ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น

ผู้จัดเป็นผู้หนึ่งที่เห็นคุณค่า มีความสนใจในเรื่องตุงล้านนา ซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา พิธีกรรม และความเชื่อของชาวล้านนาตั้งแต่อดีตไปจนถึงปัจจุบัน คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำโครงงาน “ตุงล้านนาภูมิปัญญาชาวเหนือ” ขึ้นมา

­

วัตถุประสงค์ของทำโครงงาน

1. เพื่อออกแบบลวดลายตุงล้านนา

2. เพื่อประดิษฐ์ “ตุงไส้หมู” ได้

3. เพื่อเป็นการอนุรักษ์ตุงให้อยู่คู่กับประเพณีต่อไป

­

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

ตุงล้านนาที่เป็นประดิษฐ์ คือ ตุงไส้หมู มีลวดลายที่สวยงามและนำไปใช้ในงานพิธี

ต่าง ๆ ของชาวเหนือได้

­

แนวทางการศึกษาค้นคว้า

แผนระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงงาน

1. ศึกษาปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นสล่าทำตุงล้านนาในตำบลแม่ข้าวต้ม

2. วิเคราะห์ กำหนดเรื่องที่จะทำโครงงาน โดยจัดทำเป็นโครงงาน “ตุงล้านนาภูมิปัญญาชาวเหนือ” และประโยชน์ที่จะได้รับจากการประดิษฐ์ทำขึ้น

3. วางแผนในการไปเรียนวิธีการทำตุงจากปราชญ์ชาวบ้าน จากนั้นจัดเตรียมวัสดุ – อุปกรณ์ ในการดำเนินกิจกรรม โครงงาน “ตุงล้านนาภูมิปัญญาชาวเหนือ”

­

แผนระยะที่ 2 พัฒนาโครงงาน

1. นำวัสดุ – อุปกรณ์ไปเรียนวิธีการทำตุงจากปราชญ์ชาวบ้าน ลงมือปฏิบัติ ดัดแปลง ตกแต่ง ลวดลาย สีสัน ตามความชอบ

2. รายงานผลการดำเนินกิจกรรม รายงานถึงขั้นตอนและกระบวนการทำงานโครงงาน “ตุงล้านนาภูมิปัญญาชาวเหนือ”

­

แผนระยะที่ 3 รวบรวม สรุป

1. การแสดงผลงาน โครงงาน “ตุงล้านนาภูมิปัญญาชาวเหนือ”

2. สรุปการดำเนินกิจกรรม / ข้อเสนอแนะ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน พร้อมกันนี้ร่วมกันสรุปถึงขั้นตอนหรือกระบวนการทำงาน ประโยชน์ในการประดิษฐ์ ตุงล้านนา ตลอดจนร่วมกันเสนอแนะข้อคิดเห็นในการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป

­

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้ผลงานคือลวดลายตุงล้านนาที่สวยงาม

2. ลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อหาและสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้

3. รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4. เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมล้านนา

­

บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำ โครงงาน “ตุงล้านนาภูมิปัญญาชาวเหนือ” นี้ ผู้จัดทำได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. ประวัติความเป็นมาของตุงล้านนา
  2. ประเภทและลักษณะของตุงล้านนา
  3. ความเชื่อของชาวเหนือที่มีต่อตุงล้านนา
  4. แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ “ตุงล้านนา”
  5. ตุงไส้หมู

1. ประวัติความเป็นมาของตุงล้านนา

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
ตั้งแต่สมัยโบราณมนุษย์ต้องการสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายต่างๆ เพื่อใช้เป็นเครื่องหมายประจำตัว ครอบครัว กลุ่ม ทั้งนี้เพื่อต้องการแบ่งแยกให้เห็นถึงความแตกต่างเฉพาะ ของแต่ละคนหรือกลุ่มโดยใช้เป็นสัญลักษณ์

­

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
ความเป็นมา “ธง” ตามคติสากลอาจเชื่อมโยงไปกับหลักฐานอันเก่าแก่ตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏในภาพเขียน การแกะสลัก รูปปั้น ศิลาจารึก และคัมภีร์ เป็นระยะเวลายาวนานนับพันปีตั้งแต่สมัยอียิปต์ และกรีกโบราณ “ธง” ในทวีปเอเชียพบว่าแหล่งอารยะธรรมอันยิ่งใหญ่ เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น อินเดีย ธิเบต และเนปาล ได้มีการใช้ธงมาตั้งแต่สมัยบรรพกาลแล้ว

­

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
ส่วนความเป็นมาของตุงล้านนา “ตุง” หรือ “ จ้อ” เป็นภาษาถิ่นทางภาคเหนือที่ชาวล้านนาเรียกขานกันทั่วไป ซึ่งหมายถึง “ธง” ในภาษาภาคกลาง มีลักษณะตรงกับภาษาบาลีว่า “ปฎากะ” หรือ “ ธงปฎาก” “ ธงตะขาบ” ซึ่งเมื่อครั้งสมัยหริภุญชัยในช่วงศตวรรษที่17 พบว่าชาวหริภุญชัย เคยมีโรคอหิวาตกโรคระบาด ผู้คนต่างพากันหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองสะเทิง เมื่ออหิวาตกโรคหายไปก็พากันกลับมาบ้านเมืองเดิม คาดว่าคงได้มีการรับวัฒนธรรมการถวายธงหรือตุงที่มีเสาหงส์มาจากชาวมอญมาด้วย ซึ่งเราพบว่า หงส์ล้านนานี้เป็นสิ่งสำคัญมากของชาวรามัญนั้น ได้ปรากฏว่า เป็นส่วนประกอบอยู่กับตุงในล้านนาคือ “ตุงกระด้าง” ซึ่งมีลักษณะรูปทรงเหมือนกัน และมีลักษณะของธงตะขาบของชาวรามัญก็คล้ายคลึงกับ “ตุงไชย” ของล้านนาด้วยเช่นกัน ราวปี พ.ศ.1839 พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในดินแดนล้านนา เกิดมีการผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิม คือ การนับถือผีบวกกับคติความเชื่อทางศาสนาเข้าด้วยกัน จึงเกิดวิวัฒนาการที่เกี่ยวกับคติความเชื่อต่างๆผสมผสานปนเปกันมากมาย อีกทั้งด้านความสัมพันธ์กันระหว่างดินแดนต่างๆ ได้ส่งอิทธิพลทางวัฒนธรรมต่อกัน จึงไม่อาจทราบได้แน่ชัดว่า ประเพณีถวายทานตุงของชาวล้านนานับได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากที่ใด และได้รับอิทธิพลความเชื่อและรูปแบบต่างๆมาจากแหล่งใดบ้างได้เพียงแต่สันนิษฐานในบางกรณีว่า วิวัฒนาการเริ่มแรกเดิมทีนั้นก่อนที่จะมีการรวบรวมดินแดนเป็นอาณาจักรล้านนา พระยามังรายมหาราชทรงเคยปกครองอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำกกมาก่อน ซึ่งได้แก่ เมืองเชียงแสน เชียงราย และดอยตุงเราเชื่อว่าความเป็นมาของตุงคงมีจุดกำเนิดมาจากดอยตุง

­

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
ดังปรากฏหลักฐานจากเรื่องราวโบราณสถานที่เกี่ยวกับประวัติพระธาตุดอยตุงซึ่งกล่าวถึงการสร้างพระธาตุไว้ว่า พระมหากัสสปะเถระได้นำพระบรมสารีลิกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า มาถวายแด่พระเจ้าอรุตราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระองค์ได้ทรงขอที่ดินจากพญาลาวจก (ราชวงศ์ลวจังคราช) ในหมู่เขาสามเส้าเป็นที่ก่อสร้างพระมหาสถูปนั้น ทำให้ตุงตะขาบยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอยปู่เจ้า ถ้าหางตุงปลิวไปเพียงใดกำหนดให้เป็นรากฐานสถูป

­

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
ในช่วงเวลาต่อมาคติความเชื่อดังกล่าวจึงกระจัดกระจายทั่วไปในดินแดนล้านนา เนื่องจากชาวล้านนามีความเชื่อเกี่ยวกับ “อนุจักรวาล” การย่อส่วนความคิดเรื่องจักรวาลระดับจากชนชาติลัวะ ความเชื่อเรื่องผีปู่และย่า หรือผีบรรพบุรุษ (ผีปู่ย่า) นี้เป็นความเชื่อดั้งเดิมที่เห็นได้ชัดว่า แต่เดิมชาวบ้านได้มีโลกทรรศน์ผูกพันอยู่กับผีมาก และเมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาในท้องถิ่นภายหลังจึงผสานแนวความคิดเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะเรื่องของวิญญาณและชีวิตหลังความตาย ด้วยการถวายตุงให้เป็นทานแก่ผีบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว อันจำส่งผลให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดีขึ้น ช่วยให้พ้นจากทุกขเวทนาในนรก และในขณะเดียวกันก็ถวายให้กับตนเองด้วย เพื่อหวังอานิสงส์เกื้อกูล ให้ไปสู่ชีวิตที่ดีในภายภาคหน้า ทำให้ประเพณีการถวายทานตุงมีบทบาทมากขึ้นในชุมชนเป็นที่นิยม และยึดถือศรัทธาสืบกันมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน

­

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
โดยสรุปเรื่องราวของตุงในล้านนา ตามหลักฐานที่ปรากฏในคัมภีร์ใบลาน หรือตำนานต่างๆ เห็นได้ชัดว่าประเพณีการสร้างตุงนั้น มีมาแต่โบราณกาลแล้วดังปรากฏในตำนานที่สำคัญๆ และได้กล่าวถึงตุงชัดเจนมากที่สุด คือ ตำนานพระธาตุดอยตุงอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

2. ประเภทและลักษณะของตุงล้านนา

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
ในเขตภาคเหนือและภาคอีสาน มีการแบ่งประเภทของ “ตุง” ตามลักษณะของวัสดุที่นำมาใช้ทำ ลักษณะของตุงผ้าทอแบ่งออกตามลักษณะการใช้งาน คือ

14 . ตุงยอดพระธาตุ (จ้อตุง) ทำด้วยโลหะที่มีค่า เช่น เงิน ทองคำ ทองเหลือง เป็นรูปสามเหลี่ยม ขนาดไม่จำกัด ใช้ประดับบนยอดพระธาตุเหนือจากฉัตรขึ้นไป ที่ประเทศพม่านั้น “ จ้อตุง ” ทำเป็นคัดสวมลงในกระบอกสามารถหมุนได้ เมื่อลมพัดมา นอกจากจะสวยงานแล้ว ยังสามารถบอก ทิศทางลงได้อีกด้วย ตุงยอดธาตุ ถือว่าเป็นของมีค่าและสำคัญ

15 . ตุงแฮ คือตุงที่ทำด้วย ผ้าแฮ ( ผ้าที่โปร่งบางอ่อน) แต่ไม่ใช่ผ้าแพรซึ่งทึบแต่อ่อนพริ้ว ปัจจุบันมักเข้าใจว่าเป็นอันเดียวกัน มีลักษณะ หลายรูปแบบใช้ประโยชน์หลายอย่างตามรูปแบบตุงเพียงแต่ทำด้วย “ ผ้าแฮ ” เท่านั้น

16. ตุงไม้ ที่ประดับด้วยวัสดุต่างๆ เช่น ประดับหรือฉาบด้วยทราย เรียกว่า“ ตุงทราย ” วัสดุอื่นๆ ได้แก่ ตุงข้าวเปลือก ตุงข้าวสาร ตุงแก้ว ตุงดิน ใช้ในพิธีกรรมและงานบุญต่าง ๆ

17 . ตุงฮาว เป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทำด้วยกระดาษ หรือผ้า เป็นสีต่าง ๆ ขนาดประมาณฝ่ามือ หรือโตกว่านั้นเล็กน้อย ใช้ประดับอาคาร ประรำผามเบียง เต้น รั้ว โดยทากาวติดกับเส้นด้าย เชือกมัดขึงใช้ในงานบุญ วันสำคัญ ปัจจุบันมักจะเป็นธงชาติ ธงเสมาธรรมจักร ตุงอวมงคล

­

ตุงอวมงคล

18 . ตุงแดงหรือตุงถอน ทำด้วยผ้าสีแดง ลักษณะคล้ายตุงไจย แต่ต่างกันตรงสี ที่เป็นสีแดง หากมีคนตายมักจะตายด้วยอุบัติเหตุ หรือตายโหง หลังจากนั้น ๗ วัน หรือภายใน ๗ วัน จะต้องนำตุงแดงมาปักไว้ตรงจุดที่ตาย พร้อมกองทรายกองใหญ่ ๑ กอง กองเล็ก ๑๐๐ กอง และเครื่องสังเวย ( ขันข้าว) มาทำพิธีตานตุง เพื่อให้วิญญาณผู้ตายหลุดพ้นไปผุดไปเกิดไม่เป็นผีวนเวียนอยู่ตรงนั้น นอกจากนี้ตุงแดงยังสามารถ ทานแก่ผู้ล่วงลับไปแล้วในวันปีใหม่ได้อีกด้วยใช้เป็นเครื่องอุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ผู้ตาย และสูตถอน

19. ตุงสามหาง ทำด้วยผ้าสีขาว หาง (ชายตุง มี ๓ แฉก) ใช้นำหน้าศพ

­

3. ความเชื่อของชาวเหนือที่มีต่อตุงล้านนา

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
ตุง : สัญลักษณ์แห่งศิริมงคล
ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
ตุง คือ ธงแขวนแบบหนึ่งในศิลปะล้านนา พบเห็นได้ในภาคเหนือของประเทศไทยทำด้วย ผ้า ไม้ โลหะ ด้าย หรือกระดาษ เป็นรูปแถบยาว ห้อยลง ใช้ประดับ หรือประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ โดยมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับพิธีกรรมที่ใช้ตุง

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
'ตุง' สัญลักษณ์แห่งล้านนา

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
"ตุง" ของล้านนา ก็คือ "ธง" ของไทยภาคกลางนั่นเอง มีลักษณะเป็นแผ่นวัตถุส่วนปลายแขวนติดกับเสาห้อยเป็นแผ่นยาวลงมา วัสดุที่ใช้ทำ ตุงนั้นมีหลายอย่าง เช่น ไม้ สังกะสี ผ้า กระดาษ ใบลาน เป็นต้น ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา โดยมีขนาด รูปร่าง และ รายละเอียดด้านวัสดุตกแต่งแตกต่างกันไปตามความเชื่อและพิธีกรรม ตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย

ต วอย างโครงงานภ ม ป ญญาท องถ น
ส่วนจุดประสงค์ของการทำตุงล้านนาก็คือ ทำถวายเป็นพุทธบูชาโดยทั้งชาวไทยยวน ไทลื้อ ไทเขิน และไทใหญ่ จะถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์

­

4. แนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ “ตุงล้านนา”

หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข

พอประมาณ ในการนำสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากภูมิปัญญามาประดิษฐ์เองโดยไม่ต้องใช้งบประมาณในการจัดหาซื้อ ลดค่าใช้จ่าย เพราะสามารถประดิษฐ์เองได้

มีเหตุผล รูปแบบและลวดลายของตุง แสดงถึงลักษณะการนำไปใช้ในงาน การนำตุงล้านนาไปใช้จึงต้องมีการศึกษาประเภทและความเหมาะสมของลวดลาย และรูปแบบของตุงล้านนา

มีภูมิคุ้มกันที่ดี 'ตุง' เป็นสื่อที่แสดงถึงความเชื่อใน พุทธศาสนา เป็นของสูง ที่ควรบูชา

สร้างความตระหนักในการมีสติ ความรอบรอบ และลดความประมาท

ความรู้ ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ประเภทของตุง ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนวิธีการทำตุง และลักษณะของการนำตุงไปใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ คุณธรรม สร้างจิตสำนึกที่ดีในการอนุรักษ์ "ตุงล้านนา" ให้อยู่กับภาคเหนือ ที่สื่อถึงความเอกลักษณ์ของภาคเหนือ ของล้านนา

­

5. ตุงไส้หมูหรือ ตุงไส้ช้าง

"ตุงไส้หมู หรือ ตุงไส้ช้าง" เป็นชื่อตุงที่นิยมใช้กันในภาคเหนือ ในถิ่นอื่นอาจเรียกแตกต่างกันไป เช่น ลำปางเรียกช่อพญายอ จังหวัดเชียงรายและลำพูนเรียกว่า ตุงไส้ช้าง ภาคกลาง เรียก พวงมโหตร (พวง-มะ-โหด) คำที่หลายคนไม่ทราบความหมาย ไม่เคยได้ยิน ทั้งที่อาจจะเคยผ่านตามาแล้วก็ตามลักษณะตุงไส้หมูมีรูปทรงเหมือนเจดีย์ ทำจากกระดาษว่าวหลากสี ใช้ปักบนกองเจดีย์ทรายคู่กับตุง 12 ราศี เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี และพระธาตุประจำปีเกิด ในจังหวัดพะเยาและเชียงรายใช้ตุงไส้หมูหรือตุงไส้ช้างสีขาวและสีดำประดับรอบปราสาทศพ เชื่อว่าให้ผู้ตายไปสวรรค์ จึงเห็นได้ว่าตุงไส้หมูหรือตุงไส้ช้างนั้นเป็นได้ทั้งตุงมงคลและอวมงคล ทั้งนี้แล้วแต่ว่าในแต่ละพื้นที่จะมีการใช้งานไปอย่างไร แต่จุดประสงค์หลักก็ยังเป็นการบูชาพระพุทธ ศาสนานั่นเอง

­

จึงเห็นได้ว่า ควรใช้งานตุงอย่างเหมาะสมถูกต้อง มิให้เปลี่ยนแปลงหรือเพี้ยนไปจากความมุ่งหมายเดิมที่มีเป้าหมายเพื่อการบูชาหรือพระพุทธศาสนาเป็นเป้าหมายใหญ่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อธิบายว่า เป็นพวงอุบะ ซึ่งห้อยประดับอยู่ที่คันดาลฉัตร ทำด้วยผ้าตาดทอง ส่วนคันดาลฉัตร คือ คันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบ อย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตรอยู่ตรงเศียรพระพุทธรูป

­

บทที่ 3

การทำตุงไส้หมูไส้หมูหรือตุงไส้ช้าง

วัสดุที่ใช้ในการทำตุงไส้หมูไส้หมูหรือตุงไส้ช้าง

1.กระดาษสาหรือผ้า

2.กระดาษว่าว

3.กระดาษแข็ง

4.ไม้ไผ่

5.กรรไกร

6.เข็ม

7.เชือก

­

วิธีทำตุงไส้หมู

1.นำกระดาษว่าว 2 แผ่นๆ ละสีมาซ้อนกันพับให้เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า ตัดส่วนปลายที่เหลือออก

2.พับครึ่งรูปสามเหลี่ยมอีก 2 ครั้ง ตัดชายด้านที่ไม่เท่ากันให้เป็นลวดลายสวยงามตามต้องการ

3.ใช้กรรไกรตัดเส้นตรงจากด้านที่เปิดได้เข้าไปลึกเหลือช่องว่างไม่ให้ขาดไว้พอประมาณ กลับด้านแล้วตัดเส้นตรงขนานกับเส้นแรก จากนั้นตัดสลับกันไปตลอดความกว้างจนถึงปลาย เหลือปลายไว้ประมาณ 4 เซนติเมตร เพื่อทำหัวตุง

4.ตัดเสร็จแล้ววางลงให้เหมือนเดิม แล้วเปิดด้านข้างที่ซ้อนกันออกจนเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า จับปลายด้านที่ซ้อนกันเปิดเป็นสี่เหลี่ยมทั้งสองแผ่น จับตรงกลางกระดาษยกขึ้น

5.ตัดกระดาษแข็งเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งนิ้ว ทากาวติดด้านในของหัวตุง ใช้ด้ายร้อยด้านบน นำไปผูกติดกับปลายไม้ไผ่ เป็นอันเสร็จนำไปใช้งานได้

­

บทที่ 4 ผลการจัดทำตุงไส้หมูหรือตุงไส้ช้าง

จากการศึกษาวิธีการทำตุงไส้หมู ซึ่งตุงประเภทหนึ่งของตุงล้านนาที่มีผู้คนนิยมนำมาใช้ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ค่อนข้างมาก นักเรียนสามารถประดิษฐ์ ตุงไส้หมู ได้อย่างสวยงาม โดยมีการออกแบบลวดลายเพิ่มเติม การออกแบบสีของกระดาษ และตุงไส้หมูที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ ได้

­

บทที่ 5 สรุปผลและอภิปรายผลการทำตุงไส้หมูหรือตุงไส้ช้าง

สรุปผลการทำตุงไส้หมูหรือตุงไส้ช้าง จากการทำตุงไส้หมู ครั้งนี้พบว่า นักเรียนสามารถเลือกใช้วัสดุ ได้แก่ กระดาษว่าว ได้โดยมีการใช้สีที่หลากหลายทำให้ตุงมีสีสันที่สวยงาม และสามารถอุปกรณ์ ได้แก่ กรรไกร เชือก ไม้ เข็มได้อย่างถูกต้อง และสามารถออกแบบลวดลายตุงไส้หมู โดยมีการออกแบบสลับลายให้มีหลายชั้นและมีการตัดอย่างประณีตทำให้ได้คุงที่สวยงาม อ่อนช้อย และนำตุงไส้หมูไปใช้ นักเรียนได้นำตุงไส้หมูที่ประดิษฐ์ไปใช้ในงานทอดผ้าป่าสามัคคี งานปอยหลวง งานบุญวันพระได้ ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมของล้านนา รู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้