ข นตอนการขอการจ ดต งโรงผล ตน ำแข ง น ำด ม

การเลือกใช้อุปกรณ์ เช่น รองเท้าฟุตบอล หากเลือกใช้ไม่เหมาะสม เช่น ใส่รองเท้าผ้าใบในสนามหญ้า อาจทำให้ลื่นและเกิดการบาดเจ็บได้ ในปัจจุบันมีสนามกีฬาหญ้าเทียมได้รับความนิยมมากในประเทศไทย ซึ่งจะมีความฝืดและแรงยึดต่อรองเท้ามากกว่าสนามหญ้าจริง หากเลือกใช้รองเท้าสตั้ดปุ่มยาวหรือปุ่มใบมีดก็อาจจะทำให้เกิดแรงเสียดทานมากเกินไปจนเกิดการบาดเจ็บรุนแรงตามมาได้ เช่นเดียวกับอุปกรณ์ป้องกัน เช่น สนับแข้ง สามารถลดความรุนแรงและลดแรงกระแทกเมื่อเกิดการปะทะได้

ออกกำลังกายเกินความสามารถของร่างกาย

ในระหว่างการแข่งขันและการฝึกซ้อมที่เข้มข้น จำเป็นต้องมีการวิ่งสปีด การกระโดด และการกระแทกของขาอยู่เสมอ หากผู้เล่นไม่ได้ประเมินสภาพร่างกายตนเองอาจเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้จากการใช้งานซ้ำ ๆ หรือ Overuse Injury เช่น เอ็นกล้ามเนื้ออักเสบบริเวณขาหนีบ สะโพก เข่า และข้อเท้า หรืออาจรุนแรงถึงขั้นกระดูกหักแบบ Stress Fracture ได้เช่นกัน

ขาดความรู้ความเข้าใจในกฎกติกา

ในปัจจุบันกีฬาฟุตบอลมีการปรับเปลี่ยนกฎกติกาการแข่งขันอยู่เสมอเพื่อให้มีความปลอดภัยในการเล่นมากยิ่งขึ้น เช่น การห้ามใช้ศอก การลงโทษผู้เล่นที่เข้าสกัดทางด้านหลัง หรือการยกเท้าสูง หากไม่เข้าใจในกติกาก็อาจส่งผลอันตรายต่อผู้เล่นหรือคู่แข่งได้

อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด

เนื่องจากฟุตบอลเป็นกีฬาปะทะที่ต้องใช้ความเร็ว ความแข็งแกร่ง อาจเกิดอุบัติเหตุในการแข่งขันได้เสมอ เช่น การกระทบกระเทือนศีรษะ กระดูกหัก หรือกระทั่งภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน


อาการบาดเจ็บที่พบในกีฬาฟุตบอล

การเล่นกีฬาฟุตบอลสามารถพบการบาดเจ็บได้หลากหลายตำแหน่งโดยพบการบาดเจ็บบ่อยบริเวณต้นขาเข่าข้อเท้าและขาหนีบตามลำดับ

1) บาดเจ็บกล้ามเนื้อต้นขา (Thigh Muscle Injury)

การบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อแฮมสตริง(Hamstring) หรือกล้ามเนื้อหลังหัวเข่า กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า(Quadriceps) และกล้ามเนื้อต้นขาด้านใน (Adductors) ทั้งการอักเสบหรือฉีกขาดเป็นการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยที่สุดในกีฬาฟุตบอล เนื่องจากในการลงเล่นจำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ในการวิ่ง กระโดด และเตะฟุตบอลอยู่ตลอดเวลา อาจเห็นภาพนักกีฬาฟุตบอลวิ่งสปีดด้วยความเร็วแล้วเกิดการกระตุกจนไม่สามารถวิ่งต่อไปได้ ระยะเวลาในการพักรักษาฟื้นฟูแตกต่างกันขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ อาจเล็กน้อยเพียงไม่กี่วัน หรือรุนแรงเป็นหลายเดือนได้ และการบาดเจ็บซ้ำของกล้ามเนื้อสามารถพบได้บ่อยเช่นกัน

2) ข้อเท้าพลิก (Ankle Sprain)

ข้อเท้าพลิกมักเกิดจากการปะทะกันของผู้เล่นส่งผลให้ข้อเท้าบิดหมุนมากเกินไปเกิดการพลิกของข้อเท้าส่วนใหญ่มักเกิดการพลิกเข้าด้านในทำให้เกิดการบาดเจ็บของเอ็นทางด้านนอกของข้อเท้าได้หากเป็นไม่รุนแรงอาจบวมและกดเจ็บบริเวณเอ็นที่บาดเจ็บยังเดินลงน้ำหนักพอได้กรณีเอ็นฉีกขาดบางส่วนจะมีอาการปวดบวมค่อนข้างมากมีเลือดคั่งเดินลงน้ำหนักไม่ค่อยได้แต่หากรุนแรงมากหรือเอ็นฉีกขาดทั้งหมดข้อเท้าเสียความมั่นคงปวดบวมมากมีเลือดคั่งเดินลงน้ำหนักไม่ได้หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจเกิดภาวะข้อเท้าไม่มั่นคงเรื้อรัง (Chronic Ankle Instability) และต้องเข้ารับการผ่าตัดได้

3) เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาด (Anterior Cruciate Ligament – ACL Tear)

แม้เป็นการบาดเจ็บที่ไม่ได้พบบ่อยที่สุดในกีฬาฟุตบอล แต่เอ็นไขว้หน้าเข่าฉีกขาดเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรงและเป็นภาพจำของนักฟุตบอลและแฟนบอลได้เป็นอย่างดี เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันต่อได้ มักเดินลงน้ำหนักไม่ได้ และจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูนานมากกว่า 6 เดือน การบาดเจ็บเกิดจากการบิดผิดรูปของข้อเข่า มักได้ยินเสียงดัง “ป็อก” ในข้อเข่า มีเข่าบวม โดยในกีฬาฟุตบอลพบว่าส่วนใหญ่เกิดการบาดเจ็บลักษณะนี้โดยที่ไม่มีการปะทะ (Non – Contact Injury) มีการบริหารและออกกำลังกายเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กเพื่อซ่อมเอ็นไขว้หน้าเข่า เพื่อรักษาฟื้นฟูให้กลับมาลงเล่นฟุตบอลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ข นตอนการขอการจ ดต งโรงผล ตน ำแข ง น ำด ม

4) บาดเจ็บหมอนรองเข่าและกระดูกอ่อน (Meniscus & Chondral Injury)

นอกจากการบาดเจ็บบริเวณเอ็นเข่าหากเกิดการกระแทกหรือบิดผิดรูปของข้อเข่าสามารถพบการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกเข่าหรือกระดูกอ่อนได้เช่นกันนักฟุตบอลมักมีอาการเข่าบวมหลังลงเล่นอาจมีข้อเข่าล็อคไม่สามารถเหยียดงอได้สุดเข่าบวมเป็นๆหายๆโดยหากมีภาวะเข่าเหยียดได้ไม่สุดหลังการบาดเจ็บควรรีบพบแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาเพื่อตรวจหาสาเหตุหากเป็นการบาดเจ็บหมอนรองเข่าฉีกแบบรุนแรงเช่น Lock Bucket Handle Meniscus Tear จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดส่องกล้องเพื่อเย็บซ่อมหมอนรองเข่าอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อมก่อนวัย

5) บาดเจ็บเอ็นหัวเข่า (Knee Ligament Injury)

หัวเข่าเป็นข้อต่อที่พบการบาดเจ็บได้บ่อยที่สุดในกีฬาฟุตบอลสามารถพบการบาดเจ็บได้หลายเส้นเอ็นรอบๆเข่าที่พบได้บ่อยเช่นเอ็นเข่าด้านใน (Medial Collateral Ligament – MCL) มักเกิดจากการกระแทก การปั๊มบอล เกิดเข่าบิดเข้าด้านใน มีอาการบวมด้านในเข่า เหยียดงอเข่าเจ็บ หากบาดเจ็บรุนแรงอาจลงน้ำหนักไม่ไหว ใช้เวลาในการรักษาขึ้นกับความรุนแรง หากฉีกขาดอาจต้องพักรักษาฟื้นฟูถึง 6 – 8 สัปดาห์ หรือการบาดเจ็บเอ็นลูกสะบ้า (Patellar Tendon) อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้งานซ้ำ ๆ โดยไม่มีการปะทะหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นก็ได้ มักมีอาการเจ็บตามแนวเอ็นลูกสะบ้า เจ็บที่กระดูกลูกสะบ้า หรือปุ่มกระดูกหน้าแข้ง การรักษาต้องใช้การกายภาพบำบัดฟื้นฟู ปรับเพิ่มลดความหนักในการซ้อม และแข่งขันให้เหมาะสมกับสภาพนักกีฬา

6) กระดูกหัก (Bone Fracture)

การปะทะในกีฬาฟุตบอลอาจรุนแรงจนเกิดกระดูกหักได้ เช่น กระดูกหน้าแข้ง กระดูกข้อเท้า กระดูกไหปลาร้า ถือเป็นการบาดเจ็บรุนแรง ควรขยับเขยื้อนให้น้อยที่สุด และนำส่งโรงพยาบาลทันที หากมีแผลฉีกขาดร่วมด้วยต้องเข้ารับการผ่าตัดโดยเร็ว ในกีฬาฟุตบอลมักจำเป็นต้องรักษาภาวะกระดูกหักด้วยการผ่าตัดเพื่อจัดเรียงกระดูกให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และฟื้นฟูสภาพข้อต่อและกล้ามเนื้อโดยรอบให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการใส่เฝือก เช่น ข้อติด กล้ามเนื้อฝ่อลีบ นอกจากการบาดเจ็บจากการปะทะ ในกีฬาฟุตบอลยังพบภาวะกระดูกหักที่ไม่ได้เกิดจากการปะทะได้เช่นกัน แต่เป็นภาวะกระดูกหักล้า (Stress Fracture) ซึ่งเกิดจากการใช้งานอย่างหนักเกินไป โดยบริเวณที่พบได้บ่อย เช่น กระดูกเท้า (5th Metatarsal Bone) ซึ่งสัมพันธ์กับนักฟุตบอลที่มีอุ้งเท้าสูงมากกว่าปกติ

7) ภาวะสมองกระทบกระเทือน (Head Concussion)

หากเกิดการปะทะบริเวณศีรษะหรือต้นคอ ผู้เล่นหมดสติ มีอาการชักเกร็ง หรือปวดศีรษะมาก มองเห็นภาพซ้อน คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง ชาแขนขา ปวดต้นคอมาก สับสนวุ่นวาย เป็นสัญญาณของการบาดเจ็บที่สมอง เกิดภาวะสมองกระทบกระเทือน จำเป็นต้องพักการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน และพบแพทย์เพื่อรักษาโดยทันที ภาวะสมองกระทบกระเทือนอาจแสดงอาการที่มากขึ้นตามเวลาได้ หากมีอาการผิดปกติควรหยุดเล่นและเฝ้าดูอาการอย่างใกล้ชิด ในการกลับมาฝึกซ้อมหรือแข่งขันหลังภาวะสมองกระทบกระเทือน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปฏิบัติตามคำแนะนำที่เหมาะสม หากกลับมาลงเล่นก่อนเวลา อาจเกิดผลเสียร้ายแรงทั้งต่อตัวนักเตะและทีมฟุตบอลได้