สภาวิศวกร และร่าง พรบ. สถาปนิก ทั้ง 2 ฉบับ

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะดำเนินการตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีทุกขั้นตอนแล้ว แต่ก็ได้รับแรงต่อต้านจากกระทรวงมหาดไทยค่อนข้างมาก ทำให้กระบวนการต่างๆ ในการแก้กฎหมายล่าช้ามาก ถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรี (นายบรรหาร) จะควบดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอยู่ด้วยก็ตาม ผู้เขียนจำได้ว่าในวันที่ไปพบนายกรัฐมนตรีที่บ้านพักถนนจรัลสนิทวงศ์ ท่านปรารภกับพวกเราดังๆ ว่า “…เรื่องที่ไปกระทบกับกระทรวงมหาดไทยนั้นมันค่อนข้างยาก…” เพราะการมีสภาวิศวกรเท่ากับการไปลดอำนาจของกระทรวงมหาดไทย

ในปีเดียวกันเกิดความปั่นป่วนทางการเมือง นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2539 การทำงานในเรื่องสภาวิศวกรทางด้านการเมืองต้องเป็นอันยุติ เมื่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายบรรหาร ศิลปอาชา คณะทำงานสภาวิศวกรประกอบด้วย นายก วสท. เลขาธิการ วสท. ดร.สุขุม สุขพันธ์โพธาราม ดร.ไกรวุฒิ เกียรติโกมล พร้อมด้วยผู้แทนสมาคมสถาปนิกสยามฯ และคณะ ได้เข้าพบ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2540 เพื่อขอสนับสนุนร่าง พรบ. สภาวิศวกร ซึ่งนายกรัฐมนตรี และนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ รัฐมนตรีช่วยฯ ในสมัยนั้น (คุณธวัชวงศ์ เป็น ส.ส. เชียงใหม่ และวิศวกรด้วย) ได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2540 คณะทำงานฯ ได้เข้าพบนายเสนาะ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นเจ้าของเรื่องโดยตรง เพื่อขอความสนับสนุนพร้อมกันไปด้วยเช่นกัน

สำหรับร่าง พรบ. สภาวิศวกรฉบับที่ วสท. เสนอไปยังรัฐบาล พล.อ.ชวลิตนั้น ทางรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) เป็นผู้ดูแล ได้นำเข้าไปพิจารณาในคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งได้พิจารณาร่วมพับคณะทำงานของ วสท. จนแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2540 โดยได้มีการปรับปรุงสาระบางส่วน และเปลี่ยนชื่อเป็น ร่าง พรบ. วิศวกร พ.ศ…. จากนั้นได้นำร่างฯ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎร ปรากฏว่ามีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลบางคนซึ่งเป็นวิศวกรด้วย ไม่เห็นด้วยกับร่างฯ ร่างฯ ดังกล่าวจึงเป็นอันตกไป โดยคณะรัฐมนตรีมติให้กระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาปรับปรุง พรบ. วิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ใหม่ ซึ่งเท่ากับว่าไปเป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่ อย่างไรก็ตามขณะนั้นประเทศกำลังประสบวิกฤตเศรษฐกิจฟองสบู่แตก เป็นเหตุให้ พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2540

ถึงแม้ว่าจะผิดหวังต่อผลงานที่ออก มา คณะทำงานร่าง พรบ. สภาวิศวกร ของ วสท. บางคนอาจท้อแท้ไปบ้าง แต่ด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบ กรรมการแต่ละคนก็ต่างให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ความหวังสู่ความสำเร็จยังมีอยู่ถึงแม้จะเลือนรางไปบ้าง โชคดีที่ร่าง พรบ. สภาวิศวกร ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้เสนอขณะเป็นฝ่ายค้านยังคงบรรจุอยู่ในระเบียบ วาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากมิได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อนายชวน หลีกภัย กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง “รัฐบาลชวน 2” ในปลายปี พ.ศ. 2540 ดร.ณรงค์ อยู่ถนอม เข้ารับหน้าที่เป็นนายก วสท. เมื่อต้นปี พ.ศ. 2541 และคณะกรรมการอำนวยการได้กำหนดเป็นนโยบายเชิงรุก ว่าจะผลักดันให้มี “สภาวิศวกร” ใจจงได้ โดยแต่งตั้งให้ผู้เขียนเป็นอุปนายก ทำหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานเรื่องสภาวิศวกรต่อไปอีก โดยมีหน้าที่ประสานงาน ติดตามและดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติสภาวิศวกรที่อยู่ระหว่างการ พิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น ผู้เขียนได้ขอร้องให้คณะทำงานชุดเดิมทุกท่านที่เคยได้รับแต่งตั้ง จาก ศาสตราจารย์อรุณ ชัยเสรี เมื่อปี พ.ศ. 2538 ทำหน้าที่ต่อไป นอกจากนั้นยังขอร้องให้ ดร.กัญจน์ นาคามดี ดร.สมศักดิ์ เลิศบรรณพงศ์ รศ.ต่อตระกูล ยมนาค นายกิตติ วิสุทธิรัตนกุล นางนิตยา มหาผล และ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด มาช่วยกันทำเรื่องนี้ให้สำเร็จอีกด้วย

นายก วสท. และคณะทำงานได้เข้าพบ พล.ต. สนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย คุณถวิล ไพรสณฑ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรี และคุณปรัชญา สูตะบุตร ทำหน้าที่ประธาน ก.ว. เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2541 เพื่อขอความสนับสนุนร่าง พรบ. สภาวิศวกร อย่างเป็นทางการ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และมอบให้คุณถวิล ไพรสณฑ์ เป็นผู้ประสานงานหลักกับผู้เขียนอย่างต่อเนื่อง สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบในหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ….เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2541 (ได้มีการปรับปรุงชื่อ พรบ. จากสภาวิศวกรมาเป็น วิศวกร ในขั้นกฤษฎีกา) และได้ให้ความเห็นชอบในวาระที่ 2 และ 3 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2542 อย่างเป็นเอกฉันท์ตามลำดับ

เมื่อร่าง พรบ. วิศวกร พ.ศ…. นำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา วุฒิสภาใช้เวลาในการพิจารณากลั่นกรองและปรับปรุง พรบ. วิศวกร พ.ศ…. ที่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว เป็นเวลาถึง 4 เดือน และวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2542 ในการปรับปรุงแก้ไขของวุฒิสภาครั้งนี้ ทำให้ร่างฯ มีความรัดกุมและรอบคอบมากยิ่งขึ้น โดยมิได้ทำให้สาระสำคัญของกฎหมายเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

เมื่อมีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ จากวุฒิสภา จะต้องมีการนำร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับเข้าพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรอีก ครั้งหนึ่ง ผู้เขียนในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ ของสภาผู้แทนราษฎร ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯ ของวุฒิสภา และอุปนายก วสท. ได้มีโอกาสไปชี้แจงข้อซักถามต่อที่ประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2542 ซึ่งในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบร่าง พรบ. วิศวกร พ.ศ…. อย่างเป็นเอกฉันท์อีกครั้งหนึ่ง เมื่อเวลา 14.39 ของวันเดียวกัน จึงนับว่ากระบวนการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ…. ของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 ให้แก่ประชาชนชาวไทยเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2542 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นแก่ปวงวิศวกรในปีมหามงคล ครบรอบ 72 พรรษา พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ 116 ตอน 120 ก. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2542 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 เป็นต้นไป ดังนั้นวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 จึงเป็นวันกำเนิด สภาวิศวกร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาไทย ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน แปลภาษาอาหรับ-ไทย Terjemahan ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip ศัพท์ทางทหาร military words แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 พจนานุกรมศัพท์ทหาร ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค lmyour แปลภาษา การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 3 ประปาไม่ไหล วันนี้ ฝยก. ย่อมาจาก หยน ห่อหมกฮวก แปลว่า เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน ่้แปลภาษา onet ม3 การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 1 ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง ตตตตลก บบบย ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คาราโอเกะ เขียน อาหรับ แปลไทย เนื้อเพลง ห่อหมกฮวก แปลไทย asus zenfone 2e กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น การประปานครหลวง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบภาษาอังกฤษ ม.ปลาย พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ชขภใ ชื่อเต็ม ร.9 คําอ่าน ตัวอย่าง flowchart ขั้นตอนการทํางาน นยน. ย่อมาจาก ทหาร บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ฝสธ. ย่อมาจาก มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 ซับไทย มัดหัวใจเจ้าชายเย็นชา 2 เต็มเรื่อง ยศทหารบก เรียงลําดับ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 รัชกาลที่ 10 ห่อหมกฮวกไปฝากป้า คอร์ด