จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม

เป็นยศถ้าเรียงตามลำดับสูงมาต่ำก็จากพระมหากษัตริย์มาจนถึงหม่อมหลวงแต่ตามลำดับท้ายสุดคือหม่อมหลวง ตามหม่อมจะเรียงจาก หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง และในกรณีที่หม่อมเจ้า (ผู้ชาย) สมรสกับผู้หญิงสามัญลูกที่มีจะมียศต่ำลงมาชั้นนึง ส่วนถ้ากรณีที่ผู้หญิงมียศสมรสกับผู้ชายสามัญลูกจะไม่มียศ เช่นถ้าหม่อมเจ้า(ชาย)สมรสกับผู้หญิงสามัญเมื่อมีบุตรธิดาจะมียศคือหม่อมราชวงศ์ แล้วต่อมาลูกซึ่งมียศม.ร.ว.สมรสกับคนสามัญจะมีลูกยศหม่อมหลวงในกรณีที่ม.ร.ว.เป็นบุตรชาย

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

เพลิงพระนาง 11 มิ.ย. 51 เวลา 21:52 น. 3

ก้อนับงานง่ายนะเค๊อ -กษัตริย์ -พระโอรสพระธิดา -พระเจ้าหลานเธอ -พระเจ้าวรวงศ์เธอ -หม่อมเจ้า -หม่อมราชวงศ์ -หม่อมหลวง ในกรณีที่พระยศลำดับฐานันดรศักดิ์ที่ตั้งแต่ม.จขึ้นไป ต้องใช้คำราชาศัพท์แ ละเวลาเษกสมรสผู้เป็นชาย 1.ถ้าเษกสมรสกับสตรีไทยสามัญชนจะได้รับการสถาปนาเป็นหม่อมเมื่อมีบุตรยศก้อลดไปหนึ่งขั้น นอกเสียจากได้รับโปรดเกล้าฯ 2.ถ้าเษกสมรสกับชาวต่างประเทศถ้าเป็นลูกชายยศจะรองจากพ่อ1ขั้นแต่เป็นหญิงจะลดลงมา2ขั้น ตามฐานันดรศักดิ์

ผู้เป็นหญิงต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์เท่านั้นถึงจะทำการเษกสมรสได้เว้นแต่ได้รับโปรดเกล้า

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

changwang psg su 12 มิ.ย. 51 เวลา 23:13 น. 4

หม่อมราชวงศ์ คือ ผู้ที่เป็นโอรส,ธิดาของเจ้านายชั้น หม่อมเจ้า,ชั้นบรมวงค์เธอ,ชั้นบวรวงค์เธอและวรวงศ์เธอ

หม่อมหลวง คือ บุตร,ธิดา ของหม่อมราชวงศ์

ทั้งหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง ไม่ใช่เจ้านะคับ เป็นเพียงสายราชสกุลเท่านั้น ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆทางสังคมครับ แต่ก็แปลกนะครับที่ในสังคมไทยเรายังให้เกียรติคนพวกนี้อยู่มากทีเดียว

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

changwang psg su 12 มิ.ย. 51 เวลา 23:28 น. 5

๑) พระบาทสมเด็จฯพระพุทธเจ้าอยู่หัวบรมราชาธิบดี พระมหากษัตริย์ ๒) ชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ พระราชโอรส,พระราชธิดา (เจ้าฟ้าชั้นเอก) - เจ้าฟ้าชั้นโทที่ ๑,๒,๓,๔,๕ ที่เจ้าฟ้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ,พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ,พระเจ้าบวรวงศ์เธอและพระเจ้าวรวงศ์เธอ ที่สืบเชื้อสายกษัตริย์รัชกาลที่ ๑-๕ - เจ้าฟ้าชั้นตรีที่ ๑,๒,๓,๔,๕ ที่เจ้าฟ้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ,พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ,พระเจ้าบวรวงศ์เธอและพระเจ้าวรวงศ์เธอ ที่สืบเชื้อสายกษัตริย์รัชกาลที่ ๑-๕ ๓) ชั้นพระราชอนุวงศ์ เจ้าฟ้าชั้นหลานเธอ ในสายชั้นที่ ๑ ๔) ชั้นพระอนุวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ,พระเจ้าบวรวงศ์,พระวรวงศ์เธอ,พระบรมวงศ์เธอ,พระบวรวงศ์เธอ,พระวรวงศ์เธอ และหม่อมเจ้า

เชื้อสานราชสกุลจากหม่อมเจ้า - หม่อมราชวงศ์ - หม่อมหลวง

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

28 เม.ย. 53 เวลา 01:40 น. 6

คห๒  ข้อมูลผิดบางจุดนะ

ไม่ว่าจะยศใด  เรียกได้ทั้ง ช ญ  ไม่เกี่ยวกับเพศเลย

เพียงแค่เรียงลำดับตามที่ คห ท่านอื่นกล่าวมาเท่านั้น

เสริม//

สำหรับลูกของ  มล, (ตามยศไม่ถือเป็นเจ้า  แต่ถือเป็นสายราชสกุล)

จะนำหน้าด้วย นาย นางสาว ธรรมดา แต่นามสกุลจะสร้อย ณ อยุธยา ต่อท้าย

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

20 มี.ค. 56 เวลา 15:07 น. 8

ขอถามหน่อยค่ะ แล้วถ้าหม่อมเจ้าหญิงล่ะคะเป็นยังไง บอกหน่อยคร้าอยากรู้มากสงสัยมากเลย

1

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

8 พ.ค. 60 เวลา 12:33 น. 8-1

หม่อมเจ้าหญิงคือธิดาที่เกิดจาก เสด็จในกรมหรือไม่ก็อย่างอื่นๆ ถ้าหม่อมเจ้าหญิงเสกสมรสกับผู้ชายที่ยศต่ำกว่าม.จ.หญิงก็ต้องถูกลดยศ ม.จ.ชาย ถ้าเสกสมรถกับผู้หญิงที่ไม่มียสผู้หญิงคนนั้นก็จะเป็นหม่อมธรรมดาจ๊ะ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ

21 มี.ค. 56 เวลา 13:16 น. 9

อยากถามว่า ถ้าเป็น หม่อมเจ้า หม่อม ราชวงศ์ หม่อม หลวง  แล้วถ้าตอนเด็กๆเวลาสมัยเรียน ปกติคนธรรมดาที่ไม่มีสายราชสกุล จะใช้  ด.ญ./ด.ช.แต่ถ้าเป็นหม่อมต่างๆจะใช้ว่าอะไรหรอคะ

จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

26 มี.ค. 56 เวลา 00:49 น. 10

เอาแบบระเลียดเลยนะครับ 1.พระมหากษัตริย์ 2.พระภรรยาเจ้า(ต้องเป็นเชื้อพระวงค์โดยกำหนิด) กำหนดเป็น 5ขั้น 2.1 พระบรมราชินีนาถ 2.2 พระบรมราชินี 2.3 พระราชินี 2.4 พระบรมราชเทวี 2.5 พระอัครราชเทวี 3.พระวรราชเทวี มีฐานะรองจาก "พระอัครราชเทวี" 4.พระราชเทวี มีฐานะรองจากพระวรราชเทวี 5.พระนางเธอ มีฐานะรองจากพระราชเทวี 6.พระอรรคชายาเธอ มีฐานะรองจากพระนางเธอ 7.พระวรราชชายา มีฐานะรอง พระอรรคชายาเธอ 8.พระราชชายา มีฐานะรอง พระวรราชชายา ลำดับต่อไป คือ พระสนม 1.เจ้าคุณจอมมารดา 2.เจ้าคุณจอม 3.พระ 4.เจ้าจอมมารดา 5.เจ้าจอม

พระบรมวงศานุวงศ์ คือ ญาติของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งมีพระยศเป็นเจ้า แบ่งออกเป็นสองชั้นคือ พระบรมวงศ์ และ พระอนุวงศ์ ชั้นที่ 1.พระบรมวงศ์ 1.พระบรมราชชนก(พระราชบิดาซึ่งไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน) 2.พระบรมราชชนนี(พระราชมารดาซึ่งไม่ใช่คู่ครงอของพระเจ้าแผ่นดิน อนึ่ง จะไม่ออกพระนามว่า พระพันปีหลวง) 3.สยามมกุฎราชกุมาร 4.สยามบรมราชกุมารี 5.พระอนุชาธิราช(น้องของพระเจ้าแผ่นดิน) 6.สมเด็จเจ้าฟ้าชั้นพิเศษ 7.สมเด็จเจ้าฟ้า (แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ แบบ ชั้นเอก ชั้นโท) 7.1เจ้าฟ้าชั้นเอก หรือ ชั้นทูลกระหม่อม (ชั้นเอก) 7.2เจ้าฟ้าชั้นโท หรือ ชั้นสมเด็จ(ชั้นโท) 8.พระองค์เจ้า ชั้นลูกหลวง (แบ่งเป็น 1 ชั้น) 8.1พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 9.พระอนุวงศ์(พระราชนัดดา พระราชปนัดดา ของพระเจ้าแผ่นดิน) 10.พระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้า 11.พระโอรสธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(แบ่งเป็น 3 ชั้น) 11.1เจ้าฟ้าวังหน้า 11.2พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 11.3พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 12.พระโอรสธิดา ในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข 13.พระราชนัดดา ในพระมหากษัตริย์ (แบ่งเป็น 3 ชั้น) 13.1พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 13.2พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 13.3พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า 14.หม่อมเจ้า(ถ้าเป็นผู้ชายจะใช้คำว่า "หม่อมเจ้า" ส่วนผู้หญิงจะเป็น "หม่อมเจ้าหญิง")

ราชนิกุลและสายสัมพันธ์ 1.หม่อมราชนิกุล(หม่อมราชวงศ์ หรือ หม่อมหลวง ที่รับราชการ มีความดีความชอบ กระทั่งได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นหม่อมราชนิกุล) 2.หม่อมราชวงศ์ 3.หม่อมหลวง

พระภรรยาของเจ้าชาย(มีทั้งหมด 4 ฐานันดร ได้แก่) 1.พระวรชายา 2.พระชายา 3.ชายา 4.หม่อม(ใช้สำหรับหญิงสามันชนแต่งงานกับหม่อมเจ้า)

อนึ่ง ถ้ามีการแต่งงานแล้วผู้ที่มีฐานันดรเป็นฝ่ายหญิง ส่วนฝ่ายเป็นสามันชน ฝ่ายหญิงจะต้องลาออกจากฐานันดรสัก เพื่อไปแต่งงาน(ในบ้างครั้งจะมีพระราชทานคืนพระยศ หลังแต่งงาน)

สำหรับ หม่อมราชวงค์ หม่อมหลวง ส่วนใหญ่แล้ว พวกเขามักจะเรียนกันที่โรงเรียนจิตลดา ในวัยเด็กก็จะใช้ หม่อมราชวงค์ หม่อมหลวง โดยมิต้องเป็นเด็กชาย หรือเด็กหญิง

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

Bright^o^Soul 9 เม.ย. 56 เวลา 12:11 น. 11

เข้ามาหาข้อมูล เพราะ ละครเทพบุตรจุฑาเทพ

จะได้เข้าว่าทำไม ท่านหม่อมเจ้าหญิงวรรณรสา เมื่อมาแต่งงานกับ ม.ว.ร.ปวรรุจ แล้วถึงเป็นสามัญชน


PS. จงมีสติ และใช้ปัญญา

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

9 เม.ย. 56 เวลา 14:25 น. 12

แล้วคำว่า หม่อม คือยศไหนคั่ป อย่างเช่นของหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา ที่ยศอะไรคั่ป ช่วยอธิบายที

จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม

2

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

8 พ.ค. 60 เวลา 12:38 น. 12-1

ชายาของหม่อมเจ้าชายและเสด็จในกรม

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ

Rokugatsu Giugno 14 ธ.ค. 61 เวลา 02:01 น. 12-2

หม่อมไว้เรียกเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น ตามเม้นบนเลยค่ะ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ

10 เม.ย. 56 เวลา 01:22 น. 13

เดานะครับ พอหม่อมเจ้าหญิงวรรณรสา เมื่อมาแต่งงานกับ ม.ร.ว.ปวรรุจ ก็อาจจะต้องเป็น หม่อม ใน ม.ร.ว.ปวรรุจ ไป ไม่ได้เป็นหม่อมเจ้าอีกต่อไป มั้งครับ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

10 เม.ย. 56 เวลา 21:56 น. 14

คำว่า หม่อม นะค่ะ เมื่อหญิงสามัญชนได้เสกสมรสกับเจ้าฟ้า พระองค์เจ้าและหม่อมเจ้า เราจะเรียกท่านว่า หม่อม และใช้สกุลต่อท้ายด้วย อยุธยา เช่น หม่อมศรีรัศม์ มหิดล ณ อยุธยา หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา เป็นต้น

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

10 เม.ย. 56 เวลา 22:28 น. 15

เมื่อหม่อมเจ้าหญิง วรรณรสา ต้องการเสกสมรสกับ หม่อมราชวงศ์ (หม่อมหลวงหรือสามัญชน) ต้องทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์ก่อน (แต่เรายังเรียกว่าท่านหญิง)

ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา หม่อมเจ้าหญิงพันธุ์สวลี ยุคล มีธิดาคือ หม่อมหลวง โสมสวลี กิติยากร ได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แล้วก่อนทรงเสกสมรสค่ะ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

V-nas 11 เม.ย. 56 เวลา 01:39 น. 16

ชั้นยศสามารถแบ่งตามหัวข้อใหญ่ๆได้ดังนี้ค่ะ (สรุปให้สั้นลงเพื่อความเข้าใจง่าย)

1.พระมหากษัตริย์และพระราชินี 2.เจ้าฟ้า 3.พระองค์เจ้า 4.หม่อมเจ้า 5.หม่อมราชวงศ์ 6.หม่อมหลวง 7....(นามสกุล) ณ อยุธยา

ซึ่งขั้นสุดท้ายจากหม่อมหลวงลงมาเป็น ณ อยุธยานั้น หมายถึงการหมดความเป็นเจ้าแล้วค่ะ ความจริงแล้วถ้านับเอาตามกฎมณเฑียรบาล ความเป็นเจ้านั้นสิ้นสุดลงที่ยศ หม่อมราชวงศ์ลงไป ดังนั้น มรว. และ มล. จึงเป็นแค่ราชนิกูลค่ะ แต่หม่อมเจ้ายังคงเป็นเจ้านายในพระราชวงศ์อยู่ แต่คำราชาศัพท์ที่ใช้กับหม่อมเจ้าจะไม่ Advance เท่าพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอื่นๆนะคะ คำลำลองที่มักใช้ในยศหม่อมเจ้าคืิอ ท่านชาย,ท่านหญิง/มรว.=คุณชาย,คุณหญิง/มล.=คุณ ส่วนพระราชวงศ์ตั้งแต่ยศหม่อมเจ้าขึ้นไป หากต้องการเสกสมรส จะต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ก่อน เพราะความเชื่อในอดีตว่า เชื้อพระวงศ์ที่เกิดมาเป็นเจ้าหญิงควรแก่ดำรงซึ่งความเป็น ขัตติยนารี ค่ะ ในกรณีที่มีพระมารดาเป็นหม่อม(คนธรรมที่เป็นภรรยาเจ้า)และพระบิดาเป็นเจ้าฟ้า ลูกออกมาจะโดนลด2ขั้น คือพ่อเป็นเจ้าฟ้า+แม่เป็นคนธรรมดา=ลูกออกมาเป็นหม่อมเจ้า โดนลดยศไป2ขั้น แต่ในบางกรณีก็มีข้อยกเว้นเช่นกันค่ะ แต่ลูกที่เกิดมาต้องโดนลดขั้จากพ่อ1ขั้นเสมอไป ในกรณีพระองค์ทึ ที่ทรงประสูติเป็นพระองค์เจ้าแต่กำเนิด ไม่ได้เป็นหม่อมเจ้า เพราะในขณะนั้นหม่อมศรีรัตน์ได้รับการสถาปนาเป็น พระองค์เจ้าศรีรัตน์ก่อนมีประสูติกาลพระองค์ทีนั่นเองค่ะ

นี่เป็นเรื่องราวคร่าวๆสำหรับชั้นยศในพระราชวงศ์นะคะ หวังว่าคงเป็นประโยชน์นะ

จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม
จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม
จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม
จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม


PS. Maya Houseรักมายาที่ซู๊ดเรยยย...Now I don't walk..but the future I will walk to last line for My Dream...แม้วันนี้ฉันจะไม่ก้าวเดิน แต่..อนาคตฉันจะเดินไปจนสุดปลายทาง เพื่อความฝันของฉัน...

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

รันซัง 20 เม.ย. 56 เวลา 09:10 น. 17

ความเห็นสิบสามเหมือนกันเลยเราก็เข้ามาหาเพราะเรื่องคุณชายปวรรุจเหมือนกัน

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

20 เม.ย. 56 เวลา 10:52 น. 18

ชั้นยศสามารถแบ่งตามหัวข้อใหญ่ๆได้ดังนี้ค่ะ (สรุปให้สั้นลงเพื่อความเข้าใจง่าย)

1.พระมหากษัตริย์และพระราชินี 2.เจ้าฟ้า 3.พระองค์เจ้า 4.หม่อมเจ้า 5.หม่อมราชวงศ์ 6.หม่อมหลวง 7....(นามสกุล) ณ อยุธยา

ซึ่งขั้นสุดท้ายจากหม่อมหลวงลงมาเป็น ณ อยุธยานั้น หมายถึงการหมดความเป็นเจ้าแล้วค่ะ ความจริงแล้วถ้านับเอาตามกฎมณเฑียรบาล ความเป็นเจ้านั้นสิ้นสุดลงที่ยศ หม่อมราชวงศ์ลงไป ดังนั้น มรว. และ มล. จึงเป็นแค่ราชนิกูลค่ะ แต่หม่อมเจ้ายังคงเป็นเจ้านายในพระราชวงศ์อยู่ แต่คำราชาศัพท์ที่ใช้กับหม่อมเจ้าจะไม่ Advance เท่าพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงอื่นๆนะคะ คำลำลองที่มักใช้ในยศหม่อมเจ้าคืิอ ท่านชาย,ท่านหญิง/มรว.=คุณชาย,คุณหญิง/มล.=คุณ ส่วนพระราชวงศ์ตั้งแต่ยศหม่อมเจ้าขึ้นไป หากต้องการเสกสมรส จะต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ก่อน เพราะความเชื่อในอดีตว่า เชื้อพระวงศ์ที่เกิดมาเป็นเจ้าหญิงควรแก่ดำรงซึ่งความเป็น ขัตติยนารี ค่ะ ในกรณีที่มีพระมารดาเป็นหม่อม(คนธรรมที่เป็นภรรยาเจ้า)และพระบิดาเป็นเจ้าฟ้า ลูกออกมาจะโดนลด2ขั้น คือพ่อเป็นเจ้าฟ้า+แม่เป็นคนธรรมดา=ลูกออกมาเป็นหม่อมเจ้า โดนลดยศไป2ขั้น แต่ในบางกรณีก็มีข้อยกเว้นเช่นกันค่ะ แต่ลูกที่เกิดมาต้องโดนลดขั้จากพ่อ1ขั้นเสมอไป ในกรณีพระองค์ทึ ที่ทรงประสูติเป็นพระองค์เจ้าแต่กำเนิด ไม่ได้เป็นหม่อมเจ้า เพราะในขณะนั้นหม่อมศรีรัตน์ได้รับการสถาปนาเป็น พระองค์เจ้าศรีรัตน์ก่อนมีประสูติกาลพระองค์ที

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

Bff Koiikii 20 เม.ย. 56 เวลา 16:02 น. 19

คือว่า เรารู้แค่ว่า พระองค์เจ้าเษกสมรส แล้วมีบุตรธิดาเป็นหม่อมเจ้า หม่อมเจ้าเษกสมรส แล้วมีบุตรธิดาเป็นหม่อมราชวงศ์ หม่อมราชวงศ์แต่งงาน มีลูกเป็นหม่อมหลวง หลังจากนี้ลูกของหม่อมหลวงจะไม่มียศแล้ว ใส่ต่อท้ายนามสกุลว่า ณ อยุธยา(ณ น่าน ณ สงขลา ณ เชียงใหม่ ฯลฯ ไม่เกี่ยวกับ ณ อยุธยา นะ แค่เป็นคนละราชวงศ์)

1.ถ้าผู้หญิงสามัญชนแต่งงานกับราชวงศ์ เวลาเปลี่ยนนามสกุล จะต้องเติม ณ อยุธยาไปด้วย

2.หม่อมราชวงศ์ เวลาเรียนหนังสือ ไม่ได้ใช้ ด.ญ./ด.ช. แต่ใช้เป็น ม.ร.ว./ม.ล. แทน (เราตอบได้เพราะเรามีเพื่อนเป็น ม.ล และก็รู้จักพ่อของเพื่อนที่เป็น ม.ร.ว.) (ตอบคำถามของความเห็นที่11จร้าาาา)

3.ถ้าผู้หญิงที่มีฐานันดรแต่งงานกับผู้ชายที่มีฐานนันดรต่ำกว่าหรือผู้ชายสามัญชนจะโดนถอดยศ(ตอบคำถามของความเห็นที่ 13 และ 19 ให้จร้าาา)

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 20 เมษายน 2556 / 18:12

1

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

6 มิ.ย. 61 เวลา 18:41 น. 19-1

ขอถามหน่อยนะครับสมุตินะครับว่าพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้า.......แต่งงานกับลูกบุญธรรมของเจ้าฟ้าชึ่งลูกของเจ้าฟ้าองนั้นถูกแต่งตั้งเป็นมล. แล้วพระเจ้าหลานเธอองค์เจ้า...คนนั้นจะโดนถอดยศ มั้ยครับถ้าแต่งงานกันตอบหน่อยนะครับอยากรู้

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ

20 เม.ย. 56 เวลา 22:04 น. 21

หลายเม้นผิดเยอะมาก ลำดับศักดิ์หากจะอธิบายตามละครนะครับ ค์อ ชั้น พระองค์เจ้าชาย หากเสกสมรส พระทายาทจะเป็น หม่อมเจ้าชาย หม่อมเจ้าหญิง ซึ่งเป็นชั้นเจ้าระดับล่างสุด เมื่อ หม่อมเจ้าชายเสกสมรสกับหญิงสามัญชน หรือต่างด้าว สตรีนางนั้นจะได้แต่งตั้งเป็น หม่อม ทันทีและหางของนามสกุล จะมีคำต่อท้าย เช่น หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา โดย หม่อมเจ้าชาย หากมีทายาทจะเป็น ยศ หม่อมราชวงศ์ ซึ่งถือว่าเป็น สามัญชนทั่วไป การสถาปนายศ ม.ร.ว. , ม.ล. เริ่มเมื่อ ร.4 ทรงมีการเพิ่มยศแก่ลูกหลาน และเมื่อ ม.ร.ว. มีทายาทก็จะเป็น หม่อมหลวง ตามลำดับ สตรีที่แต่งงานกับ ม.ร.ว.ชาย และ ม.ล.ชาย จะไม่ได้ยศ หม่อม แต่หางนามสกุลจะต่อด้วย ณ อยุธยา เพราะ อย่างที่ได้กล่าวไป ว่า ระดับนี้จะเป็นเพียงสามัญชนครับ ซึ่งหากเป็น ม.ร.ว.หญิง และ ม.ล. หญิง หากสมรส ก็ไม่ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เหมือนดัง หม่อมเจ้าหญิง ซึ่งเป็นเจ้าชั้นพระองค์เจ้า หรือก็คือ เจ้าหญิง ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ เพื่อเสกสมรสครับ :) แต่ก็น่าเซ็ง ตรงที่ หาก ม.ร.วหญิง สมรส กับชายสามัญชน บุตรนั้นจะเป็น คนธรรมดา ยศ นาย หรือ นางสาว ไม่ได้เป็นหม่อมหลวง ครับ คือเอาง่ายๆครับ ยศสืบทางฝ่ายชาย หากเป็นสตรี ต้องลาออกจากฐานันดรศักดิ์ และหากมียศที่คงตัวก็จะดำรงยศต่อไป ไม่สืบต่อ เมื่อ ม.ล. ชายมีบุตร บุตรก็จะเป็น นาย และนางสาวต่อไปครับ แต่นามสกุล จะ มี ณ อยุธยาต่อ เช่น ม.ล.อภิมงคล โสณกุล มีบุตร บุตรก็จะเป็น เด็กชาย นพดล โสณกุล ณ อยุธยา

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

30 เม.ย. 56 เวลา 12:48 น. 22

ตามความคิดเห็นที่ 2 มันผิด !!! เพราะบอกว่าหม่อมเจ้าถ้ามีลูก (บุตร-ธิดา) จะได้รับยศหม่อมหลวง ที่จริงแล้วถ้าหม่อมเจ้ามีลูกๆก็จะได้รับยศ หม่อมราชวงศ์ แล้วถ้าหม่อมราชวงศ์มีลูกๆก็จะได้รับยศ หม่อมหลวงต่างหากล่ะ

จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

6 พ.ค. 56 เวลา 04:19 น. 24

สงสัยค่ะ อย่างคุณชายปวรรุจ ทำไมถึงมียศเท่ากับพี่น้องอีก 4 คนละคะ ทั้งๆที่แม่ของคุณชายปวรรุจเป็นแค่นางต้นห้องเท่านั้นเอง

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

9 พ.ค. 56 เวลา 03:30 น. 25

ความเห็นที่ 29 เพราะว่ายึดตามยศของฝ่ายพ่อค่ะ ซึ่งเป็นหม่อมเจ้า เลยได้เป็น หม่อมราชวงศ์ปวรรุจ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

9 พ.ค. 56 เวลา 13:15 น. 26

จากความคิดเห็นที่ 11 คำถาม : ถามว่าถ้าเป็น หม่อมเจ้า หม่อม ราชวงศ์ หม่อม หลวง  แล้วถ้าตอนเด็กๆเวลาสมัยเรียน ปกติคนธรรมดาที่ไม่มีสายราชสกุล จะใช้  ด.ญ./ด.ช.แต่ถ้าเป็นหม่อมต่างๆจะใช้ว่าอะไรหรอคะ

คำตอบ : โดยปกติคนทั่วไปหรือราชสกุลที่ไม่ใช่หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงจะมีคำนำหน้าชื่อตัวเองมาตั้งแต่เกิดนั่นก็คือ เด็กชาย (ด.ช.) และ เด็กหญิง (ด.ญ.) ตามด้วย ณ อยุธยา ข้างหลัง(แต่บางคนก็ไม่ใ่ช่ ณ อยุธยา อาจจะเป็นราชสกุลที่ตัวเองสืบทอดมา เช่น พรชิตา ณ พัทลุง)  แต่ถ้าเป็นหม่อมเจ้า และราชสกุล คือ หม่อมราชวงศ์จนถึงหม่อมหลวงจะใช้ตัวย่อแทน ด.ช. และ ด.ญ. ซึ่งแตกต่างจากคนปกติหรือราชสกุลที่มิใช่หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง โดยหม่อมเจ้าจะใช้คำว่า ม.จ. ตามด้วยชื่อ สกุล หม่อมราชวงศ์จะใช้ ม.ร.ว. ตามด้วยชื่อ สกุล และหม่อมหลวงจะใช้ ม.ล. สิ้นสุดตรงหม่อมหลวง ก็จะใช้ ด.ช. ด.ญ. น.ส. นาง หรือ นาย ทั่วไปตามปกติ และถ้าในกรณีที่ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ หม่อมเจ้าก็จะใช้ตัวย่อซึ่งเป็นคำทับศัพท์ คือ M.J. หม่อมราชวงศ์ก็จะใช้ M.R. และหม่อมหลวงก็จะใช้ M.L. ส่วนคนทั่วไปก็จะใช้ตามปกติ แต่ถ้ามี ณ ก็จะใช้ตรงตัวเลย เช่น นางสาววรรณวรินทร์ กุญชร ณ อยุธยา ก็จะใช้ ณ อยุธยา เป็นภาษาอังกฤษ คือ Na Ayuthaya

จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

9 พ.ค. 56 เวลา 13:22 น. 27

จากความคิดเห็นที่ 11 คำถาม : ถามว่าถ้าเป็น หม่อมเจ้า หม่อม ราชวงศ์ หม่อม หลวง  แล้วถ้าตอนเด็กๆเวลาสมัยเรียน ปกติคนธรรมดาที่ไม่มีสายราชสกุล จะใช้  ด.ญ./ด.ช.แต่ถ้าเป็นหม่อมต่างๆจะใช้ว่าอะไรหรอคะ

คำตอบ : โดยปกติคนทั่วไปหรือราชสกุลที่ไม่ใช่หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงจะมีคำนำหน้าชื่อตัวเองมาตั้งแต่เกิดนั่นก็คือ เด็กชาย (ด.ช.) และ เด็กหญิง (ด.ญ.) ตามด้วย ณ อยุธยา ข้างหลัง(แต่บางคนก็ไม่ใ่ช่ ณ อยุธยา อาจจะเป็นราชสกุลที่ตัวเองสืบทอดมา เช่น พรชิตา ณ สงขลา)  แต่ถ้าเป็นหม่อมเจ้า และราชสกุล คือ หม่อมราชวงศ์จนถึงหม่อมหลวงจะใช้ตัวย่อแทน ด.ช. และ ด.ญ. ซึ่งแตกต่างจากคนปกติหรือราชสกุลที่มิใช่หม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง โดยหม่อมเจ้าจะใช้คำว่า ม.จ. ตามด้วยชื่อ สกุล หม่อมราชวงศ์จะใช้ ม.ร.ว. ตามด้วยชื่อ สกุล และหม่อมหลวงจะใช้ ม.ล. สิ้นสุดตรงหม่อมหลวง ก็จะใช้ ด.ช. ด.ญ. น.ส. นาง หรือ นาย ทั่วไปตามปกติ และถ้าในกรณีที่ชื่อเป็นภาษาอังกฤษ หม่อมเจ้าก็จะใช้ตัวย่อซึ่งเป็นคำทับศัพท์ คือ M.J. หม่อมราชวงศ์ก็จะใช้ M.R. และหม่อมหลวงก็จะใช้ M.L. ส่วนคนทั่วไปก็จะใช้ตามปกติ แต่ถ้ามี ณ ก็จะใช้ตรงตัวเลย เช่น นางสาววรรณวรินทร์ กุญชร ณ อยุธยา (รุ่นพี่ที่โรงเรียนผมเอง) ก็จะใช้ ณ อยุธยา เป็นภาษาอังกฤษ คือ Na Ayuthaya

จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม

********** ความคิดเห็นที่ 31 ของผมมันผิดนะครับ

จะซ อบ านใน ม.ร มประด ต.กระท มล มจ.นครปฐม

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

9 พ.ค. 56 เวลา 14:53 น. 28

แล้วถ้าฝ่ายหญิงเป็นหม่อมราชวงศ์ สมรสกับฝ่ายชายที่เป็นสามัญชน แล้วฝ่ายหญิงต้องถูกถอดยศ แต่อยากทราบว่าฝ่ายหญิงใช้ยศอะไรนำหน้า หรือใช้ น.ส/น.

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

13 พ.ค. 56 เวลา 23:11 น. 29

งั้นก็แสดงว่า หากนานๆ ไป ยศ มรว มล ก็มีโอกาศหายไปจากสังคมได้ใช่ไหมค้ะ คงเหลือแต่นามสกุลต่อท้าย หากว่า มล ทุกคนไปแต่งงานกับสามัญชนธรรมดา

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

26 พ.ค. 56 เวลา 12:02 น. 30

ถ้าคนที่ยศเท่ากันแต่งงานกัน ลูกจะถูกลดขั้นไหมคะ แล้วถ้า ม.ร.ว.  ม.ล.  แต่งงานกับคนธรรมดา จะถูกถอดยศรึเปล่าคะ แล้วลูกจะเป็นคนสามัญรึเปล่าคะ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

26 พ.ค. 56 เวลา 12:07 น. 31

ความเห็นที่ 35 พิมตกไปค่ะ หมายถึง ม.ร.ว.  กับ ม.ล.  ทีี่เป็นผู้หญิงไปแต่งงานกับชายสามัญ จะถูกลดขั้นไหมคะ แล้วลูกจะเป็นคนธรรมดารึเปล่า แล้วก็ขอเพิ่มอีกคำถามนะคะ ถ้า ม.จ.หญิง ถอดยศไปแต่งงานกับ ม.ร.ว.  เนี่ย ท่านหญิงจะเป็นนางรึเปล่าคะ แล้วจะมี ณ อยุธยา ต่อท้ายเหมือนที่หญิงสามัญชนมาแต่งกับ ม.ร.ว.  ม.ล.  รึเปล่า ดูคุณชายปวรรุจแล้วสงสัยมากเลยค่ะ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

31 พ.ค. 56 เวลา 15:09 น. 32

ดิชั้น คุณ พิชญกัญญา เนียมหะ อยากถามว่า หาก หม่อมเจ้า อภิเษกสมรส กับหม่อมเจ้า บุตรธิดาที่เกิดแต่หม่อมเจ้าทั้งสองคนจะเป็นอะไรค่ะ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

8 ก.ค. 56 เวลา 20:40 น. 33

หม่อมเจ้า(ชาย)+หม่อมเจ้า/สามัญชน บุตร-ธิดาเป็น ม.ร.ว. ***หม่อมเจ้า(หญิง)+สามัญชน บุตร-ธิดาเป็น นาย-นาง... ตามด้วยนามสกุลคู่สมรส หากไม่ต้องการใช้นามสกุลคู่สมรสต้องการใช้นามสกุลแม่ซึ่งเป็นราชสกุลก็สามารถใช้ได้แต่ห้ามต่อท้ายด้วย ณ อยุธยาเช่น จุลจักร จักรพงษ์(ฮิวโก้)(เหลนของกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ) (บุตรของ ม.ร.ว.หญิงนริศรา จักรพงษ์ กับนายแอลแลน เลวี่)*** ม.ร.ว.(ชาย)+ม.ร.ว./สามัญชน บุตร-ธิดาเป็น ม.ล. ม.ล.(ชาย)+ม.ล/สามัญชน บุตร-ธิดาเป็น สามัญชนไม่มีฐานันดร ต่อท้ายสกุลด้วย ณ อยุธยา การเป็นเจ้าจะสิ้นสุดที่พระยศหม่อมเจ้า ส่วน ม.ร.ว.เเละม.ล.ถือเป็นสามัญชนที่มีเชื้อราชสกุล การนับฐานันดรจะนับตามฝ่ายหน้า(ชาย)เท่านั้น หากเจ้านายฝ่ายใน(หญิง)ตั้งแต่หม่อมเจ้าขึ้นไป ต้องการจะเสกสมรสกับม.ร.ว.,ม.ล.,สามัญชน จะต้องลาออกจากฐานันดรเสียก่อนจึงจะสมรสกันได้ เมื่อลาออกจากฐานันดรเเล้วจะใช้คำนำหน้านามว่า นางตามสามัญชน ส่วนคำว่าท่านหญิงนั้นจะเป็นการเรียกเพื่อให้เกียรติให้สมแก่เกียรติยศเดิม แต่หากเรียกว่า คุณหญิง คุณ ท่านผู้หญิง จะต้องเป็นสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชฯเท่านั้น เจ้าฝ่ายในหากสมรสกับเจ้าฝายหน้าจะเปลี่ยนสกุลตามฝ่ายหน้า ส่วนสตรีสามัญชนหากสมรสกับเจ้าชั้นหม่อมเจ้าจะเรียกว่าหม่อม เเต่หากสมรสกับม.ร.ว.,ม.ล.จะเป็น นาง... ตามด้วยราชสกุลต่อด้วน ณ อยุธยา อนึ่ง การถอดพระยศและพระราชทานพระยศเป็นไปตามพระราชประสงค์ขององค์พระมหากษัตริย์ เช่นสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯโปรดฯสถาปนาพระยศคืนให้ดังเดิม ก็ประมาณนี้นะครับ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

17 ก.ค. 56 เวลา 14:45 น. 34

ผู้หญิงสามัญชนที่แต่งงานกับ พนะเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าวรวงศ์เธอ หม่อมเจ้าที่เป็นผู้ชาย จะได้เป็นหม่อม หากมีบุตร ไม่ว่าหญิงหรือชายจะได้เป็นหม่อมเช่น ถ้าสมรสกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าลูกออกมาจะได้เป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า แต่ถ้าสมรสกับพระวรวงศ์เธอ ลูกจะเป็นหม่อมเจ้า ถ้าสมรสกับหม่อมเจ้าลูกก็จะเป็น หม่อมราชวงศ์ รองลงมาตามลำดับ ทั้งนี้ ยศหม่อมจะไม่นิยมใช้คำราชาศัพท์ ยกเว้นชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

17 ก.ค. 56 เวลา 14:51 น. 35

เพราะคุณชายปวรรุจเป็นบุตรของ หม่อมเจ้าวิชชากร จุฑาเทพ ตามหลักลูกของหม่อมเจ้าชายจะเป็นหม่อมราชวงศ์โดยทันที ไม่ว่าบุตรนั้นจะเกิดจากหม่อมเจ้าหญิง หม่อมราชวงศ์หญิง หรือหม่อมหลวง หรือคนธรรมดาก้ตาม

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

20 ก.ค. 56 เวลา 21:47 น. 39

มาตอบคะคือถ้าม.จ.เเต่งงานกับคนที่ยศต่ำกว่าเช่นมรว.เนี่ยจะถูกถอดยศ ยกเว้นเสียเเต่หม่อมหลวงเพราะถือว่ายศเนี่ยเรียกว่าอะไรดีล่ะอืม...ใกล้จะเป็นคนธรรมดาเเล้วอ่ะค่ะ//เพราะหม่อมหลวงมีลูกไปก็จะเป็นเเค่คุณ//ตย.นะคะ//ก็คือหม่อมหลวงเกษรากับคุณชินกรทุกคนก็ยังเรียนคุณเกษว่าหม่อมหลวงเกษราอยู่

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

Atikun Bunked 2 ส.ค. 56 เวลา 11:18 น. 41

ไม่ลดครับ เพราะ หม่อมราชวงศ์กับหม่อมหลวงถือเป็นสามัญชนแล้ว ไว้ต่อไปได้ ส่วน หม่อมเจ้าหญิงเมื่อพระราชทานคืนพระยศ จะใช้คำว่านางนำหน้า อต่ไม่มีสร้อย ณ อยุธยาต่อท้ายนะครับ เพราะถือว่ามาจากราชสกุลเหมือนกัน

เหมือน หม่อมหลวงระวีรำไพ แสงอาทิตย์ แต่งงานกับ หม่อมราชวงศ์ธราธร ก็เปลี่ยนแค่นามสกุล คือ เราไม่สามารถให้ หม่อมราชวงศ์ กับ หม่อมหลวง ให้ท่านหญิงได้

สรุปก็คือ หม่อมหลวง กับ หม่อมราชวงศ์ คือ สามัญชน แต่ให้รู้ว่าสืบสกุลมาจากเชื้อพระวงศืแค่นั้นเองครับ ที่เราถอดยศหม่อมเจ้าของท่านหญิงออก ก็เพราะองค์ท่านเป็นเจ้าหญิงไงครับ ไม่ใช่แค่สามัญชน อย่าง หม่อมหลวง หรือ หม่อมราชวงศ์

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

8 ส.ค. 56 เวลา 09:27 น. 42

แล้วถ้ากลับกันล่ะ มล(ชาย) แต่งงาน กับ ม.ร.ว(หญิง) ล่ะ ลูกจะมียศอะไร

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

10 ส.ค. 56 เวลา 00:09 น. 43

ม.ล.(ชาย) แต่งงานกับ ม.ร.ว.(หญิง) ลูกก็เป็น ด.ช./ด.ญ./นาย/นางสาว และใช้นามราชสกุลต่อท้ายว่า "ณ อยุธยา" เป็นรุ่นแรกไงครับ ตามหลักของหม่อมหลวงชายทั่วๆไป

ผู้หญิงจะมีลูกยศอะไร ก็ขึ้นอยู่กับยศของผู้ชายเป็นหลักครับ จำง่ายๆ (ยกเว้นมีข้อยกเว้น) คงเป็นเพราะเหตุนี้ด้วยมั้ง สมัยก่อนพ่อแม่จึงอยากยิ่งอยากหาคู่ครองดีๆ คลุมถุงชนให้ลูก เพื่อให้ได้คนที่ดูมีบารมีเสมอกัน และมีหลานดำรงยศตามที่ต้องการ 55+

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

10 ส.ค. 56 เวลา 00:17 น. 45

ใช่ครับ ราชสกุลที่สืบเชื้อสายจากบรรดาเจ้าชายสมัยต้นรัตนโกสินทร์จึงเหลือแต่ ณ อยุธยากันหมดแล้ว บรรดาหม่อมเจ้า หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวงที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็มีแต่ที่เป็นลูกหลาน ร.4 ร.5 และวังหน้ากันเท่านั้นแล้วนะครับรู้สึก

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

10 ส.ค. 56 เวลา 00:22 น. 46

แล้วถ้า หม่อมหลวงหญิง แต่งงานกับสามัญชนที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ และจะให้ลูกใช้นามสกุลตัวเอง ลูกจะได้ต่อท้ายว่า ณ อยุธยา หรือไม่ต้องครับ? ทราบไหม?

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

16 ส.ค. 56 เวลา 20:37 น. 49

เป็น ม.ร.ว. ไงครับ ไม่ใช่ ม.จ. ยกกำลังสองนะ 5555+ เพราะ ม.จ.ชาย มีลูกเป็น ม.ร.ว. อยู่แล้ว ส่วน ม.จ.หญิง จะมีลูกยศอะไรก็ขึ้นอยู่กับสวามีครับ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

15 ก.ย. 56 เวลา 02:10 น. 50

ดูหลายๆคอมเม้นท์เหมือนจะยังจับต้นชนปลายไม่ถูกนะครับเรื่องยศของบุตรว่าจะได้ยศอะไร การที่บุตรจะได้ยศอะไรนั้นให้ดูที่ยศของพ่ออย่างเดียวเลยครับ ไม่ต้องไปสนใจประเด็นที่ว่าฝ่ายชายยศนั้นแต่งงานกับฝ่ายหญิงยศนี้แล้วบุตรจะมียศอะไร ถ้าพ่อเป็นนายธรรมดา ต่อให้แม่เป็นเจ้า บุตรออกมาก็เป็นแค่ เด็กชาย เด็กหญิง แล้วตามด้วยนามสกุลของพ่อ ซึ่งไม่มี ณ อยุธยาต่อท้ายนะครับ เพราะว่าพ่อไม่ใช่ราชนิกุล กรณี ม.ร.ว.ปวรรุจแต่งงานกับ ม.จ.หญิงวรรณรสา ถ้ามีบุตรจะได้ยศอะไร ย้อนกลับไปดูที่พ่อครับพ่อเป็น ม.ร.ว. ดังนั้นยศของบุตรจะเป็นอะไรไปไม่ได้นั่นก็คือ ม.ล. นั่นเองครับ สมมติ ถ้า ม.ร.ว.ปวรรุจมีบุตรชาย ซึ่งแน่นอนว่ามียศเป็น ม.ล. เกิดจับพลัดจับพลูได้ไปแต่งงานกับ ม.จ. หญิงอีก บุตรออกมาก็คือ เด็กชาย เด็กหญิง ตามด้วยนามสกุลของพ่อ แล้วต่อท้ายด้วย ณ อยุธยา ครับ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

7 พ.ย. 56 เวลา 22:17 น. 52

คห 2 ด้วย ไม่เคยมีประวัติเรื่องทรงแต่งตั้ง ม.จ. ม.ร.ว. และ ม.ล. ยศเหล่านี้มีมาแต่เกิด หากจะแต่งตั้งคือแต่งตั้งบุพการีให้มียศสูงขึ้น ลูกเกิดมาจึงพลอยได้ยศ ม.จ. ม.ร.ว. หรือ ม.ล. ตามด้วย

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

7 พ.ย. 56 เวลา 22:21 น. 53

ม.จ.หญิง ก็คือ ม.จ.ที่เป็นหญิง คล้ายกับ เจ้าฟ้าที่เป็นชายก็เรียก "เจ้าฟ้า" ถ้าเป็นหญิง เรียก "เจ้าฟ้าหญิง" ม.ร.ว. ก็ด้วย มี หม่อมราชวงศ์หญิง ม.ล. ก็อีก มี หม่อมหลวงหญิง เช่นกันครับ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

7 พ.ย. 56 เวลา 22:33 น. 55

เป็นหม่อมไม่ได้นะครับ หม่อมต้องเป็นชายาของหม่อมเจ้าขึ้นไป ภรรยาของ หม่อมราชวงศ์ กับ หม่อมหลวง เป็นคู่สมรส ไม่ใช่เป็นหม่อมใน..... แต่แน่นอนว่าก่อนสมรส ม.จ.วรรณรสา ต้องทูนลาออกจากฐานันดรศักดิ์ก่อน เพื่อสมรสกับชายที่มียศต่ำกว่า แต่หาก ม.จ.วรรณรสา ได้รับพระราชทานเครื่องราชย์ชั้น ทุติยาภรณ์จุลจอมเกล้าวิเศษ ซึ่งปกติจะพระราชทานให้กับหม่อมเจ้าฝ่ายในก่อนทูนลาออก ก็จะต้องเรียกว่า ท่านผู้หญิงวรรณรสา แต่โดยมาก ม.จ.หญิงที่ทูนลาออกแล้วเรามักเรียกลำลองว่า ท่านหญิง เพื่อให้เกียรติฐานันดรศักดิ์เดิมและพงศาวลีของท่านผู้นั้นครับ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

7 พ.ย. 56 เวลา 22:41 น. 56

ไม่ครับ ให้คำนำหน้าเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนนามสกุล ตัวอย่างเช่น คุณหญิงต้น หม่อมหลวงปิยภัสร์ กฤดากร เมื่อสมรสกับคุณจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี ก็เปลี่ยนเป็น หม่อมหลวงปิยภัสร์ ภิรมย์ภักดี ไงครับ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

7 พ.ย. 56 เวลา 22:43 น. 57

เจ้าใจผิดไปหน่อยครับ จริงๆ แล้ว ม.ร.ว. กับ ม.ล. ก็เป็นคนสามัญครับ เพียงแต่ใส่คำนำหน้านามพิเศษ เพื่อให้ทราบว่าเป็น "เชื้อพระวงศ์"

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

7 พ.ย. 56 เวลา 22:48 น. 58

Gean ขอเล่าหน่อยนะ อยากให้เข้าใจก่อนครับว่า หม่อมเจ้า คือ พระราชวงศ์ชั้นต่ำสุด หม่อมราชวงศ์ กับ หม่อมหลวง ไม่ใช่พระราชวงศ์ แต่เป็น เชื้อพระวงศ์ แล้วคนที่มี ณ อยุธยา ต่อท้ายสกุล คือ บุคคลที่สืบเชื้อสายจากราชสกุล

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

12 มี.ค. 57 เวลา 09:05 น. 59

ถ้าม.จแต่งงานกันเองลูกจะมียศเป็น ม.จ ด้วยค่ะ

1

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

30 พ.ย. 58 เวลา 13:38 น. 59-1

ไม่ใช่ค่ะ ลำดับยศจะลดลงเรื่อยๆนับจากฝั่งพ่อเท่านั้น! เพราะฉะนั้นพ่อยศอะไร ลูกจะได้ยศลดลงหนึ่งขั้น เช่น หม่อมหลวง(พ่อ)+หม่อมราชวงค์(แม่) = เด็กชาย/หญิง ณ อยุธยา หม่อมเจ้า(พ่อ)+หม่อมเจ้า(แม่) = หม่อมราชวงค์(ลูก)

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ

4 พ.ค. 57 เวลา 20:41 น. 60

แล้วถ้า ม.จ. และ ม.ร.ว. หรือ ม.ล. ทำยังไงถึงจะมีลูกได้ขั้นเป็น ม.จ.ครับ

1

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

30 พ.ย. 58 เวลา 13:50 น. 60-1

ทำได้ในกรณีผู้หญิงยศที่กล่าวมาแต่งงานกับเจ้ายศพระองค์เจ้าขึ้นไป คือยังไงๆก็นับยศตามฝั่งผู้ชายอยู่ดีอ่ะค่ะ

เชื้อพระวงศ์ของไทยจะถูกลดขั้นไปเรื่อยๆในทายาทลำดับถัดมาจนสุดท้ายจะกลายเป็นสามัญชนในที่สุด ยกเว้นจะได้ทำคุณงามความดีใดๆจนมีการพระราชทานเลื่อนยศให้มั้งคะ ไม่แน่ใจในจุดนี้ แต่ที่แน่ๆคือยศที่ได้มาจะไม่สามารถส่งต่อให้ลูกได้เหมือนของฝรั่งค่ะ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ

9 พ.ค. 57 เวลา 22:45 น. 62

ไม่ใช้ค่ะ หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง เป็นได้ทั้งหญิงและชาย ม.ร.ว. ที่เป็นเพศชาย เรียก คุณชาย ส่วนม.ร.ว.ที่เป็นเพศหญิง เรียก คุณหญิง ส่วน ม.ล. ไม่ว่าจะชายหรือหญิง เรียกว่า คุณ อีกอย่าง ยศทั้ง2ไม่ได้มาจากการแต่งตั้งค่ะ ม.ร.ว. เป็น พระโอรสหรือพระธิดา ของ หม่อมเจ้า(ชาย) /ม.ล. เป็นลูกของ ม.ร.ว. (ชาย) /ลูกของ ม.ล. ก็ใช้คำนำหน้า นาย นางสาว ตาามด้วยชื่อ ราชสกุล และ ณ อยุธยา

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีข้อความหยาบคาย ใช้ภาษาไม่เหมาะสม

12 พ.ย. 57 เวลา 16:22 น. 65

พระบาทสมเด็จ >>> สมเด็จ >>> หม่อมเจ้า >>> หม่อมราชวงศ์(หญิง) >>> หม่อมหลวง >>> ณ .......

โดยรวมแล้วคือยศหม่อมราชวงศ์นั้นใหญ่กว่าหม่อมหลวงค่ะ ถ้าพ่อมียศอะไรลูกก็จะยศต่ำลงมา ถ้าพ่อเป็นหม่อมเจ้าลูกก็จะเป็นหม่อมราชวงศ์ถ้าเป็นหญิงก็จะเป็นหม่อมราชวงศ์หญิง ถ้าพ่อเป็นหม่อมราชวงศ์ลูกก็ต้องเป็นหม่อมหลวง และถ้าพ่อเป็นหม่อมหลวงลูกก็ต้องนามสกุลเป็นณ อยุธยา หรืออื่นๆ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

12 พ.ย. 57 เวลา 16:24 น. 66

ไม่ว่าพ่อจะยศอะไร ถ้ามีลูกลูกก็จะต้องยศน้อยกว่าพ่อค่ะ นอกซะจากว่าจะเป็นสมเด็จเท่านั้นลูกถึงจะเป็นหม่อมเจ้าได้

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

12 พ.ย. 57 เวลา 16:26 น. 67

งั้นก็ขอบอก หม่อมเจ้าน่ะใหญ่กว่าหม่อมราชวงศ์กับหม่อมหลวงแล้วก็ ณ อยุธยาอีกนะคะ เข้าใจยังไง

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

28 พ.ย. 57 เวลา 02:42 น. 68

ผู้หญิงสามัญชนถ้าแต่งงานกับเจ้าฟ้าชั้นไหนก็ตามลูกออกมาก็เป็นได้แค่หม่อมเจ้าค่ะลงมาถึงพระเจ้าวรวงศ์เธอลูกออกมาเป็นหม่อมเจ้าเน้นนะในกรณีที่แต่งงานกับหญิงสามัญชนส่วนพระวรวงเธอพระองค์เจ้าออกมาเป็นหม่อมราชวงศ์ค่ะ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

28 พ.ย. 57 เวลา 02:48 น. 69

ผิดบางจุดค่ะหม่อมราชวงศ์คือโอรสของ หม่อมเจ้า(คู่สมรสจะเป็นเจ้าหรือสามัญชนก็เหมือนกัน),พระวรวงศ์เธอกับหญิงสามัญชน,สูงกว่าพระวรวงเธอขึ้นไปลูกออกมาเป็นหม่อมเจ้าหมดค่ะถ้าคู่สมรสเป็นสามัญชน

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

3 ธ.ค. 57 เวลา 23:59 น. 71

พระเจ้าวรวงศ์เธอ ลำดับมาก่อนพระเจ้าหลานเธอนะครับ นับตามศักดิ์เเล้ว พระเจ้าหลานเธอ จะเรียกอีกอย่างว่า พระเจ้าวรวงศ์เธอ เช่นกันครับ เเต่เเบ่งเป็น ลำดับ 4 เเละ 5 ตามพระยศ ครับ

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

21 พ.ย. 59 เวลา 12:05 น. 72

จากที่สังเกต นะครับ ราชวงศ์ทางฝั่งเอเชีย เกือบทั้งหมด เวลา เจ้าหญิงจะแต่งงานกับสามัญชน จะต้องทำการลา ฐานันดรศักดิ์กรณีที่แต่งงานกับชายที่ไม่ใช่เจ้าชาย

1 ราชวงศ์ไทย 2 ราชวงศ์ ญี่ปุ่น 3 ราชวงศ์จีน(อดีต) 4 ราชวงศ์เมียร์มา(อดีต สังเกต แทบแต่งงานกับญาติกันเอง)

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

zerun-Q 21 มิ.ย. 60 เวลา 00:15 น. 73

เรียงจากใหญ่ไปเล็กนะคะ

หม่อมเจ้า หม่อมราชวงค์ หม่อมหลวง

หม่อมราชวงค์กับหม่อมหลวงเวลาคุย คุยตามปกติเลยค่ะ

ส่วนหม่อมเจ้าเวลาคุยต้องใช้ราชาศัพท์ด้วยค่ะ (ถึงแม้เวลาคุยกับแกเราจะไม่เคยใช้ราชาศัพท์เลยก็ตามเพราะมันรู้สึกแปลกๆอะ 5555)

0

  • แก้ไข
  • แจ้งลบ
  • ปักหมุด

Rokugatsu Giugno 14 ธ.ค. 61 เวลา 02:08 น. 76

คอมเม้นเยอะมาก อ่านไม่ไหว ไม่รู้จขกท.จะมาดูรึเปล่า ขอเสริมแบบสั้นๆ (จริงๆก็มีคนบอกแล้ว)

หม่อมเจ้าเป็นยศสุดท้ายที่เป็นเจ้าค่ะ ต้องใช้คำราชาศัพท์อยู่ แต่ม.ร.ว. ลงมา ถือเป็นสามัญชนแล้วค่ะ

คำเรียก ม.จ. คือ ท่านชาย ท่านหญิง

คำเรียก ม.ร.ว. คือ คุณชาย คุณหญิง สังเกตได้ในละครพีเรียดทั้งหลาย ผู้ที่เป็นม.ร.ว. ผู้คนจะเรียก คุณชาย คุณหญิง และเจ้าตัวจะแทนตัวเองว่า ชาย หรือ หญิง