จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท

2. ภูมิประเทศและการแบ่งภาคทางอุตุนิยมวิทยาประเทศไทยเป็นประเทศเล็ก ลักษณะภูมิประเทศ และลมฟ้าอากาศส่วนใหญ่คล้ายคลึงกันมีแตกต่างกันบ้างเพียงเล็กน้อย การแบ่งภาคของประเทศไทยในทางอุตุนิยมวิทยา จึงพิจารณารูปแบบภูมิอากาศและแบ่งประเทศไทยออกได้เป็น 5 ภาค ดังนี้

Show

กำเนิดแม่น้ำชี สดุดีพญาแลผู้กล้า ปรางค์กู่เป็นสง่า ล้ำค่าพระธาตุชัยภูมิ สมบูรณ์ป่าเขาสรรพสัตว์ เด่นชัดลายผ้าไหม ดอกกระเจียวงามลือไกล อารยธรรมไทยทวารวดี

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดชัยภูมิเน้นสีแดง

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดชัยภูมิเน้นสีแดง

ประเทศ

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
ไทยการปกครอง • ผู้ว่าราชการ อนันต์ นาคนิยม (ตั้งแต่ พ.ศ. 2566) พื้นที่ • ทั้งหมด12,778.287 ตร.กม. (4,933.724 ตร.ไมล์)อันดับพื้นที่อันดับที่ 7ประชากร

(พ.ศ. 2564)

• ทั้งหมด1,122,265 คน • อันดับอันดับที่ 18 • ความหนาแน่น87.83 คน/ตร.กม. (227.5 คน/ตร.ไมล์) • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 53รหัส ISO 3166TH-36 สัญลักษณ์ประจำจังหวัด • ต้นไม้ขี้เหล็ก • ดอกไม้กระเจียว • สัตว์น้ำปลาสลาดศาลากลางจังหวัด • ที่ตั้งถนนบรรณาการ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ 36000 • โทรศัพท์0 4481 1573, 0 4482 2316เว็บไซต์http://www.chaiyaphum.go.th/

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ชัยภูมิ (เดิมสะกดว่า ไชยภูมิ์) เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย แต่หากแบ่งตามภูมิศาสตร์ ชัยภูมิจะจัดอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตก ร่วมกับจังหวัดเลย และนครราชสีมา หากแบ่งตามลักษณะภูมิอากาศจะจัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และแบ่งตามแบบเขตการปกครองจะจัดอยู่ในกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

ประวัติศาสตร์[แก้]

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล (แล) ที่หน้าวงเวียนศูนย์ราชการจังหวัดชัยภูมิ

แต่เดิมเมืองชัยภูมิก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยสันนิษฐานว่ามีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยเมืองชัยภูมินั้นถือเป็นเส้นทางการเผยแพร่วัฒนธรรมทวารวดีจากภาคกลางเข้าสู่ภาคอีสาน ปรากฏหลักฐานจากใบเสมาบ้านกุดโง้งในอำเภอเมือง และใบเสมานครกาหลงที่อำเภอคอนสวรรค์ และมีกลุ่มประชาชนชาวญัฮกุร ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเป็นชาติพันธุ์เดียวกับชาวมอญโบราณสมัยทวารวดีอาศัยอยู่ทางขอบสันเขาตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด ในเวลาต่อมาเมื่ออิทธิพลทวารวดีเสื่อมลง อิทธิพลของขอมก็เข้ามาแทน ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับจังหวัดอื่น ๆ ของอีสานใต้ในเวลานั้น ดังปรากฏหลักฐานการสร้างปราสาทขอม เช่น ปรางค์กู่ในเขตอำเภอเมือง ปรางค์กู่บ้านแท่นในเขตอำเภอบ้านแท่น กู่แดงในอำเภอบ้านเขว้า เป็นต้น ส่วนในสมัยสุโขทัยนั้นสันนิษฐานว่าชัยภูมิน่าจะเป็นเมืองหนึ่งที่สุโขทัยครอบครองอีกด้วย

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
นครหลวงเวียงจันทน์ สถานที่ที่บรรพบุรุษชาวชัยภูมิอพยพมา

สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สันนิษฐานว่าบริเวณจังหวัดชัยภูมิมีประชากรลาวเข้ามาอาศัยอยู่ และมีการสร้างพระธาตุหนองสามหมื่น ซึ่งอยู่บริเวณตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียวปัจจุบัน โดยมีลักษณะแบบศิลปะล้านช้าง ล้านนา และอยุธยา โดยสร้างในสมัยพระไชยเชษฐาธิราชผู้ครองเมืองลาวในยุคนั้น ในเวลาต่อมาเมืองชัยภูมิปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่น ในสมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินหรือพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพมาปราบก๊กเจ้าพิมาย ซึ่งมีกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นหัวหน้าก๊ก ตั้งมั่นอยู่ที่เมืองพิมายและต่อมาได้ ยึดเมืองนครราชสีมาเป็นที่ตั้งมั่น เจ้าพิมายให้พระยาวรวงษาธิราชคุมทัพไปตั้งรับเพื่อตีสกัดทัพพระเจ้าตากสินที่ด่านขุนทดและถูกกองทัพ พระเจ้าตากสินตีจนแตกพ่ายในที่สุดในกรณีศึกครั้งนี้อาจารย์คำผู้นำหมู่บ้านสี่มุมได้นำชาวบ้านเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าตากสินและขออาสาเป็น กองกำลังร่วมสู้รบในกองทัพหลวงด้วย พระเจ้าตากสินทรงยินดีรับไว้และให้เป็นกองกำลังเข้าตีด่านจอหอจนแตกพ่ายสามารถยึดเมืองพิมายและเมือง นครราชสีมาคืนมาได้ในครั้งเข้าตีด่านจอหอ กองกำลังของบ้าน สี่มุมโดยการนำของอาจารย์คำได้แสดงความสามารถในการรบอย่างกล้าหาญ เข้มแข็งเป็นที่พอพระทัยพระเจ้าตากสินเป็นอย่างมาก เมื่อเสร็จการศึกสงครามจึงได้ปูนบำเหน็จความชอบให้อาจารย์คำเป็น “พระนรินทร์สงคราม” ยกฐานะบ้านสี่มุมขึ้นเป็น “เมืองสี่มุม” (ในเขตอำเภอจัตุรัส ในจังหวัดชัยภูมิปัจจุบัน) ให้ปกครองเมืองสี่มุมให้ขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา เมื่อก้าวเข้าสู่ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 1 หมื่นอร่ามกำแหง หรือนายภูมีชาวเมืองนครไทยซึ่งเป็นคนเชื้อสายหลวงพระบาง ได้เข้ามาตั้งบ้านแปงเมืองในเขตพื้นที่บริเวณอำเภอคอนสารในปัจจุบัน และขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร ในสมัยรัชกาลที่ 2 ปี พ.ศ. 2352 ในเขตอำเภอภูเขียว และเกษตรสมบูรณ์ มีชุมชนลาวเวียงจันทน์อพยพ คือหลวงไกรสิงหนาท ขึ้นตรงต่อกรุงเทพมหานคร และเมื่อปี พ.ศ. 2360 "นายแล" ข้าราชการสำนักเจ้าอนุวงศ์เมืองเวียงจันทน์ได้อพยพครอบครัวและบริวารเดินทางข้ามลำน้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองน้ำขุ่น (หนองอีจาน) ซึ่งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2362 เมื่อมีคนอพยพเข้ามาอยู่มาก นายแลก็ได้ย้ายชุมชนมาตั้งใหม่ที่บ้านโนนน้ำอ้อม บ้านชีลอง ห่างจากตัวเมืองชัยภูมิ 6 กิโลเมตร นายแลได้เก็บส่วยผ้าขาวส่งไปบรรณาการเจ้าอนุวงศ์จนได้รับบำเหน็จความชอบแต่งตั้งเป็น "ขุนภักดีชุมพล" ในปี พ.ศ. 2365 นายแลได้ย้ายชุมชนอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากที่เดิมกันดารน้ำ มาตั้งใหม่ที่บริเวณบ้านหลวงซึ่งตั้งอยู่ระหว่างหนองปลาเฒ่ากับหนองหลอด (เขตอำเภอเมืองชัยภูมิปัจจุบัน) และได้หันมาขึ้นตรงต่อเมืองนครราชสีมา และส่งส่วยทองคำถวายแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ยอมขึ้นต่อเจ้าอนุวงศ์อีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้ายกบ้านหลวงขึ้นเป็น เมืองชัยภูมิ และแต่งตั้งขุนภักดีชุมพล (แล) เป็น "พระยาภักดีชุมพล" เจ้าเมืองคนแรก

ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ก่อการกบฏ ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพมหานคร โดยหลอกหัวเมืองต่าง ๆ ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพมหานครรบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นต่อมาเมื่อความแตก เจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมาเพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทน์

เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา ได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ พระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิ พร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโม ตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จนแตกพ่ายไป ฝ่ายกองทัพลาวส่วนหนึ่งล่าถอยจากเมืองนครราชสีมาเข้ายึดเมืองชัยภูมิไว้และเกลี้ยกล่อมให้พระยาภักดีชุมพลเข้าร่วมเป็นกบฏด้วย แต่พระยาภักดีชุมพลไม่ยอม เจ้าอนุวงศ์เกิดความแค้นจึงจับตัวพระยาภักดีชุมพลมาประหารชีวิตที่บริเวณใต้ต้นมะขามใหญ่ริมหนองปลาเฒ่า ดังที่มีกล่าวในเรื่องเล่าหรือตำนานของชาวชัยภูมิ และเป็นที่มานามของท่านที่ถูกเรียกว่า เจ้าพ่อพระยาแล ซึ่งมีความเป็นมาจาก ปู่ด้วงผู้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดอย่างมากกับนายแล แม้ประวัติของปู่ด้วงจะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน เป็นเพียงคำบอกเล่าและบันทึกของคนท้องถิ่น (พระครูศรีพิพัฒนคุณ และสุรวิทย์ อาชีวศึกษาคม อ้างในกรมศิลปากร 2542 : 146-147) พบว่า ปู่ด้วงเป็นชาวเขมร เข้ามาอยู่ชัยภูมิก่อนที่พระยาภักดีชุมพล (แล) จะอพยพผู้คนมาตั้งเมือง ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อบางกระแสที่ว่า ปู่ด้วงเป็นชาวอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพราะชาวศรีสะเกษส่วนมากจะพูดภาษาเขมรและภาษาส่วย เป็นภาษาพูดแต่โบราณ นอกจากนี้ ชาวชัยภูมิยังเชื่อว่า ปู่ด้วงได้พาครอบครัวมาตั้งหลักฐานที่บ้านตาดโตน(ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ) ท่านเป็นผู้มีวิชาอาคมและเวทมนตร์ ทำให้นายแลเกิดความเลื่อมใสและขอฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชาอาคมให้อยู่ยงคงกระพัน ฟันไม่เข้าและยิงไม่ออก และยังส่งผลให้นายแลมีความกล้าหาญ ไม่กลัวที่จะตาย จนเป็นที่มาของเรื่องเล่าในตอนที่ท่านพลีชีพเพื่อแผ่นดินชัยภูมิในช่วงกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ว่า ศัตรูจะยิงแทงฟันอย่างไรก็ไม่เข้า จึงต้องใช้หลาวแหลมเสียบทวารหนักจนถึงแก่ชีวิต เมื่อปู่ด้วงรู้ข่าวกลัวภัยจะมาถึงตัว จึงรีบอพยพหลบหนีจากบ้านตาดโตนเข้าป่าลึก ในเทือกเขาภูแลนคา อาศัยอยู่ป่าท่าหินโงม ซึ่งจะปรากฏมีวัดปู่ด้วงมาจนบัดนี้ ซึ่งต่อมาชาวชัยภูมิได้ระลึกถึงคุณความดีที่ท่านมีความซื่อสัตย์และเสียสละต่อแผ่นดิน จึงได้พร้อมใจกันสร้างศาลขึ้น ณ บริเวณนั้น ปัจจุบันทางราชการได้สร้างศาลขึ้นใหม่เป็นศาลาทรงไทยชื่อว่า "ศาลาพระยาภักดีชุมพล (แล)" มีรูปหล่อของท่านอยู่ภายใน เป็นที่เคารพกราบไหว้และถือเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัด ตั้งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดชัยภูมิประมาณ 3 กิโลเมตร

หลังจากกองทัพลาวของเจ้าอนุวงศ์พ่ายแพ้ต่อทัพสยาม สยามได้จับเจ้าอนุวงศ์ส่งมารับโทษที่กรุงเทพฯ เมื่อกองทัพไทยบุกเข้ายึดเวียงจันทน์ได้สำเร็จ เจ้าอนุวงศ์พยายามหลบหนีไปขอความช่วยเหลือจากญวนเหมือนเมื่อครั้งก่อน แต่ด้วยความร่วมมือของเจ้าน้อยเมืองพวน ไทยจึงสามารถตามจับเจ้าอนุวงศ์และเชื้อพระวงศ์ส่งลงมากรุงเทพฯได้ โดยมีพระอนุรักษโยธา พระโยธาสงคราม หลวงเทเพนทร์ พระนครศรีบริรักษ์เจ้าเมืองขอนแก่น ราชวงศ์เมืองชลบทวิบูลย์หรือชนบท ซึ่ง 2 ท่านสุดท้ายสืบเชื้อสายมาจากเจ้าจารย์แก้ว คู่อริเดิมของเวียงจันทน์ เป็นนายกอง พร้อมไพร่ 300 คน คุมตัวเจ้าอนุวงศ์และเชื้อพระวงศ์มาส่งถึงเมืองสระบุรี หลังจากนั้นก็ทำกรงขังเจ้าอนุวงศ์ตั้งประจานไว้กลางเรือล่องลงมาจนถึงกรุงเทพฯ แล้วทรงมีรับสั่งให้ทำกรงเหล็กขนาดใหญ่ใส่เจ้าอนุวงศ์ตั้งประจานไว้หน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์พร้อมเครื่องทรมานต่าง ๆ ได้แก่ ครก สากสำหรับโขลก เบ็ดสำหรับเกี่ยวแขน กระทะสำหรับต้ม ขวานผ่าอก และเลื่อย ให้เหล่าบรรดาภรรยาน้อยสาว ๆ ของเจ้าอนุวงศ์ที่เจ้าพระยาราชสุภาวดีส่งตามลงมาจากเวียงจันทน์ เข้าไปนั่งปรนนิบัติอยู่ในกรง ตกคํ่าจึงนำตัวเจ้าอนุวงศ์ไปคุมขัง พอเช้าก็นำตัวออกมาใส่กรงประจานเหมือนเดิม ทำอยู่เช่นนี้ 7 – 8 วันเจ้าอนุวงศ์ก็สิ้นพระชนม์ หลังจากนั้นโปรดฯ ให้เอาศพเจ้าอนุวงศ์ไปเสียบประจานไว้ที่สำเหร่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุตรหลานของเจ้าอนุวงศ์บางคนพ้นโทษ (เจ้าพระยาทิพากรวงศ์, ๒๕๐๔, หน้า ๙๑ – ๙๓)

ต่อมาเมืองชัยภูมิขึ้นกับเมืองชลบถวิบูลย์(อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น) ขณะนั้นนับว่าเมืองชนบทเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญมีเมืองขึ้นถึง 4 เมือง คือ

1. เมืองเกษตรสมบูรณ์

2. เมืองชัยภูมิ ( ต่อมาเป็นศูนย์กลางของชัยภูมิจึงได้รับการยกฐานะ เป็นจังหวัด)

3. เมืองสี่มุม ( ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองจตุรัส )

4. เมืองโนนลาว ( ต่อมาสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อ เป็นเมืองโนนไทย ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา)

ในปี พ.ศ. 2440 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทยหน่วยงานเดียว ขณะนั้นเมืองชัยภูมิยังขึ้นกับเมืองชนบทซึ่งสังกัดหัวเมืองลาวฝ่ายกลางและมณฑลนครราชสีมา ภายหลังเมืองชนบทถูกลดบทบาทความสำคัญลงและถูกโอนย้ายไปขึ้นกับบริเวณพาชี มณฑลอุดร เมืองชัยภูมิจึงขึ้นมามีความสำคัญแทนที่เมืองชนบท ซึ่งเมืองชัยภูมิมีเมืองขึ้นอยู่ 3 เมือง ซึ่งก็คือเมืองต่างๆภายในจังหวัดชัยภูมิปัจจุบัน หลังจากยุบมณฑลนครราชสีมา ต่อมาในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. 2475 มีการเปลี่ยนแปลงรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบ “เมือง” ทั่วราชอาณาจักร แล้วตั้งขึ้นเป็น “จังหวัด” แทน เมืองชัยภูมิ, เมืองภูเขียว และเมืองสี่มุม (จัตุรัส) จึงรวมกันกลายเป็นจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้บริเวณเมืองชัยภูมิจัดตั้งเป็นอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยสามารถสรุปการยุบหัวเมืองต่าง ๆ ได้ดังนี้ เมืองสี่มุมของพระยานรินทรสงคราม ปัจจุบัน คืออำเภอจัตุรัส บำเหน็จณรงค์ เทพสถิต ซับใหญ่ หนองบัวระเหว เนินสง่า ส่วนเมืองภูเขียว-เกษตรสมบูรณ์ของพระไกรสิหนาท ปัจจุบันคือ อำเภอภูเขียว เกษตรสมบูรณ์ บ้านแท่น แก้งคร้อ หนองบัวแดง ภักดีชุมพล ส่วนเมืองคอนสารของหมื่นอร่ามกำแหง ปัจจุบันคืออำเภอคอนสาร ซึ่งเคยเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอภูเขียว และเมืองชัยภูมิของพระยาภักดีชุมพล ปัจจุบันคืออำเภอเมือง อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์(แต่ก่อนพื้นที่อำเภอคอนสวรรค์เป็นส่วนหนึ่งของเมืองชลบทวิบูลย์ ภายหลังถูกโอนมาขึ้นกับเมืองชัยภูมิ) โดยทั้งหมดในปัจจุบันรวมกันเป็นจังหวัดชัยภูมิ

จังหวัดชัยภูมิมีเขตติดต่อกับจังหวัดเพื่อนบ้านหลายจังหวัด ได้แก่ ทิศเหนือ ติดกับเพชรบูรณ์และขอนแก่น ทิศตะวันออกติดกับขอนแก่นและนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี และทิศใต้ติดกับจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิในด้านภูมิศาสตร์อยู่ในเขตอีสานตะวันตกร่วมกับเลยและนครราชสีมาในด้านอุตุนิยมวิทยาอยู่ในเขตอีสานตอนบน และในด้านการปกครองอยู่ในเขตอีสานตอนใต้

รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด[แก้]

รายพระนามและรายนาม ปีที่ดำรงตำแหน่ง 1. พระยาภักดีชุมพล (แล) พ.ศ. 2360 - 2369 2. พระยาภักดีชุมพล (เกตุ) พ.ศ. 2374 - 2383 3. พระยาภักดีชุมพล (เบี้ยว) พ.ศ. 2383 - 2406 4. พระยาภักดีชุมพล (ที) พ.ศ. 2406 - 2418 5. พระยาภักดีชุมพล (บุญจันทร์) พ.ศ. 2418 - 2425 6. พระยาภักดีชุมพล (แสง) พ.ศ. 2425 - 2440 7. นายร้อยโทโต๊ะ พ.ศ. 2440 - 2442 8. พระหฤทัย (บัว) พ.ศ. 2442 - 2444 9. หลวงพิทักษ์นรากร (โย) พ.ศ. 2444 - 2446 10. พระพลอาศัย (ตอ) พ.ศ. 2446 - 2448 11. พระพิบูลสงคราม (จร) พ.ศ. 2448 - 2449 12. หลวงสาทรศุภกิจ (อ่วม บุญยรัตนพันธ์) พ.ศ. 2449 - 2450 13. พระยาภูมิพิชัย (หรุ่ม ชาตินันท์) พ.ศ. 2450 - 2458 14. พระยาราชเสนา (ศิริ เทพหัสดิน ณ อยุธยา) พ.ศ. 2458 - 2461 15. พระศรีสมัตถการ (ใหญ่ บุญนาค) พ.ศ. 2461 - 2465 16. พระยาภูมิพิชัย (เฮง ศรีไชยยันต์) พ.ศ. 2465 - 2471 17. พระนรินทร์ภักดี (ศุข ทังศุภูต) พ.ศ. 2471 - 2472 18. พระวิจารณ์ภักดี (เขียน โอวาทสาร) พ.ศ. 2472 - 2472 19. พระภูมิพิชัย (ม.ร.ว.บุง ลดาวัลย์) พ.ศ. 2472 - 2474 20. พระบริรักษ์นครเขต (ย้อย กฤษณจินดา) พ.ศ. 2474 - 2476 21. หลวงทรงสารการ (เล็ก กนิษฐสูต) พ.ศ. 2476 - 2480 22. พระสนิทประชานันท์ (อิน แสงสนิท) พ.ศ. 2480 - 2481 23. หลวงอุบลศักดิ์ประชาบาล (พัน กาญจนพิมาน) พ.ศ. 2481 - 2482 24. หลวงอนุการนพกิจ (ปรารภ สุรัสวดี) พ.ศ. 2482 - 2484 25. นายสุทิน วิวัฒนะ พ.ศ. 2484 - 2489 26. ขุนศุภกิจวิเลขการ (กระจ่าง ศุภกิจวิเลขการ) พ.ศ. 2489 - 2490 27. ขุนพำนักนิคมคาม (สนธิ์ พำนักนิคมคาม) พ.ศ. 2490 - 2490 28. นายชู สุคนธมัต พ.ศ. 2490 - 2493 29. นายสมบัติ สมบัติทวี พ.ศ. 2493 - 2495 30. ขุนรัตนวรพงศ์ (เคลื่อน รัตนวร) พ.ศ. 2495 - 2497 31. นายสวัสดิ์วงศ์ ปฏิทัศน์ พ.ศ. 2497 - 2500 32. นายบุญฤทธิ์ นาคีนพคุณ พ.ศ. 2500 - 2503 33. นายรังสรรค์ รังสิกุล พ.ศ. 2503 - 2504 34. นายช่วย นันทะนาคร พ.ศ. 2504 - 2511 35. นายชิต ทองประยูร พ.ศ. 2511 - 2512 รายพระนามและรายนาม ปีที่ดำรงตำแหน่ง 36. นายประมูล ศรัทธาทิพย์ พ.ศ. 2512 - 2514 37. นายสำราญ บุษปวนิช พ.ศ. 2514 - 2516 38. นายอนันต์ อนันตกูล พ.ศ. 2516 - 2518 39. นายเจริญศุข ศิลาพันธ์ พ.ศ. 2518 - 2521 40. นายธำรง สุขเจริญ พ.ศ. 2521 - 2521 41. นายสมภาพ ศรีวรขาน พ.ศ. 2521 - 2522 42. นายดำรง วชิโรดม พ.ศ. 2522 - 2523 43. นายวิโรจน์ อำมรัตน์ พ.ศ. 2523 - 2524 44. นายเพ็ชร อภิรัตนรังษี พ.ศ. 2524 - 2526 45. นายนพรัตน์ เวชชศาสตร์ พ.ศ. 2526 - 2528 46. ร้อยตรีสนั่น ธานีรัตน์ พ.ศ. 2528 - 2531 47. นายปราโมทย์ แก้วพรรณา พ.ศ. 2531 - 2533 48. เรือตรีสุนัย ณ อุบล พ.ศ. 2533 - 2536 49. นายกวี สุภธีระ พ.ศ. 2536 - 2537 50. นายสุชาติ ธรรมมงคล พ.ศ. 2537 - 2538 51. นายนิธิศักดิ์ ราชพิตร พ.ศ. 2538 - 2539 52. นายเชาวนเลิศ ไทยานนท์ พ.ศ. 2539 - 2541 53. นายไพรัตน์ พจน์ชนะชัย พ.ศ. 2541 - 2542 54. นายสุพจน์ โพธิ์ทองคำ พ.ศ. 2542 - 2544 55. นายนิรัช วัจนะภูมิ พ.ศ. 2544 - 2545 56. นายธวัช สุวุฒิกุล พ.ศ. 2545 - 2547 57. นายประภากร สมิติ พ.ศ. 2547 - 2549 58. นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์ พ.ศ. 2549 - 2550 59. นายถาวร พรหมมีชัย พ.ศ. 2550 - 2552 60. นายวันชัย สุทธิวรชัย พ.ศ. 2552 - 2553 61. นายจรินทร์ จักกะพาก พ.ศ. 2553 - 2554 62. นายชนะ นพสุวรรณ พ.ศ. 2554 - 2555 63. นายพรศักดิ์ เจียรณัย พ.ศ. 2555 - 2557 64. นายวิเชียร จันทรโณทัย พ.ศ. 2557 - 2558 65. นายชูศักดิ์ ตรีสาร พ.ศ. 2558 - 2560 66. นายณรงค์ วุ่นซิ้ว พ.ศ. 2560 - 2563 67. นายกอบชัย บุญอรณะ พ.ศ. 2563 - 2564 68. นายวิเชียร จันทรโณทัย พ.ศ. 2564 - 2564 69. นายไกรสร กองฉลาด พ.ศ. 2564 - 2565 70. นายโสภณ สุวรรณรัตน์ พ.ศ. 2565 - 2566 71.นายอนันต์ นาคนิยม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์[แก้]

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท

ชัยภูมิมีพื้นที่ภูเขามากทางด้านตะวันตก อาทิ ภูเขียว ภูพังเหย ภูกระแต โดยมีภูแลนคาทางตอนกลางของจังหวัด ส่วนภูตะเภา ภูผาแดง และภูเม็งอยู่ทางตะวันออก มีภูเขาเตี้ยทอดยาวจากทางใต้ถึงตอนกลางอีกด้วย อำเภอที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดคือ หนองบัวแดง

  • พื้นที่ราบในฝั่งแม่น้ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 180 – 300 เมตร ได้แก่บริเวณพื้นที่ราบเรียบ ความลาดเอียงของพื้นที่อยู่ระหว่างร้อยละ0 - 2 ซึ่งมีพื้นที่ประมาณร้อยละ 13 ได้แก่พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำชีในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอจัตุรัส อำเภอเนินสง่า บริเวณนี้จะเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง
  • พื้นที่ลูกคลื่นลอนต่ำ อยู่ตอนกลางของพื้นที่จังหวัด เป็นแนวยาวตามทิศเหนือ-ใต้ ตามแนวเทือกเขาดงพญาเย็น มีความสูงประมาณ 300 – 500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางได้แก่ พื้นที่บางส่วนในเขตอำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเขว้า อำเภอแก้งคร้อ อำเภอเทพสถิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์และอำเภอบ้านแท่น
  • พื้นที่สูงและภูเขา สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลอนลึกและภูเขา ในเขตเทือกเขาดงพญาเย็น มีความสูงตั้งแต่ 500 – มากกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ได้แก่ พื้นที่บางส่วนของอำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอคอนสาร อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอภูเขียว อำเภอแก้งคร้อ อำเภอภักดีชุมพล อำเภอซับใหญ่ และพื้นที่ทางตอนเหนือของอำเภอเมืองชัยภูมิ

จุดสูงสุดของจังหวัดชัยภูมิ คือ ภูเขาโป่งทองหลาง มีความสูง 1,336 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ในเขตพื้นที่อำเภอหนองบัวแดง

เขื่อนที่สำคัญ[แก้]

  • เขื่อนจุฬาภรณ์
  • เขื่อนลำปะทาว
  • อ่างเก็บน้ำช่อระกา
  • อ่างเก็บน้ำบ้านเพชร
  • อ่างเก็บน้ำลำคันฉู
  • บึงละหาน

แหล่งน้ำที่สำคัญ[แก้]

  • แม่น้ำชี
  • ห้วยลำปะทาว
  • ลำน้ำเซิน
  • ลำน้ำพรม
  • ลำปะทาว
  • ลำคันฉู
  • ลำน้ำพองเล็ก

หน่วยการปกครอง[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]

การปกครองแบ่งออกเป็น 16 อำเภอ 124 ตำบล 1617 หมู่บ้าน

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
แผนที่อำเภอในจังหวัดชัยภูมิ ชั้น หมาย เลข ชื่ออำเภอ ประชากร (พ.ศ. 2561) พื้นที่ (ตร.กม.) ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) รหัสไปรษณีย์ ระยะห่างจากตัวจังหวัด 1 1 อำเภอเมืองชัยภูมิ 183,586 1,305.297 140.94 36000 - 3 2 อำเภอบ้านเขว้า 50,845 544.3 93.44 36170 15 3 3 อำเภอคอนสวรรค์ 53,622 468.1 114.87 36140 34 2 4 อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 112,371 1,283.568 87.51 36120 75 2 5 อำเภอหนองบัวแดง 101,822 2,215.5 45.92 36210 50 1 6 อำเภอจัตุรัส 75,078 690 109.20 36130 38 2 7 อำเภอบำเหน็จณรงค์ 53,927 560.3 96.39 36160 60 3 8 อำเภอหนองบัวระเหว 38,600 841.8 45.76 36250 34 3 9 อำเภอเทพสถิต 70,362 875.6 80.03 36230 94 1 10 อำเภอภูเขียว 124,491 801.8 155.30 36110 82 4 11 อำเภอบ้านแท่น 45,618 308.707 147.82 36190 91 1 12 อำเภอแก้งคร้อ 93,751 582.2 161.17 36150 46 3 13 อำเภอคอนสาร 62,084 966.665 64.27 36180 125 4 14 อำเภอภักดีชุมพล 31,154 900.4 34.56 36260 90 4 15 อำเภอเนินสง่า 26,043 222.03 117.24 36130 30 4 16 อำเภอซับใหญ่ 15,423 255.0 60.19 36130 55 รวม 1,138,777 12,778.287 89.11

การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]

แบ่งออกเป็น 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 เทศบาลเมือง 35 เทศบาลตำบล และ 106 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายชื่อเทศบาลดังนี้

เศรษฐกิจ[แก้]

ในปี พ.ศ. 2558 จังหวัดชัยภูมิมีขนาดเศรษฐกิจหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในจังหวัด 53,278 ล้านบาท มีผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยต่อคนต่อปี 55,665 ต่อคนต่อปี อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 2.9 และคาดว่าในปี พ.ศ. 2559 จังหวัดชัยภูมิจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในจังหวัด 60,248 ล้านบาท หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมเฉลี่ยต่อคนต่อปี 63,079 บาทต่อคนต่อปี หรือมีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 13.1 (รายงานประมาณการเศรษฐกิจจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 3/2560)

การจ้างงานมีจำนวนคนงานทั้งสิ้น 23,623 คน อำเภอที่มีการจ้างงานมากที่สุดคือ อำเภอจัตุรัส 7,801 คน รองลงมาคือ อำเภอเมืองชัยภูมิ 4,269 คน อำเภอแก้งคร้อ 3,704 คน อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 2,274 คน อำเภอภูเขียว 1,557 คน ตามลำดับ ประเภทอุตสาหกรรมที่จ้างงานมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมสิ่งทอ มีข้อมูลในทำเนียบโรงงานทั้งสิ้น 32 โรงงงาน มีการจ้างงานทั้งสิ้น 17,917 คน คิดเป็นร้อยละ 75.84 ของแรงงานทั้งหมด

สำหรับแหล่งที่ตั้งสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรม พิจารณาจากความหนาแน่นของโรงงาน ขนาดเงินลงทุน และจำนวนการจ้างงาน ได้แก่

  • อำเภอเมือง เป็นพื้นที่ที่มีโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นมากเป็นอันดับ 1 และมีจำนวนการจ้างงานสูงเป็นอันดับ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ
  • อำเภอจัตุรัส มีจำนวนโรงงานตั้งอยู่หนาแน่นเป็นอันดับ 2 มีจำนวนการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัด และมีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 2 ของจังหวัดชัยภูมิ การจ้างแรงงานที่สูงเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดเป็นการจ้างงานในประเภทอุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • อำเภอแก้งคร้อ เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของกลุ่มอุตสาหกรรมถักทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นพื้นที่ที่มีการจ้างแรงงานสูงเป็นอันดับ 3 ของจังหวัดชัยภูมิ
  • อำเภอภูเขียว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมเกษตร (น้ำตาลทราย) ผลิตเอทานอล การผลิตกระแสไฟฟ้า และการผลิต PARTICLE BOARD มีเงินทุนภาคอุตสาหกรรมสูงเป็นอันดับที่ 1 ของจังหวัดชัยภูมิ
  • อำเภอบำเหน็จณรงค์และอำเภอหนองบัวระเหว เป็นแหล่งที่ตั้งสำคัญของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง อำเภอบำเหน็จณรงค์ เป็นแหล่งที่ตั้งเหมืองโปแตชของโครงการอาเซียน

ส่วนในพื้นที่ของอำเภอที่เหลือ คือ คอนสวรรค์ บ้านเขว้า เกษตรสมบูรณ์ หนองบัวแดง เทพสถิต บ้านแท่น คอนสาร ภักดีชุมพล เนินสง่า และอำเภอซับใหญ่ แม้สถานภาพปัจจุบันจะบ่งชี้ว่ามีธุรกรรมอุตสาหกรรมตั้งอยู่เบาบาง แต่มีหลายพื้นที่ที่มีศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เข้มข้น เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าไหม สิ่งถักทอ ในอำเภอคอนสวรรค์ บ้านเขว้า เนินสง่า เทพสถิต

การท่องเที่ยว[แก้]

จังหวัดชัยภูมิมีจำนวนผู้มาเยี่ยมเยือนในปี พ.ศ. 2559 จำนวน 1,505,718 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งมีจำนวนผู้มาเยี่ยมเยือน 1,418,833 คน รวมทั้งสิ้น 86,885 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 และมีรายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2559 จำนวน 1,639.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2558 ซึ่งมีรายได้จากการท่องเที่ยว 1,467.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 171.95 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 11.71 มีจำนวนห้องพัก 2,612 ห้อง จำนวนผู้เข้าพักแรม 744,179 คน มีอัตราการเข้าพักร้อยละ 54.44

แหล่งท่องเที่ยว[แก้]

ทุ่งดอกปทุมมา

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
ดอกกระเจียวขาวที่ผาก่อรัก

  • อนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล อำเภอเมือง
  • ศาลเจ้าพ่อพระยาแล อำเภอเมือง
  • ศาลเจ้าพ่อพระยานรินทร์สงคราม (เจ้าเมืองสี่มุม) อำเภอจัตุรัส
  • ศาลเจ้าพ่อหลวงบรรเทา (ศาลหลักเมืองจัตุรัส) อำเภอจัตุรัส
  • พระธาตุเจดีย์ศิริมหามงคล (วัดศิริพงษาวาส) อำเภอจัตุรัส
  • วัดสระหงษ์ อำเภอเมือง
  • น้ำตกตาดฟ้า อำเภอเมือง
  • วัดศิลาอาสน์ อำเภอเมือง
  • พระปรางค์กู่ อำเภอเมือง
  • ใบเสมาบ้านกุดโง้ง อำเภอเมือง
  • น้ำตกผาเอียง
  • ประตูโขลง
  • วัดชัยภูมิพิทักษ์ (ผาเกิ้ง) อำเภอหนองบัวแดง
  • หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านเขว้า อำเภอบ้านเขว้า
  • หมู่บ้านท่องเที่ยวไหม นครชัยบุรินทร์ บ้านส้มป่อย อำเภอจัตุรัส
  • กู่แดง อำเภอบ้านเขว้า
  • วัดภูแฝด อำเภอเมือง
  • มอหินขาว อำเภอเกษตรสมบูรณ์
  • ถ้ำแก้ว
  • จุดชมวิวเทือกเขาพังเหย อำเภอเทพสถิต
  • บึงแวง อำเภอคอนสวรรค์
  • พระพุทธรูปใหญ่สมัยทวารวดี อำเภอคอนสวรรค์
  • ศูนย์รวมไม้ดัดบ้านแข้ อำเภอภูเขียว
  • พระธาตุหนองสามหมื่น อำเภอภูเขียว
  • แหล่งทอผ้าขิตบ้านโนนเสลา อำเภอภูเขียว
  • เขื่อนจุฬาภรณ์ อำเภอคอนสาร
  • หาดน้ำพรม
  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว-ทุ่งกะมัง อำเภอคอนสาร
  • สถานีวิจัยเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าภูเขียว
  • น้ำตกเทพพนา
  • น้ำตกเทพประทาน
  • ทุ่งบัวแดง บึงละหาน อำเภอจัตุรัส
  • รอยเท้าและซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ อำเภอหนองบัวแดง
  • ศาลปู่ด้วง-ย่าดี อำเภอหนองบัวแดง
  • เขื่อนลำปะทาว อำเภอแก้งคร้อ
  • วัดชัยสามหมอ อำเภอแก้งคร้อ
  • พระแท่นบัลลังก์ อำเภอบ้านแท่น
  • พระง้าง อำเภอเนินสง่า
  • สวนรุกขชาติน้ำผุดทัพลาว อำเภอคอนสาร
  • ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ถ้ำแก้ว
  • พระพุทธบาทเกือกแก้วสี่รอยเขายายหอม
  • พระพุทธบาทเขาแก้วพิสดาร (เขาน้อย)
  • พระพุทธบาทวัดหลักศิลา
  • เขาพระบาท
  • วัดถ้ำฮวงโป อำเภอคอนสาร
  • วัดถ้ำพญาช้างเผือก อำเภอคอนสาร
  • สะพานสวนหมากบ้านนาเขิน อำเภอคอนสาร
  • ปรางค์กู่ อำเภอบ้านแท่น
  • ภูคิ้ง อำเภอเกษตรสมบูรณ์
  • พระพุทธบาทสวนป่าโพธิธรรม
  • เมืองพระศรีอาริย์
  • วัดปราสาทดิน อำเภอภักดีชุมพล
  • ป่าปรงพันปี อำเภอเกษตรสมบูรณ์
  • แก้งตาดไซ อำเภอเกษตรสมบูรณ์
  • ตาดร้อยรู อำเภอบ้านเขว้า
  • พระธาตุชัยภูมิ อรุณธรรมสถาน อำเภอแก้งคร้อ
  • พระประธาน 700 ปี วัดเจดีย์
  • พระธาตุงูซวง อำเภอเกษตรสมบูรณ์

อุทยาน สวนสาธารณะ และสวนพฤกษศาสตร์[แก้]

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
ลานกางเต้นท์ อุทยานแห่งชาติไทรทอง

ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งภูเขาและป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ เป็น1ใน5จังหวัด (5จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ;จังหวัดนครราชสีมา-แม่น้ำมูล-ลำมูลบน-ลำตะคอง,จังหวัดชัยภูมิ-แม่น้ำชี-ลำน้ำพรม-ลำน้ำเซิน,จังหวัดเลย-แม่น้ำเลย-ลำน้ำพอง-แม่น้ำเหือง,จังหวัดอุดรธานี-แม่น้ำสงคราม-แม่น้ำปาว-ลำน้ำห้วยหลวงและจังหวัดสกลนคร-แม่น้ำสงคราม-ลำน้ำพุง-ลำน้ำก่ำ) ที่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอุทยานแห่งชาติ/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่สำคัญดังนี้

  1. อุทยานแห่งชาติตาดโตน ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ
  2. อุทยานแห่งชาติภูแลนคา ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยต้อน อำเภอเมืองชัยภูมิ
  3. อุทยานแห่งชาติไทรทอง ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลวังตะเฆ่ อำเภอหนองบัวระเหว
  4. อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่อำเภอเทพสถิต
  5. อุทยานแห่งชาติน้ำพอง ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น (ขอนแก่น-ชัยภูมิ)
  6. อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่อำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ (เพชรบูรณ์-ชัยภูมิ)
  7. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ตั้งอยูที่ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร
  8. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ-ห้วยใหญ่ ที่ทำการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ตั้งอยูที่ตำบลตะเบาะ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ (เพชรบูรณ์-ชัยภูมิ)
  9. สวนพฤกษศาสตร์สวนรุกขชาติน้ำผุดทัพลาว
  10. สวนพฤกษศาสตร์สวนรุกชาติ100ปี กรมป่าไม้ (ภูกุ้มข้าว) ชัยภูมิ

วัฒนธรรม[แก้]

ชาติพันธุ์และภาษา[แก้]

จังหวัดชัยภูมิมีประชากรที่สืบเชื้อสายต่าง ๆ อาศัยปะปนกันอยู่ เนื่องจากมีเขตแดนติดต่อระหว่าง 3 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้จังหวัดชัยภูมิมีภาษาที่ใช้แตกต่างกัน โดยมีส่วนใหญ่เป็นกลุ่มภาษา ขร้า-ไท โดยมีภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาราชการ โดยสามารถแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาของจังหวัดชัยภูมิได้ดังนี้

  • กลุ่มลาวเวียงจันทน์ ใช้ภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์ เป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในจังหวัด และภาษาลาวสำเนียงเวียงจันทน์ถือเป็นภาษาที่ใช้มากที่สุดในจังหวัดชัยภูมิ เนื่องจาก ในอดีตบรรพบุรุษของชาวชัยภูมิส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากนครเวียงจันทน์ โดยพบการใช้ภาษาสำเนียงเวียงจันทน์ในทุกอำเภอ ซึ่งปัจจุบันภาษาดังกล่าวมีการปะปนสำเนียงทั้งจากโคราช ภาษาไทย และภาษาล้านนา จึงทำให้มีสำเนียงที่แตกต่างออกไปจากเดิม ลักษณะคล้ายภาษาเหนือแถบจังหวัดน่าน หรือภาษาลาวราชการ เช่น หากจะใช้คำว่า "งู" ภาษาอีสานจะออกเสียง "งู่" ส่วนภาษานี้จะออกเสียง "งู้" อีกทั้งยังมีคำว่า "เมือบ้าน" ที่เป็นภาษาอีสานทั่วไป แต่ภาษานี้จะใช้ว่า "กับบ้าน" ส่วนคำว่าขนมจีน จะใช้คำว่า "ขนมเส่น" ไม่ใช้คำว่า "ข้าวปุ้น" และ "ซกเล็ก"ในที่นี้ หมายถึง ส้มตำใส่ขนมจีน มิได้หมายถึง ลาบเลือด เป็นต้น โดยแถบที่ยังคงรักษาสำเนียงเดิมไว้ได้มากที่สุดอยู่ที่แถบอำเภอเกษตรสมบูรณ์ และภูเขียว
  • กลุ่มลาวหลวงพระบาง หรือกลุ่มไทเลย ใช้ภาษาลาวสำเนียงหลวงพระบาง ซึ่งเป็นภาษาเดียวกันที่ใช้มากในแถบจังหวัดเลย บางส่วนของหนองคาย อุตรดิตถ์ เชียงราย น่าน พิษณุโลก เพชรบูรณ์ โดยเป็นภาษาหลักของแขวงหลวงพระบาง ทางตอนบนของประเทศลาว ซึ่งภาษานี้เป็นภาษาหลักที่ใช้ในอำเภอคอนสาร และมีปะปนในแถบอำเภอหนองบัวแดง อำเภอภักดีชุมพล อำเภอภูเขียว อำเภอเกษตรสมบูรณ์
  • กลุ่มไทโคราช ใช้ภาษาไทยโคราช ซึ่งมีมากในแถบอำเภอทางตอนล่างของจังหวัด ได้แก่ อำเภอจัตุรัส อำเภอเทพสถิต อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอซับใหญ่ และบางส่วนในแถบอำเภอเมือง เช่น ตำบลบ้านค่าย และในอำเภอคอนสวรรค์ ได้แก่ บ้านโนนพันชาติ ตำบลโนนสะอาด
  • กลุ่มชาติพันธุ์มอญญัฮกุร เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของจังหวัด ใช้ภาษาญัฮกุร ซึ่งเป็นภาษามอญโบราณ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาตระกูลมอญ-เขมร คำศัพท์หลายคำใกล้เคียงกับภาษาเขมรและภาษากูย โดยกลุ่มชาวมอญญัฮกุรนั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก่าแก่ และเป็นมอญโบราณกลุ่มสุดท้าย ซึ่งหากเทียบกับจังหวัดอื่นที่มีกลุ่มชาติพันธุ์นี้ในประเทศไทย ที่จังหวัดชัยภูมิถือว่ามีชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่มากที่สุด โดยพบได้ที่ บ้านน้ำลาด บ้านสะพานหิน บ้านสะพานยาว อำเภอเทพสถิต นอกจากนี้ยังมีที่บ้านวังกำแพง ในอำเภอบ้านเขว้า ที่บ้านท่าโป่ง บ้านห้วยแย้ ในอำเภอหนองบัวระเหว
  • ชาวลาวอีสาน หรือ ลาวตะวันตก (ลาวร้อยเอ็ด) พบได้บางส่วนที่อำเภอแก้งคร้อ และอำเภอคอนสวรรค์

ประเพณี[แก้]

ด้วยประชากรที่หลากหลาย จังหวัดชัยภูมิจึงมีวัฒนธรรมประเพณีที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างชุมชน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด โดยมีประเพณีสามอย่างที่มีเพียงหนึ่งเดียวในไทยและในโลก ดังนี้

  • ประเพณีการแห่นาคโหด จัดอยู่ที่ วัดตาแขก บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เป็นประเพณีที่เป็นบททดสอบความอดทนของบุตรชาย เพื่อทดแทนพระคุณของมารดา ที่ต้องทนอยู่ไฟ และเลี้ยงดูบุตรจนเติบใหญ่ โดยจะจัดงานบวชเป็นหมู่ ในช่วงเดือนหกตามจันทรคติของไทย ซึ่งชาวบ้านจะหามนาคที่นั่งอยู่บนแคร่ไม้ไผ่ พร้อมกับโยน และเขย่าแคร่ไม้ไผ่อย่างรุนแรงเดินรอบหมู่บ้าน กันอย่างสนุกสนาน เพื่อทดสอบความอดทน และความตั้งใจของนาคที่อยู่บนแคร่ เพื่อจะบวชทดแทนคุณบิดามารดา
  • ประเพณีงานบุญกระธูป อำเภอหนองบัวแดง เป็นประเพณีที่จัดในช่วงของวันออกพรรษา ในอดีตแต่ก่อนประเพณีออกพรรษา ชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกระธูปโดยจะตีเกราะเคาะขอลอให้ชาวบ้านออกไปรวมตัว ณ จุดนัดหมาย (อาจเป็นศาลากลางบ้านหรือบ้านผู้ใหญ่บ้าน) หนุ่มสาวตื่นเต้นมากในการไปพันกระธูป ซึ่งกว่าจะเป็นกระธูปจุดได้ต้องผ่านกระบวนการยาวนานพอสมควรเพราะไม่ใช้กระธูปหรือธูปที่วางขายตามท้องตลาด แต่เกิดมาจากการขยี้เอามาจากกาบมะพร้าวจนร่วงออกมาราวผง แล้วพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มอีกทีด้วยกระดาษสีหรือกระดาษหลากสีสัน ก่อนที่จะนำเข้าไปมัดกับดาวก้านตาล (สานจากใบตาลหรือใบลาน) จากนั้นจึงนำไปมัดห้อยกับก้านธูปที่เป็นเสมือนคันเบ็ด ทำไว้มากๆเสร็จแล้วจึงนำเข้าไปเสียบเข้าไปรูรอบปล้องไม้ไผ่ทำเป็นชั้นขึ้นไปเหมือนฉัตร ประดับตกแต่งงดงามก่อนที่จะนำออกมาจุดในวันเวียนเทียนออกพรรษา และในปัจจุบันประเพณีบุญกระธูปได้เป็นอัตลักษณ์ของอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ
  • ประเพณีการตีคลีไฟ หรือการละเล่นตีคลีไฟ ถือเป็นกีฬาโบราณการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านหนองเขื่อง ต.กุดตุ้ม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ มาช้านานกว่า 100 ปี กีฬานี้สูญหายมาจนถึงช่วงปี 2546 ได้มีกลุ่มคณาจารย์ ผู้ใหญ่บ้าน วัดและได้กลับมาให้ความสนใจภูมิปัญญาของชาวบ้านดั่งเดิมให้กลับมาฟื้นคืนขึ้นอีกครั้ง ได้มีการริเริ่มอนุรักษ์กีฬาโบราณตีคลีไฟมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีการละเล่นในช่วงวันออกพรรษา และหน้าหนาวของทุกปี

นอกจากนี้ยังมีประเพณีในช่วงเทศกาลที่สำคัญต่างๆ เช่น

  • งานเจ้าพ่อพระยาแล และงานกาชาด
  • งานบุญเดือนหก
  • งานบุญเดือนสี่ประเพณีไทคอนสาร
  • งานส้มโอบ้านแท่น
  • งานพระไกรสิงหนาท
  • งานนมัสการหลวงปู่ต้อน (พระครูพิพัฒน์ศิลิคุณ) ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์

อีกทั้งยังมีงานเทศกาลที่เกิดขึ้นจากบทเพลงรำวงของวงสุนทราภรณ์ ชื่อว่า "สาวบ้านแต้" เมื่อ 60 ปีก่อน คือ งานสืบสานตำนานสาวบ้านแต้ จัดที่อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งในบทเพลงกล่าวถึงสาวบ้านแต้ขี่รถจักรยานไปเกษตรสมบูรณ์ ซึ่งบ้านแต้นั้นคือ บ้านหนองแต้ หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านยาง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ โดยเริ่มจัดเมื่อเดือนกันยายน ปีพุ.ศ.2559 ซึ่งเป็นงานเทศกาลใหม่ของจังหวัดชัยภูมิ

สถาบันการศึกษา[แก้]

ระดับอุดมศึกษา[แก้]

สถาบันอุดมศึกษารัฐ

  • มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดชัยภูมิ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
  • มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ) สถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
  • มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ (วิทยาเขตชัยภูมิ) สถาบันอุดมศึกษาในกำกับกระทรวงสาธารณสุข
  • ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชัยภูมิ (ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชัยภูมิ สถาบันร่วมผลิตแพทย์ แห่งสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี) สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
  • สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๕ (วิทยาลัยเทคนิคชัยภูมิ)
  • สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ) สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
  • มหาวิทยาลัยปทุมธานี (ศูนย์ภูเขียว)

ระดับอาชีวศึกษา[แก้]

ประเภทรัฐบาล

  • วิทยาลัยสารพัดช่างชัยภูมิ
  • วิทยาลัยการอาชีพแก้งคร้อ อำเภอแก้งคร้อ
  • วิทยาลัยการอาชีพบำเหน็จณรงค์ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ประเภทเอกชน
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีชัยภูมิบริหารธุรกิจ อำเภอเมืองชัยภูมิ
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเขียว อำเภอภูเขียว
  • วิทยาลัยศิขรินทร์บริหารธุรกิจ อำเภอภูเขียว
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีบางกอก อำเภอหนองบัวแดง
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาไทเฉลิมราช ชัยภูมิ อำเภอหนองบัวแดง
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีคอนสาร อำเภอคอนสาร
  • วิทยาลัยบ้านแท่นเทคโนโลยี อำเภอบ้านแท่น
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาชัยภูมิ อำเภอคอนสวรรค์

ระดับมัธยมศึกษา[แก้]

  • โรงเรียนชัยภูมิภักดีชุมพล โรงเรียนชายประจำจังหวัด
  • โรงเรียนสตรีชัยภูมิ โรงเรียนหญิงประจำจังหวัด
  • โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย ชัยภูมิ กลุ่มโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย
  • โรงเรียนเมืองพญาแลวิทยา โรงเรียนสหศึกษา

สถานที่สำคัญ[แก้]

ศาสนสถานที่สำคัญ[แก้]

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
ปรางค์กู่ อำเภอเมืองชัยภูมิ

  • วัดทรงศิลา พระอารามหลวง
  • วัดชัยภูมิพิทักษ์ (วัดผาเกิ้ง,สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชัยภูมิพิทักษ์พระพุทธรูปประจำจังหวัดชัยภูมิ )
  • วัดไพรีพินาศ (กลางเมืองเก่า)
  • วัดป่าสุคะโต
  • วัดดาวเรือง บ.ช่อระกา ต.นาฝาย อ.เมือง
  • วัดภูแฝด
  • วัดศิลาอาสน์
  • วัดสระหงษ์
  • วัดอินทรีย์สังวรวนาราม
  • พระปรางค์กู่

สนามกีฬาสำคัญ[แก้]

  • สนามกีฬากลางจังหวัดชัยภูมิ
  • สนามกีฬาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ
  • ศูนย์กีฬาครบวงจร มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
  • โรงยิมสิริวัณวรี
  • สนามกีฬาเทศบาลเมืองชัยภูมิ
  • สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ เทศบาลตำบลจัตุรัส

บุคคลที่มีชื่อเสียง[แก้]

จ.ช ยภ ม อ.ภ เข ยว ม ปร มาณตกอย ท
สมปอง นครไธสง (ตาลปตฺโต) ขณะเป็นพระภิกษุสงฆ์ พระเถระ

  • พระเทพมงคลเมธี (ประจักษ์ โชติโก) – เจ้าอาวาสวัดชัยสามหมอ ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ
  • พระเทพภาวนาวิกรม วิ. (บุญมา ปุญฺญาภิรโต ป.ธ.6) – เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิพิทักษ์ เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ
  • พระสุวีรญาณ (ป.ธ.7) เจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ (ธ) – เจ้าอาวาสวัดศรีแก้งคร้อ
  • สมปอง นครไธสง (ตาลปุตฺโต) วัดสร้อยทอง (ป.ธ.7)
  • หลวงปู่จื่อ พันธมุตโต วัดเขาตาเงาะอุดมพร
  • หลวงพ่อสายทอง เตชะธัมโม วัดป่าห้วยกุ่ม
  • หลวงปู่วิไลย์ เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก

ข้าราชการ

  • เข็มเพชร จันทร์โอชา
  • พีระศักดิ์ หินเมืองเก่า
  • ชวน ศิรินันท์พร (อดีตอธิบดีกรมการปกครอง)
  • วิรัตน์ ลิ้มสุวัฒน์
  • จรกฤตย์ ชำนาญศรี
  • ร้อยตำรวจตรี พิเศษ ดาวเรือง (ผู้หมวดพิเศษ) (อดีตรองสารวัตรจราจร สถานีตำรวจภูธรบางบ่อ) นักแสดง
  • ชายเด่น ณ ชัยภูมิ
  • อรวรรษา ฐานวิเศษ
  • ชาติ ชัยภูมิ
  • อติรุจ สิงหอำพล
  • โกวิท วัฒนกุล
  • รมิดา ประภาสโนบล
  • ขวัญนภา เรืองศรี (ลาล่า โปงลางสะออน)
  • วิศวะ งามสมบัติ (เน็ตไอดอล)
  • นพัตฏ์ธร มัททวีวงศ์ (โจ๊กเกอร์) ตลก
  • ใหญ่ หน้ายาน นางงาม
  • น้ำอ้อย ชนะพาล (Miss Grand Thailand 2018) นักมวย
  • ปิ๊กมี่ เมืองชัยภูมิ
  • ไผ่ผารบ พ.นอบน้อม
  • พรชัย ศิษย์พระพรหม
  • พิชิต ช.ศิริวัฒน์
  • พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์
  • แหวนเพชร ชูวัฒนะ
  • ทัพทอง ต.บัวมาศ
  • ยอดแสนเก่ง ซีพียิมส์
  • อภิสิทธิ์ เค.ที.ยิม
  • หยกเพชร ทก.ยิมส์

นักร้อง

  • การะเกด (นักร้อง)
  • โชคชัย โชคอนันต์
  • ประทีป ขจัดพาล
  • รุจิรา พญาแล
  • สายัณห์ นิรันดร
  • พิมพา พรศิริ
  • เสี่ยวอี้ ประสานชาติ
  • เบียร์ พร้อมพงษ์
  • คำมอส พรขุนเดช
  • นิกรน้อย เสียงสวรรค์
  • ยุทธนา เปื้องกลาง (บิดาเป็นคนจังหวัดชัยภูมิ)
  • ชดาธาร ด่านกุล (ม่านมุก สเว็ตซิกซ์ทีน และ Last Idol)
  • วชิราพร พัฒนพานิช (เอิร์น BNK48) รุ่นที่ 3

นักแสดงหมอลำ

  • แมน จักรพันธ์ (เจ้าของ วงหมอลำขวัญใจแฟน อดีตเคยอยู่ วงหมอลำระเบียบวาทะศิลป์)
  • นนท์ ชัยนันท์ (หมอลำขวัญใจแฟน อดีตเคยอยู่ วงหมอลำระเบียบวาทะศิลป์)
  • ยูกิ เพ็ญผกา (ยูกิ ไหทองคำ)

นักจัดรายการวิทยุโทรทัศน์และสื่อ

  • ฟองสนาน จามรจันทร์
  • ยุทธนา บุญอ้อม
  • อภิรดี ตรีโมกข์
  • ธนธรณ์ ไชยวงศ์
  • สุเมธ พิมพ์สราญ (บ่าวทองก้อน)

นักเขียน

  • กาญจนา นาคนันทน์ นักกีฬา
  • ชูเกียรติธน ยศภัทร์หนูสลุง
  • รณชัย สยมชัย
  • สุทิน ไชยกิตติ
  • สุรัก ไชยกิตติ
  • เสน่ห์ ลังแก้ว
  • ไวพจน์ มือชัยภูมิ
  • เชิดศักดิ์ ชัยบุตร
  • ประกิต ด่านขุนทด
  • นัสตพล มาลาพันธ์
  • ไพฑูรย์ นนทะดี
  • หัตถยา บำรุงสุข
  • ชิตพร กำลังมาก
  • สิทธิพงษ์ มะนาวหวาน
  • นันทโชติ โพธิ์นา
  • รัศมิ์ธศิลป์ คำ​จันทร์
  • ประสิทธิ์ ผดุงโชค
  • เดชา สอาดโฉม
  • ทรงศักดิ์ เฮมเขียว
  • ธีระพงศ์ ดีหามแห
  • บรรลือศักดิ์ ยอดยิ่งยงค์
  • ถวิล บุตรสมบัติ
  • วิสิทธิ์ ดอนอาจ
  • ธีระวุฒิ สันพันธ์
  • ดนุสรณ์ ผุยแสงพันธ์
  • ประดิษฐ์ ทวีไชย
  • ศุภชัย ศรีภูมิ
  • แหวนเพชร ชูวัฒนะ
  • อภิสิทธิ์ เค.ที.ยิม
  • ยอดแสนเก่ง ซีพียิมส์
  • ฤทธิเดช ว.วรรณทวี
  • พิชิต ช.ศิริวัฒน์
  • พิชิต ศิษย์บางพระจันทร์
  • ไผ่ผารบ ก่อเกียรติยิม
  • พรชัย ศิษย์พระพรหม
  • สุริยน กุลพิมล (นักตะกร้อทีมชาติไทย)
  • ขวัญชัย ขอสินกลาง (นักปัญจกีฬาทีมชาติไทย)

นักการเมือง

  • คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภริยา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรีคนที่ 23)
  • สุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา
  • พรทิพย์ โล่ห์วีระ จันทร์รัตนปรีดา อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2
  • เจริญ จรรย์โกมล อดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1
  • วุฒิชัย สงวนวงศ์ชัย อดีต ส.ส. ชัยภูมิ 7 สมัย
  • ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • สุนทรีย์ ชัยวิรัตนะ อดีต ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย
  • โอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 1 พรรคภูมิใจไทย
  • มานะ โลหะวณิชย์ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 2 พรรคเพื่อไทย
  • ปาริชาติ ชาลีเครือ อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 3 พรรคเพื่อไทย
  • อนันต์ ลิมปคุปตถาวร อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 4 พรรคเพื่อไทย
  • พรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล อดีต ส.ส.ชัยภูมิ เขต 6 พรรคเพื่อไทย
  • มนตรี ชาลีเครือ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

อ้างอิง[แก้]

  • ครม.แต่งตั้ง 18 ผู้ว่าฯ กับ 10 ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
  • ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  • กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 2564. สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2565. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ. เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 ตอนที่ ๐ก วันที่ 29 เมษายน 2460

จังหวัด ใด ที่ มี 2 ฤดู คือ

จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมเมืองร้อน มีลมมรสุมพัดผ่านประจำทุกปีคือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงกลางเดือนมกราคม และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จากอิทธิพลของลมมรสุมดังกล่าว ส่งผลให้มี ฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน

เดือนใดมีฝนตกมากที่สุด

เดือนกันยายน เป็นเดือนที่ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและพื้นที่ส่วนใหญ่มีฝนตกชุกมากที่สุดในรอบปี จากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่่าที่พาดผ่านบริเวณตอนกลางของประเทศและมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม ประเทศไทยนอกจากนี้อาจได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้ามาสลายตัวใกล้หรือเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง โดยเฉพาะบริเวณทาง ...

ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกมากที่สุดในช่วงเดือนใด

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม ประเทศไทย และมีร่องความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคใต้เป็นระยะ ๆ อีกด้วย จึงทำให้มีฝนตกมากตลอดฤดู และเดือนกันยายนจะมีฝนตกมากที่สุด

เดือนใดจังหวัดสงขลามีฝนตกหนัก *

จังหวัดสงขลามีฝนชุกตลอดปี เนื่องจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนธันวาคม ส่วนตอนต้นปีตั้งแต่เดือนมกราคมฝนจะลดลงเป็น ลาดับ จนถึงช่วงระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนจะเป็นช่วงที่มีฝนน้อย ปริมาณฝนบริเวณอ าเภอเมืองเฉลี่ยตลอด ปีประมาณ 2,245.0 มิลลิเมตร ...