ตัวอย่าง เป้าหมาย ใน การ ทํา งาน

"เป้าหมาย” เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ช่วยให้เรากำหนดแนวทางการใช้ชีวิต ทั้งในชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน ซึ่งหากมีเป้าหมายที่ชัดเจนก็จะสามารถวางแผนชีวิตได้ง่ายขึ้น และถ้าพูดถึงเป้าหมายในอาชีพ คำถามนี้จากผู้สัมภาษณ์ไม่ได้ต้องการรู้ว่าเราอยากเติบโตไปในทางไหนเท่านั้น แต่เขาอยากเห็นด้วยว่าเราเป็นคนมีความมุ่งมั่นมากน้อยแค่ไหน เพราะเป้าหมายที่สูงก็จะช่วยให้เราพัฒนาศักยภาพของเราให้สูงตามด้วย และคำตอบของเราก็จะเป็นเหมือนกระจกสะท้อนแนวคิดและทัศนคติว่าเราเป็นคนยังไง

JobThai เลยอยากมาแนะนำแนวทางการตอบคำถามสัมภาษณ์งานทั้งสำหรับคนมีประสบการณ์ และนักศึกษาจบใหม่ ซึ่งจะแบ่งแนวทางของการตอบคำถามเป้าหมายในอาชีพเป็น 2 แบบ นั่นคือเป้าหมายในระยะสั้น และระยะยาว

เป้าหมายระยะสั้น

เป้าหมายระยะสั้น อาจเป็นเป้าหมายในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า เป็นเป้าหมายที่เราควรตั้งเอาไว้เพื่อเป็น Check Point เล็ก ๆ ก่อนไปถึงเป้าหมายระยะยาว ซึ่งเป้าหมายนี้เราอาจตั้งเป้าไว้ในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น เด็กจบใหม่ตั้งเป้าว่าอยากเรียนรู้งานและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ชำนาญ ในขณะที่คนมีประสบการณ์ที่ชำนาญและสามารถรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองได้แล้วก็อาจตั้งเป้าไปในเรื่องของความท้าทายใหม่ ๆ การเรียนรู้ Tools หรือโปรเจกต์ใหม่ที่ตัวเองอยากทำ

เป้าหมายระยะยาว

เป้าหมายระยะยาว เป็นเป้าหมายที่เราต้องใช้ระยะเวลานาน อาจมีระยะเวลาตั้งแต่ 3-5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายนี้อาจเป็นได้ทั้งทางที่ราบเรียบหรือทางลาดชัน แต่การตั้งเป้าหมายไว้ก่อนก็จะทำให้เราไม่หลงทางในขณะที่เดินไปหามัน เป้าหมายในอาชีพระยะยาวของเรา อาจเริ่มจากการเชี่ยวชาญในสายงานและตำแหน่งงานนั้น ๆ จากนั้นก็เป็นการเตรียมพร้อมเดินหน้าเข้าไปสู่ความสำเร็จในตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยการพัฒนาศักยภาพของตัวเองและต่อยอดไปสู้การพัฒนาองค์กรในอนาคต

มีหลายคนที่มักเกิดความรู้สึกเสียดายที่ไม่เคยได้ทำตามความฝันของตัวเองเพราะกลัวความเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญ พวกเขาจึงเลือกจะทำอะไรแบบเดิมๆ ต่อไป แต่การตั้งเป้าหมายนี่แหละที่เป็นสิ่งที่จะนำคุณออกจากพื้นที่ปลอดภัยได้ มันเป็นเหมือนจุดเช็คระหว่างทางไปยังจุดมุ่งหมายที่ฝันไว้ โดยเริ่มต้นจากเรื่องเล็ก ๆ ทำไปเรื่อย ๆ เพื่อวัดความก้าวหน้าของแผนโดยรวมที่ได้ตั้งไว้

การตั้งเป้าหมาย ก็เหมือนกับการวางเส้นทางไปสู่ความสำเร็จ ลองนึกถึงเวลาที่คุณขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัดกับเพื่อน การเดินทางเช่นนี้ย่อมต้องใช้เวลายาวนาน จึงควรจะต้องมีการหยุดรถระหว่างทางบ้าง เช่น การหยุดพักเพื่อทานอาหาร หรืออาจจะต้องแวะปั้มเพื่อเติมน้ำมันเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินไงล่ะ

ดังนั้น จงเผชิญหน้ากับเป้าหมายเล็กๆ ที่จะหล่อหลอมคุณให้ก้าวไปสู่จุดหมายที่ใหญ่กว่า และจงวางแผนการเดินทางให้เป็นตามเป้าหมายในแบบที่เหมาะกับคุณ ด้วยเป้าหมายทั้ง 3 ประเภทนี้ นั่นก็คือ เป้าหมายระยะสั้น เป้าหมายระยะกลาง และเป้าหมายระยะยาว นั่นเอง

ตัวอย่าง เป้าหมาย ใน การ ทํา งาน

1. การตั้งเป้าหมายระยะยาว

เริ่มด้วยการกำหนดเป้าหมายระยะยาว เป้าหมายระยะนี้จะกินเวลานานหลายปีกว่าจะทำให้สำเร็จได้ โดยให้คุณกำหนดเป้าหมายนี้เป็นอันดับแรก เนื่องจากเป้าหมายระยะยาวจะมีผลต่อเนื่องกับการเลือกเป้าหมายระยะกลางและสั้นได้

เป้าหมายระยะยาว ควรเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่เฉพาะเจาะจงหรือเกินจริงบ้างก็ได้ อย่างเช่น “อนาคตคุณต้องการเป็น CEO ของบริษัทที่คุณรักให้ได้” หรืออาจเป็นเป้าหมายกว้างๆ อย่างเช่น “คุณอยากมีโอกาสได้ทำงานในรายกายโทรทัศน์” หรือ “อยากทำงานในวงการแฟชั่น” เป็นต้น แต่ยังไงก็ตาม คุณก็ควรพยายามระบุให้เฉพาะเจาะจงเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะว่าจะได้วางแผนสิ่งที่ควรทำก่อนจะไปถึงจุดหมายได้ถูกต้องและเหมาะสม

2. การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น

กำหนดเป้าหมายเล็กๆ ที่คุณสามารถทำให้สำเร็จได้ในเวลาสั้นๆ หรือระยะเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์โดยประมาณ ลองถามตัวเองว่าคุณต้องทำอะไรบ้างในสัปดาห์นี้ ที่จะช่วยให้ชีวิตคุณเดินไปตามทางที่คุณวางแผนระยะยาวไว้ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณอยากเป็นนักเขียน เป้าหมายระยะสั้นของคุณอาจจะเป็น การฝึกเขียนบทความได้ห้าหน้ากระดาษ หรืออาจเข้าคอร์สอบรมการเขียนรายสัปดาห์ ไม่ก็เริ่มอ่านหนังสือในเรื่องที่กำลังอยากศึกษาอย่างจริงจัง ซึ่งการทำเป้าหมายเล็กๆ เหล่านี้ให้สำเร็จนี่แหละ ที่เหมือนกับการค่อยๆ ฝึกฝนคุณให้มีวินัยและพร้อมที่จะตั้งเป้าหมายให้ใหญ่กว่าเดิมได้

3. การเลือกเป้าหมายระยะกลาง

หลายคนอาจเข้าใจว่า คนเราขอแค่มีเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวก็เพียงพอในการจะก้าวเดินสู่ความสำเร็จได้แล้ว แต่ทว่า หากสังเกตุให้ดีช่วงห่างของระยะสั้นและยาวนั้นกลับมีระยะห่างกันมากไปจนเกินพอดี ทำให้บางครั้งเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะ เราก็มักหลงลืมเป้าหมายตรงหน้าไปได้ง่ายๆ ดังนั้น เราจึงต้องมีสิ่งที่เข้ามาช่วยเติมเต็มระหว่างระยะทั้งสองนี้ให้สมบูรณ์ นั่นก็คือ ‘เป้าหมายระยะกลาง’

เป้าหมายระยะกลางนั้นอาจใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือนไปจนถึงหนึ่งปีในการทำให้สำเร็จ อาจจะเป็นการเข้าเรียนคอร์สระยะยาว การฝึกงานฝึกประสบการณ์ การเรียนต่อ หรือว่าการเปลี่ยนงานของคุณก็ได้ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้ต้องอาศัยการวางแผนว่าอะไรคือสิ่งที่คุณจะต้องทำให้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้นั่นเอง

เมื่อคุณบรรลุเป้าหมายระยะกลางนี้ได้สำเร็จแต่ละครั้ง มันจะช่วยสร้างความก้าวหน้าก้าวใหญ่ๆ ให้กับเส้นทางที่คุณหวังไว้ในระยะยาวได้ ทั้งยังช่วยให้คุณก้าวออกจากพื้นที่ปลอดภัยได้มากกว่าการค่อยๆ บรรลุเป้าหมายระยะสั้นอีกด้วยนะ ซึ่งความยากลำบากในระยะนี้แหละ ที่ทำให้ผู้คนต่างสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเองสู่สิ่งที่ตั้งไว้ในระยะยาวได้สำเร็จ

เป้าหมายในการทํางาน มีอะไรบ้าง

การตั้งเป้าหมายในการทำงาน คือ การกำหนดสิ่งที่เราต้องการจะได้มา หรือสิ่งที่เราต้องการจะทำ หรือความต้องการอะไรก็แล้วแต่ที่เรามุ่งมั่นตั้งใจจะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ในที่นี่ก็คือ เราเห็นภาพตัวเองทำงานแบบไหน ประสบความสำเร็จอย่างไรในหน้าที่การงาน ซึ่งหลายครั้งอาจเกี่ยวข้องกับองค์กร เช่น เห็นภาพตัวเองเป็นผู้บริหารในองค์กรที่ ...

เป้าหมายที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

เป้าหมายที่ดีต้องมีความชัดเจน (Specific) วัดผลได้ (Measurable) ทำสำเร็จได้ (Achievable) เป็นไปได้ (Realistic) และมีระยะเวลากำหนดไว้อย่างชัดเจน แน่นอน (Time Bound) หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่า “SMART Goals” นั่นเอง

วิธีการกําหนดเป้าหมาย มีอะไรบ้าง

5 เทคนิค ตั้งเป้าหมายอย่างไรให้สำเร็จแน่นอน.

1. เริ่มจากตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ แล้วค่อยขยับไปสู่เป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น ... .

2. ประเมินความสามารถตัวเองและ Passion ของเรา ... .

3. มุ่งมั่น จดจ่อ แน่วแน่ในเป้าหมาย ... .

4. วางแผนให้ชัดเจน ... .

5. ลงมือทำทันที.

เป้าหมายในชีวิตของบุคคลโดยทั่วไปแบ่งได้ 2 ลักษณะมีอะไรบ้าง

  1. เป้าหมายที่ไม่เป็นตัวเงิน ได้แก่ วัฒนธรรมประเพณี สังคม การเมือง กฎหมาย ความรู้สึก เป็นต้น อาจจะมีความสำคัญมากกว่าตัวเงินก็ได้ 2) เป้าหมายที่เป็นตัวเงิน เป็นเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินโดยตรง ซึ่งทำให้แต่ละบุคคลนั้นมี ความเป็นอยู่ดีขึ้น หากมีการวางแผนการเงินที่ดีจะทำให้เป้าหมายของแต่ละบุคคลประสบความสำเร็จ ได้