ว จ ยพยาบาลขาดแคลนทำให ทำงานไม ม ประส ทธ ภาพ

แม้ว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 เม.ย.2563 จะมีมติจัดสรรอัตราบรรจุข้าราชการแก่พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว (รายเดือน) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานเป็นด่านหน้าในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 จำนวน 38,105 อัตรา ใน 24 สายงาน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของพยาบาลที่เรียนจบใหม่ ซึ่งเพิ่มขึ้นจำนวนมากในทุกปี ทำให้ปัญหาสมองไหลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มีพยาบาลวิชาชีพจำนวนมาก ที่เรียนจบมาหลายรายยอมชดใช้ทุนก่อนจะลาออกไปอยู่โรงพยาบาลเอกชน หรือยอมชดใช้ทุนคืนรัฐ และลาออกไปประกอบอาชีพอื่น ซึ่งมีค่าตอบแทนและสวัสดิการที่คุ้มค่ากว่า เป็นปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง

ว จ ยพยาบาลขาดแคลนทำให ทำงานไม ม ประส ทธ ภาพ

เสียงสะท้อนพยาบาลจบใหม่รอ “บรรจุข้าราชการ”

น.ส.พัชรีญา ชูพีรัชน์ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลปทุมธานี ดูแลรับผิดชอบแผนกผู้ป่วยในอายุรกรรมหญิงมาประมาณ 3 ปี และยังไม่ได้บรรจุข้าราชการ ระบุว่า หน้าที่หลักคือดูแลผู้ป่วยตามเตียงที่รับผิดชอบจำนวน 8 -10 คน และจัดเตรียมยาให้ผู้ป่วยตามรอบเวลา

ระหว่างวันต้องทำหัตถการให้ผู้ป่วยตามแพทย์สั่ง รวมไปถึงป้อนอาหารผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ซึ่งภาระงานบางวันล้นมือ จนไม่มีเวลากินข้าวกลางวัน แม้ว่าภาระงานจะมาก แต่ยังไม่คิดลาออก เพราะต้องทำงานใช้ทุนให้กับโรงพยาบาลเป็นเวลา 4 ปี ซึ่งยังเหลืออีก 1 ปี หากลาออกก่อนจะต้องชดใช้ทุน 2 เท่า ทำให้ทุกวันนี้คาดหวังจะได้บรรจุข้าราชการ เพื่อความมั่นคงทางอาชีพ

ที่บ้านอยากให้บรรจุเป็นข้าราชการ จึงไม่ย้ายไปโรงพยาบาลเอกชน อยากบรรจุก่อนจบทุน เพราะรอนาน มีความลังเล ถ้าเราไม่ได้ติดทุนแล้ว ไม่ได้บรรจุสักที ก็มองหาทางเลือกอื่น ๆ

ว จ ยพยาบาลขาดแคลนทำให ทำงานไม ม ประส ทธ ภาพ

พยาบาลขาดแคลน ภาระงานล้นมือ

ด้าน น.ส.จิตติกา ใจกว้าง พยาบาลวิชาชีพ ดูแลผู้ป่วยนอกประจำแผนกจักษุ โรงพยาบาลปทุมธานี ระบุว่า ได้บรรจุข้าราชการหลังจากทำงานได้ 3 ปี และเพิ่งย้ายมาแผนกนี้ได้ 6 เดือน ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาเฉลี่ย 120 คนต่อวัน

โดยแผนกนี้มีพยาบาล 4 คน ต้องทำทั้งเอกสาร งานบริการ ทำหัตถการให้กับผู้ป่วยตามแพทย์สั่ง ดูแลผู้ป่วยแต่ละคนจนกว่าแพทย์จะตรวจเสร็จ บางวันหากผู้ป่วยมีจำนวนมากต้องดูแลผู้ป่วยจนหมดจึงจะได้พัก

ทำงานจนกว่าแพทย์แต่ละท่านจะตรวจเสร็จ เราถึงจะปิดห้อง ถ้าคนไข้เยอะก็ต้องดูแลคนไข้เป็นหลัก บางคนไม่ได้กินข้าว เขาทำงานต่อเนื่องจนเสร็จ ถึงจะได้กิน

ภาระงานเยอะ-ค่าตอบแทนน้อย

นางพรทิพย์ คะนึงบุตร รองผู้อำนวยการ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลปทุมธานี ยอมรับว่า ขณะนี้โรงพยาบาลปทุมธานี ประสบปัญหาขาดแคลนพยาบาล เพราะจำนวนพยาบาลที่มีอยู่ 477 คน ต้องรองรับทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลปทุมธานี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2,200 คนต่อวัน

ว จ ยพยาบาลขาดแคลนทำให ทำงานไม ม ประส ทธ ภาพ

ส่วนผู้ป่วยในมีประมาณ 430-470 คน เกินจำนวนเตียงที่โรงพยาบาลรองรับไว้คือ 408 เตียง ทำให้ทุกวันนี้ผู้ป่วยบางคนต้องนอนเตียงเสริม รวมทั้งการดูแลผู้ป่วยที่ปัจจุบันมีภาวะโรคแทรกซ้อนมากขึ้น ทำให้ภาระงานการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้นด้วย จากพยาบาลที่ขาดแคลนและภาระงานที่หนัก แม้จะรับพยาบาลจบใหม่เข้ามาทำงาน แต่ลาออกทุกปี

เรารับน้องตั้งแต่จบใหม่ ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ มาฝึกสอนงาน เพื่อให้น้องสอบได้ น้องทำงาน 1-2 ปี น้องก็ไปทำงานที่เงินเดือนดีกว่า และที่สำคัญงานไม่หนักเท่า รพ.รัฐ

ว จ ยพยาบาลขาดแคลนทำให ทำงานไม ม ประส ทธ ภาพ

พยาบาลต้องทำงานหนักเพราะผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หลายคนมองว่าค่าตอบแทนไม่คุ้มค่า

พยาบาลต้องทำงานหนักเพราะผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หลายคนมองว่าค่าตอบแทนไม่คุ้มค่า

เปิดรายได้พยาบาล

รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลปทุมธานี ระบุว่า ค่าตอบแทนของพยาบาลโรงพยาบาลปทุมธานี มีทั้งรายวันและรายเดือน สำหรับลูกจ้างรายวันที่ยังไม่ได้ใบประกอบวิชาชีพ จะได้ค่าตอบแทน 710 บาทต่อวัน

ส่วนรายเดือนหรือได้รับการบรรจุข้าราชการจะได้ค่าตอบแทน 15,000 บาท กรณีการเข้าเวรโอทีจะได้เวรละ 820 บาท โดยค่าเวรโอทีถือว่าได้มากกว่าโรงพยาบาลอื่น ๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้กับพยาบาลได้ทำงานต่อ

พยาบาลจบใหม่ เขาอยากบรรจุ แต่มันไม่มีความหวัง ก็ไม่อยากอยู่กับเรา ทุกวันนี้ รพ.ปทุมฯ จบมาให้ทุน 120,000 บาท เพื่อให้อยู่กับเราอย่างน้อย 4 ปี ถ้าระหว่างนี้ไม่มีตำแหน่งให้บรรจุ เขาก็เตรียมลาออกเลย

ว จ ยพยาบาลขาดแคลนทำให ทำงานไม ม ประส ทธ ภาพ

พยาบาลวิชาชีพเรียกร้องให้บรรจุเป็นข้าราชการ

พยาบาลวิชาชีพเรียกร้องให้บรรจุเป็นข้าราชการ

บรรจุข้าราชการ ช่วยรั้งให้อยู่ต่อ

รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลปทุมธานี ระบุว่า อัตรากำลังพยาบาลในโรงพยาบาลรัฐขาดแคลนมาก ต้องไปเชิญชวนนักศึกษาพยาบาลตามวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เข้ามาทำงานที่โรงพยาบาล พร้อมกับเสนอเงื่อนไขให้ทุน 120,000 บาท

ที่ผ่านมาเมื่อพยาบาลจบใหม่เข้ามาทำงานได้ 1-2 ปี ก็จะลาออกไปทำงานโรงพยาบาลเอกชนจำนวนมาก เพราะค่าตอบแทนและภาระงานที่แตกต่างกัน เช่น ทางโรงพยาบาลให้ทุนปีละ 50 ทุน มีพยาบาลจบใหม่ลาออกปีละ 30 คน แม้ว่าจะต้องใช้ทุน 2 เท่า เขาก็ยินยอมเสียเงินจำนวนนี้ มองว่า หากได้บรรจุเป็นข้าราชการ จะช่วยลดการลาออกของพยาบาลจบใหม่ได้

กฤษดา แสวงดี. (2560). วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพของสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 12(15), 58-74.

จุฑารัตน์ แซ่ล้อ, และ สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(2), 95-103.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2562). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 14). เทพเนรมิตการพิมพ์.

นันทาวดี วรวสุวัส, ลักษณา สกุลทอง, กุลิสรา พิศาลเอก, มนัสพงษ์ มาลา, และ ปราณี เนาวนิตย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันทางใจป้องกันภาวะหมดไฟดูแลใจคนทำงานสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 7 (EPI-BP Model) ศูนย์สุขภาพจิตที่ 7.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 603-613.

ณัฐนันท์ ฤทธิ์สำเร็จ, ธีระวุธ ธรรมกุล, และ ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ หมดไฟในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วารสาร สาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา, 17(1), 86-99.

บุญช่วย ศิลาหม่อม, วรรณี เดียวอิศเรศ, และ อารีรัตน์ ขำอยู่. (2018). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 36(1), 62-71.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม. (2563). แบบประเมินตนเองการกำกับวิชาชีพพยาบาล. ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม.

วีระยุทธ บุญเกียรติเจริญ, บุญเติม แสงดิษฐ, และ ทศพร วิมลเก็จ. (2561). ความเหนื่อยหน่ายของพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลของรัฐในกรุงเทพมหานคร. เวชสารแพทย์ทหารบก, 71(3), 163-172.

อรุณรัตน์ คันธา, เดช เกตุฉ่ำ, กฤษดา แสวงดี, และ ตวงทิพย์ ธีระวิทย์. (2556). การย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 28(3), 19-31.

อมรรัตน์ จันโยธา, สุทธินันท์ ฉันท์ธนกุล, เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์, และ สุคนธา ศิริ. (2560). ศึกษาความเหนื่อยล้าและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าจากการปฏิบัติงานของ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 166-174.

Douglas, S., & Roberts, R. (2020). Employee age and the impact on work engagement. Strategic HR Review, 19(5), 209-213. https://doi.org/10.1108/SHR-05-2020-0049

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B, & Anderson, E. R. (2019). Multivariate Data Analysis (7th ed.) Pearson Education.

Hu, D., Kong, Y., Li, W., Han, Q., Zhang, X., Zhu, L. X., Wan, S. W., Liu, Z., Shen, Q., Yang, J., He, H., & Zhu, J. (2020). Frontline nurses’ burnout, anxiety, depression, and fear statuses and their associated factors during the COVID-19 outbreak in Wuhan, China: A large-scale cross-sectional study. eClinicalMedicine, 24, Article 100424. https://doi.org/10.1016/j.eclinm.2020.100424

Khasne, R. W., Dhakulkar, B. S., Mahajan, H. C., & Kulkarni, A. P. (2020). Burnout among healthcare workers during COVID-19 pandemic in India: results of a questionnaire-based survey. Indian Journal of Critical Care Medicine: Official Publication of Indian Society of Critical Care Medicine, 24(8), 664 -671.

Kitaoka, K., & Masuda, S. (2013). Academic report on burnout among Japanese nurses. Japan Journal of Nursing Science, 10(2), 273-279.

Maslach, C., & Jackson, S. E. (1986). The measurement of experienced burnout. Journal of Organizational Behavior, 2(2), 99-113.

Maslach, C., Schaufeli, W. B., & Leiter, M. P. (2001). Job burnout. Annual review of psychology, 52(1), 397-422.

Maslach, C., & Leiter, M. P. (2008). The truth about burnout: How organizations cause personal stress and what to do about it. John Wiley & Sons.

Tan, B. Y., Kanneganti, A., Lim, L. J., Tan, M., Chua, Y. X., Tan, L., Ooi, S. B. and et al. (2020). Burnout and associated factors among health care workers in Singapore during the COVID-19 pandemic. Journal of the American Medical Directors Association, 21(12), 1751-1758.

World Health Organization. (2019). Burn-out an “occupational phenomenon”: International classification of diseases. https://www.who.int/news/item/28-05-2019-burn-out-an-occupational-phenomenon-international-classification-of-diseases.