ตัวอย่าง ถอด บทเรียน การ ออม เงิน

วิ่งออกกำลังกายทุกวันมาเป็นเดือน แล้วทำไมยังไม่เห็นว่าร่างกายของฉันเปลี่ยนแปลงอะไรเลย” เมื่อไรที่คุณปล่อยให้ความคิดแบบนี้เข้าครอบงำแล้วละก็ คุณก็จะละทิ้งการฝึกนิสัยดีๆ ไปอย่างง่ายดาย แต่ถ้าคุณต้องการผลลัพธ์ที่แตกต่างและมีความหมายต่อคุณ ก็ต้องอดทนฝึกพฤติกรรมนั้นๆ ให้ต่อเนื่องยาวนานมากพอจนกว่าจะผ่านภาวะนี้ไปได้จนกลายเป็นนิสัย

แนวคิดพื้นฐานข้อที่ 2 : มองข้ามเป้าหมายแล้วมุ่งเน้นไปที่กระบวนการปฎิบัติ

มีคำกล่าวที่ว่า “วิธีที่จะประสบความสำเร็จสมความปรารถนา เกิดจากการกำหนดเป้าหมายที่เจาะจง ชัดเจนและปฏิบัติได้จริง” แต่ “การมีเป้าหมาย” เป็นเพียงตัวกำหนดทิศทางแต่ไม่ได้การันตีความสำเร็จเสมอไป ตัวการผลักดันก็คือ “กระบวนการปฎิบัติ” เช่น ถ้าคุณเป็นโค้ชกีฬา เป้าหมายของคุณคือการได้เป็นแชมป์ ส่วนกระบวนการ คือ การคัดเลือกผู้เล่น บริหารผู้ช่วยโค้ช นำการฝึกซ้อม จะเห็นได้ว่ากระบวนการหรือขั้นตอนการปฎิบัติต่างหากที่จะนำไปสู่เป้าหมายหรือการทำให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นเมื่อคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว ควรลืมเป้าหมายไปก่อนแล้วหันมาให้ความสำคัญกับกระบวนการปฎิบัติที่จะทำให้ได้ตามเป้าหมายมากกว่าที่จะมองที่ผลลัพธ์ตามเป้าหมายเพียงอย่างเดียว

มาถึงตรงนี้แล้วเชื่อว่าหลายคนคงอยากเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมให้กลายเป็นนิสัยที่ดีของตนเองแล้ว ในหนังสือเล่มนี้กล่าวถึง กระบวนการสร้างนิสัยโดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนง่ายๆ คือ ปัจจัยกระตุ้น ความปรารถนา การตอบสนอง และรางวัล ยกตัวเช่น คุณตื่นตอนเช้า (ปัจจัยกระตุ้น) คุณอยากกระปรี้กระเปร่า (ความปรารถนา) คุณดื่มกาแฟ (การตอบสนอง) คุณได้รู้สึกสดชื่นสมใจ (รางวัล) ทั้ง 4 ขั้นตอนนี้หากเกิดเป็นประจำทุกวัน ก็จะทำให้คุณมีนิสัยตื่นแต่เช้าเพื่อดื่มกาแฟในทุกวัน ถ้าขาดตัวใดตัวหนึ่งไปนิสัยนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ผู้เขียนจึงได้แปลง 4 ขั้นตอนการสร้างนิสัยนี้ให้เป็นกรอบแนวคิดที่ปฏิบัติได้จริง เพื่อให้เราสามารถใช้สร้างนิสัยที่ดีและกำจัดนิสัยที่ไม่ดีออกไป กรอบแนวคิดที่ว่า คือ “กฏ 4 ข้อแห่งการเปลี่ยนนิสัย”

กฎข้อที่ 1 ทำให้เป็นเรื่องชัดเจน : ถ้าคุณต้องการให้นิสัยใดๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ควรเริ่มจากการประเมินนิสัยประจำวันนั้นก่อน ว่านิสัยใดดี นิสัยใดที่ไม่ดี และวางแผนเปลี่ยนพฤติกรรมเล็กๆ ที่จะนำไปสู่นิสัยที่ดี ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการสร้างนิสัยการออม ควรเริ่มจากการประเมินพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของเราว่า มีรายรับเท่าไร รายรับมาจากแหล่งใดบ้าง มีรายจ่ายใดจำเป็น รายจ่ายใดไม่จำเป็น และกำหนดพฤติกรรมที่จะนำไปสู่นิสัยการออม เช่น ตั้งใจว่าจะออมเงิน โดยจะออมเงินทันทีในวันที่เงินเดือนออก หรือเมื่ออยากซื้อของราคาเกิน 3,500 บาท จะรอคิดทบทวนอีกซัก 24 ชั่วโมงก่อนตัดสินใจ นอกจากนี้การออกแบบสิ่งแวดล้อมช่วยกระตุ้นการสร้างนิสัยได้ เช่น วางกระปุกไว้ในที่เห็นชัดเจน หยอดเงินทุกวันก่อนเข้านอนวันละ 20 บาท หรือ จดบันทึกรายจ่ายทุกครั้งที่เราจ่ายไป เพื่อคอยย้ำเตือนและปรับพฤติกรรมการออมและการใช้จ่ายของตัวเราเอง

กฎข้อที่ 2 ทำให้น่าสนใจ : ถ้าคุณต้องการเพิ่มโอกาสการเกิดพฤติกรรมใดๆ คุณต้องทำให้พฤติกรรมนั้นน่าสนใจ ด้วยการจับคู่พฤติกรรมที่คุณต้องทำกับพฤติกรรมที่คุณอยากทำ เช่น การอ่านหนังสือขณะที่นั่งดื่มกาแฟหรือการเปลี่ยนสถานที่ไปอ่านหนังสือในร้านกาแฟที่ชอบ ก็เป็นการสร้างบรรยากาศกระตุ้นให้คุณอ่านหนังสือได้เช่นกัน วิธีนี้จะทำให้การอ่านหนังสือของคุณน่าสนใจและทำให้คุณอยากทำมากขึ้น หรือเอาตัวเองไปอยู่ในสังคมที่มีนิสัยที่คุณต้องการ เช่น ถ้าคุณอยู่ท่ามกลางคนที่มีสุขภาพแข็งแรง คุณก็มีแนวโน้มที่จะคิดได้ว่าการออกกำลังกายนั้นเป็นเรื่องปกติวิสัยของกลุ่มคนรักสุขภาพ คุณก็จะมีแนวโน้มทำตามคนในกลุ่ม การออกกำลังกายกลายเป็นเรื่องน่าสนใจที่คุณจะเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ร่วมพูดคุยกับคนในกลุ่ม

กฎข้อที่ 3 ทำให้เป็นเรื่องง่าย : เมื่อตั้งใจว่าจะเริ่มต้นนิสัยใหม่ ควรเริ่มจากพฤติกรรมเล็กๆ ที่ยิ่งใช้พลังงานน้อยเท่าไรหรือไม่ต้องใช้ความพยายามเลยก็มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ง่าย เช่น วางหนังสือไว้ที่หัวเตียง และเปลี่ยนจากการอ่านหนังสือก่อนเข้านอน เป็นอ่านหนังสือ 1 หน้า ก่อนเข้านอน หรือเปลี่ยนจากตั้งใจออมเงินให้ได้เดือนละ 6,000 บาท อาจจะดูยากและขาดกำลังใจในการออม เปลี่ยนเป็นออมเงินให้ได้วันละ 20 บาท ด้วยการหยอดกระปุกในทุกวันแทน ก็ทำให้มีโอกาสที่คุณจะลงมือทำได้มากกว่า กลับกันถ้าคุณอยากจะละทิ้งนิสัยใด ก็ทำให้นิสัยนั้นให้กลายเป็นเรื่องยากยากเข้าไว้

กฎข้อที่ 4 ทำให้มีความพึงพอใจ : เป้าหมายสูงสุดของการกระทำใดๆ คือ การได้รับรางวัล คุณอาจต้องให้รางวัลกับความสำเร็จในเปลี่ยนพฤติกรรมแม้เพียงแค่เล็กๆ น้อยๆ ของตนเองในแต่ละวันทันที ถ้าการกระทำนั้นน่าพึงพอใจและเป็นที่น่าจดจำ จะช่วยเพิ่มโอกาสที่จะทำให้คุณแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องและควรเพิ่มระดับชั้นของการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ความก้าวหน้าแต่ละครั้งจะสะสมรวมกันจนกลายเป็นนิสัยที่ดียิ่งขึ้นได้อย่างถาวร เช่น เมื่อไรที่คุณงดซื้อของที่ไม่จำเป็นในราคาเท่าไรก็ตาม ให้เก็บเงินเท่าราคาของชิ้นนั้นเข้าบัญชีเงินออมไว้ หรือเมื่อไรที่งดกินข้าวนอกบ้านได้ ก็จะโอนเงิน 1,000 บาท เข้าบัญชีเงินฝากที่ตั้งใจเก็บไว้ไปเที่ยวตอนสิ้นปี พอถึงปลายปีก็จะมีเงินสำหรับไปเที่ยวตามแผนที่วางไว้