ว ดหนองโพ หลวงพ อเด ม หลวงพ อจร ญ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อน การอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการ แข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

วัดหนองโพ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มีที่ดินตั้งวัด เนื้อที่ 71 ไร่ 15.6 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง ปัจจุบัน พระครูนิปุณพัฒนพงศ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดหนองโพ เดิมเป็นวัดร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2374

"หลวงพ่อเดิม พุทฺธสโร" หรือ "พระครูนิวาสธรรมขันธ์" เจ้าอาวาสวัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นพระเกจิอาจารย์ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือในเรื่องวิทยาคมและเครื่องรางของขลัง จนเป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะเหรียญหลวงพ่อเดิม รุ่นแรก มีดหมอหลวงพ่อเดิม สิงห์งาแก

ประวัติหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ อัตโนประวัติ หลวงพ่อเดิม เกิดในสกุล ภู่มณี เมื่อวันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2403 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเนียมและนางภู่ ภู่มณีประวัติหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพในช่วงวัยเยาว์ก่อนอุปสมบทนั้น โยมบิดามารดา ได้นำเข้าไปหาพระหาวัด โดยการศึกษาของชาวนาหนองโพในตอนนั้นมีศูนย์กลาง คือ วัดหนองโพ กระทั่งเมื่ออายุครบบวช ได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม 2423 โดยมีหลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง ต.ท่าน้ำอ้อย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ต.สระทะเล เป็นพระอนุศาสนาจารย์ หลวงพ่อเดิม ได้รับฉายาว่า "พุทธสโร" เมื่อหลวงพ่อเดิม อุปสมบทแล้วได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดหนองโพ เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามทางที่พระนวกะ ท่านตั้งต้นศึกษาหาความรู้เป็นการใหญ่ รวมทั้งได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยและท่องพระคัมภีร์วินัย นอกจากนี้ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพท่านยังได้ศึกษาวิทยาคมกับนายพัน ชูพันธ์ ผู้ทรงวิทยาคุณอยู่ในบ้านหนองโพ ภายหลังนายพันธ์ถึงมรณกรรม ได้ไปศึกษาเล่าเรียนกับหลวงพ่อมี ณ วัดบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ หลวงพ่อเดิม ท่านได้ไปเรียนทางวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางเหลือง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ซึ่งหลวงพ่อเดิมปฏิบัติจริงจังตลอดเวลา ภายหลัง หลวงพ่อเดิม ได้จัดสร้างวัตถุมงคลมากมายหลายรุ่น จนเป็นที่เลื่องลือมากในเรื่องของความขลัง เป็นที่ปรากฏว่า ประชาชนทั้งชาวบ้านและข้าราชการทหาร ตำรวจ และพลเรือนทั้งในจังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดที่ใกล้เคียง ตลอดไปจนจังหวัดที่ห่างไกลบางจังหวัด พากันไปเข้าไปกราบนมัสการฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อมากมาย ขอให้หลวงพ่อเดิมรดน้ำมนต์ แป้งขอผง น้ำมัน ตะกรุด ผ้าประเจียด จากหลวงพ่อ ที่แพร่หลายที่สุด คือ แหวนเงินหรือนิเกิล และผ้ารอบฝ่าเท้าหลวงพ่อ ผ้าประเจียด เกียรติคุณในเรื่อง "วิชาขลัง" มีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ของหลวงพ่อนั้นเป็นที่เลื่องลือกันแพร่หลายมานานแล้ว นอกจากความเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแล้ว หลวงพ่อเดิมยังเป็นพระนักพัฒนาสร้างถาวรวัตถุในวัดมากมาย อาทิ สร้างกุฏิหลังแรกที่ใช้ฝาไม้กระดาน สร้างศาลาการเปรียญ สร้างโรงอุโบสถ และสร้างพระเจดีย์ 3 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบไว้ตรงหน้าอุโบสถ เป็นต้น อีกทั้ง ก่อสร้างถาวรวัตถุและปฏิสังขรณ์วัดอื่นๆ ภายในจังหวัดนครสวรรค์อีก

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูนิวาสธรรมขันธ์ รองเจ้าคณะแขวงเมืองนครสวรรค์ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2457 นำความปีติยินดีแก่บรรดาศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อเป็นอันมาก พ.ศ.2462 หลวงพ่อเดิมได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเดิม ได้ปฏิบัติศาสนกิจในหน้าที่มาตลอดเวลา 20 ปี กระทั่งล่วงเข้าวัยชรามาก คณะสงฆ์จึงได้เลื่อนหลวงพ่อขึ้นเป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ หลวงพ่อเดิม เปรียบเสมือนร่มโพธิ์และร่มไทรที่มีกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไปอย่างไพศาล เป็นที่พึ่งพาอาศัยของประชาชน อย่างไรก็ตาม หลังจากที่หลวงพ่อกลับจากการเป็นประธานงานก่อสร้างโบสถ์ในวัดอินทาราม ต.พยุหะ อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ต่อมา หลวงพ่อเดิม เริ่มอาพาธ และมีอาการหนักขึ้น บรรดาศิษยานุศิษย์ ต่างพากันมาห้อมล้อมพยาบาลและฟังอาการกันเนืองแน่น ในที่สุด หลวงพ่อเดิม ได้ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 92 ปี 71 พรรษา ท่ามกลางความเศร้าสลดของพุทธศาสนิกชน คณะศิษยานุศิษย์ได้ช่วยกันสรงน้ำศพหลวงพ่อ ก่อนบรรจุศพตั้งบำเพ็ญกุศล และจัดให้มีการพระราชทานเพลิงในวันที่ 30 สิงหาคม 2494

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ได้รับการขนานนามและยกย่องเป็น "เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว" ซึ่งชาวนครสวรรค์ให้ความนับถือหลวงพ่ออยู่มิเสื่อมคลาย โดยเฉพาะ วัดหนองโพได้สร้างมณฑปที่ประดิษฐานรูปหล่อโลหะของหลวงพ่อพระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิมขนาดเท่าองค์จริงพระเครื่อง และวัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน นอกจากนี้ วัดหนองโพได้ จัดงานทำบุญประจำปีปิดทอง ไหว้พระรูปเหมือนหลวงพ่อเดิม ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ที่มา... ข่าวสดรายวัน