ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก

สำหรับลูกค้าใครที่ผ่านมา ทางนี้ ก็อย่าลองแวะเข้าไปสักการะ และชมความงดงามของพระพุทธรูปเก่าแก่ ศิลปะสุโขทัย กันได้นะครับ

#ซื้อขายทองคำแท่ง #ซื้อขายทองคำแท่งออนไลน์ #ทองคำ #อินเตอร์โกลด์

InterGOLD #ลงทุนทองคำแท่ง

สามารถติดตามบทวิเคราะห์ได้ที่: https://www.youtube.com/intergoldgoldtrade

ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
สนใจลงทุนทองคำแท่งหรือติดตามข่าวสารได้ที่
ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
Website : www.intergold.co.th
ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
Line : @intergold
ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
Facebook : https://www.facebook.com/IntergoldPage/
ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
Call : 02 – 2233 – 234

พระบรมธาตุมีสองลักษณะคือ พระบรมธาตุที่ไม่แตกกระจาย และที่แตกกระจาย มีขนาดเล็กสุดประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด

ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่

ทั้งนี้ คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" เป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกเฉพาะพระธาตุของพระพุทธเจ้า หากเป็นของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า "พระธาตุ" เท่านั้น

การเกิดพระบรมสารีริกธาตุ[แก้ไขต้นฉบับ]

ประวัติ[แก้ไขต้นฉบับ]

นับแต่พระโคตมพุทธเจ้า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และเผยแผ่พระธรรมวินัยแก่ชาวชมพูทวีป เป็นเวลากว่า 45 ปี ทำให้พระพุทธศาสนาตั้งหลักฐานอย่างมั่นคง ณ ชมพูทวีปกว่าพันปี และพระพุทธศาสนาได้ขยายออกไปทั่วทวีปเอเชียนับแต่นั้นมา จวบจนพระพุทธองค์มีพระชนมายุใกล้ 80 พรรษา มีพระวรกายชราภาพลงเสมือนคนทั่วไป และหลังจากวันที่ทรงทำการปลงพระชนมายุสังขารได้ 3 เดือน จึงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ระหว่างใต้ต้นสาละคู่ ณ สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปรุณมีเพ็ญเดือน 6 ขณะมีพระชนมายุ 80 พรรษา

ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
ภาพหินสลักพระพุทธประวัติตอนเสด็จดับขันธปรินิพพาน

สถานที่ปรินิพพาน[แก้ไขต้นฉบับ]

สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธองค์ อยู่ในพระราชอุทยานของเจ้ามัลละฝ่ายเหนือแห่งกุสินารา ชื่อว่า "อุปวตฺตนสาลวนํ" หรือ อุปวัตตนะสาลวัน ซึ่งในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า สาลวโนทยาน แปลว่า สวนป่าไม้สาละ ป่าแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำหิรัญญวดี เป็นป่าไม้สาละร่มรื่น ซึ่งหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์แล้ว กษัตริย์แห่งมัลละก็ได้ประดิษฐานพระพุทธสรีระไว้ ณ เมืองกุสินาราเป็นเวลากว่า 7 วัน ก่อนที่จะประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ อันตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองกุสินารา ในวันที่ 8 แห่งพุทธปรินิพพาน

การถวายพระเพลิง[แก้ไขต้นฉบับ]

โดยการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ คัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทกล่าวว่า เหล่ามัลลกษัตริย์แห่งแคว้นวัชชี ได้กระทำขึ้นตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีการถวายพระเพลิงพระจักรพรรดิราช โดยเหล่ามัลลกษัตริย์ห่อพระสรีระด้วยผ้าผืนใหม่ แล้วซับด้วยสำลี รวมจำนวน 500 ชั้น และห่อด้วยผ้าอัคคีโธวัน ซึ่งเป็นผ้าชนิดพิเศษซึ่งทอขึ้นด้วยใยโลหะไม่ไหม้ไฟ และเชิญประดิษฐานบนรางเหล็ก เติมน้ำมัน ปิดด้วยรางอื่นเป็นฝา แล้วจึงเชิญพระพุทธสรีระขึ้นประดิษฐานบนพระจิตกาธานซึ่งทำด้วยไม้หอม เตรียมการถวายพระเพลิง

ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
มหาสถูปปรินิพพาน ภายในสาลวโนทยาน

จากความในมหาปรินิพพานสูตร พระไตรปิฎก กล่าวว่า เพลิงได้ลุกขึ้นเองจากภายใน ด้วยพระเตโชธาตุจากพระพุทธาธิษฐาน และเมื่อพระสรีระขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าถูกเพลิงไหม้แล้ว สายธารทิพย์ก็ไหลมาจากอากาศ ลำต้นสาละ และจากพื้นดินโดยรอบเพื่อดับพระจิตกาธาน และเมื่อดับจิตกาธานแล้ว สิ่งที่คงเหลืออยู่คือพระบรมสารีริกธาตุ (กระดูก) ทั้งที่คงลักษณะเดิม (ไม่แตกกระจายไป) จำนวน 7 พระองค์ (เรียกว่า นวิปฺปกิณฺณาธาตุ) และแบบกระจัดกระจาย มีสีดอกมะลิ สีแก้วมุกดา และสีเหมือนทองคำ ซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน รวมจำนวนได้ 16 ทะนาน (เรียกว่า วิปฺปกิณฺณาธาตุ)

ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระสัมมาสัมองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า

จากนั้น เหล่ามัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราได้กระทำสัตติบัญชรในสัณฐาคาร แวดล้อมด้วยธนูปราการ ประกอบพิธีบูชาสมโภชพระบรมสารีริกธาตุตลอดเจ็ดวันหลังจากนั้น

การแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ[แก้ไขต้นฉบับ]

ต่อมาไม่นาน เจ้าผู้ครองแคว้นต่าง ๆ ก็ได้ยกกองทัพหลวงของตน รวมจำนวน 8 กองทัพ มาล้อมเมืองกุสินาราเพื่อจะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ แต่ด้วยความที่กุสินาราเป็นเมืองเล็ก จึงต้องยอมระงับศึกโดยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทุกเมืองโดยไม่ต้องเกิดสงคราม โดยมีโทณพราหมณ์เป็นผู้เจรจาและประกอบพิธีแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้เป็น 8 ส่วน และพระอังคารธาตอีก 1 ส่วน คือ พระเจ้าอชาตศัตรู กษัตริย์มคธเมืองราชคฤห์, กษัตริย์ลิจฉวีเมืองเวสาลี, กษัตริย์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์, กษัตริย์ถูลีเมืองอัลกัปปะ, กษัตริย์โกลิยะเมืองรามคาม, พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ, กษัตริย์มัลละเมืองปาวา, กษัตริย์มัลละเมืองกุสินารา และกษัตริย์โมลิยะเมืองปิปผลิวัน (พระอังคารธาตุ)

พระพุทธประสงค์[แก้ไขต้นฉบับ]

ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
สถานที่สันนิษฐานว่าเป็นที่โทณพราหมณ์แจกพระบรมสารีริกธาตุแก่เจ้าผู้ครองนครทั้ง 8 ภายในกุสินารานคร

ก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพาน องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มีพระพุทธประสงค์ให้พระพุทธสรีระของพระองค์แตกกระจายไปจำนวนมาก พระบรมสารีริกธาตุขนาดเล็กสุดแม้ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ดังปรากฏความในคัมภีร์ปฐมสมันตาปาสาทิกาว่า

“ โย จ ปูเชยฺย สมฺพุทฺธํ ติฏฺนฺตํ โลกนายกํ ธาตุ สาสปมตฺตมฺปิ นิพฺพุตสฺสาปิ ปูชเย ฯ สเม จิตฺตปฺปสาทมฺหิ สมํ ปุญฺ มหคฺคตํ ตสฺมา ถูปํ กริตฺวาน ปูเชหิ ชินธาตุโย ฯ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานพระธาตุให้กระจายว่า เราอยู่ได้ไม่นานก็จะปรินิพพาน ศาสนาของเรายังไม่แพร่หลายไปในที่ทั้งปวงก่อน เพราะฉะนั้น เมื่อเราแม้ปรินิพพานแล้ว มหาชนถือเอาพระธาตุแม้ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดทำเจดีย์ในที่อยู่ของตนๆ ปรนนิบัติ จงมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
ริ้วกระบวนอิสริยยศพุทธบูชา อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวงจากพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในโอกาสพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

พระพุทธประสงค์ดังกล่าวนี้ เพื่อให้ศาสนาของพระองค์แพร่หลายไป และผู้ที่เกิดมาภายหลัง ไม่ทันเห็นพระองค์เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ จักได้กระทำการสักการบูชาเพื่อเป็นกุศลแก่ตน ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พระบรมสารีริกธาตุแพร่หลายไปยังดินแดนต่าง ๆ นับแต่หลังพุทธปรินิพพานเป็นต้นมา

จำนวนพระบรมสารีริกธาตุ[แก้ไขต้นฉบับ]

  • ส่วนของพระบรมสารีริกธาตุที่ตั้งอยู่ในลักษณะเดิมมิให้ย่อยเล็กหรือถูกทำลายไป มีพระอุณหิส 1 องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ 2 องค์
  • พระบรมสารีริกธาตุที่แตกทำลายมีจำนวนทั้งหมด 16 ทะนานซึ่งมีลักษณะและสีหลายอย่างขึ้นอยู่กับส่วนของพระวรกาย

ลักษณะพระบรมสารีริกธาตุ[แก้ไขต้นฉบับ]

วรรณะ (สี) พระบรมสารีริกธาตุตามนัยอรรถกถาพระไตรปิฎกอธิบายว่า สีแห่งพระบรมสารีริกธาตุเสมือนดอกมะลิตูม เสมือนแก้วมุกดาที่เจียรนัยแล้ว และเสมือนจุณทองคำส่วนสัณฐานพระบรมสารีริกธาตุ มี 3 สัณฐาน คือ

  1. ขนาดเล็ก มีสัณฐานประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด
  2. ขนาดเขื่อง มีสัณฐานประมาณเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง
  3. ขนาดใหญ่ มีสัณฐานประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง
  4. ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
    พระเขี้ยวแก้วจำลอง (พระบรมธาตุส่วนไม่แตกกระจาย) ในพิพิธภัณฑ์เมืองโคลอมโบ ศรีลังกา
  5. ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
    พระบรมธาตุสัณฐานเมล็ดพันธ์ผักกาด เป็นพระบรมธาตุส่วนแตกกระจายที่มีขนาดเล็กที่สุด
  6. ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
    พระบรมสารีริกธาตุลักษณะกระดูกมนุษย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

ความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมสารีริกธาตุ[แก้ไขต้นฉบับ]

ว ตถ ทองคำท ม ขนาดใหญ ท ส ดในโลก
ภาพพระบรมธาตุแสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำภายในภาชนะแก้ว (พระบรมธาตุแห่งวัดคุ้งตะเภา)

ในดินแดนต่าง ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนา ต่างนับถือว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุสูงค่าสูงสุด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งแห่งพระพุทธสรีระขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า และด้วยความเชื่อเรื่องพระพุทธบารมีประดุจพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ จึงมีความเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น พระบรมสารีริกธาตุลอยน้ำ, พระบรมสารีริกธาตุเสด็จเคลื่อยย้ายที่ประดิษฐานเองได้, พระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฏิหาริย์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น เปล่งแสงหรือรัศมีโอภาส หรือเพิ่มจำนวนได้ เป็นต้น ซึ่งยังไม่สามารถอธิบายในเชิงวิทยาศาสตร์ได้ แต่เมื่อนำเอาพระบรมสารีริกธาตุไปเทียบกับธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกแล้ว พบว่าไม่ตรงกับธาตุใดเลย

ในประเทศไทยสมัยโบราณ ปรากฏหลักฐานความเชื่อปาฏิหาริย์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมสารีริกธาตุที่เก่าที่สุดในจารึกวัดศรีชุม ซึ่งเป็นศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 โดยพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลังกาทีปมหาสามีเป็นเจ้า ซึ่งเป็นพระโอรสของพระยากำแหงพระราม และเป็นพระนัดดาของพ่อขุนผาเมือง เป็นผู้จารึกขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 1890-พ.ศ. 1917 โดยมีส่วนหนึ่งของจารึกกล่าวถึงอิทธิปาฏิหาริย์ของพระบรมสารีริกธาตุที่วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัยโดยละเอียดว่า

“ ...พระมหาธาตุเปนเจาจึงเสด็จปาฏิหาริยหนักหนาดังน้ำมหาสมุทรระลอกดังฝนตกหาใหญ รัสมีลางอันดังพรรษา จรวดสวายสูภาลูกาบุษ บธารารัศมีลางอันเลื่อมดังดวงดาวคำ เลื่อมดังน้ำทองไหลจรัสไปทั่วทุกแหง รัศมีลางอันขาวดังดอก..กรัตนดังดอกซอนดอกพุดเห็นแกตา ดาษทั่วจักราพาล ๐พระเกศธาตุเสด็จมีหมูหนึ่งชือดังสายฟาแมลบดังแถวน้ำแลนในกลางหาวอัศจรรย ๐สิ่งหนึ่งเห็นตะวัน...ออกเขียวดังสุงเผาหมอเผาไห ๐พระคีวาธาตุเสด็จจากเจดียทอง พุงขึ้นไปยัง เห็นดังตะวันสองอันเรืองใสงามหนักหนา แพพระอาทิตย พิศดูพระคีวาธาตุประมาณเทากลองเงินอันใหญ รอบนั้น ดวยกวาง แสงจรัสโอภาแลประหลาด ควรแลวามีฉัพพรรณรังสีเหลืองแดงดำ เขียวขาว ภาวจรัสสองในโลกธาตุทุกแหง ปาฏิหาริยแตแดดอุนเถิงสองชั้นฉาย... ๐พระเปนเจา จึงลงมาฉวัด รอบสุวรรณเจดีย รัศมีกระเลียกงามหนัก หนา......ดังกงเกวียนแกว แลวพระคีวาธาตุเจาจึงเสด็จเขาในโกศทอง ฝูงพระธาตุ ......จิงเขามาสูพระเจดียพอดังเผิ้งพาน เขามารังนั้นแล ๐กูจึงลุกขึ้นอัญชุลี ๐คอยมาถึง..นน โยธา พระศรีรัตนมหาธาตุเจากู ๐ลูกหนึ่งมีพรรณงามดังทองรัสมีเทา ลูก หมากเสด็จ มาแต กลางหาว ลงมาฉวัด รอบตนทานแล จึงเสด็จขึ้นอยูเหนือหัวแล พระรัตนธาตุจึงเสด็จมาอยูกึ่งหนาผาก พระศรีศรัทธาราชจุฬามุนีศรีรัตนลงกาทีป จึงยอสองมือรับเอาแลไหว พระเกศธาตุเสนหนึ่งเลื่อมงาม ควางมาแตบน สะพัดเหนือหัว พระศรีศรัทธาราชจุฬามุนียิน ศรัทธาน้าตาถั่ง ตกหนักหนา บูชาทั้งตัวอกเขาซองทั้งหลาย บหมีวาถี่เลย... ”

นอกจากนี้ ในสมัยอยุธยายังปรากฏหลักฐานความเชื่อปาฏิหาริย์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมสารีริกธาตุในพระราชพงศาวดารหลายแห่ง เช่น ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเอกาทศรถ เป็นต้น และในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และในเหตุการณ์ที่องค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์ที่องค์พระปฐมเจดีย์ เป็นต้น

ดูเพิ่ม[แก้ไขต้นฉบับ]

  • สถูป (สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ)
  • วันอัฏฐมีบูชา (วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ และบังเกิดพระบรมสารีริกธาตุ)

อ้างอิง[แก้ไขต้นฉบับ]

  • สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4. (2555). วัดคุ้งตะเภาจัดพิธีสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://region4.prd.go.th/ewt_news.php?nid=18988 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • มหากสฺสปตฺเถรวตฺถุวณฺณนา อรรถกถาพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทานที่ ๙
  • "พจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 2011-08-16.
  • สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. มหาวาร. ม. ๑๙/๒๘๗/๙๖๓
  • กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). คู่มือสักการะพระบรมสารีริกธาตุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค "มหาปรินิพพานสูตร"
  • คัมภีร์ปฐมสมันตาปาสาทิกา อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค "มหาปรินิพพานสูตร"
  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค "มหาปรินิพพานสูตร"
  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ "ธาตุภาชนียกถา"
  • พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ "ปัจจุปัฏฐานสัญญกเถราปทานที่ ๙"
  • คัมภีร์ปฐมสมันตาปาสาทิกา อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
  • กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2555). คู่มือสักการะพระบรมสารีริกธาตุ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
  • มหากสฺสปตฺเถรวตฺถุวณฺณนา อรรถกถาพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก ฑีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
  • เว็บไซต์พระบรมสารีริกธาตุ. (2555). พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : 2012-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • เว็บไซต์พระบรมสารีริกธาตุ. (2555). พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.relicsofbuddha.com/page2-1.htm เก็บถาวร 2012-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • "ฟ้าวันใหม่สุดสัปดาห์ 12 06 59 เบรก2". ฟ้าวันใหม่. 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  • ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2556). จารึกวัดศรีชุม. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=177
  • พระยาเทพาธิบดี. (2459). คำให้การขุนหลวงหาวัด ฉบับหลวง. พระนคร : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร
  • ฐานข้อมูลจารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2556). จารึกวัดศรีชุม. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=177[ลิงก์เสีย] พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ. (2547). พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุกับคนไทย. [ออน-ไลน์]. เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้จาก : http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=206&articlegroup_id=59 เก็บถาวร 2014-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน