ว ธ แก ป ญหากล องโต ตอบการแปลงแฟ ม

วธ.ใช้ศาสนาสร้างสมานฉันท์คนในชาติ

เผยแพร่: 1 พ.ค. 2555 10:57 โดย: MGR Online

วธ.จัดโครงการ ศาสนิกสัมพันธ์ ใช้ศาสนาสร้างสมานฉันท์คนในชาติ

นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กล่าวว่า จากการที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมงานด้านศาสนา และ การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้แก่ประชาชน โดยมุ่งเน้นสร้างสังคมที่เข้มแข็งให้คนในชาติอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรม และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้น วธ.จึงได้จัดโครงการ “ศาสนิกสัมพันธ์” เพื่อส่งเสริมงานด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ให้ศาสนิกชนได้รับความรู้หลักธรรมทางศาสนาสร้างค่านิยม ปลูกจิตสำนึก และภูมิปัญญาคนไทย รวมถึงสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างองค์กรศาสนาทั้ง 5 ศาสนา และให้ผู้นำทางศาสนานำหลักธรรมคำสอนตามศาสนาของตนมาเผยแผ่ช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ศาสนิกชน ครอบครัว ชุมชน สังคมประกอบกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรมให้เป็นคนดีมีคุณธรรม อีกทั้งยังสนับสนุนการดำเนินการจัดตั้งองค์กรศาสนิกสัมพันธ์การดำเนินกิจกรรมทางศาสนาที่เป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ สร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาทุกศาสนาให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

สำหรับกิจกรรมในโครงการดังกล่าว จะจัดทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อาทิ การจัดประชุมศาสนิกสัมพันธ์จังหวัดทุกจังหวัด การจัดประชุมศาสนิกสัมพันธ์สัญจร และการจัดคาราวานศาสนิกสัมพันธ์ ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดกิจกรรมนี้จะทำให้ประชาชนรับรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนทางศาสนาสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งสร้างภาคีระหว่างผู้นำทางศาสนา สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเครือข่ายด้านงานศาสนา ในการร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ และก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างผู้นำศาสนาและศาสนิกชนทุกศาสนาในการร่วมมือกันทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในชาติ

คิดยังไงกับประเด็นที่ว่านี้ครับ คือ ผมคิดว่าผู้ชายส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะหล่อ ไม่หล่อ น่าจะชอบผู้หญิงที่ขาวสวย หุ่นอึ๋ม กันทั้งนั้น

ยิ่งถ้าไม่หล่อแล้วได้แฟนสวยนะ แปลงร่างเป็น ซูเนโอะได้เลย แบบเดินควงแฟนไปไหน ถ่ายรูปโพสสเตตัสอะไร ใครก็อิจฉา ใช่ไหมล่ะ

แต่บางครั้ง พอได้มาเจอผู้หญิงที่นิสัยดี คุยเก่ง ช่างเอาอกเอาใจ อยู่ด้วยแล้วมีความสุข สบายใจ

ทั้งที่ควรจะเจอแล้ว คนที่ใช่ ทว่าเหมือนโชคชะตาฟ้ากลั่นแกล้ง

เมื่อเธอเป็นคนไม่สวย ไม่ใช่สเปคเราเลย ครั้นจะคบเป็นแฟนด้วยก็อายเพื่อน เพราะแฟนเพื่อนมีแต่สวยๆ น่ารัก เซะกุซี่ กันทั้งนั้น

บางทีก็หวั่นไหวแบบรู้สึกชอบบ้างนะ แต่ก็ไม่ได้ชอบถึงขนาดที่จะขอคบเป็นแฟนได้

มันเหมือนมีกำแพงอะไรสักอย่างมาขวางอยู่ ที่ทำให้ก้าวข้ามความรู้สึกที่คลุมเครือนี้ไม่ได้สักที

เลยอยากถามคุณผู้ชายที่มีแฟนไม่สวย อะไรทำให้คุณตัดสินใจคบกับผู้หญิงคนนั้นครับ

ทางเอก

เผยแพร่: 28 เม.ย. 2551 16:26 โดย: MGR Online

การมีปัญญารู้ลักษณะของขันธ์จนสิ้นตัณหา เป็นวิธีแตกต่างจากการพยายามควบคุมตนเอง ไม่ให้ทำตามคำบงการของตัณหา

ครั้งที่ 102

บทที่ 8.ของฝาก

ตอน

การคิดใช้เหตุผลเพื่อข่มตัณหา

ถาม หลวงพ่อช่วยอธิบายเรื่องการคิดใช้เหตุผลเพื่อข่มตัณหาด้วยเถอะครับ

ตอบนี่เป็นอีกจุดหนึ่งที่ขอฝากให้คุณลองไปสังเกตการปฏิบัติของตนเอง ว่ามีการคิดใช้เหตุผลเพื่อข่มตัณหา แทนการรู้ลักษณะของรูปนามจนสิ้นตัณหาหรือเปล่า

การที่คุณเฝ้าดูอิริยาบถ 4 จนเกิดทุกขเวทนาและเกิดความอยากเปลี่ยนอิริยาบถนั้นเป็นประเด็นเรื่องความจงใจปฏิบัติดังที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่ก่อนจะเปลี่ยนอิริยาบถคุณใช้ความคิดพิจารณาว่า "ทำไมจึงต้องเปลี่ยนอิริยาบถ" และ "เมื่อเห็นความจำเป็นต้องเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์จึงค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ" นั้น เป็นการรู้อารมณ์-ปรมัตถ์แล้วเจือด้วยความคิดลงไปอีกทีหนึ่งหรือไม่ ตรงจุดนี้ดูไปก็คล้ายกับผู้ปฏิบัติแนวพองยุบนั่นเอง เพียงแต่ต่างกันตรงที่ว่า แทนที่จะบริกรรมถึงอาการทางกายเช่นพองหนอยุบหนอ หรือบริกรรมถึงความรู้สึกทางใจเช่นโกรธหนอ อย่างที่เพื่อนนักปฏิบัติแนวพองยุบทำอยู่ ก็เปลี่ยนจากการบริกรรมเป็นการคิดถึงเหตุผลในการเปลี่ยนอิริยาบถ วิธีการเช่นนี้อาตมาไม่ถนัด สิ่งที่ถนัดก็คือ หากจะรู้รูปก็รู้สภาวะและลักษณะของรูปตามอาการที่ปรากฏไปเลย หากจะรู้เวทนาก็รู้สภาวะและลักษณะของเวทนาตามอาการที่ปรากฏไปเลย หากจะรู้ความอยากเปลี่ยนอิริยาบถก็รู้สภาวะและลักษณะของตัณหาตามอาการที่ปรากฏไปเลย เมื่อใดรู้สภาวะของรูปนามตามความเป็นจริงได้แล้ว เมื่อนั้นจะเห็นไตรลักษณ์แสดงตัวอยู่แล้ว และเพียงเห็นความเป็นไตรลักษณ์ของขันธ์ 5 ก็น่าจะเพียงพอแก่การละตัณหา โดยไม่จำเป็นต้องเอาความคิดมาใช้สอนจิตให้มีเหตุผลในการเปลี่ยนอิริยาบถ อันเป็นการควบคุมตนเองด้วยเหตุผลเพื่อจะไม่ทำตามอำนาจบงการของตัณหา ทั้งนี้ การมีปัญญารู้ลักษณะของขันธ์จนสิ้นตัณหาเป็นวิธีการอย่างหนึ่ง แตกต่าง จากการพยายามควบคุมตนเองไม่ให้ทำตามคำบงการของตัณหา ซึ่งเป็นวิธีการอีกอย่างหนึ่ง

ถาม

แล้วเรื่องการเอาสติเข้าไปตั้งไว้ในอารมณ์รูปนามล่ะครับ ตรงนี้เป็นวิธีการที่ระบุไว้ในพระไตรปิฎกไม่ใช่หรือครับ ทำไมหลวงพ่อจึงหยิบยกมาเป็นประเด็นตั้งข้อสังเกตด้วย

ตอบนักปฏิบัติจำนวนมากในแทบทุกสำนักนิยมเอาสติเข้าไปตั้งไว้ในอารมณ์ เพราะได้ศึกษาพระไตรปิฎกซึ่งกล่าวไว้ว่า "อุปัฏฐานัฏเฐนะ สติปัฏฐานา อภิญเญยยา" (ขุ.ปฏิ. 31/28) แปลว่า "ชื่อว่าสติปัฏฐานโดยความหมายว่า เข้าไปตั้งไว้ที่อารมณ์ เป็นของควรรู้ยิ่ง" เช่นเมื่อตาเห็นรูป บางท่านก็จงใจเอาสติกำหนดเข้าไปตั้งไว้ที่จิตซึ่งรู้รูป บางท่านเอาสติกำหนด เข้าไปตั้งไว้ที่ประสาทตา บางท่านเอาสติกำหนดเข้าไปตั้งไว้ที่รูป แต่ตามแนวทางของคุณถือว่าต้องเอาสติกำหนดที่จิตซึ่งรู้รูปจึงจะถูกต้อง

อาตมามีความเห็นตรงกับพระไตรปิฎก ที่ว่า หากจะเจริญสติปัฏฐานก็ต้องมีสติ ตั้งไว้ที่อารมณ์ แต่การเจริญสติปัฏฐานนั้นมีทั้งส่วนที่เป็นสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ในส่วนของสมถกรรมฐานนั้นสติจะต้องจดจ่อแนบเคล้าหรือตั้งไว้ที่อารมณ์กรรมฐานอย่างต่อเนื่อง อันเป็นลักษณะของการเพ่งอารมณ์หรืออารัมมณูปนิชฌาน และมีแต่การทำฌานจิตเท่านั้นที่สติจะเกิดซ้ำๆ ต่อเนื่องกันได้ยาวนานพร้อมๆ กับการเกิดฌานจิตจำนวนมาก นี้คือความหมายของคำว่า "สติเข้าไปตั้งไว้ที่อารมณ์" ในเวลา ที่เจริญสมถกรรมฐาน

แต่ถ้าเป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว คำว่า "สติเข้าไปตั้งไว้ที่อารมณ์" น่าจะเป็นคำอธิบายถึงสภาวธรรม 2 ลักษณะ คือ (1) ไม่เผลอ หมายความว่าสติจะต้องระลึกรู้อารมณ์รูปนามโดยไม่หลงคลาดเคลื่อนไปสู่อารมณ์บัญญัติ ไม่เช่นนั้นจิตก็จะตกจากการเจริญวิปัสสนาทันที และ (2) ไม่เพ่ง หมายความว่าสติจะทำหน้าที่จับหรือระลึกรู้อารมณ์รูปนามโดยไม่ได้จงใจ คือไม่มีตัณหาหรือความอยากจะปฏิบัติธรรมนำหน้า และเมื่อจับหรือระลึกรู้รูปนามแล้ว สติก็จะดับไปอย่างรวดเร็วเป็นขณะๆ ตามการเกิดดับของชวนจิตอันเป็นกามาวจรกุศล สติไม่สามารถจะตั้งแช่อยู่กับอารมณ์รูปนามได้นานๆ เพราะเราไม่ได้ทำฌานจิต

แท้จริงแล้วอย่าว่าแต่จะสั่งสติให้ตั้งอยู่กับอารมณ์รูปนามได้นานๆ เลย แม้แต่จะสั่งให้สติเกิดสักเพียงขณะเดียวก็ทำไม่ได้ เพราะสติก็เป็นอนัตตา ต่อเมื่อมีเหตุคือมีสภาวธรรมที่จิตรู้จักจดจำได้ดีแล้วเกิดขึ้น สติจึงจะเกิดขึ้น และเกิดขึ้นเพียง 7 ขณะหรือวับเดียว ชวนจิตและสติที่เกิดร่วมกันนั้นก็จะดับไปด้วยกัน เมื่อจิตจะเกิดขึ้นในวิถีอันใหม่ เราเลือกไม่ได้เสียด้วยซ้ำไปว่าจะให้เกิดทางทวารเดิมที่เราใช้ทำวิปัสสนาอยู่ เพราะปัญจทวาราวัชชนจิตจะกำหนดให้ว่าจิตจะขึ้นสู่วิถีทางทวารตา หู จมูก ลิ้น หรือกาย และแม้จะเกิดทางทวารเดิม แต่จิตจะเกิดสติหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ไม่แน่นอนอีก ต้องแล้วแต่โวฏฐัพพนจิตจะกำหนดให้ ดังนั้นในการเจริญวิปัสสนา เราจึงจงใจเอาสติจับอารมณ์อันเดียวอย่างต่อเนื่องไม่ได้ ได้แต่รู้ไปตามความเป็นจริงเท่านั้น ไม่เหมือนกับการทำฌานจิตที่จิตจะเกิดทางทวารเดิมและรู้อารมณ์เดิมติดต่อกันได้เป็นเวลานานๆ สติที่เกิดร่วมกับฌานจิตจึงมีลักษณะเหมือนตั้งแช่ไว้ในอารมณ์อย่างเดิมได้นานๆ (อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความเรื่อง "หัวใจ กรรมฐาน" ข้อ 6.1.1)

นอกจากนี้ การจงใจเอาสติจดจ่อ แช่ไว้ หรือแนบไว้กับอารมณ์ รูปนามด้วยอำนาจบงการของตัณหา ยังเท่ากับว่าเราใช้อารมณ์นั้นเป็นคุกขังจิต หรือเป็นเครื่องกีดกันไม่ให้จิตทำงานไปตามธรรมชาติ

ธรรมดา แท้จริงแล้วการเจริญวิปัสสนาจะต้องใช้อารมณ์รูปนามเป็นบ้านพักของจิต เรียกว่าเป็นเครื่องอยู่สบายหรือเป็นวิหารธรรม จิตจึงจะสามารถทำงานไปตามธรรมชาติธรรมดาได้ แล้วสติก็มีหน้าที่ระลึกรู้รูปนามอย่างสบายๆ อยู่เนืองๆ

ถาม ผมยังไม่ค่อยเข้าใจครับ

ตอบคุณต้องลองสังเกตดูว่า การที่สติของคุณเข้าไปตั้งในอารมณ์รูปนามนั้นเป็นไปด้วยอำนาจของโลภะ หรือเป็นเพียงแค่สติมีเหตุก็เกิดขึ้นระลึกรู้อารมณ์รูปนามได้โดยไม่ได้จงใจ สองอย่างนี้ไม่เหมือนกันและมีผลไม่เหมือนกันด้วย อันหนึ่งจิตถูกขังไว้ด้วยอารมณ์ อีกอันหนึ่งจิตสักว่ารู้อารมณ์ด้วยความปลอดโปร่งโล่งเบา ไม่มีการควบคุมบังคับทั้งจิตและอารมณ์

ความจริงคุณจะพยายามทำความเข้าใจด้วยการฟังหรือการคิดยังไม่ได้หรอก คุณต้องลองสังเกตสภาวะจริงๆ ดู ลองจงใจเอาสติเข้าไปตั้งไว้ที่อารมณ์ดูสิ คุณจะพบว่านั่นคุณกำลังเกิดการทำงานบางอย่างทางใจด้วยอำนาจของความจงใจหรือความอยากขึ้นแล้ว จิตของคุณก็จะเกิดอาการหนักๆ แน่นๆ แข็งๆ ซึมๆ ทื่อๆ และผิดธรรมดา แต่ถ้าเมื่อใดคุณรู้อารมณ์อย่างคนวงนอก จิตของคุณจะรู้ ตื่น เบิกบาน เบา อ่อน ควรแก่การงาน คล่องแคล่วและรู้อารมณ์ไปอย่างซื่อตรงโดยไม่มีการเข้าไปดัดแปลงจิตและอารมณ์ ถ้าจะกล่าวโดยเปรียบเทียบก็ต้องกล่าวว่า การจงใจเอาสติเข้าไปตั้งไว้ที่อารมณ์ เปรียบเหมือนคุณขึ้นไปดูละครอยู่กลางเวที แต่การสักว่ารู้อารมณ์ เปรียบเหมือนคุณดูละครอยู่นอกเวที ถ้าคุณมองความแตกต่างของสภาวะ 2 อย่างนี้ได้ คุณจึงจะเข้าใจในสิ่งที่อาตมากล่าวได้