อ บ ต เหต ไม ม พ.ร.บ.เบ กจ าย สปสช

สื่อประชาสัมพันธ์

สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น_Poster1

24 กุมภาพันธ์ 2564 88103

อ บ ต เหต ไม ม พ.ร.บ.เบ กจ าย สปสช

สิทธิสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลของพนักงานส่วนท้องถิ่น (สิทธิ อปท.)

ใครเป็นผู้มีสิทธิ อปท.

  • ผู้มีสิทธิ หมายถึง พนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างประจำของ อปท. (ไม่รวมถึงพนักงานจ้าง) ,ผู้ได้รับบำนาญ ,นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนายกเทศมนตรีนายกองค์การบริการส่วนตำบล
  • ผู้มีสิทธิร่วม หมายถึง บุคคลในครอบครัวของผู้มีสิทธิ (บิดา มารดา คู่สมรส ที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีสิทธิ และบุตรลำดับที่ 1-3 ที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของสิทธิซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะหรือบรรลุนิติภาวะแล้วเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ (ไม่นับบุตรบุญธรรม)

การขึ้นสิทธิ ณ ต้นสังกัด

  • ผู้มีสิทธิ ยื่นเอกสารเพื่อขอรับสิทธิการเบิกค่ารักษาพยาบาลสิทธิ อปท. ณ ส่วนราชการต้นสังกัด ดำเนินการลงทะเบียนในระบบทะเบียนบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีฐานข้อมูลในการตรวจสอบสิทธิ อปท. ณ สถานพยาบาล

การดำเนินการของส่วนราชการต้นสังกัด

  • ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของข้อมูลผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว และบันทึกข้อมูลลงในระบบโปรแกรมทะเบียนบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
  • ข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ และได้รับอนุมัติสิทธิจากนายทะเบียนของ ณ ส่วนราชการต้นสังกัดแล้วสามารถขึ้นสิทธิอปท. ได้ทุกวัน ตามรอบเวลาการปรับปรุงฐานข้อมูลของสปสช. เวลา 11.00 น. และ 15.00 น.

สิทธิประโยชน์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาล

  • การเข้ารับบริการครอบคลุมการเจ็บป่วย ในทุกกรณี ซึ่งไม่รวมถึงการเสริมความงาม และการตรวจสุขภาพประจำปีสำหรับผู้มีสิทธิ(เจ้าของสิทธิเท่านั้น)
  • กรณีบุคคลในครอบครัว มีสิทธิอื่นร่วมด้วย จะเบิกจากสิทธิ อปท. ได้ในกรณีไหนบ้าง
  • กรณีมีสิทธิข้าราชการร่วมกับสิทธิ อปท. ให้ใช้สิทธิเบิกจากราชการ
  • กรณีมีสิทธิประกันสังคมร่วมกับสิทธิ อปท. สามารถเบิกส่วนต่างจากสิทธิ อปท.ได้ในกรณีต่อไปนี้เท่านั้น
  • คลอดบุตร เบิกส่วนเกิน 13,000 บาท
  • ค่าล้างไต (ส่วนเกิน 1,500 บาท)
  • การเบิก vascular access ซ้ำภายใน 2 ปี
  • ทำฟันส่วนเกินจากค่าอุดฟัน ขูดหินปูน และถอนฟัน ที่เกินจาก 900 บาท/ปี เท่านั้น
  • การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีตรวจสุขภาพประจำปี
  • เฉพาะ ผู้มีสิทธิ (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ)
  • เบิกได้ตามรายการและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดตามกลุ่มอายุ
  • ตรวจได้ปีละ 1 ครั้ง ตามปีงบประมาณ
  • สามารถเบิกได้ทั้งในระบบเบิกจ่ายตรง และใบเสร็จมาเบิกจากส่วนราชการต้นสังกัด

ที่มา :: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เป็นการบริการด้านสุขภาพของรัฐที่ให้ความเป็นธรรมกับประชาชนทุกส่วน ทุกคนในสังคมควรได้รับการประกันสุขภาพอย่างเท่าเทียมกันบนหลักการสำคัญที่ว่า บริการที่จำเป็นด้านสุขภาพเป็นของทุกคน ซึ่ง นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ คือ ผู้ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งผู้หนึ่งในการริเริ่มผลักดันเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย โดยผ่านการเรียนรู้ ทดลองปฎิบัติและต่อสู้กับอุปสรรค จนสามารถผลักดันเป็นนโยบายที่สำคัญของประเทศและใช้จริงมาจนถึงปัจจุบัน

อ บ ต เหต ไม ม พ.ร.บ.เบ กจ าย สปสช

ที่มาของแนวคิด “30 บาท รักษาทุกโรค” : โครงการอยุธยา

เป็นโครงการเล็กๆ เพื่อการปรับเปลี่ยนระบบบริการสาธารณสุข เริ่มต้นทดลองพัฒนาสถานพยาบาลใกล้บ้านที่มีคุณภาพเพื่อคอยดูแลประชาชนถึงครอบครัวและชุมชน เริ่มโครงการระดับอำเภอที่อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ตามมาด้วยระดับจังหวัดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้ขยายกลายเป็นโครงการในระดับประเทศในชื่อว่า “โครงการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข”

อ บ ต เหต ไม ม พ.ร.บ.เบ กจ าย สปสช

โครงการประกันสังคม เมื่อ พ.ศ. 2533

เป็นอีกส่วนหนึ่งโดยนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ได้มีส่วนในการจัดตั้งสำนักงานประกันสังคม ด้วยแนวคิดว่าจะใช้พลังทางด้านการเงิน (financial power) ในการกำกับทิศทางของโรงพยาบาลตามที่ต้องการ ทำให้ได้เรียนรู้ การทำให้โครงการใหญ่ๆ มีความยั่งยืนทางการเงิน ใช้การจัดสรรงบประมาณและสถานพยาบาลแบบเหมาจ่ายรายหัว พัฒนาการเกิดเครือข่ายสถานพยาบาลของโรงพยาบาลที่จับกลุ่มกับคลีนิกเอกชน

อ บ ต เหต ไม ม พ.ร.บ.เบ กจ าย สปสช

Health Care Reform Project ปี พ.ศ. 2540 – 2543

โครงการสนับสนุนการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข เกิดจากความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสหภาพยุโรป (EU) เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขในประเทศไทย ระยะแรก (phase 1) ได้นำแนวคิดและประสบการณ์การพัฒนารูปแบบการจัดบริการปฐมภูมิจากโครงการอยุธยาและจังหวัดอื่นๆ มาพัฒนาต่อ ทั้งในพื้นที่ อยุธยา พะเยา ยโสธร ขอนแก่น สงขลา นครราชสีมา สมุทรสาคร และจังหวัดที่อยู่ภายใต้งานเวชปฏิบัติครอบครัวของแผนพัฒนาสาธารณสุขฉบับที่ 8

อ บ ต เหต ไม ม พ.ร.บ.เบ กจ าย สปสช

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ : กฎหมายแม่บทด้านสุขภาพ

เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ของคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา รัฐบาลได้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) และสำนักงานปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (สปรส.) ทำหน้าที่ยกร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้เป็นกฎหมายแม่บทด้านสุขภาพของประเทศไทย โดยมีการทำงานทางวิชาการควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวทางสังคมภายใต้แนวคิดสำคัญ คือ “สร้างนำซ่อม” ในช่วงเดียวกัน ภาคประชาชนได้ “ร่วมผลักดัน” กฎหมายหลักประกันสุขภาพด้วยการ “ขับเคลื่อนสังคม” อย่างกว้างขวาง

อ บ ต เหต ไม ม พ.ร.บ.เบ กจ าย สปสช

โครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค”

จากการขายแนวคิดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่พรรคการเมืองหลายพรรค ในช่วงเลือกตั้ง พรรคไทยรักไทย เห็นถึงความเป็นไปได้ จึงนำมาเป็นนโยบายในการหาเสียง และได้นำมาใช้เมื่อพรรคได้รับเลือกให้จัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของ ดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้นได้ประกาศนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประชาชน ในชื่อ โครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544

อ บ ต เหต ไม ม พ.ร.บ.เบ กจ าย สปสช

ฝันที่เป็นจริง

รัฐบาลเริ่มนโยบายสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้กับคนไทย โดยการนำร่องในโครงการ “30 บาท รักษาทุกโรค” เริ่มดำเนินการในระยะที่ 1 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2544 ใน 6 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ ปทุมธานี สมุทรสาคร นครสวรรค์ ยโสธร พะเยา และยะลา ครอบคลุมประชาชนที่ยังไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ โดยสถานพยาบาลที่เข้าร่วมให้บริการเป็นสถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน 2544 และได้ขยายพื้นที่ดำเนินการจนสามารถครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา

อ บ ต เหต ไม ม พ.ร.บ.เบ กจ าย สปสช

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

จากผลการสำรวจของโพล ประชาชนพอใจกับนโยบายนี้เป็นอย่างมาก จึงได้มีการผลักดันจนเกิดเป็น “พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545” ได้สำเร็จ และจัดตั้ง “สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)” ขึ้นเป็นหน่วยงานบริหารระบบ เพื่อทำหน้าที่เป็น “ตัวแทน” ของประชาชนในการกำหนดสิทธิประโยชน์ และเป็นตัวแทนในการคุ้มครองดูแลให้ประชาชนได้รับบริการอย่าง เท่าเทียม มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ เป็นเป้าหมายสำคัญ โดยนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นเลขาธิการ สปสช. คนแรก