ข นตอนการท าโมเดลบ านด วยไม งานฝ ม อ

เคยสงสัยไหมคะว่า ทำไมบางคนถึงคิดสร้างสรรค์ คิดแก้ไขอะไรใหม่ๆได้ง่าย หรือเชื่อมโยงประเด็นโน่นนี่ จนหาทางแก้ไขปัญหา Solution ได้อย่างรวดเร็ว บางคนคิดเท่าไรก็คิดไม่ออก รู้สึกยาก และเครียดมากด้วย เวลาหัวหน้า หรือองค์กรมอบหมายให้ไปทำงานที่ต้องคิดอะไรใหม่ๆ ต่างจากเดิม หรือให้มีนวัตกรรมใหม่ๆบ้าง

วันนี้เก๋มาแบ่งปันกระบวนการของการคิดสร้างสรรค์ ว่ามีกระบวนการอย่างไรบ้างค่ะ เผื่อว่าพอเข้าใจรู้แล้วว่ากระบวนการคิดสร้างสรรค์ต้องทำอย่างไร แล้วเราขาดตรงส่วนไหนไป จะได้เติมเต็มในช่วงนั้นให้มากขึ้น

ข นตอนการท าโมเดลบ านด วยไม งานฝ ม อ

กระบวนการในการคิดสร้างสรรค์นั้นมี 4 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมตัว Preparation

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่เก็บข้อมูล สะสมข่าวสาร ค้นหาไอเดีย เช่น อ่านหนังสือ/นิตยาสาร/หนังสือพิมพ์, การคุยกับคนเก่ง/ผู้เชี่ยวชาญ/กลุ่มเป้าหมาย/คนที่รู้ปัญหา/, การท่องอินเตอร์เนต/เข้า Social media ต่างๆ,การระดมสมอง/การรวมกลุ่มกันคิด แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน เป็นต้น

.

ขั้นตอนที่ 2 การบ่มเพาะ Incubation

เป็นช่วงที่ไอเดียที่หลากหลายนั้น จะต้องมาบ่มเพาะ เพื่อให้ได้ไอเดียที่ดีและนำไปใช้ได้ เหมือนแม่ไก่ออกไข่มาค่ะ ช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่แม่ไก่กำลังฟักไข่ออกมา ก่อนจะออกไปเป็นลูกไก่. ถ้าไข่ไม่ผ่านการฟัก ก็จะไม่สามารถออกมาเป็นลูกไก่ได้ เหมือนไอเดียที่ได้ ถ้าไม่นำมาบ่มเพาะ ช่วงนี้ไอเดยที่มีเยอะแยะมากมาย จะปั่นป่วนอยู่ในหัว ไม่ต้องกังวลนะคะ ลองหาพื้นที่สงบๆเงียบๆบ่อยๆเพื่อตกผลึกความคิด อีกครั้งนะคะ

.

ขั้นตอนที่ 3 Idea Insight ข้อมูลเชิงลึก

หลังจากเตรียมการและบ่มเพาะมาระยะหนึ่ง ข่าวดีคือช่วงนี้เป็นที่ไอเดียของเราสุกได้ที่ ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนคิดสร้างสรรค์ที่เรียกว่า ขั้นตอนการเข้าใจ. ซึ่งเราจะมีโมเมนท์ที่เรียกว่า อะฮ้า AHA moment หรือ ยูเรก้า Eureka moment คือดีใจได้ไอเดียที่จะนำไปใช้ได้จริงๆเสียที

.

ขั้นตอนที่ 4 การประเมินไอเดีย Evaluation

เป็นส่วนที่สำคัญมาก เพราะว่า บางครั้งเรามีหลายไอเดียมาก แต่ขั้นตอนนี้จะเป็นการเลือกไอเดียที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ sense มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด บางทีที่เราเห็นบางคนเก่งในการคิดสร้างสรรค์ เพราะเขาเก่งในขั้นตอนนี้ คือการประเมินไอเดีย ที่เหมาะสม และสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างสร้างสรรค์ในเวลาที่รวดเร็วค่ะ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องวิจารณ์ และไตร่ตรองไอเดียได้อย่างมีเหตุผลด้วยค่ะ

.

5. ขั้นตอนการปรับใช้ Elaboration

ขั้นตอนนี้คือขั้นตอนการนำไอเดียมาลงมือทำให้เกิดขึ้นจริง ซึ่งขั้นตอนนี้จะเรียกว่าเป็นนวัตกรรมก็ได้ค่ะ. ซึ่งส่วนใหญ่ คนมักจะหยุดกันที่ขั้นตอนที่ 4 คือคิดสร้างสรรค์ได้ไอเดียดีๆเสร็จแล้ว แต่ขาดขั้นตอนการลงมือทำให้เกิดขึ้นจริงในขั้นตอนที่ 5 นี้ซึ่งเป็นขั้นตอนที่หนัก และค่อนข้างใช้เวลาค่ะ

ข นตอนการท าโมเดลบ านด วยไม งานฝ ม อ

Edison “1% inspiration and 99% perspiration”. แปลว่า แรงบันดาลใจ 1% และเหงื่ออีก 99% ที่จะทำให้ความคิดออกมาเป็นความจริงที่จับต้องได้ค่ะ

.

หลายครั้ง เรามักจะมีคนคิดไอเดียได้เยอะในขั้นตอนที่ 1-4 ถึง 90% ในองค์กร แต่คนทำไอเดียให้ออกมา ซึ่งต้องทุ่มเทพยายามนั้น เพียง 1% เท่านั้น ดังนั้นเรามาเป็นคนคิดสร้างสรรค์ที่พัฒนานวัตกรรม ทำให้ครบ 1-5 ขั้นตอนกันนะคะ

ดูเหมือนขั้นตอนเยอะ กระบวนแยะนะคะ แต่จริงแล้ว สำหรับคนที่คิดสร้างสรรค์บ่อยๆ ฝึกสม่ำเสมอ ขั้นตอนที่ 1-4 อะค่ะ มันใช้เวลาไม่เยอะมาก บางทีเเวปเดียว หรือไม่กี่นาทีกี่ชั่วโมงเท่านั้นค่ะ แต่ที่สำคัญคือ ช่วงของขั้นตอนที่ 1 คือคุณต้องสะสมข้อมูล ไอเดียด้วยวิธีการให้เยอะมากพอ แม้ไม่รู้ว่าจะได้ใช้เมื่อไร จนถึงช่วงเวลาหนึ่งเมื่อมีปัญหามาให้แก้ ไอเดียมันจะผุดคิดอะฮ้าออกมา และเชื่อมโยงใช้ในการแก้ปัญได้เองอัตโนมัติ อย่างที่สตีฟ จ๊อฟ เคยพูดไว้ว่าประสบการณ์การเรียนรู้ในอดีตมันจะมาเชื่อมโยงกับปัจจุบันได้เองแบบ connection the dot อะค่ะ

.

ดังนั้น ถ้าอยากเป็นคนคิดสร้างสรรค์ ต้องเป็นคนที่หมั่นเรียนรู้ตลอดชีวิต ศึกษาเรื่องใหม่ๆ บ่อยๆ หาความรู้ ข้ามสายงานสม่ำเสมอ. พูดคุยกับคนทุกระดับ ถ้าไม่ชอบคุยกับคนก็ต้องเป็นนักอ่าน นักค้นคว้าค่ะ #แล้วคุณจะคิดสร้างสรรค์ได้เร็วและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพที่องค์กรต่างๆต้องการค่ะ

เก๋เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะคะ มีความสุขมากๆในการคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมให้กับองค์กรค่ะ

...............................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่ หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้

ข นตอนการท าโมเดลบ านด วยไม งานฝ ม อ

......................................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ข นตอนการท าโมเดลบ านด วยไม งานฝ ม อ

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI กว่า 20 ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน และองค์กรต่างๆค่ะ

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่