ว ฒนธรรมเม อวโตนเลสาบ ม ความส าค ญอย างไร

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเผย กรกฎาคมและสิงหาคมนี้ ระดับน้ำโตนเลสาบต่ำสุดในประวัติศาสตร์เข้าขั้น “วิกฤต” เหตุแม่น้ำโขงแห้งเพราะแล้งฝน ด้านนักวิจัยหลากหลายสังกัดคาดเขื่อนจีนมีส่วนเกี่ยว เรียกร้องให้ทางการจีนเปิดเผยข้อมูลน้ำเพื่อหาทางออกร่วมกัน

19 สิงหาคม พ.ศ.2563 คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC – Mekong River Commission) เปิดเผยรายงานสถานการณ์หน้าฝนลุ่มน้ำโขงตอนล่างรายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 11 – 17 สิงหาคม พบว่า แม้ปัจจุบัน ฝนจะตกต่อเนื่องทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงและลำน้ำประกอบทยอยเพิ่มสูงขึ้น ทว่าสถานการณ์น้ำในประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่างยังน่ากังวล ระดับน้ำต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสะสมแทบทุกพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณทะเลสาบน้ำจืด “โตนเลสาบ” ประเทศกัมพูชา มีระดับน้ำต่ำขั้นวิกฤต น้อยที่สุดตั้งแต่เก็บข้อมูลมาในรอบ 20 ปี

โดยปกติแล้ว เมื่อถึงกลางเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นฤดูฝน ระดับน้ำในแม่น้ำโขงจะสูงขึ้น ทำให้น้ำไหลย้อนกลับเข้าสู่โตนเลสาบ เติมน้ำให้กับทะเลสาบน้ำจืดแห่งนี้จนขนาดขยายกว้างกว่า 6 เท่า เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยสำคัญของปลาและนกน้ำหลากหลายชนิด

อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวเผยว่า ช่วงกรกฎาคมและสิงหาคมปีนี้ โตนเลสาบมีปริมาณน้ำน้อยที่สุดที่เคยพบมา ต่ำกว่าเมื่อปีก่อนที่หลายคนเรียกขานว่า “วิกฤตโขงแล้ง” และค่าต่ำสุดในประวัติศาสตร์ถึง 43% แม้เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา น้ำโขงได้ไหลย้อนเข้าโตนเลสาบบ้างแล้ว ทว่านับว่ามาล่าช้าและปริมาณน้อยมาก คาดเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนิญโญ (El Niño) ทำให้ฝนตกน้อยบริเวณแม่น้ำโขง และพื้นที่รับน้ำย่อยใกล้เคียง

ว ฒนธรรมเม อวโตนเลสาบ ม ความส าค ญอย างไร
กราฟเปรียบเทียบระดับน้ำโตนเลสาบรายเดือน พบว่าเดือนกรกฎาคมและสิงหาคมปี 2563 ต่ำกว่าค่าต่ำสุดในประวัติศาสตร์ // ขอบคุณภาพ: MRC

“การเปลี่ยนแปลงระยะเวลาและช่วงเวลาที่น้ำท่วมโตนเลสาบกับพื้นที่ใกล้เคียงจะส่งผลกระทบต่อการขยายพันธุ์และเจริญเติบโตของปลา สัตว์น้ำ และพืช เนื่องจากสูญเสียตะกอนอาหารและแหล่งอนุบาล คาดว่าปริมาณปลาที่ได้ในประมงจะลดน้อยลง คุกคามความมั่นคงทางอาหารของชุมชนเปราะบางในภูมิภาค” รายงานสถานการณ์น้ำช่วงต้นปีของคณะกรรมการธิการแม่น้ำโขง ระบุ โตนเลสาบสร้างผลผลิตทางประมงกว่า 60% ของกัมพูชา เมื่อเกิดเหตุน้ำแล้งปีที่แล้ว พบว่าผลผลิตประมงในจังหวัดกัมปงชนังลดลง 35% จากค่าเฉลี่ยในรอบ 8 ปี

คณะกรรมการธิการแม่น้ำโขงยังแนะให้ไทยและประเทศลุ่มน้ำโขงวางแผนรับมือสถานการณ์น้ำแล้ง และหากระดับน้ำโขงยังคงต่ำอย่างต่อเนื่อง อาจขอให้ประเทศจีนปล่อยน้ำเหมือนเมื่อปีพ.ศ. 2559 เพื่อรับมือฤดูแล้งปลายเดือนตุลาคม

นอกจากโตนเลสาบแล้ว ระดับน้ำโขงจุดอื่นยังต่อกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต (Long term average) สถานีตรวจวัดระดับน้ำเชียงคาน จังหวัดเลย คาดการณ์ว่าช่วงปลายเดือนสิงหาคม ฝนจะตกทำให้ระดับน้ำจะสูงขึ้น 0.4 เมตร ซึ่งยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสะสม 2 เมตร ส่วนนครพนม คาดว่าระดับน้ำโขงจะสูงขึ้นอีก 0.75 เมตร ทว่ายังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสะสม 1 เมตร

สาเหตุที่แม่น้ำโขงแห้งนั้นไม่ได้มีเพียงปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง สันนิฐานว่าเขื่อนในลุ่มน้ำโขงตอนบนและในแม่น้ำสาขาบริเวณลุ่มน้ำโขงตอนล่างอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการฯ ยังขาดข้อมูลการกักเก็บน้ำของเขื่อนต่างๆ เพื่อประเมินผลกระทบ

“เราเรียกร้องให้ประเทศลุ่มน้ำโขงทั้งหกประเทศแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับเขื่อนและโครงสร้างกักเก็บน้ำต่างๆ อย่างโปร่งใสและทันท่วงทีกับทางคณะกรรมการธิการแม่น้ำโขง ถึงเวลาแล้วที่จะนำสิ่งที่พูดคุยบนโต๊ะมาลงมือปฏิบัติจริงและทำเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งลุ่มน้ำโขงและชุมชนที่ได้รับผลกระทบ” Dr An Pich Hatda ผู้อำนวยการกองเลขาธิการคณะกรรมการแม่น้ำโขง กล่าว

การขาดข้อมูลสถานการณ์น้ำ นับว่าเป็นอุปสรรคใหญ่ในการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำโขงที่นักวิจัยจากหลากหลายองค์กรเห็นตรงกันในเวทีเสวนาเรื่อง “โขงแล้ง? เขื่อนแม่โขง ธรรมาภิบาลช่วงเปลี่ยนผ่าน และความท้าทายในการกำกับดูแลผลกระทบข้ามพรมแดน” เมื่อ 29 กรกฏาคม ที่ผ่านมา ณ SEA Junction หอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร

ว ฒนธรรมเม อวโตนเลสาบ ม ความส าค ญอย างไร
Dr.Carl Middleton /สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ณิชา เวชพานิช

“การแบ่งปันข้อมูลน้ำเป็นพื้นฐานของการร่วมมือกันในลุ่มน้ำโขง แต่ว่าตอนนี้ยังร่วมมือกันแค่บางส่วน นำไปสู่ความไม่แน่นอน ซึ่งกระบวนการทำวิจัยและปรึกษาหารือร่วมกันจะเป็นทางออกที่ช่วยสร้างความเชื่อใจระหว่างประเทศ”

Dr.Carl Middleton ผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

ปัจจุบัน คณะกรรมการธิการแม่น้ำโขงและองค์กรต่างๆ ที่ติดตามสถานการณ์แม่น้ำสายสำคัญแห่งนี้ยังขาดข้อมูลสถานการณ์น้ำตลอดทั้งปีจากทางการจีนและปัจจุบันยังไม่มีการติดตั้งสถานีตรวจวัดน้ำบริเวณพม่า นอกจากนี้ กลไกตรวจสอบและทำงานร่วมกันระหว่างประเทศต่างๆ ยังขาดการบังคับใช้

“ผมเชื่อว่า วิทยาศาสตร์ควรตอบโจทย์สาธารณะ เราจะทำอย่างไรให้งานวิจัยต่างๆ นำไปสู่การถกเถียงในสังคม ให้ประชาชนเข้ามาคุยเรื่องแม่น้ำโขงกัน เช่นเดียวกับประเด็นฝุ่นควัน เรามีแอพพลิเคชั่นติดตามคุณภาพอากาศเป็นพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและพูดคุยกันเรื่องนี้ คำถามคือเราจะทำอย่างไรให้เกิดสิ่งเดียวกันกับประเด็นแม่น้ำโขง” เขาทิ้งท้าย

ชมงานเสวนา “โขงแล้ง? เขื่อนแม่โขง ธรรมาภิบาลช่วงเปลี่ยนผ่าน และความท้าทายในการกำกับดูแลผลกระทบข้ามพรมแดน” จัดโดยสำนักข่าว Bangkok Tribune ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม และเครือข่ายได้ที่นี้

MRC โขง โขงแล้ง โตนเลสาบ

ว ฒนธรรมเม อวโตนเลสาบ ม ความส าค ญอย างไร

เด็กอักษรศาสตร์ที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม ชอบเดินป่า เดินกินและเดินดูนิทรรศการ เชื่อในพลังการสื่อสารเพื่อสังคม (กองบรรณาธิการ GreenNews ถึงมกราคม 2565)